PMQA กับงานส่งเสริมการเกษตร


ได้เดินทางไปร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการร่วมกับหน่วยงานต่างฯจำนวน8หน่วยงาน

แนวคิดการทำPMQA ของหน่วยงานระดับจังหวัด

 

                   เมื่อวันที่ 13 กรกฏาคม  2550  ผมและทีมงานPMQA ของสำนักงานเกษตรจังหวัดกำแพงเพชร จำนวน 4 คน ได้เดินทางไปร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการร่วมกับหน่วยงานต่างฯจำนวน 8 หน่วยงานได้แก่ สำนักงานจังหวัด  ประมงจังหวัด  ปศุสัตว์จังหวัด เกษตรจังหวัด สาธารณสุขจังหวัด  พัฒนาชุมชนจังหวัด  ที่ดินจังหวัด และสาธารณสุขจังหวัด     สถานที่จัด คือ  รีสอร์ทเรือนร่มไม้  อำเภอเก้าเลี้ยว   จังหวัดนครสวรรค์   ซึ่งเป็นการประชุมครั้งที่ 2    ซึ่งสำนักงานจังหวัดกำแพงเพชรเป็นแม่งาน  (ผู้ประสานงาน)

 

                   การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ มีการกำหนดวัตถุประสงค์ ( 1 )เพื่อให้ทีมผู้ปฏิบัติPMQA ของแต่ละหน่วยงานได้มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน รู้จักกัน คุ้นเคยกัน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม( 2 ) ให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันในการนำผลการปฏิบัติงานของแต่ละองค์กร จากการนำข้อมูลตอบลงในคำถาม จำนวน 105 ข้อ มีทั้งสิ้น จำนวน 7 หมวดประกอบด้วย

 

                   หมวด 1 การนำองค์กร  เป็นการตรวจประเมินว่า ผู้บริหารของส่วนราชการดำเนินการอย่างไรในเรื่องวิสัยทัศน์  เป้าประสงค์ระยะสั้นและระยะยาว  ค่านิยม  และความคาดหวังในผลการดำเนินการ รวมถึงการให้ความสำคัญ กับผู้บริการ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหลาย  การกระจายอำนาจการตัดสินใจ การสร้างนวัตกรรม  และการเรียนรู้ในส่วนราชการ  รวมทั้งตรวจประเมินว่าส่วนราชการมีการกำกับดูแลตนเองที่ดี และการดำเนินการเกี่ยวกับ ความรับผิดชอบต่อสังคมและชุมชนอย่างไร

 

                  หมวด 2 การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ เป็นการตรวจประเมินวิธีการกำหนดประเด็นยุทธศาสตร์   เป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ และกลยุทธ์หลัก รวมทั้งแผนการปฏิบัติราชการ  ของส่วนราชการ  และการถ่ายทอดเป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์  และกลยุทธ์หลักรวมทั้งแผนปฏิบัติราชการที่ได้จัดทำไว้ เพื่อนำไปปฏิบัติ  และการวัดผลความก้าวหน้า

 

                 หมวด 3 การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เป็นการตรวจประเมินว่าส่วนราชการกำหนดความต้องการ  ความคาดหวัง และความนิยมชมชอบของผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างไร  รวมถึงส่วนราชการมีการดำเนินการอย่างไร  ในการสร้างความสัมพันธ์กับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย   มีความพึงพอใจ และนำไปสู่การกล่าวถึงส่วนราชการในทางที่ดี

 

                 หมวด 4 การวัดการวิเคราะห์และการจัดการความรู้ เป็นการตรวจประเมินว่า ส่วนราชการเลือก รวบรวม  วิเคราะห์ จัดการและปรับปรุงข้อมูลละสารสนเทศ และการจัดการความรู้อย่างไร

 

                หมวด 5 การมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคล เป็นการตรวจประเมินว่า  ระบบงาน และระบบการเรียนรู้  ของบุคลากรและการสร้างแรงจูงใจ   ช่วยให้บุคลากรพัฒนาตนเอง  และใช้ศักยภาพอย่างเต็มที่ เพื่อให้มุ่งไปในแนวทางเดียวกันกับเป้าประสงค์และแผนปฏิบัติการโดยรวมของส่วนราชการอย่างไร  รวมทั้งตรวจประเมินความใส่ใจการสร้างละรักษาสภาพแวดล้อมในการทำงาน   สร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการปฏิบัติงานของบุคลากร  ซึ่งจะนำไปสู่ผลการดำเนินงานที่เป็นเลิศ และความเจริญก้าวหน้าของบุคลากรและส่วนราชการ

 

                    หมวด 6 การจัดการกระบวนการ  เป็นการตรวจประเมินแง่มุมที่สำคัญทั้งหมดของการจัดการกระบวนการ  การให้การบริการ และกระบวนการอื่นที่สำคัญที่ช่วยสร้างคุณค่าแก่ผู้รับบริการ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย  และการบรรลุพันธกิจของส่วนราชการ ตลอดจนกระบวนการสนับสนุนที่สำคัญต่างฯ หมวดนี้ครอบคลุมกระบวนการที่สำคัญและหน่วยงานทั้งหมด

 

                   หมวด 7 ผลลัพธ์การดำเนินการ เป็นการตรวจประเมินผลกการดำเนินการและ แนวโน้มของส่วนราชการในมิติต่างฯ ได้แก่มิติด้านประสิทธิผล  มิติด้านคุณภาพการให้บิการ  มิติด้านประสิทธิภาพของการปฏิบัติราชการ และมิติด้านการพัฒนาองค์กร  นอกจากนี้ยังตรวจประเมินผลการดำเนินการของส่วนราชการโดยเปรียบเทียบกับส่วนราชการหรือองค์กรอื่นที่มีภารกิจคล้ายคลึงกัน

 

                         จากการที่ทีมงาน PMQA  ได้มีโอกาสพูดคุยกันแบบเพื่อนฯร่วมงาน  แล้วทุกส่วนราชการลองย้อนไปมององค์กรที่เราสังกัดอยู่   หากบุคลากรส่วนใหญ่ยังไม่ปรับวิธีคิด  วัฒนธรรมก็ยังไม่มีการพัฒนา  ยังมีการบริหารงานยึดบริหารแบบโครงการ ไม่ได้มองวิสัยทัศน์และพันธกิจขององค์กร และยิ่งไปกว่านั้นยังไม่ได้ให้ความสำคัญกับผู้รับการบริการและผู้มีส่วนได้เสีย ยิ่งกว่านั้น ยังไม่ให้ความสำคัญกับ PMQA  หรือจะเรียกว่า    หากองค์ใดถ้ายังไม่มีการปรับตัว ไม่เปิดโอกาสให้บุคลากรได้คิดและตัดสินใจด้วยตนเอง  มีการรวมศูนย์อำนาจ ไม่เปิดโอกาสให้บุคลากรได้เกิดการเรียรรู้ร่วมกัน องค์กรนั้นจะอยู่อย่างไม่มีความหมายอีกต่อไป

                            สำหรับองค์กรใด ที่มีบุคลากรส่วนหนึ่ง  ที่เปิดใจได้เรียนรู้กับKM มาก่อน ย่อมจะส่งผลดีให้กับองค์กรนั้นฯ เพราะว่าบุคลากรได้เกิดการเรียนรู้ และเกิดการพัฒนาตนเองมาก่อน  ย่อมจะมองเห็นการพัฒนาองค์กร   การขับเคลื่อนองค์กร และเกิดการพัฒนาองค์กรไปในที่สุดครับ

 สถานที่จัดประชุมPMQAของทีมกำแพงเพชร

บรรยากาศการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แบบเพื่อนร่วมงาน

 บรรยากาศอีกมุมหนึ่งของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

คำสำคัญ (Tags): #pmqa#พัฒนาองค์กร
หมายเลขบันทึก: 111653เขียนเมื่อ 15 กรกฎาคม 2007 12:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • หวัดดีครับ พี่เขียวมรกต
  • ตอบคำถามได้กี่ข้อแล้วครับ จากทั้งหมด 105 ข้อ  
สวัสดีครับหนุ่มร้อยเกาะ  ขอบคุณมากที่มาเยี่ยม  การตอบคำถาม 105 ข้อ บางข้อเราทำอยู่แล้วก็จะตอบไม่ยาก บางข้อเราไม่ได้ทำ ก็ต้องบอกไปตามตรงว่าไม่ได้ทำ แต่ก็น่าเป็นห่วงอยู่ไม่น้อย ความจริงเขาถาม CKO  แต่เรากลับไปตอบแทน ยังไงอยู่ยังงงฯฯอยู่เหมือนกัน  ทางสุราษฏ์ธานี เขาทำอย่างไงกัน เล่าให้ฟังบ้างนะ  แต่ผมโชคดีได้จังหวะนำเสนอKM  โดยใช้Model ตัวปลาของสคส. ไปเลยได้เพื่อนต่างหน่วยงานทำKM  อีกระดับหนึ่งครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท