ฅน คอ QA


การประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับอุดมศึกษา หลักสูตรที่ ๓

มือใหม่หัดเรียนรู้การประเมิน QA

 ฅน คอ QA หรือ ท่านที่สนใจ การประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับอุดมศึกษา หลักสูตรที่ ๓ ที่จะจัดตามเครือข่ายมหาวิทยาลัยต่างๆ ลองอ่านข้างล่าง ได้ครับ

Iqa_v2007_1

ภาพ ท่านรองวิบูลย์ (คนกลาง) จาก มหาวิทยาลัยนเรศวร ผู้ใช้การประเมิน เตือนเพื่อพัฒนา มาร่วมเป็น Site ในการฝึกอบรมด้วยครับ

Iqa_v2007_2

ภาพ ทีมงาน จากมหาวิทยาลเครือข่าย ๑๑ แห่ง ทั่วประเทศ

 รายชื่อมหาวิทยาลัยเครือข่ายที่ร่วมจัด อบรมผู้ประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ๒๕๕๐ ตามแนวทางที่ สกอ วางไว้ เพื่อให้สอดคล้อง กับ พรบ การศึกษาแห่งชาติ ๒๕๔๒ โดยผู้ที่ผ่านการอบรมจาก สกอ จะได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประเมินคุณภาพ ครับ

 รุ่นที่ ๑ ม.รังสิต วันที่ ๒๒-๒๔ สิงหาคม

 รุ่นที่ ๒ ม.ราชภัฎธนบุรี วันที่ ๒๙-๓๑ สิงหาคม

 รุ่นที่ ๓ ม.หอการค้าไทย วันที่ ๓-๕ กันยายน 

 รุ่นที่ ๔ ม.รามคำแหง วันที่ ๑๐-๑๒ กันยายน 

 รุ่นที่ ๕ ม.เทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ๑๗-๑๙ กันยายน

 รุ่นที่ ๖ ม.แม่ฟ้าหลวง วันที่ ๑๙-๒๑ กันยายน

 รุ่นที่ ๗ ม.นเรศวร วันที่ ๒๖-๒๘ กันยายน

 รุ่นที่ ๘ ม.วลัยลักษณ์ วันที่ ๒๔-๒๖ ตุลาคม

 รุ่นที่ ๙ ม.เทคโนโลยีสุรนารี วันที่ ๕-๗ พฤศจิกายน

 รุ่นที่ ๑๐ ม.มหาสารคาม วันที่ ๑๒-๑๔ พฤศจิกายน

 รุ่นที่ ๑๑ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ วันที่ ๒๖-๒๘ พฤศจิกายน

Iqa_v2007_3jpg

ภาพ หน้าปก คู่มือ การประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ของสำนักงาน คณะกรรมการอุดมศึกษา เมษายน ๒๕๕๐

 ในการนี้จะรับรุ่นละ ๔๐ ท่าน และ วิธีการจะมีที่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จะผนวกเป็นการประเมินคุณภาพ ภายในประจำปีการศึกษา ๒๕๔๙ ไปในคราวเดียวกัน ครับ

หมายเลขบันทึก: 110183เขียนเมื่อ 10 กรกฎาคม 2007 10:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

เรียนท่านอาจารย์จิตเจริญ

  • ไหนๆ มมส. เราก็ได้เป็นหน่วยรับตรวจ เพื่อการจำลองสถานการณ์ในหลักสูตรอบรมผู้ประเมิน ของ สกอ. ในครั้งนี้แล้ว ผมก็เห็นด้วยกับโอกาสในครั้งนี้ คือ จับเอาเรื่องจริง กับ เรื่องจำลองมาเป็นเรื่องเดียวกันเลย เพื่อการลดภาระของหน่วยงานได้ในระดับหนึ่ง
  • เป็นช่วงเวลาที่เหมาะเจาะตามที่เราได้วางแผนการประเมินภายในของ มมส. ช่วงเดือน พย.-ธค. 50
  • แต่การออกแบบ และการชี้แจง ทำความเข้าใจกับหน่วยงานนั้นผมว่าเป็นสิ่งสำคัญ ใช้จากบน มาสู่ ล่าง น่าจะลดกระแสการต่อต้านได้ดีครับ
  • สำหรับคู่มือตามปกของ สกอ. นั้น มี 9 องค์ประกอบ 44 ตัวบ่งชี้
  • ซึ่ง มมส. เราใช้หลักการที่ว่า "ให้สอดคล้องทั้งจากต้นสังกัด คือ สกอ. และสามารถรองรับการประเมินภายนอกได้ จาก สมศ." จึงปรับ เพิ่ม เป็น 9 มาตรฐาน 63 ตัวบ่งชี้ รวมทั้งพัฒนาเกณฑ์การประเมิน โดยเน้นทั้ง กระบวนการ และปริมาณ
  • ดังนี้ SAR ของคณะที่จะออกมานั้นสามารถ รองรับการอบรมในครั้งนี้ได้ครับ เพียงแต่ประเมินเฉพาะตามกรอบของ สกอ. เท่านั้น ส่วนกรรมการตัวจริงที่หน่วยงานเชิญมา ก็ประเมินให้ครบตามกรอบของ มมส. โดยแยกส่วนกันครับ ทั้งกรรมตัวจริง และกรรมตัวปลอม แต่ขั้นตอน วิธีการประเมินนั้น เหมือนกันครับ

ด้วยความเคารพร

ขอบคุณครับ

เรียนท่านอาจารย์จิตเจริญอีกครั้งครับ

ขอแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมครับ

  • ในกรณีที่มีบางคณะที่มีข้อติดขัดไม่สามารถร่วมเป็น site เพื่อสำหรับหลักสูตรนี้ได้ ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุใดก็ตาม เราอาจจะยกเว้นได้
  • อาจจะไม่ทุกคณะที่เข้าร่วมในกิจกรรมนี้
  • คงต้องใช้ความสมัครใจเป็นหลักครับ
  • แต่ผมเชื่อว่ามีหลายคณะที่จะเต็มใจในกิจกรรมครั้งนี้
  • ได้เท่าไรก็คงเอาเท่านั้นครับ

ขอบคุณครับ

กิจกรรมที่จะเกิดในวันที่ 12-14 พฤศจิกายน 50 นี้ ถือได้ว่า มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นแหล่งให้บริการวิชาการ ระดับชาติก็ว่าได้

ขออนุญาต ขยายแนวคิดเพิ่มเติมของ

ข้อความ

 "....ในการนี้จะรับรุ่นละ ๔๐ ท่าน และ วิธีการจะมีที่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จะผนวกเป็นการประเมินคุณภาพ ภายในประจำปีการศึกษา ๒๕๔๙ ไปในคราวเดียวกัน ครับ...."

บันทึกนี้นะครับ  ผู้ประเมินเงา

ขอบคุณครับ

 

เรียน ท่าน Jack ผู้ร่วมพัฒนา P

  • ขอบพระคุณครับ
  • ขั้นตอนที่น่าจะดำเนินการ เพื่อสื่อสารกันให้เกิดความเข้าใจในหน่วยงานที่จะเป็นผู้รับเป็น Site ในการฝึกอบรม เพื่อ
  • "สร้างทีมผู้ประเมินรุ่นใหม่ และ ใช้ผลการประเมินให้ได้ประโยชน์"
  •  น่าจะมีดังนี้ครับ
  1.  สำรวจผู้ประเมินภายในของสถาบันที่เป็น Site ว่ามีท่านใดบ้าง ที่ได้ผ่านการอบรมในหลักสูตรที่ ๑ และ ๒ ของ สกอ ตาม แนวทางที่ สกอ กำหนดใน หลักสูตร ๒๕๕๐ (อาจจะขอความร่วมมือ กับผู้ประเมินจากสถาบันอุดมศึกษาอื่นที่อยู่ในพื้นที่ ที่ผ่านการอบรม มาเข้าเป็นวิทยากรด้วย เนื่องจากทาง สกอ กำหนดให้มีผู้ประเมินภายนอกมาร่วมเป็นประธานด้วย หนึ่งท่าน)
  2. สอบถามความสมัครใจของหน่วยที่ต้องการให้เป็นสถานที่เรียนรู้ ควบคู่การประเมินจริง
  3. นัด "ปรึกษา หารือ และ จัดทีมผู้ประเมินจริง เพื่อร่วมเรียนรู้การประเมิน กับ ท่านที่จะมาเรียนรู้ฝึกปฏิบัติจริงในหลักสูตรที่ ๓"
  4. นำเสนอผู้บริหารระดับมหาวิทยาลัย และ คณะ หน่วยงาน เพื่อ "ขอความร่วมมือ ร่วมแรง ร่วมใจ" ของการเป็นสถาบัน "ผู้ให้" ในการที่เข้าร่วมเป็น Site ในการสร้างเครือข่ายเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ "การประเมินคุณภาพการศึกษา ระดับอุดมศึกษา ตามเจตนารมณ์ ของ พรบ. การศึกษาแห่งชาติ "
  5. ซักซ้อมการทำรายงานประจำปีที่เป็นการประเมินตนเองตามแนวทางที่ พรบ.การศึกษาแห่งชาติ มาตรา ๔๘ ที่ "ให้หน่วยงานต้นสังกัดและสถานศึกษา จัดให้มีระบบการประกันคุณภาพภายใน" และ
  6. ตามที่สกอ ได้แนะนำไว้ในหนังสือ คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ระดับอุดมศึกษา ฉบับเดือน เมษายน ๒๕๕๐หน้า ๑๒ ที่ "การจัดทำรายงานประจำปีที่เป็นรายงานการประเมินคุณภาพภายใน ซึ่งเป็นผลจาการประกันคุณภาพภายในหรือ เรียกว่า รายงานการประเมินตนเอง (SAR)"
  7. กำหนดตารางการทำงานร่วมกัน ระหว่าง ศูนย์พัฒนาและประกันคุณภาพ และ คณะหน่วยงาน เพื่อจัดทำ SAR ระดับกลุ่มสาขาวิชา หรือ สถาบัน รวมทั้ง Common Data Set ของปีการศึกษา ๒๕๕๐

เรียนท่านอาจารย์จิตเจริญ

สำหรับผู้ประเมินภายใน ของ มมส. ที่เราส่งรายชื่อไปนั้น ในหลักสูตรที่ 2 ทั้ง 5 รุ่นนั้น มาจาก

  1. คณะวิศวกรรมศาสตร์
  2. วิทยาลัยการเมืองการปกครอง
  3. คณะเภสัชศาสตร์
  4. คณะวิทยาศาสตร์
  5. คณะการท่องเที่ยวฯ
  6. คณะศึกษาศาสตร์
  7. คณะสิ่งแวดล้อมฯ

เนื่องจากเป็นการจำกัดรับ เราจึงไม่สามารถส่งไปได้ทั้งหมดของหน่วยภายในมหาวิทยาลัย

แต่เชื่อว่าตัวแทนผู้ประเมินจากคณะเหล่านี้ น่าจะเป็นกำลังที่สำคัญครับ

ซึ่งผมก็เห็นด้วยกับท่านอาจารย์ที่จะเชิญกลุ่มคนเหล่านี้มาพูดคุยก่อน

สำหรับ ข้อ 3 ตอนนี้ คณะยังไม่ได้คัดเลือก หรือเชิญผู้ประเมินครับ ซึ่งเรากำหนดไว้ 3 คน มาจาก ภายนอกมหาวิทยาลัย 1 คน และ 2 จากภายใน มมส. ครับ ในข้อนี้เราได้แจ้งให้หน่วยงานทราบไปแล้วครับ 

สำหรับ ข้อ 2 และ 4 นั้น ผมไม่แน่ใจว่าควรจะทำขั้นตอนใดก่อนหลังจึงจะเหมาะสม

สำหรับรูปแบบการเขียนรายงานการประเมินตนเองนั้น คงยึดคู่มือตามรูปแบบของ มมส. ซึ่งก็ยึดแบบทั่วไปของ สกอ. เพียงแต่ SAR ของคณะวิชาที่จะเขียนนั้น จะรายงานข้อมูลมากกว่าที่ สกอ. กำหนด เพราะ มมส. เราได้เพิ่ม ตัวบ่งชี้ และเพิ่มเกณฑ์การประเมิน ซึ่งก็ครอบคลุมที่ สกอ. ต้องการอยู่แล้ว

ซึ่งผมคิดว่าเราคงจะทำ SAR เพียงเล่มเดียว เพราะเจตนาแรกของเราคือ การลดภาระของคณะวิชา ซึ่งคงจะชี้แจงให้ผู้เข้าร่วมอบรมเข้าใจว่า เขาไม่ต้องทำการตัดสินผลการประเมินจาก SAR ทั้ง เอาแค่ของ สกอ. ต้องการก็พอ (มิติที่ 2 ตามคู่มือqa ของ มมส. ให้คะแนน 0 1 2 3)

กัมปนาท

เรียน ท่าน Jack ผู้ร่วมพัฒนา เยี่ยมเลยครับ เช้าวันพุธ เรามา Small Talk ครับ

ขออนุญาตต่อยอดจากการ Small Talk เมื่อเช้านี้ครับ

สรุปผลการหารือและแนวทางที่ มมส. จะดำเนินการเป็นแหล่งฝึกปฏิบัติผู้ประเมิน ดังนี้

การประเมินคุณภาพภายใน  คณะวิชา  มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  ปีการศึกษา  2550

  1. กำหนดช่วงเวลาการประเมินคุณภาพภายใน  คณะวิชา  ระหว่างเดือนพฤศจิกายน ธันวาคม  2550
  2. คณะกรรมการประเมินของแต่ละหน่วยงานมีจำนวน  3  คน  ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอกมหาวิทยาลัย  1  คน  (เป็นประธาน)  และผู้ทรงคุณวุฒิภายในมหาวิทยาลัย  2  คน  (เป็นกรรมการ)
  3.  คู่มือการประเมินคุณภาพภายใน  สำหรับคณะวิชา  มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  ครอบคลุมมาตรฐาน  ตัวบ่งชี้และเกณฑ์การประเมินภายใน  ตามที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษากำหนดไว้  ในหลักสูตรอบรมผู้ประเมิน
  4.  วงรอบการจัดทำ  SAR  ปีการศึกษา  2549  (1  มิ.ย.  49  ถึง  31  พ.ค.  50)
  5. วิธีการ  ขั้นตอนการประเมินคุณภาพภายในของมหาวิทยาลัย  เป็นไปตามรูปแบบแนวทางของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

ผลการหารือกับสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

จากแนวทางการประเมินคุณภาพภายใน  คณะวิชา  มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  ปีการศึกษา  2550  ซึ่งสอดคล้องกับหลักสูตรการฝึกอบรมผู้ประเมินคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา  ระดับอุดมศึกษา  หลักสูตรที่  3  ทั้ง

  1.   ช่วงระยะเวลาการประเมินเดือนพฤศจิกายน  2550
  2.  มาตรฐาน  ตัวบ่งชี้  และเกณฑ์การประเมิน
  3. วงรอบการจัดทำรายงานการประเมินตนเอง
  4.  วิธีการ  ขั้นตอนการประเมิน

จากความสอดคล้องข้างต้นมหาวิทยาลัยมหาสารคามจึงมีแนวคิดเสนอคณะกรรมการการอุดมศึกษา  และเห็นด้วยในหลักการ  คือ  รวมการประเมินคุณภาพภายในของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม  เป็นกิจกรรมเดียวกันกับหลักสูตรฝึกอบรมผู้ประเมินคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา  ระดับอุดมศึกษา  หลักสูตรที่  3  วันที่  12-14  พฤศจิกายน  2550  ซึ่งมีแนวทางดังนี้ 

  1. ให้ทุกคณะวิชา  หรือคณะวิชาที่ให้ความร่วมมือ  ของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม  กำหนดการประเมินคุณภาพภายใน  วันที่  13-14  พฤศจิกายน  2550  โดยเชิญคณะกรรมการตามที่มหาวิทยาลัยกำหนดข้างต้น  คือ  ผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอกมหาวิทยาลัย  1  คน  และผู้ทรงคุณวุฒิภายในมหาวิทยาลัย  2  คน 
  2. ผู้ฝึกอบรมหลักสูตรผู้ประเมิน  แบ่งกลุ่มจำนวนคณะวิชา  ตามข้อ  1.  เพื่อลงฝึกปฏิบัติสถานที่จริง  ร่วมกับคณะกรรมการประเมินภายใน  ตามข้อ  1.
  3.  คณะกรรมการประเมินภายใน  ตามข้อ  1.  ดำเนินการประเมินตามกรอบของมหาวิทยาลัยกำหนดไว้ในคู่มือ  และผู้ฝึกอบรมหลักสูตรผู้ประเมินตามข้อ  2.  ดำเนินการประเมินตามกรอบของหลักสูตรของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษากำหนด

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1.  คณะกรรมการประเมินภายใน  (ชุดจริง)  ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับกลุ่มผู้ฝึกอบรม
  2.  คณะวิชาที่เป็นหน่วยงานรับประเมิน  จะได้ข้อเสนอแนะที่มีความหลากหลาย   สำหรับการพัฒนาคุณภาพต่อไป
  3.  ลดภาระของการที่มีหน่วยฝึกปฏิบัติ  ที่มีเพียง  1  คณะวิชา
  4. มีเครือข่ายคณะกรรมการประเมินคุณภาพภายใน  ระหว่างมหาวิทยาลัย

 

เข้ามาเก็บเกี่ยวค่ะ 

ขอบพระคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท