ภูมิปัญญากับการดำเนินชีวิตตอนที่ 6


สาโทพื้นบ้าน (เหล้าน้ำขาว) เป็นสุราพื้นบ้าน ที่คนสมัยก่อนใช้ภูมิปัญญา มาถึงสมัยคนในยุคปัจจุบันนิยมดื่มกันมากในเทศกาลต่างๆ..........

วันนี้นึกได้ว่า เคยเอาเรื่องภูมิปัญญาเรื่องหนึ่งที่ถือว่าเป็นสุดยอดของเมืองเหนือ มานำเสนออาจารย์ทั้งหลาย จะถือว่าเป็นภูมิปัญญาที่คนเหนือคิดค้นเองก็ว่าได้ แต่ถ้าเราเอาไปประกอบอาชีพโดยไม่ได้รับอนุญาต ก็ถือว่าผิดกฎหมายนะครับ นั่นก็คือภูมปัญญาการทำสาโท นั่นเอง เคยนำเสนออาจารย์ธนพร ชุมวรฐายี ในรายวิชาวิถีไทย ในคราวจัดนิทรรศการเมื่อปีการศึกษาที่แล้ว คิดว่าน่าจะเอามาให้ทุกคนได้ศึกษานะครับ แต่นี่ไม่ได้ส่งเสริมให้ทุกคนผิดศีลห้านะครับ โปรดใช้วิจารณญาณในการศึกษาด้วย อะ...เริ่มกันเลยนะครับ อีกอย่าง เรื่องนี้มันยาวนะครับก็เลยแบ่งเป็น 3 ตอน โปรดติดต่อตอนต่อๆไปด้วยนะครับ

การทำสาโทพื้นบ้าน

สาโทพื้นบ้านหรือชาวบ้านจะนิยมเรียกว่า เหล้าน้ำขาว ซึ่งเป็นสิ่งหนึ่งที่ชาวสมัยก่อนนิยมหมักไว้ดื่ม ที่ชาวไร่ชาวนาเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จก็จะมีการฉลองกัน เพราะสมัยก่อนจะไม่นิยมดื่มเหล้าที่ผลิตขายแข่งกันเหมือนกับสมัยนี้ กากสาโทก็สามารถเอากินกันโดยการนำเอากากสาโทต้มให้สุกเพื่อ ที่จะให้แอลกอฮอส์ลดลง เวลาย่ำกากสาโทก็จะหั่นกล้วยดิบ ตะไคร้ มะละกอ พริกหรืออย่างอื่นล้วนแล้เป็นที่ที่มีประโยชน์เพราะจะเป็นสมุนไพรทั้งนั้น และใช้ในเทศกาลรื่นเริงต่างๆ เช่น เทศกาลสงกานต์ ประเพณียี่เป็ง  ขึ้นบ้านใหม่  งานแต่งงาน งานส่งท้ายปีเก่าตอนรับปีใหม่  งานปอยหลวง งานกินสลาก งานทอดกฐิน งานแข่งบั้งไฟ ฯลฯ ซึ่งสมัยก่อนเรื่องสุราเมรัย น้ำเมาโดยทั่วๆ ไปจะหายากมาก การหมักสาโทพื้นบ้าน (เหล้าน้ำขาว) เป็นภูมิปัญญาของคนสมัยก่อนที่คิดจะหาวิธีที่จะหาเครื่องดื่ม โดยคิดที่นำวัตถุที่มีอยู่ในพื้นบ้าน เช่น ข้าว แป้งหัวเชื้อ (ยีสต์)  ซึ่งสิ่งเหล่านี้ชาวบ้านสมัยก่อนก็มีเกือบทุกหลังคาเรือนมักจะนิยมทำไว้ เมื่อถึงเทศกาลต่างๆ สาโทพื้นบ้าน (เหล้าน้ำขาว)สาโทพื้นบ้าน (เหล้าน้ำขาว) เป็นสุราพื้นบ้าน  ที่คนสมัยก่อนใช้ภูมิปัญญา มาถึงสมัยคนในยุคปัจจุบันนิยมดื่มกันมากในเทศกาลต่างๆ เพราะมีรสชาติหวาน กินง่าย มีประโยชน์ต่อร่างกาย เพราะส่วนประกอบทำมาจากข้าวล้วนๆ     ไม่มีสิ่งเจือป่น แป้งหัวเชื้อ (ยีสต์) ก็ทำมาจากไม่ยากการทำสาโทพื้นบ้าน ของกลุ่มพ่อบ้านบ้านวังธาร หมู่ที่ 1 ตำบลร้องวัวแดง  กิ่งอำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ ขั้นตอนและวิธีการทำสาโทพื้นบ้าน

วัสดุอุปกรณ์ในการทำสาโท  มีดังนี้

ไหหรือโอ่ง  1   ใบ ,  ข้าวเหนี่ยว(ต้องเป็นข้าวเก่าหรือข้าวค้างปี)  1  ถาด , แป้งหัวเชื้อ (ยีสต์)   5  ลูก , โก๊ะข้าวหรือที่พึ่งข้าว  ใบ , หวดข้าว (หรือตะกร้าซาวข้าว) 1  ใบ , ไหสำหรับนึ่งข้าว  ชุด , ถังยาง 1  ใบ , ถุงพลาสติกและยางรัดปากโอ่ง

โปรดติดต่อตอน 2

หมายเลขบันทึก: 120285เขียนเมื่อ 17 สิงหาคม 2007 20:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 12:50 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

การทานสุราถือว่าเป็นการผิดศีล 5 แต่ถ้าทานเพื่อเป็นยา ก็ไม่ห้าม ฉะนั้นต้องรู้จักประมาณในการกิน อย่างพุทธพจน์ที่ว่า "โภชเน มัญญัญญุตา" รู้จักประมาณในการบริโภค ไม่มากเกินไปและไม่น้อยเกินไป

สาธุ.........

ใช้ในงานสังสรรค์เป็นกาละเทศะก็ดีนะค่ะ  แต่ถ้าใช้ในส่วนอื่น เช่น เกิดอยากกิน เที่ยวเนี้ย เสียหายนะ
นี่คือประโยชน์จากการน้ำข้าวที่เหลือ(ข้าวนึ้ง)มาใช้อีกชนิดหนึ่งเหมือนกันนะครับ  ตะปึ๊ๆๆๆๆๆ
  • "สาโท" จัดเป็น "เมรัย" รึเปล่า?
  • ถ้านำไปกลั่นจะได้สุรา(เหล้า) ดีกรีสูงขึ้น บางแห่งจุดติดไฟเชียวแหละ
  • หากพอประมาณในการดื่ม ก็เป็น "ยา" ครับ หากไม่มีประมาณ(ผะหมาน)ในการดื่ม ก็ "สิ่งเสพติดให้โทษ" ครับ
  • พระพุทธองค์ทรงอนุญาตไว้ (เฉพาะการเจ็บป่วยที่ต้องใช้ยารักษาและยานั้นต้องใช้สุราเป็นกระสายเท่านั้น-มิใช้ทั่วไป) ดื่มได้ "หนึ่งองคุลี" (โดยปริมาตร) เป็นกระสายยาครับ
  • สุรานี้ถ้าจะดื่มให้เป็นยา ก็ให้ดื่มเท่าน้ำหนักตัวต่อวันโดยนับเป็นซีซี (ลูกบาศก์เซนติเมตร) เช่น น้ำหนักตัว 50 ก.ก. ก็ควรดื่ม 50 ซีซี/วัน เป็นต้น (50 ซีซี = 1 ก๊ง)
  • ถ้าใช้น้ำหนัก : น้ำหนัก เช่น น้ำหนักตัว 50 ก.ก. แล้วดื่มเหล้า 50 ก.ก./วัน อย่างนี้ ยังไม่มีงานวิจัยครับ
  • พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท