การทบทวนวรรณกรรมนี้ จัดทำขึ้นภายใต้การมอบหมายจาก องค์การเพื่อเด็กและครอบครัว (The Administration for Child and Families) องค์การให้ความช่วยเหลือ และบริการด้านสุขภาพ (The Health Resources and Services Administration) องค์การบริการการเงินด้านสุขภาพ (The Health Care Financing Administration) และกรมโภชนบริการ และอาหารทางการเกษตร (Department of Agriculture's Food and Nutrition Service) วัตถุประสงค์ เพื่อปรับปรุงความรู้เกี่ยวกับ ปัจจัยด้านอาหารที่มีผลต่อโรคฟันผุ และจัดทำสรุปข้อเสนอแนะ ในการบริโภคอาหารสำหรับเด็กปฐมวัย เพื่อป้องกันฟันผุที่เหมาะสม กับสถานการณ์ปัจจุบัน วัสดุและวิธีการ ทำการทบทวน และสังเคราะห์วรรณกรรม ที่เกี่ยวกับกระบวนการเกิดโรคฟันผุ ปัจจัยด้านอาหารที่มีผลต่อการผุระยะเริ่มแรก และการลุกลามของโรค การให้ความรู้ และคำปรึกษาด้านโภชนาการ และนำผลมาจัดทำแนวทางการบริโภคอาหาร สำหรับเด็กปฐมวัยในช่วงอายุต่างๆ ผลการศึกษา โรคฟันผุในเด็กปฐมวัยเกิดจากปัจจัยหลายๆ อย่างร่วมกัน คือ การสะสมของเชื้อจุลินทรีย์บนตัวฟัน ชนิดของอาหาร ความถี่ในการบริโภค และฟันที่เสี่ยงต่อการผุ การเสี่ยงต่อโรคฟันผุจะสูงมากที่สุด หากมีการบริโภคน้ำตาลบ่อยครั้ง และเป็นน้ำตาลในรูปแบบ ที่ตกค้างในช่องปากเป็นเวลานาน น้ำตาลซูโครสเป็นน้ำตาลที่ก่อให้เกิดฟันผุ ได้มากที่สุด เพราะสามารถเปลี่ยนเป็นกลูแคน (glucan) ซึ่งเป็นตัวเสริมให้แบคทีเรียเกาะกลุ่ม และจับแน่นบนตัวฟัน อีกทั้งยังจำกัดการแพร่กระจายของกรด และบัฟเฟอร์ (buffers) ในคราบจุลินทรีย์ เรื่องใหม่ที่น่าใจ คือ การพัฒนาการของฟัน มีส่วนเกี่ยวข้องกับความเสี่ยง ต่อโรคฟันผุของเด็กในอนาคตด้วย สรุปผลการให้ความรู้ และคำปรึกษาทางโภชนาการ เพื่อการลดโรคฟันผุในเด็ก ควรมุ่งที่จะสอนผู้ปกครองให้เห็นถึง ความสำคัญของการลดความถี่ ในการบริโภคน้ำตาลโดยตรง และน้ำตาลที่แฝงมากับอาหาร รวมทั้งการลดความถี่ ในการบริโภคน้ำผลไม้ เครื่องดื่มผสมน้ำตาลจากขวด หรือถ้วยจิบบ่อยๆ ลดพฤติกรรมการหลับ พร้อมขวดนมคาปาก สนับสนุนให้รับประทานอาหารตามธงโภชนาการ (Food Guide Pyramid) อาหารที่ก่อให้เกิดฟันผุ ควรบริโภคเฉพาะในมื้ออาหารเท่านั้น หลังจากนั้น ให้แปรงฟันทันที หรือบริโภคอาหาร ที่ช่วยป้องกันโรค งดอาหารระหว่างมื้อที่มีน้ำตาลผสม และละลายช้า (เช่น ลูกกวาดลูกอม อมยิ้ม ยาอม) นอกจากปัจจัยด้านอาหารแล้ว การป้องกันฟันผุในเด็กปฐมวัย ควรให้ความสำคัญในด้านการปรับปรุงบริโภคนิสัย รักษาอนามัยช่องปาก การใช้ฟลูออไรด์ที่เหมาะสม และการเข้าถึงระบบบริการดูแลทันตสุขภาพ ทั้งในด้านการส่งเสริมป้องกัน และการรักษา
คำสำคัญ : โรคฟันผุ เด็กปฐมวัย อาหาร ข้อเสนอแนะ สารอาหาร การให้ความรู้
ในปัจจุบันเด็กเป็นโรคฟันผุเป็นจำนวนมากอันเนื่องมาจากการลือกรับประทานอาหารเป็นส่วนประกอบ
ปัญหาโรคฟันผุในปัจจุบันมีมากมายในการป้องกันแก้ไขควรที่จะให้ความรู้และปลูกฝังพฤติกรรมการกินและการรักษาดูแลช่องปากโดยการปลูกฝังทั้งตัวเด็กและผู้ปกครอง
ของหวานเป็นสิ่งหนึ่งที่เด็กชอบทาน จากบทความจะเห็นได้ว่าการบริโภคอาหารของเด็กมักมีผลเสี่ยงต่อฟันผุเสมอ ดังนั้นผู้ปกครองควรแนะนำให้เด็กรับประทานอาหารที่ดีและไม่ทำให้ฟันผุ แต่ถ้าหากเลี่ยงไม่ได้ก็ควรสอนให้เด็กรู้จักวิธีดูแลรักษาฟันที่ถูกต้องเพื่อสุขภาพฟันที่ดีของเด็ก
จากบทความจะพบว่าโรคฟันพุนี้จะเกิดกับเด็กที่ชอบทานอาหารที่มีน้ำตาลผสมมากดังนั้นผู้ปกครองควรให้ความสนใจเด็กในการรับประทานอาหารให้เด็กรับประทานอารหารที่มีประโยชน์ที่ไม่ก่อให้เกิดโรคฟันพุและควรสอนให้เด็กรู้จักการดูแลรักษาฟันที่ถูกวิธีเด็กจะได้ไม่เกิดโรคฟันพุ
ปัจจุบันนี้ปัญหาโรคฟันผุนับว่าเป็นปัญหาที่สำคัญมากสำหรับเด็กสาเหตุเนื่องมาจากการรับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ดังนั้นผู้ปกครองควรให้คำแนะนำและสอนวิธีการดูแลรักษาฟันที่ถูกต้องแก่เด็ก
เห็นด้วยจากบทความข้างต้นเพราะสิ่งที่สำคัญที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เด็กฟันผุเนื่องจากการรับประทานอาหารป็นส่วนใหญ่ผู้ปกครองควรดูแลเอาใจใส่เกี่ยวกับสุขภาพในช่องปากของบุตรหลานเพื่อให้มีสุขภาพฟันที่สมบูรณ์แข็งแรง
พ่อแม่ควรระวังเรื่องการรับประทานอาหารของเด็กเพราะการกินอาหารที่มีรสหวานจะส่งผลเกี่ยวกับฟันของเด็กและเป็นสาเหตุของโรคฟันผุในเด็ก
จากบทความที่ว่านี้พบว่าเด็กที่เป็นโรคฟันผุเนื่องจากว่าชอบทานขนมหวาน เพราะฉะนั้น ดิฉันก้ออยากฝากให้เด็กทุกคนรวมทั้งตัวดิฉันด้วยให้กินแต่สิ่งที่มีประโยชน์ (อย่าลืมนะคะ)
ขอบทความฉบับเต็มได้ไหมครับ เพื่อใช้ในการปฏิบัติงานต่อไป
ประสิทธิ์
รพ.เฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน