บันทึกการเข้าร่วมมหกรรม KM ภูมิภาคครั้งที่ ๑ ที่ ม.นเรศวร พิษณุโลก ๒๘-๒๙ ก.ย. ๕๐ (ตอนที่ ๑)


มาพิษณุโลกครั้งนี้ ได้อะไรมากกว่าที่คิด

วันที่ ๒๗ ก.ย. ๕๐ เตรียมบอร์ดและของอย่างอื่น รอทางระยองมาสมทบสามคน เมื่อคนครบก็ออกเดินทางจากปูนแก่งคอยเกือบเที่ยง ไปทางลพบุรี ท่าวุ้ง และโผล่ถนนเอเซียที่สิงห์บุรี แวะทานอาหารเที่ยงที่ แม่ลาปลาเผา ที่ร้านบอกไว้ว่าไม่มีสาขา อาหารอร่อยดี 

เดินทางต่อ พี่ทวีสิน โทรมาสอบถาม ก็ตอบไป คงถึงพิษณุโลกประมาณบ่ายสี่ เมื่อถึงที่หมาย เอากุญแจแล้วเข้าห้องพักที่ K.Hall ยังทำไม่เสร็จเลย แต่ห้องเริ่มอยู่ได้บ้างแล้ว ครูบาสุทธินันท์พักที่นี่ด้วย เข้าไปคารวะท่าน เมื่อทีมท่าหลวงมาร่วม ก็ออกไปจัดบอร์ดราวห้าโมงเย็น 

ไปถึงที่โรงพยาบาลนเรศวรชั้นสาม มีทีมน้ำเพื่อชีวิตจากทางลำปางเตรียมบอร์ดใกล้เสร็จแล้ว ดูยิ่งใหญ่มาก บอร์ดที่เราเตรียมไปป็นฟิวเจอร์บอร์ดสี่แผ่น เลยต้องหาที่ติด เหลียวมองเจอบอร์ดพับ พี่ทวีสินก็ติดต่อขอบอร์ดพับจากคุณตูน ทุกคนช่วยติดอย่างแข็งขัน ถุงปูนก็วางด้านหลัง ยืมผ้าและไฟจากทางลำปาง บอร์ดเลยเสร็จเรียบร้อย  

จากนั้นอาจารย์ JJ พาไปตลาดโต้รุ่งทานราดหน้า และ หมูสะเต๊ะ วันนี้ยังไม่ได้ห้อยขา เดินไนท์บาซ่าของเยอะดีนะ ร้านริมแม่น้ำน่านก็บรรยากาศดี ที่ไนท์บาซ่านี่มีร้านนวดขา นวดตัวด้วย ชั่วโมงละ ๑๐๐ บาท 

กลางคืนพี่ทวีสินฉายเรื่องหนูทำอาหาร แต่หลับๆ ตื่นๆ แถมเป็นหนังซูม เลยดูไม่ค่อยรู้เรื่อง 

นอนประมาณห้าทุ่ม 

วันที่ ๒๘ ก.ย. ๕๐ เริ่มงาน ๘.๓๐ น. ทานอาหารเช้าแบบไม่มีที่นั่ง เพื่อนจากระยองเจอเพื่อนสมัยเรียนมัธยมที่นีด้วย เปิดงานโดย รมต.กระทรวงวัฒนธรรม ศ.เกียรติคุณคุณหญิงไขศรี ศรีอรุณ และเปิด VCD ความสำเร็จของ KM ภาคเหนือตอนล่าง ผลงาน KM ของ ม.นเรศวร เรื่องการพัฒนาเครื่องปั้นดินเผาท่าโพธิ์ ซึ่งเป็นที่ตั้งของ ม.นเรศวร ที่ม.นเรศวรจะเน้น

๑.         หารูปแบบเอกลักษณ์ของชุมชน

๒.         หารูปแบบเรียนรู้ระหว่างชุมชนกับม.นเรศวร

โดยหารูปแบบแปลกๆ จากนักออกแบบ ปราชญ์ชาวบ้าน ให้กับเครื่องปั้นดินเผาท่าโพธิ์

ใช้วิธีการ ดูงาน (สุโขทัย, ด่านเกวียน นครราชสีมา), ประชุม และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จนเกิดองค์ความรู้จุดเด่นของเครื่องปั้นดินเผาของท่าโพธิ์คือมีสีสัน ที่เผาแล้วก็ยังสดอยู่

ป้าศรีเพ็ญ (ป้าปุ๋ย) จะเน้นให้ความรู้กับเด็ก เพื่อ

๑.         ให้เด็กรักถิ่นฐาน

๒.         ส่งเสริมภูมิปัญญาชาวบ้าน

๓.         ส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรม

โดยบุคคลากรของ ม.นเรศวร ที่ทำเรื่องนี้ คือ รศ.ดร.จิรวัฒน์  

จากนั้น ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ขึ้นมาบรรยายโดยเริ่มจากการกล่าวชื่นชมการดำเนินการด้าน KM ของ ม.นเรศวร และบอกอีกว่ามีรูปแบบของ KM อีกร่วม ๓๐ แบบ ในงาน KM แห่งชาติที่จะจัดขึ้นในวันที่ ๓๐ พ.ย. - ๑ ธ.ค.

ท่านบอกว่าสังคมการเรียนรู้ควรเป็นอย่างไร

๑.         อย่าเพิ่งเชื่อชุดความรู้ เช่น สารคดีในโทรทัศน์ ฟังจากคนอื่น เรียนรู้จากคนอื่น แต่อย่าเชื่อ ต้องทดลองเอง

๒.         รับรู้ เสาะหา เรียนรู้ ชุดความรู้ อย่างกว้างขวาง

๓.         นำมาคิด ปรึกษาหารือ ทดลองในสภาพของเรา

๔.        ต้องตั้งกลุ่มเรียนรู้

o       การเรียนรู้ของชาวบ้าน ต้องเป็นทีมเพื่อปฏิบัติ

o       ต้องฝึกทักษะการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (ลปรร.) เช่น

     §        Story telling

·        เล่าให้ฟัง

·        เกิดแรงบันดาลใจ

·        ให้ไปทำต่อ

·        ต้องฝึก

§        Deep listening

·        ฟัง และ ส่งสัญญานไปยังผู้พูด เพื่อทำให้ผู้พูดคิดออกว่าจะพูดอะไร 

§        Dialogue

·        ต่างจาก Discussion ที่เป็นการอภิปรายเพื่อหักล้าง

§        ทักษะไม่ได้อยู่เดี่ยวๆ อาจซ้อนกันอยู่ เช่น Deep listening ซ้อนกับ Dialogue

๕.        ความรู้ส่วนใหญ่เป็น Tacit knowledge

๖.         ต้องแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกกลุ่ม

o        ใช้สติเป็นเครื่องระวังภัย

§        เช่น สังคมชาวนานครสวรรค์เรียนรู้เรื่องตลาด ไม่ขายข้างเพื่อไปสีกิน แต่จะขายไปทำพันธุ์ซึ่งจะทำให้ราคาขายเพิ่มขึ้นมาก แต่แค่ไหนล่ะจะพอเพียง ต้องใช้ลติไม่ให้หลง

§        เรียนธรรมะแบบชาวบ้านธรรมดาทุกองค์กร ทุกชุมชน ทุกคน

๗.        คนต้องมั่นใจในตัวเอง เชื่อมั่นในตัวเอง

o       แลกเปลี่ยนเรียนรู้, LO, KM ทำให้คนมั่นใจในตัวเองโครงสร้างเครือข่าย กับ โครงสร้างอำนาจ

·        โครงสร้างอำนาจจะเป็นทางการ แบบปิรามิด

o       ควบคุม สั่งการ

·        โครงสร้างเครือข่าย จะไม่เป็นทางการ

o       เครือข่ายเรียนรู้

o       จัดการความรู้

o       แลกเปลี่ยนเรียนรู้

·        องค์กรเรียนรู้ ต้อง Synergy กันระหว่างสองโครงสร้าง

·        มีกระบวนการส่งเสริมการสร้างสรรค์

·        มี "พื้นที่" แลกเปลี่ยนเรียนรู้ องค์กรเรียนรู้ ต้องมีเครือข่ายทางปัญญา

·        เชื่อมโยงกับภายนอก ณ ทุกส่วนขององค์กร

·        ต้องกึ่งเปิดกึ่งปิด

·        ยิ่งยามยาก วิกฤติ ยิ่งต้องเชื่อมโยงมาก เพื่อสร้างพลังลูกครึ่ง (Hybrid vigor) 

สำหรับมหาวิทยาลัย ต้องเลิกคิดว่ามหาวิทยาลัยเป็นศูนย์รวมของความรู้ แต่คิดว่าเป็นแค่ Part of networking 

สังคมอุดมปัญญาต้องนิยามคำว่า บำบัดทุกข์ บำรุงสุข ใหม่ ไม่ใช่ให้บริการด้านวัตถุ แต่บริการการเรียนรู้ด้วย โดยให้มีคุณอำนวยในชุมชน 

ต้องเชื่อมั่นในความศักดิ์สิทธิ์ในความเป็นมนุษย์และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในสังคมอุดมปัญญา คำว่าปัญญาต้องนิยามใหม่ ไม่ใช่มีความรู้มาก แต่ ปัญญาที่แท้ต้องเป็นปัญญาที่มาจากการปฏิบัติ

คำว่า Talent ประกอบด้วย ความคิดเชิงบวก, มนุษย์สัมพันธ์ดี, ซื่อสัตย์/ขยัน/อดทน, เรียนรู้ได้ไว จะเห็นว่าไม่มีคำว่าความรู้อยู่เลยดังนั้น ยุคสังคมแห่งความรู้ ความรู้ไม่ได้สำคัญที่สุด 

บทบาทของผู้บริหาร จะต้องเข้าร่วมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับสมาชิกองค์กรระดับปฏิบัติการ

ทักษะของผู้บริหาร

๑.         ปัญญารวมหมู่

๒.         เชื่อมระบบภายในกับภายนอก

๓.         สร้าง Cluster ธุรกิจ/Collaboration แนว KM ทักษะของ "ปัญญาร่วมมือ" 

สรุป

๑.         สังคมแห่งการเรียนรู้เป็นสังคมเปิด มีอิสระภาพสูง และมีความมุ่งมั่นร่วมกันสูง

๒.         การเรียนรู้ที่ทรงพลังที่สุดคือการเรียนรู้ที่ใช้ "พลังสาม" คือ โครงสร้างเครือข่าย, การเรียนรู้เชิงบวก และ เน้นที่การปฏิบัติ 

ฟังคุณหมอวิจารณ์ จบก็มาเผ้าบอร์ดและตอบข้อซักถาม  

ตอนบ่ายได้ไปทานก๊วยเตี๋ยวชากังราว แบบห้อยขาที่ขึ้นชื่อของพิษณุโลก อร่อยมาก ซัดไปสี่ชามจากนั้นนมัสการพระพุทธชินราช ซื้อของฝากได้จำนวนหนึ่งไปพิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน จ่าทวี มีของเก่าๆ และภูมิปัญญาชาวบ้านเพียบ เช่น

·        ตัวอย่างของกับดักหนู และที่มาของคำว่า "ไม้ซีกงัดไม้ซุง" ก็มาจากกับดักหนูนี่เอง

·        ที่มาของคำว่า "สุ่มสี่สุ่มห้า" ก็มาจากการสุ่มปลาตั้งหลายครั้งยังไม่ได้เสียที

·        คำว่า "อย่าเอามือซุกหีบ" มาจากเครื่องหีบอ้อย เพราะจะโดนหีบเอา

·        คำว่า "กระได" จะเป็นแบบยกเก็บได้ แต่ "บันได" จะเก็บไม่ได้

·        คำว่า "กระไดคู่กระไดผี กระไดคี่กระไดคน" เพราะหากจำนวนขั้นเป็นเลขคู่ เมื่อก้าวเท้าใด จะไม่กลับมาเท้านั้น คือไปไม่กลับนั่นเอง

·        คนโบราณจะฝังรกไว้ที่ต้นไม้ใหญ่ เพื่อให้รากฐานมั่นคง และฝังให้ถึงราก จึงเรียก "ฝังรกราก"

·        รกเด็กผู้หญิงจะไม่ฝังต้นที่มีดอกสีเหลือง

·        การอยู่ไฟสามสิบวัน เป็นการคุมกำเนิดอย่างหนึ่งทั้งหมดนี้จะอยู่ในเล่ม "บันทึกชาวทุ่ง" ที่มีจำหน่ายที่พิพิธภัณฑ์ฯ ด้วย ซื้อมาแล้วมิรอช้า เรื่องของไทย คนไทยต้องรู้ครับ

จากนั้นจับจ่ายของที่ระลึก ได้การ์ดมาพอสมควร ส่งให้ใครต่อใครเก้าใบ ได้เสื้อยืดมาด้วย 

เย็นไปนวดเท้า แล้วทานน้ำชาที่ริมแม่น้ำน่าน จากนั้นกลับที่พักอาจารย์วรภัทร์มาถึงคืนนี้

กลางคืนนอนเที่ยงคืนครึ่ง 

หมายเลขบันทึก: 133262เขียนเมื่อ 30 กันยายน 2007 17:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

สวัสดีค่ะน้องปรีด์

โห...เก็บได้เยอะแยะเลยนะคะ

แต่พี่หนิงว่า  น่าจะแบ่งเป็นหลายblog ก็ดีนะคะ  จะได้อ่านง่ายขึ้นไง

  • ตามพี่สาวข้างบนมา
  • สบายดีไหม
  • เก็บประเด็นได้ครบดีมาก
  • น่าภูมิใจจริงๆๆ
  • ขอบคุณครับ

P

พี่หนิงครับ

เก็บได้เยอะยังไม่เท่าได้เห็นมิตรภาพของกลุ่มเฮฮาศาสตร์ อ่านบทของครูบาเขียนถึงแต่ละคนแล้ว ซึ้งดีจัง

ก่อนหน้านี้ผมไม่ชอบ Blog ที่นี่เลยครับ มันมีตัวตนอยู่เพราะเรารู้ว่าใครเป็นใคร หลายครั้งเห็นคนทะเลาะกันด้วย ผมเลยชอบ Blog ที่ไม่เปิดเผยตัว ไร้ตัวตนดี

แต่มางานนี้เห็นมิตรไมตรีขึ้นมาบ้างแล้วครับ

โดยเฉพาะพี่หนิง ที่ทักผมก่อน ขอบคุณมากครับ

P

คุณขจิตครับ ดีใจที่ได้เจอตัวจริงครับ

แหม...คนดังแบบน้องอ๊ะ...ปรีด์  ใครๆก็จำได้ค่ะ  อิอิ  เห็นแล้วก็ต้องรีบทัก 

 พี่เองก็เป็นแฟน blog  ของน้องปรีด์นะคะ   แต่ไม่ค่อยได้ตามไปดูสักเรื่องอ่ะค่ะ     แบบว่าอยู่บ้านนอกห่างไกลโรงหนัง  อิอิ  มหาวิทยาลัยอยู่ห่างจากตัวเมือง 14 กม ค่ะ

         ติดตามอ่านผลงานอยู่  เสียดายไม่ได้ทักตัวเป็นๆ   คงเดินเฉียดไปเฉียดมาน่ะครับ  พบกันคราวหน้าทักด้วยนะครับ  อิอิ

สวัสดีครับ

  • เก็บรายละเอียดได้อย่างชัดแจ้ง ...คม ชัด ลึก มาก
  • และยังก่อประโยชน์ให้คนอื่นมาเก็บเกี่ยวไปต่อยอดสู่การปฏิบัติต่อไป
  • แน่นอนครับ... ประเด็นเรื่องความมั่นใจและเชื่อมั่นในตนเองนั้น  สำคัญมาก
  • แต่เราก็ต้องไม่ลืมเชื่อมั่นคนรอบข้างด้วย
  • ดังนั้น  ผมจึงมีคติการทำงานว่า "ศรัทธาต่อตนเอง และเชื่อมั่นต่อคนรอบข้าง"
  • ....
  • ประทับใจบันทึกนี้มากครับ

P

คุณแผ่นดินครับ

ขอบคุณครับที่ชอบ ก่อนอื่นต้องประทับใจครับ จึงเขียนได้

ครั้งนี้ประทับใจกลุ่มเฮฮาศาสตร์ครับ

โซมออกุน บา(ขอขอบคุณครับ) ที่ช่วยถ่ายทอดเรื่องราว และความรู้ดีๆมาให้คนที่พลาดโอกาสอันงามๆในครั้งนี้อย่างผม ได้ร่วมเรียนรู้ด้วย..อ่านมาหลายๆบันทึก ท่าทางจะสนุกและได้ร่วมเรียนรู้กันไม่น้อยนะครับ...หากเสร็จโครงการคงได้กลับไปรับใช้และร่วมปฏิบัติการสร้างกระบวนการเรียนรู้อีกครับผม....

  • ตามลายแทงท่านทวีสินมาครับ
  • คิดว่าได้พบกันแล้วที่ร้านลาดหน้าไข่ดาวนะครับ แต่ผมคงยังจำไม่ได้ครับ.....เจอกันครั้งต่อไปก็ทักกันบ้างก็แล้วกับ....อิอิ

ขอบคุณมากเลยครับ

ผมขอเก็บรายละเอียดในบันทึกนี้ด้วยนะครับ ...

 

P

ด้วยความยินดีครับ ดีใจที่ได้เจอตัวจริง

สักวันจะไปโฮมสเตย์ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท