เมืองไทยตื่นตัวเรื่องการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายได้อย่างไร


ในการประชุม 7th Asia Pacific Hospice Conference ที่กรุงมนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ครั้งนี้ ผมได้รับหัวข้อให้พูดเรื่อง เมืองไทยตื่นตัวเรื่องการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายได้อย่างไร โดยมีตัวแทนจากประเทศที่ต้องพูดในช่วงเวลาเดียวกันทั้งหมด ๖ คน คือ ฟิลิปปินส์ เกาหลี เวียดนาม ไทย อเมริกา และ เลขาธิการเครือข่าย ต่างจากการประชุมที่โซลเมื่อ ๒ ปีก่อน ที่ให้ทุกประเทศขึ้นไปรายงานความก้าวหน้า แล้วครั้งนั้นต่างก็ตกอยู่ในสภาพ รีบพูดรีบลง เพราะ เวลามีน้อยแต่มีประเทศสมาชิกมากกว่า ๑๐ ประเทศ

ผมจับหลัก สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา ของท่านอาจารย์ประเวศ วะสีี ซึ่งผมมีโอกาสได้เรียนขออนุญาตอาจารย์ไว้ก่อนแล้ว เพื่อใช้บรรยายกลยุทธสำหรับแก้ปัญหา หรือขับเคลื่อนอะไรบางอย่างในระดับประเทศ โดยสรุปให้จำง่าย เป็นการสร้าง 3P  คือ

  • Practical knowledge การรวบรวมและเผยแพร่ความรู้จากการปฏิบัติ ผ่านกระบวนการจัดการความรู้
  • Public movement การมีส่วนร่วมของสังคม การจัดตั้งองค์กรด้านนี้ระดับประเทศ คือ Hospice Foundation of Thailand หรือมูลนิธิชีวันตารักษ์ ซึ่งเรามี อ. สกล เป็นประธานมูลนิธิคนแรก
  • Political involvement มาตรการทางการเมืองโดยเฉพาะจากมาตรา ๑๒ ใน พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๕๐

รายละเอียดสามารถอ่านตามบทคัดย่อข้างล่างครับ แต่ที่อยากจะเล่าคือ เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยสำหรับเรื่องนี้มากกว่า

  • ครั้งนี้ผมเตรียมพูดไปสั้นกว่าเวลาที่่กำหนด จึงสามารถพูดไปนึกไปช้าๆ ไม่รีบจนลิ้นพันกันเหมือนคราวก่อน
  • ผมเตรียม powerpoint โดยทำรูปและตัวอักษรเป็นภาพใน photoshop ไปเลย เพราะจากประสบการณ์ ไฟล์ที่ทำบนเครื่อง apple ของผม ตัวอักษรมักจะเพี้ยนจนต้องไปนั่งแก้ก่อนพูด
  • ผมเลือกกลยุทธของอาจารย์ประเวศ เพราะอาจารย์ได้รับรางวัลแมกไซไซ ของฟิลิปปินส์ เป็นการให้เกียรติเจ้าภาพไปในตัว
  • ผมเลือกภาพประกอบชุด หน้าบัน ของอาจารย์ธงชัย  ศรีสุขประเสริฐ เป็นพื้นหลัง เพราะอยากโชว์ภูมิปัญญาไทย และตอนที่ผมได้ยินเรื่อง สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา เป็นครั้งแรก ผมก็นึกถึงภาพของศิลปินท่านนี้ทันที เพราะเป็นเรื่องสามเหลี่ยมและพลังของการเคลื่อนไหวเหมือนกัน
 ๒๙ กันยายน ๒๕๕๐

 

Palliative Care: Creating Awareness in Thailand

Although modern hospice palliative care is relatively at the beginning in Thailand, the increasing awareness has been achieved by three strategic approaches: creating practical knowledge, public movement and political involvement.
 
Practical knowledge in end of life care, both in health sciences and cultural wisdom, has been reviewed. Many valuable resources related to culture, death and the end of life in Thai society have been collected, promoted and distributed under the project conducted by The Bureau of Policy and Strategy, the Ministry of Public Health. The workshop to integrate palliative care principles into the medical curriculum was organized by The Consortium of Thai Medical Schools to enhance the professionals’ education. Many conferences, workshops and training programs related to this humanistic care have been successfully accomplished throughout the country.

Public movement also contributes to the awareness of palliative care. The national network of hospice palliative care originated in 2005 is now fully established as Hospice Foundation of Thailand. This organization creates many collaborative works and activities among members from all sectors involved in this care. The activities for World Palliative Care Day were organized both in Bangkok and Hat Yai to promote public participation. A television documentary titled ‘facing death in peace’ about our patient won the Best Documentary News Awards from The Thai Broadcast Journalists Association in 2006.

Political involvement is also very important. Thailand has just got our new health law, The National Health Act 2007. This Act includes the idea of having advance directives for the first time in the country.

The interconnection among these three strategies is essential to move a difficult task. They form a triad called ‘The Triangle that Move the Mountain’ by Prof. Prawase Wasi. To move this mountain is certainly challenging.



ความเห็น (14)

นึกไม่ถึงว่าอาจารย์จะเก่งขนาดนี้

เป็นเรื่องนึกไม่ถึงที่คาดการณ์ได้ครับ

งงไหม

ผมกำลังชมนะครับ

P

  • งง  งง
  • นี่มันชมหรือด่ากันแน่หว่า
  • โปรดรอตอนต่อไป มีทีเด็ดกว่านี้อีก

ขอบคุณอาจารย์ที่นำมาบันทึกให้อ่านนะคะ.....ได้เรียนรู้ด้วยคน   (โดยไม่ต้องเสียค่าลงทะเบียนไปร่วมconference)..... อาจารย์อธิบายได้เข้าใจเห็นชัดเจนมากเลยค่ะ...ละเอียดอ่อนแม้แต่จะเลือกภาพ(ชมค่ะ)

อดคิดไม่ได้ค่ะว่า สมัยก่อนในทางการแพทย์พยาบาลไทย เราไม่ต้องพูดเรื่องนี้เลยเน๊อะ...มันเป็นการปฏิบัติปกติที่เราจะต้องดูแล.....จำได้ว่าตอนเป็นนักเรียนพยาบาล เวลาคนไข้อาการหนักก็ให้ญาติเฝ้าดูแลเห็นใจนิมนต์พระมาแสดงธรรม มีอะไรก็ให้สั่งเสียจัดการ ญาติบางคนเอาเงินมาเป็นฟ่อนฝากพยาบาลไว้ว่าทันทีที่เสียชีวิตให้เอาเงินใส่มือและกระเป๋าตังค์นะ และหลายๆคนก็พาคนไข้กลับบ้านมีพยาบาลไปตามเยี่ยมที่บ้านเป็นระยะ..ตอนนั้นก็ยังได้ตามไปเยี่ยมถึงบ้านด้วย....โดยไม่ได้รู้สึกว่าเป็นเรื่องแปลกใหม่.แต่ช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมามันเกิดอะไรขึ้นกับรายเหล่านี้ก็ไม่ทราบ...(อืม..นึกไม่ออกจำไม่ได้ว่าพัฒนาการเรื่องนี้มันขาดช่วงไปได้อย่างไร) กลายเป็นว่าการดูแลทำนองนี้เป็นเรื่องใหม่ของประเทศ.....ทำไมกลายเป็นว่าเราขาดด้านจิตใจกันขนาดหนักเลยหรือ.......เลยรู้สึกแปลกๆค่ะ

เหมือนๆเวลาอ่านเจอคำว่า การแพทย์ที่มีหัวใจเป็นมนุษย์ น่ะค่ะอ่านทีไรก็รู้สึกแปลกๆ เพราะก็คิดว่า จะเป็นแพทย์พยาบาลต้องมีหัวใจเป็นมนุษย์ก่อนไม่ว่าจะทำการใดๆ ทำไมต้องมาบัญญติให้ดูเป็นเรื่องใหม่...และเป็นเรื่องยิ่งใหญ่ในเมื่อก็เป็นเรื่องต้องปฏิบัติด้วยวิสัยแพทย์พยาบาล พออ่านเจอก็จะเกิดคำถามเสมอว่าแพทย์ที่ไม่มีหัวใจมนุษย์ยังจัดในนิยามความหมายของแพทย์ได้อีกหรือน่าจะเรียกอย่างอื่นแทนเพราะคำว่าแพทย์มันคลุมการกระทำเพื่อเพื่อนมนุษย์อยู่แล้ว

ขออนุญาตคิดดังๆ พูดในใจแต่ออกไมค์ทางบันทึกนะคะ.....ถ้าหากกระทบผู้ใดขออภัยด้วยค่ะ

P

  • ครับ เราทำกันมาตั้งนมนานแล้ว แต่มันขาดหายไป..
  • ผมว่ามันขาดหายไปก็ไอ้ตอน ที่ความก้าวหน้าทางการแพทย์ สาธารณสุข ช่วงอุตสาหกรรม วิทยาศาสตร์แบบนิวตันเจริญสุดๆ นี่แหละครับ
  • โดยเฉพาะตอนที่เราเจอ ยาปฏิชีวนะรักษา กำจัด เชื้อโรคร้ายๆได้ ทำให้มีคนในวิชาชีพหนึ่ง หลงคิดว่า สามารถเอาธรรมชาติได้ ได้เป็นเทวดาเสียเอง อหังการแห่งวิชาชีพ
  • อ้าว.. อาจารย์ไม่ทราบหรือครับว่า แพทย์ไม่ใช่มนุษย์ แพทย์เป็นเทวดากลับชาติมาเกิดครับ แต่ชาติต่อไปบางคนอาจตกนรก..
  • ผมมองเรื่องการใช้คำว่า การแพทย์ที่มีหัวใจเป็นมนุษย์ เป็นการกระชาก กระตุกให้ฉุกคิดครับ ทั้งหมอทั้งพยาบาลส่วนใหญ่ของเรา ก็ยังมีหัวใจของความเป็นมนุษย์อยู่ครบถ้วนดีอยู่

สวัสดีคะอาจารย์ ขอบพระคุณอาจารย์นะค่ะที่มาบรรยายที่ G2K

  • อ้าว.. อาจารย์ไม่ทราบหรือครับว่า แพทย์ไม่ใช่มนุษย์ แพทย์เป็นเทวดากลับชาติมาเกิดครับ แต่ชาติต่อไปบางคนอาจตกนรก..
  •  

    โห....อาจารย์เรียกรอยยิ้มกันแต่เช้าเลย.....ฮาๆ

     

    antecedence ผิดจากที่เคยรู้มาอีกแย้ว....แต่consequence คงเหมือนกัน

     

    ที่จำมาจากครูที่สอนสมัยเป็นเด็กๆคือ

     

    แพทย์คือ ผู้ที่ชาติก่อนเป็นพระ...แต่เวลาบินฑบาตร ไมได้สวดบทอนุโมทนาหรือก็ทำแบบไม่ตั้งใจ (เคยเห็นไหมคะ เวลาพระรับบาตรต้องสำรวมแต่บางรูปอาจจะวอกแวกสวดไปตามองนั่นมองนี่ไป).....เอาเข้าเรื่องต่อ.....ทีนี้เกิดมาอีกชาติเลยต้องมาเป็นแพทย์รักษาเจ้ากรรมนายเวรที่ตนเคยรับบาตรเขา.....ดังนั้นหากตอนเป็นแพทย์ไม่ดูแลด้วยจิตกุศล ไม่แผ่เมตตาให้ เจ้ากรรมนายเวรย่อมจะแช่งชักหักกระดูก.....คราวนี้ อีกภพอาจจะไปเป็น.....(อะไรไม่รู้แล้ว)

    ส่วนพยาบาลก็......(วันนี้พูดเรื่องแพทย์เลยไม่เลอะเทอะไปพยาบาลก็ได้ใช่ไหมคะ ไว้อาจารย์พูดเรื่องพยาบาลค่อยมาต่อดีกว่า......อุอุ)

     

     

    P

    • Dear Ajarn Jantharat.
    • I use the computer at Singapore National Cancer Centre without Thai fonts.
    • I haven't heard about that story before, great!
    ผมแวะมาเยี่ยมเยียนครับ ดีใจที่ได้ร่วมฟังการบรรยายของอาจารย์ ให้มุมมองที่กว้างไกลสำหรับผม ขอบคุณครับ
    • ขอบคุณค่ะคุณหมอ...
    • ทำให้ได้เรียนรู้การบรรยายของคุณหมอไปด้วย
    • แถมฝึกภาษาอังกฤษไปด้วยในตัว
    • ภาวนาให้มีคุณหมอที่มีหัวใจมนุษย์กันเยอะๆนะคะ   เพราะท่านคือที่พึ่งสุดท้ายของคนจำนวนมากค่ะ

    P

    • อยากให้หมอโรจน์เขียนประสบการณ์ที่ได้จากฟิลิปปินส์ เผื่อคนอื่นด้วยนะครับ
    • ผมอยู่สิงคโปร์ตอนนี้ ก็พยายามย่อยเรื่องที่ได้เรียนรู้ที่นี่ เอาไปฝากทุกคนครับ 

    P

    • ขอบคุณอาจารย์ลูกหว้าครับ
    • ภาษาอังกฤษผมก็ไม่แข็งแรงนัก ที่ผ่านมาก็อาศัยใบหน้าเคลือบซิเมนต์เป็นหลัก
    • จะลงบันทึกเรื่องภาษา เพื่อขอความเห็นจากผู้รู้หลายท่านใน G2K งานนี้สงสัยคงต้องให้อาจารย์ขจิตช่วยผมด้วยครับ

    แวะมาเยี่ยมอาจารย์ ได้ความรู้มากค่ะ

    เกศนี

    pediatric palliative care, Khon Kaen

    P

    • สวัสดีครับ คุณเกศ ไม่เจอกันเสียนาน
    • อยากให้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่ขอนแก่นด้วยนะครับ
    • ไม่ทราบยังทำเรื่อง สะกดจิต อยู่หรือเปล่าครับ
    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท