รางวัล KM BIO Award 2005


รางวัล KM BIO Award 2005

         วันนี้ในที่ประชุมประจำสัปดาห์ของ สคส.   เกิดไอเดียกระฉูดเรื่อง KM Blog Intelligent User Organization Award 2005    คือเราจะดูจากบล็อก Gogoknow  ว่าองค์กรใดที่ใช้บล็อก Gotoknow ในการขับเคลื่อน KM ขององค์กรได้เก่งที่สุด   ก็จะยกย่องและให้รางวัล   รวมทั้งให้ share วิธีใช้บล็อกเพื่อขับเคลื่อน KM ขององค์กรด้วย

เราจะประกาศผลภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2549   โดยมีกรรมการดังนี้
 1. อ. กรกฎ  เชาวะวนิช          ประธานกรรมการ
 2. ดร. จันทวรรณ  น้อยวันหรือ ดร. ธวัชชัย  ปิยะวัฒน์   กรรมการ
 3. คุณอนุชา  หนูนุ่น              กรรมการ
 4. คุณวรรณา  เลิศวิจิตรจรัส    กรรมการและเลขานุการ

         คณะกรรมการจะเป็นผู้กำหนดเกณฑ์พร้อมทั้งกำหนดรางวัล

         ใครมีคำแนะนำเรื่องเกณฑ์ในการคัดเลือก/ตัดสิน   และการให้รางวัล   โปรดเสนอตรงที่ 4 ท่านนี้   หรือเขียนเสนอลงในบล็อกก็ได้ครับ

วิจารณ์  พานิช
 4 ม.ค.49

คำสำคัญ (Tags): #บล็อก#km#องค์กร#ict
หมายเลขบันทึก: 11326เขียนเมื่อ 4 มกราคม 2006 15:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
ชื่อรางวัลเท่ห์และน่าสนใจมากค่ะ

ผมเสนอตัวอย่างของ เกณฑ์ให้คะแนนดังนี้ครับ

- องค์กรนั้น มีการใช้ระบบชุมชน
- ชุมชนมีการเขียนอย่าง active
- มีปฏิสัมพันธ์ในชุมชน (ไม่ได้เขียนอยู่คนเดียว)
- เกิดแนวคิดใหม่(นวัตกรรม) จากการพูดคุยแลกเปลี่ยนในชุมชน
- มีการ link ข้ามระหว่างบล็อก/บันทึกต่างๆ ในชุมชนพอควร

  • มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความรู้เชิงปฏิบัติ
  • มีการรวบรวมจัดกลุ่มความรู้โดยใช้คีย์เวิร์ด เพื่อประโยชน์ของการสร้าง COP Knowledge Mapping
  • มีการสร้างแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากทั้งคุณเอื้อ คุณอำนวย และ คุณกิจ เพื่อเป็นจุดเริ่มของการสร้าง E-Culture และเป็นการเริ่มต้นของการสร้างความเท่าเทียมของของทุกคนในทีม

ขอเชิญสมาชิกท่านอื่นช่วยกันเสนอแนะและลปรร. เกณฑ์ให้คะแนนด้วยนะคะ

ขอบคุณคะ

 

  • มีการสนับสนุนให้สมาชิกชุมชนแสดง Identity ของตนเองอย่างชัดเจน เช่น ชื่อจริง นามสกุลจริง ประวัติย่อ องค์กร ตำแหน่งงาน รูปถ่าย เป็นต้น เพื่อการสร้างความน่าเชื่อถือในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความรู้เชิงปฏิบัติ และ ค้นหาผู้เชี่ยวชาญความรู้ในด้านต่างๆ
  • มีการนำเอาแนวคิดด้านการจัดการความรู้มาประยุกต์ใช้ในชุมชนบล็อกอย่างเด่นชัด เช่น การมีผลตอบแทนเป็นแรงจูงใจให้คุณกิจเข้ามาเขียนบล็อกอย่างต่อเนื่อง
     ผมเสนอว่าควรมีนิยาม "องค์กรที่เข้าข่าย" ก่อนครับ แล้วค่อยเลือกเอา "องค์กรที่เข้าข่าย" คือ องค์กรที่มีลักษณะเป็นปลาทูครบและชัดเจน แล้วพิจารณาตาที่ อ.กรกฎ และ อ.ดร.จันทวรรณ เสนอไว้ครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท