กลไกมโนธรรมสำหรับผู้สอน


มโนธรรม

กลไกมโนธรรมสำหรับผู้สอน

กลไกของมโนธรรม

 

 

           <h2 align="left">หากจะคำถามว่า ทำไมจึงเลือกมาเป็นผู้สอน หลายคนอาจจะตอบว่า เพราะเรียนมาทางด้านนี้หรือเพราะต้องการเป็นครู </h2> <h2 align="left">เมื่อถามทำไมจึงต้องการเป็นครู คำตอบที่เป็นคำตอบสุดท้าย ผู้สอนส่วนมากมักตอบว่า เพราะต้องการสร้างเด็กให้มีความรู้ </h2> <h2 align="left">เมื่อถามว่าทำไมจึงต้องการสร้างเด็กให้มีความรู้ ผู้ทำหน้าที่สอนจะตอบว่าสร้างความรู้ให้แก่เด็กเพราะต้องการให้เด็กใช้ความรู้ในการดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข หรือต้องการให้เด็กมีความรู้และมีความประพฤติเป็นคนดีของสังคม ทำให้สังคมมีความสงบสุข </h2> <h2 align="left">จากคำตอบดังกล่าวในแต่ละขั้นตอนล้วนเป็นเป้าหมายเฉพาะกิจ เมื่อถึงเป้าหมายสุดท้ายจะพบว่าคือความต้องการให้ทุกคนมีความสุข สังคมมีความสุข และเป็นความสุขที่ทุกคนได้รับจากการดำรงชีวิตในขณะที่มีชีวิตอยู่ในโลกใบนี้ ซึ่งรวมทั้งตนเองด้วย</h2> <h2 align="left">ดังนั้นเป้าหมายสุดท้ายหรือเป้าหมายสูงสุดของการเป็นผู้สอนที่ดี คือ การมีชีวิตอยู่ในโลกนี้อย่างมีความสุขในโลกนี้</h2> <h2 align="left">หากจะถามต่อไปว่าทำไมจึงอยากให้ทุกคนมีความสุข และสุขอื่นๆ ต่อไป ในที่สุดก็ลงเอยว่า เพื่อให้ตนเองมีความสุข หรือบรรลุเป้าหมายสูงสุดของศาสนาที่ตนเองนับถือ </h2>

 

การบริหารงานที่ดี (Good Governance)

ผู้สอนที่ดีทุกคนจะต้องรับผิดชอบต่อวิถีชีวิตของตนเองใน ๓ ระดับ คือ

๑. เกณฑ์จำเป็น การควบคุมตนเองให้เป็นผู้ที่ทำหน้าที่ผู้สอนที่ดีได้อย่างเต็มความสามารถโดยไม่ละเมิดกฎ ระเบียบของวิชาชีพและกฎ ระเบียบของรัฐที่กำหนดให้ผู้สอนทำหน้าที่ หากละเมิดกฎก็จะถูกลงโทษตามกฎเกณฑ์ที่รัฐและสถาบันการศึกษาได้กำหนดไว้

๒. เกณฑ์เสริม สิ่งจำเป็นที่ผู้สอนทุกคนต้องปฏิบัติ คือ การปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ เพื่อเป็นหลักประกันว่าผู้สอนได้ปฏิบัติตนตามที่จรรยาบรรณของผู้สอนได้กำหนดไว้ดังนี้                   

</span><h4>สิ่งจำเป็นที่ผู้สอนทุกคนต้องปฏิบัติ คือ การปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ เพื่อเป็นหลักประกันว่าผู้สอนได้ปฏิบัติตนตามที่จรรยาบรรณของผู้สอนได้กำหนดไว้ดังนี้</h4><h4>จรรยาบรรณต่อตนเอง</h4><h4>๑. ต้องมีวินัยในตนเอง พัฒนาตนเองด้านวิชาชีพ บุคลิกภาพ และ </h4><h4>วิสัยทัศน์ ให้ทันต่อการพัฒนาทางวิทยาการ เศรษฐกิจ สังคมและการเมืองอยู่เสมอ</h4><h4>จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ</h4><h4>๒. ต้องรัก ศรัทธา ซื่อสัตย์สุจริต และรับผิดชอบต่อวิชาชีพ เป็น </h4><h4>สมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพ</h4><h4>จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ</h4><h4>๓. ต้องรัก เมตตา เอาใจใส่ ช่วยเหลือ ส่งเสริมให้กำลังใจแก่ศิษย์ </h4><h4>และผู้รับบริการตามบทบาทหน้าที่โดยเสมอหน้า</h4><h4>๔. ต้องส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ ทักษะ และนิสัยที่ถูกต้องดีงามแก่ </h4><h4>ศิษย์ และผู้รับบริการ ตามบทบาทหน้าที่อย่างเต็มความสามารถด้วยความบริสุทธิ์ใจ</h4><h4>๕. ต้องประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีทัง้ กาย วาจา และจิตใจ๖. ต้องไม่กระทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความเจริญทางกาย สติปัญญา </h4><h4>จิตใจ อารมณ์และสังคมของศิษย์ และผู้รับบริการ</h4><h4>๗. ต้องให้บริการด้วยความจริงใจและเสมอภาค โดยไม่เรียกรับหรือ </h4><h4>ยอมรับผลประโยชน์จากการใช้ตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบ</h4><h4>จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ</h4><h4>๘. พึงช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันอย่างสร้างสรรค์ โดยยึดมั่นใน </h4><h4>ระบบคุณธรรม สร้างความสามัคคีในหมู่คณะ</h4><h4>จรรยาบรรณต่อสังคม</h4><h4>๙. พึงประพฤติปฏิบัติตน เป็นผู้นำในการอนุรักษ์และพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญา สิ่งแวดล้อม รักษาผลประโยชน์ของส่วนรวมและยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข</h4><h4>ผู้ที่ประกอบวิชาชีพผู้สอน จะได้รับการประเมินสถานภาพตามกฎเกณฑ์ที่ได้กำหนดไว้ สำหรับผู้ที่ละเมิดจรรยาบรรณเมื่อตรวจสอบตามกฎระเบียบแล้วก็จะมีกฎการลงโทษ โดยไม่ให้สิทธิในการประกอบอาชีพหรือพักการประกอบวิชาชีพชั่วคราว หรืออาจได้โทษเพียงการว่ากล่าวตักเตือน</h4><h4>๓. เกณฑ์ส่งเสริม ผู้สอนพึงเข้าร่วมชมรม สมาคม หรือองค์กรที่พัฒนาอาชีพสอนตาม </h4><h4>ความสนใจไม่มากเกินไปและไม่น้อยเกินไป ทั้งนี้เพื่อพัฒนาตนเองและช่วยพัฒนาผู้อื่นที่ร่วมกิจกรรมกัน เช่น สมาคมพัฒนาวิชาชีพครูแห่งประเทศไทย สมาคมครูประถมศึกษา  สมาพันธ์สมาคมครูโรงเรียนราษฎร์ เพื่อเป็นหลักประกันว่าตนเองได้ปฏิบัติตนอย่างไม่บกพร่องในกฎ และระเบียบของผู้สอน อีกทั้งยังเสียสละเวลาส่วนตนบางเวลาทำกิจกรรมที่ส่งเสริมการปฏิบัติงานการสอนของตน เช่น การพัฒนาทักษะเฉพาะบางอย่างที่ใช้ในการปฏิบัติงานการสอนที่ตนรับผิดชอบผู้สอนได้รับการส่งเสริมจากรัฐโดยมีการประกาศเกียรติคุณแก่ผู้ที่ประพฤติปฏิบัติตนได้เป็นอย่างดี ทั้งในระดับการปกครองในแต่ละจังหวัด เขต ภูมิภาคหรือระดับชาติ ในแต่ละปี เพื่อเป็นการส่งเสริมให้เกิดการกระทำที่ดี</h4><p style="margin: 0cm 0cm 0pt 72pt; text-indent: -18pt; tab-stops: 0cm 36.0pt 54.0pt list 72.0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt 72pt; text-indent: -18pt; tab-stops: 0cm 36.0pt 54.0pt list 72.0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt 72pt; text-indent: -18pt; tab-stops: 0cm 36.0pt 54.0pt list 72.0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt 72pt; text-indent: -18pt; tab-stops: 0cm 36.0pt 54.0pt list 72.0pt" class="MsoNormal">เรียบเรียงโดย นายรวิช ตาแก้ว</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt 72pt; text-indent: -18pt; tab-stops: 0cm 36.0pt 54.0pt list 72.0pt" class="MsoNormal">อนุกรรมาธิการคุณธรรมและจริยธรรม</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt 72pt; text-indent: -18pt; tab-stops: 0cm 36.0pt 54.0pt list 72.0pt" class="MsoNormal">คณะกรรมาธิการศาสนา จริยธรรม ศิลปะและวัฒนธรรม</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt 72pt; text-indent: -18pt; tab-stops: 0cm 36.0pt 54.0pt list 72.0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt 72pt; text-indent: -18pt; tab-stops: 0cm 36.0pt 54.0pt list 72.0pt" class="MsoNormal"></p>

คำสำคัญ (Tags): #คุณธรรม#ผู้สอน
หมายเลขบันทึก: 134190เขียนเมื่อ 2 ตุลาคม 2007 17:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท