ศักราช
อาจารย์ ศักราช ลุงปั๋น ฟ้าขาว

บันทึกการเดินทางที่วัดพู เมืองจำปาสัก(๕)


บันทึกวัดพูครั้งที่ ๕ มาช้าครับต้องขออภัย....

             

        หลังจากข้ามฟากถึงอีกฝั่งหนึ่งแล้ว คนขับรถพารถขึ้นถนนลาดยาง ที่ยางมะตอยทำท่าจะสึกหมดแล้ว โชคดีที่มีฝนตกอยู่บ้าง จึงทำให้ไม่มีฝุ่น สองข้างทางที่คณะของเราเดินทางผ่านเป็นบ้านไม้เกือบทั้งเมือง มีตึกที่เป็นรูปแบบของฝรั่งเศส ไกด์ให้หยุดขบวนรถทั้งคณะเพื่อให้เดินดูบ้านเรือนเก่าทรงฝรั่งเศส และรู้ว่าที่คณะของเรากำลังยืนอยู่หน้าบ้านหลังหนึ่งเป็นบ้านของเจ้าบุญอ้อม ซึ่งเป็นน้องชายของเจ้าบุญอุ้ม และไกด์บอกว่าเป็นวังเก่าของเจ้าเมืองจำปาสัก

           และถัดไปเห็นสภาพโรงเรียนชั้นประถมสมบูรณ์ จำปาสักดังภาพนี่แหละครับ

                  เมื่อเดินดูสภาพบ้านเรือน วิถีชีวิตชาวบ้านแถบนั้นได้ไม่ถึงครึ่งชั่วโมง จึงพากันมุ่งไปสู่วัดพูที่อยู่ข้างหน้าประมาณ  9 กิโลเมตร และก่อนถึงวัดพูนั้น ได้มีโอกาสเข้าไปเยี่ยมชมศิลปกรรมของขอมในห้องวางแสดงหรือพิพิธภัณฑ์แสดงโบราณวัตถุที่พบในวัดพู โดยไม่เก็บบัตรเข้าชม แต่ไม่อนุญาตให้ถ่ายภาพ แต่ผมได้เขียนภาพลายเส้นไว้ได้หนึ่งภาพคือ โสมสูตร(โสมสูตรคือท่อที่ขนถ่ายน้ำมนต์เพื่อระบายน้ำที่ใช้ในการบูชาศิวลึงค์ออกไปนอกตัวอาคาร เป็นระบบการขนถ่ายน้ำศักดิ์สิทธิ์ออกไปนอกห้องคูหาของอาคารเป็นเป็นคติในการสร้างเทวสถานของฮินดูหรือพราหมณ์)

             ห้องวางแสดงแห่งนี้ไกด์บอกว่าเป็นการช่วยเหลือของรัฐบาลญี่ปุ่น โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุต่าง ๆ ที่จัดแสดงเหลือไม่มาก เช่น พระวิษณุ ตัวองค์ค่อนข้างสมบูรณ์ แต่เศียรขาดไปแล้ว สิ่งที่ขาด คือ ข้อมูลที่เป็นเรื่องราวของโบราณวัตถุต่าง ๆ เพราะที่นี่ไม่มีเจ้าหน้าที่คอยอธิบาย และเอกสารข้อมูลเชิงประวติศาสตร์ มีเพียงเจ้าหน้าที่ที่ทำหน้าที่เฝ้าอาคารและขายของที่ระลึกประตูเข้าออก เท่านั้น

                   มองไปข้างหน้าก่อนเดินขึ้นวัดพูเห็นแล้ว "ภูเก้าหรือลึงคปรวต"

  <p style="text-justify: inter-ideograph; margin: 0in 0in 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">                  ภูเก้าเป็นภูเขาสูงกว่า 1,150 ม. เด่นตระหง่านทะยานขึ้นสู่ท้องฟ้า โอบล้อมด้วยต้นไม้หายากอายุกว่า 1,000 ปี พันธุ์พืชและสัตว์ป่านานาชนิด ภูเก้าเป็นภาษาสันสกฤตว่า ลึงคปรวต (Lingaparvata) เนื่องจากบนยอดสูงสุดของภูเขามีลักษณะลึงคบรรพตธรรมชาติ  เป็นสัญลักษณ์ของพระศิวะผู้เป็นเทพเจ้าแห่งการกำเนิด ยอดภูเก้าที่เรียกว่า ลึงคปรวต ชาวบ้านในสมัยโบราณ เชื่อกันว่าเป็นที่สถิตแห่งองค์ศิวะเทพหรือสัญลักษณ์แห่งบุรุษเพศ แม่น้ำโขงก็เปรียบได้กับแม่น้ำคงคา (Ganges River)(ข้อมูลจาก เกรียงไกร เกิดศิริ) </p><p> </p>

หมายเลขบันทึก: 125453เขียนเมื่อ 6 กันยายน 2007 06:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:19 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สวัสดีค่ะอาจารย์...ศักราช

  • ขอบคุณค่ะที่มีเรื่องราวดีดีมาให้อ่านค่ะ
  • คิดถึง..ระวังและรักษาสุขภาพด้วยนะคะ

ครูอ้อย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท