KMในประชุมเชิงปฏิบัติการนักส่งเสริมการเกษตร(มกราคม 2549)


ได้สอดแทรกและผสมผสานการจัดการความรู้ให้ผสมกลมกลืนกับการปฏิบัติงานส่งเสริมการเกษตรตามปกติ จะไม่ให้มีความรู้สึกที่แปลกแยกหรือขัดแย้ง

          การประชุมเชิงปฏิบัติการส่งเสริมการเกษตรระดับอำเภอ ครั้งที่ 1/2549 ในเดือนมกราคม  2549 ซึ่งการประชุมเชิงปฏิบัติการดังกล่าวได้แบ่งเจ้าหน้าที่ออกเป็น 2 สาย และหมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพในการจัดประชุมฯ คือ

          สายที่ 1 ประกอบไปด้วย 5 อำเภอ ได้แก่  อำเภอเมือง,พรานกระต่าย,ไทรงาม,ลานกระบือ และกิ่งอำเภอโกสัมพีนคร มีนักส่งเสริมเข้าร่วม ประมาณ 50 คน

          สายที่ 2  ประกอบไปด้วย 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอคลองขลุง,ขาณุวรลักษบุรี,คลองลาน,ปางศิลาทอง,ทรายทองวัฒนา และกิ่งอำเภอบึงสามัคคี มีนักส่งเสริมเข้าร่วม ประมาณ 42 คน

  • เดือนมกราคม  สายที่ 1 วันที่ 18 มกราคม 2549 อำเภอเมืองกำแพงเพชร เป็นเจ้าภาพ
  • เดือนมกราคม  สายที่ 2 วันที่ 19 มกราคม 2549 อำเภอคลองขลุงเป็นเจ้าภาพ

          ทางทีมงานของสำนักงานเกษตรจังหวัดกำแพงเพชร ได้กำหนดให้มีการนำการจัดการความรู้ เข้ามาผสมผสานร่วมกันกับงานปกติ  ซึ่งตามปกติจะเน้นเพียงการประชุมชี้แจงการปฏิบัติงานโดยทั่วๆ ไปเป็นหลัก  แต่ในปี 2549 ได้มีกิจกรรมการเพื่อพัฒนาขีดความสามารถของนักส่งเสริมการเกษตร  เป็นการจัดกระบวนการให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างนักส่งเสริมการเกษตรกับนักส่งเสริมการเกษตร และนักส่งเสริมการเกษตรกับเกษตรกร  อันจะส่งผลให้เกิดการเรียนรู้และนำความรู้กลับไปปฏิบัติงานในพื้นที่ของตนเองกันมากยิ่งขึ้น โดยมีกิจกรรมที่ได้กำหนดไว้ในวันประชุมเชิงปฏิบัติการส่งเสริมการเกษตร เช่น

  • การศึกษาดูงานกิจกรรมที่ประสบผลสำเร็จ เกี่ยวกับการเกษตรปลอดภัย เกษตรอินทรีย์ หรือกิจกรรมที่เป็นไปในลักษณะของการพัฒนาที่ยั่งยืน อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เช่น กลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตศูนย์ข้าวชุมชน,เกษตรอินทรีย์-ชีววิธี,พืช GAP และ กลุ่มอาชีพที่ประสบความสำเร็จ เป็นต้น
  • การเล่าเรื่อง ทั้งจากนักส่งเสริมการเกษตรที่มีเทคนิค/วิธีการทำงานที่ดี และประสบผลสำเร็จในพื้นที่ หรือจากตัวเกษตรกรที่ปฏิบัติกิจกรรมแล้วประสบผลสำเร็จ
  • การฝึกการถอดบทเรียน/การสรุปบทเรียน/AAR

          กิจกรรมที่เพิ่มเติมเหล่านี้ ทีมงานได้กำหนดให้สำนักงานเกษตรอำเภอ/กิ่งอำเภอ ที่เป็นเจ้าภาพในแต่ละเดือนพิจารณากิจกรรมเด่นๆ และสอดคล้องกับสถานการณ์และความต้องการทั้งของนักส่งเสริมการเกษตรและของเกษตรกรในพื้นที่ เป็นทั้งการประชาสัมพันธ์เพื่อเผยแพร่ผลงาน การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อพัฒนาขีดความสามารถของนักส่งเสริมการเกษตร อันจะทำให้บรรลุสู่จุดหมาย "การพัฒนาให้เกษตรกรมีอาชีพและรายได้มั่นคง และพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน" ต่อไป

          เป็นอีกกิจกรรมหนึ่งที่ทีมงานฯ ได้สอดแทรกและผสมผสานการจัดการความรู้ให้ผสมกลมกลืนกับการปฏิบัติงานส่งเสริมการเกษตรตามปกติ จะไม่ให้มีความรู้สึกที่แปลกแยกหรือขัดแย้ง แม้จะเป็นสิ่งที่ดีและถูกต้อง แต่การจะอธิบายให้ทุกคนเข้าใจได้เท่าๆ และเห็นด้วยและลงมือปฏิบัติไปพร้อมๆ กันนั้นคงทำได้ยาก สู้ลงมือทำไปสอดแทรก ขยายผล ขยายเครือข่ายไปเรื่อยๆ (เล็กไปหาใหญ่) 

          บันทึกไว้เพื่อเป็นการ ลปรร. ครับ ส่วนผลการปฏิบัติจะเป็นอย่างไร กระบวนการปรับเปลี่ยนไปมากน้อยแค่ไหน จะเขียนมา ลปรร.กันต่อไปนะครับ

วีรยุทธ  สมป่าสัก

หมายเลขบันทึก: 11491เขียนเมื่อ 6 มกราคม 2006 16:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท