งานวิจัย : ความล้มเหลวในระดับครูผู้สอน


วิจัยแบบย้อนกลับ

วิจัย....วิจัย....วิจัย   อีกแล้ว
ครูกับงานวิจัย....เป็นอะไรที่น่าเบื่อหน่าย โรงเรียนอบรมแล้วอบรมอีกหลายครั้ง หานักวิจัยที่มีความรู้ความสามารถมาสอนให้ครูทำ แต่...งานวิจัยก็ไม่ก้าวหน้าเลย  ทำให้เราต้องหันกลับมามององค์กร  เกิดอะไรขึ้นในองค์กร เพราะเหตุใดงานวิจัยเล็กๆ ซึ่งเป็นหนึ่งในกระบวนการเรียนการสอนถึงไม่เกิดขึ้น  แล้วก็พบว่าสาเหตุสำคัญที่สุด มี 2 ประการ คือ

         1.  ตัวครูเอง          
         2. วิธีการถ่ายทอด       

         ครู ในชนบทร้อยละ 70-80 ไม่มีการพัฒนาตนเอง ไม่อ่านหนังสือ ไม่คิดสร้างสรรค์งาน  สอนผ่านไปวัน ๆ ไม่เอาใจใส่พัฒนาวิชาชีพของตนเอง อยากได้ผลงานแต่ไม่อยากทำงาน มักบ่นว่างานยากงานเยอะ เลยไม่ได้ลงมือทำอะไร ในแต่ละองค์กร จะมีครูที่เรียนรู้ได้เร็ว กระคือรือร้นตลอดเวลา อยู่ประมาณ ร้อยละ 20-30
         ส่วนนักวิจัย ที่มาอบรมให้ครูนั้นท่านมีความรู้ ความสามารถมาก  ท่านอ่านงานวิจัยทะลุปรุโปร่งหมด  ท่านถ่ายทอดเหมือนกับครูรู้มาแล้วท่านนับถึง 10 แล้ว ครูเหล่านั้นยังไม่ได้นับ 1 เลย เมื่ออบรมผ่านไปครั้งแล้วครั้งเล่า ครูเหล่านั้นก็ยังหาจุดเริ่มต้นไม่ได้ซักที

         การจัดการกับปัญหานี้ นักวิจัยทั้งหลายต้องปรับเปลี่ยนวิธีการถ่ายทอดใหม่ โดยอาจใช้เทคนิคแบบย้อนกลับ คล้ายๆ Backward Desing  คือถ้าสอนครูนับ 1 ถึง 10 ไม่ได้ ก็ลองพาครูนับจาก 10 มาหา 1 ดู  หมายความว่า ถ้าพาเขียนเค้าโครงการวิจัยก่อน แล้วทำตามลำดับขั้นต่อไป ครูทำวิจัยไม่ได้  ก็พาทำ นวัตกรรมก่อน แล้วเอาไปลองใช้ดู เก็บคะแนนก่อนเรียน ระหว่างเรียน และหลังเรียนเอาไว้ แล้วจึงฝึกครูเขียนเค้าโครงวิจัย  บอกวิธีพัฒนานวัตกรรม นำไปทดลองใช้ ใหม่ แล้วจึงมาพาเขียนรายงานการใช้  ครูน่าจะมองเห็นภาพของการทำวิจัยในชั้นเรียนได้ และสามารถทำได้เองในเวลาต่อมา 
        และ.....ที่สำคัญที่สุดให้ครูได้ลองอ่านการวิจัยในชั้นเรียนแบบง่ายๆ ซัก 3 เรื่อง ครูจึงจะมองภาพงานวิจัยออก และสามารถทำได้เอง

        เขียนแผนจัดการเรียนรู้ แบบ Backward Desing แล้ว ลองทำวิจัยแบบ Backward Desing ดูบ้าง

 ตัวอย่างงานวิจัยในชั้นเรียน

 

คำสำคัญ (Tags): #ครูสังคมศึกษา
หมายเลขบันทึก: 135750เขียนเมื่อ 7 ตุลาคม 2007 11:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 15:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

สวัดดีค่ะครูเก่งมากเลย

งานวิจัยความจริงไม่ใช่เรื่องยาก ถ้าเราตั้งใจและสนใจทำ อาจจะทดลองทำก่อนโดยไม่คาดหวังกับผลมากนัก และพัฒนานาไปเรื่อย ๆ ให้ชำนาญขึ้น แล้วค่อยคาดหวัง ครูว่าความคิดนี้เป็นไปได้ไหมค่ะ

สวัสดี คะ คุณกัลยา

ขอบคุณที่ชมคะ  แต่ยังไม่กล้ารับไว้หรอกคะ เพราะยังห่างไกลกับคำว่าเก่ง มากเลยคะ คงต้องใช้เวลาอีกนาน กว่าจะเก่ง

เรื่องวิจัย เป็นปัญหาของครูผู้สอนในขณะนี้มากที่สุด  เลยลองเอามาเขียนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ดูบ้าง เผื่อจะมีผู้รู้จริงผ่านเข้ามาให้คำแนะนำเป็นวิทยาทาน จะได้นำไปฝากคุณครูที่โรงเรียนด้วย

ขอบคุณมากนะคะ ที่เข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วย 

 

เป็นกำลังใจให้ครับ   ชีวิตไม่สิ้นก็ต้อง เต็นกันต่อไปครับ

 แวะมาอ่านของผมบ้างน่ะ http://gotoknow.org/blog/expert  อ่านแล้วพบของแปลกบอกด้วยน่ะครับ

สวัสดี ค่ะ คุณ BHUDIT EKATHAT 

ขอบคุณค่ะที่มาเยี่ยมทักทาย  คุณเยี่ยมยุทธมากเลย สมัครเป็นศิษย์ก็แล้วกัน ค่ะ  ตามไปอ่านงานของคุณแล้ว Expert  มากค่ะ จะติดตามอ่านอีกค่ะ

เขียนแบบอ่านง่ายๆ หน่อยน่ะคะ ความรู้น้อยแถมมือใหม่อีกค่ะ 

เป็นเรื่องที่น่าสนใจมากนะครับ เพราะว่าจากประสบการณ์เคยจัดการอบรมหลักสูตร "พัฒนานักวิจัย"ให้ข้าราชการในหน่วยงานของตนเอง ก็พบปัญหาอย่างคุณครูเหมือนกันและก็ทำมาหลายปี เหมือนกันก็เลยพบว่าสิ่งที่สำคัญที่จะทำให้ผู้เีรียน/ ผู้เข้ารับการอบรมทำวิจัยเป็น ควรเิริ่มจาก

1. ผู้เรียน/ผู้เข้ารับการอบรม ต้องการทำวิจัยจริงๆ (แบบไฟท์บังคับ) เช่น ต้องทำผลงานส่งประเมิน

2. แบ่งการอบรมเป็นระยะๆ จากที่เคยทำจะแบ่งออกเป็น 3 ระยะ (เสนอหัวข้อเรื่องบทที่ 1-2, สร้างเครื่องมือ,และเสนอผลการเก็บข้อมูล วิเคราะห์ สรุป อภิปรายผล)

3.จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีพี่เลี้ยงให้คำปรึกษา อย่างใกล้ชิดเพื่อคอยให้คำปรึกษา

4. ประเด็น/เรื่องที่นำมาวิจัย ควรจะเป็นเรื่องที่ใกล้ตัว อาจจะเป็นการนำงานประจำมาเป็นงานวิจัยได้ยิ่งด ีและควรเป็นเรื่องง่ายๆ

 5. และที่สำคัญ ควรมีตัวอย่างงานวิจัยที่ดี เหมือนอย่างที่คุณครูบอกไว้นะครับ สำคัญจริงๆ

สุดท้ายก็ต้องใช้ความพยายาม ตั้งใจ และทำิวิจัยแบบทีมงานจะช่วยได้มากเลยนะครับ 

 

 
คุณ  P ชายหนุ่ม   ค่ะ
ขอบคุณที่เข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้คะ
เรื่องวิจัยนี้ จริงๆ เป็นเรื่องเก่าแล้ว  แต่ยังใหม่เสมอสำหรับครูผู้สอนค่ะ   เพราะครูส่วนใหญ่ไม่ทำวิจัย  แค่คิดก็บ่นว่ายากๆๆๆ แล้วค่ะ 
การสอนให้ครูทำวิจัย  หากเริ่มต้นทำตามขั้นตอน ครูจะงงมาก  ลองทำแล้วคะ ไม่ประสบผลสำเร็จเลย แค่หาปัญหาที่จะนำมาวิจัย พอทำได้ แต่พอเริ่มเขียนเค้าโครงวิจัย งงเลยคะ   คนสอนก็ไม่เข้าใจว่า  ทำไมเรื่องแค่นี้ถึงกลายเป็นเรื่องยาก เพราะคนสอนมองทะลุหมดแล้วไงคะ 
ตอนนี้ลองสอนครูทำวิจัยแบบใหม่  เริ่มนับ 1 จากตั้งชื่อเรื่องก่อน แล้วพาทำนวัตกรรม ( ลัดขั้นตอน) นำไปลองใช้ รวบรวมผลเก็บไว้ แล้วค่อยพาเขียน  ครูพอมองงานวิจัยออก ตอนนี้เรื่มเข้าใจและทำได้แล้วค่ะ
หากคุณอภิชัย มีข้อแนะนำเพิ่มเติมอย่างไร  ขอเป็นวิทยาทานแก่คุณครูบ้างนะคะ
ขอบคุณค่ะ 

เป็นเรื่องที่ดีนะครับ และเป็นเรื่องสำคัญด้วยเพราะว่า การทำวิจัยสามารถที่จะทำให้เราเข้าใจว่า สิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบันเกิดขึ้นจากสาเหตุอะไรบ้าง หรือมีอะไรบ้างที่เป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จในการจัดการเรียนการสอน ถือว่าเป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นนะครับ ในความคิดของผมนะอาจจะต้องเริ่มจาก

1.ทำความเข้าใจถึง "ขั้นตอนการวิจัย"  ประกอบด้วย

  • การกำหนดปัญหา/หัวข้อการวิจัย
  • การกำหนดประเด็น/คำถามการวิจัย
  • ทบทวนวรรณกรรม/ค้นคว้าทฤษฎี
  • กำหนดกรอบนวคิดในการวิจัย
  • กำหนดวัตถุประสงค์การวิจัยและสมมติฐานการวิจัย
  • ออกแบบการวิจัย
  • กำหนดประชากร กลุ่มตัวอย่าง และวิธีการสุ่มตัวอย่าง
  • เก็บรวบรวมข้อมูล
  • วิเคราะห์ข้อมูล
  • เขียนรายงานวิจัย

2.  ให้ทุกคนลองศึกษาถึงความหมาย วิธีการดำเนินการของแต่ละขั้นตอน แล้วเอามาแลกเปลี่ยนกันและกัน ช่วยกันยกร่างทีละขั้นตอนโดยคิดว่าน่าจะเริ่มต้น จากการทำวิจัยในชั้นเรียนอาจจะเอาปัญหาที่พบใน การเรียนการสอนนักเรียนก็ได้นะ
 3. สิ่งที่สำคัญพยายามทำงานวิจัยแบบเป็นทีมนะครับ เพราะว่าจากประสบการณ์ที่พบว่า การทำเป็นทีมจะดีกว่าการทำคนเดียวนะ

สุดท้าย เป็นกำลังใจให้นักวิจัยทุกท่านนะครับ "ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น"

แล้วจะพบว่า "การทำวิจัย สนุกแค่ไหน" 

 

ขอบคุณ  P ชายหนุ่ม  มากค่ะ ที่ให้ความรู้เรื่องขั้นตอนการวิจัย เป็นประโยชน์กับคนหลายคน มากเลยค่ะ

สวัสดีครับ

  • ผมก็พอได้เห็นและอ่านงานวิจัยมาบ้างพอควรแต่แทบจะยังไม่พบงานวิจัยที่เป็นประโยชน์กับเด็ก(แท้ๆและจริงๆ)เลยครับ
  • เห็นแต่งานวิจัยที่เด็กกลายเป็นเพียงเครื่องมือของครู ซึ่งมักสร้างความเบื่อหน่ายและทัศนคติที่ไม่ดีต่อการศึกษาให้เด็กส่วนใหญ่ที่กำลังเป็นวัยแห่งความฝัน วัยสร้างสรรค์ วัยที่มีพลังอละความกระตือรือร้นอย่างเหลือเฟือ (แต่ถูกยัดเยียดด้วยเนื้อหาวิชาการอันหนักสมอง  ที่เป็นความรู้เก่าๆที่จดจำและถ่ายทอดต่อกันมาเพื่อสอบเอาคะแนนและเกรดดีๆไว้แข่งกับคนอื่น) สุดท้ายเด็กจึงมักปลดปล่อยอารมณ์และความเครียดออกมาเป็นความรุนแรงอย่างที่เห็นๆและเป็นข่าวเนื่องๆไงครับ (นี่อาจไม่ใช่บทสรุปที่ได้จากงานวิจัย  แต่อยากให้อาจารย์ลองอ่านบทความและปาฐกถาของ ศ.นพ.ประเวศ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาและเด็กๆ  ซึ่งมีอยู่หลายเรื่องครับ)
  • สวัสดีครับ

ตามไปอ่านเวปโรงเรียนบ้านโคกเพชรแล้วค่ะ น่าทึ่งมาก ศรัทธาในมหาชีวาลัยอีสานอยู่แล้วนะคะ รวมถึงครูบาสุทธินันท์ ครูคำเดื่องและคนอื่นๆ เอาไปสอนเด็กด้วยค่ะ อยากพา นร.ม 6 ไปดูงานแต่ไม่ทราบว่าจะไปที่ใหนดี 

ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมชมนะค่ะ มีอะไรดีๆ แวะมาแจ้งด้วยจักเป็นพระคุณค่ะ ท่าน ผอ. 

  • ขอบคุณอาจารย์มากที่ให้ความสนใจและให้คำชมที่อบอุ่น
  • อาจารย์คงหมายถึง โรงเรียนบ้านโคกเพชร ไม่ใช่ โคกเพชร1 นะครับ 
  • คงได้มีโอกาสคุยกันเรื่อยๆนะครับ
  • สนใจที่อาจารย์ปลูกยูคา 200 ไร่  คงต้องรบกวนขอความรู้เป็นพิเศษ  เพราะกำลังแสวงหาแนวทางเพื่อความอยู่รอดของทั้งตัวเองและชุมชน  ตอนนี้กำลังมองไปที่ยูคาฯและไผ่พันธุ์ที่ให้หน่อตลอดปี  เพื่อส่งเสริมการปลูกตามหัวไร่ปลายนาเสริมรายได้ชาวบ้าน อันเป็นฐานที่สำคัญของการพัฒนาการจัดการศึกษาที่สำคัญที่สุดของชุมชน
  • มีอะไรดีๆ ช่วยแนะนำด้วยนัครับ
  • ขอบคุณครับ
  • สวัสดีครับ

สวัสดี ค่ะ ท่าน ผอ.วุฒิ

  • ปลูกยูคา ที่ จ.ชัยภูมิค่ะ ยังไม่รู้จะเป็นยังไง ตอนนี้ก็งามดี  แต่สู้พื้นที่ชุ่มน้ำแถวป่าบุ่งป่าทามมูล สุรินทร์ บุรีรัมย์ไม่ได้หรอกค่ะ งามกว่า น้ำท่วมก็ไม่ตายด้วย ค่ะ
  • การปลูกยูคาตามคันนา หัวไร่ปลายนาแถวบ้านเค้าปลูกเยอะมากไม่มีคันนาว่างหรอกค่ะ ข้าวก็ไม่เสีย ดินก็ไม่เห็นจะเสื่อมเลย ปลูกมา 15 ปีแล้ว ข้าวก็งามเหมือนเดิม งามกว่าเดิมด้วยซ้ำไป   ไปดูของจริงได้แถวรอบๆ ทุ่งกุลาร้องไห้น่ะค่ะ ท่าตูม ชุมพลบุรี สุวรรณภูมิ เกษตรวิสัย
  • บางพื้นที่เลิกปลูกข้าวเลย ยกร่องสูงปลูกยูคา เนื้อเยื่อแล้วค่ะ
  • สนใจโรงเรียนบ้านโคกเพชร น่ะค่ะ อยากรู้เรื่องการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงในสภานศึกษาน่ะค่ะ  เพราะได้รับมอบหมายให้ทำเรื่องนี้อยู่ค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท