เทคนิคในการตั้งชื่อโครงการวิจัย


เมื่อวันอังคารที่ 24 ก.ค ที่ผ่านมา ชาว Patho OTOP3 มารับฟังคำชี้แจงในการเขียนโครงร่างโครงการ  อันเนื่องมาจากที่ผู้สมัครได้รับแบบฟอร์มในการเขียนโครงการ  พร้อมคำแนะนำในการเขียนโดยสังเขปไปแล้ว  แต่คิดว่าคงทำให้หลายคนปวดหัวกันพอสมควร  ว่าทำไมมีหัวข้อรายละเอียดมากมาย (แต่ประเด็นนี้ ขอแก้ตัวว่า หัวข้อที่ให้เขียน เป็นหัวข้อหลักที่ต้องเขียนในการเขียนโครงร่างวิจัย ที่ผู้ทำวิจัยต้องเขียนโดยพื้นฐาน)

อย่างไรก็ตาม เพื่อให้ทุกคนเข้าใจให้กระจ่างอีกครั้ง  ก็เลยนัดประชุมชี้แจงการเขียนโครงการ โดยมี อ.จำนงค์ เป็นวิทยากร

อ.จำนงค์ ออกตัวว่า วันนี้ไม่ได้เตรียมพร้อม เพราะหัวหน้าภาคเลื่อนนัดโดยไม่ได้บอก  อันนี้ก็ต้องขออภัยทั้งอ.จำนงค์และ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมที่มีเหตุผิดพลาดในการสื่อสาร 

อ.จำนงค์เริ่มด้วยการแนะนำ การเขียนหัวข้อหรือชื่อโครงการ วิธีการที่อาจารย์จำนงค์ใช้น่าสนใจมากค่ะ

อาจารย์บอกว่า ก่อนเขียนชื่อโครงการ เราต้องตั้งคำถามวิจัยให้ชัด  มีคำถามวิจัยหลัก ก็คือเรื่องหลักที่เราอยากรู้ที่สุด เกิดจากความสงสัยของเรา คำถามวิจัยรอง คือส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อการตอบคำถามหลักด้วย 

ขั้นตอนต่อไป ก็หา “คำหลัก” หรือที่เรียกว่า “key words” ในคำถามวิจัย   ต่อจากนั้น เอา “คำหลัก” มาตั้งเป็นชื่อโครงการหรือหัวข้อโครงการ  ซึ่งชื่อโครงการต้องสื่อให้เห็นภาพของโครงการว่าจะทำอะไร อย่างไร เพื่ออะไร และ ที่สำคัญ ควรตั้งให้ชื่อน่าสนใจ  

อ.จำนงค์ยกตัวอย่าง..   
คำถามหลัก: ทำไมใบบัวไม่เปื้อนโคลน
คำถามรอง: พืชชนิดอื่น เป็นแบบนี้ไหม
คำถามรอง: โครงสร้างทางกายภาพ แต่ต่างกันไหม

คำหลักจากคำถามในตัวอย่างนี้ : ใบบัว  เปื้อนโคลน  พืชอื่นๆ โครงสร้างทางกายภาพ

แล้วก็นำคำหลัก มาตั้งชื่อโครงการ (ที่อ.จำนงค์ ตั้งไว้  อาจไม่เป็นตามนี้เป๊ะ)

ชื่อโครงการ ความแตกต่างด้านโครงสร้างทางกายภาพของใบบัวกับพืชชนิดอื่นที่ทำให้ใบบัวไม่เปื้อนโคลน

ก็เป็นเทคนิคเล็กๆ ที่น่าสนใจ และ ง่ายต่อการปฏิบัติ  ทำให้ได้ชื่อโครงการที่สื่อให้เห็นภาพรวมของโครงการ

 หนุ่ม และ สาวชาว Patho OTOP3 จากหลายหน่วย

ภาพนี้เป็น หนุ่ม และ สาว จากหน่วยพันธุศาสตร์ล้วนๆ

พี่เลี้ยง อ.อ๊อด มาช่วยสมาชิกในทีม แม่สี (เรือน) อย่างใกล้ชิด

หมายเลขบันทึก: 115517เขียนเมื่อ 29 กรกฎาคม 2007 16:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
เวลาเขียนไปแล้ว รู้สึกเหมือนคำถามหลัก คำถามรอง คำถามรองกว่า ... ไปเรื่อยๆเลยครับ. ผมหลงทางอะไรอยู่หรือเปล่าครับ. หรือว่าโลกมันก็เป็นแบบนี้?

สอบวิจัยพรุ่งนี้แล้ว..ไม่เห็นจะรู้เรื่องเลย..งง..โคตรๆ..ใครก็ได้บอกหน่อยดิ

กำลังเตรียมทำโครงร่างวิจัย สิ่งที่สนใจคืออยากให้เยาวชนสนใจประวัติศาสตร์ทางด้านสถาปัตยกรรมไทยเพื่อพัฒนาท้องถิ่นแบบยั่งยืน ตัวอย่างเช่น ความเป็นมาขององค์พระปฐมเจดีย์ เกี่ยวข้องกับสถาปัตยกรรมไทยในส่วนไหน บริเวณโดยรอบองค์พระปฐมเดิมเป็นอย่างไร ทำไมปัจจุบันเป็นแบบนี้ อนาคตควรทำอย่างไร สิ่งที่คาดหวังหรือประโยชน์ที่จะได้รับคืออะไร ประมาณนี้ อยากทราบว่า การคิดหัวข้อเรื่องให้น่าสนใจ จากตัวอย่างที่ยกขึ้นมา จะเรียบเรียงเพิ่มเติมความน่าสนใจ เสนอผ่านคณะกรรมการ ต้องเรียบเรียงอย่างไรบ้างค่ะ

ตอนนี้น้องอยู่ปีที่4 เรียนอยู่วนศ.สพ กำลังต้องทำวิทยานิพนธ์แต่ไม่มีความรู้อะไรเลย และต้องทำในเรื่องที่เกี่ยวกับคีตศิลป์ เครียดมากเพราะไม่รู้ว่าจะทำเรื่องใด  ท่านเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถขอได้โปรดเมตาชี้แนะแนวทางสู่ความสำเร็จแก่น้องในเรื่องนี้ด้วย  ขอบพระคุณอย่างสูง

ตอนนี้น้องอยู่ปีที่4 เรียนอยู่วนศ.สพ กำลังต้องทำวิทยานิพนธ์แต่ไม่มีความรู้อะไรเลย และต้องทำในเรื่องที่เกี่ยวกับคีตศิลป์ เครียดมากเพราะไม่รู้ว่าจะทำเรื่องใด  ท่านเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถขอได้โปรดเมตาชี้แนะแนวทางสู่ความสำเร็จแก่น้องในเรื่องนี้ด้วย  ขอบพระคุณอย่างสูง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท