กิจกรรมจัดการความรู้ การดูแลผู้ป่วยเบาหวาน ของจ.นครพนม


ส่วนสิ่งที่เห็นการเปลี่ยนแปลงชัดๆ ก็คือ เรามีเวที ลปรร.ที่ชัดขึ้น มีการนำเสนอความสุขความภูมใจของคนทำงาน ไม่ใช่เวทีประกวดการทำงานหรือค้นหาปัญหาแล้วมานั่งแก้กัน

            เมื่อวานบ่ายผมขับรถเข้าตัวจังหวัดนครพนม เพื่อไปคุยกับพี่ๆที่ สสจ. คือพี่ อมรา ณ นครพนม และพี่วรางคนา จันแดง ในประเด็นเกี่ยวกับกิจกรรมต่างของงานเบาหวานที่จังหวัดนครพนม โดยการจัดการความรู้ (KM)เข้าไปเกี่ยวข้อง เพราะว่าต้องนำไปเสนอที่กรุงเทพในฐานะตัวแทนเขต 11  ซึ่งตอนแรกๆ ผมก็งงเหมือนกันครับว่า ผมต้องเข้าไปคุยประเด็นไหน เพราะเป็นเรื่องของการทำด้านกำกับ นโยบายของ สสจ.    แต่ท่าน ผอ.(นพ.มนู) ได้บอกกับพี่ ที่ สสจ.ไว้แล้วว่า น่าจะใช้มุมมองจากผม ที่เป็นระดับผู้ปฏิบัติงาน และพยายามใช้ การจัดการความรู้อย่างสม่ำเสมอในหลายๆกิจกรรม มาช่วยให้ความเห็น  จึงเป็นสาเหตุที่ผมต้องรีบบึ่งรถไปที่ สสจ.ครับ

           ไปถึงผมก็เลยให้พี่ๆ เล่าให้ฟังว่าทำอะไรมาแล้วบ้าง เมือเรียบเรียงได้แล้ว ผมก็เลยเสนอว่าในการนำเสนอก็น่าจะเล่าไปเลยว่า ทำอะไรมาแล้วบ้าง ใช้เครื่องมืออะไร ใช้การกระตุ้นติดตามอย่างไร ได้ผลอย่างไร และเห็นการเปลี่ยนแปลงอะไรในมุมมองของการจัดการความรู้ ซึ่งก็สรุปคร่าวๆว่า

        ทาง สสจ.มองเห็นเป็นหา และความมุ่งมั่นของทุกโรงพยาบาล ที่จะพัฒนาการดูแลผู้ป่วยเบาหวานในทุกประเด็น  จึงจัดเวทีให้คนทำงานที่เกี่ยวข้องมานำเสนอสิ่งที่สำเร็จหรือภูมิใจในการทำงานด้านนี้ แล้วใช้ เครื่องมือ ธารปัญญา มาหาปัจจัยแห่งความสำเร็จ และได้ สมรรถนะที่ร่วมกันจัดทำมาประเมินในแต่ละโรงพยาบาล 

          ในช่วงแรกได้เลือกประเด็น "การพัฒนาระบบบริการ" ซึ่งมีความกว้างของสมรรถนะมากที่สุด คือมีทั้ง รพ.ที่ทำได้ดี และ รพ.ที่อยากพัฒนาอยู่ในจังหวัด  ซึ่งทาง สสจ.สามารถกระตุ้นโดยใช้เวที ลปรร. เพื่อพัฒนางานได้ระหว่างกัน(ผู้พร้อมให้และผู้ไฝ่เรียนรู้)   หลังจากนั้น 6 เดือน สสจ. ก็ใช้เวทีประชุมของจังหวัด เพื่อติดตามความก้าวหน้าโดยใช้สมรรถนะเดิมที่ได้ทำไว้ มาประเมินตนเองอีกครั้ง ว่าแต่ละแห่งมีประเด็นพัฒนาที่เพิ่มเติมขึ้นหรือไม่อย่างไร  ส่วนประเด็นที่เราเห็นอื่นๆก็ค่อยกระตุ้นกันในโอกาสต่อๆไปโดยใช้ CoP ของเราเองที่เกิดขึ้น มาเป็นตัวกระตุ้น  ซึ่งทำให้มองเห็นได้ว่า จังหวัดนครพนม มีเรื่องเด่นจนเป็น Best practice ในเรื่องใด และยังด้อยในเรื่องใด เพื่อเป็นโอกาสในการแลกเปลี่ยนกับวงอื่นๆ ในจังหวัดใกล้เคียงหรือระดับประเทศ ต่อไป

       ส่วนสิ่งที่เห็นการเปลี่ยนแปลงชัดๆ ก็คือ เรามีเวที ลปรร.ที่ชัดขึ้น มีการนำเสนอความสุขความภูมใจของคนทำงาน ไม่ใช่เวทีประกวดการทำงานหรือค้นหาปัญหาแล้วมานั่งแก้กัน
         

หมายเลขบันทึก: 125426เขียนเมื่อ 5 กันยายน 2007 23:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 09:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)
ดีใจที่เห็นว่าจังหวัดนครพนมมีความเคลื่อนไหวทั้งเรื่องเบาหวานและ KM คุณเอนกและทีมธาตุพนมน่าจะเป็นกำลังสำคัญของการขับเคลื่อนได้

รู้สึกดีใจจังเลยค่ะที่จังหวัดนครพนมมีบุคลากรที่ทุ่มเททั้งแรงกายแรงใจในการทำงานอย่างพี่เอนก...สู้ต่อไปนะคะหนูขอเป็นกำลังใจให้

  • สวัสดีค่ะ อ.เอนก
  • แล้วจะแอบมาจิ๊ก best practice นะคะ

สวัดีครับ

P
3. pa_daeng  ยินดีให้ จิ๊กทุกประเด็นครับ เพราะเดี๋ยวเราก็จะกลับไปจิ๊กที่ท่าบ่อเหมือนกัน
P
2. kingfah-333 ขอบคุณกับคำทักทาย ของน้องใหม่G2K
P
1. วัลลา ตันตโยทัย ขอบคุณอาจารย์ครับ ที่เผ้าดู ให้กำลังใจ และช่วยเหลือ ในทุกๆเรื่องที่ผ่านมาครับ

ผมเชื่ออย่างยิ่งครับ ว่าโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชธาตุพนม สามารถจัดเวทีแลกเปลี่ยนระดับชาติได้อย่างสบายเลยครับ

ดีใจ..ที่เห็น สสจ.นครพนม..จะนำรูปแบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แบบนี้ไปใช้จริงๆ.ในภาพรวมทั้งจังหวัด.คนทำงาน DM Care น่าจะมีความสุขจากเรื่องเล่าเร้าพลังของตนเอง..เล็กๆ..แต่ยิ่งใหญ่ความรู้สึก..เราเชียร์คุณอยู่นะ..

ได้คุยกับคนไข้เบาหวานที่ถูกตัดนิ้วเท้าเนื่องจากการอักเสบลุกลาม..คนนี้ได้รับการรักษาแผลเบาหวานในช่วง ปี 2548 ที่ รพร.ธาตุพนม..มีคุณหมอประกาศิต..เป็นกำลังหลักของทีม..นอนรักษาในโรงพยาบาลนานเป็นเดือน..รวมกับที่ให้กลับบ้าน  นัดทำแผล..ตัดรองเท้ารุ่นพิเศษให้(เฉพาะเท้าใครเท่าเราเลียนแบบไม่ได้ค่ะ).เกือบ 3 เดือนเทียวโรงพยาบาล-บ้าน  วันนี้เค้าบอกว่า.."ขอบคุณโรงพยาบาลมากๆและ..ดีใจที่ได้ไปหาหมอ(หมายถึงโรงพยาบาลธาตุพนม)..ถ้าไม่ไปวันนั้น..ป่านนี้อาจไม่มีหลงเหลือให้เดินได้อีก"..คือผู้ป่วยคนนี้บ้านเค้าอยู่ในโซนแถวบ้านของผู้ประสานงานค่ะ..เท้าเน่าพุพองมากแต่ไม่ไปรักษาเพราะกลัวว่าจะจ่ายเงินมากตอนนี้ยังไม่มีเงิน..เอาถุงเท้ามาใส่ปิดไว้..ไปขับรถมอเตอร์ไซด์ขายเนื้อตามปกติ..เราเห็นแล้วก็..กึ่งบังคับแกมขอร้องเค้าให้ไปรักษาที่ รพร.ธาตุพนม..บอกเค้าว่าบัตรทองก็มีรักษาฟรีนะ..วันนี้เค้าทำมาหากินได้ตามปกติ..ใส่รองเท้ารัดส้นแบบที่ ทีม DMแนะนำ..สุขภาพโดยรวมดูดีขึ้นมาก..หน้าตาท่าทางสดใส..มีความสุข..เห็นแล้วเราก็มีความสุขตามค่ะ..
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท