rAAR : “สรุปบทเรียนการจัดการความรู้ : กรณีมหาวิทยาลัยมหาสารคาม” ที่ เขื่อนอุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น


"ความว่างเปล่า"

รายงาน : ความเป็นมาและบรรยากาศ 

เมื่อ วันศุกร์ที่ 10 ส.ค. 50 ที่ผ่านมา KM ที่ มมส. ได้จัดให้มีกิจกรรมแลกเปลี่ยนประสบการณ์การจัดการความรู้ของหน่วยงานที่เข้าร่วมโครงการ คณะอนุกรรมการได้พิจารณาแล้วนำโครงการนำร่อง หรือเป็น pilot project ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 ประกอบไปด้วย หน่วยงานและโครงการ ดังนี้

 หน่วยงาน โครงการ  Key Succes
 คณะศึกษาศาสตร์  โครงการส่งเสริมและสนับสนุนเครือข่ายจัดการความรู้ครูเพื่อศิษย์
  • มีวิสัยทัศน์ และตั้งเป้าหมายที่ชัดเจน เช่น TQA 
  •  ภาวะผู้นำ
  • ความมุ่งมั่น(ผู้นำและทีมงาน)
  • เครือข่าย(เดิม)
  • การจัดเวที ลปรร. อย่างสม่ำเสมอ
  • การให้รางวัล ยกย่อง ชมเชย
  • ความร่วมมือกันทำงาน
  • การจดบันทึก
  • ให้ความรู้และเผยแพร่ KM
  • นำกระบวนการ KM ให้เข้ากับการทำงานอย่างเป็นปกติ (เนียนๆ)
 คณะเภสัชศาสตร์
  •  โครงการวิจัยสู่สากล
  • โครงการใกล้บ้านใกล้ใจ
  • ผู้บริหารให้อิสระในการคิด และดำเนินงาน 
  •  การจัดเวที เช่น Luanch Research อย่างสม่ำเสนอ
  • เครือข่ายการวิจัย (CoPs)
  • ให้ความรู้และเผยแพร่ KM
 คณะศิลปกรรมศาสตร์  โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการองค์ประกอบศิลป์ - ไม่มีการนำเสนอ - 
 กองกิจการนิสิต
  •  โครงการจัดการความรู้สู่ผู้นำองค์กรนิสิต
  • ค่ายศิลปวัฒนธรรมสู่สถานศึกษา (ค่ายสืบศิลป์ ครั้งที่ 9)
  • โครงการอาสาสมัครกับการจัดการความรู้ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง
  • เรียนรู้การทำงาน สานวัฒนธรรม
  •  ความไว้เนื้อเชื่อใจกัน (trust)
  • จัดเวที ลปรร. เช่น กิจกรรมค่ายต่างๆ
  • สร้างจิตสำนึกสาธารณะ
  • ความคิดเชิงสร้างสรรค์
  • ความเสียสละเพื่อส่วนรวม
  • การอบรม ให้ความรู้จากรุ่นสู่รุ่น
  • พลังจากเครือข่าย
  • การให้การยกย่อง ชมเชย เช่น มอบเกียรติบัตรให้กับนิสิตที่มีผลงานดีเด่น
  • เรียนรู้จากความผิดพลาดในอดีตแล้วปรับปรุงแก้ไข
  • ความร่วมมือกัน
  • จัดกิจกรรม "ค่าย" ตามกลุ่มความสนใจ (CoPs)
  • อาสาสมัคร
 ศูนย์วิจัยและการศึกษาบรรพชีวินวิทยา
  •  โครงการถ่ายทอดและเผยแพร่บรรพชีวิตวินสู่ชุมชน
  •  การถ่ายทอดความรู้
  • ความร่วมมือกันทำงาน
  • เครือข่าย
  • การประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  • ชมรมบรรพชีวิน
 กองส่งเสริมและพัฒนางานวิจัย
  •  โครงการเสริมสร้างสมรรถนะบุคลากรทางการวิจัยมหาวิทยาลัยมหาสารคาม : การพัฒนาโจทย์การวิจัยอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ
  • วิสัยทัศน์ที่ชัดเจน
  • มีแผนการทำงานที่ชัดเจน 
  • ใช้ "องค์ความรู้หลัก"  ของหน่วยงานเพื่อดำเนินการขับเคลื่อนโดยใช้ KM 
  • การจัดเวที ลปรร. ไปยังหน่วยงานในมหาวิทยาลัย
  • มีพันธมิตรด้านการทำงาน
  • สร้างแหล่งจัดเก็บองค์ความรู้ โดยแบ่งเป็นหมวดหมู่ที่ชัดเจน
  • การนำเข้าความรู้จากภายนอก (ผู้เชี่ยวชาญด้านการวิจัย)และภายในองค์กรเอง
     

Show & Share

หลังจากที่ CKO (ผศ.ดร.พิศมัย ศรีอำไพ) ได้เปิดงานและแบ่งปันความรู้การดำเนินงาน KM ของ มมส. แล้ว จากนั้นก็ได้เริ่มสู่การนำเสนอเพื่อให้ผู้ดำเนินการ KM ของหน่วยงานข้างต้น เพื่อให้ได้เล่าถึงประสบการณ์ที่ผ่านมาแบ่งปันกับกลุ่มเพื่อนร่วมโครงการ สลับกับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันและกันด้วยคำถามและคำตอบ

ช่วง(เกือบ)ท้ายของวันนี้ท่าน panda (รศ.ดร.อรรณพ วราอัศวปติ) รองประธานจัดการความรู้ ก็ได้บรรยายสรุปภาพรวมของการขับเคลื่อน KM ใน มมส. ในรอบปีที่ผ่านมา

rAAR (report or reflection AAR) ของงาน

และท้ายสุดผมก็ได้ทำ AAR เปิดการปิดท้าย โดยผมได้เพิ่มเติมหรือสะท้อนให้เห็นว่าโครงการทั้งหมดที่ดำเนินการมานั้น ในมุมมองของผมเองแล้ว พบว่า ยังมีทั้งยังไม่ประสบผลสำเร็จ และกำลังจะประสบผล ซึ่งผมขอยกให้เป็น Best Practice ของงานครั้งนี้เลยก็ว่าได้ ดังภาพด้านล่าง ดังนี้

ภาพรวมของการขับเคลื่อน KM ปี 2550



Best Practice ของงานครั้งนี้ กองส่งเสริมและพัฒนางานวิจัย

และสุดท้ายตามด้วย AAR ของเจ้าภาพ ทีม B (อนุกรรมการจัดการความรู้)

ความคาดหวังการจัดงานครั้งนี้ ?

- ควรตระหนักและควรทำ BAR ก่อนจัดงานจริง
- การเอาใจใส่และตั้งใจทำงาน
- นำเอา AAR ไปทบทวนต่อยอด พัฒนาการทำงานให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งถ้าหากทำแค่ผ่านๆ ทุกครั้งไป ที่สุดวัฒนธรรมการทำงานก็ยังคงเหมือนเดิม เพราะฉะนั้น จะมี KM หรือ ไม่มี ก็ไม่มีความแตกต่างกัน
- ทุกคน ทุกฝ่าย เปิดใจกันทำงานร่วมกันอย่างจริงใจ ไม่มีผลประโยชน์ใดแอบแฝง
- ใช้เงินงบประมาณอย่างคุ้มค่า

แล้วผมได้อะไร?

- แทบไม่ได้อะไรนอกจาก "ความว่างเปล่า "และสุดท้ายก็มา เขียนบันทึกนี้

สิ่งที่ได้เกินความคาดหวัง ?

-

สิ่งที่ได้น้อยกว่าความคาดหวัง?

-

หมายเลขบันทึก: 119047เขียนเมื่อ 12 สิงหาคม 2007 14:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

KM   คือการจัดการความรู้  ไม่ใช่ การจัดสัมมนาหรือประชุม ดังนั้น ความจริง คือเราทำอยู่แล้วว แต่ควรเน้นกระบวนการด้วยการลงมือปฏิบัติในสำนักงานให้มากขึ้น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท