การปฏิบัติงานพระราชทานปริญญาฝ่ายเครื่องเสียงและถ่ายทอดโทรทัศน์(ตอน 1)


การปฏิบัติงานพระราชทานปริญญาฝ่ายเครื่องเสียงและถ่ายทอดโทรทัศน์

       พิธีพระราชทานปริญญาบัตร บัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร ปีการศึกษา 2547 โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ เสด็จพระราชดำเนิน พระราชทานปริญญาบัตรในวัน จันทร์ที่ 23 มกราคม 2549  โดยกิจกรรมในครั้งนี้ คณะศึกษาศาสตร์ ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา Citcoms โดย งานผลิตรายการโทรทัศน์ งานบริการระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ สำนักหอสมุด และฝ่ายสื่อโสตฯ ตามคณะต่างๆ ได้ร่วมงานกัน ในนามของ ฝ่ายเครื่องเสียงและถ่ายทอดโทรทัศน์วงจรปิด ได้ร่วมกันปฏิบัติภารกิจคือ

  1. ถ่ายทอดระบบเสียงในงานฝึกซ้อม จนถึงวันรับปริญญา 20- 23 มกราคม 2549
  2. ถ่ายทอดภาพโทรทัศวงจรปิดในบริเวณพิธีและบริเวณที่พักผู้ปกครอง
  3. ถ่ายทอดโทรทัศน์ผ่านระบบอินทราเน็ตไปยังที่พักผู้ปกครองตามคณะต่างๆ
  4. ถ่ายทอดโทรทัศน์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ตไปทั่วโลก โดยใช้เครือข่ายของทบวงมหาวิทยาลัย ลิ้ง

    โดยในการดำเนินกิจกรรมเป็นไปด้วยความเรียบร้อยดี เพราะผู้ปฏิบัตงานมีประสบการณ์ในการดำเนินงานมาหลายปีและถ่ายทอดประสบการณ์กันมาเป็นรุ่นๆ เริ่มจาก

  1. การแต่งตั้งหัวหน้างานโดยคำสั่งมหาวิทยาลัย ซึ่ง รองศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ นพรัก เป็นหัวหน้า ดร.รุจโรจน์ แก้วอุไร เป็นรอง
  2. จากนั้นก็มีการเสนอแต่งตั้งกรรมการเป็นคำสั่งของมหาวิทยาลัยชุดใหญ่ วิธีการเสนอรายชื่อคณะกรรมการชุดนี้ ก็จะใช้วิธีดูจากรายชื่อของคณะกรรมการชุดที่แล้ว และดูว่ากรรมการชุดที่แล้วปีนี้มีการเปลี่ยนแปลงไปหรือไม่อย่างไร และทางฝ่ายต้องติดต่อประสานงานกันกับหน่วยงานใดบ้าง เช่น Citcoms ฝ่ายโสตฯ ของสำนักหอสมุด ฝ่ายโสตฯ ของคณะเภสัชฯ ฝ่ายโสตฯ ของโรงพยาบาล มอนอ ฝ่ายโสตฯ ของวิทยาศาสตร์การแพทย์ ก็เสนอชื่อมาเป็นกรรมการ ทำให้ได้รับความร่วมมือในการติดต่อประสานงาน รวมทั้งการยืมอุกรณ์ เครื่องมือจากหน่วยงานนั้นๆ
  3. จากนั้นเจ้าหน้าที่ภาควิชาเทคโนเป็นผู้ร่างหนังสือ ออกหนังสือ แจ้งกรมประชาสัมพันธ์ แจ้งหมายกำหนดการ (หมายกำหนดการจะไม่ค่อยนิ่งจนกว่าใกล้ 15 วันก่อนกำหนดจึงจะแน่นอน)
  4. ประสานงานขอความอนุเคราะห์ทหารขนย้ายอุปกรณ์หนักๆ เช่น ทีวี 29 นิ้ว (ที่มหาวิทยาลัยบูรพาใช้วิธีเช่าโทรทัศน์ 21 นิ้วจากบริษัทซัมซุง แล้วพอเสร็จงานขายต่อในราคาถูก)
  5. ขอยืม Modulitor จากสถานีโทรทัศน์ช่อง 11 กล้องโทรทัศน์ชุดถ่ายทอดและเจ้าหน้าที่จาก Citcoms
  6. ขอยืมเครื่องเสียงจากสำนักหอสมุด
  7. ขอยืมเครื่องผสมสัญญาณภาพ Distributor จากวิทย์แพทย์
  8. ขอยืมทีวีจอเล็กจากโรงพยาบาล
  9. ขอยืมโปรเจ็คเตอร์จากบริษัทสาธิตฯ
  10. ขอยืมจอจากกองกิจฯ
  11. ขอยืมทีวีจากคณะต่างๆ เช่น มนุษฯ วิทย์แพทย์ เภสัชฯ
  12. ติดต่อเช่าวิทยุจากการสื่อสาร
  13. จองที่พักให้เจ้าหน้าที่กรมประชาสัมพันธ์ 
  14. นัดประชุมเจ้าหน้าที่จากฝ่ายต่างๆ วันที่ 10 มกราคม แต่เนื่องจากปีนี้ Citcoms ไปจัดงาน ที่พะเยา เลยมอบหมายให้เจ้าหน้าที่มาประชุมคนเดียว
  15. ทีมงานเริ่มงานกันวัน พฤหัสบดีที่ 16 มกราคม 2549

 

หมายเลขบันทึก: 13017เขียนเมื่อ 26 มกราคม 2006 00:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 12:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เข้าใจการจัดงานใหญ่แล้วค่ะว่ามันเหนือยมัก ๆ

การทำงานใหญ่ย่อมมีอุปสรรค กว่าจะถึงจุดหมายได้ไม่รู้จะพบเหตุการณ์ไม่คาดฝันซักกี่ครั้ง ครั้งละกี่อย่าง การจะได้ชื่อว่าคนเก่งนั้นไม่ได้หมายความเพียงว่าคนคนนั้นมีความรู้ที่เลิศไร้เทียมทาน แต่การเป็นคนเก่งนั้นมีหมายความมากกว่านั่นคือการนำความรู้ที่มีอยู่มาใช้ปฏิบัติงานจริงและนำพางานให้เดินสู่จุดมุ่งหมายได้อย่างปลอดภัย เหล่านี้สำคัญอย่างยิ่งในการเรียนรู้ ดดยเฉพาะนิสิตที่เรียนในสาขาวิชาประเภททักษะความชำนาญที่จะเรียนในห้องเรียนอย่างเดียวพอเลิกเรียนแล้วกลับหอนั้นไม่ได้ ความรู้ที่ได้ในห้องเรียนนั้นจริงอยู่ว่าเป็นความรู้ที่ถูกต้อง สามารถนำมาใช้จริงได้ แต่การนำมาใช้จริงนั้นก็มิได้มีการสอนในห้องเรียน ตัวนิสิตเองเท่านั้นที่จะต้องขวนขวายเอง ตัวอย่างก็มีอยู่ว่านิสิตรุ่นพี่ที่จบไปแล้วนั้นคนที่ขึ้นชื่อได้ว่าเป็นคนเก่งให้งานอะไรมาก้ทำได้หมดสามารถไว้ใจได้ ก็ล้วนแต่เป็นคนที่ขวนขวายหาวิธีการใช้ความรู้เท่านั้น เพราะฉะนั้นผมอยากฝากอาจารย์ในเรื่องนี้ให้อาจารย์ไปเน้นย้ำกับนิสิตด้วยนะครับ ว่าการหาความรู้กับการหาวิธการใช้ความรู้นั้นแตกต่างและสำคัญกันอย่างไร

"เรื่องการแสวงหาความรู้" ผมจะเล่าให้ฟัง
            เมื่อสมัยผมเรียน อนุปริญญา ถึงปริญญาตรี ผมเป็นคนที่ได้เกรดน้อยมาก เพราะวิชาอื่นผมไม่ได้สนใจเลย ผมสนใจแต่วิชาที่ผมต้องการจะเรียนเท่านั้น ความคิดอย่างนี้มีทั้งผลดีและผลเสีย
           ผลดี จะมีความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาที่ตัวเองชอบ ความเชี่ยวชาญมันไม่ได้ใช้เกรดมาบ่งบอก ความเชี่ยวชาญนั้นลึกถึงการเข้าไปในสายเลือด ซึ่งวัดกันไม่ได้ จะรู้ว่าเชี่ยวชาญหรือไม่ก็ต้องดูที่ผลของการปฏิบัติงาน ความสำเร็จของงานเพียงอย่างเดียวก็ไม่ได้หมายความว่าคุณเป็นผู้เชี่ยวชาญ แต่ความรวมถึง การมีความรู้ความสามารถ การประยุกต์ใช้ การถ่ายทอดความรู้ การแก้ปัญหาการเข้าใจปัญหา และการใช้วิธีต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมาย ทั้งนี้ต้องรวมถึงจิตใจด้วย
           ผลเสีย อย่างแลกคือวิชาอื่น ๆ ไม่ได้เรื่องเลย ต่อมาคือ สาขาวิชาที่ตัวเองชอบก็ไม่ได้ดี เพราะศาสตร์ของการศึกษา นั้นควรจะต้องเรียนรู้ในหลาย ๆ ด้านควบคู่กันไป 
           การแสวงหาความรู้มีหลากหลายวิธี ซึ่งแต่ละวิธีก็ต้องปรับกระบวนไปตามธรรมชาติของวิธีการ วิธีการเป็นตัวช่วยให้การแสวงหาความรู้บรรลุ แต่สิ่งสำคัญในการแสวงหาความรู้ก็คือ การเอาใจใส่ลงไปในการแสวงหาความรู้นั้นด้วย 
           จึงอยากบอกว่า การทำอะไร จำเป็นต้องมองสิ่งรอบข้างที่เกี่ยวข้อง การตั้งใจทำ การทำด้วยใจ ควบคู่ไปกับหลักการและทฤษฎี และตามจารีตนั้น เป็นสิ่งที่ประเสริฐ ความรู้ความสามารถและความดีก็จะอยู่กับตัวตลอดเวลา

จะมีสักกี่คนที่รู้ว่าเบื้องหลังมีขั้นตอนเยอะขนาดนี้

หวังว่าปีหน้าผมคงได้เข้าไปทำหน้าที่เก็บภาพนิ่งในงานพิธีพร้อมกับทีมงานบันทึกวีดีโอของอาจารย์นะครับ

แล้วเจอกันในงานปีหน้าครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท