5 วัน กับบทบาทวิทยากร... ได้อะไร ?


"ความตั้งใจและความเป็นกันเองของเจ้าหน้าที่ในหน่วยงาน ทุกอย่างเกิดขึ้นตั้งแต่เริ่มต้นจบจบ... จากความกดดันของทีมวิทยากร กลับผ่อนคลายอย่างไม่น่าเชื่อ..."

 ปล. บันทึกนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัว อาจจะตรงกับความคิดเห็น หรือไม่ตรงกับความคิดเห็นของใคร... ซึ่งมิได้จงใจให้เกิดผลเสียหายใด ๆ ทั้งสิ้น..

หลังจากที่...  ได้รับบทวิทยากรร่วมกันกับ  พี่ ๆ  และน้อง ๆ  ภายในหน่วยงาน  เดินทางไปแนะนำการสร้างสื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนการสอน  ที่สำนักวิทยบริการ  ม.อุบล  ตั้งแต่วันที่  7-11  สิงหาคม 

ในการ...  ไปครั้งนี้  เกิดความกดดันอย่างมากสำหรับทีมวิทยากร  ด้วยเหตุผลที่ว่า  ครั้งนี้ไม่ใช่แค่เพียงไปเพื่อแนะนำ  หรือสอนเพียงอย่างเดียว  หากแต่...  ครั้งนี้ต้องสามารถให้บุคลากรของสำนักสามารถทำได้ด้วย  เพราะนี่เป็นความหวังเนื่องจากหน่วยงานแห่งนี้กำลังจะเริ่มก้าวเดินตามเส้นทางของสื่อการสอนเต็มรูปแบบ

ทำไมถึงตั้งความหวัง...

ด้วยเหตุที่ว่า...  หน่วยงานแห่งนี้เด่นในเรื่องสื่อที่เป็นในลักษณะของวีดิทัศน์  หรือผลิตรายการอย่างมาก  ถ้าพูดถึงเรื่องนี้  ยกให้เขาอยู่ในระดับต้น ๆ  แต่ถ้าพูดถึงสื่อทางอินเทอเน็ต...  ถือว่าเขายังไม่มีการเริ่มเลยด้วยซ้ำไป...  การไปครั้งนี้จึงเป็นแรงจุดประกายให้พวกเขารู้แนวทาง  การสร้าง  และบอกเป็นใน ๆ  ว่าคุณต้องเริ่มแล้วนะ...  ถ้าช้าไปคงไม่ทันแน่นอน...

คำสารภาพ...  ที่ออกมาจากปากของผู้เข้าอบรม...

"ช่วยหน่อยนะครับ  งานนี้...  เรายอมรับว่าทางด้านสื่อที่เป็นวีดิทัศน์เราไม่แพ้ใครแน่นอน...  แต่ทางด้านสื่อมัลติมีเดียเรายอมรับว่าเราไม่รู้เรื่องเลย  เรามาลองดูแล้วว่าถ้ามัวแต่อยู่แต่เรื่องเดิม ๆ  ตลอดเวลา  ก็เหมือนกับว่าเราล้าหลังเขา"  นี่เป็นเรื่องที่ผมได้ฟังแล้ว...  รู้สึกงงนิด ๆ  และหลาย ๆ  เรื่อง  แต่ก็มีความรู้สึกดีที่ว่า  เขา  "พร้อมที่จะรับกับสิ่งใหม่...  จากความต้องการของพวกเขาเอง..."

ความกดดันของทีมวิทยากร...  มาถึง

และหลังจากที่เข้าที่พัก...  (ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม  ม.ราชภัฏอุบลฯ  ยอมรับว่าที่พักสวยมาก...)  สีหน้าของวิทยาการเริ่มเปลี่ยนไป  เราดูเครียดไปหรือปล่าวเนี่ย...  ครั้งนี้ไม่ใช่เรื่องง่ายซะแล้ว  เราไม่ได้มาเพียงแค่แนะนำการใช้เครื่องมือในการสร้างสื่อ  แต่ครั้งนี้เราต้องดึงเขาให้รู้จักสื่อและความสำคัญของมันด้วย...  วันนี้จนดึกวิทยากรแต่ละคน  เริ่มดูเอกสารและเนื้อหาที่เตรียมมา   และลงความเห็นว่า...  "เราต้องเปลี่ยนแผนใหม่  จากที่จะสอนให้ทำตาม  ควรสอนไป  แนะนำไป  รวมถึงตอบคำถามตลอดเวลา"  หรือที่ผมเรียกว่า  "สอนสด" 

เรื่องน่าภูมิใจ...  ของวิทยากร

เราเริ่มแนะนำ...  และสอนการสร้างสื่อการเรียนการสอน  กันตั้งแต่วันจันทร์ที่  6  สิงหาคม  จนถึง  วันศุกร์ที่  11  สิงหาคม  และสิ่งที่วิทยากรพูดเป็นเสียงเดียวกันนั่นก็คือ  "ผมไม่เคยเห็นใครสนใจการอบรมกันได้ยาวนานขนาดนี้  5  วันเต็มที่นี่  เขาแทบไม่อยากออกไปพัก  ดูทุกคนสนุกกับสิ่งที่เขากำลังทำ" 

สิ่งแปลกใหม่ที่ผมได้รับ...

และ...  เป็นที่น่าแปลกของการมาครั้งนี้  ผมไม่ได้มาแค่การถ่ายทอดความความรู้และประสบการณ์  แต่ผมยังได้รับอะไรออกมาด้วย...  เป็นที่น่าแปลกที่ครั้งแรกที่ผมก้าวเขาไปในห้องอบรมที่ถูกจัดขึ้นมาใหม่ด้วยการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์จากโต๊ะทำงานมาใช้ในห้องอบรม...  คนเข้าอบรมมีไม่มากแต่เต้มไปด้วยความเป้นกันเอง  ผมลองสอบถามหน้าที่การทำงานของเขาเพื่อศึกษาว่าความรู้ในเรื่องที่วิทยากรกำลังจะแนะนำ  พวกเขามีมากน้อยแค่ไหน...  และต้องแปลกใจเมื่อรู้ว่า  ทุกคนที่อยู่ในห้องนี้เป็นเจ้าหน้าที่ทั้งหมดในสำนัก...  (เขายินดีที่จะพักการทำงานเพื่อมาเรียนรู้โดยเฉพาะ)  และนี่เป็นการเรียนรู้ร่วมกัน...  ไม่ว่าเขาเหล่านั้นจะมีความรู้มากน้อยเท่าไหร่  แต่ในครั้งนี้คุณคือหนึ่งในนั้นที่จะร่วมพัฒนาหน่วยงานให้ก้าวหน้าไปได้ต่อไป... 

สิ่งที่ได้ไม่สูญหายแน่นอน...

การอบรมในครั้งนี้...  เครื่องคอมพิวเตอร์ที่นำมาใช้คือเครื่องส่วนตัวที่ใช้ทำงานอยู่ทุก ๆ  วัน  ผมจึงเชื่อใจได้ว่า  ครั้งนี้...  สิ่งที่แนะนำไปไม่สูญหายแน่นอน  อย่างน้อยก็มีโปรแกรมติดอยู่ในเครื่อง  หรือผลงานที่ร่วมกันทำในวันอบรมก็ยังอยู่ในเครื่องคอมที่เขาใช้อยู่ทุกวัน...  แล้วหลังจาก  5  วันนี้ไปแล้ว...  เขาจะไม่ดูมันซ้ำหรือ...  อย่างน้อยก็คงมีผลงานเป็นแรงกระตุ้นให้คิดอยากทำขึ้นมาบ้างล่ะน่า...

ความเป็นกันเองตั้งแต่วันแรกถึงวันสุดท้าย....

และ...  ตลอด  5  วันเต็มของการอบรม...  สิ่งที่เราไม่เคยลืม  นั่นก็คือ  ความตั้งใจและความเป็นกันเองของเจ้าหน้าที่ในหน่วยงาน  ทุกอย่างเกิดขึ้นตั้งแต่เริ่มต้นจบจบ...  จากความกดดันของทีมวิทยากร  กลับผ่อนคลายอย่างไม่น่าเชื่อ...  และนี่สินะสิ่งที่หลาย ๆ  คนต้องการมัน... 

ขอบคุณ...  เจ้าหน้าที่สำนักวิทยบริการ  ม.อุบลฯ  ที่ให้บทเรียนนอกสถานที่ดี ๆ  กับผม....

คำสำคัญ (Tags): #วิทยากร#ได้อะไร
หมายเลขบันทึก: 119749เขียนเมื่อ 15 สิงหาคม 2007 11:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ผมมองประเด็นดังนี้ครับ ...

1. การพัฒนาองค์กร(สมัยใหม่) 

องค์กรจะอยู่รอดหรือไม่มีปัจจัยพิจารณาประกอบได้แก่ คนเรียนรู้ องค์กรเรียนรู้ แล้วนำเอาองค์ความรู้(หลัก) ไปปรับใช้ได้  ถ้าหากส่วนใดส่วนหนึ่งไม่เรียนรู้แล้ว คงหมุนไม่ทันโลกใบนี้ด้วยกระแสโลภิวัฒน์ อย่างนแน่นอนครับ

2. การช่วยเหลือเพื่อน(ต่างสถาบัน)

ขอชื่นชมกับทีมวิทยากรของ CARD ที่เสียสละเวลาอันมีค่า เพื่อช่วยเหลือทางวิชาการ ไม่ใช่เฉพาะแต่ความรู้(explicit) เท่านั้น ยังนำเอาภูมิปัญญาและประสบการณ์(tacit) ไปถ่ายทอดให้ด้วย

3. เป็นความสามารถในการปรับตัว

ความสามารถในการปรับตัว(แผนการสอน)ให้เข้ากับบริบทของผู้รับการอบรมได้ดี นี้แหละครับ ถือว่าเป็น "บุคคลเรียนรู้" จนสามารถนำไปถ่ายทอดแก่สังคมโดยรวมได้อย่างไร

ชื่นชมครับ

ขอบคุณ  คุณ 
P
สายน้ำแห่งความคิด   ครับ...  จาก 3  ประเด็นที่กล่าวมา 
1. การพัฒนาองค์กร(สมัยใหม่) 
     อย่างที่รู้กันครับ...  สมัยนี้  องค์กรจะอยู่ได้และเดินต่อไป  ต้องมีการเรียนรู้ร่วมกัน  ได้หรือไม่ได้ในสิ่งที่รับมา  ไม่เป็นไร...  อย่างน้อย  ทุกคนต้องรับรู้ปัญหาและแนวทาง  และหาทางแก้ปัญหานั้น ๆ  ร่วมกัน...  ผมคิดว่าองค์กรก็น่าจะยั่งยืนครับ...
2. การช่วยเหลือเพื่อน(ต่างสถาบัน)
     การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน  ในส่วนนี้ผมคิดว่าไม่มีใครสามารถไปชี้แนวทาง  สั่งการ  ให้คนอื่นได้  ทุกสิ่งทุกอย่างขึ้นอยู่กับองค์กรนั้น ๆ  เราก็ได้แค่แนะนำในสิ่งที่เราเคยทำมา...  หลังจากนั้นก็เป็นสิ่งที่คุณต้องคิดเองครับ...  แน่นอนหละอย่างน้อยการไปแบบนี้ก็ได้สร้างเครือข่ายจริงไหมครับ...  ก็เหมือนกับการสร้างความสัมพันธ์อันดีต่อกันนั่นแหละ  :-)
3. เป็นความสามารถในการปรับตัว
     การปรับตัว  หรือแบบแผนตามกระแส  สิ่งนี้ผมคิดว่าทุกคนต้องมีความสามารถเหมือนกันทุกคน  แต่จะเป็นไปในทางไหนเท่านั้นเองครับ...  อาจปรับให้ง่าย  หรือยากขึ้น  หรือกระทัดรัดให้เหมาะสมกับช่วงเวลา...  แต่ที่แน่ ๆ  อย่ากระโดดไปไกลครับ... 
ขอบคุณนะครับ...  ที่เข้ามาร่วมแสดงความคิดเห็น...
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท