เคล็ดวิชาจัดการกับ ฅน


การธำรงให้คนรักองค์กร

การบริหารทรัพยากรมนุษย์

 เคล็ดวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ในการธำรงให้ ฅน รักองค์กร นั้นเป้าหมาย คือให้ ฅนทำงานอย่างมีประสิทธิผล ฅนทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ และ ฅนทำงานร่วมกันอย่างกลมกลืนและกลมเกลียว การทำสิ่งเหล่านี้ได้

 ฅนต้องทำงานอย่างมีความสุข และ สนุกกับการทำงาน ผู้นำที่ดี หรือ ผู้บริหารที่เข้าใจ คือ ต้องมีเคล็ดวิชาทีจะ

 "สร้างบรรยากาศในการทำงานให้สมานฉันท์ มีใจ เข้าใจ ใส่ใจ ให้กับงานทุกชิ้น โดย เต็มใจที่จะใช้ความรู้ ทักษะ เติมทัศนคติที่ดี นำประสบการณ์ที่หลากหลายมาร่วมกันสร้างฝันขององค์กรให้เป็นจริง"

 การธำรงให้ฅนรักองค์กร ผู้นำ และ ผู้บริหารต้องสร้างบรรยากาศครับ

JJ2007

หมายเลขบันทึก: 129787เขียนเมื่อ 20 กันยายน 2007 05:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 พฤษภาคม 2013 09:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)
ผมเห็นว่าผู้บริหารมักทำผิดพลาดที่มองไม่เห็นในความแตกต่างของบุคลากรแต่ละคน แถมยังมีความคาดหวังว่าทุกคนจะเหมือนๆ กันอีกครับ (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เหมือนตัว)

ความแตกต่างของ ฅน จึงต้องสื่อสารให้เข้าใจ

  • หนึ่งในงานท้าทายของผู้บริหารค่ะ
เรียน ท่าน Conductor Pผู้บริหารหากเห็น คน เป็น ฅน นั่นแหละประเสริฐ ครับ

เรียน ท่านพี่ใบบุญ Pถ้าพูดจา ภาษา ฅน ก็ สื่อสารกันง่าย ครับ

คนไร้กรอบท่านเมตตาสอนผมว่า ทำอย่างไรให้พนักงานในองค์กรทำงานด้วย "จิตอาสา" ครับ

เรียนท่านอาจารย์จิตเจริญ

สิ่งหนึ่งที่เป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จ เท่าที่เคยสัมผัส และพูดคุยกับคนทำงานในระดับปฏิบัติการเดียวกันคือ การสร้างแรงจูงใจ โดยเฉพาะเรื่องของความมั่นคงทางหน้าที่การงาน

ต่อจากนั้นก็เป็นขั้นตอนของการได้รับการพัฒนาตนเองตามสายงานครับ

เอ๊ะ...แล้วคนที่ไม่ได้ทำงานตามสายงาน (ที่เรียนมา) ที่จะพัฒนาอย่างไรหนอ  ถึงจะได้ก้าวหน้ากับเขามั่งอ่ะ

เรียน ท่าน Fisherman Pทุกท่านทำงานด้วย "จิตอาสา" งานไปโลดครับ
เรียน ท่าน Jack ผู้ร่วมพัฒนาP แรงจูงใจ ความมั่นคง และ พัฒนาการ เป็นเรื่องที่ต้อง เข้าใจ และ ใส่ใจ

ผู้นำส่วนใหญ่ถนัด Top down ไม่ค่อยเข้าใจ Leadership ที่สำคัญขาดทักษะ Facilitator 

บ่อยครั้งที่ผู้นำนั่นเองเป็นผู้ทำให้เสียบรรยากาศ

สวัสดีค่ะท่านอาจารย์

ตามมาเก็บเกี่ยวความรู้ค่ะ  เห็นด้วยอย่างยิ่งค่ะ  เพราะถ้าคนเราสนุกกับงาน ก็ทำงานได้อย่างมีความสุข  และเกิดประสิทธิภาพในการทำงานค่ะ ในทางตรงกันข้ามถ้าเราเริ่มต้นที่จะไม่ชอบ ไม่ว่าอะไรก็ตามก็ไม่สามารถลบอคติในใจได้ค่ะ ทำให้ทำงานไม่ได้ดี และด้อยคุณภาพค่ะ

ขอบคุณมาก ๆ ค่ะ ได้ข้อคิดเยอะเลยค่ะ

สวัสดีครับ อาจารย์จิตเจริญ

ผมขออนุญาติเรียกพี่นะครับ เพราะผมเป็น MD-CU เหมือนกัน รุ่น 40 ครับ บังเอญผมได้มาทำหน้าที่ดูแลเรื่องบุคคลของ รพ.จุฬาที่รักยิ่งของเรา เลยลองเขามาค้นดูว่ามีใครทำ km เรื่องนี้ไว้บ้างพอเห็นบล็อกนี้เลยขออนุญาติแจมครับ  อย่างแรกผมไม่อยากเสนอให้ใช้คำอื่นแทน "จัดการ" ฟังดูเหมือนเราจะไปทำอะไรกับเขา ถ้าเป็น "ยุทธวิธีทำงานกับคน" หรือ ยุทธวิธีสนับสนุนคนทำงาน อะไรทำนองนี้ อาจจะน่าฟังกว่าครับ เรื่องยุทธวิธี ผมเห็นด้วยเลยครับ ทำอย่างไรให้เขาทำงานอย่างจิตอาสา ที่สำคัญควรเป็น การทำที่ให้เขาเกิด ปิติ เกิดความสุขจาก บุญที่เขาทำ หลายคนเวลาเราถามว่า ทำบุญบ้างไหม เขาจะบอกว่า ไม่ค่อยว่าง เลยไม่ได้ไปวัด ที่ตอบอย่างนั้นเพราะคิดว่าบุญต้องไปทำที่วัดเท่านั้น แต่ถ้าเราทำให้เขาเห็นว่า บุญทำได้ที่ทำงานด้วย เขาจะมีความสุขขึ้น ผมลอง ยกตัวอย่างนะครับ คนเข็นอาหาร เขาอาจจะคิดว่าเป็นงาน "ไม่มีความหมายแค่เอาอาหารไปส่ง" แต่ถ้าทำให้เขาได้รับรู้ว่า เพราะการที่เขารีบเอาอาหารไปส่ง ขณะที่อาหารยังร้อนๆ ช่วยทำให้คนไข้คนหนึ่ง ที่เบื่ออาหาร ไม่อยากทานอะไร รู้สึกว่าข้าวต้มเปล่าๆที่อุ่นๆนั้น มันช่างน่าทาน เลยทานจนหมด มีแรงสู้กับโรคที่เป็นต่อ ตรงนี้เราช่วยให้คนเข็นอาหารเขารับรู้ได้ครับ ให้เขาเกิดปิติกับงาน ให้เขาเริ่มเข็นอาหารทันทีที่โรงครัวทำเสร็จ เพราะตระหนักว่า อาหารอุ่นๆที่เอาไปให้ผู้ป่วยนั้นช่วยผู้ป่วยได้มากเพียงใด ถ้าทำได้อย่างนี้เขาจะไม่มองเห็นว่า เขาเป็นแค่คนเข็นรถ ทำหน้าที่แค่ส่งอาหารให้ถึงตึกเท่านั้น   

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท