ความเป็นมาของอิสรชน : ภาคคำบอกเล่า


อิสรชน มักจะบอกใคร ๆ เสมอ ๆ ว่า เราเป็นเพียงสะพาน ที่เชื่อมสังคมสองฟากฝั่งเข้าหากัน ไม่ใช่ผู้นำการเปลี่ยนแปลง แต่เป็นเพียง คนกลางที่นำพาสิ่งที่แต่ละคนมีอยู่ให้ได้มีโอกาสมาแลกเปลี่ยนกัน และ อิสรชน ไม่ใช่เจ้าของ ไม่ใช่เจ้าภาพหลักในแต่ละกิจกรรม หรือแต่ละงาน เป็นเพียงผู้ประสานงานให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้เท่านั้น

ความเป็นมาของอิสรชน : ภาคคำบอกเล่า 

ครเคยอ่านประวัติความเป็นมาของ สมาคมสร้างสรรค์กิจกรรมอิสรชน(องค์การสาธารณประโยชน์) ที่เป็นเรื่องทางการไปแล้ว อาจจะแปลกใจว่า ทำไมต้องมี ควมเป็นมาของอิสรชน ภาคคำบอกเล่าขึ้นมาอีก ก็ไม่ใช่อะไร เพียงแค่อยากจะเล่าเรื่องราวความเป็นมาและเป็นไปของอิสรชน ในอีกแง่มุมที่อาจจะตกหล่นไปบ้างก็เท่านั้นเอง 

อิสรชน แรกเริ่มเดิมที ก็เป็นเพียงความฝันเล็ก ๆ ของคนกลุ่มเล็ก ๆ เล็กจริง ๆ ที่มีโอกาสผ่านกระบวนการเรียนรู้จากการร่วมกิจกรรมค่ายที่คณะวนศาสตร์จัดเป็นประจำเมื่อปี 2528 และเกิดการรวมกลุ่มกันแบบสนุก ๆ เล่น ๆ ตอนนั้น ใช้ชื่อว่า โคมฉาย แต่ก็ ไม่ได้อยู่ยืนยงอะไร เพราะ คนอื่น ๆ ก็ ไปเตรียมตัวสอบเข้ามหาวิทยาลัยกันหมด  เหลือเพียงผมคนเดียวที่ยังบ้าและสนุกกับการทำงานค่ายอย่างเมามัน พอเข้าสู่ระดับอุดมศึกษาก็เริ่มแสวงหาช่องทางที่จะนำพาตัวเองให้ไปสู่ฝันที่วาดไว้ ด้วยการเหนียวแน่นกับกลุ่มเพื่อน ๆ ที่ สอบเข้ามหาวิทยาลัยของรัฐได้ โดยเฉพาะกลุ่มที่พบเจอกันระหว่างเรียนระดับมัธยมปลาย โดยใช้ชมรมอนุรักษ์ฯของม.เกษตร เป็นจุดนัดพบ ได้ ระยะสั้น ๆ อยู่ราว ๆ 1 – 2 ปี ก็ พบหนทางอีกทาง คือ ศูนย์พัฒนาเยาวชน YPDC ที่ มีโอกาสเข้าไปร่วมเรียนรู้วิธีการทำงาน วิธีการจัดกิจกรรมสำหรับเด็ก ผนวกกับ การที่คลุกคลีคุ้นเคย กับกิจกรรมทำนองนี้จากครอบครัวที่มีแม่เป็นอาจารย์ยุวกาชาด เลยทำให้ เห็นอะไรที่สนุก ๆ จนติดตัวติดหัวมา 

ระหว่างที่เรียนที่วิทยาลัยครูพระนคร(ปัจจุบันคือ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร) ในสาขาการพัฒนาชุมชน ก็ ยังทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่องและสนุกกับการทำกิจกรรมทั้งภายในสถาบันและภายนอกเมื่อมีเวลาว่างจากการเรียน จนใช้เวลาเรียนในระดับนี้บวกลบทั้งหมดแล้ว ก็ กินเวลาทั้งสิ้น 7 ปีนับจากจบการศึกษาระดับมัธยมปลายเมื่อปี 2531 และเวลาที่เสียไป ก็ได้หลายสิ่งหลายอย่างกลับมา ทั้งประสบการณ์ที่หาได้ไม่ง่ายในชีวิตปกติธรรมดาทั่วไป 

นมีโอกาสไปเรียนรู้กระบวนการสร้างคนจาก สำนักบัณฑิตอาสาสมัคร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็น บัณฑิตอาสาสมัคร รุ่นที่ 26 และ ออกมาเรียนรู้ผ่านการทำงานจริง กับ ครูหยุย(วัลลภ ตังคณานุรักษ์) พี่หยุย(เข็มพร วิรุณราพันธ์) ทำให้ได้ทักษะต่าง ๆ มากมายมาใช้ในการทำงาน จน ความคิดเกือบจะสุกงอม เริ่มตั้ง กลุ่มอิสรชน พันฒนาเข้าสู่ ศูนย์กิจกรรมอิสรชน และระหว่างนั้น ก็ ได้มีโอกาสร่วมเรียนรู้การทำงาน กิจกรรมสมัยใหม่ กับ พี่ติ่ง(สุภาวดี หาญเมธี) จนในที่สุด ความคิดสุกงอม จึงได้ จดทะเบียนเป็นสมาคมสร้างสรรค์กิจกรรมอิสรชน ขึ้น โดยมีแนวคิดหลักคือ สร้างสังคมอุดมคติ ตามแนวคิดสันติประชาธรรม ของอาจารย์ป๋วย ผ่านกระบวนการทำงานแบบอาสาสมัคร ที่ เปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนของสังคมเข้ามาร่วมมีส่วนร่วมในการทำงาน ผ่านการสร้างสรรค์ คิดค้น กิจกรรมเพื่อส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลายและถูกรสนิยมการเรียนรู้ของแต่ละกลุ่มเป้าหมายในสังคม  

อิสรชน มักจะบอกใคร ๆ เสมอ ๆ ว่า เราเป็นเพียงสะพาน ที่เชื่อมสังคมสองฟากฝั่งเข้าหากัน ไม่ใช่ผู้นำการเปลี่ยนแปลง แต่เป็นเพียง คนกลางที่นำพาสิ่งที่แต่ละคนมีอยู่ให้ได้มีโอกาสมาแลกเปลี่ยนกัน และ อิสรชน ไม่ใช่เจ้าของ ไม่ใช่เจ้าภาพหลักในแต่ละกิจกรรม หรือแต่ละงาน เป็นเพียงผู้ประสานงานให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้เท่านั้น

หมายเลขบันทึก: 124751เขียนเมื่อ 3 กันยายน 2007 22:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • สวัสดีครับ
  • ผมก็เป็นคนรักกิจกรรมคนหนึ่ง
  • ซึ่งในชีวิตที่ผ่านมาก็ได้กิจกรรมนี่แหละครับที่ทำให้ค้นพบตัวตน
  • มาสมัครเป็นสมาชิกของสมาคมอีกคนนะครับ
  • ขอบคุณครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท