aey
นางสาว สุรางค์รัตน์ พจี

การจัดตั้งธุรกิจ


เริ่มต้นธุรกิจ

โครงการเสริมสร้างผู้ประกอบการใหม่ เป็นโครงการหนึ่งซึ่งมุ่งหวังให้ผู้ที่ผ่านกระบวนการฝึกอบรมบ่มเพาะในหลักสูตรเสริมสร้างผู้ประกอบการใหม่ สามารถเริ่มต้นจัดตั้งธุรกิจของตนเองได้ กระบวนการพัฒนาผู้เข้าร่วมโครงการ เริ่มจากการคัดเลือกผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมเข้าร่วมการอบรม เนื้อหาการอบรมจะประกอบด้วยการสร้างความตระหนักถึงบทบามความสำคัญของผู้ประกอบการต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ การเป็นผู้ประกอบการที่ดี การค้นหาศักยภาพในการเป็นผู้ประกอบการของตนเอง เพื่อแสวงหาประเภทธุรกิจที่ตนเองมีความสนใจ และสามารถนำไปจัดทำแผนธุรกิจของตนเองได้ จากนั้นก็จะเข้าสู่กระบวนการจัดตั้งธุรกิจ ซึ่งต้องมีที่ปรึกษาดูแลช่วยแก้ไขปัญหาอุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้น

กระบวนการทำงานการเสริมสร้างผู้ประกอบการใหม่ มี 8 ขั้นตอน

1 การจัดตั้งทีมงานที่ปรึกษา 

 1.1 บริหารหลักสูตร กำหนดผู้รับผิดชอบในแต่ละกิจกรรมเช่น ผู้จัดการหลักสูตร ผู้ดูแลกิจกรรมฝึกอบรม  ผู้ดูแลงบประมาณและการรายงาน ผู้ดูแลระบบข้อมูล ผู้ประสานงานหลักสูตรพร้อมทั้งระบุชื่อที่อยู่ โทรศัพท์  โทรสาร ที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมสามารถติดต่อ

1.2        แผนการดำเนินงาน แผนการใช้จ่ายงบประมาณ

2  การประชาสัมพันธ์และรับสมัคร

2.1 การประชาสัมพันธ์ เพื่อให้ได้กลุ่มเป้าหมายตามที่กำหนด โดยผ่านช่องทางสื่อต่างๆ เช่น วิทยุชุมชน, หนังสือพิมพ์, การติดประกาศตามสถานที่ที่คาดว่ากลุ่มเป้าหมายจะไปใช้บริการ, การเข้าร่วมประชุมมูลนิธิหรือสมาคมที่เกี่ยวข้องกับการค้า อุตสาหกรรมและบริการ ในจังหวัด และการประชาสัมพันธ์ถึงกลุ่มเป้าหมายโดยตรง เป็นต้น

2.2 วิธีการรับสมัคร ผู้สนใจสามารถสมัครได้หลายช่องทาง ทั้งที่เป็นจุดรับสมัครหน่วยงานภาครัฐ เช่นอุตสาหกรรมจังหวัด และหน่วยงานภาคเอกชน เช่น สภาอุตสาหกรรมจังหวัด หอการค้าจังหวัด และสมาคมส่งเสริมผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรมสาขาจังหวัด เป็นต้น หรือทางโทรสาร ทางไปรษณีย์ หรือไปรษณีย์อิเลคทรอนิกส์ เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายสามารถสมัครเข้าร่วมโครงการได้สะดวกและทราบผลการสมัครโดยเร็ว

3.  การสัมภาษณ์และคัดเลือก  หลักเกณฑ์การคัดเลือกผู้สมัคร ซึ่งควรประกอบด้วย

การสอบข้อเขียน เพื่อทดสอบความสามารถในการถ่ายทอดแนวคิดทางธุรกิจของผู้สมัคร

การสอบปฏิบัติ เพื่อทดสอบทักษะด้านเทคนิค

การสัมภาษณ์  เพื่อวัดทัศนคติ ค่านิยม และศักยภาพการเป็นผู้ประกอบการ

4  การฝึกอบรมบ่มเพาะ

4.1 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมบ่มเพาะสำหรับผู้ประกอบการใหม่ ทุกปี เพื่อให้หลักสูตรมีความทันสมัยและสามารถส่งเสริมให้ผู้สำเร็จการฝึกอบรมสามารถจัดตั้งธุรกิจได้ โดยเนื้อหาหลักสูตรในปีงบประมาณ พ.ศ.2551ประกอบด้วย การอบรมภาคทฤษฎีจำนวนไม่น้อยกว่า 96 ชั่วโมง  ปรึกษาแนะนำไม่น้อยกว่า 60 ชั่วโมง และ ศึกษาดูงาน ไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง ระยะเวลารวมไม่น้อยกว่า  162 ชั่วโมง

กรอบหลักสูตร กิจกรรมฝึกอบรมบ่มเพาะระยะกลาง ปีงบประมาณ 2551โครงการเสริมสร้างผู้ประกอบการใหม่  กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม 

Module

ชื่อ Module จำนวนชั่วโมง
1
นโยบายและมาตรการส่งเสริม SMEs ของภาครัฐ

3

2

ปฐมนิเทศ การเตรียมความพร้อมสำหรับการเป็นผู้ประกอบการใหม่และการวิเคราะห์โอกาสการลงทุนทางธุรกิจ

12
3 การบริหารจัดการด้านการตลาด 12
4 การบริหารจัดการด้านเทคนิคปฏิบัติกา (การผลิต การบริการ และโซ่อุปทาน) 15
5 การบริหารองค์กรและบุคคลากร และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ 12
6 การบริหารการเงิน และการจัดการด้านการบัญชี 24
7 การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจ 18
  รวมเวลาภาคบรรยาย ฝึกปฏิบัติและกรณีศึกษา 96
8 การให้คำปรึกษาแนะนำเพื่อให้เกิดการจัดตั้งธุรกิจ 60
9 การศึกษาดูงาน 6
  รวมจำนวนชั่วโมงทั้งสิ้น 162

4.2 วิธีการถ่ายทอดการฝึกอบรมบ่มเพาะ เน้นการเรียนรู้จากกรณีศึกษา และการเรียนรู้เชิงปฏิบัติมากกว่าการเรียนรู้ในด้านทฤษฎี เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความเข้าใจการประยุกต์ใช้ทฤษฎีและเชื่อมโยงองค์ความรู้ด้านต่างๆ ให้เกิดกระบวนการที่สามารถดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจได้

4.3  การช่วยเหลือผู้เข้ารับการฝึกอบรมให้สามารถพัฒนาแนวคิดโครงการธุรกิจมาเป็นแผนธุรกิจรายบุคคลได้อย่างถูกต้อง ตรงตามหลักสากลนิยม

5  การนำเสนอและปรับปรุงแผนธุรกิจ  มุ่งเน้นให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้มีโอกาสพบผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดทำแผนธุรกิจ เพื่อรับฟังข้อเสนอแนะและการตรวจสอบความเป็นไปได้ของแผนธุรกิจในเบื้องต้น

6  การให้บริการปรึกษาแนะนำ

การให้คำปรึกษาแนะนำที่มีประสิทธิภาพและเอื้ออำนวยประโยชน์แก่ผู้เข้าอบรม โดยผู้เข้ารับการอบรมจะได้รับคำปรึกษาแนะนำเพื่อให้เกิดการจัดตั้งธุรกิจหรือขยายธุรกิจจากผู้เชี่ยวชาญที่จะให้ความช่วยเหลือแก้ไขปัญหาอุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้นในขั้นตอนการจัดตั้งธุรกิจ เช่น ปัญหาด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดตั้งธุรกิจ การจัดหาผู้รับช่วงงาน เป็นต้น

7  การติดตามและประเมินผล

การติดตามความก้าวหน้าและสรุปรายงานผลสัมฤทธิ์การจัดตั้งธุรกิจของผู้เข้ารับการฝึกอบกรม  ทั้งในประเด็นของการจัดตั้งธุรกิจใหม่ การขยายการลงทุน การสืบทอดกิจการของทายาท และผลการเปลี่ยนแปลงในกิจการของผู้ที่มีธุรกิจอยู่แล้ว ซึ่งกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมได้กำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการไว้แล้ว ได้แก่ มูลค่าการลงทุน การจ้างงาน การริเริ่มการผลิตหรือบริการ การจัดหาทำเลที่ตั้งธุรกิจ เป็นต้น

8  การให้บริการต่อเนื่อง ภายหลังจาการเริ่มจัดตั้งธุรกิจ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ยังมีเครื่องมือที่จะให้บริการต่อเนื่องแก่ผู้ผ่านการฝึกอบรม เพื่อให้ผู้ประกอบการใหม่ สามารถดำรงอยู่และพัฒนาธุรกิจของตนต่อไปได้

ทั้ง 8 ขั้นตอนในการเสริมสร้างผู้ประกอบการนี้ เนื่องจากการประเมินผลผู้ผ่านการฝึกอบรมตั้งแต่ปีงบประมาณ 2545 พบว่า ปัจจัยแห่งความสำเร็จประกอบด้วย

1. ผู้จัดการอบรมมีทีมงานที่มีความชำนาญ มีความพร้อมและมีความเข้าใจในวัตถุประสงค์ ตัวชี้วัด และกระบวนการเสริมสร้างผู้ประกอบการใหม่ สามารถพัฒนาหลักสูตร การบริหารหลักสูตร และการบริหารจัดการทีมงานได้เป็นอย่างดี

2. การคัดเลือกผู้เข้าร่วมฝึกอบรมที่ดีจะช่วยให้ได้ผู้ที่มีศักยภาพที่จะเป็นผู้ประกอบการ ประเด็นที่สำคัญคือทำอย่างไรที่จะได้กลุ่มเป้าหมายสมัครเข้ารับการฝึกอบรมในจำนวนที่มากพอ ดังนั้นขั้นตอนการประชาสัมพันธ์ต้องมีประสิทธิภาพสามารถกระจายข่าวสารถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างทั่วถึง และนำมากลั่นกรองด้วยการสอบสัมภาษณ์ ข้อเขียนและคัดเลือก เพื่อให้สามารถคัดผู้สมัครที่มีศักยภาพ มีความเหมาะสมในการเป็นผู้ประกอบการ การทดสอบทั้งทางด้านจิตวิทยา ทักษาะ ค่านิยม แนวคิด การยอมรับความเสี่ยง

3. วิธีการถ่ายทอดในการฝึกอบรม ต้องไม่ใช่การเรียนการสอนเหมือนกับการสอนนิสิตนักศึกษา วิทยากรต้องสามารถเชื่อมโยงระหว่างภาคทฤษฎีและการประยุกต์ใช้ได้อย่างชัดเจน การใช้กรณีศึกษา และเกมทางธุรกิจ จะช่วยให้ผู้เข้าการฝึกอบรมมีความเข้าและนำไปปฏิบัติได้

ปัจจัยที่กล่าวมานี้มีความสำคัญต่อความสำเร็จและล้มเหลวของโครงการ การอบรมเป็นระยะเวลานานเป็นปัจจัยหนึ่งที่อาจทำให้กำลังใจและความมุ่งมั่นของผู้เข้ารับการอบรมลดทอนลง การสร้างความตื่นตัวภายในห้องอบรมและการติดตามสอบถามความคืบหน้าในการพัฒนาแนวคิดทางธุรกิจของผู้เข้าอบรม จึงเป็นสิ่งหนึ่งที่จะกระตุ้นให้เกิดความมั่นใจในความสำเร็จของการจัดทำแผนธุรกิจ หากทีมงานที่ดีได้เอาใจใส่คอยเป็นกำลังใจและติดตามแก้ไขปัญหาอุปสรรคตั้งแต่ต้น การกำหนดตัวขี้วัดความคืบหน้าของการจัดทำแผนธุรกิจ เมื่อสิ้นสุดการอบรมในแต่ละ Module น่าจะช่วยให้การเขียนแผนธุรกิจมีความชัดเจนและไม่ยุ่งยาก เมื่อเทียบกับการให้ผู้รับการอบรมเขียนแผนทั้งหมดในขั้นตอนสุดท้าย จากประสบการณ์ในการติดตามการอบรมบ่มเพาะ โครงการเสริมสร้างผู้ประกอบการใหม่ มีความเห็นว่า ตัวชี้วัดความคืบหน้าของการจัดทำแผนธุรกิจ คือ

 

ขั้นตอน/ชื่อ Module

ตัวชี้วัดความคืบหน้าเมื่อสิ้นสุดการอบรม

 พิธีเปิดและปฐมนิเทศ

-เข้าใจวัตถุประสงค์ ประโยชน์ และสิทธิ์ที่จะได้รับในการเข้าร่วมโครงการ

การเตรียมความพร้อมสำหรับการเป็นผู้ประกอบการใหม่และการวิเคราะห์โอกาสการลงทุนทางธุรกิจ

- ค้นพบศักยภาพของตนเอง
- มีโครงการธุรกิจที่เหมาะสมกับตนเองอย่างน้อย 1 ธุรกิจ

 

นโยบายและมาตรการส่งเสริม SMEs ของภาครัฐ

-ทราบข้อมูลแหล่งความช่วยเหลือและสนับสนุนในการประกอบธุรกิจ

การบริหารจัดการด้านการตลาด

-มีแนวคิดรวบยอดทางการตลาดในธุรกิจที่เลือกไว้

การบริหารจัดการด้านเทคนิคปฏิบัติการ    (การผลิต การบริการ และโซ่อุปทาน)

-มีแนวคิดรวบยอดด้านการผลิตและบริการในธุรกิจที่เลือก

การบริหารองค์กรและบุคลากร และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ

-มีแนวคิดรวบยอดด้านการบริหารจัดการองค์กรในธุรกิจที่เลือก

การบริหารการเงิน และการจัดการด้านบัญชี

-มีแนวคิดรวบยอดด้านการบริหารจัดการการเงินในธุรกิจที่เลือก

การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจ

-มีแนวคิดรวบยอดด้านการบริหารจัดการในธุรกิจที่เลือก

การติดตามความก้าวหน้าตามตัวชี้วัดดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อผู้รับการอบรมและวิทยากร การที่ผู้เข้ารับการอบรมสามารถมองเห็นธุรกิจ(ตัวสินค้าและบริการ)ของเขาชัดเจนตั้งแต่เริ่มแรก จะทำให้ความคิดในการพัฒนาเกิดความต่อเนื่อง แต่อย่างไรก็ตามผู้เขียนก็ยังเห็นว่าตัวขี้วัดดังกล่าวเป็นเพียงแนวความคิดเบื้องต้น ยังคงต้องการความช่วยเหลือจากผู้รู้ให้ข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนาให้ชัดเจนยิ่งขึ้น

 

หมายเลขบันทึก: 134194เขียนเมื่อ 2 ตุลาคม 2007 17:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 21:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท