กลไกมโนธรรมของข้าราชการ


มโนธรรม

กลไกมโนธรรมของข้าราชการ

 

กลไกมโนธรรม 

 

          หากจะตั้งคำถามกับข้าราชการโดยทั่วไปว่า ทำไมจึงมาทำงานทุกวัน โดยไม่โกงเวลาราชการ หลายคนอาจตอบว่า เพราะต้องทำตามกฎของข้าราชการที่ให้มาปฏิบัติทุกวันราชการ
เมื่อถามว่า ทำไมจึงต้องทำตามกฎ ทุกคนจะตอบเหมือนกันว่า เพราะไม่ต้องการถูกไล่ออกจากงาน ก็ถามต่อไปว่าทำไมจึงกลัวการถูกไล่ออกจากงาน ก็ตอบว่า กลัวว่าไม่มีเงินค่าจ้างมาใช้จ่ายในวิถีชีวิตประจำวันเพื่อตนเองจะได้มีความสุข ฉะนั้นแม้นว่าคำตอบที่ได้เป็นคำตอบที่แตกต่างหลากหลายกันตามเป้าหมายของแต่ละคน และคำตอบส่วนมากที่ได้รับมักตอบว่า เพราะเป็นอาชีพที่มีความมั่นคงทั้งในด้านรายได้ การครองชีพ และเป็นอาชีพที่ดีได้รับการยอมรับจากสังคม คำตอบเหล่านีล้วนเป็นเป้าหมายเฉพาะกิจ เพราะเป้าหมายสูงสุดของชีวิตคือ การมีชีวิตอยู่อย่างเป็นสุขในสังคม เพราะทั้งความมั่นคงทั้งรายได้ การครองชีพและเป็นอาชีพที่ดีย่อมเป็นหลักประกันได้ว่าจะต้องมีชีวิตที่ดีได้อย่างมีความสุข

 

โดยสรุปเป้าหมายสุดท้ายหรือเป้าหมายสูงสุดของการเป็นข้าราชการพลเรือนคือ การมีชีวิตอยู่ในโลกนี้อย่างมีความสุข หากจะถามต่อไปว่าทำไมจึงอยากให้ทุกคนมีความสุขและอื่นๆ ต่อไป ในที่สุดก็ลงเอยว่า เพื่อให้ตนเองมีความสุข หรือบรรลุเป้าหมายสูงสุดของศาสนาที่ตนเองนับถือ

 

การบริหารงานที่ดี (Good Governance)

ข้าราชการพลเรือนที่ดีทุกคนจะต้องรับผิดชอบต่อวิถีชีวิตของตนเองใน ๓ ระดับ คือ
๑. เกณฑ์จำเป็น การควบคุมตนเองให้เป็นผู้ที่ทำหน้าที่ข้าราชการพลเรือนที่ดีได้อย่างเต็มความสามารถ โดยละเมิดกฎ ระเบียบของวิชาชีพและกฎระเบียบของรัฐที่กำหนดให้ข้าราชการพลเรือนทำหน้าที่ หากละเมิดกฎก็จะได้การลงโทษตามกฎเกณฑ์ที่รัฐได้กำหนดไว้
๒. เกณฑ์เสริม สิ่งจำเป็นที่ข้าราชการพลเรือนที่ดีทุกคนต้องปฏิบัติ คือ การปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ เพื่อเป็นหลักประกันว่าตนได้ปฏิบัติตามที่จรรยาบรรณของข้าราชการพลเรือนได้กำหนดไว้ ดังนี้

 

จรรยาบรรณของข้าราชการพลเรือน

 

จรรยาบรรณต่อตนเอง

- มีศีลธรรม(จริยธรรม) ประพฤติตนเหมาะสม
- ใช้วิชาชีพด้วยความซื่อสัตย์ ไม่แสวงหาประโยชน์
- มีทัศนคติที่ดีและพัฒนาตนเอง

 

จรรยาบรรณต่อหน่วยงาน

- สุจริต เสมอภาค ปราศจากอคติ
- ปฏิบัติหน้าที่เต็มกำลังความสามารถ รวดเร็ว ขยันหมั่นเพียร ถูกต้อง สมเหตุสมผล
- ตรงต่อเวลา ใช้เวลาให้เป็นประโยชน์ต่อทางราชการ
- ดูแลรักษาและใช้ทรัพย์สินของทางราชการอย่างประหยัดคุ้มค่า

 

จรรยาบรรณต่อผู้บังคับบัญชา ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา และผู้ร่วมงาน

- ร่วมมือ ช่วยเหลือ แนะนำ
- เอาใจใส่ดูแลลูกน้อง
- สร้างความสามัคคีในการปฏิบัติหน้าที่
- สุภาพ มีน้ำใจ มีมนุษยสัมพันธ์
- ละเว้นการนำผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน

 

จรรยาบรรณต่อประชาชนและสังคม

- ให้ความเป็นธรรม เอื้อเฟื้อ มีน้ำใจสุภาพ อ่อนโยน
- ประพฤติตนให้เป็นที่เชื่อถือของบุคคลทั่วไป
- ละเว้นการรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด ซึ่งมีมูลค่าเกินปกติวิสัย จากผู้มาติดต่อราชการผู้ที่ประกอบวิชาชีพข้าราชการพลเรือน จะได้รับการประเมินสถานภาพตามกฎเกณฑ์ที่ได้กำหนดไว้ สำหรับผู้ที่ละเมิดจรรยาบรรณเมื่อตรวจสอบตามกฎระเบียบแล้วก็จะมีกฎการลงโทษ โดยไม่ให้สิทธิในการประกอบอาชีพหรือพักการประกอบวิชาชีพชั่วคราวหรืออาจได้โทษเพียงการว่ากล่าวตักเตือน
๓. เกณฑ์ส่งเสริม หากผู้ที่เป็นข้าราชการพลเรือนต้องการหลักประกันที่ชัดเจนว่าตนเองได้ปฏิบัติตนอย่างไม่บกพร่องในกฎ ระเบียบของราชการ และจรรยาบรรณของข้าราชการพลเรือน จึงยินดีเสียสละเวลาส่วนตนบางเวลาทำกิจกรรมที่ส่งเสริมการปฏิบัติงานราชการของตน เช่น การพัฒนาทักษะเฉพาะบางอย่างที่ใช้ในการปฏิบัติงานราชการที่ตนรับผิดชอบโดยเข้าร่วมกับชมรมฯหรือมูลนิธิของข้าราชการพลเรือนเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามแนวทางของข้าราชการพลเรือนที่ดีข้าราชการพลเรือนได้รับการส่งเสริมจากรัฐโดยมีการประกาศเกียรติคุณแก่ผู้ที่ประพฤติปฏิบัติตนได้เป็นอย่างดี ทั้งในระดับการปกครองในแต่ละจังหวัด เขต ภูมิภาคหรือระดับชาติ ในแต่ละปี เพื่อเป็นการส่งเสริมให้เกิดการกระทำที่ดี รัฐได้จัดตั้งเป็นกองทุนมูลนิธิเพื่อเป็นสนับสนุนให้ข้าราชการพลเรือนทุกคนได้กระทำความดี

เรียบเรียงโดย นายรวิช ตาแก้ว

อนุกรรมาธิการคุณธรรมและจริยธรรม

คณะกรรมาธิการศาสนา จริยธรรม ศิลปะและวัฒนธรรม

หมายเลขบันทึก: 134199เขียนเมื่อ 2 ตุลาคม 2007 17:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท