การสัมมนาเชิงปฏิบัติการเสริมสร้างองค์ความรู้การดำเนินงานภารกิจถ่ายโอนร่วม อปท.


การสัมมนาครั้งนี้ได้สร้างความเข้าใจลักษณะงานของ อปท.และวิธีการทำงานแต่ละฝ่าย

             เมื่อวันที่ 26-28 สค.2550 กรมส่งเสริมการเกษตรได้จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการเสริมสร้างองค์ความรู้การดำเนินงานภารกิจถ่ายโอนร่วม อปท.  ผู้เข้าร่วมสัมมนาประกอบด้วย ท้องถิ่นอำเภอ นายก อบต. นวส.รวม 123 คน เพื่อให้มีการ ลปรร.การดำเนินงานตามภารกิจถ่ายโอนจากประสบการณ์จริง

      กรมส่งเสริมการเกษตรมีภารกิจถ่ายโอนให้ อปท. 2 ด้าน 10 ภารกิจ ได้แก่

(1) ด้านส่งเสริมคุณภาพชีวิต มี 9 ภารกิจ ได้แก่ การสำรวจข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร การจัดทำแผนพัฒนาการเกษตรระดับตำบล การบริการข้อมูลและเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ การรวบรวมส่งเสริมพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น การช่วยเหลือผู้ประสบภัยธรรมชาติ (อยู่ระหว่างการแก้กฏหมาย) การสำรวจช่วยเหลือป้องกันกำจัดศัตรูพืช  การฝึกอบราอาชีพการเกษตร การรวมกลุ่มและพัฒนากลุ่ม และการกระจายพันธ์

 (2) ด้านการวางแผนการส่งเสริมการลงทุน พาณิชยกรรมและการท่องเที่ยว ได้แก่ ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนดลยีการเกษตรประจำตำบล

        ภารกิจดังกล่าวส่วนใหญ่เป็นแบบ "เลือกทำโดยอิสระ" โดย อปท.ทำร่วมกับรัฐ รัฐสนับสนุนวิชาการและ อปท.เป้นผู้ปฏิบัติ

      สำหรับการสัมมนาครั้งนี้มีการอภิปรายคณะเรื่อง

มาตรฐานทั่วไปของภารกิจถ่ายโอนด้านงานส่งเสริมคุณภาพชีวิต

การจัดทำแผนเชิงบูรณาการระหว่างแผนพัฒนาท้องถิ่นกับแผนพัฒนาการเกษตร

บทบาทของ อบต.กับแนวคิดการดำเนินงานภารกิจที่เลือกทำโดยอิสระ

และภารกิจของกรมส่งเสริมการเกษตรที่ถ่ายโอนให้กับ อบต.

 โดยผู้แทนสำนักงานการกระจายอำนาจ กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น สมาคม อบต.แห่งประเทศไทย และกรมส่งเสริมการเกษตร

จากนั้นนำเสนอกรณีตัวอย่างหลังการถ่ายโอนภารกิจของ 2 หน่วยงาน คือ

                ต.ท่าเรือ อ.ปากพลี จ.นครนายก

                ต.มะกอกเหนือ อ.ควนขนุน จ.พัทลุง

ทั้ง 2 กรณีเป็นตัวอย่างของการประสานงานการทำงานร่วมกัน โดยมีเป้าหมายเดียวกันคือ ประชาชน มีการบูรณาการยึดชาวบ้านเป็นศูนย์กลาง ลงไปจัดทำแผนเป็นรายหมู่บ้านก่อนทำเวทีประชาคม ให้ชาวบ้านคิดเอง ไม่คิดแทนชาวบ้าน รูปแบบการทำงานใช้ 2 รูปแบบคือ ทางการและไม่เป็นทางการ แผนของชาวบ้านที่เกิดขึ้นหน่วยงานราชการเข้าไปสนับสนุนงบประมาณนอกเหนือจาก อปท. เช่น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ แผนยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุข

ปัจจัยความสำเร็จ ได้แก่

                1. การสื่อสารระหว่างทีมงานอย่างใกล้ชิด

                2. มีเวที ลปรร.สม่ำเสมอและการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย

                3. แกด้ปัญหาทันที่ที่ได้รับการร้องขอ

                4. ปรับวิธีการทำงานที่ตรงกับคยวามต้องการของชาวบ้าน

                5. แบ่งบทบาทหน้าที่ชัดเจน

มีการ ลปรร. ให้กลุ่มย่อยในประเด็น

               1. แนวทางการดำเนินงานร่วมกันหล้งการถ่ายโอนภารกิจ

               2. มาตรฐานทั่วไปของการดำเนินงานตามภารกิจถ่ายโอน

               3. การจัดทำข้อตกลงร่วมในการดำเนินงานหลังการถ่ายโอนภารกิจระหว่างสำนักงานเกาตรอำเภอกับ อปท.

              4. โครงสร้างกรรมการบริหารศูนย์บริการถ่ายทอดเทคโน

โลยีการเกษตรประจำตำบล

              5. การจัดทำแผนเชิงบูรณาการระหว่างแผนพัฒนาท้องถิ่นกับแผนพัฒนาการเกษตรประจำตำบล

             แม้ว่าการสัมมนาครั้งนี้จะใช้เวลาเพียง 2 วันเต็ม สิ่งที่ได้เกินคาดในสายตาผู้เข้าร่วม เพราะการสัมมนาครั้งนี้ได้สร้างความเข้าใจลักษณะงานของ อปท.และวิธีการทำงานแต่ละฝ่าย เหมือนรู้เขารู้เรา แล้วเปิดใจสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน เพื่อสร้างงานหลังการถ่ายโอน ซึ่ง อปท.ก็บอกว่า ทางรัฐต้องทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาและเป็นพี่เลี้ยงต่อไป ส่วนทางเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรก็ยินดีและเต็มใจที่จะช่วยเหลือและสนับสนุนอย่างเต็มที่ นอกจากนี้เรายังมีกรณีตัวอย่างที่ดีในหลายพื้นที่นอกเหนือจาก 2 แห่งที่ได้นำเสนอแล้ว ดิฉันว่าหากเราได้เก้บรวบรวมองค์ความรู้เหล่านี้ก็จะเกิดประโยชน์ต่อการนำไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่อื่น ๆ หรือการศึกษาดูงาน สร้างเครือข่ายความสัมพันธ์ต่อกันในอนาคต  สุดท้ายทุกคนก็ได้รับประโยชน์ร่วมกัน เป้าหมายอยู่ที่เดียวกันคือเพื่อประชาชน สังคมก็จะอยู่ดีมีสุขต่อไป

ธุวนันท์ พานิชโยทัย

29 สิงหาคม 2550

หมายเลขบันทึก: 123110เขียนเมื่อ 29 สิงหาคม 2007 15:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

     สวัสดีครับพี่.

  •   การถ่ายโอนภารกิจ ถ้าจะให้ดีต้องเกษตรจังหวัดรู้เรื่องและเข้าใจด้วย ลำพังเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบคนเดียวลากไม่รอดครับ ต้องมีทีมงาน และงบประมาณเพื่อชี้แจง จนท อำเภอและ อปท.(นายก+ปลัด) เพราะภาระกิจของกรมส่งเสริมโอนไม่ขาด ต้องร่วมกันทำ
  •   ขอบคุณมากครับ
  • สวัสดีครับ พี่ธุวนันท์
  • ปัจจัยแห่งความสำเร็จ มีความสำคัญ ทั้ง 5 ข้อ แต่หลายๆพื้นที่ ยังไม่มี ไม่ได้เริ่ม ข้อ 1 จึงไม่มีข้ออื่นๆตามมา
  • เพราะความสามารถ หรือสมรรถนะ ของแต่ละคนไม่เท่ากัน มั้งครับ

เรียน คุณเกษตรยะลา

เห็นด้วยคะ ต้องทำเป็นทีม

เรียนคุณหนุ่มร้อยเกาะ

ทำยากหน่อยนะคะ ต้องพยายามและอดทนต่อไปคะ

  • สวัสดีครับ ผอ.ธุวนันท์
  • แวะมาทักทายและอ่านบันทึกครับ
  • ของดีมีอยู่มากมายแล้วนะครับ เสียดายที่ไม่ได้ไปร่วมฟังด้วย
  • ขอบพระคุณมากครับ
  • สวัสดีคะคุณสิงห์ป่าสัก ทราบจากคุณเขียวมรกตว่าไปเป็นวิทยากรหลายแห่ง ได้ ลปรร.และสร้างทีม/ขยายวงเครือข่ายเพิ่มขึ้นอีกเรื่อย ๆ ขอแสดงความยินดีด้วยคะ ขอบคุณมากนะคะที่ช่วยสร้างภาพพจน์ให้กรมส่งเสริมการเกษตรและองค์กร
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท