ค่าย “จุดไฟ” ยุววิจัยปางมะผ้า: จุดไฟหัวใจเด็กเรียนรู้ สู่ ยอดดอย


ค่ายนี้ ใช้ชื่อว่า ค่าย “จุดไฟ” เพราะการ “จุดไฟ” การเรียนรู้ในรูปแบบ “การวิจัยเพื่อท้องถิ่น” ให้เกิดกับเด็กๆจากกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆไม่ว่าจะเป็นไทใหญ่ ลีซู ลัวะ กระเหรี่ยง ที่มาร่วมค่าย 2 วัน 1 คืน ครั้งนี้

เดินมาตั้งไกลแล้วนะคะ ใกล้ถึงหรือยังคะครู ?     ด.ญ.ศุภนุช  หรือพวกเราเรียกกันติดปากว่า น้องนุช  เด็กหญิงวัยแปดขวบ  ที่ทำงานเป็นอาสาสมัครกับสโมสรเล็กๆ ของเรา ถามมาตลอดทาง ผมก็ตอบเธอไปตรงๆว่า อีกสักชั่วโมงมั้ง  ครูเองก็ไม่เคยไปสักที

            ทีแรกผมเองก็ปรามาสน้องนุชเอาไว้  "นุชจะไปไหวเร้อ ทางก็ชัน ขี้เปอะก็เยอะแยะนา ถ้าเดินไม่ไหว ร้องไห้อยู่กลางป่าละก็ ไม่มีใครช่วยเด้อ "  ผมแซวเธอไว้ กะจะวัดใจหนูน้อยคนนี้ดู

ที่ว่าอย่างนั้นเพราะดูเธอจะเป็น "คุณหนู" แต่เอาเข้าจริง  เด็กเล็กๆคนนี้ฮึดจริงๆ ขนาดผู้ใหญ่หลายคนยังอาย

  

ที่ไหนได้ เธอเดินผสานเสียงแจ้วๆ ชวนผมดูดอกไม้ ดูนั่นดูนี่ ร้อยแปดคำถามสารพัดมาตลอดทาง เอ้อ เก่งจริงๆเลยนะ ตัวแค่เนี้ยะ

 

ถึงเด็กจะตัวเล็ก แต่จิตใจใหญ่กว่าที่เราคิดเสียอีกนะเนี่ย

           แม้หลายคนจะบ่นกะปอดกะแปดกับเส้นทางทุรกันดารที่สูงชัน  บางคนทีแรกเดินนำอยู่ดีๆ พอเดินไปสักชั่วโมงก็ไปรั้งท้าย  เพราะไม่เคยชินกับการเดินทางไกลขึ้นดอยมาก่อน แต่ที่ยังเห็นได้ชัดคือ  แม้เหงื่อจะอาบแก้ม  แต่รอยยิ้มก็แต่งแต้มกันอยู่ทุกคน

  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">            18-19 สิงหาคม ที่ผ่านมา สยชช.ของเราได้ไปจัดค่ายพักแรมขึ้นที่หมู่บ้านน้ำบ่อสะเป่  ค่ายนี้เป็นค่ายที่สามแล้วที่เราจัดขึ้นในรอบปี 2550 นี้ และเป็นค่ายที่สองภายใต้โครงการวิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่น สิทธิเด็ก ที่เราได้รับการสนับสนุนงบจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)สำนักงานภาค</p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">            ค่ายนี้ ใช้ชื่อว่า ค่าย จุดไฟ เพราะการ จุดไฟ  การเรียนรู้ในรูปแบบ การวิจัยเพื่อท้องถิ่น  ให้เกิดกับเด็กๆจากกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆไม่ว่าจะเป็นไทใหญ่ ลีซู ลัวะ กระเหรี่ยง ที่มาร่วมค่าย 2 วัน 1 คืน  ครั้งนี้</p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">            เราใช้เวลาเดินทางผ่านป่าเขาลำเนาไพรร่วมสองชั่วโมง กว่าจะถึงหมู่บ้านน้ำบ่อสะเป่ หมู่บ้านแห่งนี้เป็นชุมชนลีซูขนาดค่อนข้างใหญ่มีจำนวนร้อยกว่าหลังคาเรือน</p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">            เข้าหมู่บ้านมาทีแรกก็ประทับใจแล้ว เพราะชาวบ้านถือดอกไม้ที่เก็บเอาเองตามป่ามารอต้อนรับ ทั้งๆที่เราไม่ได้กำหนดให้ทำมาก่อน  อันนี้เซอร์ไพรซ์เด็กๆมาก  สังเกตจากการประเมินค่ายทุกคนก็เทคะแนนให้ความประทับใจนี้</p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">            บ่ายวันแรกเราเปิดค่ายกันง่ายๆโดยมีผู้นำชุมชนมากล่าวพอเป็นพิธี  จากนั้นก็มีการแยกเข้าฐาน 2 ฐาน  ที่สัมพันธ์กัน คือ  ฐานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น  กับฐานการสร้างสรรค์หนังสือทำมือ</p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">            เสร็จจากเข้าฐานกันแล้วก็มาผ่อนคลายกันด้วยเกมต่างๆ แล้วจึงแยกย้ายกันไปเก็บข้อมูลต่างๆในหมู่บ้าน ตามที่ได้รับมอบหมาย</p>    <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">            เราแบ่งเด็กเป็น 4 กลุ่ม คละกันทุกกลุ่มชาติพันธุ์  กลุ่มแรกก็ไปสัมภาษณ์ผู้นำหมู่บ้านเรื่อง ประวัติหมู่บ้าน  กลุ่มสองคุยกับแม่เฒ่าเรื่องการเลี้ยงดูเด็กลีซอตามประเพณี  กลุ่มสามไปสอบถามผู้รู้เรื่องประเพณี 12  เดือน  ส่วนกลุ่มสุดท้ายนี้เดินไกลหน่อย  เพราะต้องไปสำรวจรอบหมู่บ้านทำแผนที่เดินดิน</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>    <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">            โชคดีที่ฝนซาไปตั้งแต่เมื่อวานแล้ว ไม่งั้นเด็กๆคงไปเก็บข้อมูลลำบาก  แต่กว่าจะกลับมาทำอาหารมื้อเย็นกันก็จวนค่ำแล้ว  มื้อเย็นก็เลยกลายเป็นมื้อค่ำ  แต่ก็เอร็ดอร่อยกันทั่วหน้า  เสียงหัวเราะ  รอยยิ้ม  มิตรภาพแห่งความเหน็ดเหนื่อย ทำให้อาหารมื้อนี้อร่อยเป็นพิเศษ</p><p>  </p><p>  </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">            ตกค่ำ  ก็ถึงเวลาที่เด็กๆและชาวบ้านรอคอย  คือ  การเล่นรอบกองไฟ  พิธีเปิดเราก็เรียบง่ายมีผู้นำชาวบ้านมาร่วมเปิด  และเด็กๆ แต่ละเผ่าแต่ละบ้านก็มาร่วมแสดงกิจกรรมกัน  บ้านสบป่อง(ไทใหญ่) ก็จัดนิทาน  บ้านห้วยน้ำโป่ง  (ลัวะ) ก็ออกมาร้องเพลงคู่ (หนุ่มบาวสาวปาน)  บ้านห้วยแห้ง(หัวลางไทใหญ่)ก็มาร้องเพลงให้กำลังใจ   แต่เด็ดที่สุดเห็นจะเป็นเจ้าภาพคือ  บ้านลีซู น้ำบ่อสะเป่  มีทั้งละครสอนใจ เรื่อง การอนุรักษ์ป่า  และมีการเต้นระบำประจำเผ่า  การแสดงแต่ละชุด เรียกเสียงปรบมือทุกครั้ง  </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal" align="center">ฟังเสียงหัวเราะของเด็กๆแล้วชื่นใจ</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p>   </p><p>   </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">            ตกดึก  เรามีเมนูพิเศษ เด็ดข้าวโพดสดๆจากไร่มาหมกไฟ  กินไปร้องเพลงแข่งเสียงจิ้งหรีด อยู่ใต้แสงดาวที่สกาวอยู่เต็มฟ้า</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">            </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">         ครั้นรุ่งเช้าอันสดใส  ทีแรกตั้งใจจะปลุกกัน 7 โมงเช้า แต่ไปๆมาๆ เด็กๆตื่นเช้ากว่าครูเสียอีก 6 โมงเช้าก็ลุกขึ้นมาทำกับข้าวกับปลากันอลหม่านแล้ว  เห็นเด็กๆ ชุลมุนกับการทำอาหารก็สนุกตามไปด้วย  และพยายามคิดตามว่า นี่เด็กๆกำลังเรียนรู้เรื่องอะไรบ้าง  ที่เป็นการเรียนรู้ร่วมกับชุมชนอย่างเป็นธรรมชาติอย่างนี้</p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">            ตกสายๆ  เราก็ร่วมกัน  สรุปบทเรียนและประเมินค่าย  แต่ละกลุ่มช่วยกันเขียนกระดาษชาร์ต  ถ่ายทอดสิ่งที่ตนเองเรียนรู้จากการลงพื้นที่ ออกมานำเสนอให้เพื่อนๆฟัง</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p>  </p><p>  </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">            บทสรุปของการประเมิน เด็กๆเทคะแนนประทับใจให้การเรียนรู้เป็นอันดับที่ 1  รองลงมาเป็นบทบาทของครูฝึกจาก สยชช. (อันนี้เจ้าตัวก็อดปลื้มไม่ได้)  เด็กๆให้คะแนนประทับใจการต้อนรับ ของชาวบ้านเป็นอันดับ 3 และความสนุกสนานเป็นอันดับ 4 การช่วยเหลือกันและกันในค่ายเป็นอันดับ 5 </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>             ในส่วนจุดด้อย ที่เด็กๆเห็นว่าต้องปรับปรุงก็มี1. ชาวค่ายยังไม่รับผิดชอบต่อหน้าที่2. การเดินทางลำบาก3. พี่เลี้ยงยังไม่สามารถเป็นกันเองกับชาวค่าย4. พี่เลี้ยงยังไม่ช่วยเหลือชาวค่าย <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">5. พี่เลี้ยงไม่ค่อยรับผิดชอบงาน</p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"> ซึ่งภาพรวมจุดด้วยเห็นว่าพี่เลี้ยงเยาวชนยังต้องปรับปรุงอยู่หลายอย่าง ทีมพี่เลี้ยงก็มิใช่ใครที่ไหนก็เป็นเด็กๆ อายุ 14-17 ปี ที่เป็นแกนนำ  สยชช. อยู่แต่มีประสบการณ์การทำงานไม่มาก อันนี้ตัวพี่เลี้ยงรุ่นเยาว์ก็สารภาพยอมรับว่าจะพัฒนาตัวเองต่อไปให้ดีขึ้น ผมก็ให้กำลังใจ  </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">          "คนที่ไม่มีปัญหา คือคนที่ไม่ทำอะไรเลย" อันนี้ผู้ใหญ่บ้านให้กำลังใจกับผมตอนเดินลงดอยมาเจอกันโดยบังเอิญ ผมน้อมรับไว้ จำมาใส่ในบันทึกนี้ และคิดว่าน่าจะนำไปสอนเด็กๆต่อได้</p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">            วันรุ่งขึ้น ยังไม่ทันที่ผมจะหายเหนื่อยดี เด็กก็มาถามแล้ว ค่ายหน้าขอเป็น 3 วัน 2 คืน ได้ไหม และอยากให้จัดเร็วๆ  </p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">             เหนื่อยแต่ได้เห็นการเรียนรู้ที่มีค่าบนใบหน้าเปื้อนยิ้มของเด็กๆ ก็มีความสุขดีนะครับ   </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><div style="text-align: center"></div>



ความเห็น (8)

สวัสดีครับ..

ช่วงนี้มไม่ค่อยได้มาทักทายเพราะงานยุ่งจริง ๆ และแทบไม่มีเวลาในบล็อกเกินครึ่งชั่วโมง

...

วันนี้ได้เข้ามาอ่านบันทึกนี้แล้วประทับใจในกิจกรรมทำนองนี้มาก .. และเป็นกิจกรรมที่ผมอยากให้มีขึ้นในละแวกมหาวิทยาลัย  ซึ่งเรื่องนี้ก็เคยได้เปรยให้ทราบแล้ว

การนำเด็ก หรือเยาวชนเข้าสู่กิจกรรมแห่งการเรียนรู้วิถีชุมชนเช่นนี้  ผมเชื่อเหลือเกินว่าจะช่วยให้พวกเขามีผลึกความคิดที่เหนียวแน่นและตกผลึกในเรื่อง "ท้องถิ่น" .. สืบต่อไปในอนาคต

และนี่คือการช่วยบันทึกประวัติศาสตร์ชุมชน,  ช่วยต่อยอดชุมชนให้วิวัฒน์ไปสู่ "ความน่าจะเป็นอันดีงามและเหมาะสม"  ของการดำรงอยู่ของผู้คนและสังคม

เด็ก ๆ .. มีรอยยิ้มเสมอ .. รวมถึงการมีทักษะบริสุทธิ์อันพิเศษในการปรับตัวอยู่ร่วมกันได้ง่ายกว่าผู้ใหญ่  และด้วยเหตุประการนี้จึงน่าจะเป็นปัจจัยที่ทำให้กิจกรรมดำเนินไปด้วยดี

การเรียนรู้ชีวิตท่ามกลางธรรมชาติ  จะช่วยให้ชีวิตเติบโตอย่างมีธรรมชาติได้เช่นกัน

...

ผมชื่นชมกิจกรรมนี้

และขอเป็นกำลังใจให้นะครับ

ลืมไปครับ...

ในทุกท้องที่  มีวัฒนธรรมอันดีงามเสมอ

สำคัญที่ว่า เราเปิดรับความแตกต่างอันงดงามนั้น หรือไม่ !

ไม่มีอะไรจะคุย เพราะมันถูกใจไปหมด และความน่ารักทำให้เห็นความสดใส ซื่อๆตรงๆ ไร้ลีลา

พี่ทำกิจกรรมกับเด็กทีไรก็ปลื้มทุกที มีกำลังใจทุกที เพราเขาบริสุทธิ์ และเห็นความก้าวหน้า เห็นเขาแสดงออกแล้วก็เห็นแต่ความสดใสของโลก

ยิ่งเป็นเด็กชาวเขาที่โลกของเขาอยู่กับสิ่งแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติ  แฟนพี่เองก็เคยทำงานกับชาว ปกากะญออยู่สมัยเป็น บอ.ที่เชียงดาว จนโดนรัฐบาลสมัยนั้นจ้องมองกันใหญ่ ไม่เข้าใจว่าคนหนุ่มสาวจากมหาวิทยาลัยจะมาทำงานลำบากแบบนี้ได้

เราชื่นชม พี่เคยเล่าให้เพื่อนฟังว่า ตอนที่พี่ทำงานที่สะเมิงเอาคนเมืองมาคุยกันที่ในเมือง ทีผู้ใหญ่บ้าน ชาวเขาเผ่าหนึ่งมาขอเข้าด้วย และเขาเอาลูกชายซึ่งเรียนจบ ป. 4 มาด้วย เหตุผลเขาคือ เอาลูกชายมาจดบันทึกสิ่งดีดีที่คุยกัน พี่ทึ่งในความพยายาม และความตั้งใจของเขามาก

กิจกรรมเด็กๆเหล่านี้หากทำอย่างต่อเนื่องได้จะดีมากเลยนะครับ

ขอ copy รูปเก็บไว้นะครับ น้องยอดดอย 

สวัสดีครับ

  อ่านแล้วสบายใจ  ชื่ยใจมากๆครับ

 

  พี่สุดยอดมากครับผม

  วันหลังมีโอกาสคงได้เข้าร่วมเก็บเกี่ยวด้วยนะครับ

สวัสดีค่ะน้องยอดดอย เป็นกิจกรรมที่น่าประทับใจมาก ชอบมากเลยค่ะที่สามารถนำความหลากหลายมาปรากฏในที่เดียวกันให้ได้เปล่งประกายในกิจกรรมเล่นรอบกองไฟ กิจกรรมอื่นๆก็สร้างสรรได้อย่างเป็นธรรมชาติ นึกหอมข้าวโพดหักใหม่ย่าง กินท่ามกลางแสงดาว

ทั้งพี่เลี้ยงและเด็กๆก็ได้เรียนรู้ไปด้วยกัน

ขอให้รักษาสุขภาพให้ดี จะได้มีกำลังสร้างสรร สิ่งดีๆต่อไปได้อีกมากค่ะ

สวัสดีครับคุณพี่

กิจกรรมน่าสนใจมากเลยครับ อธิบายแล้วเห็นภาพ แม้จะไม่ได้กลิ่นแต่ก็นึกอยากทานข้าวโพดหมกไฟด้วยจัง

ผมติดใจอยู่สามเรื่องครับ

เรื่องแรก คือผมประทับใจที่พี่นำข้อคิดของผู้ใหญ่บ้านมาฝาก เพราะเป็นการส่งต่อความรู้จากปราชญ์ชาวบ้านจริงๆ เรื่องง่ายๆ และสะท้อนถึงมุมมองชีวิตที่ง่าย ตรงและใช้ได้จริงแบบนี้ บางทีคนเมืองไม่ค่อยจะนึกถึง

เรื่องที่สองคือ ที่พี่สรุปเรื่องการเรียนรู้ของเด็กว่าส่วนใหญ่แล้วประทับใจเกี่ยวกับการเรียนรู้ที่สุด ผมอยากรู้น่ะครับ ว่าเด็กเขาเรียนรู้อะไร เห็นน้องๆ เขียนงานนำเสนอดูน่าสนใจ เลยอยากทราบว่ามีเรื่องอะไรบ้างนะครับ  ต่างกับสังคมที่เขาใช้ชีวิตอยู่อย่างไร ผมเดาว่าน้องๆ เหล่านี้มาจากในเมือง ถูกไหมครับ

เรื่องที่สามนี่ เป็นความสงสัยส่วนตัวนะครับ ผมไม่รู้ว่า ขี้เปอะแปลว่าอะไร เดาว่าขี้โคลน ถูกหรือเปล่าครับ? 

ขอบคุณสำหรับเรื่องราวดีๆ และรูปสวยๆ นะครับ

เพิ่งกลับจากพาเด็กๆไปอบรมการทำข่าวที่บ้านแม่สามแลบ อำเภอสบเมย ชายแดนของแม่ฮ่องสอนมาสดๆร้อนๆ งานนี้สนับสนุนโดยสำนักข่าวประชาธรรมที่ก่อตั้งมาโดย กลุ่มอาจารย์นิธิ อาจารย์ชยันต์ แห่ง มช. และมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน (วันหลังจะเขียนลงนะครับ) มาถึงก็หอมลูกเมียคนละฟอด เล่นกับลูกชายสักพัก ตอนนี้หลับกันหมดแล้ว ผมก็เลยมีเวลามาเช็คดูการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่นี่นะครับ

ขอบคุณ ทุกคนที่มาให้กำลังใจ ไม่ว่าจะเป็นคุณแผ่นดิน คุณหมอสุพัฒน์ พี่บางทราย พี่คุณนายดอกเตอร์ อาจารย์คุณแว้บ

ผมขออนุญาตตอบรวมๆกัน เพื่อจะได้มีบรรยากาศเหมือนผมนั่งคุยกับทุกคนอยู่ที่ม้านั่งหินอ่อนพร้อมๆกันนะครับ

  • เรื่องความต่อเนื่องของค่าย ค่อนข้างแน่นอนครับ เพราะหลังจากที่เราลองผิดลองถูกกันมาในช่วงของการก่อตั้ง สยชช. ก็พบว่า งานค่ายเป็นสิ่งที่เวิร์คสุด เวิร์คในที่นี้ หมายถึง เวิร์คบนฐานการมีส่วนร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างเด็กและชุมชนอย่างมีชีวิตชีวานะครับ เป็นรูปแบบกิจกรรมหลักของ สยชช. ในปีหน้าแน่นอน อย่างน้อยก็ไม่ต่ำกว่าห้าหกค่ายล่ะครับ
  • เด็กๆที่มาร่วมค่าย เกือบทั้งหมดเป็นเด็กในเขตอำเภอปางมะผ้านะครับ พูดง่ายๆคือเป็นเด็กดอย ฐานะยากจน ถ้าจะถามว่าเขามาเรียนรู้อะไรกัน ก็คงมีหลายเรื่อง แต่ความรู้ที่ชัดมากที่เด็กนำมารายงาน คือความรู้เรื่องวัฒนธรรมประเพณีที่มีอยู่ในชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รวมถึงภูมิปัญญาท้องถิ่นในการเลี้ยงดูเด็ก
  • ถามว่า เอ๊ะ ก็เด็กอยู่ในอำเภอเดียวกัน ไม่รู้เรื่องระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์กันบ้างเหรอ อันนี้ ฟันธงลงได้เลยครับว่า เด็กมีความรู้น้อยมากเรื่องกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆที่เป็นเพื่อนบ้านของตัวเอง มิหนำซ้ำ ไม่เพียงแต่จะมีการดูถูกในกลุ่มชาติพันธุ์ตัวเองแล้ว ยังมีอคติต่อกลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆไปต่างๆนานา
  • เหล่านี้ เป็นผลจากการพัฒนาประเทศของเรา โดยเฉพาะอย่าง การศึกษาที่เน้น "ความเป็นไทย" และกด "ความเป็นชาติพันธุ์" ลงเป็นแค่องค์ประกอบย่อย เป็น "คนอื่น" ทั้งยังสร้างภาพลบมากมายให้เด็กๆพลอยรังเกียจอัตลักษณ์ของตนและของชนกลุ่มน้อยอื่นๆ เป็นผลมาจากผู้ใหญ่อย่างเราๆท่านๆนี่แหละครับ ทั้งที่เจตนา และไม่เจตนา บางทีเราเองก็ทำไปโดยไม่รู้ตัวนะครับ
  • ผมเรียนรู้จากเด็กๆมากมายครับ พอๆกับที่ผมเรียนรู้จากอาจารย์มหาวิทยาลัย การทำงานกับเด็กๆ เตือนให้ผมต้องปรับตัวหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น การรู้จักมีความสุขแบบง่ายๆ  เป็นมิตรกับคนอื่นง่ายๆ มองโลกในแง่ดี มีชีวิตอยู่กับปัจจุบัน  รู้จักปล่อยวาง  และรู้จักความสำคัญของการ "เล่น" และพลิกแพลงสร้างสรรค์
  • ชีวิตการงาน และชีวิตครอบครัว ผมโลดแล่นได้อย่างมีความสุข ส่วนหนึ่งมาจากการเรียนรู้ที่จะ โลดแล่น อย่าง "โลดเล่น" นี่แหละครับ
  • เด็กๆมีพลังสร้างสรรค์มหาศาล ไม่เพียงระบบสังคมปัจจุบันของเราไม่มีพื้นที่ให้พวกเขา แต่ผู้ใหญ่ยังโกงสิทธิ หรือสิ่งที่เขาควรจะได้ เช่น สภาพแวดล้อมที่ดี สังคมที่มีคุณธรรม ด้วยการบริโภคแบบไม่บันยะบันยังของผู้ใหญ่ หลายๆที่ผู้ใหญ่ยังโกงงบพัฒนาเด็กไปซะอีก ผมเห็นแล้วกลุ้มใจ น้อยใจแทนเด็กๆครับ 
  • สยชช. เน้นการสร้างการเรียนรู้ในแนวระนาบ คือ ในกลุ่มเด็กต่างชาติพันธุ์ด้วยกัน และชุมชนท้องถิ่นนะครับ เราพยายามหนุนเสริม (Empower) ให้พวกเขามีพลังต่อสู้กับกระแสการพัฒนาของโลกที่จับพวกเขาไปไว้ในสับเซตของ "เด็กด้อยพัฒนา" ซึ่งภายในสับเซต (ผมใช้คำว่า "กะลา")ยังจับแยกพวกเขาออกเป็นส่วนๆ แข่งขันกันในกะลาให้มีลำดับต่ำสูง ที่ต้องถูกควบคุมดูแล ปกครอง รับคำสั่ง และทำโทษ ภายใต้สายตาของรัฐที่คอยแต่จับจ้องอย่างไร้ความอ่อนโยน
  • ผมถือว่า ผมเป็นเพียงผู้นำสาส์นจากเด็กๆมาสู่ผู้มีเมตตาธรรม แต่ สักวัน เด็กๆจะเป็นผู้เปิดพื้นที่เล่านี้ด้วยตัวเขาเอง และเมื่อนั้น งานผมจึงจะถือว่าเริ่มมีความสำเร็จ ถึงเวลานั้น ผมจึงจะสามารถยืดอกรับคำชมของทุกท่านได้
  • วิธีคิดและไลฟ์สไตล์ผมจะหนักไปทางพวก นีโอ-มาร์กซิสต์นะครับ ผสมกับเฟมินิสต์หน่อยๆ แต่ผมไม่ได้เป็นโพสต์โมเดิร์นจ๋านะครับ ยังชอบชีวิตติดดินอยู่ เป็นพวกยังมีกิเลสหนาอยู่เหมือนกันนะครับ  วันดีคืนร้าย ก็จะมีผู้ใช้นามแฝง โยน "ขี้เปอะ" เข้ามาในบล็อกของผมให้มีเลอะเทอะกัน  ผมจึงอาจจะไม่ได้มีอะไรดีกว่าใครๆเลยก็ได้
  • ขี้เปอะ แปลว่าขี้โคลน คุณแว้บเดาถูกเผงครับ

 

สายเลือดละว้าแท้

ผมเป็นเด็กดอยคนหนึ่ง เฉกเช่นเด็กภูที่คุณๆท่านๆได้ใส่ใจเเวะเยี่ยมเยียนมาโดยตลอด โอกาสนี้ขอขอบคุณท่านทั้งหลายครับแทนพี่้น้องชาวภูครับ ที่ท่านได้แบ่งปันความสุข และรอยยิ้มให้กับพี่น้องของผม และชื่นชมท่านมากๆครับ

ขอความสุขความเจริญทั้งกายใจจงอยู่กับท่านทั้งหลายนานนัปกาล

สายเลือดละว้าแท้ บนพื้นที่สูง

[email protected]

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท