ทุนเดิมแห่งKMณ.กำแพงเพชร(6)


การพัฒนาสมรรถนะนักส่งเสริมการเกษตร

                 กำหนดหัวปลาได้แล้ว  ผมจะขอเล่าต่อจากตอนที่5 นะครับว่า ยังอยู่ในระยะการก้าวสู่การจัดการความรู้ในระยะที่3  พอมาถึงตรงนี้ทำให้ทีมงานเรา มองเห็นเป้าหมายหลัก คือกำหนด KV ขึ้นที่เรียกว่าหัวปลาขององค์กรนั่นไงล่ะคือ สำนักงานเกษตรจังหวัดเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ มุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน          ซึ่งเป็นหัวปลาใหญ่ขององค์กร แต่เราก็ได้แตกย่อยหัวปลาให้ได้หัวปลาเล็กอีกหัวหนึ่ง คือ  KV การพัฒนาสมรรถนะนักส่งเสริมการเกษตรให้เป็นนักส่งเสริมมืออาชีพ      พอมาถึงตรงจุดนี้ เราได้พัฒนากระบวนการทำงานเพื่อเพิ่มการพัฒนานักส่งเสริมการเกษตร ของสำนักงานเกษตรจังหวัดกำแพงเพชร ในเบื้องต้น กำหนดModel ของการพัฒนาออกเป็น 5 ระดับคือ  ระดับที่1 การเป็นนักพัฒนา-นักส่งเสริมการเกษตร ที่เรียกว่ามือใหม่ หลังจากเริ่มการทำงานใหม่ฯส่วนใหญ่ยังไม่มีประสบการณ์ เมื่อเข้ามาทำงานเป็นธรรมดาที่จะปฏบัติงานตามสั่งหรือตามวัฒนธรรมเดิมขององค์กร อาจใช้เวลา 3-5 ปี ในการเรียนรู้ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับลักษณะของแต่ละบุคคล   ระดับที่2 นักพัฒนา-นักส่งเสริมการเกษตร ที่มีประสบการณ์ มีทักษะในการทำงานกับชุมชน เรียกว่า ระดับมีทักษะและประสบการณ์ ส่วนใหญ่จะมีประสบการณ์ สามารถทำงานในการประสานงาน การสร้างกลุ่มอาชีพและเครือข่าย แต่ก็ยังปฏิบัติงานส่งเสริมการเกษตร ตามแผนงานโครงการที่กำหนดไว้ หรือที่เรียกว่ายังรอคำสั่ง   ระดับที่3 คุณอำนวยหรือวิทยากรกระบวนการเรียกว่าระดับ พัฒนา ในระดับนี้เริ่มตั้งแต่การปรับเปลี่ยนแนวคิด ในการทำงานมาจากระดับที่1-2 จากการเป็นคนกลางระหว่างนักวิชาการกับเกษตรกร เปลี่ยนแนวคิดจากความรู้ที่มีอยู่จากตำรา  จากแนวคิดการถ่ายทอดความรู้มาเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ พลิกบทบาทมาเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ หรือ จัดกระบวนการเรียนรู้นั่นเอง (Facilitator)   ระดับที่4 การวิจัยและพัฒนาในงานประจำ (วิจัยปฏิบัติการ / วิจัยชุมชนฯลฯ) เรียกว่า ยกระดับฝีมือ จุดอ่อนของการปฏิบัติงาน คือ ขาดการบันทึกและรายงานผลการปฏิบัติงานดังนั้น เป้าหมายในการพัฒนานักส่งเสริมการเกษตรเพื่อให้มีขีดความสามารถในการปฏิบัติงานให้สูงขึ้น สิ่งที่ควรพัฒนาเป็นอย่างยิ่งในการพัฒนานักส่งเสริมการเกษตรในยุคปัจจุบันก็คือ การวิจัยในงานประจำ คือ ให้ทุกคนได้ทำงาน ในขณะเดียวกันก็ศึกษาและรายงานผลการทำงาน / ข้อค้นพบ จะเรียกว่า วิจัยไปพร้อมๆ กัน      ระดับที่ 5 นักพัฒนาความรู้เพื่อชุมชน-สังคม เรียกว่า ระดับ มืออาชีพ อาจจะเป็นการยากที่จะอธิบายความหมายของนักส่งเสริมระดับมืออาชีพได้อย่างครบถ้วน แต่แนวคิดในการพัฒนาเพื่อก้าวเข้าสู่ นักจัดการความรู้เพื่อชุมชน-สังคม ก็คือ อาจเทียบเคียงได้กับระดับของ คุณอำนวย นะครับ          หากว่าเราจะพัฒนาสังคมไทยให้ก้าวสู่ การเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ได้นั้น นักส่งเสริมการเกษตรซึ่งเป็นภาคส่วนหนึ่งของสังคมนี้ ก็จะต้องมีขีดความสามารถและปฏิบัติหน้าที่ ในการเป็นนักจัดการความรู้ของสังคมเกษตรกรได้ หรือจะเรียกนักส่งเสริมการเกษตร มีวิธีการทำงานที่ ไร้รูปแบบ หรือ ได้ทุกรูปแบบ หรือ จะเรียกว่า กระบี่อยู่ที่ใจ นะครับ        

หมายเลขบันทึก: 107249เขียนเมื่อ 29 มิถุนายน 2007 13:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท