BM.chaiwut
พระมหาชัยวุธ โภชนุกูล ฉายา ฐานุตฺตโม

ครูสอนศาสนาพราหมณ์-ฮินดู


ครูสอนศาสนาพราหมณ์-ฮินดู

ผู้เขียนเพิ่งรู้ว่าได้รับมอบหมายให้สอนวิชาศาสนาพราหมณ์-ฮินดูก็เมื่อเปิดภาคเรียนแล้ว เนื่องจากไม่ได้เข้าร่วมประชุมครูเพราะต้องเดินทางไปสัมมนาที่กรุงเทพฯ และความเป็นอาจารย์ประจำก็คล้ายกับไก่รองบ่อน กล่าวคือ เมื่อไม่มีใครสอนก็จำเป็นจะต้องสอนเองในวิชานั้นๆ...

ผู้เขียนจบปรัชญา มิใช่จบศาสนา ดังนั้น จึงไม่เคยเรียนศาสนาพราหมณ์-ฮินดูโดยตรง เคยเรียนเล็กน้อยก็ในวิชาศาสนาทั่วไป... เมื่อจำเป็นต้องสอนก็ต้องไปขุดคุ้ยปรัชญาอินเดียที่เคยเรียนมาบ้างเท่านั้น...

ปรัชญาและศาสนาในส่วนที่คาบเกี่ยวกันนั้น แตกต่างกันนิดหน่อย กล่าวคือ ปรัชญาจะเน้นแนวคิด ส่วนศาสนาจะเน้นแนวปฏิบัติ ดังนั้น การสอนศาสนาพราหมณ์-ฮินดูของผู้เขียนจึงเน้นแนวคิดมากกว่าแนวปฏิบัติตามที่ผู้เขียนถนัด...

.......

หลักสูตรกำหนดให้สอนเกี่ยวกับคัมภีร์พระเวทและภควัทคีตา... แต่หนังสือภาษาไทยที่อธิบายเกี่ยวกับคัมภีร์พระเวท หรือคัมภีร์พระเวทที่แปลเป็นภาษาไทยโดยตรง ผู้เขียนไม่เคยเจอ จะเจอบ้างก็แต่ผู้ยกมาสั้นๆ โดยอ้างว่ามาจากคัมภีร์พระเวทเท่านั้น... ส่วนคัมภีร์ภควัทคีตานั้น ฉบับภาษาไทยหาได้ไม่ยาก เฉพาะของผู้เขียนเองก็มีอยู่ ๓ สำนวน...

จะสอนอย่างไร ? นี้คือประเด็นที่ผู้เขียนจะต้องตอบตัวเอง... ในส่วนความรู้ทั่วไปนั้น ก็ตั้งหัวข้อให้นิสิตไปเขียนมาส่งทุกสัปดาห์ เช่น ให้วิจารณ์แนวคิดเรื่องตรีมูรติ ความแตกต่างระหว่างลัทธิไวษณพกับลัทธิไศวะ หรือแนวคิดเรื่องนารายณ์อวตาร เป็นต้น ซึ่งผู้เขียนก็อาศัยความรู้ความเข้าใจเพิ่มเติมจากงานที่นิสิตนำมาส่งนี้เอง...

ในส่วนประวัติศาสตร์ ผู้เขียนก็อาศัยหนังสือ บ่อเกิดลัทธิประเพณีอินเดีย ซึ่งอาจารย์จำนง ทองประเสริฐ ได้แปลไว้นานแล้ว... และหนังสือของอาจารย์อื่นๆ ตามที่จะค้นหาได้...

ในส่วนของแนวคิด โดยเฉพาะของสำนักครูทั้งหกนั้น ผู้เขียนมีความเข้าใจและความเห็นเป็นทุนเดิมอยู่แล้วจากการเรียนปรัชญาอินเดียกับอาจารย์อดิศักดิ์ ทองบุญ และอาจารย์อื่นๆ (ปีที่แล้วเจออาจารย์อดิศักดิ์บอกท่านว่า "ความรู้พื้นฐานกว่าครึ่งหนึ่งได้มาจากอาจารย์")... ดังนั้น เพียงปัดฝุ่นเล็กน้อยก็สามารถนำมาเล่าเล่นๆ ให้นิสิตปวดหัวได้ไม่ยากนัก...

..........

ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ไม่มีศาสดาหรือผู้ให้กำเนิดโดยตรง เป็นเพียงกลุ่มความเชื่อที่ยึดถือคำภีร์พระเวทเป็นหลักเบื้องต้นเท่านั้น... เชื่อกันว่าคัมภีร์พระเวทน่าจะมีอายุประมาณ ๔๐๐๐ ปี โดยพื้นฐานเดิมเป็นเพียงบทเพลงของนักรบอารยันซึ่งบุกเข้ามายังชมพูทวีป...

จากบทเพลงก็กลายมาเป็นคัมภีร์... เมื่อสร้างบ้านแปงเมืองได้แล้วนักรบ (กษัตริย์) ก็ค่อยหมดความสำคัญลง... กลุ่มนักวิชาการจึงค่อยๆ ตีความคัมภีร์เพื่อนำมาประยุกต์ใช้อธิบายบางอย่างและเพื่อส่งเสริมฐานะของตน ซึ่งกลุ่มนักวิชาการเหล่านี้เองได้แก่ พราหมณ์ ในสมัยต่อมา...

คำสอนของพราหมณ์เหล่านี้เอง เรียกกันว่า ศาสนาพราหมณ์ ซึ่งแม้จะมีความคิดเห็นแตกต่างกันมากมาย แต่ทุกฝ่ายก็อ้างคัมภีร์พระเวท...

เมื่อมุสลิมบุกมายังชมพูทวีปและเข้าครอบครองบางส่วนของชมพูทวีปแล้ว ความเชื่อพื้นฐานเดิมของชาวชมพูทวีปถูกเรียกว่า ศาสนาของชาวฮินดู ... นี้คือที่มาของความแตกต่างกันระหว่าง พรามหณ์กับฮินดู...

............

คำว่า ฮินดู มาจาก สินธู เป็นชื่อของแม่น้ำสายสำคัญของชมพูทวีปซึ่งเป็นแหล่งอารยธรรมโบราณ... แต่ชาวเปอร์เซียออกเสียงเพี้ยนไปว่า ฮินดู... เมื่อไปถึงยุโรป สถานที่นี้ก็ถูกเรียกว่า อินเดีย (ที่อยู่ของชาวฮินดู ชื่อว่า อินเดีย ..เมื่อจะอธิบายตามหลักภาษาศาสตร์) ...

แต่ชาวอินเดียหรือฮินดู กลับเรียกตัวเองว่า ภารตะ โดยเชื่อว่า พวกเขาสืบเชื้อสายมาจากพระเจ้าภรต  ตามตำนานของมหากาพย์ชื่อภารตยุทธ์...

ในฐานะครูสอนศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ผู้เขียนก็คงจะต้องซึมซับในเรื่องนี้ไปเรื่อยๆ....

หมายเลขบันทึก: 115329เขียนเมื่อ 28 กรกฎาคม 2007 18:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 พฤษภาคม 2012 21:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)
ผลประโยชน์ทับซ้อนดูเหมือนจะคู่สังคมมนุษย์มายาวนาน.
P
เพี่งเห็นว่าเขียนชื่อเป็น อักษรเทวนาครี
อ่านว่า วีระ
เจริญพร
[นอกเรื่อง]
ทางฮินดีเหมือนจะ romanize ออกมาเป็น veer ครับ.  (จากหนังเรื่อง veer-zeera; वीर-ज़ारा) แต่ว่าคนไทยอ่านว่าเวียร์. ถามเพื่อนที่มาจาก mumbai ก็ออกเสียงคล้ายๆ วีระ จริงครับ. แต่คล้ายว่ารวมกันเป็นพยางค์เดียวแล้วออกเสียงพยัญชนะท้ายคล้ายๆ ภาษาอังกฤษ. ฟังแล้วแล้วเหมือนเขาออก r คล้ายๆ l ภาษาฝรั่งเศส. (อาจจะเกิดจากหูผมแยกความแตกต่างไม่ค่อยได้เองด้วยครับ)
P
อักษรเทวนาครี หลวงพี่ก็อ่านออกเพียงนิดหน่อย เพราะตอนเรียนสันสฤตใช้อักษรนี้ แต่ถ้ามาให้อ่านตอนนี้ บางครั้งบางตัวก็นึกไม่ออกบอกไม่ถูกเหมือนกัน....
ส่วนการออกเสียงนั้น คงจะขึ้นอยู่กับภาษาที่อักษรเทวนาครีใช้เขียนด้วย... ซึ่งภาษาสันสฤต บาลี ฮินดี พราหมณี เป็นต้น.. บางครั้งก็อาจเขียนด้วยอักษรเทวนาครีเหมือนกัน...
ประเด็นนี้อาจพอเทียบได้กับ ภาษาอังฤษ เยอรมัน ฝรั่งเศส ที่ใช้อักษรโรมันเขียนเหมือนกัน แต่อาจออกเสียงเพี้ยนๆ ไปบ้าง...
หลวงพี่ไม่ได้หัดมาในการออกเสียงด้วย เพียงแค่พอแปลได้หรืออ่านพอรู้เรื่อง ก็พอใจแล้ว.....
.........
ตอนนี้ กำลังดู โยคสูตร ของปตัญชลี ที่สวามีฯ แปลมาเป็นภาษาไทย... เฉพาะสูตรภาษาสันสกฤตที่เขียนเป็นอักษรไทย หลวงพี่ไม่มั่นใจเลยว่าพิพม์มาถูกต้องหรือไม่ เพราะหนังสือพิมพ์มานานแล้ว เช่น
 

 

๗. ปรตฺยกฺษานุมานาคมาะ ปฺรมาณานิ๗. ประมาณ คือ ประจักษณ์ อนุมาณ และอาคมหรือศัพท์

 

๑๒. อภฺยาสไวราคฺยาภฺยำ ตนฺนิโรธะ๑๒. นิโรธของมัน (เป็นไปได้) ด้วยอัภยาส (การปฏิบัติ) และวิราคธรรม

 

หลวงพี่ว่าจะเขียนวิจารณ์...ไม่แน่ว่าน้องวีร์ชำนาญอักษรเทวนาครีระดับไหน ? ถ้าเป็นไปได้ หลวงพี่ก็จะไปหาฉบับอักษรเทวนาครี แล้วให้น้องวีร์ช่วยตรวจที่ เป็นอักษรไทยให้หน่อย....
เจริญพร  
P  อักษรแบบนี้ผมอ่านออกเขียนได้แต่เพียงชื่อตัวเองครับ. ที่เหลืออ่านไม่ออกเลย. (มีคำว่ารามพอเดาๆ ได้เพราะคล้ายๆอักษรไทยอีกคำครับ)

ถ้าออกแบบสันสฤตอาจจะเป็นวีระจริงๆก็ได้ครับ เพราะ romanize แล้วเป็น vIra. 

ต้นฉบับที่เป็นอักษรเทวนาครีเป็นแบบ electronic หรือเปล่าครับ? ถ้าเป็นไฟล์ตัวอักษรอยู่แล้วน่าจะลองเทียบกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ได้ครับ. 
P
ใช่... ราม ตามอักษรเทวนาครีจะมองคล้ายๆ เขียนด้วยภาษาไทย...
ลองค้นดูแล้ว โยคสูตร ในอินเทอร์เน็ตมีเยอะเลย  แต่ยังไม่เจอที่เขียนเป็นอักษรเทวนาครี..  มีที่เป็นอักษรโรมัน... ส่วนที่แปลเป็นภาษาอังกฤษก็มีเยอะ... 
....
web นี้ มีสันสกฤต ๓ สำนวน... รวมทั้งแปลเป็น อังกฤษ ฝรั่งเศษ และสเปนอีกหลายสำนวนไว้ด้วย... น่าสนใจ
.........
web นี้แปลเป็นภาษาอังกฤษอ่านง่าย... และยังรวมเรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจไว้อีกเยอะ... ไม่แน่ใจว่าน้องวีร์เคยเข้าไปบ้างหรือไม่ ?
.....
พอดีช่วงนี้ ปิดเทศกาลเข้าพรรษา คิดว่าจะลองอ่านเล่นๆ ....
เจริญพร
ศาสนาพราหมณ์มีคุณลักษณะพิเศษอย่างไร
ไม่มีรูป

นิสิต

ลองค้นหาอ่านในอินเทอร์เน็ต เฉพาะภาษาไทยก็มีผู้ขยายความไว้เยอะแล้ว....

เจริญพร 

อยากทราบถึงเกี่ยวกับเรื่อง มนูษย์และองค์ประกอบในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ครับ

เนื่องจากต้องทำรายงานส่งอาจารย์ครับ

ไม่มีรูป มานพ แก่นจรรยา

 

ลองค้นดูใน Google.com มีเรื่องราวมากมาย...

หนังสือแนะนำก็ ปรัชญาอินเดีย ของ อ.อดิศักดิ์ ทองบุญ ซึ่งได้จำแนกแยกแยะแต่ละประเด็นไว้อย่างละเอียด...

หรือถ้าชอบค้นคว้าและอ่านหนังสือที่ไม่ง่ายนักได้ ก็ลอง (คลิกที่นี้) เลือกอ่านเฉพาะประเด็นที่เกี่ยวข้อง...

เจริญพร

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท