ศักราช
อาจารย์ ศักราช ลุงปั๋น ฟ้าขาว

เรียนรู้จากเสียงสะท้อนของนักศึกษา


      บอกจริง ๆ ว่า เมื่อสอนไปสอนมา(สอนวิชาเดิม) เราพอรู้ตัวเองแล้วว่า ความรู้มีอยู่เท่าไร (ต้นทุนของความรู้) หลายเรื่องได้จากนักศึกษารายงานหน้าชั้นเรียน เมื่อนักศึกษาเก็บข้อมูลภาคสนามมาแล้ว มานำเสนอ

สิ่งวิตกกังวลของผมคือ เกรงว่าสอนไม่ครบถ้อยกระบวนความตามแผนการสอน แต่พอได้ยินนักศึกษารายงานหน้าชั้นแล้ว ความคิดของการสอนให้ครบ จบให้ทัน ผมเริ่มเปลี่ยนไป

การสอนให้ครบ จบให้ทัน เป็นส่วนดีที่ผู้สอนต้องรับผิดชอบ และเป็นเรื่องของการบริหารจัดการความรู้ นักศึกษาเขาอาจจะไม่ต้องการให้เรายัดเยียดอะไรในสิ่งที่เขาไม่อยากรู้ก็ได้ สิ่งที่นักศึกษานำมาพูด หลายเรื่องเป็นความรู้ใหม่ที่ไม่เคยบอกนักศึกษา แต่นักศึกษาค้นพบเองระหว่างลงภาคสนาม

ที่สำคัญ นักศึกษาสามารถสะท้อนความต้องการของตนเองได้เป็นอย่างดีว่า สิ่งที่เขาได้จากการปฏิบัติภาคสนามนั้น เหมาะสมกับวิชาชีพ ความสามารถของตนในอนาคตเพียงใด

หลายอย่างครับ...ที่ความไม่พร้อมของวัสดุ อุปกรณ์ของการจัดการศึกษาในระดับอุดมศึกษา ตัวอาจารย์ผู้สอน(ไม่เฉพาะที่มร.ชม.) สะท้อนมาจากนักศึกษา มีนักศึกษาหลายคนครับที่นำเสนอบอกว่า

ไปศึกษาภาคสนามแล้วได้สิ่งที่มหาวิทยาลัยไม่เคยสอนกลับมา หลายเรื่องต้องศึกษาด้วยตนเอง ทักษะการใช้เครื่องมือก็ได้เรียนจากการไปภาคสนามและจากการที่มีผู้บอกและสอนนอกห้องเรียนทั้งนั้น

ผมก็มาวิเคราะห์ว่า...เอ๊ะเราโง่..หรือมหาวิทยาลัยโง่หรือไม่พร้อม...หรือหลักสูตรไม่ดีพอ...คิดไปคิดมา ย้อนกลับไปตอนที่เราจบจากมาหลายสถาบัน หลายแห่ง ก็คิดเป็นเรื่องปกติไป...

เพราะคงไม่มีที่แห่งใดที่จะสรรหา ป้อนวิชา ป้อนประสบการณ์ให้นักศึกษาได้ทุกอย่าง

สิ่งสำคัญผมคิดว่า อยู่ที่เราจริงจังต่อการจัดการความรู้ให้กับนักศึกษาขนาดไหน หลายคนที่ผมพูดคุยและเห็นถึงความไม่เอาถ่านของนักศึกษาก็มีมาก หลายครั้งที่ได้ฟังจากนักศึกษาว่า อาจารย์ปิดรายวิชานี้ในภาคเรียนนี้ไปแล้ว

ก็ตกใจว่า..เอ๊ะนักศึกษาไม่เอาถ่านหรืออาจารย์ไม่เอาถ่านเสียเอง

หมายเลขบันทึก: 129785เขียนเมื่อ 20 กันยายน 2007 05:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

อาจารย์เจ้า อรุณสวัสดิ์เจ้า

ถ้าส่งไปฝึกแล้วละอ่อนบอกว่าได้สิ่งที่ไม่มีจากที่สอน นี่ต้องดีใจ๋ขนาดเลยเจ้า เพราะว่า เฮาได้เติมหื้อเขาได้เห็นโลกที่เป็นจริงๆ ที่สำคัญคือ ละอ่อนจะบอกเฮาก่อต่อเมื่อเขาไว้ใจ๋คนสอนเจ้า ...ถ้าเขาบ่อไว้ใจ๋ เขาจะไปอู้ลับหลังว่า ครูสอนอะหยังบ่อฮู้ บ่าเหมือนที่เปิ้นทำกั๋นแล้วเฮาก่อจะบ่าได้อธิบายให้เขาคิดว่า แล้วอะไรควรทำ ไม่ควรทำเจ้า...ปัญหาแบบนี้เจอบ่อยในนักศึกษาพยาบาลที่เราส่งไปฝึกหลายๆที่ค่ะ พอหมดเทอมเอามาคุยกลุ่มใหญ่ เด็กๆจะสนุกมากๆเลยค่ะ ยิ่งถ้าเขาได้เล่าเรื่องที่เขาไปเปิ่นทำอะไรก่อนจะเรียนรู้ เขาจะพูดจนบางทีเลยเวลาเจ้า(แต่คนสอนเครียดพ่อง เพราะบางทีจับประเด็นแล้วคำพูดเด็กๆ อาจเหมือนต่อว่าคนสอน..คนสอนบางคนที่เปิ้นฮับบ่อได้ ก่อจะบ่าจัดชั่วโมงหื้อละอ่อนได้พูด..แล้วก็ค้างใจ๋กั๋นไปเจ้า)

เป๋นกำลังใจ๋หื้อเจ้าอาจารย์

ขอขอบคุณอาจารย์ศักราช...

  • แวะมาเชียร์ครับ
  • เชียร์ให้เน้น "การเรียน (learning)" มากกว่า "การสอน (teaching)"

PP

สวัสดีครับท่านอาจารย์จันทรรัตน์ และคุณหมอวัลลภ พรเรืองวงศ์  ขอขอบพระคุณมากครับที่ให้ข้อคิดเห็นและกำลังใจ ...

  • นักศึกษาสามารถให้ความรู้จากการฝึกงานใหม่ ๆ ที่ผมไม่รู้หลายเรื่องครับ...หลายเรื่องต้องใจกว้างรับฟัง เพื่อให้ได้เสียงสะท้อนกลับจากนักศึกษาในเรื่องต่าง ๆ

ขอบคุณอีกครั้งครับผม(ลุงปั๋น ผู้แบ่งปัน)

สวัสดีครับ....

ไม่ว่ากระบวนการเรียนการสอนจะพัฒนาไปไกลสักแค่ไหน  ผมก็ยังยืนยันในวิธีคิดที่ไม่ซับซ้อนว่า  ... นิสิตนักศึกษาต้องเรยนรู้ด้วยตนเอง... มีพื้นที่ที่จะค้นหาตัวเองอย่างมีจุดหมาย  แสวงหารูปแบบและกระบวนการด้วยตนเอง โดยไม่ติดยึดรอให้ครูบาอาจารย์จัดหามาให้...

ระลึกถึงเสมอ ...นะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท