มือหนึ่งแห่งเมืองกล้วยไข่(4)


สุดท้ายก็มายืนอยู่ได้คือมะนาวพันธุ์ตาฮิติ

มือหนึ่งแห่งเมืองกล้วยไข่ตอนที่4นี้ 

              จะขอเล่าจากที่มีการผลักดัน แนวคิดในการทำงานโดยการสร้างทีม และการทำงานแบบมีส่วนร่วม  โดยเฉพาะการทำงานส่งเสริมการเกษตร หากนักส่งเสริมการในระดับจังหวัด ไม่ลง ACTION  ในระดับพื้นที่  ก็จะเข้าใจบริบทของผู้ปฏิบัติงานภาคสนามและบริบทของชุมชนเกษตรได้อย่างไร

 

             แต่เราต้องยอมรับกันสักนิดหนึ่งว่า คนที่อยู่ข้างนอกชุมชนมักจะมองชุมชนนั้นฯว่า ขาดเรื่องนั้นเรื่องนี้  คงจะมีปัญหาเรื่องนั้นเรื่องนี้เสมอ แต่ส่วนน้อยที่เข้าใจและถามคนที่อยู่ในชุมชนก่อนว่าบริบทที่เขาอยู่มันเป็นอย่างไรช่วยเล่าให้ฟังหน่อย เขามีความหนักอกหนักใจในเรื่องใดบ้างแล้วเขามีวิธีคิดหรือวิธีแก้ไขอย่างไรบ้าง  การแก้ไขก็ต้องเป็นคนที่อยู่ในชุมชนนั้นฯจะเป็นผู้บอก

 

            ความก้าวหน้าในการพัฒนาชุมชนเกษตร หรือความสำเร็จของการประกอบอาชีพทางการเกษตรของเกษตรกรในชุมชน    เราต้องยอมรับอีกเช่นกันว่า ส่วนใหญ่ที่เกษตรกรเขาทำกิจกรรมทางการเกษตรได้สำเร็จนั้นเพราะตัวเขาเองต่างหาก  แต่การสนับสนุนของหน่วยงาน องค์กรที่ให้การสนับสนุน ก็เพียงเป็นส่วนหนึ่งแต่ไม่ใช่ทั้งหมด

 

             เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2550 ทางทีมผู้บริหารสำนักงานเกษตรจังหวัดกำแพงเพชร ประกอบด้วย เกษตรจังหวัด หัวหน้ากลุ่ม หัวหน้าฝ่าย และกระผม มีโอกาสไปทำการตรวจเยี่ยมการทำงานของคณะกรรมการบริหารศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลวังตะแบก อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร เมื่อทางทีมงานไปถึงที่ทำการศูนย์บริการฯซึ่งอยู่บริเวณเดียวกันกับองค์การบริหารส่วนตำบลวังตะแบก ซึ่งมีนายกองค์การบริหารส่วนตำบลวังตะแบก ที่ชื่อ คุณปราณี  เกษมี พร้อมกับคณะกรรมการบริหารศูนย์บริการฯ ผู้แทนกลุ่มอาชีพทางการเกษตร  ได้ให้การต้อนรับพร้อมได้นำเสนอผลการดำเนินงานของศูนย์บริการฯที่ผ่านมา

 

              คุณประทุมวัน  บัวเผียน (นวส.6ว) เลขานุการคณะกรรมการบริหารศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลวังตะแบก ได้นำเสนอข้อมูลของศูนย์ฯ เพิ่มเติม พร้อมได้แนะนำคณะกรรมการบริหารศูนย์ฯและผู้แทนกลุ่มอาชีพฯ

 

              จากนั้นคุณยี้  กัลปพฤกษ์  เป็นวิทยากรเกษตรกรประจำจุดถ่ายทอดเทคโนโลยีทางการเกษตรด้านการผลิตข้าวที่ปลอดภัย ได้เล่าให้ฟังว่า ตนเองได้ทำการศึกษาทดลองในแปลงนาของตนเอง  มีการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ใส่นาข้าวเพื่อทดแทนปุ๋ยเคมี และมีการผลิตสารสกัดชีวภาพจากพืชสมุนไพรเพื่อขับไล่แมลงในนาข้าว ผลเป็นที่น่าพอใจ พร้อมยังมีการทดลองหลายฯครั้งจนเกิดความมั่นใจ  ซึ่งปัจจุบันมีเกษตรกรในชุมชนได้มาขอรับคำปรึกษาอยู่เป็นประจำ

 

             จากนั้นทางทีมงาน ได้ไปศึกษาดูงานในพื้นที่ ณ.จุดถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรด้านการผลิตมะนาวออกลูกตลอดปีของคุณกรอม อัมพวัน อยู่บ้านเลขที่ 129 หมู่ที่9  ตำบลวังตะแบก  โดยคุณกรอม ได้เล่าให้ฟังว่า ในอดีตเมื่อ 30 ปีก่อน ตนเองได้ประกอบอาชีพทางการเกษตรได้ปลูกฝ้าย และพืชไร่เศรษฐกิจ หลายชนิด แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จ  แต่ต่อมาได้ปรับปรุงพัฒนามาปลูกไม้ผล หลายชนิด สุดท้ายก็มายืนอยู่ได้คือมะนาวพันธุ์ตาฮิติ  ได้นำกิ่งพันธุ์มาจากเพื่อนบ้าน มีการทดลองปลูกและขยายกิ่งพันธุ์ปลูกในพื้นที่ของตนเอง จำนวน20 ไร่ และปลูกมาแล้ว 20 ปี การปลูกมะนาวพันธุ์ตาฮิตินี้จะมีแมลงมากินใบอ่อน เมื่อต้นมะนาวมีอายุ 1-3 ปีแรกตั้งแต่ปลูก หลังจากนั้นไม่มีแลงมากัดกินใบมะนาวอีกเลย   ปัจจุบันสวนมะนาวทั้ง 20 ไร่ ไม่มีการใช้สารเคมีใดฯเลย มีผลของมะนาวออกอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี และยังมีผู้ส่งออกมะนาวไปยังประเทศมาเลเซีย ได้มารับซื้อเป็นขาประจำ ในปีฯหนึ่งจะมีรายได้จากการขายมะนาว ไม่ต่ำกว่า 1 ล้านบาทเศษ ขณะนี้ฐานะของครอบครัวดีขึ้นกว่าเดิมมาก

             นอกจากนี้กระผมยังได้สังเกตในสวนของคุณกรอม  มีการสร้างสภาพแวดล้อมของสวน โดยมีการปลูกไม้ผลหลายชนิด มีการเกื้อกูลกัน พึ่งพาอาศัยกัน แบบธรรมชาติส่วนหนึ่ง  มีการวางระบบน้ำดี มีการปลูกผักพื้นบ้านและสมุนไพรได้แก่ ไพร กระชาย ดีปลี มะแว้งฯลฯ อาจจะเป็นสาเหตุหนึ่งที่มีสภาพแวดล้อมในสวนที่เป็นแบบธรรมชาติ จึงไม่มีแมลงมาทำลายมะนาวก็เป็นได้นะครับ 

 
 
          (โปรดติดตาม ตอนต่อไปผมจะเล่าถึงเทคโนโลยีการปลูกมะนาวพันธุ์ตาฮิติเงินล้านนะครับ)

หมายเลขบันทึก: 116176เขียนเมื่อ 1 สิงหาคม 2007 20:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 เมษายน 2012 06:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • ขอบพระคุณมากครับที่นำมาแบ่งปัน
  • สุดท้ายแล้วใครได้เป็นมือหนึ่งครับ ผมไม่ได้ติดตามข่าวเลย
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท