เศรษฐกิจแบบพอเพียง


แบบพอเพียง
เศรษฐกิจแบบพอเพียง                                พวกเรามักได้ยินคำว่า เศรษฐกิจแบบพอเพียง หรือเห็นภาพข่าวทางโทรทัศน์ที่นำเสนอภาพชาวบ้านที่ปลูกพืชหรือเลี้ยงสัตว์ได้ประสบความสำเร็จ ผู้รู้บางท่านบอกว่า เศรษฐกิจแบบนี้ต้องปรับแนวคิดการผลิตแบบใหม่ จากเดิมปลูกพืชชนิดเดียวทั้งแปลง เช่น ไร่ข้าวโพด ไร่อ้อย สวนมะม่วง ซึ่งผลิตเพื่อขาย เพราะเมื่อใดราคาตกต่ำ (เพราะผลิตออกมามากและพร้อมกัน) ก็ขาดทุนปนปี้ หนี้สินเพิ่มพูน ปีใดฝนไม่ตกตามฤดูกาล โรคพืชระบาด มีแมลงรบกวน ผลผลิตได้น้อย ต้นทุนสูง ก็ขาดทุนเหมือนเดิม                แนวคิดใหม่เกษตรกรต้องปลูกพืชหลายชนิด กล่าวคือ ปลูกข้าวไว้ก่อน เลือกชนิดพืชไม้ผล เช่น มะม่วง และปลูกสับปะรดเป็นไม้แซมลดต้นทุนการผลิตโดยหันมาใช้จุลินทรีย์ชีวภาพ เป็นจุลินทรีย์น้ำ-จุลินทรีย์แห้งทำสารไล่แมลง และฮอร์โมนเร่งออกดอกออกช่อ เมื่อพืชคละกันหลายชนิดในพื้นที่ โรคพืช แมลงที่รบกวนจะน้อยลงโดยธรรมชาติ อีกทั้งถ้าเราใช้สมุนไพรแทนยาฆ่าแมลง ก็ได้ผลอีกด้วย                บางคนบอกว่า ผมทำงานราชการ เศรษฐกิจพอเพียงไม่เกี่ยวกับผม ความคิดนี้ผิดถนัด เพราะเศรษฐกิจแบบพอเพียงไม่จำกัดอยู่เพียงแค่การเพาะปลูกของเกษตรกรเท่านั้น ยังใช้กับผู้คนที่ทำงานประจำในหน่วยงานหรือองค์กรต่างๆ ได้ด้วยเพราะถ้ารู้จักวิธีประหยัด ลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนก็ย่อมจะมีเงินออมเพิ่มขึ้น                ประหยัดได้อย่างไร ยกตัวอย่างการกำจัดเศษอาหารในครัวเรือนโดยทั่วไปจะใส่ถุงขยะ ให้เทศบาลเก็บไปทิ้ง ก่อปัญหาต่อสังคม ถ้าเรารู้จักนำขยะกลับมาใช้ใหม่ โดยอาศัย ถังพิทักษ์โลก ใส่เศษอาหาร เปลือกผลไม้ ฯลฯ พร้อมกับใส่ปุ๋ยย์จุลินทรีย์ลงไปช่วยย่อย ผลผลิตคือปุ๋ยจุลินทรีย์ชนิดน้ำและปุ๋ยจุลินทรีย์ชนิดแห้ง นำไปใส่ไม้ดอก ไม้ประดับรอบๆ บ้านลดการใช้จ่ายจากการซื้อปุ๋ยเคมี และเอาจุลินทรีย์ที่ได้ใส่ในส้วม ส้วมของเราจะไม่มีวันเต็มใส่ท่อระบายน้ำก็สามารถบำบัดกลิ่นได้                เห็นหรือยังว่าทุกคนสามารถใช้ จุลินทรีย์ ให้เป็นประโยชน์แก่ตนได้ และสิ่งแวดล้อมของเราจะดีขึ้น ของดีๆ อย่างนี้ทำไมพวกเราจึงไม่ทดลองใช้ดู                แต่ประการที่สำคัญที่จะต้องระลึกไว้ ดังนี้1.                   พอมีพอกิน ปลูกพืชส่วนครัวไว้กินเองบ้าง ปลูกไม้ผลไว้หลังบ้าน 2-3 ต้น พอที่จะมีไว้กินเองในครัวเรือน เหลือจึงขายได้2.                   พออยู่พอใช้ ทำให้บ้านหน้าอยู่ ปราศจากสารเคมี กลิ่นเหม็น ใช้แต่ของที่เป็นธรรมชาติ (ใช้จุลินทรีย์ผสมน้ำถูพื้นบ้าน จะสะอาดกว่าใช้น้ำยาเคมี) รายจ่ายลดลง สุขภาพจะดีขึ้น (ประหยัดค่ารักษาพยาบาล) 3.                   พออกพอใจ เราต้องรู้จักพอ รู้จักประมาณตน ไม่ใคร่อยากใคร่มี เช่นผู้อื่น เพราะเราจะหลงติดกับวัตถุ ปัญญาจะไม่เกิดเศรษฐกิจพอเพียง จะสำเร็จได้ด้วย ความพอดีของตนเอง   โดยนายสนธิชัย   เย็นตระกูล
คำสำคัญ (Tags): #no tag
หมายเลขบันทึก: 115519เขียนเมื่อ 29 กรกฎาคม 2007 16:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 พฤษภาคม 2012 17:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

          เศรษฐกิจพอเพียงเป็น "ปรัชญา" ในการดำเนินชีวิต ถ้าเรามัวเน้นที่การเผยแพร่และสร้างความรู้ในหลักปรัชญานี้ให้แก่คนทั้งหลาย โดยผู้ทำการเผยแพร่เองก็ยังไม่ได้ปฏิบัติตามปรัชญาเป็นปฐม อีกกี่ชาติก็คงไม่สำเร็จ เพราะนั่นมันเป็นเพียง "วิชา"
          วิทยากรท่านหนึ่ง พูดเรื่อง "เศรษฐกิจพอเพียง" ให้แก่ที่ประชุมแห่งหนึ่งฟัง ได้บรรยากาศดีเยี่ยม ตลอดระยะเวลาหนึ่งชัวโมงครึ่งที่ท่านพูด ผู้ฟังไม่ง่วงเลย หัวเราะชอบใจและสนุกไปกับการฟังท่านบรรยาย เมื่อจบได้รับการปรบมือลั่นห้อง ท่านยกมือไหว้รับอย่างภาคภูมิใจ พร้อมกับเดินลงจากเวที
          พอมาถึงโต๊ะรับแขกด้านข้างเวที ท่านก็หยิบบุหรี่ขึ้นมาจุดสูบ พร้อมกับพูดว่า "เงี่ยนจัง"

จริงอย่างที่อาจารย์เล่ามา เห็นด้วยค่ะ การที่รู้และไม่ลงมือทำ รู้แต่ตำรา และการเผยแพร่ การกระทำเป็นตัวอย่างที่ดียิ่งกว่าคำสอน ค่ะ

นานาจิตตัง คิดอย่างไรได้อย่างนั้น คิดในทางบวกก็จะได้ทางบวก คิดในทางลบก็จะได้ทางลบ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท