น่าเห็นใจมหาวิทยาลัย


multiple system or not, the choice is yours

ผมมีโอกาสไปเป็น กก ประเมินผลมหาวิทยาลัยอยู่ในหลายโอกาส มาปะติดปะต่อเรื่องราวที่ได้พบได้ยินมาก็เลยอยากแลกเปลี่ยนเพราะผมเห็นความวุ่นวายที่บั่นทอนกำลังมหาวิทยาลัยอยู่ไม่น้อย

เริ่มจากคำถามง่ายๆว่ามหาวิทยาลัยควรประเมินอะไรจึงจะมีประโยชน์ต่อการพัฒนางาน

คำตอบที่ได้น่าตกใจ เพราะทุกวันนี้มีคนคอยประเมินมหาวิทยาลัยด้วยไม้บรรทัดหลายเล่ม(ไม่รู้ใช้ลักษณะนามถูกหรือเปล่า)

เล่มที่หนึ่ง เป็นของเจ้าใหญ่ สมศ ซึ่งเป็นองค์กรระดับประเทศที่มีหน้าที่ประเมินคุณภาพมหาวิทยาลัย

สองคือสำนักงบประมาณ ซึ่งเป็นเจ้าของงบประมาณ

สามคือรัฐบาลหรือรมตศึกษา ซึ่งมีการทำพันธะสัญญากับมหาวิทยาลัย ว่าต้องทำให้ได้ KPI อะไรในแ่ละปี

สี่คือแผนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยเอง ซึ่งหลายมหาวิทยาลัยจัดทำขึ้น เพื่อสะท้อนภาระกิจ สำคัญที่สอดคล้องกับฐานะ และบริบทของแต่ละแห่ง แต่เป้าหมายเหล่านั้นอาจจะไม่ได้อยู่ใน KPI หรืองบประมาณที่ได้จาก สำนักงบ (ต้องใช้รายได้ปหล่งอื่น)

ห้าคือมาตรฐานนานาชาติ ที่ทุกวันนี้มหาวิทยาลัยไทยถูกเอาไปเปรียบเทียบอยู่บ่อยๆ (มีตัวชี้วัดตัวแสบคือ ระดับทุนวิจัยที่ได้ และผลงานวิจัยแบบต่างๆ ตั้งแต่จำนวนตีพิมพ์ impact factor ไปจนถึงจำนวนสิทธิบัตร)

หก คือการประเมินตามภาระกิจสี่ด้าน สุด classic ของมหาวิทยาลัยไทย คือ ผลิตบัณฑิต วิจัย บริการวิชาการ ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม 

เวลาจะประเมินทีก็ไม่รู้ว่าจะเอากรอบไหนมาใช้ประเมินดี จะประเมินมันทุกกรอบก็ไม่ไหว

แน่นอนว่าทางออกคือการทำระบบข้อมูลข่าวสารของมหาวิทยาลัยให้ดีเพื่อ capture ข้อมูลสำคัญๆในการทำงานตามหน้าที่ และข้อผูกพันต่างๆ เสร็จแล้วใครอยากเห็นมุมไหนก็ประมวลให้ดูตามนั้น

แต่เจ้ากรรมระบบข้อมูลโดยส่วนใหญ่ก็ยังไม่ค่อยลงตัว เลยต้องลงทุนเก็บข้อมูลเป็นคราวๆ ตามความต้องการของแต่ละเจ้าหนี้

ทำให้คิดถึง เรื่องระบบประกันสุขภาพ อเมริกา กับแคนาดาทีเคยมีการวิจัยกันว่า

ค่าใช้จ่ายของอเมริกันสูงกว่าของแคนาดา เพราะไปเสียกับการจัดระบบข้อมูลเนื่องจากระบบประกันที่มีผู้ซื้อบริการหลายเจ้า มีกตืกาการเบิกจ่ายต่างกัน ต้องมีข้อมูลประกอบการเบิกจ่ายไม่เหมือนกัน

ขณะที่แคนาดามีเจ้าเดียวคือรัฐบาลกลาง เลยมีความต้องการข้อมูลแบบเดียว 

ประหยัดกว่ากันถึง 15 % 

คิดถึงคำขวัญเรื่องการสูบบุหรี่ที่เคยใช้กันสมัยหนึ่งที่ว่า

smoking or jnot, the choice is yours

กรณีนี้ต้องเปลี่ยนเป็น

multiple needs (for assessment) or not, the choice is yours

yours ในท่นี้ไม่ใช่มหาวิทยาลัยแน่ๆ แต่เป็นคนที่กำลังกำกับมหาวิทยาลัยอยู่ทุกวันนี้ครับ 

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 13386เขียนเมื่อ 25 มกราคม 2006 23:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ที่ปรึกษา รมต. ศึกษาธิการ    ตัว รมต. เอง   ปลัดกระทรวง    เลขาธิการแท่งทั้งหลายควรได้อ่านบันทึกนี้ครับ

วิจารณ์ พานิช

ผมเห็นว่าเล่มที่ 4 คือแผนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย
สำคัญสุดครับ  และจะต้องเอาเล่มอื่นๆ มาคิดบูรณาการกัน
ให้เล่มสี่ครอบคลุม เล่มอื่นๆ ทุกเล่ม

ส่วนตัวชี้วัดในเล่มอื่นๆ ที่ไม่สอดคล้องกับเล่มสี่  ก็ให้ระบุใน
แผนยุทธศาสตร์ว่าเป็น "ตัวชี้วัดอื่นที่ต้องเก็บ" แต่ไม่สำคัญ
ต่อแผนยุทธศาสตร์  เก็บเพียงเพื่อรายงานเท่านั้น ไม่ต้องสนใจ
เน้นในการทำงานจริงมากนัก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท