โครงการบริการสุขภาพ


คณะพยาบาลศาสตร์  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
โครงการบริการสุขภาพ
รายวิชา  พย.614 ภาวะผู้นำและการบริหารจัดการทางการพยาบาล ภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2548
ชื่อโครงการ การส่งเสริมการสร้างเครือข่ายการประสานงานในชุมชนต่อการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด
           อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี

อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร.ปรีย์กมล   รัชนกูล

ผู้รับผิดชอบโครงการ
 นางสาวอมรรัตน์    ชอบธรรมดี
 นางสาวธนพร    บุญมุสิก
                            นางสาวเสาวลักษณ์         ค้าของ
 นายศราวุธ    อยู่เกษม
 นางสาวพัชรินทร์   คมขำ
 นายอภิชาติ    ธิติพิทยาภรณ์
 นางสาววรัญญา   ทองคงอ่วม
หน่วยงานที่ร่วมดำเนินการ
 1. สำนักงานสาธารณสุขอำเภอลำลูกกา
 2. ศึกษาธิการอำเภอลำลูกกา
 3. ที่ทำการปกครองอำเภอลำลูกกา
หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันการแพร่ระบาดของยาเสพติด และสิ่งเสพติดต่าง ๆ ในประเทศไทยมีความรุนแรงมากขึ้น อีกทั้งปัญหายาเสพติดเป็นนโยบายสำคัญและเร่งด่วนของรัฐบาล ในการที่จะแก้ไขปัญหายาเสพติดให้หมดไป และการควบคุมไม่ให้ยาเสพติดแพร่ระบาดมากขึ้น ส่วนหนึ่งคือต้องมีกระบวนการบำบัดรักษา เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ติดยาและผู้เสพยา โปรแกรมบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดที่ได้ผลดีโปรแกรมหนึ่งคือ โปรแกรมบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดแบบผู้ป่วยนอก ในรูปแบบจิตสังคมบำบัด (Matrix Program) ซึ่งโรงพยาบาลลำลูกกาได้นำรูปแบบการบำบัดรักษานี้มาใช้ และได้เปิดดำเนินการมาตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2548โดยมีผู้เข้ารับการบำบัดรักษา จนถึงวันที่ 9 ธันวาคม 2548  จำนวน 15 คน จบโปรแกรม 10 คน อยู่ระหว่างติดตามให้มาบำบัดรักษา 5 คน
 ดังนั้น เพื่อให้เกิดความเข้าใจในขั้นตอนการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดในรูปแบบจิตสังคมบำบัด และตระหนักถึงความสำคัญของการแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่อำเภอลำลูกกา  จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น

วัตถุประสงค์
1. เจ้าหน้าที่ในสถานีอนามัย และผู้เกี่ยวข้องกับกลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับขั้นตอนการบำบัดรักษารูปแบบจิตสังคมบำบัด (Matrix Program) และผลของการบำบัดรักษาในรูปแบบจิตสังคมบำบัด
2. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรม สามารถชักจูงให้ผู้ติดยาเข้ารับการบำบัดรักษาจนจบโปรแกรม
3. เพื่อให้เกิดการสร้างเครือข่ายการประสานงานที่ดีในชุมชน
4. เพื่อให้การดำเนินงานบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

เป้าหมาย
 เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรม  สามารถชักจูงให้ผู้ติดยาเสพติดเข้ารับการบำบัดรักษาในโปรแกรมการบำบัดรักษารูปแบบจิตสังคมบำบัด  (Metrix  Program)  ต่อเนื่องจนจบโปรแกรม  สามารถลดปัญหาการติดยาเสพติดในพื้นที่ลดน้อยลง  รวมทั้งมีเครือข่ายการประสานงานในชุมชน

กลุ่มเป้าหมาย
- หัวหน้าสถานีอนามัย ทุกสถานี ในอำเภอลำลูกกา หรือผู้แทน จำนวน 30 คน
- ครูอนามัย ทุกโรงเรียนในเขตอำเภอลำลูกกา  จำนวน      30 คน
- ผู้นำชุมชน ทุกหมู่บ้าน หมู่บ้านละ 1 คน  จำนวน      25      คน
   รวม 85  คน
ระยะเวลาดำเนินการ
   ตั้งแต่วันที่  25   ธันวาคม 2548 – 20 มกราคม 2549
1.ระยะก่อนการดำเนินงาน วันที่  25 ธันวาคม 2548 – 10 มกราคม 2549
- จัดทำโครงการการส่งเสริมการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด เสนอขออนุมัติ
- แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการ
- จัดประชุมคณะกรรมการชี้แจง
- ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
2.ระยะดำเนินงาน วันที่  11 มกราคม 2549
- จัดอบรมโครงการการส่งเสริมการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดโดยการบรรยายและสัมมนา
3.ระยะหลังดำเนินการ  วันที่ 11 – 20 มกราคม 2549
- ติดตามประเมินอย่างต่อเนื่อง
- สรุปผลการดำเนินงานโครงการการส่งเสริมการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด

สถานที่ดำเนินโครงการ
ณ ห้องประชุม  ชั้น 2  โรงพยาบาลลำลูกกา อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี

กิจกรรมโครงการ
1.ผู้เข้าร่วมประชุมทำแบบทดสอบ(Pre-test)
2.กิจกรรมบรรยายโดยวิทยากรเรื่อง
 2.1  ความรู้เกี่ยวกับยาเสพติด
-  ความหมายของยาเสพติด
-  ประเภทของยาเสพติด
-  หลักและเกณฑ์การวินิจฉัยการติดยาเสพติด
 2.2  แนวคิดเกี่ยวกับการบำบัดและการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด
  -  การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด
  -  ขั้นตอนการบำบัด
  -  ขั้นติดตาม การฟื้นฟูการบำบัด
 2.3  การบำบัดแบบผู้ป่วยนอกตามรูปแบบกายจิต สังคม บำบัด(Matrix Program)
  -  การให้การปรึกษารายบุคคล
  -  กลุ่มฝึกทักษะการเลิกยาระยะเริ่มต้น
  -  กลุ่มป้องกันการกลับไปติดยาซ้ำ
 2.4  บรรยายแรงจูงใจและเทคนิคการจูงใจ
 2.5  การอภิปรายปัญหายาเสพติดต่อการมีส่วนร่วมในเรื่องการสร้างเครือข่าย/ติดตามประเมินผลของประชาชนเพื่อความยั่งยืนในการแก้ปัญหา
3. ผู้เข้าร่วมประชุมทำแบบทดสอบ ( Post-test )
4. การติดตามประเมินผล  / การสร้างเครือข่ายในพื้นที่

การประเมินค่าใช้จ่ายและแหล่งที่มา
ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปทุมธานี ดังนี้
1. ค่าอาหารว่าง   จำนวน 2 มื้อๆ ละ  10  บาท x 85 คน   1,700    บาท
2. ค่าอาหารกลางวัน   จำนวน 1 มื้อๆ ละ 30 บาท x 85 คน   2,550    บาท
3. ค่าอุปกรณ์และเอกสารและดำเนินการหลังการประชุม   4,000   บาท
4. ค่าตอบแทนวิทยากร 300 บาท/ชั่วโมง จำนวน 6 ชั่วโมง      1,800  บาท
5. การติดตามประเมินผล/การสร้างเครือข่ายในพื้นที่ 
 -  ค่าโทรศัพท์      400  บาท
 -  ค่าซองจดหมายและแสตมป์      300  บาท
 -  ค่าเดินทาง       500  บาท
   รวม  11,250   บาท

การเทียบผลลัพธ์และค่าใช้จ่าย
1. ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับขั้นตอนการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด ในรูปแบบจิตสังคมบำบัด
 2. ผู้เข้ารับการอบรมตระหนักถึงความสำคัญของการชักชวนให้ผู้ติดยาเข้ารับการบำบัดรักษา
 3. ผู้เข้ารับการอบรมสามารถชักจูงให้ผู้เข้ารับการบำบัดมาบำบัดรักษาต่อเนื่องจนจบโปรแกรม
 4. ปัญหาจากผู้ติดยาเสพติดลดน้อยลงในพื้นที่
 5. มีเครือข่ายการประสานงานในชุมชน
 6. การดำเนินงานด้านการบำบัดรักษายาเสพติดมีประสิทธิภาพ

การประเมินผล
 1. หลังสิ้นสุดโครงการผู้เข้าร่วมประชุมทำแบบทดสอบ( Post-test ) มีคะแนนมากกว่าคะแนนในการทำแบบทดสอบ (Pre-test) อย่างน้อยร้อยละ 80 จากจำนวนผู้เข้ารับการอบรมทั้งหมดและคะแนนขั้นต่ำต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 60
 2. มีผู้เข้ารับการบำบัดเพิ่มขึ้นอย่างน้อยร้อยละ 10 จากจำนวนผู้ติดยาเสพติดทั้งหมด
 3. มีเครือข่ายผู้ประสานยาเสพติดอย่างน้อย 1 คน ต่อ 1 หมุ่บ้าน

ข้อเสนอแนะ
1. เมื่อสิ้นสุดโครงการผู้เข้ารับการอบรมมีการสร้างเครือข่ายประสานงานที่ดีในพื้นที่  และมีการติดตามอีกครั้งถึงประสิทธิภาพของเครือข่าย
2. อาจจะมีการจัดอบรมผู้ติดยาเสพติดที่บำบัดรักษาโดยการใช้  Metrix  Program 

 

หมายเลขบันทึก: 11948เขียนเมื่อ 11 มกราคม 2006 20:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 11:26 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท