ดร.อุทัย อันพิมพ์
ดร. อุทัย ดร.อุทัย อันพิมพ์ อันพิมพ์

ตะลุยสวนแบบ KM


การวางแผนการผลิตแบบใช้ KM เป็นเครื่องมือทำให้การทำงานมีความหวัง และน่าจะเห็นแนวทางแห่งความสำเร็จ

กว่าระยะเวลา 1 ปีเต็มที่ผมไม่ได้ย่างก้าวเข้าไปในสวนของตนเองเลย ถึงแม้จะมีระยะทางห่างจากบ้านเพียง 11 กิโลเมตร เท่านั้นเอง ครั้นเมื่อเจอกับพักพวกเพื่อนฝูงเพื่อนๆ ก็มักจะถามเสมอว่าเป็นไงบ้างที่สวนปลูกอะไรบ้างเนื่องจากเดิมทีเดียวผมเองไม่ค่อยห่างเหินจากสวนเท่าไหร่นัก ผมก็ได้แต่อั้มๆ อึ้งๆ ...และได้แต่ยิ้ม บ้างก็ตอบว่าทำเกษตรธรรมชาติ... เมื่อทุกคนที่ถามได้คำตอบแล้วก็คิดว่าน่าจะสบายใจ เพราะไม่ถามต่อ แต่แท้ที่จริงแล้วความลำบากใจ และความทุกข์มันกลับมาตกอยู่ที่ตัวผมเอง เพราะที่ตอบว่าทำเกษตรธรรมชาติของผมนั้นหมายความว่า ไม่ได้จัดการอะไรเลย ปล่อยทิ้งเอาไว้ อะไรอยากจะเกิดก็ปล่อยให้มันเกิดไป...ความที่ไม่ได้เอาใจใส่ และการตอบแบบไม่ได้ไปดูของจริงมาตอบจึงเกิดภาวะที่เป็นทุกข์ 

        สภาพสวนที่ถูกทิ้งมานาน                

หลังจากที่ต้องมาเรียนและจัดการความรู้แบบธรรมชาติ (KM ธรรมชาติ) จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมารื้อฟื้น บูรณะสวนใหม่ เพื่อจะได้เป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ ตลอดทั้งเป็นการทดสอบทฤษฏี ที่เราต้องการจะทดสอบ และศึกษาความถูกต้องของข้อมูลอันจะนำไปสู่การเรียนรู้ที่ถูกต้อง และมีความเหมาะสมทั้งต่อบริบท และวิธีการอันจะนำไปสู่การพัฒนาที่จะส่งผลถึงความยั่งยืนในอาชีพ

เริ่มเห็นร่องรอยของ KM

 

จะเริ่มต้นอย่างไรดี?...จึงเป็นโจทย์ใหญ่ที่สำคัญ...ทำให้ผมต้องครุ่นคิดอยู่นานเนื่องจากที่ดินเราก็รก แถมยังไม่มีทั้งไฟฟ้า และระบบน้ำอีกต่างหาก จึงทำให้ผมต้องมานั่งคิด นอนคิดอยู่หลายตลบ...ครั้นเมื่อแนวความคิดเริ่มตกผลึกพร้อมๆ กับการใช้ KM เข้ามาช่วยในการวิเคราะห์ จึงตัดสินใจในการที่จะศึกษาในพื้นที่ 1 ไร่ ตามแนวทางการจัดการความรู้เกษตรกรรมประณีต 1 ไร่ ของเครือข่ายปราชญ์ชาวบ้าน

  เกษตรประณีต 1 ไร่ เป็นพื้นที่แห่งการเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเอง ทรัพยากร วิชาการ นโยบาย และแผนการพัฒนาที่ถูกต้อง ดังนั้นผมจึงเริ่มต้นที่ 1 ไร่ก่อน แล้วค่อยๆ จัดการความรู้ของตนเองที่มีอยู่ว่าจะปลูกอะไรดี หลังจากนั้นจึงได้แนวคิดว่าเราจะต้องออมต้นไม้ใหญ่เพื่อสร้างระบบนิเวศน์ให้กลับมา จึงตัดสินใจปลูกต้นยางนา ซึ่งเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดอุบลราชธานี อีกทั้งเป็นต้นไม้ที่โตเร็ว แถมยังเป็นพืชอาศัยของเชื้อราเห็ดระโงกอีกด้วย ดังนั้นเมื่อปลูกต้นยางนาแล้วคงได้มีต้นไม้ร่มเงาที่ร่มรื่น แถมยังได้กินเห็ดอีกต่างหาก จึงตัดสินใจปลูกแบบ KM จำนวน 80 ต้น 

รวมพลังคนในครอบครัวมาช่วยกันปลูก

กล้วย เป็นพืชพี่เลี้ยงที่น่าปลูกเช่นกันเพราะสามารถเก็บความชื้นได้ดี แต่ไม่รู้ว่ากล้วยชนิดไหนดีจึงทดลองปลูกไป 6 ชนิด ประกอบด้วยกล้วยน้ำหว้าขาว น้ำหว้าเขียว กล้วยส้ม กล้วยหอม กล้วยไข่กำแพงเพชร และกล้วยไข่พม่า  นอกจากนั้นก็คิดว่าใบกล้วยเป็นวัสดุในการห่อหมูยอที่ชาวอุบลผลิตอย่างเป็นล่ำเป็นสันมานาน น่าจะนำใบไปใช้ประโยชน์ได้อย่างดี

 

พืชผักสวนครัว หัวใจของความพอเพียง... เนื่องจากพืชผักสวนครัวเป็นสิ่งที่เราใช้ประกอบอาหารเป็นหลักดังนั้นจะขาดเสียไม่ได้ จึงต้องปลูกผักหวานบ้าน ชะโอม ตำลึง ผักบุ้ง ถั่ว หอม แมงลัก โหระพา กระเพรา เป็นต้น และตอนนี้กำลังเริ่มงอกครับ

 

ตระกูลมะ เป็นพืชหลักที่กำลังวางแผนการปลูกโดยเฉพาะไม้ผลเนื่องจากเราต้องกินในครัวเรือน ได้แก่ มะม่วง มะนาว (มีอยู่แล้ว) มะเฟือง มะไฟ มะกรูด มะพร้าว และกลุ่มส้มโอ ลำไย เกาลัด ลิ้นจี่ ชมพู่ เป็นต้น นอกจากที่เราจะใช้ในการบริโภคแล้วก็จะได้เป็นการศึกษา และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วย

 

คลุมเพื่อรักษาความชื้น และกันวัชพืช

อย่างไรก็ตามในกระบวนการทำเกษตรประณีต 1 ไร่ในครั้งนี้เป็นกระบวนการทำสวนที่ใช้ KM ตลอดเวลา เพื่อเราจะได้เรียนรู้ถึงความสัมพันธ์ของกิจกรรมที่เราทำ การเอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกันซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการทำ KM แต่อย่างไรก็ตามกระบวนการเรียนรู้คงไม่มีวันจบ เพียงแต่ว่าเราจะจัดการวันนี้ให้ดีที่สุดได้อย่างไร

 ขอบคุณครับ                   

อุทัย   อันพิมพ์

1 สิงหาคม 2550

 

หมายเลขบันทึก: 116219เขียนเมื่อ 1 สิงหาคม 2007 23:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

สวัสดีครับ อ.อุทัย

น่าสนใจมากนะครับผม แล้วจะเข้ามาเรียนรู้บ่อยๆ ครับ พ่อผมบอกว่าปลูกกล้วยในสวนยาง บริเวณที่มีกล้วยอยู่ต้นอยากจะงอกงามกว่า หมายถึงปลูกกล้วยระหว่างแถวยางนะครับ

นับว่าสวนของอาจารย์ จะเป็นสวนสมรมต่อไปครับ และจะเป็นแนวทางการสร้างระบบนิเวศน์ที่ดีครับ

ขอเป็นกำลังใจครับ

สวัสดีค่ะ อาจารย์อุทัย ที่คิดถึง

  • ครูอ้อยมาเยี่ยมเยียนด้วยความคิดถึง และมีข่าวดีค่ะ 

ขอบคุณค่ะ

  • ไม่เรียน ไม่รู้
  • ไม่ดู ไม่เห็น
  • ไม่ทำ ไม่เป็น

อย่าลืม ๓ ครู ใช้ให้สมดุลย์ ตามจังหวะและความจำเป็น แล้วทุกอย่างจะตามมาเอง

ทำไป คิดไป ปรับไป (ตาม ๓ ครุ) คือหัวใจ KM

วางอัตตา และทฤษฎีเก่าๆ ไว้ก่อน

มาสร้างทฤษฎีใหม่หาทางออกกันดีกว่า

  • สวัสดีครับ อ.อุทัย
  • แวะมาเยี่ยมเยียนครับ
  • เสียดายที่ไม่ได้เจออาจารย์ที่สวนป่าครูบานะครับ
  • ขอบพระคุณมากครับที่บันทึกมาแลกเปลี่ยน

 

  • สวัสดีครับ อ. อุทัย
  • แวะมาเยี่ยมให้กำลังใจครับ
  • อย่าลืม 4 ออม  คือ ออมน้ำ ออมดิน ออมต้นไม้ และ ออมสัตว์ ตามแนวเกษตรประณีต 1 ไร่ นะครับ

คุณต้องเปลี่ยนระบบคิดด้วย ว่าจะเริ่มมองเห็นคุณค่าในสิ่งที่ตัวเองมี แล้วจะพัฒนาได้เร็ว ต้องใช้ตัวเองเป็นฐานคิด

เช่น แทนที่จะพูดว่า "รก" ควรมองว่า "อุดมสมบูรณ์" ไปด้วยอะไร

ถ้าระบบคิดไม่เปลี่ยน พัฒนายากครับ

คุณต้องเปลี่ยนระบบคิดด้วย ว่าจะเริ่มมองเห็นคุณค่าในสิ่งที่ตัวเองมี แล้วจะพัฒนาได้เร็ว ต้องใช้ตัวเองเป็นฐานคิด

เช่น แทนที่จะพูดว่า "รก" ควรมองว่า "อุดมสมบูรณ์" ไปด้วยอะไร

ถ้าระบบคิดไม่เปลี่ยน พัฒนายากครับ

  • ขอบอบพระคุณทุกๆ ท่านเป็นอย่างสูงครับที่เข้ามาให้กำลังใจ
  • สำหรับในกระบวนการคิด และมองสภาพที่เห็นก็อาจจะแตกต่างกันไปตามวัตถุประสงค์ของการใช้ประโยชน์ของพื้นที่ และบริบทที่เกี่ยวข้องครับ
  • แต่อย่างไรก็ตามในโอกาสต่อไปผมจะพยายามมองให้รอบด้านมากยิ่งขึ้นครับ

ด้วยความเคารพ

อุทัย   อันพิมพ์

 

สนใจทุกบันทึกของอาจารย์ครับ

มีประโยชน์มาก

ขอบคุณมากครับ

สนใจทุกบันทึกของอาจารย์ครับ

มีประโยชน์มาก

ขอบคุณมากครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท