ยูยินดี
นาย นายธรรมศักดิ์ ช่วยวัฒนะ

บริจาคทานอย่างไรจึงจะได้บุญสูงสุด


เมื่อความรู้แห่งตนยังไม่ถึงแก่นความเข้าใจ จึงยากที่จะทำให้บุคคลนั้นเข้าใจในเวลาอันจำกัด

"ไม่มีการทำทานใดที่จะส่งค่าสูงเท่ากับการบริจาคทานแห่งปัญญาธรรม" แม้คำกล่าวดังที่เอ่ยมานั้น ผู้เขียนด้อยการศึกษาแห่งธรรม แต่จากการปฏิบัติ หรือ กรรม ของการกระทำแห่งบทบัญญัติในพระไตรปิตกที่ซ่อนปริศนาธรรมะไว้จำนวนมากนั้น มักจะกล่าวถึงการทาน สูงสุด คือการทานแห่งหนทางดับทุกข์ พระพุทธองค์ท่านจึงได้ประกอบพระกิจวัตรด้วยการออกสอนหลักธรรม ที่มีความเป็นธรรมชาติแห่งธรรม มากที่สุด จึงกล่าวได้ว่า พระพุทธองค์ทรงเป็นต้นแบบแห่งกระบวนการเรียนรู้ธรรมชาติ หรือกระบวนการที่วิทยาศาสตร์ได้กำหนด ในรูปแบบอริยสัจสี่ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค แต่ทำไมคนไทย สังคมไทย แห่งการเรียนรู้ แบ่งเป็น 2 มิติ คือสังคมแห่งการเรียนรู้ตามความเชื่อหรือศรัทธา กับสังคมแห่งการเรียนรู่แห่งธรรมชาติ ที่ประกอบไปด้วยวิทยาศาสตร์และทางหลักธรรมพระพุทศาสนา ทำไมถึงแบ่งกันที่ชัดเจนยากแก่การจำแนก

  สังคมแห่งการเรียนรู้ที่เชื่อศัทธา แรงบันดาล ความกลัว ความหวัง เริ่มปลูกฝังเด็กและเยาวชน มากกว่าที่นักการศึกษาที่คิด เพราะถ้าเชื่อว่าการเรียนรู้ของผู้เรียนเกิดจากสิ่งเร้าที่มีอิทธิพลทั้งด้านการจัดระเบียบความรู้ และระเบียบทางความรู้สึกแล้ว จะมีสัมฤทธิผลสูงกว่าการเรียนรู้แบบใด ๆ ผู้เขียนเชื่ออย่างนั้น เพราะ สังเกตุได้จากพฤติกรรมหลังการรับรู้จากสิ่งเร้า เช่น การประสบอุบัติเหตุที่ประสาทสัมผัสรับรู้ และความรู้สึกในภาวะนั้น ทำให้ผู้ประสบที่นอนพักไม่ได้สติแต่อาการที่แสงออกมานั้นเสมือนว่าเหตุการยังคงดำเนินอยู่ อีกตัวอย่างเรื่องผู้ใหญ่สอนเด็กเรื่อง การเคารพสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เด็กมองหา มองไม่เห็น ถูกอิทธิพลทางความเชื่อบีบบังคับ ให้เกิดการรับรู้และตอบสนองการรับรู้ จนนำไปสู้การนำสิ่งที่รับรู้ไปประยุกต์ให้ในรูปแบบอื่น ๆ

  ทางแห่งวิทยาสาสตร์และทางธรรมจึงเป็นทางที่เสมือนไปในแนวเดียวกันมีกระบวนการเรียนรู้แบบความเชื่อศัทธาเป็นทางตรงกันข้าม นักวิทยาศาสตร์ที่เข้าสู่การค้นหาหลักธรรมชาติ นั้นหมายความว่ากำลังค้นหาหลักธรรม ถ้านักวิทยาศาสตร์ค้นหาหลักธรรมที่สอดคล้องกับหลักธรรมของพระพุทธองค์ ก็จะเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่เป็นผุ้พิสูจน์หลักธรรมดังกล่าว พระสงฆ์จึงขึ้นชื่อว่าเป็นพระที่ต้องพิสูตรหลักธรรมของพระพุทธองค์ ถ้าพระภิกษุที่ไม่ดำเนินการพิสูจน์หลักธรรมก็เสมือนเป็นฆารวาสปกตินั้นเอง

 มองถึงนักวิจัยที่มีหลักแห่งการวิจัย  นักวิจัยก็จำเป้นต้องพิสูจน์ตามแนวทางการวิจัยจึงจะขึ้นชื่อว่าเป็นนักวิจัย สอดคล้องกับสงฆ์ที่มีทางปฏิบัติแห่งสงฆ์ เมื่อสงฆ์ไปดำเนินการปลุกเสกสื่อศรัทธา เพื่อให้ผู้ศรัทะเป็นผู้ที่คล้อยตาม ก็เป็นกระบวนการหนึ่งที่ใช้กับกลั่มบัวเหล่าที่สามและเหล่าที่ 4 ซึ่งยากแก่การเข้าใจหลักแห่งธรรม จึงมีนักวิชาการออกมาประชาสัมพันธ์งานวิจัยบ่อยครั้งดังตัวอย่าง การวิจัยพิษของสารตะกั่ว ประชาสังคมไทยศรัทธาน้ำมันที่มีองคืประกอบของสารตะกั่วเป็นสิ่งช่วยปกป้องรถราคาแพง มากกว่าราคาแห่งชีวิตตน ยอมที่จะใช้น้ำมันนั้น ๆ กว่าประชาสังคมไทยจะเชื่อก็ใช้ยุทธศาสตร์ที่หลากหลาย สูญเสียงบประมาณจำนวนมาก พอถึงยุกใช้น้ำมันแก๊ศโซฮอล ก้ต้องปรับประชาความเชื่ออีกครั้ง ด้วยคำเด่นว่า "ไม่เกี่ยว" แต่คำว่าเกี่ยว เกี่ยวข้องกับการศึกษามาก ๆ ประชาสังคมแห่งการเรียนรู้ไทยยังเป็นประชาแห่งความเชื่อเช่นนี้ รัฐจะต้องสูญเปล่าทางการศึกษาอีกเท่าไร

  ทางพุทธรรมจึงสอนความเชื่อดังที่กล่าวในบทกลามสูตร ว่า"อย่าเชื่อถ้าสิ่งนั้นยังไม่พิสูจน์แห่งตน" เมื่อความรู้แห่งตนยังไม่ถึงแก่นความเข้าใจ จึงยากที่จะทำให้บุคคลนั้นเข้าใจในเวลาอันจำกัด 

  เมื่อเราเข้าใจหลักธรรมจะมองเห็นว่าคำกล่าวหรือการกระทำใดที่น่าแก่การเชื่อถือก้จะง่ายไม่จำเป็นต้องใช่สมาธิแห่งปัญญาที่ยาวนานนัก ใครจะจะบอกตนว่า ทำทานมาก ๆ โดยเฉพาะทรัพย์สินเงินทอง จะได้บุญมากนั้น จึงเป็นคำกล่าวที่ขัดกับหลักธรรมของพระพุทธองค์ บริจาคทานความรู้ ทานปัญญานั้นคือสิ่งจริง

หมายเลขบันทึก: 126410เขียนเมื่อ 9 กันยายน 2007 01:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท