กิเลส อกุศลจิต ความรู้สึก และการถูกเอาเปรียบ


 กิเลส  อกุศลจิต  ความรู้สึก  และการถูกเอาเปรียบ         เมื่อเกิดความรู้สึกว่าโดนเอารัดเอาเปรียบ      บางครั้งก็รู้สึกว่าอยากทำเหมือนที่คนอื่นทำ  มันสบายดี  เข้าทางกิเลส     เช่นมาสาย   ชอบอู้นั่นนี่ บางทีก็รู้สึกว่าถูกเอาเปรียบ   

      

         ในการทำงานในองค์กร  การทำงานมักจะต้องทำด้วยกันหลายคน  ไม่สามารถทำทั้งหมดคนเดียวได้       งานจะสำเร็จได้ด้วยดีและมีความสุข  เมื่อเราให้ความร่วมมือร่วมแรงกัน  คนละมือคนละไม้ 

              แต่ถ้าหากว่าในหน่วยงานหรือองค์กรใด  มีเพื่อร่วมงานที่ทำงานแล้ว  อาจจะสร้างความเดือดร้อนใจกับคนรอบข้าง   ไม่ช่วยกัน  ไม่ทำตามแนวทางที่สร้างไว้  หรือไม่ใช้สามัญสำนึกที่ดีในการทำงาน  โดยที่อาจจะไม่รู้ตัวหรือโดยเจตนาก็ตาม.. 

   

             บ่อยครั้งที่เราอาจจะรู้สึกว่า  เอ??  เรานั้นโดนเอาเรียบหรือเปล่านะ  ทั้งๆที่ค่าตอบแทนก็เท่ากัน  แต่ระยะเวลาในการทำงานกลับไม่เท่ากัน    ความรู้สึกว่าโดนเอารัด  เอาเปรียบนี้จะถือว่าเป็นกิเลส  เป็นความชั่วร้ายของเราหรือเปล่านะ 

     

          เพราะว่าบางครั้งไม่รู้ว่าทำไม  ตอนแรกๆ  มันไม่มี(หรือมีน้อยมากจนเราไม่รู้)      ด้วยความเข้าใจว่า  คนเราต้องดูกันระยะยาว  ต้องให้โอกาสเพื่อการพัฒนาและเรียนรู้  คนเราไม่มีใครที่ไม่อยากเป็นคนที่ดี  คนเรานั้นสามารถเปลี่ยนแปลงได้ 

        

          แต่เมื่อเวลาเปลี่ยนไป  แต่สิ่งต่างๆนั้นยังคงเหมือนเดิม  เสียงภายในของเรา  เสียงเรียกร้องแห่งความถูกต้อง  มันดังขึ้นๆเรื่อยๆ  รบกวนจิตใจของเราจังนะ  มันเป็นความรู้สึก  ความคิดแบบเด็กๆมาก  แต่มันก็มีอยู่จริง  หรือเพราะเรายังไม่เติบโต  ไปไม่ถึงไหน          

          

     บางครั้งภายในจิตของเราก็บอกไม่เป็นไรนะ  เราต้องมีเมตตาจิตสิ  เป็นเรื่องของกรรม  ปล่อยไป  เราทำหน้าที่ของเราให้ดีที่สุด  ไม่ต้องใส่ใจหรือคิดมาก          แต่บางครั้งก็แอบคิดไม่ได้เพราะว่าผลกระทบที่เกิดขึ้นไม่ใช่จะตกที่เราคนเดียว  แต่เกิดกับคนอื่นๆด้วย  

  

 ไม่รู้ว่าหลายคนจะมีประสบการณ์แบบเด็กๆ  เช่นนี้หรือเปล่าครับ 
หมายเลขบันทึก: 120978เขียนเมื่อ 21 สิงหาคม 2007 12:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 14:35 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
  • ธรรมชาติของมนุษย์ ก็เหมือนน้ำนะครับ มักชอบไหลลงสู่ที่ต่ำ การอู้งาน เห็นคนอื่นสบายแล้วอยากสบายตาม ก็เป็นหนึ่งในนั้น มีทั่วไป ที่ผมอยู่นี่ก็มีครับ
  • แต่ยังไงครับ ความแตกต่างระหว่างบุคคลนั้น ส่วนหนึ่งก็นี่แหละครับ การตั้งมั่นแห่งจิต การมีอุดมการณ์ มันยากนะครับที่ต้องฝ่ากระแสน้ำที่จะพาเราลงต่ำ ยิ่งคนอื่นๆ ชอบไหลกันไปหมดและที่ยากที่สุดคืออะไรครับ คือการดึงคนเหล่านั้นให้ทวนน้ำกลับมา กลับมาสร้างประโยชน์แก่งองค์กร แก่บ้านเมือง
  • ถ้าทำได้นะครับ มหากุศลเลยครับ อิอิ
  • ขอให้เจริญในธรรมครับ

เป็นหัวข้อที่ดีมากครับ คุณหมอ

การทำงานในบางครั้ง เรามักเกิดความรู้สึกเช่นนี้

ทั้งๆที่เดิมทีเรามีความมุ่งมั่นที่จะทำงานอย่างเต็มที่ หรือทำความดีอย่างเต็มที่

แล้วอดรู้สึกไม่ได้ว่า...เราทำมากกว่าเขา

เขาทำน้อยกว่าเรา

ไม่มีใครเห็นค่าในสิ่งที่เราทำ

หรือ เราทำแทบตาย เขาทำนิดหน่อย คนทั้งหลายกลับมองว่า เท่าเทียมกันกับคนอื่นๆ

ทั้งที่ทำงานน้อยกว่าเรามากและทำไม่ดีเท่าเรา

เรื่องทั้งหมดนี้ เป็นวิธีคิดที่เป็นอกุศลจิต

เป็นตัวกิเลส ที่ชื่อมานะ ครับ

ที่เกิดขึ้นแทรก ในขณะที่ทำงานหรือทำความดี โดยเอาตัวเราไปเทียบเปรียบคนอื่นๆอยู่ตลอดเวลา

เราดีกว่าเขา เขาดีกว่าเรา

เราเท่ากับเขา เขาเท่ากับเรา

เราด้อยกว่าเขา เขาด้อยกว่าเรา

ทั้งเป็นจริงและไม่จริง

มานะ จึงเป็นกิเลสที่เร้นอยู่ในความคิดและจะแสดงออกมาเมื่อมีโอกาส มันฝังลึกอยู่ในจิต จึงเรียกว่า ทิฏฐิมานะ

คำว่าทิฏฐิ หมายถึงความเห็นผิด ที่เป็นมิจจฉาทิฏฐิ คือ เห็นทุกสิ่งว่าเป็นตน เป็นอัตตา

จึงเกิด สักกายทิฏฐิ (ความยึดมั่นในตน) อย่างเหนียวแน่นในขณะที่ คิด พูด และทำสิ่งใดก็ตาม

ทิฏฐิมานะ จึงเป็นตัวกิเลสร้าย ที่เปรียบเสมือนผู้ก่อการร้าย ที่คอยแทรกซึมและบ่อนทำลาย จิตที่คิดดี จิตกุศล

ให้อ่อนกำลัง ให้อ่อนล้า ให้เสื่อมศรัทธา และให้ละความเพียร ในการประกอบคุณงามความดี

ขอบคุณในข้อเขียนดีดี ที่ทำให้มีโอกาสแสดงความคิดเห็นครับ :)

  • สวัสดีค่ะ  คุณหมอ ..

ต้อมเองก็เป็นบ่อยค่ะ  และก็หลายครั้งก็หลงเข้าทางกิเลสไปเสีย
คงเป็นเพราะสติไม่มั่นคงพอน่ะค่ะ 

คงต้องฝึกอีกเยอะ   (( ต้อมหมายถึงตัวต้อมน่ะค่ะ  ))  ^_^

สวัสดีครับคุณ

P
  -ขอบคุณมากนะครับที่เข้ามาเติมเต็มข้อคิดดีๆครับ
  -จิตมักจะชอบไหลไปสู่ที่ต่ำ...เป็นหลักคิดที่จะพึงระวังเสมอครับ
สวัสดีครับอาจารย์
P
  -  ความเห็นอาจารย์  ทรงคุณค่าต่อผมมากๆครับ
  -ได้แวะไปเขียนขอบพระคุณอาจารย์ในคำถามแล้วครับ

ขออนุญาตแลกเปลี่ยนด้วยนะคะ

หากเรามองจิตเราทำงาน  นิ่งๆ ทบทวนดู เราจะเห็นกลไก และรูปแบบซ้ำๆ ที่มักก่อให้เกิดความอึดอัดคับข้องใจกับเราบ่อยๆ ... ลองหยิบมาพิจารณาดูค่ะ... สิ่งนั้นจะสะท้อนโลกทัศน์ หรือการมองโลกของเรา และเราก็มักใส่ใจ (เกินไปในสายตาของคนอื่น.... ซึ่งคนอื่นก็มีเรื่องที่ใส่ใจเกินไป ตามสายตาของเราเช่นเดียวกัน)

ในพุทธ จะมีการแบ่งประเภทคนเป็น จริต 6

ตามศาสตร์นพลักษณ์ แบ่งคนเป็น 9 ประเภท ... เมื่อเรารู้ตัวเองว่า เรามักจะมีกิเลสตัวหลักครอบครองชีวิตเราอยู่   และเรียนรู้ เห็นกิเลสตัวที่ครอบครองเพื่อนร่วมงาน คนใกล้ตัวอยู่  จะเป็นแบบฝึกหัดให้เรารู้จัก "รัก" และ "เมตตา" ตัวเอง ให้อภัยตัวเอง และขณะเดียวกันก็สามารถ ให้อภัยคนอื่นได้ง่ายขึ้นค่ะ (เพราะเห็นว่า แต่ละคน ก็ล้วนกำลังตกหลุม หรือกับดัก ของใครของมันอยู่.... ในฐานะเพื่อนร่วมทุกข์)

 ตัวชี้วัดอันหนึ่งว่า เราให้อภัยใด้ถ่องแท้หรือไม่คือ ถ้าเราเห็นเขาทำแบบที่ทำให้เราคับข้องใจในครั้งถัดมาแล้วเราไม่คับข้องใจอีก ... แต่ถ้าเรายังคับข้องใจอยู่ แสดงว่า เรากดทับความรู้สึกไว้เท่านั้นเอง จึงอภัยไม่ได้อย่างสนิทใจ   

สวัสดีครับอาจารย์

P

 

    บางครั้งผมก็คิดเกณฑ์  ในการวัดการเติบโตภายในเช่นเดียวกับที่อาจารย์แนะนำครับ

   แต่มันก็แว๊ปๆครับ

   ครั้งนี้ได้อาจารย์มาย้ำ  คิดว่ามั่นใจมากขึ้นครับ

   ก็มีหลายเรื่องที่เคยผ่านมาได้  และดีขึ้นเรื่อยๆครับ

   ขอบพระคุณอาจารย์อย่างยิ่งนะครับ

มีความรู้สึกเช่นนี้กับการทำงาน

ตั้งใจสู้กับงานใหม่ แต่ผลที่ได้ เจ้าของกิจการไม่เคยเห็นคุณค่าของ

เจ้าหน้าที่ เอาเปรียบเราได้ทำ ใครที่มีผลประโยชน์และเหนือกว่าเขา

เขาจะยอม อย่างนี้เราจะทำอย่างไรดีละคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท