แผน KMครั้งสุดท้าย จากนี้จะไม่พูดแล้วครับ


ขอจงอย่าลืมเป้าหมายที่แท้จริง

เมื่อราว 5-6 ปีก่อน หลานสาวผมซึ่งตอนนี้ก็จบเศรษฐศาสตร์ไปเรียนต่อโทเมืองนอกแล้ว เคยถามผมว่าเขาทำISO ไปทำไม ผมถามเขาว่าทำไมถึงถามละ่มันก็ตรงไปตรงมา ก็เขาอยากให้มีการพัฒนาคุณภาพ

คำตอบของเขาก็ง่ายๆ เขาถามเพราะเขารู้สึกว่ามันไม่เข้าท่าเลย เพราะอาจารย์ต้องงดชั่วโมงสอน เนื่องจากต้องไปประชุมเขียนคู่มือ ISO

ผมก็เลยได้รู้ว่า ผมข้างเคียงที่สำคัญของการมัวแต่เขียนคู่มือก็คือไม่มีเวลาทำงาน

ในขณะที่ผมเป็นคนชอบให้เขียนแผน ผมก็รู้ว่าการเขียนแผนบ่อยครั้งไม่มีใครเอาไปใช้ เขียนไปอย่างนั้นเอง เสียเวลาคนเขียน พร้อมกับเสียโอกาสในการทำงาน (ถ้าคนนั้นอยากทำงานจริง)

ตอนนี้การปฏิรูประบบราชการ กำลังสร้างกระดาษกองใหญ่ที่คนให้ทำเห็นคุณค่า แต่คนเขียนเสียเวลา โดยไม่มีคุณค่าเกิดขึ้นเท่าที่ควร แต่คนขอให้เขียนเอกสารเห็นว่าเป็นหนทางแห่งการคิดให้เป็นระบบ และการบันทึกเป็นหลักฐาน

ถ้าเอาเรื่องการเรียนรู้เป็นตัวตั้งก็อาจไม่ต่างกับความพยายามที่จะให้นักเรียนใช้เวลาท่องหนังสือเพื่อให้สอบได้คะแนนดี แทนที่จะไปเรียนรู้จากของจริง

เราพอใจที่เห็นนักเรียนสอบได้คะแนนดี โดยไม่สนใจว่าเขาได้เรียนรู้อะไรบ้าง

แม้ผมจะเป็นคนที่สอบได้คะแนนดีในระหว่างเรียนหนังสือมาโดยตลอด ผมก็ต่อต้านการพยายามให้เด็กสอบให้ได้คะแนนดีๆ โดยไม่สนใจว่าเด็กได้เรียนหรือเปล่า

แน่นอนว่าการวัดผลการสอบย่อมง่ายกว่าการวัดระดับการเรียนรู้ที่คนคนนั้นมี

แต่ถ้าเราเอาวิธีคิดเดียวกันมาบริหาร และกำกับ ประเมินการบริหารองค์กร เราอาจจะได้แต่องค์กรที่ผลิตกระดาษเก่ง แต่ไม่มีการจัดการหรือการพัฒนาที่ดีเลยก็ได้

 แต่เราหลอกตัวเองว่ามีการพัฒนาเกิดขึ้นในกระดาษ ผ่านคู่มือที่เขียนได้ดีเยี่ยม หรือ แผนที่เขียนวิเคราะห์อย่างชัดเจน

สำหรับคนประเมิน ตรวจข้อสอบนั่นอาจจะเป็นสิ่งที่ดีที่สุด

แต่สำหรับคนที่อยู่ในองค์กร และอยากให้การพัฒาเกิดขึ้นจริง นั่นอาจจะเป็นการกระทำที่ไร้สาระอย่างสิ้นเชิง

เพราะนักบริหาร หรือคนทำงาน อยากได้งานที่ดีขึ้น คนที่เก่งขึ้น ไม่ใช่คู่มือหรือแผนสวยงาม หรือกระดาษกองใหญ่ๆ

ถ้าเราอยากให้องค์กรพัฒนาอน่างแท้จริง เราต้องหาจุดสมดุลย์ระหว่างการผลิตเอกสาร กับการลงมือทำ

ถ้าหาสมดุลย์ไม่เจอ เราก็จะยังเวียนว่ายตายเกิดกับการผลิตเอกสาร แทนท่จะไปใช้เวลากับการลงมือทำ และหาทางประเมินด้วยวิธีการอื่นๆว่าตกลงองค์กรเราดีขึ้น หรือยัง 

ถ้าเรายังพัฒนาองค์กรโดยใช้นักวิชาการ แทนที่จะใช้คนที่ต้องทำงานในองค์กรจริงๆมาลงมือทำ ไปพร้อมกับเรียนไป เราอาจหนีไม่พ้นวงจรอุบาทของการโค่นต้นไม้มาทำกระดาษแล้วเอามาทำให้มันเปื้อนนำ้หมึกเล่นก็ได้

ขอแสดงความเสียใจกับคนที่ต้องใช้เวลาผลิดเอกสารด้วยความจำเป็น

ขอจงอย่าลืมเป้าหมายที่แท้จริงคือการพัฒนางานให้ดีขึ้น ไม่ใช่ผลิตเอกสาร

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 13385เขียนเมื่อ 25 มกราคม 2006 23:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

     อาจารย์ครับตอนนี้ผมมาอบรม แต่ก็ต้องหอบแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี มาทำต่ออยู่ครับ (ล้ามาก) เหมือนจะวางมือเลยพอได้อ่าน แต่คงไม่ได้ครับ

     (ขำ ๆ ครับ) อาจารย์จะไม่พูดแล้ว ใครจะพูด แต่ยังเขียน (Blog) ได้อีก เพราะอาจารย์บอกแค่ไม่พูด...

ฝรั่งเขามีข้อสรุป (ไม่อยากเรียกว่าทฤษฏีเพราะดูจะให้นำ้หนักมันมากไป) อยู่เรื่องหนึ่ง เรียกว่า 80/20 principle แปลเป็นไทยว่า กฏ 80/20

เอาไปใช้กับหลายๆเรื่อง ในกรณีการทำงานเขาบอกว่า คนเรามักจะได้ผลงาน80%จากการใช้เวลาเพียง 20%

และต้องใช้เวลา 80% ไปกับการทำงานที่ได้ประโยชน์เพียง 20%

พอจะทำให้มีกำลังใจมากขึ้นหรือเปล่าไม่รู้

แต่ถ้ามีใครมาต่อข้อความต่อไปว่า ถ้างั้นเจ้าก็จงเอาเงินเดือน ไปเพียง 40%

รู้ไหมครับว่าผมเอาตัวเลข 40 มาจากไหน 

ฟังอาจารย์แล้วมีพลังทางความคิดมากมายเกิดขึ้น การทำแผนไม่สนุกเลยกับการกรอกรายละเอียดจำนวนมากที่ทางสำนักงานก.พ.ร.ส่งมาให้ ในเวทีการประชุมการจัดทำแผน ที่โรงแรมเรดิสัน เป็นเวทีที่คนมีความรู้สึกเหมือนๆกัน คือเบื่อ และเซ็ง เพราะหน่วยงานที่กำลังเป็นผู้วางระบบ...ในการพัฒนาระบบราชการยังมีแนวคิดกับการอยากได้ อยากเห็นอะไร...อะไร จากเอกสารตามแบบฟอร์มที่สร้างขึ้นมาอย่างมากมาย มากกว่าการดูผลลัพธ์สุดท้ายที่เกิดขึ้นอย่างแท้จริง
40% มาจาก 20% + 20% หรือเปล่าครับ

สงสัยจังว่าคนเขียนคู่มือการจัดการความรู้: จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ ลองใช้แบบฟอร์มทั้ง 13 แบบฟอร์มจริงๆ หรือยัง และเขาใช้เวลากื่ว้นนะ

เดี๋ยนไปชำเลืองดูคนถูกสั่งให้ทำตามคู่มือแล้ว ปวดหมองแทน  หน้าตาไม่เหมือนตอนไปจัดการความรู้จริงๆ happy กว่าเยอะเลย

ช่วยขยายต่อหน่อยสิครับ คุณผักบุ้งว่าทำไม 20+20 ไม่ใช่ 20+80 เผื่อผมจะส่งบันทึก ไปให้ (ไม่รู้ได้หรือยังครับ แหะๆ) จะฝากไปให้คุณแม่ด้วยได้ไง

 

ก็เวลางาน 20%  แรกได้ผลงานเต็มที่ ก็จ่ายเต็ม 20%
เวลาที่เหลือ 80% ได้ผลงานแค่ 20% ก็จ่ายแค่ 20% ที่ได้

รวมกันก็เลยเป็น 40% ครับ

(แต่ผมก็มาแย้งตัวเองอีก ว่าจริงๆ 20% แรกอาจจะควรจ่ายมากกว่า 20% ก็ได้)

ยังไม่ได้รับบันทึกครับ   คุณหมอหมายถึงบันทึกข้อความหรือบันทึกแบบไหนครับ?

แปลว่าถ้าคุณผักบุ้ง เป็นเจ้านายจะเป็นเจ้านายที่หินมาก เพราะจ่ายตามหลักต้นทุนตำ่สุด คือถ้าใช้เวลา 20 แรก แม้ได้ผลงาน ถึง 80% ก็จ่านตามเวลาที่ใช้

ส่วนผลงานอีก 20% แม้จะใช้เวลาถึง 80% ก็ให้แค่เท่าผลงานที่ได้

ส่วนเรื่องบันทึกผมหมายถึงสมุดบันทึก องค์กรเรียนรู้ได้หรือเปล่า ของ มสช ครับ ผมจะเอาไปฝากไว้ที่คุณแม่วันจันทร์ดีกว่านะครับ 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท