กล้วยหิน...เมืองยะลา


ทำไมถึงชื่อ..."กล้วยหิน" ?

     กล้วยกล้วยหิน  เป็นกล้วยชนิดหนึ่งที่ปลูกในจังหวัดยะลา คนภาคใต้ตอนล่างจะรู้จักกันดี  คนภาคอื่น ๆ บางคนอาจจะรู้จักแล้ว  แต่ก็คงมีอีกหลายคนที่ยังไม่รู้จักกล้วยหิน ว่าคือกล้วยชนิดใด มีรูปร่าง ลักษณะ  รสชาดเป็นอย่างไร  วันนี้ผู้เขียนขอนำเสนอเรื่อง...กล้วยหิน  เพื่อเป็นสาระความรู้และประโยชน์ต่อไป....กล้วย

        กล้วยหิน     (Kluai Hin)
        ชื่อสามัญ  :  
Saba
        ชื่อวิทยาศาสตร์   : Musa sp
        แหล่งกำเนิด        :
2
ฝั่งแม่น้ำปัตตานี เขตพื้นที่หมู่บ้านเรือขุด  
                                    ตำบลบาเจาะ  อำเภอบันนังสตา  จังหวัดยะลา



 

ต้นกล้วย

 


ทำไมถึงชื่อ..."กล้วยหิน"?
         

                โดยทั่วไปแล้วการที่คนตั้งชื่ออะไรสักอย่าง มักจะมีที่มา หรือมีความหมาย  ที่ซ้อนเร้นอยู่ หลายคนวิเคราะห์ว่า เหตุที่ชื่อว่า กล้วยหิน เพราะกล้วยหินมีเนื้อแน่น เหนียวกว่ากล้วยอื่น ๆ แต่ผู้เฒ่าหลายคนบอกว่า กล้วยหินที่พบครั้งแรก มักจะขึ้นบริเวณกรวดหิน 2 ฝั่งลำแม่น้ำปัตตานี   ซึ่งกล้วยอื่นไม่ชอบขึ้น จึงเรียกกล้วยชนิดนี้ว่า กล้วยหิน สอดคล้องกับคำสัมภาษณ์  นายประพาส  เสริมคง  อายุ 70 ปี อยู่บ้านบันนังบูโบ  เลขที่ 8 หมู่ 3 ตำบลถ้ำทะลุ   อำเภอบันนังสตา  จังหวัดยะลา เป็นเกษตรกรทำสวนผลไม้ ในเนื้อที่ปลูก 20 กว่าไร่  โดยปลูกทุเรียน  ลองกอง  มังคุด   และแซมด้วยกล้วยหิน  ได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานในหมู่บ้านนี้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2497   ท่านเล่าให้ฟังว่า    เคยเห็นกล้วยหินที่มีใบใหญ่  หนา  และเขียว   มาตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ประมาณปี  พ.ศ 2488   เจริญงอกงามดีในบริเวณหมู่บ้านเรือขุด  อำเภอบันนังสตา  จังหวัดยะลา ทางไปเขื่อนบางลางในปัจจุบัน     ซึ่งแต่เดิมบริเวณนี้เคยเป็นเหมืองร้าง   (เหมืองแร่ดีบุก)   มีลำธารสายใหญ่   หรือแม่น้ำปัตตานีไหลผ่าน  พื้นดินจึงมีสภาพเป็นกรวดหิน และดินลูกรัง  มีกล้วยชนิดนี้ขึ้นอุดมสมบูรณ์ ชาวบ้านเห็นว่ากล้วยชนิดนี้ สามารถขึ้นได้ดีในสภาพกรวดหิน  จึงเรียกว่า กล้วยหิน  และเรียกชื่อนี้กันมาจนถึงปัจจุบัน...


 

กล้วยหิน1



ลักษณะของกล้วยหิน  
 

            กล้วยหิน  มีลักษณะคล้ายกล้วยน้ำว้า ต้นใหญ่ โคนต้นวัดโดยรอบประมาณ  70 เซนติเมตร   สูง 3.5 – 5 เมตร    กาบด้านนอกสีเขียวนวล   ก้านใบค่อนข้างสั้นร่อง ใบเปิด    ใบกว้าง   40 – 50  เซนติเมตร ยาว  1.5 เมตร ปลีรูปร่างค่อนข้างป้อมสั้น รูปร่างคล้ายดอกบัวตูม ด้านนอกของปลีเป็นสีแดงอมม่วง ด้านในสีแดง  เมื่อกาบเปิด จะไม่ม้วนงอ  กล้วยหินแต่ละต้นมีผล 1 เครือ โดยจะออกเครือเมื่อหน่ออายุประมาณ  8  เดือน  และเก็บเกี่ยวได้เมื่ออายุ  12  เดือน  หรือหลังจากออกเครือ  ประมาณเดือน เครือหนึ่ง มี 7–10 หวี หวีหนึ่งมี  15 – 20 ผล    ผลเป็นรูปห้าเหลี่ยมเปลือกหนาค่อนข้างสมบูรณ์ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3 – 5 เซนติเมตร ยาว 8 – 12 เซนติเมตร  ผลดิบเปลือกสีเขียว เนื้อแข็ง  เมื่อสุกเปลือกสีเหลือง   เนื้อสีขาวอมเหลืองถึงเหลือง แน่นแข็ง  ไม่ยุ่ย    ปลายจุกป้าน เมื่อผลแก่จัดตัดมาเก็บไว้ได้นาน7 – 8 วัน การเรียง ตัวของผลเป็นระเบียบ มีช่องว่างเล็กน้อยอยู่ระหว่างหวีแต่ละหวี


กล้วยหิน2

  

ประโยชน์ของกล้วยหิน  <p style="margin: 0in 0in 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">
        
 กล้วยหิน    เดิมเป็นพืชเก่าแก่คู่ ฝั่งแม่น้ำปัตตานี โดยเฉพาะในเขตตำบลบาเจาะ  อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา  มีกล้วยหินขึ้นหนาแน่นเป็นดงกล้วยหินเลยที่เดียว คนนอกพื้นที่จากถื่นอื่นเมื่อได้พบเห็นมักจะเข้าใจว่าเป็นกล้วยป่า ที่งอกเจริญเติบโตขึ้นเองตามธรรมชาติ  เข้าใจว่าเป็นกล้วยที่ไม่มีคุณค่าประโยชน์อันใด แท้ที่จริงแล้วกล้วยหินเป็นพืชเศรษฐกิจท้องถิ่นของอำเภอบันนังสตา  เกษตรกรมีรายได้จากการปลูกกล้วยหินมาก ผลผลิตมีไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาด จนทำให้ราคาผลผลิตสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว จากหวีละ 2 – 3 บาท เมื่อ 20 ปีที่แล้ว ปัจจุบันราคาสูงขึ้นเป็นหวีละ 10 – 25 บาท ทั้งนี้เพราะกล้วยหินใช้เป็นทั้งอาหารคนและอาหารนก โดยเฉพาะนกปรอด  หรือ  นกกรงหัวจุก  ซึ่งชาวไทยมุสลิมในจังหวัดยะลา ปัตตานี  และนราธิวาส  นิยมเลี้ยงกันมาก โดยเฉพาะจังหวัดยะลา
</p> <p style="margin: 0in 0in 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p> <p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal">
       
</p> <div style="text-align: center">กล้วยหิน3</div> <p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"> </p> <p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal" align="center">  </p> <p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"> การนำมาปรุงอาหาร</p> <p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p> <p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p> <p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal">  
            ในส่วนการนำกล้วยหินมาทำเป็นอาหารนั้น ทำได้หลากหลาย  เช่นนำส่วนที่
เป็นแกนของลำต้น หลายคนเรียกว่า หยวกกล้วย นำมาประกอบอาหารประเภทแกงอาจจะเป็นแกงไก่  แกงเนื้อ   แกงหมู  ผสมหยวกกล้วย   หรือใช้เป็นผักจิ้มน้ำพริก  แต่ควรนำมาลวกเสียก่อนถึงจะอร่อยมากขึ้น   เช่นกับหัวปลี  นอกจากใช้จิ้มน้ำพริกแทนผักได้แล้วยังนำมาทำเป็นยำหัวปลีก็อร่อยดี  ส่วนผลของกล้วยหินใช้รับประทานสดก็ได้ แต่ไม่ค่อยนิยมกัน คนมักจะนำมาต้มหรือปิ้งก่อนจะได้รดชาดหวานหอม   กล้วยหินทอด หรือกล้วยแขกเป็นที่ชื่นชอบของผู้บริโภค  ยิ่งเป็นช่วงฤดูฝนจะขายดีมากเป็นความรู้สึกว่า    อร่อยกว่าช่วงไหน ๆ ทานแล้วลดความหนาวเย็นลงได้ นอกจากนี้ผลของกล้วยหินยังนำมาฉาบนำมาเชื่อม  โดยเฉพาะกล้วยหินฉาบ  กล้วยหินฉาบสมุนไพร เป็นผลิตภัณฑ์แปรรูปที่รู้จักกันโดยทั่วไป  รสชาดอร่อยกว่ากล้วยฉาบอื่น ๆ 
</p> <p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p> <p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p> <p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal">
ข้อดี
/ ลักษณะเด่นของกล้วยหิน
</p> <p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p> <p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"> </p> <p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal">        1. เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วน ดินร่วนเหนียว ดินที่เป็นลูกรัง หรือดินกรวดหิน</p>        2. แตกกอเร็ว ปลูกครั้งเดียวเก็บเกี่ยวได้นาน เพราะกอหนึ่งมีหลายต้น
       3. ลำต้นใหญ่ แข็งแรง ไม่ค่อยมีโรค แมลงระบาด จึงไม่ต้องใช้สารเคมีป้องกันศัตรูพืชแต่อย่างใด
       4. ผลของกล้วยหินมีเปลือกหนา จึงมีความบอบช้ำต่อการขนส่งน้อยกว่า
        5. ผลแก่เก็บได้นาน 7 – 8 วัน ก็ยังไม่เน่าเสีย
        6. ใช้ประโยชน์ได้เกือบทุกส่วน ตั้งแต่รากจนถึงปลีและผลโดยเฉพาะผลมีรสชาดอร่อย แปรรูปได้หลายอย่าง
        7. ปลูกแซมในสวนผลไม้ เป็นร่มเงาได้ดีมาก ทำให้สวนผลไม้มีความชื้น ต้นไม้ผลที่เริ่มปลูกใหม่เจริญเติบโตได้ดีมากขึ้น
        8. ทนต่อสภาพแห้งแล้งได้ดี
  <h2 style="margin: 0in 0in 0pt"></h2> <h2 style="margin: 0in 0in 0pt">
อายุการเก็บเกี่ยว
</h2>

                  หลังปลูกกล้วยหินประมาณ  8  เดือน  ก็จะเริ่มออกปลี  และจะเก็บเกี่ยวได้หลังออกปลีประมาณ  3-4  เดือน                                               


การทำกล้วยหินฉาบหวาน

ส่วนผสม

  • กล้วยหิน                               5            หวี
  • น้ำมันพืช
  • น้ำตาลทราย                      800            กรัม
  • เกลือป่น                             10            กรัม
  • น้ำ                                  400            กรัม
  • เนยเหลือง/มาการีน             200            กรัม

ขั้นตอนการทำ

  •  กล้วยหินปอกเปลือกออก ล้างให้สะอาด
  • ไสด์เป็นชิ้นบาง ๆ ตามความยาวของกล้วย
  • นำไปทอดในน้ำมันจนสุกเหลืองตักขึ้นซับน้ำมัน
  • นำน้ำตาลทราย + น้ำสะอาด + เกลือ + เนยเหลืองมาการีน ใส่ในกระทะ เคี่ยวเป็นยางมะตูมฉาบกับกล้วยหินที่ทอดแล้ว
  • ตั้งให้เย็น
  •  บรรจุใส่ถุงจำหน่าย


กล้วยหิน 11

  <div style="text-align: center"> กล้วยหิน4</div>
  <p align="center"> กล้วยหิน5 </p> <p align="center">

กล้วยหิน 8


กล้วยหิน 7
</p> <p align="center">

 ขั้นตอน1
</p> <p align="center"></p>


ขั้นตอน2

 

 ขั้นตอน3

                                           
          

กล้วยหิน10


<h1 style="margin: 0in 0in 0pt"></h1> <h1 style="margin: 0in 0in 0pt"></h1> <h1 style="margin: 0in 0in 0pt">
                                           
</h1> <div style="text-align: center"> <h1 style="margin: 0in 0in 0pt"> กล้วยหิน 9                  


ประโยชน์ที่ได้รับ</h1> </div>

  •  เพิ่มรายได้ให้กับสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร
  •   เพิ่มมูลค่าผลผลิตเกษตร
  •   เกิดการรวมกลุ่มทำให้เกิดความสามัคคี

                  

กล้วยหินฉาบ1
 
<p align="center">กล้วยหินฉาบ


</p>
<p align="center">กล้วยหินกรอบแก้ว</p>
<p align="center">
กล้วยหินฉาบหวาน / กล้วยหินฉาบค็ม


</font></strong></p>
<p align="center">
 กล้วยฉินฉาบ2</span></p>
<h2 style="margin: 0in 0in 0pt"></h2>
<h2 style="margin: 0in 0in 0pt">
                                       

         </span></h2>
<div style="text-align: center">
<h2 style="margin: 0in 0in 0pt"> กล้วยหินฉาบสมุนไพร
</h2>
<div style="text-align: center">
<h2 style="margin: 0in 0in 0pt">  </h2>
<div style="text-align: center">
<h2 style="margin: 0in 0in 0pt">กล้วยหินฉาบสมุนไพร 



</h2>
</div>
</div>
</div>
<h2 style="margin: 0in 0in 0pt"></h2>
<h2 style="margin: 0in 0in 0pt"></h2>
<h2 style="margin: 0in 0in 0pt">
          
ที่มา :</span> 
http://yala.doae.go.th/data/stone%20banana000.htm   </span></span></h2>
                   
 สำนักงานเกษตรจังหวัดยะลา  http://yala.doae.go.th        
 </span> <p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p>   <h2 style="margin: 0in 0in 0pt"></h2> <h2 style="margin: 0in 0in 0pt">         

</h2>

หมายเลขบันทึก: 125419เขียนเมื่อ 5 กันยายน 2007 23:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:19 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (33)

        สวัสดีค่ะ...

  • กล้วยหินถูกแปรรูปเป็นกล้วยฉาบ....น่าอร่อยนะค่ะ

 

 

 

  • ขอบคุณมากครับ
  • เมื่อวานไปดูแล้ว
  • แต่วันนี้เข้าใจมากกว่าเพราะมีรูปให้ดูด้วย
  • ชอบกินๆๆ
  • กล้วยฉาบมากๆๆ
  • สวัสดีค่ะ
  • ขอบคุณ คุณP หญ้าบัว มากนะค่ะ ที่แวะมาทักทายกัน
  • ขอบคุณ อาจารย์ P  ขจิต ฝอยทอง มากค่ะ
  • ลงให้ตามสัญญาแล้วนะค่ะ...คงรู้จักกล้วยหินขึ้นบ้างแล้วใช่ไหมค่ะอาจารย์
  • อาจารย์แวะมาติดตามไวเหมือนกันนะค่ะเนี่ยยย อิอิ ดีจังเลย...
  • อร่อยค่ะ กล้วยหินต้มก็อร่อย ยิ่งแปรรูปมาเป็นกล้วยหินฉาบหวาน / เค็ม /กรอบแก้ว และกล้วยหินฉาบสมุนไพร แล้วอร่อยค่ะ...แหมอยากไปป้อนให้กินให้ถึงที่จัง...ทั้งสองคน...จนใจที่ไกลเกินไป อิอิ

สวัสดีค่ะคุณ Sirintip

  • ตามเข้ามาขอบคุณค่ะ
  • มาด้วยความคิดถึงเสมอ เพิ่งเข้าเน็ตได้ค่ะ
  • เนื่องจากเสียมานาน และไปยกเลิก ของเก่าและติดตั้งใหม่สด ๆ ร้อน ๆ เลยค่ะ
  • วันนี้ตามเข้ามาดูเรื่องกล้วย ๆ  ที่ไม่ได้กล้วยสมชื่อค่ะ  เพิ่งรู้จักกล้วยหินนี่แหละค่ะ กระจ่างแจ้งมากค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ
  • หวัดดีน้องศิรินทิพย์
  • ไม่ได้เจอกันหลายวันนะ วันที่มี km ที่รร.มารวย อยากชิมกล้วยหินบ้าง ทำไงดี...
  • ว้าวอยากได้สักถุงคะ
  • กล้วยที่ไม่ใช่เรื่องกล้วยๆเลยนะคะ
  • ประโยชน์ของกล้วยนี่จาระไนไม่หมดนะคะ
  • เป็นพืชที่สมควรปลูกที่สุดคะ
  • ถ้าคนมีประโยชน์อย่างกล้วยก็ดีสิคะ
  • จะได้ไม่วุ่นแบบนี้
  • ระวังตัวด้วยนะคะ...เป็นห่วงคะ

  เรื่องกล้วยๆ ที่ไม่กล้วย

  ขายถุงเท่าไหร่ครับ

  • สวัสดีคะ..น้อง Sirintip
  • ได้ความรู้ดีจัง..กล้วยหิน..ไม่เคยรู้จักมาก่อน...
  • ภาพสวยดีนะคะ (น่ากิน)

ครูแอนชอบกินกล้วย..กินกล้วยแล้วอารมณ์ดีจ้า

  • สวัสดีค่ะ
  • ขอบคุณ คุณRanee ดีใจค่ะที่แวะมา...เพราะคิดถึงอยู่นะค่ะ...เป็นอันว่าพาเครื่องคอม ฯ ไปแอดมิดมา ตอนนี้เครื่องคอม ฯ หายป่วยแล้วใช่ไหมค่ะ ดีจัง จะได้เจอบ่อย ๆ อิอิ  
  • ขอบคุณพี่ หนุ่ม ร้อยเกาะ มากค่ะ อย่าลืมเก็บความรู้เรื่อง KM ที่รร.มารวยมาฝากนะค่ะพี่  ไป รร.มารวย...กลับมาจน ทู้กทีสิน่า สมกับราคาค่าห้องจริ้งจริง
  • ขอบคุณ คุณnaree suwan มากค่ะ ใช่ค่ะ กล้วยสามารถทำประโยชน์ได้หลายอย่าง ทั้งของคาว ของหวาน สารพัดประโยชน์...และขอบคุณอีกครั้งนะค่ะ...ที่เป็นห่วง
  • ขอบคุณ คุณนาย วรชัย หลักคำ มากนะค่ะที่แวะมาซื้อกล้วยหิน อิอิ มีหลายราคาค่ะ ตั้งแต่ 10 บาท 20 บาท และ25 บาทขึ้นไปค่ะ
  • ขอบคุณ คุณนันทา ติงสมบัติยุทธ์ มากนะค่ะ ที่แวะมาค่ะ
  • และขอบคุณ   ครูแอน สาวเหนือคนน่ารัก ด้วยนะค่ะที่แวะมากินกล้วยหินกัน ถ้าครูแอนได้กินกล้วยหิน รับรองจะติดใจ และอารมณ์ดียิ่งขึ้นค่ะ แหมอยากเอาไปป้อนให้ถึงทีจัง อิอิ

  • สวัสดีค่ะ ..

มาอ่านเรื่องกล้วย ๆ ที่ไม่กล้วย ๆ เลย  ^_^

น่าอร่อยนะคะ 

  • สวัสดีค่ะ...น้องต้อม. เนปาลี
  • ขอบคุณนะค่ะที่แวะมา
  • อร่อยค่ะ "กล้วยหินฉาบ" "กล้วยหินต้ม" เคยกินแล้วหรือยังค่ะ สักถุงเป็นงัย อิอิ

  • ขอบคุณคุณ
  • มากครับ
  • เป็นอย่างไรบ้างครับ
  • ช่วงนี้ฝนตกไหมเอย
  • ที่นี่ตกบ่อย
  • แต่ในบันทึกแต่ทุกวัน
  • เป็นบรรจงเลย
    • สวัสดีค่ะอาจารย์ ขจิต ฝอยทอง
    • ขอบคุณมากนะค่ะ
    • ที่นี่ฝนตกทุกวันค่ะ ช่วงบ่าย ๆ เย็น ๆ
    • แต่ไหนเลยฝนจะตกได้ตลอดเวลาทุกวันทุกคืนอย่างของอาจารย์ล่ะค่ะ อิอิ
    • แต่คงไม่ต่างกับของบล็อคนี้เช่นกัน มีดาวกระพริบส่องแสงตลอดเวลาทั้งกลางวันกลางคืน อ่ะนะ....
เข้ามาขอบคุณครับ เข้ามาแล้วง่วงนอนนึกว่ากลางคืนอยู่เรื่อยเลยมีดาวเต็มไปหมด เอ ไม่มีดาวค้างฟ้าบ้างหรือครับ อิอิอิๆๆ
  • สวัสดีค่ะอาจารย์  ขจิต ฝอยทอง ขอบคุณค่ะที่แวะมาเสมอ
  • อะแหม...ไม่ต้องหาไกลหรอก...ดาวค้างฟ้านะ...ก็อยู่ในบล็อคนี้แล้วไงค่ะอาจารย์ 555 
  • ว่าแต่อาจารย์เดินทางไปทำวิจัยที่ต่างประเทศเมื่อไหร่ค่ะ...ขอให้เดินทางโดยสวัสดิภาพนะค่ะ
  •  สวัสดีค่ะ...
  • แวะมาบอกว่า เคยทานกล้วยหินค่ะ
  • อร่อยมากเลย  ขนาดเป็นแค่กล้วยต้มนะคะ
  • กล้วยหินจะรู้สึกมันๆกว่ากล้วยชนิดอื่น อร่อยค่ะ
  • ที่เคยทานเพราะเคยมีแฟนเป็นคนยะลาค่ะ อิอิ

สวัสดีค่ะ เพิ่งมีโอกาสได้ทยอยอ่าน ทำความรู้จักกัน เลือกเรื่องกล้วยหินก่อนเลย เพราะชอบกล้วย ชอบดูความงามและชอบทานด้วยค่ะ

อ่านเรื่องนี้แล้วได้ความรู้มาก ปลูกกล้วย"ซาบ้า" ไว้ต้นหนึ่ง ยังไม่ทันจะออกเครือเลย น้ำกำลังท่วม เลยไม่ทราบว่าจะเป็นชนิดเดียวกับกล้วยหินที่คุณอ้อยควั้นเล่าหรือเปล่า แต่เก็บหน่อไว้แล้ว หลังน้ำท่วมจะปลูกใหม่ค่ะ ยิ่งทราบว่ารสชาติดี ชักอยากทานค่ะ

เรื่องกล้วย ชักจะไม่กล้วย...เพราะว่าเป็น..กล้วยหิน...

ขอบคุณค่ะ

สวัสดีคุณ อ้อยควั้นอ่านบันทึกหน้านี้จึงมั่นใจว่าเป็นคนยะลา เพราะยะลามีกล้วยต้มที่อร่อยที่สุดในโลก "กล้วยหินต้มที่บ้านเนียง" และมีที่เดี่ยวในโลก แต่ใช้สัมผัสรู้สึกเหมือนเงาไม่ได้ต้องกินจริงๆ  โดยเฉพาะต้องหน้าฝนที่ยะลา กล้วยต้มอุ่นๆ อากาศชื้นๆมีละอองฝนโปรยครึ่งหวีคนเดียวก็กินหมด ไม่ต้องนั่งข้างคนรัก ก็อร่อยได้   อยู่ยะลาบันทึกเรื่องยะลามาให้คนที่อื่นๆได้รู้มั่งแล     ให้สุขภาพแข็งแรงนะ

แวะมาชมกล้วยหินด้วยครับ (ชื่อแปลกดี)

กล้วยในแต่ละท้องถิ่นก็มีเสน่ห์ในตัวเอง

ขอขอบคุณที่ให้ความรู้เรื่องกล้วย นำเสนอโดยคุณอ้อยควั้น มันคู่กันนะครับระหว่างกล้วยกับอ้อย (ไม่ทราบว่าคุณอ้อยควั้นได้ใช้ประโยชน์แล้วยัง)

สวัสดีคับ ผมชื่อรุต บ้านที่กระบี่คับ ก็เป็นอีกคนหนึ่งคับที่ชอบกินกล้วย แม่บอกว่าผมนะโตมากับกล้วย หมายถึงกินเป็นชีวิตจิตใจลเยคับ ที่กระบี่ไม่มีกล้วยหินคับ อยากได้หน่อกล้วยหินคับ

ได้รู้จักเรื่องของ"กล้วยหิน"แล้ว อยากรู้เรื่องน้อง"อ้อยควั้น" บ้าง ได้มั้ยครับ...

ดีใจที่เพื่อนส่งหน่อกล้วยหินมาให้แล้ว

เพื่อนที่ยะลามีน้ำใจดีมาก ที่อุตส่าห์ขุดหน่อกล้วยหิน และส่งมาให้ผมที่กรุงเทพฯ ถึง 7 หน่อ ต้องขอขอบคุณเพื่อนคนนี้มาก และเป็นส่วนหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงความมีน้ำใจที่ดีของคนจังหวัดยะลา

สวัสดีค่ะ..

อยากชิมฝีมือพี่อ้อยควั้นจัง...

สวัสดีคุณอ้อยควั้นและสวัสดีเพื่อนๆทุกคน(ขอโทษที่ไม่ได้เอ่ยนามนะครับ)ผมอาจารย์เอ็กซ์พิษณุโลกนะครับ อยากได้หน่อกล้วยหินเพื่อทำการขยายพันธ์มากๆ เพื่อนๆคนไหนที่พอจะช่วยได้เรายินดีเป็นอย่างยิ่ง ครับ

ผมอยู่สุราษฎร์ครับอยากได้ต้นกล้วยหินครับใครมีบ้างนะบริจาคใด้ไม่หรือว่าที่ใหนมีราคาถูกบ้างบอกด้วยครับ 0856193153

แวะมาชมคับ อยากทราบว่าจะหาซื้อได้ที่ไหน ผมอยู่ที่จังหวัดสมุทรสาครคับ แล้วราคาเท่าไรคับ ปลูกแล้วแต่ผลที่ออกมาลูกมันเล็กหรีบ ขอรบกวนช่วยส่งข้อมูลให้ทีน่ะคับ e-mail [email protected]

ได้ข้อมูลทำรายงานค่ะ

  1. มีขายส่งกล้วยหินหรือเปล่าคับ ต้องการเยอะ

ผมคนยะลา แต่คนยะลาจำนวนไม่น้อยไม่รู้จักว่าจะแปรรูปอย่างไร

ขอบคุณครับ


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท