การเกษตรได้กำไรสูง แต่ทำไมเกษตรกรจึงยากจน (๑)


หว่านข้าวไปหนึ่งเมล็ด อย่างน้อยที่สุด หลังจาก ๓ เดือนจะได้ไม่ผลผลิตต่ำกว่า ๑๐๐ เมล็ด นี่ถือว่ารวงเล็กมาก และได้เพียงหนึ่งรวงเท่านั้น แต่ถ้าดูแลแบบธรรมดา จะได้ ๑๐-๒๐ รวงๆละ ๒๐๐ เมล็ด ก็จะได้ถึง ๔๐๐๐ เมล็ด

 

วันนี้ผมได้ตั้งประเด็นให้นักศึกษาช่วยกันคิด ในระบบการเรียนแบบ สืบสวน

 

ประเด็นที่ผมเปิดเป็นแนวไว้คือ การเกษตรในภาวะปกติกำไรสูงมาก

 

 

เช่น 

 

 

หว่านข้าวไปหนึ่งเมล็ด อย่างน้อยที่สุด หลังจาก ๓ เดือนจะได้ไม่ผลผลิตต่ำกว่า ๑๐๐ เมล็ด นี่ถือว่ารวงเล็กมาก และได้เพียงหนึ่งรวงเท่านั้น แต่ถ้าดูแลแบบธรรมดา จะได้ ๑๐-๒๐ รวงๆละ ๒๐๐ เมล็ด ก็จะได้ถึง ๔๐๐๐ เมล็ด

 

 

 และถ้าสภาพดินดีหน่อย จาก ๑ เมล็ด  อาจจะได้ถึง ๕๐ รวงๆละ ๒๕๐ เมล็ด รวม ๑๒,๕๐๐ เมล็ด

 

แสดงว่า กำไรเป็นหมื่นเท่าของเมล็ดที่หว่านไป

 

วันก่อนผมไปขอไม้เพื่อทำคอกวัวจากบ้านครูบาสุทธินันท์

 

ท่านให้ไม้ยูคาอายุ ๑๓ ปีมาต้นหนึ่ง และเลื่อยเป็นไม้เครื่องให้พร้อม

 

ท่านลองคิดมูลค่าไม้ว่า ถ้านำไปขาย จะได้เป็นเงินกว่า ๑๓,๕๐๐ บาท

 

 

นี่ก็แสดงว่า กล้าไม้ยูคา ๕ บาท ปลูกแบบไม่ต้องดูแลอะไร ในสภาพข้างบ้านครูบา ถึงปีที่ ๑๓ ผลตอบแทนที่ได้เฉลี่ย ๑,๐๐๐ บาทต่อต้นต่อปี เลยครับ

 

 

และยังมีต้นสักที่ครูบาปลูกเอง (ดังรูป )อายุ ๔๘ ปี ขนาดสองคนโอบ ตอนนี้มูลค่าไม่ต่ำกว่า ๑๐๐,๐๐๐ บาทต่อต้น

040615+039+%28small%29

เฉลี่ยมูลค่าที่เพิ่มขี้นต่อปี จากกล้าสักต้นละไม่เกิน ๑ บาท ได้เป็น ไม่ต่ำกว่า ๒๐๐๐บาท ต่อต้น ต่อปี เลยทีเดียว

 

 

พูดเรื่องปลูกตะไคร้ หรือกล้วยน้ำหว้า หรือพืชอื่นๆ ก็มีปลูกแล้วได้กำไรมากทั้งนั้น

   

ทีนี้ ทำไมเกษตรกรของไทยส่วนใหญ่ที่ทำการเกษตรกลับยากจน

 

นักศึกษาชั้นปีที่ ๓ คณะเกษตรศาสตร์ ส่วนใหญ่ตอบว่า

  

  1. ขาดการเทคโนโลยีทันสมัย
  2. ขาดเงินทุน

 

แต่บางส่วนตอบว่า

  1.  
    • ถูกคนกลางเอาเปรียบ

และบางคนตอบว่า

  1.  
    • ขาดความความรู้เรื่องการตลาด
    • ขาดความรู้เรื่องการแปรรูป ทำให้ราคาตกต่ำ
    • ใช้เทคโนโลยีราคาสูง
    • ขาดการศึกษา

 

เขาคิดกันได้แค่นี้แหละครับ

 

และการเสนอทางแก้ไข ก็คือ

ให้การศึกษากับเกษตรกรผมก็เลยเปิดประเด็นว่า ใครเป็นผู้ให้ ให้ระดับไหน ให้เรื่องอะไร ให้อย่างไร 

ยังไม่มีใครตอบได้แบบโดนใจครับ 

ใครทราบช่วยต่อให้ด้วยครับ

 ผมจะนำไปอธิบายชั่วโมงหน้า วันจันทร์ ที่ ๓ กันยายน ๒๕๕๐ ครับ

 

หมายเลขบันทึก: 123708เขียนเมื่อ 31 สิงหาคม 2007 12:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 12:19 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (18)

น่าจะเพิ่ม "ขาดการวิเคราะห์ต้นทุนที่ใช้จริง" นะครับ

ความรู้นั้น คงไม่ขาดเท่าไหร่ และพอหาไม่ยาก

ขาดความเคยชินในการใช้ให้เป็นนิสัยครับ

 

 

สวัสดีค่ะอาจารย์

  • แหม..ตอบได้เท่านศ.ปี 3 เหมือนกันค่ะ
  • คือเกษตรกรรู้เพียงการปลูก ปลูกอย่างไรได้ผลมาก แต่เรื่องการตลาดทั้งรู้ว่าถ้าเอาไปขายเองหรือหาตลาดเองได้คงราคาดีกว่านี้ แต่ก็ไม่รู้ทำไงดี ให้พ่อค้าคนกลางบริหารจัดการนั้นง่ายกว่า ไม่ต้องศึกษาเรื่องอื่นมากขึ้น เพราะยิ่งทำอะไรมากขึ้นก็ยิ่ง งง และไม่มั่นใจว่าจะได้มากกว่าหรือน้อยกว่าที่ได้ปัจจุบัน
  • ตกลงตอบเองยังงงเองเลยค่ะ อิอิ
  • เรียนท่านอาจารย์ครับ
  • ถ้าผมจะคิดอย่างนี้ล่ะครับ การที่..ถ้าผมเป็นเกษตรกร เงินที่ได้มามันไม่คุ้มกับค่าลงทุน สิ่งที่ผมได้นอกจากนั้นคือ ผมได้อากาศดีๆ ผมได้พืชผลที่ผมมั่นใจในคุณภาพ ผมมีร่างกายที่แข็งแรง ผมได้คิดว่าผมให้ผลผลิตเหล่านี้แก่คนอื่นๆที่เขาไม่ได้ทำเกษตร ผมว่ามันน่าจะคุ้มอยุ่นะครับ
  • ความคิดของผมที่แสดงออกไปนั้น มีความรู้สึกกล้าๆ กลัวๆ เกรงๆ ในท่านอาจารย์อยู่ด้วยนะครับ :-)
  • จากคำถามว่า "ใครเป็นผู้ให้ ให้ระดับไหน ให้เรื่องอะไร ให้อย่างไร" หากผมเป็นเด็กในห้องเรียนนั้น ผมอาจจะตอบว่า เกษตรต้องให้ตัวเกษตรกรเอง ให้ในระดับที่เกษตรกรจะรับได้ ให้เรื่องที่เกษตรกรสนใจและมองเห็นคุณค่าในการดำรงชีวิตในสิ่งที่สนใจนั้น โดยวิธีการคือ จินตนาการและลองทำดูหน่อยดีไหม
  • ทั้งหมดที่แสดงความคิดออกไป ยังเป็นเพียงความคิดที่พยายามให้เกิดเป็นรูปธรรมขึ้นมาครับ
  • ขอบคุณครับ

สวัสดีครับท่านอาจารย์

  • จนที่ว่านี้ วัดกันที่ตรงไหนครับ
  • จนเงินทอง
  • จนความรู้
  • จนใจ
  • จนความคิด
  • จน....
  • หากจนเงินทอง...ผมว่าไม่เป็นไรครับ...แต่อย่าได้จนใจและคนความคิด..หรือจนความรู้ครับ
  • คนเรามีทั้ง นามธรรมและวัตถุธรรม ประกอบกัน หากจะวัดกันที่วัตถุ แล้วสรุปว่าคนนี้จน รวย ผมว่าไม่น่าจะถูกต้องทั้งหมด
  • ผมกำลังคิดว่าแนวทางการทำงานนั้น หากเราวางกำไรไว้เป็นเป้าหมายสูงสุดนั้น เป็นแนวทางที่มีความเสี่ยงสูงที่สุดด้วยหรือเปล่าครับ
  • ขอบคุณมากครับ แล้วค่อยมาแลกเปลี่ยนใหม่ครับ 

สวัสดีครับอาจารย์

ขออนุญาตินำบทความไปรวมครับ ขอบคุณมากครับ

http://gotoknow.org/blog/mrschuai/117622#

สวัสดีอีกครั้งครับอาจารย์

มาขอแสดงความคิดเห็นครับ 

ตัวเลขที่อาจารย์ว่ามาไม่ผิดครับ  แต่ความจนความรวยก็ยังเป็นอีกเรื่องครับ  

อาจารย์ครับ  องค์ประกอบการครองชีพ องค์ประกอบการใช้ชีวิต  เป็นส่วนที่แยกออกจากตัวเลขที่อาจารย์ให้ไว้  การบริหารจัดการเป็นอีกส่วนหนึ่ง  การครองชีพอีกส่วนหนึ่ง  ผลกระทบจากสิ่งแวดล้อมส่วนหนึ่งทั้งทางสังคมและทางธรรมชาติ  ผลทางเศรษฐกิจสังคมอีกส่วนหนึ่งครับ

อาจารย์ครับ  เป็นวิธีคิดอีกแบบหนึ่งที่จะต้องดูแลกันครับ                  

ขอบคุณมากครับ   ที่ให้ผมร่วมความคิดเห็นด้วยครับ

สวัสดีอีกครั้งครับอาจารย์

มาขอแสดงความคิดเห็นครับ 

ตัวเลขที่อาจารย์ว่ามาไม่ผิดครับ  แต่ความจนความรวยก็ยังเป็นอีกเรื่องครับ  

อาจารย์ครับ  องค์ประกอบการครองชีพ องค์ประกอบการใช้ชีวิต  เป็นส่วนที่แยกออกจากตัวเลขที่อาจารย์ให้ไว้  การบริหารจัดการเป็นอีกส่วนหนึ่ง  การครองชีพอีกส่วนหนึ่ง  ผลกระทบจากสิ่งแวดล้อมส่วนหนึ่งทั้งทางสังคมและทางธรรมชาติ  ผลทางเศรษฐกิจสังคมอีกส่วนหนึ่งครับ

อาจารย์ครับ  เป็นวิธีคิดอีกแบบหนึ่งที่จะต้องดูแลกันครับ                  

ขอบคุณมากครับ   ที่ให้ผมร่วมความคิดเห็นด้วยครับ

 ทำไมเกษตรกรไทยส่วนใหญ่จึงยากจน  

  ๑. นโยบายของรัฐบาล

  ๒. ระบบเศรษฐกิจ

  ๓. การสหกรณ์ยังพัฒนาการไม่เต็มที่

  ๔. การสื่อสาร ประชาสัมพันธ์

  ๕. การศึกษา ค่านิยมของสังคม

 

                  ขอบคุณครับ

ทำไมเกษตรกรไทยที่ทำการเกษตรจึงยังยากจน 

๑. นโยบายของรัฐไม่เอื้อ

๒. ระบบเศรษฐกิจไม่เอื้อ

๓. การสหกรณ์ไม่ถูกส่งเสริม

๔. การสื่อสาร ประชาสัมพันธ์อ่อน

๕. การศึกษาไม่เน้นที่พื้นฐานชีวิตจริงของประชาชน ซึ่งประเทศไทยเป็นเมืองเกษตรกรรม

 

                   ขอบคุณครับ

การคิดแบบอาจารย์ว่าเป็นการคิดกำไรขาดทุน โดยไม่ได้คำนวณต้นทุนทั้งหมดครับ   คือลงทุนไป  ระยะเวลาหนึ่งเกิดผลผลิต  เกิดมูลค่า  แต่ที่ขาดหายไปก็คือ การลงแรงของเกษตรกร  ต้นทุนปุ๋ย ต้นทุนที่ดิน ฯลฯ  ซึ่งเมื่อบวกลบคูณหารแล้ว ที่บอกว่ากล้ายูคาต้นละ ๕ บาท แม้จะขายได้เป็นร้อยเป็นพันเมื่อเวลาผ่านไป  แต่ก็มูลค่าที่เพิ่มในช่วงเวลาดังกล่าว ไม่พอกับค่าใช้จ่ายของครอบครัวไงครับ  เข้าทำนอง ชีวิตข้าราชการ เงินเดือน ๓๐,๐๐๐ เศษ  ถ้าไม่ต้องกิน สร้างบ้าน(หรือเช่า) ไม่ต้องส่งลูกเรียน  เอาเงินเดือนก้อนนั้นเก็บอย่างเดียว  แค่ ๑๐ เดือนก็มีเงินเป็นแสนแล้วครับ  เกษตรกรก็เช่นเดียวกันครับ  ถ้าขายไม้ยูคาได้ โดยไม่ต้องมีค่าใช้จ่ายอื่น  คงรวยกันทุกคนละครับ  ขออนุญาตรับบล็อคเข้า planet นะครับ

เรียน พันธมิตร

ตัวเลขที่กำหนดมาเป็นประเด็นคุยกันนี้ อยู่ภายใต้หลายสมมติฐาน

เช่น 

  • ที่ต้องเช่า หรือไม่ต้องเช่า
  • จะคิดค่าแรงตัวเองหรือไม่ โดยเฉพาะช่วงที่นั่งรอ นอนรอ (ที่นานเป็นเดือน- ถ้าคิดจะยุติธรรมกับระบบการผลิตหรือไม่ เพราะที่ขาดทุนนั้นไม่ใช่อยู่ที่ระบบการผลิต แต่อยู่ที่ระบบไม่มีผลผลิต ที่เป็นค่าโง่อีกแบบหนึ่ง)
  • หรือคิดเฉพาะตอนทำงาน ที่ไม่มากอยู่แล้ว

เรื่องต้นทุนจะคิดอย่างไร

  • ทำในที่ที่อุดมสมบูรณ์ ไม่ต้องลงทุน จะคิดต้นทุนธรรมชาติไหม
  • หรือที่ทำในที่เสื่อมโทรม ต้องบำรุงดินด้วยปู๋ยเคมี อินทรีย์ ย่อมต้องมีต้นทุนสูงแน่นอน

และ

  • เราควรจะคิดความเสียหายที่เจ้าของที่ดินทำให้ที่เสื่อมโทรม โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์หรือไม่ (ทั้งที่ควรจะรักษาไว้ (ที่เรียกกันว่า "ค่าโง่")
  • ถ้าเราไม่ต้องจ่ายค่าโง่ เกษตรกรจะขาดทุนไหม

ผมจึงอยากให้ลองคิดว่า

สาเหตุที่ทำให้ขาดทุนคืออะไร

  • ค่าเช่าที่ดิน
  • ค่าแรงตัวเอง หรือ
  • ค่าโง่กันแน่

ทำไมระบบธุรกิจกำไรแค่ ๕-๑๐% ก็อยู่ได้ เขาก็ต้องกิน ต้องอยู่เหมือนกัน

ความแตกต่างน่าจะเป็น

  • เขาทำมาก
  • ต่อเนื่อง
  • ไม่นั่งรอ แล้วก็มาคิดเวลาตัวเองเป็นต้นทุน
  • และจ่ายค่าโง่ "น้อยกว่า"

เกษตรกรทำอย่างนั้นได้ไหม

  • ทำมาก โดยการทำในพื้นที่เดิม หรือละเอียดกว่าเดิม แบบเกษตรประณีด
  • ทำต่อเนื่อง ทำแล้วทำอีกไม่หยุด
  • ในที่เล้กๆ ถ้าตั้งใจทำไม่มีวันเสร็จ
  •  ตั้งใจหาทางแก้ไขปัญหาที่มี แทนการมานั่งจ่ายค่าโง่ น่าจะรอด ดีกว่าเดิมนะครับ

นี่คือแนวทางที่มาของการเปิดประเด็นนี้ครับ

และอยากฟังว่าท่านมีความเห็นว่าอย่างไร

ผมขอลอกคำพูดของพ่อผายมา ไว้ว่า

"ดูตัวเองให้ออก บอกตัวเองให้ได้ ใช้ตัวเองให้เป็น"

ไม่มีวันจน

ขอบคุณครับ

 

สวัสดีครับท่านอาจารย์

  • สร้างหรือเอื้ออำนวยธรรมชาติให้เลี้ยงธรรมชาติ แล้วก็ลืมไปเลยเรื่องการขาดทุน
  • เหมือนการเข้าป่าในสมัยก่อน มีใครบ้างครับ ที่ขาดทุน
  • ออกไปในนาในกลางวันกลางคืน ได้ปลามามากมาย มีใครขาดทุนบ้างครับ
  • สรุป...สร้างธรรมชาติให้เลี้ยงธรรมชาติ เทวดาจะคุ้มครองเอง แต่อย่าได้คิดที่จะเอาชนะธรรมชาติด้วยครับ ขอให้อยู่ร่วมอย่างเข้าใจนะครับ แล้วจะไม่ขาดทุน
  • หลังๆ ไป ตัดคำว่าขาดทุนกับกำไรออกไปจากพจนานุกรมเลยก็ได้ครับ แล้วบัญญัติคำใหม่ลงไปแทน คือ ขาดใจ กับ กำใจ อิๆๆๆ มั่วๆ เอานะครับ คิดลึกๆ ไปเรื่อยๆ เจอปรัชญาเองครับ
  • ปรัชญาธรรมชาติเลี้ยงธรรมชาติ
  • ขอบคุณมากๆ ครับ

สวัสดีครับท่านอาจารย์ ดร.แสวง

ก่อนที่จะลงมาอ่านความคิดเห็น ผมสงสัยว่าอาจารย์คิดราคาของการเกษตรอย่างไร อ่านความเห็นเพิ่มเติมของอาจารย์และผู้ร่วมสนทนาแล้ว ผมก็ยังสงสัยว่า ราคาที่ว่านี้คือราคาสุดท้ายที่ผู้ซื้อจ่ายใช่ไหมครับ? ไม่ใช่ราคาระหว่างทาง แต่จะพูดไป ประเด็นนี้ก็ไม่ใช่สิ่งที่ผมสามารถตอบได้ เฮ้อ !

ผมชอบความเห็นของคุณ นม. และของคุณเม้ง สมพร เกี่ยวกับความสุข ความจน  เพราะเป็นความรู้สึกที่ตีค่าไม่ได้

อย่างไรก็ดีครับ ผมไม่ได้มาพูดเชียร์คนอื่นแค่นั้น ผมขอเสนอเพิ่มเติมดังนี้นะครับ อะแฮ่ม...

ในฐานะคนชั้นกลาง บริโภคสื่อเป็นปกติ ผมมองว่าเรื่องนี้ซับซ้อนมากครับ มันเป็นระบบความคิดของคนชั้นกลางที่ไม่สามารถตอบได้ ว่าทำไมคนจนถึงจน ภาครัฐที่มีหน้าที่ต่อเกษตรกรและประชาชน สร้างภาพ นำเสนอผ่านโทรทัศน์ว่าเกษตรกรนั้นจนเพราะดื่มเหล้า และใช้บริหารเงินไม่เป็น ความคิดเหล่านี้เป็นการมองอย่างอวดดีไม่เข้าใจ และเป็นการตอบแบบง่ายๆ ผมก็เลยคิดแบบง่ายๆ

เมื่อประมาณปีกว่าๆ มีนิตยสารรายสะดวก (ผมจำชื่อไม่ได้แล้วครับ) เสนอว่าจริงๆ แล้วคนจนเพราะถูกเอาเปรียบ ถูกชักจูกเข้าสู่ระบบทุนนิยม สอนให้ฟุ่มเฟือย และถูกครอบงำจากรัฐบาล จนไม่รู้ตัวเอง...

ที่อาจารย์นำเสนอว่าต้องดูตัวเองให้ออกนั้น ผมเห็นด้วยแต่ก็กลัวอยู่ว่าเป็นเรื่องยากมากครับ ในเมื่อเขาอยู่ท่ามกลางกระแสทุนและสื่อที่สนับสนุนให้มีการใช้ ๆ ๆ กันอย่างไม่ยั้ง อวดร่ำอวดรวย  (คนชั้นกลางเองก็เอาตัวไม่รอด) แล้วแรงงาน เกษตรกรซึ่งเข้าถึงข้อมูลได้ยากกว่า จะรู้ตัวเองอย่างไรครับ?

เอ... ผมไม่ได้ตอบ แถมยังถามกลับ ขออภัยนะครับอาจารย์

ด้วยความเคารพอย่างสูงครับ 

เรียน อาจารย์วสะ,

ผมจะลองเปิดประเด็น และค่อยๆสรุปไปเรื่อยๆครับ รวมทั้งนำเสนอข้อฒูลและแนวคิดที่ผมมีอยู่บ้างเป็นระยะๆ

ความยากจนของเกษตรกรเป็นปัญหาระดับชาติ ไม่ใช่เรื่องชั้นเดียวครับ แต่เราชอบทำให้เป็นชั้นเดียว แบบ

จน-เครียด-กินเหล้า

แต่มันมากกว่านั้นครับ

คนที่ไม่กินเหล้าแต่จนก็ยังมีมาก

ปัญหาอยู่ที่ไหน จะแก้อย่างไร

เป็นเรื่องที่เราต้องมาเปิดใจคุยกัน แบบ ๓๖๐ องศา

ไม่ใช่มุมใครมุมมัน

เกษตรกรชอบพูดถึงผลผลิตตกต่ำ ไม่ประกันราคา ซึ่งอาจจริง แต่ไม่ทั้งหมด

นักวิชาการชอบพูดทุนและผลตอบแทน ที่ไม่ค่อยสื่ความหมายในทางปฏิบัติ

นักพัฒนาชอบพูดเรื่องความเข้มแข็ง แต่ไม่เป้นภาพรวมของการพัฒนา

 

ผมเปิดประเด็นให้ได้เริ่มคิดในบางเรื่อง

ผมพยายามปิดประตูเรื่องผลตอบแทนที่คนชอบพูดกันไว้ก่อน ให้คิดในมุมที่เราไม่ค่อยคิดกัน คือ

เกษตรกรมีข้อจำกัดอะไร

 

มองจากข้างในเลย

  • การศึกษา ความรู้
  • ทุน
  • แรงงาน
  • ตลาด

หรืออะไรกันแน่

 

มองให้ชัดๆ ทีละเรื่อง

เอาของจริงทั้งแง่ดี และแง่ร้ายมาติแผ่กันจะจะ

ลองดูวิว่า อะไรซ่อนอยู่ข้างใน จะแกะออกมาจากตรงไหนก่อน หลัง อย่างไร

 

ใน blog นี้ผมหวังจะสะกิดต่อมสงสัย ของนักวิชาการ และนักพัฒนา

ในเวทีอื่นๆ ผมก็ทำเช่นเดียวกัน

ผมต้องการปลุกความคิดของคน

 

อาจารย์ไม่ต้องอึดอัดที่ยังไม่มีคำตอบวันนี้

ผมจงใจให้เป็นเช่นนั้น

แต่ผมจะค่อยๆประมวลไปทุกวัน

เชื่อว่าจะค่อยๆชัดขึ้น แบบยิยายฆาตกรรมซ่อนเงื่อนของคุณยาย Agatha  Christie

แต่ถ้าอาจารย์ "แวบ" อะไรออกมาก็ช่วยเติมด้วยนะครับ

จะได้แว๊บ สมชื่อหน่อยนะครับ

ขอบคุณครับ

 

ชาวนาเดิม อยู่แบบ หาิกินเลี้ยงชีพ ทำอยู่ ทำกิน เมื่อ 150 ปี ก่อน

ในชนบท เงินไม่มีความสำคัญมากนัก หากเทียบกับข้าวปลาอาหาร

พอถึง ยุคเปลี่ยนผ่านสู่ระบบทุนนิยม ชาวนาชนบท ก็ ขาดโอกาสมากมาย

ไม่ว่า การศึกษา ที่รัฐจัดให้ สาธารณูปโภค ที่ ด้อยกว่าคนในเมืองใหญ่ชัดเจน

พอ วิถีชีวิตแบบ ดั่งเดิม ถูกทำลายลง ชาวนา จึง ไม่สามารถ ปรับตัวเข้ากับระบบทุนนิยมได้

เนื่องจาก ขาด.. หลายๆ อย่าง และวัฒนธรรมดั่งเดิม ก็ ไม่เน้น การค้าขาย

กำไร ขาดทุน แต่แบบเดิม คือ การหาอยู่ หากิน มีน้ำใจไมตรี สนุกสนาน

ในทางตรงกันข้าม ระบบทุนนิยม เน้น ที่มีทุนสูง การจัดการสมัยใหม่

เทคโนโลยีทันสมัย และ การตลาด

ซึ่ง สิ่งต่างๆ เหล่านั้น ชาวนาในภาคชนบทไม่มีครับ

เกษตรกร ถ้าขยัน ประหยัด อดทน ทำให้เกษตรกร(ชาวนา)พออยู่ พอกิน มีหนี้สินพอประมาณทำงานเสริมรายได้ ไม่ใช้จ่ายฟ่มเฟ้อ

อย่าเผลอเล่นการพนัน แค่นั้นพออย่พอกิน

เกษตรกร ถ้าขยัน ประหยัด อดทน ทำให้เกษตรกร(ชาวนา)พออยู่ พอกิน มีหนี้สินพอประมาณทำงานเสริมรายได้ ไม่ใช้จ่ายฟ่มเฟ้อ

อย่าเผลอเล่นการพนัน แค่นั้นพออย่พอกิน

ขออนุญาตตอบตามความรู้สึกนะครับ

สาเหตุเกษตรกรยากจน

-ผลกำไรที่แท้จริง น้อยมาก หรือ อาจขาดทุนด้วยซ้ำ เหตุผลคือ การทำเกษตร ส่วนใหญ่ิคิดรายได้เป็นปี ซึ่งถ้าดูตัวเงินก็ถือว่าสูง แต่ถ้าหักค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกิดขึ้น จะเห็นว่า ส่วนใหญ่จะขาดทุน (โดยเทียบเคียงกับธุรกิจ ซึ่งนำค่าใช้จ่ายทุกอย่าง มาหัก หรือรวมเป็นต้นทุนในการการขายสินค้าได้ เช่น ผู้ประกอบการขนส่ง พอน้ำมันขึ้น ก็ขึ้นราคาค่าขนส่งได้ ถามว่าเกษตรกร ทำได้หรือไม่ คำตอบ ทำไม่ได้)

-การขาดสนับสนุนหรือส่งเสริมจากสังคม ได้แก่ ประชาชนทั่วๆไป และรัฐบาล คือ จะบอกว่าถ้าเป็นธุรกิจขึ้นราคาสินค้าโดยอ้างสิ่งต่างๆมาประกอบ มักจะไม่มีใครค้าน หรือค้านก็ไม่มาก ธุรกิจจึงขึ้นราคาสินค้าได้ (ตามใจชอบ) โดยรัฐบาลก็ไม่สามารถทำอะไรได้.... แต่ถามว่า เกษตรกรทำเช่นนี้ได้ไหม? คำตอบ ทำไม่ได้

-ฯลฯ โดยเทียบกับธุรกิจ ซึ่งทำอะไรได้หลายๆอย่าง ในขณะที่เกษตรกร ทำไม่ได้ ไม่ว่าจะด้วยตัวเกษตรกรเอง หรือ สังคม ก็ตาม หากแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้ เกษตรกรน่าจะเป็นอาชีพที่รวยที่สุดเพราะทุกคนต้องกินต้องใช้ ลองคิดดูเล่นๆ หากเกษตรกรผู้ปลูกข้าวสามารถรวมตัวกันและกำหนดราคาเองได้ (อย่างเช่นกลุ่มโอเปค) ลองคิดดูว่าจะโก่งราคาข้าวได้ขนาดไหน....

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท