สิทธิรักษ์
สิทธิรักษ์ รักษ์สิทธิธรรม รักษ์สิทธิธรรม

เชียงแสน สามเหลี่ยมทองคำ แม่น้ำโขง รักษ์เชียงแสน


รักษ์เชียงแสน แม่น้ำโขง สายน้ำแห่งชีวิต

กลุ่มรักษ์เชียงแสน : อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม วิถีชีวิต สิ่งแวดล้อม  กลุ่มรักษ์เชียงแสน : อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม วิถีชีวิต สิ่งแวดล้อม กลุ่มรักษ์เชียงแสน : อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม วิถีชีวิต สิ่งแวดล้อม

คำขวัญอ.เชียงแสน

  ******** ถิ่นอมตะ  พระเชียงแสน  แดนสามเหลี่ยม  เยี่ยมน้ำโขง   จรรโลงศิลปะ  ********

ขอเชิญติดตามรับฟัง รายการวิทยุ “รักษ์เชียงแสน
ทางสถานีวิทยุชุมชนอำเภอเชียงแสน .F.M. 106.25 MHz.  ทุกวันจันทร์ ศุกร์  เวลา 17.00 18.00น.
นานาสาระเพื่อเสริมสร้างความเข้าใจและความร่วมมือในการพัฒนาเมืองประวัติศาสตร์เชียงแสน
รับฟังและร่วมอนุรักษ์เพลงคำเมือง    ตำนานเพลงเพื่อชีวิต   ดำเนินรายการโดยทีมงาน ดินกี่เก่า

 

มีหลายๆท่านที่สนใจ อ.เชียงแสน สามเหลี่ยมทองคำ  ซึ่งต่อไปจะได้นำเสนอต่อไป โดยได้รับความเอื้อเฟื้อและคำอนุญาติจาก ท่าน อ.มิติ ยาประสิทธิ  และทีมงานรักษ์เชียงแสน 

เวบไซด์นี้เป็นเวบของกลุ่มรักษ์เชียงแสนhttp://www.thaitopsites.com/themiti/

อำเภอเชียงแสน เป็นอำเภอชั้น 1 ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขง ระหว่างเส้นรุ้งที่ 20 องศา 4 ลิปดาเหนือ ถึงเส้นรุ้งที่ 20 องศา 18 ลิปดาเหนือ และเส้นแวงที่ 99 องศา 57 ลิปดาตะวันออก ถึง เส้นแวงที่ 100 องศา 19 ลิปดาตะวันออกโดยอยู่ห่างจากจังหวัดเชียงราย ไปทางทิศตะวันออก ประมาณ 62 กิโลเมตรตามเส้นทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 110 เชื่อมต่อกับทางหลวงจังหวัด หมายเลข 1016 มีพื้นที่ทั้งสิ้น 442 ตารางกิโลเมตร หรือ 276,250 ไร่
มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่ใกล้เคียง ดังนี้
ติดต่อชายแดนระหว่างประเทศ กับ สหภาพพม่า ระยะทาง 17 กิโลเมตร และ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ระยะทาง 40 กม.
- ทิศเหนือ ติดกับจังหวัดท่าขี้เหล็ก รัฐฉาน สหภาพพม่า มีลำน้ำรวกเป็นเส้นกั้น พรมแดน และเมืองต้นผึ้ง แขวงบ่อแก้ว (หลวงน้ำทา) สาธารณรัฐ ประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยมีแม่น้ำโขงเป็นเส้นกั้นพรมแดน
- ทิศตะวันออก ติดกับอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย
- ทิศใต้ ติดกับอำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย
- ทิศตะวันตก ติดกับอำเภอแม่จัน และอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย

ชนกลุ่มน้อย จำนวนประมาณ 5,430 คน มีชนกลุ่มน้อยอาศัยอยู่กระจัดกระจายในพื้นที่อำเภอเชียงแสน ดังนี้
- เผ่าอีก้อ อยู่ที่ดอยสะโง้ว หมู่ที่ 7 ตำบลศรีดอนมูล จำนวน 545 คน
- เผ่าเย้า อยู่ที่ดอยผาเดื่อ บ้านป่าไร่หลวง หมู่ที่ 4 และบ้านห้วยกว๊าน
หมู่ที่ 9 ตำบลบ้านแซว จำนวน 1,412 คน
- เผ่าม้ง(แม้ว) อยู่ที่บ้านขุนน้ำคำ หมู่ที่ 7 ตำบลแม่เงิน จำนวน 386 คน
- อดีตทหารจีนคณะชาติ ได้แก่ ทหารจีนคณะชาติในเขตมณฑลยูนาน ซึ่งถูกจีนคอมมิวนิสต์ ผืนแผ่นดินใหญ่กวาดล้าง ได้ถอยร่นหนีผ่านรัฐฉาน
ของพม่าเข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศไทย สำหรับในพื้นที่อำเภอ เชียงแสน อยู่ที่บ้านแม่แอบ หมู่ที่ 11 ตำบลบ้านแซว จำนวน 849 คน
- ผู้พลัดถิ่นสัญชาติพม่า ได้แก่ บุคคลพม่าเชื้อสายไทยใหญ่ซึ่งอพยพหลบหนีการ เปลี่ยนแปลงการปกครอง ในสหภาพพม่าเข้ามาอยู่ในจังหวัด
ชายแดนภาคเหนือของประเทศไทย ก่อนวันที่ 9 มีนาคม 2519 ในพื้นที่อำเภอเชียงแสน อาศัยอยู่ในเขตตำบลเวียง ซึ่งได้
จัดทำทะเบียนและบัตรประจำตัวอยู่ในความควบคุมของอำเภอ จำนวน 682 คน
- ผู้หลบหนีเข้าเมืองจากพม่า ได้แก่ ผู้หลบหนีเข้าเมืองจากพม่า ที่เข้ามาหลัง 9 มีนาคม 2519 ได้จัดทำทะเบียนประวัติ และบัตรประจำตัว อยู่ในความ
ควบคุม ของอำเภอ จำนวน 328 คน
- ไทยลื้อ ได้แก่ คนเชื้อสายไทยในแคว้นสิบสองจุไทย / สิบสองปันนา มณฑลยูนานประเทศจีนอพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทยประมาณ
300 ปี มาแล้ว ได้จัดทำทะเบียนประวัติ และบัตรประจำตัว อยู่ในความควบคุมของอำเภอ จำนวน 1,228 คน
ผู้ใช้แรงงานจากต่างด้าว ได้แก่ บุคคลสัญชาติพม่าและลาว ที่หลบหนีเข้ามาใช้แรงงานในประเทศไทย ส่วนมากจะเข้ามาอาศัยอยู่กับนายจ้างซึ่งถือ
เป็นผู้หลบหนีเข้าเมืองแต่ทางรัฐบาลมีนโยบายผ่อนผันในกรณี ที่หาคนไทยมารับจ้างไม่ได้ เฉพาะกรณีที่ได้รับการจัดทำ บัตรอนุญาต
(ข้อมูลจาก สำนักงานวัฒนธรรม จังหวัดเชียงราย)



ความเห็น (220)
  • หวัดดีครับคุณ สิทธิรักษ์
  • ผมไปมาครั้งล่าสุดเมื่อ ปี 47 ครับ

สวัสดีครับ

P

เมืองเชียงแสนมีประวัติศาสตร์ยาวนาน เป็นตำนานครับ  ผมคงจะได้เล่าสู่กันต่อไป โดยต้องให้ท่านผู้รู้ทั้งหลายช่วยเหลือครับ  โดยเฉพาะ อ.มิติ ครับ

สวัสดีครับพี่เหลียง 

ให้กำลังใจท่าน อ.มิติ และกลุ่มรักษ์เชียงแสนครับ มีโอกาสอยากไปร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ที่ร้านซูการ์ ซูการ์ ดีมั้ยครับ :) เอาแบบแดดร่มลมตก บรรยากาศดีๆ

สวัสดีครับน้องเอกที่แสนดี

P

เชิญครับ มาดื่มเบียร์เย็นๆ เสียงเพลง ยุค 60 เบาๆ  ถกประวัติศาสตร์ แหล่งท่องเที่ยวสวยๆ

สามเหลี่ยมฯงามแท้ตอนย่ำค่ำ

ข้อมูลเพิ่มเติมจาก   http://www.thaitopsites.com/themiti/index.html


สองล้นเกล้าเสด็จเยือนเชียงแสน
      พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระบรมราชินีนาถ เสด็จเยือนเมืองเชียงแสน เมื่อปี 2501 โดยมีข้าราชการอำเภอเชียงแสนถวายการต้อนรับ  ในภาพนายผล  บุญรัตนานันท์ (คนแรกซ้ายมือ)สมุหบัญชีอำเภอเชียงแสนกล่าวถวายรายงาน
เอื้อเฟื้อภาพโดย ชมรมภาพเก่าเมืองเชียงแสน
   

ซุ้มประตู นักท่องเที่ยวชอบถ่ายรูปเป็นที่ระลึก

Img0195a
ดาวน์โหลด

ริมตลิ่งปากน้ำรวกเชื่อมต่อแม่น้ำโขง สามเหลี่ยมทองคำ  http://gotoknow.org/file/dol3377/view/97743

มุมสามเหลี่ยมด้านติดชายแดนพม่า มีแม่น้ำรวกกั้น  http://gotoknow.org/file/dol3377/view/97740

สวัสดีค่ะ

  • ไปเชียงแสนแต่ก้อ....ได้แค่ภาพตรงซุ้มประตู  แค่นั้นเอง  เพิ่งมาเห็นมุมอื่นๆ ในเชียงแสน  สวยจังค่ะ
  • หวังว่าคราวหน้าคงไม่ไปแค่ถ่ายรูปที่ซุ้มประตูแล้วล่ะค่ะ
  • ชอบคำนี้จังเลยค่ะ  กึ๋นดีจัง  "คือฅน คือครู
    คือศิลปิน คือรักษ์เชียงแสน
    "  เข้าใจคิดคำจังเลยนะคะ

 

สวัสดีครับ

P

เชียงแสนยังมีอะไรต่ออะไรเยอะครับ จะทยอยลงให้ครับ   ขอบคุณที่มาเยี่ยมเยียนครับ

 

อรุณสวัสดิ์ค่ะ คุณหมีแพนด้า

กำลังปวดหัวกับทฤษฎีเจ๊าส ของคุณเม้ง

 พอมาเห็นภาพคุณหมี แล้ว ว้าว หายปวดหัวเป็นปลิดทิ้ง

ค่อยยังชั่วหนอย .... ขออนุญาตินำไว้ในกรุ นะคะ

 

 

 

สวัสดีครับ น้องปู
P
poo
ได้ครับน้องปู  อันไหนที่ไม่ได้จะบอกไว้ครับ 
น้องปูคงหายปวดหัวนะครับ
  • สวัสดีค่ะ คุณพี่...
  • ยุ่งมากเลยค่ะช่วงนี้
  • แต่ก็แวะมาชมความงามของสามเหลี่ยมทองคำ
  • เมื่อสองปีที่แล้ว มาดูงานเลยแวะมาทานข้าวค่ะ
  • ไม่ได้แวะเที่ยวเลย  เพราะทีมอาจารย์ที่สาขาไม่ค่อยชอบเที่ยวแบบนี้  เสียดายมากเลย..

สวัสดีครับ อ.ลูกหว้า

P

ไม่ได้เจอหน้าตั้งนาน สบายดีนะครับ  คงจะหลัง วันที่ 19  ว่างนะครับ 

คิดถึงเสมอ

อยากเห็นภาพเชียงแสนในอดีตอีกค่ะ

ป๋าแพนดี้ที่นับถือ ผมมีภาพเกี่ยวกับเชียงแสนเยอะมาก ตั้งแต่ปี ๒๔๗๗ - ปัจจุบัน ไม่ต้องบวก ลบปีพ.ศ.นะครับ เพราะไม่ใช่อายุของผมแน่นอน ผมยังเอาะอยู่เลย ป๋าว่าผมควรทำอย่างไรกับภาพเหล่านี้ดีครับ (ยั่วให้น้ำลายป๋าแพนดี้ใหล)

สวัสดีครับ ท่านมันแกว สามแผ่นดิน

ท่านเห็นไหมว่ามีคนสนใจ ภาพในอดีต       ท่านผู้รู้อย่างท่าน คงไม่ใจจืดใจดำที่จะเก็บไว้เชยชมคนเดียวแน่  ผมจะรอครับ รอความเมตตากรุณาเห็นใจจากท่าน  

(อย่ายั่วมากนะจะบอกให้  เดี๋ยวจะกลายกลายเป็นมันแกวสามแยกนะครับ  อิ อิ)

แวะมาเที่ยวเชียงแสนด้วยคนคะ...ภาพสวยมากคะรีบไปหาของตัวเองเหมือนกันแต่หาไม่เจอ...มีรูปประมาณล้านเจ็ดได้(กะว่าจะมาอวดเลยไม่ได้อวดอิๆ)คนส่วนใหญ่มุ่งไปแม่สายเลย แต่ตัวเองชอบลัดเลาะไปตามทางสายเล็กๆ...ชอบเมืองนี้เหมือนกันคะ...
สวัสดีครับ
P
แวะมาเที่ยว  ............ขอบคุณมากครับ  แสดงว่าเป็นคนชอบแวะ   
คุณมีล้าน เจ็ด   ก็ไม่ถึงสองล้านอยู่ดี  ห้าๆๆๆๆ
อ้อ  ...แล้วก็ชอบลัดเลาะอีก  แหะๆ   ระวังเน้อ.......!!!

สวัสดีเจ้า ยินดีต้อนรับสู้เว็บของกลุ่มรักษ์เชียงเสน เจ้า
(ภาพจากกิจกรรมแห่เทียนพรรษาเวียงเชียงแสน) 

http://www.thaitopsites.com/themiti/index.html

เชียงแสนน่าสนใจมากครับ สาวน้อยคนนี้ ลูกสาวใครครับ น่ารักจังเลย จะคอยติดตามดูรูปสวยๆอีก ให้กำลังใจคนดูแลเว็บด้วยครับ

 

สวัสดีครับ น้องต้น

เรื่องราวเชียงแสนคงจะต้องดำเนินต่อไปครับ จะมีรูปสวยๆให้ดูอีกครับ

IMG0381A.jpg

ร้านค้า หน้าท่าน้ำสามเหลี่ยมทองคำ

เด็ก ชนเผ่า อาข่า  บริเวณท่าน้ำสามเหลี่ยมทองคำ
คนงานขนถ่ายสินค้า ท่าเรือเชียงแสน
สื่อชุมชน  รักษ์เชียงแสน  ฉบับที่ สอง
ภาพน้ำท่วมใหญ่อำเภอเชียงแสน แม่น้ำโขงไหลบ่าท่วมเมืองเชียงแสน ในปี 2509 ราวเดือนสิงหาคม  ระดับน้ำสูงเกือบ 3 เมตร (ชั้นที่2ของอาคาร) ปีนี้ครบรอบ 41 ปีพอดี เท่าอายุใครบ้างครับ ผมเกิดไม่ทัน อิอิ

สวัสดีครับ ท่านมันแกว3มิติ

ขอบคุณมากครับ ที่บรรณาธิการ รักษ์เชียงแสน มาเยี่ยมเยียน  แสดงถึงความมุ่งมั่น สนใจ และร่วมผลักดัน  ผมยินดีมากครับ เป็นไปได้จะใช้ความสามารถอันน้อยนิดของผมทำให้เชียงแสนเป็นที่ที่ผู้คนให้ความสนใจ และใช้เวลาในการศึกษาและพัฒนาปรับปรุงดินแดนประวัติศาสตร์แห่งนี้ ให้คงความเป็นสถานที่สำคัญต่อไป     ขอบคุณมากครับ

พิธีแห่เทียนเข้าพรรษา อ.เชียงแสน
ตุง หน้าองค์พระสามเหลี่ยมทองคำ
หลวงพ่อเชียงแสนสิงห์หนึ่ง ซึ่งมีสภาพทรุดโทรมมาก  ตั้งอยู่บริเวณวัดภูเข้า หรือ ปูเข้า   สามเหลี่ยมทองคำ

สวัสดีครับพี่เหลียง

เป็นกำลังใจให้ชาวเชียงแสนนะครับ

สวัสดีเจ้า ยินดีต้อนรับสู้เว็บของกลุ่มรักษ์เชียงเสน เจ้า

เป็นกำลังใจให้คนทำงานเพื่อชุมชน สร้างภูมิคุ้มกัน สร้างสรรค์ชุมชนพึ่งตนเองครับ

ชื่นชมในการทำงานนะครับ 

 

เรือบรรทุกสินค้าลาวที่จอดริมแม่น้ำโขง บริเวณท่าเรือเชียงแสน

เรือสินค้าจีนจอดขึ้นสินค้า ณ ท่าเรือเชียงแสน
เรือสินค้าจีนจอดขึ้นสินค้า ณ ท่าเรือเชียงแสน
อาคารที่ทำการท่าเรือ  ท่าเรือเชียงแสน
ที่ทำการศุลกากร ด่านท่าเรือเชียงแสน

http://www.newspnn.com/detail.php?dataid=4863&code=o6_24072007_01&mode=th


‘เขื่อนแม่น้ำโขง’ การยึดครองของผลประโยชน์เบ็ดเสร็จของจีน

24 กรกฎาคม 2550
เรื่องโดย : เขียนโดย มติพงษ์ ยาประสิทธิ์ (เยาวชนจากกลุ่มรักษ์เชียงแสน)

แม่น้ำโขงถือเป็นหัวใจและวิญญาณของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประชาชนอีกกว่าล้านคนต้องพึ่งพาแม่น้ำโขงและแม่น้ำสายนี้ ทั้งในด้านอาหาร ด้านการคมนาคม และด้านต่างๆ ในชีวิตประจำวัน

แม่น้ำโขงมีความหลากหลายของชนิดพันธุ์ปลามากเป็นอันดับ 3 ของโลก มีจำนวนปลาที่สำรวจพบ 1,245 ชนิด มีพื้นที่ชุ่มน้ำ 795,000 ตารางกิโลเมตร ระบบนิเวศที่ซับซ้อน และวิถีชีวิตของคนหลายล้านคนซึ่งต้องพึ่งพาอยู่กับน้ำนี้กำลังถูกคุมคาม โดยการสร้างเขื่อนจำนวน 8 เขื่อน ในแม่น้ำโขงตอนบนซึ่งอยู่ในจังหวัดยูนานของประเทศจีน

เนื่องจากจีนไม่ได้เป็นสมาชิกภาคีแม่น้ำโขง ซึ่งมีไทย พม่า ลาว เวียดนาม และกัมพูชา หรือเรียกอีกอย่างว่า กลุ่มอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (GMS) จึงไม่สามารถกดดัน ไม่ให้จีนสร้างเขื่อนได้ และจีนยังเข้ามามีอิทธิพล กุมอำนาจ ต่อรองในการเปิด-ปิดเขื่อนในฤดูแล้งและฤดูน้ำหลากอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม แผนการสร้างเขื่อนบนแม่น้ำลานซาง (แม่น้ำโขง) ในประเทศจีนเป็นรูปธรรมแล้ว ในขณะนี้ 8 เขื่อน สร้างเสร็จแล้วสองเขื่อน คือ เขื่อนม่านวาน เสร็จเมื่อปี 2531และเขื่อนต้าเฉาซาน เสร็จเมื่อปี 2549 ขณะนี้กำลังสร้างเขื่อนเซียวหวานที่จะมีความสูงถึง 300 เมตรหรือเท่ากับตึกระฟ้า 100 ชั้น และอีก 4 เขื่อนคือ เขื่อนนัวจาตู้ เขื่อนกงกว่อเนียว เขื่อนกันลันปา และเขื่อนชาเมงซอง

อีกด้านหนึ่งคือต้องยอมรับในเรื่องกระแสต่อต้านขององค์กรต่างๆ ที่มองผลกระทบด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากผลกระทบจากการสร้างเขื่อนจีน เช่น การเปลี่ยนแปลงต่อน้ำขึ้นน้ำลงของน้ำในแม่น้ำโขง และตะกอนในลุ่มแม่น้ำโขงส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ และการขยายพันธุ์ของสัตว์น้ำ เพราะวงจรอาหารตามธรรมชาติถูกตัดขาด ซึ่งแม่น้ำลานซางได้ให้ธาตุอาหารแก่แม่น้ำโขงกว่าครึ่งถูกกักไว้ในเขื่อน เหตุการณ์นี้นอกจากจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อการประมงโดยตรงแล้ว ยังส่งผลต่อเกษตรกรรมริมฝั่งโขงด้วย

ประการที่สอง การผังทลายของตลิ่งแม่น้ำโขง การกัดเซาะพังทลายของชายฝั่งแม่น้ำโขงเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเป็นปกติทุกปี แต่ในช่วงปีที่ผ่านมา ตลิ่งแม่น้ำโขงผังทลายอย่างรวดเร็วและรุนแรง ซึ่งอาจจะมีเหตุผลหลายประการ อาทิ การสร้างท่าเทียบเรือทำให้กระแสน้ำเปลี่ยนทิศ การเปิดให้มีการเดินเรือขนาดใหญ่ การระเบิดแก่งหิน และสันดอนทรายเป็นต้น ทั้งนี้การต่อสู้ การต่อต้านก็ต้องเดินต่อไป แต่สุดท้ายแล้วก็ไม่สามารถจะห้ามจีนได้เลย เพราะจีนไม่สน NGO ในระดับใดอยู่แล้ว

จากการลงพื้นที่ ส่วนมากคนในอำเภอเชียงแสน ที่มีความผูกพันและใช้ชีวิตประจำวันอยู่กับแม่น้ำโขง ได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อน ระเบิดแก่งหิน และการเปิดให้มีการเดินเรือขนาดใหญ่ ลุงจู คนขับเรือในแม่น้ำโขง เล่าว่า จากการระเบิดแก่งและสร้างเขื่อนในประเทศจีน ทำให้น้ำไหลแรง ร่องน้ำจึงแปลง จะทำให้มีดินตะกอนสะสมที่หลังจุดกลับตัวของเรือขนส่งสินค้า เนื่องจากใบพัดได้ทำการตะกุยเอาเศษดินตะกอนที่อยู่ใต้น้ำ ไปสะสมกันในจุดนั้น ทำให้แม่น้ำโขงจุดที่หลังท่าเรือเชียงแสน น้ำตื้นขึ้น และเนื่องจากการระเบิดแก่งก็ทำให้การเดินทางของสินค้าง่าย จึงทำให้มีเที่ยวเรือขนสินค้ามากขึ้น ก็จะเกิดการทับถมของตะกอนมากขึ้นตาม

และอีกหนึ่งคนที่สังเกตเห็น และค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับการสร้างเขื่อนและการระเบิดแก่ง คือ นายรามเรก บวกขม ได้ให้ข้อมูลกับเราว่า การเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดก็คือการเกิดดอนทรายมากขึ้นกว่าเดิม และการกัดเซาะตลิ่งที่มากขึ้น ผลกระทบในด้านสิ่งแวดล้อมที่เห็นได้ชัด ก็คือจำนวนปลาที่ลดลงมากจากเมื่อก่อน และผลจากที่เรือจีนมีขนาดใหญ่ ขณะที่แล่นผ่านเรือประมงขนาดเล็กของไทย ทำให้เกิดคลื่นไปตีเรือเล็ก บางรายก็โชคดี บางรายก็ตกน้ำ เนื่องจากคลื่นที่พัดเข้ามานั้นแรงมาก แต่ผลกระทบในด้านการท่องเที่ยวนั้นไม่มีผล เพราะคนที่มาเที่ยวส่วนใหญ่ มีแต่มาดูน้ำโขง เมื่อรู้ว่าเป็นน้ำโขงก็พอใจแล้ว

จากข้อมูลที่ได้มาก็ได้ทราบว่าผลกระทบที่เกิดขึ้นโดยตรงกับคนเชียงแสนก็คือ น้ำโขงในช่วงหลังท่าเรือเชียงแสนจะตื้นขึ้น และเนื่องจากการระเบิดแก่งทำให้ระบบนิเวศเสียสมดุล จำนวนปลาที่อยู่ในแม่น้ำลดลงอย่างเห็นได้ชัด และปัญหาน้ำแรงกว่าเดิมทำให้การกัดเซาะตลิ่งมากขึ้น ทำให้ตะกอนดินก็มากขึ้นตาม และโบราณสถานที่อยู่ริมน้ำโขงก็มีโอกาสที่ถูกน้ำกัดเซาะได้เช่นกัน

กรณีเขื่อนจีนในแม่น้ำโขงเป็นกรณีที่มีความละเอียดอ่อน มีหลายมิติเข้ามาเกี่ยวข้อง หลากหลายในกลุ่มแต่ละชุมชนถึงบริษัทข้ามชาติ รัฐบาลของประเทศตลอดจนประเทศมหาอำนาจต่างๆ ที่พยายามจะเข้ามาถ่วงดุจอำนาจ

ดังนั้นรัฐบาลไทยควรให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มากขึ้นด้วยจุดยืนที่ชัดเจน ในการรักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติเป็นอันดับแรก และควรสนับสนุนส่งเสริมในเวทีการเจรจาในระดับทวิภาคีหรือกรอบความร่วมมือต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับแม่น้ำโขงให้มีกลไกไกล่เกลี่ย หรือสร้างจุดสมดุลที่เหมาะสม เพราะแม่น้ำโขงไม่ได้เป็นของใครคนใดคนหนึ่ง ทั้งจีน ไทย พม่า กัมพูชา ลาว และเวียดนาม แต่เป็นแม่น้ำส่วนร่วมที่ทุกคนจำเป็นต้องปกป้อง รักษา เพราะแม่น้ำสายน้ำ คือสายน้ำหล่อเลี้ยงชีวิตของทุกคนในภูมิภาคลุ่มน้ำโขงทั้งหมด.

เจ้าอาวาสวัดภูเข้าหรือปูเข้า สามเหลี่ยมทองคำ
โรงแรมอิมพีเรียล สามเหลี่ยมทองคำ

โรงแรม อิมพีเรียล สามเหลี่ยมทองคำ

โรงแรม อิมพิเรียล  สามเหลี่ยมทองคำ
ร้านค้า ริมองค์พระสามเหลี่ยมคำ
ซุ้มขายตั๋วเรือท่องเที่ยวแม่น้ำโขง
นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ เตรียมลงเรือท่องแม่น้ำโขง
ดอกไม้ที่แกะด้วยสบู่ หน้าท่าเรือสามเหลี่ยมทองคำ
  • ตามมาขอบคุณคุณดลครับ
  • เห็นแกะสบู่
  • ว่าจะไปให้เขาแกะให้เสียหน่อย
  • ตั้งใจว่าจะแกะรูปหัวใจ
  • เผื่อได้เอาไปให้หวานใจ
  • อิอิๆๆๆ
  • ตามมาขอบอกว่า
  • ผมขออนุญาตินำบางตอนไปรวมครับ    ขอบคุณมากครับhttp://gotoknow.org/blog/mrschuai/117622?page=9

  • ฮ่าๆๆๆๆ

ท่านขจิตที่น่ารัก

ไว้ผมจะให้เขาช่วยแกะนกมาคู่หนึ่งให้ท่านขจิตไว้เป็นที่ระลึก  โดยให้มีเสียงจิ๊บเจื้อยในยามเช้า

ขอต้อนรับสู่  dol 3377  ครับผม

 

 Action11

  

ป๋าแพนดี้ครับ

ลองส่งรูปอีกรอบตามคำแนะนำ

ร้านขายข้าวขาหมู ก๋วยเตี๋ยวหลอด เนื้อเปื่อย อร่อยในเมืองเชียงแสน

 แม่น้ำโขง
แม่น้ำโขงเป็นแม่น้ำสายใหญ่ของโลกที่มีความยาวประมาณ 4,900 กิโลเมตร ยาวเป็นอันดับ 10 ของโลก มีต้นน้ำอยู่บนภูเขาจี้ฟู ส่วนหนึ่งของเทือกเขาหิมาลัยบนที่ราบสูงทิเบต เขตจังหวัดหยู่ซู่ มณฑลฉิงไห่ ประเทศจีน โดยมีแม่น้ำจาคูและแม่น้ำอาคูไหลมารวมกัน มีชื่อเรียกเป็นภาษาของไทลื้อ ซึ่งเป็นชนชาติที่อาศัยอยู่ริมแม่น้ำโขงย่างหนาแน่นในดินแดนสิบสองปันนาว่าแม่น้ำล้านช้างคนจีนทั่วไปเรียกว่า แม่น้ำหลานซางมีความหมายว่า เป็นแม่น้ำที่ไหลเชี่ยวกราก และไหลผ่าน 6 ประเทศ คือ จีน พม่า ไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนาม ก่อนออกสู่ทะเลจีนใต้ โดยมีระยะทางที่อยู่ในแต่ละประเทศ ดังนี้

1. อยู่ในประเทศจีน ประมาณ 2,130 กม.

2. เป็นเส้นเขตแดนกั้นระหว่างจีน - พม่า ประมาณ 31 กม.

3. เป็นเส้นเขตแดนกั้นระหว่างพม่า - ลาว ประมาณ 234 กม.

4. เป็นเส้นกั้นเขตแดนระหว่างไทย - ลาว ประมาณ 955 กม.

5. อยู่ในประเทศลาว ประมาณ 789 กม.

6. อยู่ในประเทศกัมพูชา ประมาณ 490 กม.
7. อยู่ในประเทศเวียดนาม ประมาณ 230 กม.


ทัศนียภาพบริเวณสามเหลี่ยมทองคำ อ.เชียงแสน

แม่น้ำโขงมีความหลากหลายของชนิดพันธุ์ปลามากเป็นอันดับ 3 ของโลก รองจากแม่น้ำอะเมซอนในอเมริกาใต้ และแม่น้ำแซร์ในทวีปแอฟริกา    มีจำนวนพันธุ์ปลาที่สำรวจพบ      1,245 ชนิด มีพื้นที่ชุ่มน้ำ 795,000 ตารางกิโลเมตร ในทุกๆ ปี ปริมาณน้ำจากแม่น้ำโขงไหลลงสู่ทะเลจีนใต้เฉลี่ยสูงถึง 475,000 ล้านลูกบาศก์เมตร สัตว์น้ำขนาดใหญ่ที่พบมากในแม่น้ำโขงได้แก่ปลาบึก แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญสำหรับการชมภูมิทัศน์ของลำน้ำโขงที่มีชื่อเสียงได้แก่ บริเวณสามเหลี่ยมทองคำ อำเภอเชียงแสนตอนบนของจังหวัดเชียงราย ซึ่งบริเวณนี้เป็นรอยต่อระหว่างพรมแดน 3 ประเทศ ได้แก่ ไทย ลาว และพม่า  เป็นจุดสัมผัสแรกของแม่น้ำโขงที่เข้าสู่ประเทศไทย

เอกสารอิเลคทรอนิกส์ ของกลุ่มรักษ์เชียงแสน สงวนลิขสิทธิ์ 2550 : บริหารข้อมูลโดย ดินกี่เก่า
[email protected] : [email protected]

อาคารเทพกาญจนา  วัดพระธาตุผาเงา
หอวัฒนธรรมนิทัศน์ วัดพระธาตุผาเงา

ป๋าเข้าวัดได้ด้วยหรือครับ..ไม่ร้อนหรือครับ..55555

สวัสดีครับ

ถ้าแดดไม่จัดก็ไม่ร้อนครับ  ขอบคุณที่เป็นห่วง  ตัวผมเย็นจัดครับ

 

บ้านลอยน้ำ เรือสำราญของลาว แล่นระหว่างอ.เชียงแสน - หลวงพระบาง ส.ป.ป.ลาว

ด้วยการอนุญาติจากมันแกว

พระธาตุจอมกิตติ พระธาตุศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองเชียงแสน รูปทรงสถาปัตยกรรมล้านนา มีลวดลายปูนปั้นประดับตามเรือนธาตุ ภาพนี้ถ่ายนานมาแล้วก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวทำให้ยอดฉัตรหักหล่นลงมา ..

เมื่อสิบปีที่ผ่านมาผมได้มีโอกาสไปศึกษาธรรมะฝึกจิตทำสมาธิ นอนที่นี่เป็นเวลา 3 เดือน สิ่งที่ได้คือ หายกลัวผี เพราะเห็นและอยู่ด้วยกันจนชิน ไปดูด้วยกันใหมครับ 

 

ป้อมประตูดินขอ  กำแพงเมืองเชียงแสนด้านทิศใต้ เป็นป้อมประตูที่กองทัพล้านนาบุกเข้าตีจนแตกเพื่อขับไล่พม่าออกจากเมืองเชียงแสน หลังจากที่พม่าเข้ายึดครองมากว่าสองร้อยปี
ป้อมกำแพงเมืองเชียงแสน ป้อมมุมเมืองด้านทิศตะวันตกจดกับทิศเหนือ ยังคงสภาพสมบูรณ์ แต่จากการขุดลอกคูเมืองพบลูกปืนใหญ่อยู่หลายลูก แสดงว่าป้อมมีความแข็งแรง พม่าเลยหันไปโจมตีที่ป้อมประตูทัพม่านจนแตก บุเรงนองจึงเข้ายึดครองเมืองเชียงแสนได้สำเร็จ เชียงแสนตกอยู่ในอำนาจของพม่ากว่าสองร้อยปี
เรือท่องเที่ยวจีน "เจ้าชายแม่น้ำโขง"
เรือท่องเที่ยวจีน "เจ้าชายแม่น้ำโขง"
เรือท่องเที่ยวลาว จอดเทียบท่าเชียงแสน

สวัสดีครับพี่บ่าว

นอนไม่หลับหรือครับ ขยันดึกๆ เลยนะครับผม รักษาสุขภาพด้วยนะครับผม

คิดถึงคับ 

สวัสดีครับ

น้องเม้ง  บ้างครั้งเป็นครับ  คนแก่เป็นอย่างนี้มั่งครับ

คิดว่าเข้ามาแปปๆแล้วจะเข้านอน 

เรือท่องเที่ยวลาว จอดเทียบท่าเชียงแสน
เรือท่องเที่ยวลาว จอดเทียบท่าเชียงแสน
เครื่องสูบน้ำจากแม่น้ำโขง ใช้ในกิจการประปาเชียงแสน

เครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาดเล็ก ทดลองในแม่น้ำโขง

โดยใช้แรงน้ำในแม่น้ำโขง ร่วมกับพลังแสงอาทิตย์

เครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาดเล็ก ทดลองในแม่น้ำโขง

โดยใช้แรงน้ำในแม่น้ำโขง ร่วมกับพลังแสงอาทิตย์

เครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาดเล็ก ทดลองในแม่น้ำโขง

โดยใช้แรงน้ำในแม่น้ำโขง ร่วมกับพลังแสงอาทิตย์

กล่องควบคุมเครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาดเล็ก ทดลองใช้ในแม่น้ำโขง

โดยใช้แรงน้ำในแม่น้ำโขง ร่วมกับพลังแสงอาทิตย์

ป้ายประวัติ วัดพระธาตุสามมุมเมือง
วิวสวยมองลงจากบริเวณวัดพระธาตุสามมุมเมือง
วิวสวยมองลงจากบริเวณวัดพระธาตุสามมุมเมือง
รูปปั้นกรมหลวงชุมพรฯ ในฐาน นรข. เขตุเชียงแสน
วิว          เห็นเรือเจ้าชายแม่น้ำโขง(เรือจีน)จอดอยู่  และท่าเรือเชียงแสนที่อยู่ถัดไป
เรือขึ้นซ่อม  ในแพเรือ นรข. อ.เชียงแสน

ป๋าแพนดี้ครับ เรือเร็ว น.ร.ข. นี่เติมน้ำแทนน้ำมันหรือครับ เห็นต่อท่อจากหลังคาลงมาครับ..  เออแต่ว่าไปถ่ายภาพมาเจอเจ้าที่รึเปล่าครับ ตัวดำๆ หนวดดกๆ หน้าตาคล้ายๆ นักมวยโบราณแสนศักดิ์ เมืองสุรินทร์ ถ้าเจอฝากบอกด้วยว่า..คิดถึงฮิ..

  • ตามมาขอบคุรคุณดล
  • และตามมาดูอีก
  • ช่วงนี้เป็นอย่างไรบ้างครับ
  • งานยุ่งหรือไม่
  • ขอบคุณครับผม
สวัสดีครับท่าน
ขอบคุณที่มาเยี่ยมเยียน   ผมบังเอิญไม่ชอบนักมวยซะด้วยซิ   อิอิอิอิ.....................
สวัสดีครับท่าน
ช่วงนี้จะมีงานยุ่งหน่อยครับ  ท่านละครับสบายดีนะครับ    กำลังฟังเพลงท่าน  beeman    เพราะมากครับ  เคลื้มไปเลยครับ    http://gotoknow.org/blog/beesman/130533?page=1

สวัสดีครับคุณสิทธิรักษ์

  • ตั้งใจมาขอบคุณ  ที่ให้เกียรติแวะไปที่บล้อกครูวุฒิ  และให้เกียรตินำเอาข้อความบางตอนไปรวมในรวมตะกอนครับ (ตามไปอ่านแล้ว)
  • บันทึกของคุณสิทธิรักษ์น่าสนใจมากครับ  ทุกเรื่องเลย โดยเฉพาะเรื่องแผ่นดินไหว  ที่เป็นหนึ่งในเรื่องที่ผมพยายามสอนเด็กแบบเน้นๆโดยเปรียบภาคอีสาน(โดยเฉพาะที่ศรีสะเกษที่ปลอดจากแผ่นดินไหวแบบ 99.99%) กับภาคอื่นๆทั้งในและนอกประเทศ (อยากให้พวกเขามีมุมมองใหม่ที่น่าจะถูกต้องเกี่ยวกับอีสานและบ้านเกิด ว่าเป็นถิ่นที่อุดมสมบูรณ์และปลอดภัยที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ไม่ใช่แห้งแล้งอย่างที่เข้าใจกันมาโดยตลอด)
  • แล้วจะแวะมาอ่านเรื่อยๆครับ
ป้ายท่าเรือเชียงแสน.JPG
ท่าเรือเชียงแสน ในอีกมุมมองหนึ่ง

ป้าย ภายในท่าเรือ   เห็นวิวแม่น้ำโขง

ขอบคุณครับ

อะไรๆ ที่ดีๆที่สามารถทำได้ช่วยกันครับ

ขอบคุณที่มาเยี่ยมเยียน  หนทางยากลำบากที่ยาวไกลมีแต่พวกเราที่ต้องช่วยกันครับ

ป้ายด่านศุลกากรท่าเรือ.JPG
ป้ายด่านศุลกากรท่าเรือ หน้าท่าเรือเชียงแสน
โรงเรียนเชียงแสนวิทยาคม.JPG
โรงเรียนเชียงแสนวิทยาคม ใน อ.เชียงแสน
แข่งขันฟุตบอล.JPG
ประเพณีแข่งขันฟุตบอลประจำปี จัดขึ้นภายในโรงเรียนเชียงแสนวิทยาคม
ศุลกากรท่าเรือเชียงแสน 1.JPG
สำนักงานศุลกากรเชียงแสน  ภายในท่าเรือเชียงแสน
อาคารสำนักงานศุลกากร.JPG
อาคารสำนักงาน ศุลกากร ในบริเวณท่าเรือเชียงแสน
ป้ายสามเหลี่ยมทองคำ 2.JPG
ป้ายซุ้มสามเหลี่ยมทองคำที่เลื่องลือไปทั่วโลกนำอีกมุมหนึ่งมาให้ชมกัน
ด่านตรวจคนเข้าเมืองท่าเรือเชียงแสน 2.JPG

สำนักงาน ตรวจคนเข้าเมืองในท่าเรือเชียงแสน

พระยานาค ทางขึ้นวัดภูเข้า 1.JPG
พระยานาคตระหง่านสวยงามทางขึ้นวัดภูเข้า
เรือสินค้าจีน.JPG
เรือสินค้าจีน บรรทุกสินค้ากำลังแล่นผ่านสามเหลี่ยมทองคำย้อนทางน้ำแม่น้ำโขงตรงไปยังประเทศจีน  เบื้องหลังทึบๆคือขุนเขาฝั่งลาว

ปําแพนดี้ที่นับถือ
 ผมสนใจภาพท่าเรือมากเลยครับ เห็นมีแต่ภาพตัวอาคาร/ป้าย ไม่ยักกะมีภาพคน แสดงว่าคนแถวนั้นไม่เข้าท่า สิครับ  ผมเลยเอาภาพคนเข้าท่ามาฝากครับ (ท่าน้ำส่วนตัว)

%e0%b9%80%e0%b8%94%e0%b9%87%e0%b8%81%e0%b8%a3%e0%b8%b4%e0%b8%a1%e0%b8%9d%e0%b8%b1%e0%b9%88%e0%b8%87%e0%b9%82%e0%b8%82%e0%b8%87

 

 http://www.thailine.com/thailand/thai/north-t/chrai-t/chsae-t1.htm

เชียงแสนเมืองเก่า

Mekong River, Chiang Saen, Chiang Rai (Border to Laos)  7.6 K

เมืองเชียงแสนเป็นชื่อเดิมว่าเวียงเก่า เป็นเมืองที่เก่าแก่ของประเทศไทย ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำโขงหรือชาวบ้านเรียกว่าแม่น้ำของ ติดกับประเทศลาว ต้นแม่น้ำนี้อยู่ในประเทศธิเบตจีน เรียกชื่อว่าแม่น้ำลานฉอง ก่อนที่เราจะพูดถึงเรื่องราวของเมืองเชียงแสน เราขอย้อนกับไปถึงความเป็นมาของอาณาบริเวณแถบนี้ตั้งแต่อดีตก่อนโน้นซึ้งมีปรากฎในตำนานต่างๆดังนี้

ตำนานสิงหนวัตได้กล่าวไว้ว่า พระเจ้าสิงหนวัติราชโอรสของ พระเจ้าเทวกาล กษัตรย์เมืองนครไทยเทศ เมืองไทยในมณฑลยูนานได้อพยพครอบครัวลงมาสร้างเมืองขึ้นเรียกว่า "เมืองนาคพันธุ์สิงหนวัตินคร" หรือเมืองโยนกนครไชยบุรีราชธานีศรีช้างแสน ซึ่งต่อมาในรัชสมัยพระเจ้ามหาไชยชนะ พ.ศ. 1088 มหาศักราช 467 เมืองนี้ได้ล่มไปคือเมืองหนอง ตำบลท่าข้าวเปลือก อ. แม่จัน"

ในพงศาวดารเมืองเงินยางเชียงแสนกล่าวว่า ท้าวลวจังกราชซึ่งเกิดโดยโอปปาติก(เกิดเอง)ได้เป็นกษัตริย์สร้างเมืองเงินยางขึ้น เมื่อปีกุนเอกศก ตติยศักราช ๑ ( จุลศักราช ๑๑๘๑ ) เมืองนี้มีชื่อว่าศรีเชียงแสน เมืองนี้ได้ตั้งอยู่ตลอดมาจนถึงรัชสมัยพระเจ้ามังราย และต่อมาพระเจ้ามังรายได้มาตีเมืองลำพูนได้แล้วไปสร้างเมืองกุ่มก๋วม หมายถึงสร้างเมืองครอบน้ำแม่ระมิงค์ไว้ทั้งสองภาค คำว่า เมืองกุ่มก๋วมหมายถึงครอบ

Sunset, Ban Doi Ngam, Chiang Saen, Chiang Rai  (6.7 K)

ซึ่งในระยะนี้เมืองหิรัญนครเงินยางคงจะกลายเป็นเมืองร้างเพราะปรากฎว่าพระเจ้ามังรายโปรดให้เจ้าแสนภูราชนัดดาไปทำการบูรณะ แต่ในตำนานสิงหนวัติคือประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๖๑ ได้กล่าวไว้ในหน้า ๑๕๘ ว่า ในกลานั้นพระยามังรายและพระยามังครามเจ้าสองพ่อลูกจึงปรึกษากันว่า ควรเราจะมีอาชญาให้เจ้าแสนภูตนเป็นหลานนั้นไปเลือกตั้งเวียงเงินยางเชียงแสนให้คืนเป็นเวียงแถมแล ดังนี้

เจ้าพระยามังคราม โอรสองค์กลางของพระเจ้ามังรายซึ่งครองหัวเมืองฝ่ายเหนือ โดยตั้งอยู่ที่เมืองเชียงรายนั้น มีราชบุตรอยู่ ๓ องศ์คือ องค์พี่มีชื่อว่า เจ้าแสนพู องค์ที่ ๒ ชื่อว่า เจ้าน้ำท่วม องค์ที่ ๓ ชื่อว่า เจ้าน้ำน่าน พระเจ้ามังรายจึงมีรับสั่งกับเจ้าขุนครามว่าจะให้เจ้าแสนพูไปตั้งเวียงเงินยางเชียงแสนที่ร้างไปนั้น ให้เป็นบ้านเมืองขึ้นใหม่และให้เจ้าแสนพูอยู่ครองเมืองนั้น ส่วนเจ้าน้ำท่วมให้ไปครองเมืองฝาง เจ้าน้ำน่านให้ไปครองเมืองเชียงของ เจ้าขุนครามก็เห็นด้วยและเรียกตัวราชบุตรทั้ง ๓ มารับมอบหมายตามรับสั่ง

Wat Roi Kho, Chiang Saen, Chiang Rai, North Thailand  (14.6 K)

ฝ่ายเจ้าแสนพูเมื่อรับสั่งแล้ว ก็พร้อมด้วยไพร่พลพร้อมด้วยครอบครัวลูกเมียของเสนาอำมาตย์ราษฎรทั้งปวง ออกเดินทางในวันอังคารเดือน ๓ ขึ้น ๕ ค่ำปีกุน พ.ศ ๑๘๓๐ โดยลงเรือพ่วงล่องไปตามแม่น้ากกเดินทางได้ ๗ คืนก็ถึงแม่น้ำโขงก็ขึ้นตามแม่น้ำโขงไปได้หน่อยหนึ่ง ครั้นถึงวันอังคารขึ้น ๑๒ ค่ำ ก็ถึงท่าเชียงเหล้าหัวคอนม่อน ก็หยุดพักเอาชัยที่เวียงปรึกษา ซึ่งปัจจุบันเรียกว่าเชียงแสนน้อย ซึ่งอยู่ฝั่งแม่น้ำโขง ข้างตะวันตกก่อนแล้วเจาแสนพูจึงจัดให้ผู้เฒ่าผู้แก่นักปราชญ์ ผู้รู้โบราณมาแล้วจัดการทำพิธี และทำการบูรณะเมืองโยนกนาคพันธุ์ซึ่งกลายเป็นเมืองร้างนั้นขึ้นใหม่มีประตูทั้งหมด ๑๑ แห่ง คือทางทิศเหนือ มีประตู นางเลิ้ง

๒. ทางริมแม่น้ำโขงมีประตูรั้วปีก
๓. ประตูท่าอ้อย
๔. ประตูท่าสุกัม
๕. ประตูท่าหลวง
๖. ประตูท่าเสาศิน
๗. ประตูท่าคาว เป็นประตูเมืองทางด้านทิศตะวันออกนี้ ถูกแม่นํ้โขงพัดเซาะพังทลายลงในน้ำเสียเมือประมาณ ๖๐-๗๐ ปีมานี้ เวลานี้คงเหลือแต่ประตูทางด้านทิศเหนือด้านใต้และด้านทิศตะวันตก คือประตูท่าม้าทาง หางเวียง(ประตูทางด้านทิศใต้นี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ประตูทัพม่าน)ซึ่งเป็นประตูที่๘
ประตูที่๙ คือประตูดินขอ ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้
ประตูที่๑๐ ประตูเชียงแสน ทางทิศตะวันตก
ประตูที่๑๑ ประตูหนองมุด ทางตะวันตกเฉียงเหนือแจ่งหัวรินรวมแล้วมี๑๑ประตู
ได้ทำการแผ้วถาง อยู่จนถึงวันเดือน๓เหนือวันศุกร์ขึ้น๑๕ค่ำยามเดือนงาย เป็นเวลา๓วันเจ้าแสนพูก็ยกพลลงเรือไปขึ้นที่ท่าแจ้งสี ก็หยุดพักที่นั้น แล้วยกขึ้นท่าควานปูเต้าเสด็จออกจากเรือแล้วก็ขึ้นไปสักการะบูชาไหว้มหาธาตุดอยปู๋เต้ากระทำประทักษิณ๓รอบแล้วจึงล่องมาเสด็จเข้าสู่เวียงยามเที่ยง พักเอาชัยมงคลที่ริมประตูยางนั้นก่อน แล้วก็ให้เสนาอำมาตย์ทั้งหลายก่อกำแพงเมืองและสร้างคุ้มหลวงที่เก่ากลางเวียงนั้น ทำการบูรณะอยู่ได้๓เดือนพอถึงเดือน๖เพ็ญวันอังคารยามแถรจึงแล้วเสร็จ เจ้าแสนพูจึงเข้าสถิตในหอคำหลวง แล้วให้อำมาตย์ราชครูนักปราชญ์อาจารย์ทั้งหลายทำพิธีอุปภิเษกเป็นเจ้าแก่รัฐไชยบุรีศรีเชียงแสนในวันนั้น และโปรดให้ทำการบูรณะวัดเชียงมั่นขึ้นในวันเดือน๑๐เพ็ญปีนั้เอง(พ.ศ ๑๘๓๐)แล้วโปรดให้หมื่นเจตรา กับนายช่างการถม ผู้เป็นบุตรของขุนเครื่อง คำโอรสองค์โตของพระเจ้าเม็งราย ซึ่งถูกพระบิดาสงสัยว่าจะคิดกบฎ จึงให้ยิงเสียด้วยธนู ณ.ที่บ้านเวียงยิงนั้น มาเป็นพันนาขวาและพันนาซ้าย และแต่งตั้งขุนนางเจ้าเมืองบรรดาเมืองขึ้นของเมืองเชียงแสนอีก ๓๒ ตำแหน่ง และจัดการปกครองเมืองเชียงแสนโดยแบ่งเป็นจตุสดมภ์คือ ๑ หาญราชวัง มีหน้าที่เกี่ยวกับราชการคุ้ม ๒ หาญราชโกฎิ์ คือตำแหน่งคลังยุ้งฉางเสบียงอาหาร ๓ หาญบ้านทำการปกครองดูแลพวกพลเมือง กิจการบ้านเมืองภายใน ๔ หาญเมืองมีหน้าที่ราชการต่างเมือง

Buddha Images, Wat Phrathat Chom Kitti, Chiang Saen, Chiang Rai (18.6 K)

ต่อมาอีก๒ปีถึง พ.ศ ๑๘๓๒ เจ้าแสนพูได้สร้างเจดีย์สวมครอบพระเจดีย์เก่าที่วัดแจ้งศรีบุญเรือง ซึ่งหักพังไปนั้น สูง๘วาวัดนี้มีศิลาจารึกว่า เป็นที่บรรจุพระบรมธาตุ ๖๐ องศ์ ต่อมาในปี พ.ศ ๑๘๓๓ เดือนเหนือขึ้น ๑๕ ค่ำวันศุกร์ สร้างทางวิหารหลวงและสร้างพระเจดีย์สูง๒๙วา กว้าง๑๔ และพร้อมกันนี้ได้บูรณะปฎิสังขรณ์พระธาตุจอมกิตติ พระธาตุดอยปู๋เต้า พระธาตดอยรัง

ในปี พ.ศ ๑๘๓๘ มีพระมหาเถรเจ้าชื่อพระพุทธโฆษาจารย์ มาแต่เมืองปาฎลิบุตร เชิญเอาพระบรมธาตุ(กระดูกขิอเท้าข้างขวา) มาถวายพระเจ้าแสนพู จึงโปรดให้สร้างพระมหาเจดีย์บรรจุ ไว้ที่นอกเมืองตรงประตูเชียงแสนด้านตะวันตก และสร้างพระอารามกว้าง๕๐ วาแล้วเอาต้นไม้สักปลูกแวดล้อมไว้๓๐๐ต้น เรียกว่าวัดป่าสัก แล้วสถาปนาพระพุทธโฆษาจารย์เป็นพระสังฆราชสถิตอยู่ ณ.วัดนั้น

เจ้าแสนพูได้ครองเมืองเชียงแสนสืบต่อมา จนถึงปี พ.ศ ๑๘๕๖ เจ้าขุนครามพระชารบิดา ซึ่งครองราชสมบัติ ณ.เมืองเชียงใหม่สวรรคต เจ้าแสนพูจึงส่งไปเสวยราชสมบัติ ณ.เมืองเชียงใหม่ พระองศ์ครองเมืองเชียงแสนอยู่นาน๒๕ปี แล้วให้หมื่นเจตราพันนาขวา และนายช่างการถมพันนาซ้าย๒คนพี่น้องซึ่งเป็นลูกพี่ลูกน้อง ให้ครองเมืองเชียงแสน ครั้งในปี พ.ศ ๑๘๖๒หมื่นเจตรา ได้ถึงแก่กรรม จึงโปรดให้เจ้าคำปูราชโอรสขึ้นมาครอง ต่อมาในปี พ.ศ ๑๘๗๕ พระเจ้าแสนพูได้เสด็จมาครองเมืองเชียงแสนอีกครั้งหนึ่ง และครองอยู่ได้๒พรรษา ถึงปี พ.ศ ๑๘๗๗ก็สวรรคต ณ.เมืองเชียงแสน เจ้าคำพูได้เสวยราชย์ต่อมา และได้ให้เชิญพระศพพระราชบิดาไปประดิษฐานไว้ ณ.เวียงเหนือปากแม่น้ำกก เรียกว่า ตำบลท่ากาดเปลือก พระเจ้าคำปูจึงให้ท้าวผายูโอรสมาครองเมืองเชียงแสนแล้วพระองศ์ไปครองเมืองเชียงใหม่ แต่ต่อมาในปี พ.ศ ๑๘๙๙ พระเจ้าคำปูสวรรคต เจ้าท้าวผายูจึงได้ครองเมืองเชียงใหม่และให้เจ้าท้าวกือนาราชโอรส มาครองเมืองเชียงแสน ต่อมา พ.ศ ๑๙๐๖ พระเจ้าผายูสวรรคต เจ้าท้าวมหาพรหมอนุชา ให้ครองเมืองเชียงแสน และหัวเมืองภาคเหนือทั้งมวล คือเมืองเชียงราย เมืองฝาง เมืองสาด แต่เจ้ามหาพรหม หาได้ประทับที่เมืองเชียงแสนไม่ คงประทับอยู่ที่เมืองเชียงราย และในปี พ.ศ ๑๙๐๙ได้สร้างวัดบุญยืนขึ้น สร้างพระเจดีย์บรรจุพระบรมธาตุ และธาตุพระอรหันต์ไว้ที่เมืองเชียงแสน ในปีเดียวกันนั่นเอง ก็มีศึกฮ่อมาติดเมืองเชียงแสน ลูกขุนหมายนาผู้หนึ่ง ทำความชอบรบชนะพวกฮ่อ จึงโปรดให้เป็นพระยาศรีสิทธิไชยสงครามลุ่มฟ้าครองเมืองเชียงแสน

  • ตามมาขอบคุณ
  • ถ้าบอกว่าเคยเป็นนักมวย
  • แล้วจะหนาว
  • เคยต่อยทั้งตำรวจ และทหาทุกเหล่าทัพ
  • ฮ่าๆๆ

รู้แล้วครับท่าน

P ขจิต ฝอยทอง
อย่ามาชกผมก็แล้วกัน ฮ่าๆๆๆ

สื่อชุมชน รักษ์เชียงแสน ฉบับที่สอง หน้าแรก

สื่อชุมชน รักษ์เชียงแสน ฉบับที่สอง หน้า 2
สื่อชุมชน รักษ์เชียงแสน ฉบับที่สอง หน้า 3
สื่อชุมชน รักษ์เชียงแสน ฉบับที่สอง หน้า 4
สื่อชุมชน รักษ์เชียงแสน ฉบับที่สอง หน้า 5
สื่อชุมชน รักษ์เชียงแสน ฉบับที่สอง หน้า 6
สื่อชุมชน รักษ์เชียงแสน ฉบับที่สอง หน้า 7
สื่อชุมชน รักษ์เชียงแสน ฉบับที่สอง หน้าหลัง
พระพุทธนวล้านตื้อ พระเชียงแสนสี่แผ่นดิน
ภาพประกอบ พระพุทธนวล้านตื้อ พระเชียงแสนสี่แผ่นดิน
พลิกฟื้นพระเจ้าล้านตื้อ ประวัติศาสตร์ลำน้ำโขงของเมืองเชียงแสน ลำน้ำโขงเป็นสายน้ำใหญ่หล่อเลี้ยงชีวิตผู้คนสองฝากฝั่ง สายน้ำไหลเชี่ยว ดุดัน จากจีน มุ่งผ่าน พม่า ไทย ลาว เวียดนาม และกัมพูชา ประวัติศาสตร์ ของชาติต่างๆ ในลุ่มแม่น้ำโขง จึงหนีไม่พ้นสายน้ำแห่งนี้

น้ำโขงไหลผ่านทวีปนี้ราวกับมีชีวิต 10 ปี ไหลไปทางหนึ่ง 100 ปี ไหลไปอีกทางหนึ่ง เปลี่ยนทางไปอีกทางหนึ่ง มีตำนานเล่าว่าถึงเกาะเก่าแก่กลางลำแม่น้ำโขง “เกาะดอนแท่น” เดิมทีเป็นผืนดินในไทยโดยเป็นทีอาศัยของผู้คนเชียงแสนในยุคก่อน เกาะแห่งนี้เป็นที่ตั้งของวัดกว่า 10 วัด ตามที่ระบุไว้ในพงศาวดาร เมืองงินยางเชียงแสนภาคที่ 61 ที่สำคัญยังเป็นที่ตั้งของ วัดพระเจ้าทองทิพย์ อันเป็นที่ประดิษฐานขององค์พระพทุธรูปสำริดขนาดใหย่ ซึ่งชาวบ้านกล่าวขานนามว่า “พระเจ้าล้านตื้อ คำว่า ตื้อ คือมาตราวัดของชาวล้านนา หมายถึงโกฏิ ดังนั้นคำว่า " ล้านตื้อ" ก็หมายถึงองค์พระนี้มีขนาดและน้ำหนักมาก สันนิฐานว่าองค์พระคงจมลงไปพร้อมกับเการะดอนแท่น ซึ่งปัจจุบันคือบริเวณน้ำโขงหน้าที่ว่าการอำเภอเชียงแสน
ประจักษ์พยานที่เป็นรูปธีทชัดเจนคือ พระรัศมีพระเจ้าล้านตื้อ ซึ่งมีขนาดกว้าง 55 CM สูง 70 CM คาดกันว่าพระรัษมีถูกงมชึ้นมาก่อนปี พ.ศ. 2446 และมีการประมาณว่าพระเจ้าล้านตื้อหากมีอยู่จริง หน้าคักคงกว้างประมาณราว 8.5 m สูง 10 m

อย่างไรก็ตามคำเล่าขานจึงไม่ใช่เรื่องที่ฝังนิ่งอยู่ในตำนานแต่เป็นเรื่องจริงต้องรอคอยว่าวันหนึ่งองค์พระเจ้าล้านตื้อจะกลับมาสู่เมือง วิธีการกลับคืนมาสู่เมืองจะเป็นอย่างไร คงต้องรอติดตามอย่างใจจดใจ่อ ส่วนจะกลับมาในรุ่นเรา รุ่นลูก หรือรุ่นหลาน หรือกว่านั้น ก็ต้องรอคอยด้วยในอันศรัทธาเหมือนกัน

ตามรอยพระเจ้าล้านตื้อ
จากคำบอกเล่าของชาวเชียงแสน ที่บรรทุกไว้ในหนังสือตามรอยพระเจ้าล้านทองทิพ (พระเจ้าล้านตื้อ) ประวัติศาสตร์ลำน้ำโขงเมืองเชียงแสน (หาซื้อได้ ที่พิพิธภันฑ์สถานแห่งชาติ เชียงแสน กล่าวว่าคืนพบพระพุทธรูปกลางลำน้ำโขงครั้งแรกเมือราวปี พ.ศ. 2479 พรานหาปลา ผู้หนึ่งทอดแหหาปลาอยู่กลางน้ำโขงบริเวณหน้าสถานีตำรวจภูธรอำเภอเชียงแสนได้เห็นพระพุทธรุปขนาดใหญ่โพล่ขึ้นมากลางน้ำจำได้ว่ามีพระรัศมีบนพระเกศาและเห็นส่วนพระเศียรเพียงแค่พระหนุ แต่อย่างไรก็ตาม การพบเห็นของพรานปลาผู้นั้นขัดกับหลักฐานที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน ที่ว่าการค้นพบพระรัศมีนั้นพบก่อน ปี พ.ศ.2446 เมื่อครั้งแรกได้นำไปประดิษฐานไว้ที่วัดคว้าง (หลังตลาดเชียงแสน) ต่อมาย้ายไปรักษาที่วัดปงสนุก และวัดมุงเมืองตามลำดับ เมื่อสร้างพิพิธภัณฑ์ฯ เสร็จจึงนำออกแสดงจนมาถึงทุกวันนี้ ต่อมาในปี พ.ศ.2488 มีพรานปลาอีกคนหนึ่งพบเสาวิหารขนาดใหญ่จำนวน 2-3 ต้นล้มทับกันจมอยู่ในน้ำโขง ลึกลาว 4 เมตร ที่บริเวณสามแยกหน้าสถานีตำรวจ

ครั้นถึงปี พ.ศ. 2492 – 2493 เพียสมบูรณ ์(ชาวลาวอพยพมาตั้งถิ่นฐานในอำเภอเชียงแสน) ฝันว่าพระพุทธรูปล้มคว่ำพระเศียรลง หันไปทางทิศใต้ ดังนั้นราวเดือนกุมภาพันธ์ – มีนาคม ของปีเดียวกันนั้นจึงมีการลงคลำหาพระพุทธรูปกันอย่างจริงจัง โดยเริ่มจากตั้งศาลเพียงตาขึ้นในบริเวณเกาะดอนแท่นและทำพิธีบวงสรวงพระพุทธรูป เตรียมเรือเหล็กขนาดใหญ่ 2 ลำ พร้อมช้าง 3 -4 เชือก นิมนต์พระสงฆ์ทำพิธี เนื่องจากกระแสน้ำแรงและเย็นมากจึงไม่อาจพบพระรูปแต่อย่างใด

ต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์ – เดือนมีนาคม พ.ศ. 2509 อิตาเลียน – ไทย จำกัด ได้สัมปทานการสร้างสนามบินในหลวงพระบาง มาพักอยู่ที่เชียงแสน(สมัยนั้นการเดินทางไปหลวงพระบางต้องใช้วิธีการเดินเรือจากเชียงแสนไปถึงจะสะดวกที่สุด) นายชูสง่า ไชยพันธ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ขณะนั้นจึงได้ให้ทางบริษัทฯ ดังกล่าว ส่งนักประดาน้ำและอุปกรณ์ต่างๆดำเพื่อค้นหาและกู้เอาพระพุทธรูปขึ้นมา ซึ่งเป็นจุดที่เกาะกลางน้ำตรงหน้าสถานีตำรวจฯบริเวณดังกล่าวเป็นน้ำวน เชี่ยวมาก นักประดาน้ำทนความเย็นไม่ไหว การค้นหาในตอนนั้นจึงไม่ประสบผลสำเร็จ ได้เพียงพระพุทธรูปองค์เล็ก และโบราณวัตถุอื่นๆอีกเพียงเล็กน้อยจึงหยุดค้นหา

การค้นหาพระพุทธรูปที่จมอยู่ในลำน้ำโขง ตั้งแต่การพบครั้งแรกจนกระทั้งถึงทุกวันนี้กว่า 70 ปีแล้วเรื่องราวยังเป็นที่สนใจและถูกเล่าขานผ่านลูกหลานชาวเชียงแสน เมื่อสืบทอดผ่านกันมาจึงกลายเป็นตำนานและนิทานพื้นบ้าน

พระพุทธรูปนวล้านตื้อ (จำลอง)
หากท่านที่ไปเที่ยวเชียงแสนผ่านไปทางป้ายสามเหลี่ยมทองคำ เลยไปทางร้านค้าของที่ระลึกต่างๆ ท่านจะได้พบเห็นองค์พระพุทธรูปสีทองขนาดใหญ่ น้ำหนักกว่า69 ตัน เฉพาะองค์พระตักกว้าง 9.99 เมตร สูง 15.99 เมตร ประทับอยู่บนเรือนแก้วกุศลธรรมขนาดใหญ่ อีกทั้งยังมีตุง(ธง) เฉลิมพระเกียรติองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และพระบรมราชินีนาถฯ อยู่เบื้องข้าง พระพุทธรูปองค์นี้คือ พระพุทธนวล้านตื้อ

พระพุทธนวล้านตื้น องค์นี้เป็นพระเชียงแสนสี่แผ่นดินเฉลิมพระเกียรติฯ ซึ่งได้สร้างขึ้นแทนองค์เดิมที่จมลงแม่น้ำโขง หน้าที่ว่าการ อ.เชียงแสน สมัยรัชกาลที่ 3 โน้น...
และสร้างขึ้นด้วยทองสัมฤทธิ์ ปิดทองด้วยบุศราคัม น้ำหนักถึง 69 ตัน หน้าตักกว้าง 9.99 ม.สูง 15.99 ม. ประทับนั่งบน "เรือแก้วกุศลธรรม" ขนาดใหญ่ อย่างที่เห็นในรูปที่ 1 นั่นแหละครับ
..พร้อมกันนั้นก็ได้สร้างตุงหลวงเฉลิมพระเกียรติ สูง 17.99 ม. ศูนย์ OTOP ล้านนา ซุ้มประตูโขงและพระมหาโพธิสัตว ์(เจ้าแม่กวนอิมหยกขาว สูง 9.99 ม.) ทั้งหมดนี้ได้ใช้งบประมาณถึง 69 ล้านบาท

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม องค์การบริหารส่วนตำบลเวียง อ.เชียงแสน จงเชียงราย
โทร / แฟ็กซ์ 053-650803 (อบต.เวียง)
โฮมเพจ / เว็บไซต์ : http://www.phrachiangsan.com/
 
เชียงแสนมุมมองจากกลางแม่น้ำโขง กว่าจะได้ภาพชุดนี้มาขาสั่นไปหมด เรือก็เล็ก น้ำก็แรง
เมืองเชียงแสนมุมมองจากกลางแม่น้ำโขง
สถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อของเมืองเชียงแสน บนยอดดอยสามารถชมวิวแม่น้ำโขงเมืองเชียงแสนและประเทศลาวได้อย่างชัดเจน http://gotoknow.org/file/themiti/view/113615
มีแต่คนลาว คนจีน และคนหาปลาเท่านั้นที่จะได้เห็นภาพนี้ http://gotoknow.org/file/themiti/view/113614
ประมงริมฝั่งโขงที่สามเหลี่ยมทองคำเมื่อหลายปีก่อนมีเพิงอยู่สองสามหลัง เดี๋ยวนี้ยาวเหยียดเลย.. http://gotoknow.org/file/themiti/view/113612
พระเชียงแสนสี่แผ่นดิน2.JPG
พระเชียงแสนสิงห์หนึ่งภาพนี้ ทำร้ายจิตใจคนเชียงแสนมากๆ เพราะให้พระนั่งสำเภาจีนล่องแม่น้ำโขงลงมา ...ตามคติความเชื่อในการสร้างพระพุทธรูปของคนล้านนา พระพุทธรูปต้องหันหน้าไปทางทิศตะวันออกเสมอ แต่องค์นี้หันหน้าไปทางทิศใต้ เฮ้อ..การรุกคืบของอารยธรรมต่างชาติ http://gotoknow.org/file/themiti/view/113609
สาวน้อยเผ่าขมุคนเดิม ยกมือไหว้สวัสดีหลังจากที่ผมพูดกับเธอว่า เป็นเด็กดีเน้อลูกเน้อ http://gotoknow.org/file/themiti/view/113141
สื่อชุมชน รักษ์เชียงแสน ฉบับที่ 3  หน้าแรก
ดาวน์โหลด
สื่อชุมชน รักษ์เชียงแสน ฉบับที่ 3  หน้า 2
ดาวน์โหลด
สื่อชุมชน รักษ์เชียงแสน ฉบับที่ 3  หน้า 3
ดาวน์โหลด
สื่อชุมชน รักษ์เชียงแสน ฉบับที่ 3  หน้า 4
ดาวน์โหลด
สื่อชุมชน รักษ์เชียงแสน ฉบับที่ 3  หน้า 5
ดาวน์โหลด
สื่อชุมชน รักษ์เชียงแสน ฉบับที่ 3  หน้า 6
ดาวน์โหลด
สื่อชุมชน รักษ์เชียงแสน ฉบับที่ 3  หน้า 7
ดาวน์โหลด
สื่อชุมชน รักษ์เชียงแสน ฉบับที่ 3  หน้า หลัง
หอฝิ่น อุทยานสามเหลี่ยมทองคำ
ภาพประกอบ หอฝิ่น อุทยานสามเหลี่ยมทองคำ
หอฝิ่น อุทยานสามเหลี่ยมทองคำ เป็นเสมือนประตูเปิดสู่โลกอันลึกลับของพืชชนิดนี้ จากความมืดมนน่าหวาดกลัว สู่ความแจ่มจรัสและรู้แจ้ง พื้นที่ 5,600 ตารางเมตรแสดงลำดับเรื่องราวของฝิ่น โดยเริ่มจาธรรมชาติวิทยาของฝิ่น การสืบประวัติการใช้ฝิ่นในยุคโบราณกลับไป 5,000 ปี ประวัติการแพร่กระจายของฝิ่นจากการค้าสมัยจักรวรรดินิยม เหตุการณ์พลิกประวัติศาสตร์ที่สร้างความอดสูแก่ผู้ชนะและผู้แพ้สงครามฝิ่นอันนำไปสู่การล่มสลายของราชวงค์แมนจู ความชาญฉลาดของประเทศสยามในการเผชิญกับมหาอำนาจตะวันตกและการควบคุมปัญหาฝิ่น

วันและเวลาดำเนินการ ** วันอังคาร – วันอาทิตย์ เวลา 8.30 – 16.00 น. ( เวลา 16.00 น. เป็นเวลาขายบัตรรอบสุดท้าย ) ** จำนวนผู้เข้าชมมากสุดไม่ควรเกิน 50 คน/ รอบ ระยะเวลาสำหรับการชมนิทรรศการโดยเฉลี่ย 1-2 ชั่วโมง

อัตราค่าเข้าชม- คนไทย 200 บาท / คน - คนต่างชาติ 300 บาท / คน - ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป 50 บาท / คน - เด็กอายุ 12 – 18 ปี 50 บาท / คน - เด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี ไม่เสียค่าใช้จ่าย

หอฝิ่น อุทยานสามเหลี่ยมทองคำ  เริ่มทำการก่อสร้างเมื่อปี พ. ศ. 2542 – พ.ศ. 2545 เปิดให้เข้าชมครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2546 และทำพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันพุธที่ 6 กรกฎาคม 2548 โดยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฏราชกุมาร หอฝิ่น อุทยานสามเหลี่ยมทองคำ เป็นเสมือนประตูเปิดสู่โลกอันลึกลับของพืชชนิดนี้ จากความมืดมนน่าหวาดกลัว สู่ความแจ่มจรัสและรู้แจ้ง พื้นที่ 5,600 ตารางเมตรแสดงลำดับเรื่องราวของฝิ่น โดยเริ่มจาธรรมชาติวิทยาของฝิ่น การสืบประวัติการใช้ฝิ่นในยุคโบราณกลับไป 5,000 ปี ประวัติการแพร่กระจายของฝิ่นจากการค้าสมัยจักรวรรดินิยม เหตุการณ์พลิกประวัติศาสตร์ที่สร้างความอดสูแก่ผู้ชนะและผู้แพ้สงครามฝิ่นอันนำไปสู่การล่มสลายของราชวงค์แมนจู ความชาญฉลาดของประเทศสยามในการเผชิญกับมหาอำนาจตะวันตกและการควบคุมปัญหาฝิ่น ยาเสพติดเริ่มใกล้ชิดกับชีวิตประจำวันในรูปแบบของยามหัศจรรย์ หอฝิ่นได้นำเสนอสนธิสัญญาฝิ่น กฎหมายเกี่ยวกับฝิ่น องค์การที่แก้ไขปัญหานี้ ความขัดแย้งและการพัวพันอาชญากรรม ผลกระทบที่เลวร้ายของยาเสพติดที่ทำให้ผู้เสพไม่สามารถต่อต้านได้ มาตรการควบคุมและปราบปรามยาเสพติด และกรณีศึกษาที่นำเสนอทางเลือกและโอกาสที่จะต่อสู้กับความเย้ายวนจากสารเสพติด หอฝิ่นได้จัดแสดงอุปกรณ์การสูบฝิ่น การขายฝิ่น ชมภาพถ่าย ภาพยนต์และวีดิทัศน์เรื่องราวเกี่ยวกับและยาเสพติดจากหลายประเทศทั่วโลก

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หอฝิ่น อุทยานสามเหลี่ยมทองคำ หมู่ 1. บ้านสบรวก ต. เวียง อ. เชียงแสน จ. เชียงราย 57150
โทร / แฟ็กซ์ 053-784-444-6
โฮมเพจ / เว็บไซต์ : www.maefahluang.org
 ข้อมูลจาก
 

อำเภอเชียงแสน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

 ประวัติเมืองเชียงแสน

ป้ายประวัติเมืองเชียงแสน
ป้ายประวัติเมืองเชียงแสน

ดู เวียงเชียงแสน

ในปี พ.ศ. 2413 รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และ พระเจ้าอินทวิชยานนท์ พระเจ้านครเชียงใหม่ ได้ทรงส่งใบบอกข้อราชการไปยังกรุงเทพฯ ว่า พม่า ไทลื้อ ไทเขิน จากเมืองเชียงตุง ประมาณ 300 ครอบครัว อพยพลงมาอยู่เมืองเชียงแสน ได้ตั้งตนเป็นอิสระไม่ยอมอยู่ใต้การปกครองของไทย และ ล้านนา จึงแต่งคนไปว่ากล่าวให้ถอยออกจากเมือง ถ้าอยากจะอยู่ ให้อยู่ในใต้การบังคับบัญชาของเมืองเชียงรายและนครเชียงใหม่ แต่ก็ไม่ได้ผล ไม่มีใครยอมออกไป ในปี พ.ศ. 2417 พระเจ้านครเชียงใหม่ทรงเกณฑ์กำลัง 4,500 คน จากเมืองต่างๆ ยกทัพจากนครเชียงใหม่มาเมืองเชียงราย และ เมืองเชียงแสน ไล่ชนเหล่านั้นออกจากเมืองเชียงแสน จึงทำให้เชียงแสนกลายเป็นเมืองร้าง จนถึงปี พ.ศ. 2423 ได้ทรงให้ เจ้าอินต๊ะ ราชโอรสใน พระเจ้าบุญมาเมือง พระเจ้าผู้ครองนครลำพูน มาเป็นเจ้าเมือง (ราชวงศ์ทิพย์จักราธิวงศ์) องค์แรก และ ให้พระเจ้าผู้ครองนครลำพูน ทรงเกณฑ์ราษฎรจากหลายๆเมือง ประมาณ 1,500 ครอบครัว ขึ้นมาตั้งรกราก ปักซั้งตั้งถิ่น อยู่ที่เมืองเชียงแสน จวบจวนมาถึงปัจจุบัน

สื่อชุมชน รักษ์เชียงแสน ฉบับที่ 4 หน้า แรก

สื่อชุมชน รักษ์เชียงแสน ฉบับที่ 4 หน้า 2

สื่อชุมชน รักษ์เชียงแสน ฉบับที่ 4 หน้า 3

สื่อชุมชน รักษ์เชียงแสน ฉบับที่ 4 หน้า 4

สื่อชุมชน รักษ์เชียงแสน ฉบับที่ 4 หน้า 5

สื่อชุมชน รักษ์เชียงแสน ฉบับที่ 4 หน้า 6

สื่อชุมชน รักษ์เชียงแสน ฉบับที่ 4 หน้า 7

สื่อชุมชน รักษ์เชียงแสน ฉบับที่ 4 หน้า หลัง

สวัสดีค่ะ คุณแพนด้า

...  เมื่อคืน ฟังเพลง แล้วคิดถึง เจียงฮาย

...  วันนี้ได้มาเยี่ยมเยียน เชียงแสน ผ่านบล็อค คุณ

....  ยิ่งคิดถึง คิดฮอดหลาย

...  คิดถึงคุณแพนด้า เช่นกันค่ะ  ...

รักษาสุขภาพนะคะ

สวัสดีครับ
P poo

ดีใจครับ  ที่มาเยี่ยมเยียน  สบายดีนะครับ

ผมกำลังมีปัญหากับ คอมฯครับ

เพิ่งซ่อมเสร็จ   คงจะต้องใช้เวลาสักนิดครับ ค่อยกลับเข้าสภาพเดิม

รักษาสุขภาพเช่นกันนะครับ

qq (24).JPG

พิพิธภัณฑ์ หอฝิ่น    สามเหลี่ยมทองคำ   http://gotoknow.org/blog/dol3377/116188

ww (3).JPG

ผลิตภัณฑ์  ชุมชนวังลาว  สามเหลี่ยมทองคำ   http://gotoknow.org/file/dol3377/view/124879

เครื่องทอผ้า ชุมชนวังลาว  สามเหลี่ยมทองคำ      http://gotoknow.org/file/dol3377/view/124895

ร้านอาหารน่ารัก บรรยากาศดี เจ้าของอัธยาศัยเยี่ยม  พร้อมเต้นท์ คุณ ริน 0867285237

http://gotoknow.org/file/dol3377/view/135316

บรรยากาศบริเวณร้านอาหารบ้านไม้ในสวน http://gotoknow.org/file/dol3377/view/135323
เต้นท์ บ้านไม้ในสวน http://gotoknow.org/file/dol3377/view/135322
บรรยากาศบริเวณร้านอาหารบ้านไม้ในสวน http://gotoknow.org/file/dol3377/view/135324
บรรยากาศบริเวณร้านอาหารบ้านไม้ในสวน http://gotoknow.org/file/dol3377/view/135325
สวนผักข้างบ้านซึ่งปลูกไว้เพื่อประกอบอาหาร http://gotoknow.org/file/dol3377/view/135326
สวนผักข้างบ้านไม้ในสวน http://gotoknow.org/file/dol3377/view/135327

สวัสดีครับป๋า...แพนดี้
 

สวัสดีครับป๋า..แพนดี้

   ร้านอยู่ตรงใหนเหรอครับ..บรรยากาศน่าหลบคนที่บ้านไปนั่งสมาธิจังเลย..อิอิ...ไม่ยอมชวนกันไปมั่งเลย..ผมไม่ไปแย่งที่เดินจรงกรมของป๋าหรอกครับ..อากาศเปลี่ยนแปลงเร็วตอนกลางคืนก่อนนอนอย่าลืมห่มผ้าให้คนข้างบ้านนะครับ..55555

สวัสดีครับ อาจารย์P  มันแกว

ขอบคุณครับที่ท่าน อ.ยังสนใจครับ

ร้านนี้คงไม่ไกลจากท่านครับ อยู่ริมโขง ถ้า อ. อยากรู้แน่ๆ โทรไปครับ มีเบอร์โทรศัพย์ หาดูครับ  เดี๋ยวหาว่าโฆษณาให้เขา แต่อัธยาศัยเขาดี บรรยากาศก็ดีสมควรคู๋กับเมืองท่องเที่ยวครับ

อ.สบายดีนะครับ ระยะนี้ไม่ได้เจอกัน การงานคงไม่เครียดนักนะครับ

 
sampingong1.JPG
วัดพระธาตุสามพี่น้อง เชียงแสน
อ่าน: 1
sampingong11.JPG
วัดพระธาตุสามพี่น้อง เชียงแสน
sampingong15.JPG
วัดพระธาตุสามพี่น้อง เชียงแสน
sampingong16.JPG
วัดพระธาตุสามพี่น้อง เชียงแสน
 
sampingong17.JPG
วัดพระธาตุสามพี่น้อง เชียงแสน
sampingong18.jpg
วัดพระธาตุสามพี่น้อง เชียงแสน
 
sampingong19.jpg
วัดพระธาตุสามพี่น้อง เชียงแสน
 
sampingong20.JPG
วัดพระธาตุสามพี่น้อง เชียงแสน
 
sampingong23.JPG
วัดพระธาตุสามพี่น้อง เชียงแสน
อ่าน: 2
SDC10381.JPG
ตลาดสดอำเภอเชียงแสน
อ่าน: 1
SDC10367.JPG
ตลาดสดอำเภอเชียงแสน
อ่าน: 1
SDC10366.JPG
ตลาดสดอำเภอเชียงแสน
อ่าน: 1
SDC10360.JPG
ตลาดสดอำเภอเชียงแสน
อ่าน: 1
SDC10359.JPG
ตลาดสดอำเภอเชียงแสน
อ่าน: 1
SDC10358.JPG
ตลาดสดอำเภอเชียงแสน
อ่าน: 1
SDC10357.JPG
ตลาดสดอำเภอเชียงแสน
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท