ทำไมเด็กยุคใหม่ ไม่ค่อยใฝ่รู้ ใฝ่เรียน


ความสะดวกสบายมักจะเป็นปฏิภาคกลับกับการรักการเรียนรู้ - ชอบสู้ของยาก

    นานมาแล้ว  ผมได้ไปปลดปล่อยความเห็นไว้ใน บันทึกนี้ ของ ดร. แสวง รวยสูงเนิน เกี่ยวกับสาเหตุที่น่าจะทำให้ การเรียนการสอนในยุคปัจจุบันมีปัญหา  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง  เรื่องการไม่ใฝ่รู้ใฝ่เรียน ของคนรุ่นใหม่ ยกมาวางทั้งแผงเลย จะมีดังนี้ครับ

P
Handy
เมื่อ ศ. 09 มี.ค. 2550 @ 01:07 [187375] [ลบ]

ขอปลอมตัวเป็นนักศึกษามาตอบอีกคนครับ
    ทั้งหมดที่กล่าวถึงในบันทึกนี้คือข้อเท็จจริงที่มีให้เห็นอยู่ทั่วไปในปัจจุบันครับ
    ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ซึ่งนำความคล่องตัว  ความสะดวกสบายมาให้คน เป็นเครื่องทำลายโอกาสการเรียนรู้ไปด้วยพร้อมๆกัน 
  ความสะดวกสบายมักจะเป็นปฏิภาคกลับกับการรักการเรียนรู้ - ชอบสู้ของยาก
  เข้าทำนอง ยิ่งสะดวกสบาย ยิ่งขี้เกียจครับ

  สาเหตุอาจเป็นเพราะ ...

  • ถูกเลี้ยงดูแบบตามใจมาตั้งแต่เล็กๆ  อยากได้อะไรก็ได้มาง่ายๆโดยไม่ต้องออกแรง หรือใช้ความรู้ความคิดอะไร  เรียกว่า  ชอบและชินกับความง่ายๆ  จนเกิดเป็นของใหม่ประจำใจประจำกาย คือ ความมักง่าย กันทั้งบ้านทั้งเมือง 
  • ระบบการเรียนการสอนที่เน้นการท่องจำเนื้อหา ในปริมาณที่มากเกินจำเป็น โดยไม่นำพาต่อกระบวนการเรียนรู้ที่แท้จริงว่าคือการปฏิบัติ  และปฏิบัติด้วยใจรักศรัทธาต่อสิ่งที่เรียน  ด้วยเห็นคุณค่าชัดแจ้ง รู้อยู่ตลอดเวลาว่า เรียนไปทำไม
  • คนรุ่นใหม่โชคร้ายที่มีความสะดวกสบายเป็นเพื่อน  ต่างจากรุ่นเก่าๆเช่นเราคือผมและอาจารย์เป็นต้น  ที่มีความยากลำบาก ความขัดสน ความขาดแคลนเป็นเพื่อน จึงชอบคิดชอบหาคำตอบ ชอบการท้าทาย (ของงานนะ ครับไม่ใช่คน) เรา โชคดีที่เคยลำบาก 
  • การเรียนรู้ที่ผูเรียนไม่ได้ไม่ได้ผ่านสถานการณ์ที่เป็นความยากลำบาก จึงน่าเป็นห่วงเสมอ ว่า คนยิ่งเรียนจะยิ่งหยิบโหย่งและอ่อนแอ.
หมายเลขบันทึก: 118186เขียนเมื่อ 8 สิงหาคม 2007 22:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 12:03 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

มายกมือสนับสนุนเห็นด้วยกับทุกข้อข้างต้นค่ะ

เป็นกรรมของเด็กๆ ยุคใหม่นี้ค่ะ ที่สถานการณ์ไม่ส่งเสริมให้เป็นคนไฝ่รู้ไฝ่เรียน แถมมีตัวอย่างคนรวยด้วยวิธีผิตๆ ไร้จริยธรรม แต่ยังได้รับการเชิดชูในสังคมเป็นจำนวนมาก (รวยไว้ก่อน มีคนยกมือไหว้กราบกรานเสมอ)

บทเรียนที่เด็กๆ ได้คือ ถ้า optimize หาผลประโยชน์ให้ได้สูงสุด โดยไม่คำนึงถึงการกระทำหรือวิธีการที่ใช้ แล้วลงทุนไปน้อยที่สุด ถึงจะเรียกว่าเก่งหรือฉลาดเท่านั้น T_T

ความหวังก็คือ ยังมีเด็กที่ดีๆ อยู่บ้างค่ะในบรรดาเด็กรุ่นใหม่นี้..  มีซ่อนๆ หลบๆ มุมอยู่บ้าง ไม่ค่อยปรากฏตัวบ่อยนัก ไม่โดดเด่น แต่แค่รู้ว่ามีอยู่บ้างก็เป็นกำลังใจให้คนสอนแล้วค่ะ

  • กราบสวัสดีครับอาจารย์ Handy
  • ผมเห็นด้วยครับกับสิ่งที่อาจารย์ได้กล่าวมา
  • เด็กสมัยนี้ ไม่ค่อยเห็นคุณค่าของความยากลำบาก 
  • แม่ของผมบอกไว้เสมอว่า ความภูมิใจของคนเราไม่เท่ากัน ถึงแม้ว่าจะประสบความสำเร็จเหมือนกัน  คุณค่าและราคาของความทุ่มเท ความลำบาก และการต่อสู้จึงไม่เท่ากัน
  • ขอบคุณครับที่ได้ให้แง่คิดในมุมที่สะท้อนสังคม สะท้อนระบบการศึกษาแบบ นกแก้วนกขุนทอง และ ระบบ copy  and paste
  • 55555555
  • รักษาสุขภาพนะครับอาจารย์

 

สวัสดีครับอาจารย์

ถ้ามองแบบนักปรับปรุงพันธุ์พืชก็คงต้องอ้างสมการนี้ 

P (การแสดงออก) = G (พันธุกรรม)+E (สภาพแวดล้อม)

พันธุกรรม เพราะลูกไม่สามารถเลือกเกิดได้ (แต่ความเป็นจริงแล้วเลือกได้...ตามกฏแห่งกรรม ประเด็นนี้คงต้องยกเว้นไว้)

สภาพแวดล้อม มีผลอย่างมากครับที่จะทำให้คนคนหนึ่งมีพฤติกรรมใฝ่รู้ ที่อาจารย์กล่าวไว้...ใช่เลยครับ

แต่อย่างไรก็ตาม หลายครั้งผมพบว่า สภาพแวดล้อมไม่ดี เราก็สามารถรอดพ้น ไม่ถูกกลืนไปตามสภาพแวดล้อมนั้นๆ เพราะ ใจ ของเราเอง

ขอบพระคุณครับ

        เห็นด้วยทุกประการค่ะอาจารย์ Handy เพราะนักเรียนหลายๆ คน ไม่ชอบทำอะไรที่เป็นการค้นคว้าทดลอง หรือเรียนรู้อะไรที่ยากๆ  ของ่ายเข้าไว้ หรือทำแบบเสร็จไปที ไม่สนใจด้วยซ้ำว่าผลที่ตามมาจะเป็นอย่างไร

      พอชีวิตเจออุปสรรคก็โอดครวญ พ่อแม่ก็เออออ เลยยิ่งหนักเข้าไปใหญ่

      ทุกวันนี้ทำได้ก็แค่หยิบมือเดียว ได้แต่หวังว่าจะมีคนดีๆ พ่อแม่ดีๆ ครูดี เพื่อนดีๆ มาช่วยกันคนละไม้ละมือ รวมเป็นหนึ่งพลังอันยิ่งใหญ่ช่วยเด็กไทยบางคนให้รอดพ้นสิ่งร้าย ๆ

     ก็คงต้องทบทวนกันใหม่ทั้งระบบ ไม่ว่าจะเป็นครอบครัว โรงเรียน ชุมชน ไม่งั้นทุกข์ระทมไปอีกนานแสนนานค่ะ

    สวัสดีค่ะ

     

สวัสดีครับ อ.handy

          ผมว่ามีหลายส่วนที่เป็นสาเหตุของการทีเด็กยุคใหม่ไม่สนใจใฝ่รู้ใฝ่เรียนครับ

1. ครอบครัว
2. เวลา
3. สภาพแวดล้อม
4. ความสะดวกและความง่าย(Ref. อ.handy)
5. ปัจจัยอื่นๆอีกมากมาย

แต่ลูกชายผมอ่านดะ ไม่เลือก โชคดีจัง 

อาจารย์ Handy ที่เคารพ

  • ทุกวันนี้เหมือนเราคิดว่าเขามีทุกอย่างอยากรู้ก็เปิดอ่านเอา
  • บางวิชาเป็นวิชาปฏิบัติเขายังคิดแบบนี้เลย
  • เหนื่อย
  • ดังนั้นครูต้องหาวิธีการสอนให้มาก ๆ เห็นใจครูครับ
  • แต่ครูบางคนก็ทำให้เด็กเบื่อเรียนครับ

 

ผมคิดว่าเด็กสมัยนี้ได้รับการป้อน มากเกินความพอดี  บางครั้งป้อนจนถึงปากแล้วยังปัดทิ้ง  ซ้ำอาหารที่ป้อนนั้น อำนวยความสะดวกโดยการบดเคี้ยวอย่างละเอียดแล้วด้วย

เมื่อไม่ต้องทำอะไรที่ลำบาก จึงไม่ดิ้นรนที่จะใฝ่รู้ใฝ่เรียน

ผมว่า บางครั้งผู้ใหญ่คิดแทนเด็กมากไป เลยจัดสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ที่สำเร็จรูปมาป้อนอยู่ร่ำไป

แสดงความคิดเห็นกันไปหมดแล้ว หวังว่าคงจะไม่ช้าที่จะร่วมวงนะครับ

ผมเคยอ่านข้อเขียนของคุณ ศุ บุญเลี้ยง ซึ่งถือว่าเป็นคนรุ่นใกล้ๆ ผม และเป็นแบบอย่างของคนในรุ่นเดียวกันอยู่หลายเรื่องครับ ทั้งในเรื่องการใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัย และล่าสุดในเรื่องการทำธุรกิจ

เรื่องหนึ่งในหนังสือชื่อ "กบฏแกมกวน" ของคุณศุ จับใจผมมากครับ ถ้าจำไม่ผิด ชื่อบทความคือ "เรามียุคสมัยของตัวเอง" แต่คนต่างรุ่นชอบเอาความเจ๋งของรุ่นตัวเองไปเทียบกับรุ่นอื่นว่าไม่เจ๋ง ผมใช้คำว่าเจ๋ง เพราะผมรู้สึกอย่างนั้นจริงๆ ครับ

คนรุ่นผม (ประมาณ Gen X) นั้นล้วนได้ยินคำบ่นจากผู้ปกครองรุ่นก่อนมากมาย ไม่ว่าจะเรื่องซื้อของแพง ใช้เงินเยอะ เพื่อนบางคนเล่าให้ผมฟังว่าสาเหตุที่ถูกว่าใช้เงินเยอะ เพราะผู้ปกครองเขาบอกว่าสมัยก่อนก๋วยเตี๋ยวชามละสองสตางค์เอง เดี๋ยวนี้แพง

ผมมองว่ารุ่นนี้ น่าจะเทียบได้กับ Gen Y นั้น แสวงหาความรู้ต่างจากสมัยผมครับ ไม่ต้องโยงไปถึงรุ่นคุณพ่อคุณแม่ผมเลย เด็กเดี๋ยวนี้อยากรู้อะไรก็เข้า Google Youtube กัน แน่นอนครับ ถ้าเทียบกันกับรุ่นผม เรื่องแบบนี้ถือว่าเป็นความรู้ที่ฉาบฉวย แต่ผมก็เชื่อว่าพอเพียงกับรุ่นเขา ซึ่งต้องรู้กว้าง และเร็ว

อีกเรื่องที่ผมขอมองต่าง คือเรื่องความยากครับ ผมขอตีความคำว่ายากก่อนนะครับ สำหรับรุ่นผมแล้ว คำว่ายากนั้นเชื่อมโยงกับความไม่สนุก คือใช้เวลานานที่จะเข้าใจ เรียนเลขก็ต้องทำเยอะๆ เรียนสังคมก็ท่องเยอะๆ เคมี ชีวะ ใครเคยเรียนก็คงทราบนะครับ แบบนี้เรียกว่ายาก ซึ่งมีนัยของความไม่สนุกอยู่

เราเอาความยากมานำความสนุกของวิชาหรือเปล่าครับ? ผมถูกบังคับให้ทำอะไรหลายอย่าง แต่สุดท้ายก็ทุ่มเทให้กับวิชาที่ผมชอบ (ที่คนอื่นมองว่ายาก และลำบาก) ซึ่งผมก็ทำได้ดี เพราะรู้สึกสนุกกับมัน

แต่คนเราชอบความสนุกนะครับ เด็กรุ่นนี้โชคดีเพราะมีความสนุกให้เลือกมากมาย ถ้าไม่อยากสนใจการเรียนการสอน ที่ไม่สนุก ก็ไปเที่ยวผับ เล่นเกมคอมพิวเตอร์ หรือทำอะไรที่สนุก (และไม่ยาก) ได้ตามใจชอบ ถ้าผู้ปกครองไม่ควบคุม

เป็นไปได้ไหมครับ ที่เรามองว่าเด็กรุ่นใหม่ไม่ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน ในแบบที่เราเคยรู้เคยเรียน แต่ก็ยังเรียน ยังรู้ ในแบบที่เขาถนัด?

เป็นไปได้ไหมครับ ที่เราไม่เข้าใจวิธีที่เขาเรียนรู้ สร้างความรู้ ก็เลยคิดเอาว่าเขาไม่มีความรู้ เพราะไม่ใช่ตัวความรู้แบบที่เรามี?

ขอบคุณทุกท่านต่อทุกความเห็นครับ

  • อ. P ... ใช่ครับ มองหาความสำเร็จแม้เพียงส่วนน้อย  มาเสริมกำลังใจในการทำงาน เป็นทางออกที่ดีครับ  ยึดคติบัว ๔ เหล่ามาเตือนใจ เมื่อเมตตา กรุณา เต็มที่แล้ว ได้เท่าไรก็คงต้อง อุเบกขากันให้มากๆนะครับ
  • น้องชาย P ... ด้วยความยินดีครับ
  • คุณ P ... เข้าใจตามที่บอกครับ  แต่ว่า ใจ ของคนเรานั่นสิ  ทำอย่างไรให้เขาเป็นอย่างที่เราเป็นๆกัน คงต้องช่วยกันทุกฝ่ายนะครับ
  • อ. P ... ใช่ครับ รอช้าไม่ได้แล้ว ต้องรีบ ช่วยกันคนละไม้ละมือ  โดยด่วนแล้วล่ะครับ
  • น้องครู P ... ถูกต้องครับ  ผลที่ปรากฏ มาได้จากหลายเหตุ  ที่สำคัญคือเราต้องช่วยแก้กันที่เหตุนะครับ  ทีละน้อยก็ยังดี
  • คุณ P ... ครูคงต้องเหนื่อยอีกนานครับ .. แต่จะเหนื่อยน้อยลงถ้า กล้าหาญให้มากขึ้น ที่จะทำหน้าที่ด้วยเหตุผล  มากกว่าการยึดกรอบจนการเรียนรู้ อยู่ไกลจากธรรมชาติในชีวิตจริง
  • อ. P ... เห็นด้วยครับ .. ทั้งพ่อแม่ ครู และทุกคนที่เกี่ยวข้อง ควรช่วยกันระวังให้มากขึ้นนะครับ  ความจริงมี บันทึกเก่า ชิ้นหนึ่งที่ผมเขียนไว้นานแล้ว เรื่องทำนองนี้แหละครับ
  • อ. P ... ดีจังเลยครับ  ขอบคุณมากที่มีมุมมองที่เหมือน  ที่คล้าย  ที่ต่างกัน ทั้งหมดล้วนเป็นไปเพื่อความเข้าใจที่ชัดเจนต่อปรากฏการณ์ ที่เกิดขึ้น คิดกันให้เห็นเหตุ เห็นผล เพื่อจะได้มีทางออกที่ดี ที่เหมาะแก่การแก้ปัญหาอย่างฉลาดกันมากยิ่งขึ้นครับ
       คิดว่าน่าจะได้นำไปคุยต่อป็นอีกบันทึกหนึ่งได้
ลิขิต โทสวัสดิมงคล (บนดอยสูงสุพรรณบุรี)
อาจารย์ครับ ระบบการเรียนการสอนในปัจจุบันมักเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ โดยลืมรากเหง้าความเป็นไทย เราสอนเด็กโดยเน้นเนื้อหามากมายแต่ขาดการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมลงไปในใจเด็ก เด็กสมัยนี้จึงขาดวินัย  ขาดมารยาทไทย ขาดความขยัน ความอดทนในการเรียนและการดำเนินชีวิต ในที่สุดก็เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ขาดคุณธรรม จริยธรรม น่าจะแก้กันลำบากแล้วนะครับ

อาจารย์พินิจครับ

ผมลองคิด ลองเขียนต่อ เท่าที่พอจะคิดได้นะครับ ยังไงลองแลกเปลี่ยนกันนะครับ

http://gotoknow.org/blog/vasablog/118846
http://gotoknow.org/blog/vasablog/119139

ขอบพระคุณครับ 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท