สาเหตุความยากจนของเกษตรกร (๙): เกษตรกรใช้น้ำไม่มีประสิทธิภาพ


แม้มีการใช้น้ำเพียงไม่ถึง ๒๐% ของปริมาณน้ำฝนที่ตกในพื้นที่ภาคอีสาน ก็ยังสามารถทำการเกษตรเลี้ยงครอบครัวตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงได้

  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">เมื่อวานนี้เกือบทั้งวัน ผมนั่งทำรายงานการวิจัย การจัดการน้ำเพื่อเศรษฐกิจพอเพียง ในระดับครัวเรือน</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">โดยมานั่งไล่ทีละขั้นตอนตั้งแต่</p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt 36pt; text-indent: -18pt; tab-stops: list 36.0pt" class="MsoNormal">·        ข้อมูลน้ำฝน</p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt 36pt; text-indent: -18pt; tab-stops: list 36.0pt" class="MsoNormal">·        การเก็บน้ำฝน ในระบบต่างๆ</p> ·        การกักเก็บน้ำ จากแหล่งต่างๆ ที่มี <p style="margin: 0cm 0cm 0pt 36pt; text-indent: -18pt; tab-stops: list 36.0pt" class="MsoNormal"></p>·        การอนุรักษ์น้ำ และแหล่งน้ำ <p style="margin: 0cm 0cm 0pt 36pt; text-indent: -18pt; tab-stops: list 36.0pt" class="MsoNormal"></p>·        การใช้น้ำแบบหลากหลายวัตถุประสงค์ <p style="margin: 0cm 0cm 0pt 36pt; text-indent: -18pt; tab-stops: list 36.0pt" class="MsoNormal"></p>·        ประสิทธิภาพในการใช้น้ำ <p style="margin: 0cm 0cm 0pt 36pt; text-indent: -18pt; tab-stops: list 36.0pt" class="MsoNormal"></p>·        การหมุนเวียนใช้ทรัพยากรน้ำ <p style="margin: 0cm 0cm 0pt 36pt; text-indent: -18pt; tab-stops: list 36.0pt" class="MsoNormal"></p>·        การแบ่งหน้าที่ในการจัดการทรัพยากรน้ำ <p style="margin: 0cm 0cm 0pt 36pt; text-indent: -18pt; tab-stops: list 36.0pt" class="MsoNormal"></p>·        ผลตอบแทนในการใช้น้ำ ในด้านต่างๆ ทั้งที่เป็นตัวเงินและในเชิงมูลค่าด้านต่างๆ  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>จนกระทั่ง <p style="margin: 0cm 0cm 0pt 36pt; text-indent: -18pt; tab-stops: list 36.0pt" class="MsoNormal"></p>·        ผลของการใช้น้ำต่อชีวิต และความสุขของคนในระดับครัวเรือน  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>ทำให้ผมได้ข้อสรุปง่ายๆ และสั้นๆว่า   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>เกษตรกรยังใช้น้ำอย่างไม่มีประสิทธิภาพและคุ้มค่า กล่าวคือ ผลเฉลี่ยจากแปลงเกษตรที่ทำกิจกรรมอย่างเข้มข้นที่สุด ที่ศึกษาจำนวน ๑๓๐ ครัวเรือน ในเขตจังหวัด นครราชสีมา บุรีรัมย์ มหาสารคาม และยโสธร ประกฏผลดังนี้ <p style="margin: 0cm 0cm 0pt 36pt; text-indent: -18pt; tab-stops: list 36.0pt" class="MsoNormal"></p>·        มีการเก็บน้ำฝนไว้ในดินตลอดฤดูปลูกโดยเฉลี่ยเพียง ๓๓% <p style="margin: 0cm 0cm 0pt 36pt; text-indent: -18pt; tab-stops: list 36.0pt" class="MsoNormal"></p>·        เก็บไว้ในบ่อน้ำ (ถ้ามี) เพียง ๑๔% <p style="margin: 0cm 0cm 0pt 36pt; text-indent: -18pt; tab-stops: list 36.0pt" class="MsoNormal"></p>·        เก็บเป็นน้ำดื่มเพียง ๐.๒๕%  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>การสูญเสียโดยเก็บไว้ไม่ได้นั้น ถึง ๒ ใน ๓ ของฝนที่ตกลงมาในพื้นที่ <p style="margin: 0cm 0cm 0pt 36pt; text-indent: -18pt; tab-stops: list 36.0pt" class="MsoNormal"></p>·        สูญเสียโดยการระเหยกลับคืนไปในอากาศถึง ๖๖% <p style="margin: 0cm 0cm 0pt 36pt; text-indent: -18pt; tab-stops: list 36.0pt" class="MsoNormal"></p>·        สูญเสียโดยกาซึมลึกลงไปในดิน เพียง ๑% กว่าๆ  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>และน้ำที่เก็บไว้จำนวน ๑ ใน ๓ นั้น ยังมีการใช้น้ำ ดังนี้ <p style="margin: 0cm 0cm 0pt 36pt; text-indent: -18pt; tab-stops: list 36.0pt" class="MsoNormal"></p>·        ๑๕% ใช้ในการปลูกพืชสวน ไม้ผล <p style="margin: 0cm 0cm 0pt 36pt; text-indent: -18pt; tab-stops: list 36.0pt" class="MsoNormal"></p>·        ๑% ใช้ในการเสริมการทำนา <p style="margin: 0cm 0cm 0pt 36pt; text-indent: -18pt; tab-stops: list 36.0pt" class="MsoNormal"></p>·        ๑% ใช้ในครัวเรือน <p style="margin: 0cm 0cm 0pt 36pt; text-indent: -18pt; tab-stops: list 36.0pt" class="MsoNormal"></p>·        ๐.๕% ใช้ในการเลี้ยงสัตว์  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>และทุ่มเทค่าใช้จ่ายในการจัดการน้ำประมาณ ๕%ของการลงทุน (ไม่รวมค่าขุดบ่อ และค่าเครื่องสูบน้ำ)  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>จากพื้นที่ทำกินเฉลี่ย ประมาณ ๒๐ ไร่ มีพื้นที่บ่อ ๑๑๐๐ ตารางเมตร ที่ความจุประมาณ ๓๓๐๐ คิวบิคเมตร ทำให้มีรายได้ก่อนหักค่าใช้จ่าย ๗๓๐๐๐ บาท และเมื่อใช้จ่ายในครัวเรือน(เก็บทุกรายการ)แล้ว เหลือเงินเก็บเฉลี่ยปีละ ประมาณ ๑๐,๐๐๐ บาทต่อครัวเรือน (จากแปลงเดียวต่อครัวเรือนที่เก็บข้อมูล)  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>แสดงว่า แม้มีการใช้น้ำเพียงไม่ถึง ๒๐% ของปริมาณน้ำฝนที่ตกในพื้นที่ภาคอีสาน ก็ยังสามารถทำการเกษตรเลี้ยงครอบครัวตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงได้  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>แล้วทำไมเกษตรกรจึงบ่นว่าขาดแคลนน้ำ <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>และบางแห่งแถมมีน้ำท่วม  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>บางแห่งซ้ำร้ายแห้งแล้วท่วม ท่วมแล้วแห้งแล้ง สลับกัน  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>แสดงว่าการจัดการน้ำของเราน่าจะยังไม่ดีพอ คงไม่ใช่การขาดแคลนน้ำ ที่ทำให้ยากจนกระมังครับ

หมายเลขบันทึก: 126408เขียนเมื่อ 9 กันยายน 2007 01:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 ธันวาคม 2018 13:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

สวัสดีครับท่านอาจารย์แสวง

  • ลองมาปั้นน้ำเป็นตัวแล้วเป็นเก็บไว้ในรูปของป่า ของน้ำใต้ดิน ของน้ำผิวดิน ของความชื้นในอากาศ
  • ฝากน้ำไว้ในธนาคารท้องฟ้าได้ไหมครับ จะเรียกใช้ตอนไหนก็ใช้การร่ายมนต์เรียกฝนลงมาโดยการเรียกเมฆลงมาให้คล้อยลอยต่ำด้วยป่าไม้ แล้วก็กลายเป็นน้ำฝนได้
  • แหม พูดเหมือนง่ายเลยครับ....
  • ไปลุยงานต่อครับผม 

คุณเม้งครับ

เทคนิคที่ว่าต้องใช้ระบบ "พวกมากลากไป" ครับ

ตอนนี้ยังหัวเดียวกระเทียมลีบอยู่เลยครับ

รอสักหน่อยนะครับ อาจชาติหน้าตอนบ่ายๆก็ไม่แน่ใจครับ

ดีแล้วตรับ เร่งงานให้เสร็จ ใจจะได้โล่งๆ โลกมันสดใสขึ้นอีกเยอะเลยละ ผมซึ้งมาแล้วครับ

สวัสดีครับ

ความคิดเช่นเดียวกับคุณเม้งในการทำธนาคารน้ำ พระบทสมเด้จพระเจ้าอยู่หัวพระงองค์มีพระราชดำรัสเรื่องการจัดการน้ำในพื้นที่การเกษตร โดยเฉพาะที่นำ ถึงแม้เกษตรกรจะมีความจำเป็นหลักที่มุ่งเน้นการผลิตเพื่อจำหน่ายมากกว่าการมีพอกิน เกษตรทฤษฎีใหม่ก็มีความยืดหยุ่นสูงพอที่จะ นำทฤษีมาปฏิบัติได้ง่ายเช่น ที่ บ้านมวงบุญมี และบ้านขี้เหล็ก หมู่ 6 ตำบลแก อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์ มีการขุดบ่อขนาด 5 - 10 ของแลงนา ไร้ขอบไว้มุมใดมุมหนึ่งของที่นา เพื่อจัดการปัญหาน้ำ ถ้าปีใดแล้งก็นำน้ำน้นมาใช้ไม่ต้องรอฝน ถ้าปีใดท่วมจนข้าวเสียหาย แต่ชาวเกษตรกรยังมีบ่อที่มีปลาจำหน่ายอาจะได้กำไรกว่าการจำหน่ายข้าวเปลือก หรือแม้แต่การที่ได้ทั้งสองอย่างก็จะเป็นผลมากยิ่งทวีคูณ

   เทคนิคการชลอารสูญเสียน้ำจากความร้อนของดวงอาทิต จำเป็นต้องพึ่งอาจารญืละ ว่า พืชน้ำชนิดใดที่ให้ผลดี ทั้งเป็นอาหารคน และอาหารปลา

  คำว่า "ปลาข่อน" ของทางอีสานจะไม่สูญปล่าวแห่งปัญญา

วอนนักวิจัยช่วยเกษตรกรไทย  เพราะเกษตรกรท่านชราภาพมาก ขาดคนรุ่นใหม่สานต่อ

เทคนิคไอเดียดี ๆ เริ่มเก่าตามอายุ ผมน้อยใจที่คนไทยไม่สามารถผลิตเครื่องจักรเกี่ยวนวดรารคาต่ำได้ ทั้ง ๆ ที่ต้นฉบับอยุ่ที่ประเทศไทย เพียงไม่ถึง ปี 2 เดือน ประเทสจีนไม่รู้ซื้อสิทธิบัตรเราหรือเปล่าผลิตเชิงพานิชมาขายให้เราราคา เกือยสองแสนโน้น ทำนำกี่ปีจึงจะคุ้ม ไม่ต้องเอ่ยเครื่องจักรไทยหรอก ราคาเป็นล้าน ! .....

P
3. ยูยินดี
เมื่อ อา. 09 ก.ย. 2550 @ 02:16
ขอบคุณครับ
ผมพยายามเปิดให้เห็นแกนของการศึกษา ว่าจริงๆน้ำเรายังไม่ถึงกับขาดแคลน บรรพบุรุษได้เลือกที่ให้เราดีแล้ว
เพียงแต่ใช้ปัญญาอีกสักหน่อยก็น่าจะรอดนะครับ
ขอบคุณมากครับ

สวัสดีครับท่านอาจารย์

  • อีสานของเราเหลือเฟือทุกอย่าง ไม่ว่าดิน น้ำ อากาศ ความชื้นสัมพัทธ์  รวมทั้งความสงบของบ้านเมือง  แต่เราใช้ประโยชน์ไม่คุ้มค่าซักอย่าง
  • คนบ้านเรานอนกอดความอุดมสมบูรณ์รอวันเปลี่ยนมือไปให้คนนามสกุลยาวๆ ที่เข้ามาอยู่เมืองไทยเพียงไม่กี่ชั่วอายุคนเท่านั้นเอง
  • เศร้านะครับ  ฝนตกเป็นระยะๆ  แต่ต้นข้าวเหี่ยวเมื่อฝนทิ้งช่วงเพียงไม่กี่วัน
  • เกี่ยวกับเรื่องนี้  ผมได้เขียนไว้ที่ อีสานไม่แล้งอย่งที่เข้าใจครับ

Pครูวุฒิครับ

ผมว่าการศึกษาเป้นเรื่องสำคัญ เรื่องนี้ต้องฝากครูวุฒิ ด้วยนะครับ

ผมจะเปิดเรื่องนี้วันพรุ่งนี้ครีบ

ขอบคุณครับ

  • ขอบคุณครับท่านอาจารย์
  • ผมเห็นเช่นเดียวกับท่านอาจารย์ในเรื่องความสำคัญของการศึกษา  โดยเฉพาะการศึกษาในระดับพื้นฐานของชนบท  ที่ปัจจุบันยังไม่มีความสอดคล้องกันเลยกับบริบทของสังคม  ส่วนใหญ่กลายเป็นเครื่องมือบีบคั้นเด็ก จนงอมพระรามกันไปทั้งตัวเด็ก ครู และผู้ปกครองเลยครับ (ก็เพราะความที่เป็นการศึกษาในยุคปฏิรูปการศึกษานั่นแหละครับ ซึ่งวิเคราะห์ดูแล้วกลายเป็นว่า "ปฏิรูปการฆ่าเด็กทั้งเป็นมากกว่า")
  • ถ้าอาจารย์เปิดประเด็นนี้  ผมคงมีมุมมองได้แลกเปลี่ยนกับท่านอาจารย์พอสมควร  เพราะตลอดชีวิตที่เริ่มเกี่ยวข้องกับการศึกษา (ตั้งแต่เข้าเรียน ป.1 จนมาอยู่ในตำแห่งผู้บริหารการศึกษา) ผมเก็บอะไรๆที่เกี่ยวข้องไว้เยอะพอควรครับ
  • สวัสดีครับ

ขอบคุณครับ

น่าสนใจครับประเด็นที่เสนอมา

หลักสูตรท้องถิ่นพอเป็นทางเลือกสักหน่อยไหครับ

ภาคอีสานจะว่าแห้งแล้งก็เป็นบางพื้นที่เท่านั้น เวลาฝนตกไม่รู้(วิธีการ)ว่าจะกักน้ำฝนอย่างไรสำหรับใช้ภาคเกษตร ฝนตกที่น้ำท่วม หน้าแล้งน้ำไม่มีเพราะเรายังบริหารจัดการน้ำ แม่นำ นำฝน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็ไม่ได้ให้ความรู้กับชาวบ้าน ตามจริงแล้วชาวบ้านขาดความรู้ ขาดคนค่อยชี้แนะ ขาดกำลังใจว่าทำถูกแล้วให้ขยายผลกับเพื่อนบ้าน ชุมชนใกล้เคียง หน่วยงานของรัฐต้องแวะเข้าไปติดตามงานหน่อยค่ะ จะเห็นที่ก็แล้วมีผู้หลักผู้ใหญ่มาเท่านั้นเอง ทำงานแบบผักชีโรยหน้า แล้วชาวบ้านก็ก้าวเดินไม่ถึงไหนสักที ช่วยกันแก้ไขอย่างจริงจังบูรณาการงานเข้าด้วยกันความสำเร็จก็อยู่แค่เอื้อมค่ะ

คุณครูนอกระบบครับ

ฟังชื่อชั้นก็ซึ้งแล้วครับ

ผมกำลังทำงานเชื่อมโยงการนำการจัดการน้ำแบบหลายวัตถุประสงค์ เข้าสู่นโยบายชาติ

แต่ก็เลือดตาแทบกระเด็นก็ได้มานิดหน่อย และเอามาบ่นในบล็อกนี่แหละครับ

ตอนนี้พวกเรายังทำตัว "กินเมือง" แบบสมัยโบราณอยู่ครับ

เมื่อไหร่เราจะเลิกคำนี้เสียทีก็ไม่ทราบครับ

ขอความเห็น และเป็นกำลังใจด้วยนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท