ออสการ์ แมวเพื่อน..ตาย


 

ผมห่างหายไปเป็นเดือน เพราะโมเด็มที่บ้านถูกฟ้าผ่า ยืนยันนะครับว่าผมไม่เคยเที่ยวสาบานใคร ต้องรอติดตั้งอุปกรณ์ internet ความเร็วสูง กว่าจะได้ใช้งานก็ต้องเหงาอยู่หลายวันครับ

ครั้งนี้มีเรื่องดีๆมาฝาก

ผมเพิ่งได้อ่านบทความเรื่อง A Day in the Life of Oscar the Cat ของคุณหมอเดวิด โดซ่า ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการชั้นนำ New England Journal of Medicine ฉบับวันที่ ๒๖ กรกฏาคม ๒๕๕๐ นี้เอง

เป็นเรื่องเกี่ยวกับเจ้าเหมียวตัวน้อยชื่อ..ออสการ์ ที่ ทำงาน ย้ำว่าพิมพ์ไม่ผิด ทำงาน ในสถานพยาบาลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ชื่อ  Steere House ในสหรัฐอเมริกา

ความสามารถพิเศษของเจ้าเหมียวนี้คือ แกจะเดิน round ward (เดินดูแลผู้ป่วยแบบแพทย์) ผู้ป่วยระยะสุดท้าย ถ้ามีใครใกล้จะเสียชีวิตแล้วละก็ แกจะอยู๋ที่เตียงนั้นหรือห้องนั้นไม่ยอมไปไหน จนหมอและพยาบาลที่ทำงานด้วยใช้เป็นสัญญาณบอกเหตุว่า ผู้ป่วยคนนั้นกำลังจะสิ้นลมในไม่ช้า จะได้เตรียมตามญาติหรือประกอบพิธีทางศาสนาตามที่ผู้ป่วยต้องการได้ทันท่วงที

บริการอีกรูปแบบหนึ่งของเจ้าเหมียวตัวนี้ คือ สำหรับผู้ป่วยที่ต้องการเสียชีวิตเงียบๆคนเดียว ก็สามารถให้มันอยู่เป็นเพื่อนเงียบๆได้

สถิติที่คุณเหมียวทำไว้ คือ ๒๕​ ราย เรื่องนี้ดูจะแม่นกว่าพวกหมอๆที่ดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้มาทั้งชีวิตเสียอีก

อยากให้คุณหมอคุณพยาบาลได้อ่านชีวิตน่ารักของเจ้าออสการ์ตัวนี้จัง ในไฟล้นี้ นะครับ

หมายเลขบันทึก: 116155เขียนเมื่อ 1 สิงหาคม 2007 18:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 มีนาคม 2012 20:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)

น่ารักดีครับ

แต่คิดว่าคงจะเป็น culture ด้วยส่วนนึงนะครับ ผมสงสัยจังว่า Oscar จะ survive ที่เมืองไทยไหม หลังจากที่หมอบอกคนไข้และญาติว่าเจ้าตัวนี้มาทีไร คนไข้ตายวันนั้น!!!

สวัสดีค่ะ

กำลังคิดอย่างคุณ Phoenix เหมือนกันค่ะ

สกล กับ พี่sasinanda ครับ

  • อยู่เมืองไทย คงมีคนมาขอหวย หรือไม่ก็ได้ออกรายการสรยุทธ ตอนเช้า
  • อย่าว่าแต่แมวเลยครับ หมอหรือพยาบาลพูดเรื่องนี้ไม่ดูตาม้าตาเรือ ญาติบางคนก็ทำตาเขียวใส่แล้ว 
อย่างบ้านเราต้อง นกแสก ครับ

ขอโทษคะ ...พิมพ์ยังไม่จบ...จะเขียนว่า ...

ดีที่เขาอนุญาติให้แมวมาเยี่ยม คนไข้ได้น่ะคะ

 

ได้ยินผู้ใหญ่เล่าให้ฟังว่า... ในเมืองไทยเขาจะถือมาก

 ถ้ามีแมวดำ...เดินมาใกล้คนป่วย เขาจะรีบไล่แมวไป

เพราะจะเป็นลางว่า คนป่วยนั้นใกล้เสียชีวิตค่ะ

P

ดอกแก้ว

เห็นรูปเล่นกับแมว แล้วคิดว่าน่าจะชอบแมวนะครับ

เรื่องนี้จะมองว่าเขาดีจังก็เห็นด้วยนะครับ

แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า บ้านเราแย่จัง

มองอีกมุมหนึ่งคือ สังคมของเขา อยู่เดี่ยวๆโดดๆกันเยอะ สัตว์เลี้ยงจึงมีความสำคัญมาก ในระดับ เพื่อน หรือ ลูก ด้วยซ้ำ

เมืองไทยเรายังมี..คน.. คนในครอบครัวที่ยังมีความสัมพันธ์ลึกซึ้งกว่านั้น แต่ในอนาคตก็คงจะตามสังคมแบบเขาไปติดๆ

การอนุญาตให้เอาสัตว์เลี้ยงมาดูแลผู้ป่วย ผมคิดว่าน่าจะมีเฉพาะในสถานพยาบาลผู้ป่วยระยะสุดท้ายนะครับ

โรงพยาบาลทั่วไปก็ยังต้องระวังอยู่ดีครับ 

P

อุบล จ๋วงพานิช

ขอบคุณคุณอุบลมากครับที่ยกประเด็นนี้ขึ้นมา

ความแตกต่างทางสังคมและวัฒนธรรมสำคัญมากครับ เราจะเอาอย่างเขาไปทั้งดุ้นเลยคงไม่ได้

คงไม่ต้องถึงกับเลี้ยงนกแสกแบบอาจารย์แป๊ะนะครับ 

เป็นเรื่องน่ารักที่อ่านแล้วก็อมยิ้มนะครับ บางครั้งสัตว์ก็มักจะมีสัมผัสพิเศษที่ไวกว่าคน รับรู้อะไรได้เณ็วนะครับ
แหม น่าจะมอบปริญญาบัตรให้แมวตัวนั้นนะครับ  เก่งกว่าหมอบางคน อิอิ

P

หมอโรจน์ ครับ 

  • เรื่อง animal-assisted หรือ pet therapy นี้ คนรักสัตว์ น่าจะชอบนะครับ ผมเองไม่ค่อยถูกกับแมวเท่าไร อ่านเรื่องนี้แล้วก็ยังชอบมันเลย ปกติก็จะเห็น หมา มากกว่า
  • ใครมีเรื่องเล่าเกี่ยวกับ สัตว์ และ การเยียวยา เชิญแลกเปลี่ยนด้วยนะครับ
  •  เรื่องสัมผัสที่ไวกว่าของสัตว์ อยากจะถามผู้รู้ใน G2K เหมือนกันว่าเป็นอย่า่งไร

 

แมวที่เลี้ยงไว้ที่บ้าน ไม่มี six sense อะไรเลยค่ะอาจารย์ แต่แก้เหงาและทำให้หัวเราะได้ดีค่ะ

เรื่องผู้ป่วย Palliative นี่น่าสงสารนะค่ะ เพราะไม่มีใครบอกได้ว่าเขาจะสิ้นลมเมื่อไร อาจจะเป็นพรุ่งนี้หรืออาทิตย์หน้า อะไรทำนองนี้ใช่ไหมค่ะ เขาคงเศร้านะค่ะ

อย่างนี้ชุมชนน่าจะมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือนะค่ะ จะได้บรรเทาภาระพยาบาลกับแพทย์ เช่น การอาสาสมัครเข้ามาช่วยเป็นเพื่อนพูดคุย ช่วยได้ไหมค่ะ เพราะสำหรับเมืองไทยแล้วคงดีกว่าใช้ Pet therapy นะค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท