บริการปฐมภูมิ (Primary Care)


บริการปฐมภูมิ (Primary Care) เป็นการบริการที่ครอบคลุมมิติของสุขภาพที่สามารถเข้าถึงและสัมผัสได้ถึงวิถีชีวิตของคน นอกเหนือจากการวินิจฉัยอาการเจ็บป่วย

ในการอบรมผู้บริหารหน่วยคู่สัญญาบริการปฐมภูมิ (Contracting Unit for Primary Care: CUP) ภายใต้โครงการพัฒนาผู้บริหารเครือข่ายบริการปฐมภูมิ โดยความร่วมมือระหว่าง สปสช. กับ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในหน่วยแรก มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับความหมายและขอบเขตของการบริการปฐมภูมิ (Primary Care) อย่างหลากหลาย กับผู้บริหารที่มาจากทั้งโรงพยาบาล สสอ. และ สอ. จนในที่สุด อ.นพ.ปูม  มาลากุล ณ อยุธยา ได้สรุปแนวคิดของการบริการปฐมภูมิที่ควรเป็นภายใต้บริบทของบ้านเราไว้อย่างน่าสนใจ ว่ามีองค์ประกอบที่สำคัญ 9 มิติ ดังนี้ 

1. การเข้าถึงบริการ (Accessibility of Care)

2. การบริการด่านแรก (First Contact Care)

3. การบริการต่อเนื่อง (Continuity of Care)

4. การประสานบริการสุขภาพ (Coordination of Care)

5. ความคุ้นเคยและสัมพันธภาพที่ดีระหว่างผู้ให้และผู้รับบริการ (Personalized Care)

6. การบริการผสมผสานและองค์รวม (Comprehensive Care)

7. การบริการมุ่งที่ครอบครัว (Family Focused)

8. การป้องกันและเฝ้าระวังโรค (Disease Prevention and Surveillance)

9. การพึ่งตนเองและมีส่วนร่วมของชุมชน (Self Reliance & Community Participation)

 

ส่วนรายละเอียดของแต่ละมิติ จะนำมาเล่าสู่กันฟังในโอกาสต่อไปครับ โดยเฉพาะถ้าเป็นไปได้จะพยายามขอความกรุณาให้ อ.นพ.ปูม เข้ามาเขียนบันทึกให้ทุกท่านได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันด้วยตัวเอง ว่าแต่ทุกท่านมีความคิดเห็นอย่างไรบ้างกับมิติของการบริการปฐมภูมิทั้ง 9 นี้ อย่าลืมเข้ามาแลกเปลี่ยนกันเพื่อให้เกิดการพัฒนาต่อไป นะครับ

 

ด้วยรัก

หมายเลขบันทึก: 118807เขียนเมื่อ 11 สิงหาคม 2007 09:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 22:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้  บริการปฐมภูมิ  ให้บริการด้านสุขภาพที่ผสมผสานทั้งด้านการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค การรักษา และฟื้นฟูสภาพ โดยพิจารณาปัญหาอย่างเป็นองค์รวม       บริการสุขภาพด่านแรกที่ประชาชนเข้าถึงได้ง่าย ทั้งในด้านภูมิศาสตร์ จิตวิทยา และด้านเศรษฐกิจ    ให้บริการสุขภาพในเชิงรุกเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค และการเพิ่มศักยภาพการพึ่งตนเองของประชาชน     ดูแลสุขภาพกับประชาชนอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ก่อนป่วย ขณะป่วย และช่วงฟื้นฟูสภาพ พร้อมกับการจัดทำระบบข้อมูล ทำหน้าที่ประสานกับหน่วยบริการอื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อให้บริการที่ต่อเนื่อง

นับเป็นความท้าทายที่น่าสนุกสำหรับการสร้างบริการปฐมภูมิที่ว่านี้ให้เป็นจริงครับ

ด้วยรัก

  • สวัสดีคะ คุณ กิตติพงศ์ พลเสน
  • ทั้ง เก้ามิติ เป็นแนวคิดที่น่าสนใจ ในบางมิติ ทางพื้นที่ก็ได้มีการปฏบัติอยู่จริง ขาดเพียงการจัดเก็บข้อมูลที่เป็นระบบ
  • และปัจจัยสำคัญ อย่างหนึ่งที่จะทำให้สถานบริการปฐมภูมิบรรลุทั้งเก้ามิติ นั่นคือ ระบบการสนับสนุนที่เข้มแข็ง และการเป็นเครือข่าย ที่มีแม่ข่าย เป็นหัวเรือหลักในการร่วมพัฒนา ทั้งหมดที่ว่ามา ก็คือ ทำอย่างไร ให้ (Contracting Unit for Primary Care: CUP) แข็งแรง
  • ขอบคุณคะ สำหรับ  "สิ่งใดก็ตามที่ไม่ได้ทำให้เราตาย มันจะทำให้เข้มแข็งขึ้นเสมอ"
  • จะเก็บไว้ เตือนตัวเองเสมอคะ

ระบบการจัดการข้อมูลนับเป็นหัวใจหนึ่งของการสร้างและใช้ฐานข้อมูล (Data) เพื่อแปลงให้เป็นสารสนเทศ (Information) เพื่อพัฒนาเป็นความรู้ (Knowledge) ต่อไป แต่เท่าที่ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้บริหาร CUP หลายๆ ที่พบปัญหาค่อนข้างเยอะ โดยเฉพาะในการทำรายงานที่เปลี่ยนแปลงไปตามนโยบาย อย่างไรก็ตามในฐานะคนทำงาน Primary care คนหนึ่ง เชื่อว่าการพัฒนาในด้านนี้จะดียิ่งขึ้น ยิ่งเห็นคนรุ่นใหม่อย่าง คุณอรุฎา เข้ามาทำงานในระบบยิ่งทำให้มีมีความหวังมากขึ้นครับ

ส่วน 9 องค์ประกอบหลักของ Primary care ที่ อ.นพ.ปูม ได้สรุปไว้ก็ได้ที่มาจากการแลกเปลี่ยนกับผู้บริหาร CUP จากหลายๆ ที่ ซึ่งแต่ละที่ก็แตกต่างกันออกไปตามบริบท ซึ่งคงยังต้องมีการแลกเปลี่ยนเพื่อให้ได้ข้อสรุปที่ชัดเจน สร้างตัวชี้วัดได้ นำไปสู่การพัฒนาที่เป็นรูปธรรมต่อไปครับ

ด้วยรัก 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท