ปริญญาชีวิต


สำคัญกับคุณค่าชีวิต

 

 ผู้เขียนมองว่า

การทำนาเป็นปริญญาชีวิตได้ค่ะ มีบางคนอาจสงสัยว่าทำไม คำตอบคือ หากมองดีๆผืนแผ่นดินคือมรดกของไทย

คนที่ทำนาจะเห็นคุณค่าการทำนา รักผืนแผ่นดินไทย มีคามภาคภูมิใจ

ผู้เขียนว่าคนเราควรมีปริญญาชีวิตอีกใบหนึ่งค่ะ ทำนาเป็นการสร้างรายได้ และพึ่งพาตนเองได้นะค่ะ อย่ามัวแต่คิดวาาได้ใบปริญญาแล้วมองข้ามอาชีพทำนา มองข้ามคนทำนาเลย ลองคิดดูนะค่ะ ถ้าไม่มีพวกเขา เราต่างเห็นที่จะอยู่ไม่ได้

คนทำนาคือปริญญาชีวิต

 

หากใครทำนาเป็นลองสอนผู้เขียนทำนาบ้างนะค่ะ อยากเรียนรู้ชีวิตเพิ่มเติมค่ะ

 

 

คำสำคัญ (Tags): #ทำนา
หมายเลขบันทึก: 135336เขียนเมื่อ 5 ตุลาคม 2007 18:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

สวัสดีครับ berger0123

  • ขอบคุณครับที่ยังเห็นคุณค่าอาชีพเกษตรกรรมทำนาเป็นสิ่งที่จะหล่อเลี้ยงชีวิตคนไทยที่ยืนพุดออกทีวี(เรียกคนทำนาว่า "คนรากหญ้า" คนไร้การศึกษา" "คนเชื่อผู้นำ"...)
  • อาชีพทำนาแยกออกได้เป้นสองแนวทางคือทำนาแบบดั้งเดิมกับทำนาสมัยใหม่แบบทำแบบไม่อยากเหนื่อยทั้งสองแบบมีข้อแตกต่างกันดังนี้ครับ
  • การทำนาแบบดั้งเดิม เป็นการทำนาที่คนทำนากับชีวิตรักหวังเพื่อให้มีข้าวกินและอาหารมากับทีหลังอาศัยฝนจากฟ้าที่ตกตามฤดูเพราะแต่ก่อนมีฝนตกตามฤดูเนืท่องจากมีป่าไม้มาก 

               ชีวิตชาวนาครอบครัวหนึ่ง(ที่อีสาน) เมื่อถึงช่วงเดือนหก ราวพฤษภาคมสามีก็เตรียมคันไถที่ทำด้วยไม้ เตรียมอุปกรณ์ต่างๆ  พอเดือนหกฝนตกชีวิตชาวนาก็เริ่มขึ้นฝนตกแรงกบเขียดร้องระงม เพราะดังกะเสียงดนตรี...กบ อึ่งอ่าง และสัตว์อื่นๆร้องเรียกหาคู่ผสมพันธ์ชาวนาก็ไปจับมาทำเป็นอาหารที่เหลือก็ออกไข่เป็นลุกอ๊อดโตจนเป็นกบต่อไป

           เมื่อฝนตกลงมาจนที่ดินท้องนามีน้ำขังตามพื้นนาที่มีคันนา สังเกตราววันแรกนาขวัญบางปีชาวนาก็ทำก่อน โดยเมื่อจะเริ่มทำนาก็จะฆ่าไก่ตัวหนึ่งเลี้ยงผีนา(ผีตาแฮก)ถอนขนไก่ต้มให้สุกเอาไปวางไว้ให้ผีกินวางไว้นานราว 30 นาที โดยเจต้าของนานั่งเฝ้า นอกจากไก่ต้มก็จะมีเหล้าขาว มีรูปคนในครอบครัวโดยใช้หญ้าคาขอดเป้นรุปคนเท่าจำนวนสมาชิกในครอบครัว  เรียกผีมากินพอครบหนึ่งชั่วโมงก็จะขอรับเศษจากผีตาแฮก นิยมเลี้ยงผีในวันพฤหัสบดี โดยเชื่อว่าจะทำให้ครอบครัวปลอดภัยไม่เจ็บไข้ ข้าวกล้าอุดมสมบูรณ์  ทุกครอบครัวมักไปนอนที่นาตัวเอง ถ้าไม่นอนก็ต้องไปกลับตอนเช้าต่นแต่เช้าราวตีสี่เดินไปถึงนากะว่าให้สว่างพอดีแล้วก้ไถนาไถพรวนไปเรื่อยๆ เมื่อฝนตกอีกมีน้ำขังตามท้องนาก็จะเริ่มหว่านกล้าโดยจะเอาข้าวปลูกที่เตรียมไว้ตั้งแต่ต้นปีเดือนธันวาคมตอนเก็บเกี่ยวปีที่แล้วมาแช่น้ำ ใส่ตระกร้าแช่ราวสองสามตระกร้า แช่ไว้สามวันแล้วเอาขึ้นจากน้ำมาตั้งไว้ในร่มเอาใบตองเช่นตองกุง ใบใหญ่ๆปกปากตระกร้าไม่ให้เมล็ดข้าวแห้ง รออีกคืนหรือสองคืนข้าวก็มีรากงอก คราวนี้ก็เอาควายมาไถนาไถแปรและก้คลาดนาโดยใช้ควายลากไถลากคราด เก็บหญ้าออก แล้วใช้ไม้มามัดใส่คราดเพื่อปรับระดับดินให้เสมอ เวลาหว่านกล้าและถอนกล้าจะได้ถอนง่ายครับ เมื่อเสร็จก็หว่านกล้าคนหว่านต้องหัดครับหว่นอย่างไรไม่ให้เมล็ดข้าวกองถี่เกินไป ไม่ให้ห่างเกินไป โดยปกติเมล็ดกล้าจะห่างกันราวครึ่งถึงหนึ่งเซ็นติเมต์ต่อหนึ่งเมล็ด ถ้าที่นากว้างมากก้ตกกล้าทีละสองสามตา(ราวงานหนึ่งเรียกหนึ่งตา) ดุจำนวนคนงานในบ้านเช่นตอนที่ผมเด้กๆคนปักดำก็มีเพียงแม่พอ่และผมก้จะตกกล้าสัปดาห์ละสองตา

           ตกกล้าแล้วก็ไถพรวนไปเรื่อยโดยใช้ควายลากไถวันละสองครั้งภาคเช้าราวตีห้าถึงแปดโมงเช้า ภาคบ่ายบ่ายสามถึงห้าดมงแล้วต้องหยุดให้ควายพักแล้วพาความยกลับบ้าน ตอนที่ความยกินหย้าคือช่วงสามดมงเช้าถึงสามโมงเย็นครับ

           พอไถพรวนเสร็จก็ราวหนึ่งเดือนกล้าก็ครบเดือนพอดี นับว่ากล้าครบเดือนก้นับจากวันที่เราหว่านครับ กล้าถ้าไม่ถึงเดือนถอนไปปักดำกล้าจะช้ำไม่สวยข้าวเจริญเติบโตไม่ดี แต่ถ้ากล้ามีอายุเกินสองเดือนก้ห้ามใช้อีกเพราะแข็งไปเรียกว่ากล้าบั้งคือเป็นข้อเป็นปล้องแล้วข้าวไม่แตกกอ   เมื่อถึงคราวจะดำนาก้เริ่มถอนกล้าก่อนหนึ่งวันเพื่อเตรียมปีกดำวันรุ่งขึ้น พอถอนกล้าทั้งวันก้จะได้ราวคนละประมาณ 70-80มัดต่อคน สามารถดำนาได้ราว 1 ไร่ การถอนกล้าไว้แล้วต้องทำเป็นมัด นำไปรวมกันไว้ตรงที่มีน้ำให้กล้าออกรากกล้าเมื่อถุกถอนราวสามวันจะออกรากขาวสวย  เมื่อไถคราดหอบหญ้าออกแล้วก็ปักดำ  ยามดำนาคนมักไปนอนที่นาตนเองเพื่อจะได้ตื่นแต่เช้าราวตีสี่ไถนากว่าจะสว่าก็ได้สองงาน ปักดำช่วยกันถึงสี่ดมงเช้าก็มากินข้าวเช้าแล้วลงไปดำนาต่อสามีก็ไถคราดไปเสร็จก็มาดำนาช่วยกัน ราวบ่ายสี่ดมงเย็นก็มาทานข้าวเที่ยงห้าดมงเย็นก็ลงไปถอนกล้ามัดไว้ปักดำวันพรุ้ง ถ้ากล้าเดิมเหลือก็ถอนเผื่อวันต่อไปแต่ไม่ต้องมาก  การดำนาจะใช้เวลาราว 15-20 วันตามคนมีที่ดินมากน้อย ถ้ามีมากก็จะวานคนมาช่วยบ้างจ้างบ้าง  ยามค่ำบางทีต้องลงไปจับกบเขียดหรือปลาไว้ทำเป็นอาหาร บางทีทำนาเท้าเปียกนานเท้าเปื่อยต้องใช้มะเกือมาทา เท้าดำปี๋ก็ต้องยอมเพื่อลดอาการคันเท้าหรือเท้าเปื่อย

          ช่วงรอข้าวออกรวงก็มีการทำบุญเช่นบุญข้าวประดับดิน ก่อนออกพรรษาษาเดือนหนึ่งก้นิยมใช้ไม้มาทำบั้งเก็ดจุดดังเหมือนประทัด ครอบครวที่รวยหน่อยจุดประทัด ครอบครัวจนก็เอาตอไม้ไผ่มาเจาะข้อเหลือไว้ข้อสุดท้ายที่ด้านล่าง เจาะไม่สูงจากข้อราว20 เซ็นติเมนให้ไอแก็สออกมาเวลาจดจะเกิดระเปิดเสียงดังสนุก คิคิ บุญออกพรรษาเสร็จก็เริ่มเกี่ยวข้าว เกี่ยวภายในครอบครัวไม่ต้องจ้างใคร เกี่ยวไปจับแมลงกินไปสนุกบางทีเกี่ยวไปเหยีบหลังกบก็จับมาทำอาหาร ฯลฯ เกี่ยวข้าวเสร็จก็มัดข้าวมารวมไว้ลาน แล้วค่อยนวดข้าวด้วยมือใช้ไม้คีบฟาด เสร็จแล้วก้เอาเกวียนขึ้นเล่าหรือฉาง ถ้าไม่มีโรงสีข้าวก็ตำกินเอง ถ้ามีโรงสีก็สีข้าวกินกัน  อาหารหาเอาเอง เงินไม่มีก็ไม่เป็นไร

        ข้าวใหม่ทำข้าวหลามอร่อยครับ ที่จริงช่วงใกล้เก็บเกี่ยวจะต้องไปตัดไม้ไผ่มาทำตอกมัดข้าว แต่เกรงจะยาวไป.....

   ผมขอเล่าการทำนาแบบสมัยใหม่หรือตอนปัจจุบันวันหลังครับถ้าถ้าอยากทราบรายละเอียดก็ดทร 081-0529119 

   ผมคือลูกชาวนาครับ

           

ผมเคยแค่ไถนา ดำนา ช่วงรับน้องสมัยเรียน ปี 1 ครับ

แต่ถ้าเรื่องปลูกผัก ยินดีและเต็มใจแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครับ

เปิบข้าว - จิตร ภูมิศักดิ์ 

เปิบข้าวทุกคราวคำ      จงสูจำเป็นอาจินต์
เหงื่อกูที่สูกิน     จึงก่อเกิดมาเป็นคน
ข้าวนี้นะมีรส     ให้ชนชิมทุกชั้นชน
เบื้องหลังสิทุกข์ทน     และขมขื่นจนเขียวคาว
จากแรงมาเป็นรวง     ระยะทางนั้นเหยียดยาว
จากรวงเป็นเม็ดพราว     ล้วนทุกข์ยากลำบากเข็ญ
เหงื่อหยดสักกี่หยาด     ทุกหยดหยาดล้วนยากเย็น
ปูดโปนกี่เส้นเอ็น     จึงแปรรวงมาเป็นกิน
น้ำเหงื่อที่เรื่อแดง     และน้ำแรงอันหลั่งริน
สายเลือดกูทั้งสิ้น     ที่สูซดกำซาบฟัน

ขอบคุณ อ.โกศล , คุณต้นกล้า และ คุณข้ามสีทันดร สำหรับคำแนะนำดีๆ
  • แวะมาเป็นชาวนาคะ...ชอบตอนเกี่ยวข้าวคะ
  • ตอนถอนกล้า ดำนาก็สนุกคะ..เพราะปักไม่ตรงแถวเลย
  • เอแล้วทำไมบันทึกนี้จึงปรับขนาดตัวอักษรได้ละคะ
สวัสดีค่ะ คุณ naree ใช้เครื่องคอมโดยเช่เครื่องตามร้านข้างนอก เลยปรับัวอักษรได้ค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท