เก็บประเด็นสำคัญจากการประชุมผู้บริหารกรมฯครั้งที่ 32/2550


เปลี่ยนกระบวนทัศน์การทำงานโดยเฉพาะการทำงานที่ไม่ใช่แบบข้าราชการ

เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2550 มีการประชุมผู้บริหารกรมฯ โดยท่านรองอฺธิบดี ท่านรองไพโรจน์ ลิ้มจำรูญ เป็นประธานการประชุม เก็บประเด็นสำคัญได้ดังนี้คือ

1.โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตข้าราชการพลเรือนสามัญโดยผู้แทนธนาคารออมสิน  วัตถุประสงค์ของโครงการนี้เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตให้แก่ข้าราชการ โดยการรวมหนี้สินมาที่ธนาคารออมสิน ซึ่งจะมีระยะเวลาผ่อนเงินกู้นาน ดอกเบี้ยผ่อนปรน ต้องมีการรวมกลุ่ม(กลุ่มย่อย 6 คน) กลุ่มใหญ่ มีการออมเงินสัจจะทุกเดือน สมาชิกในกลุ่มย่อยต้องค้ำประกันการกู้ทั้งบุคคลและหลักทรัพย์ และต้องมีการทำประกันชีวิตเพื่อประกันสินเชื่อ วงเงินกู้ต่อราย 7 แสนบาทถึง 2 ล้านบาท ผู้แทนธนาคารฯได้เล่าให้ฟังกรณีตัวอย่างของครูว่าชีวิตดีขึ้นมาก ครูผ่อนเงินกู้ได้จากที่เคยยืมเงินแหล่งโน้นแหล่งนี้มาผ่อน โดยธนาคารจะให้เงินร้อยละ 1 สำหรับกลุ่มใหญ่ในการสำรองจ่ายให้สมาชิกก่อนกรณีที่สมาชิกไม่มีจ่าย บริหารจัดการเช่นกู้ฉุกเฉิน และการพัฒนาอาชีพของกลุ่มเป็นต้น

2.การปรับโครงสร้างกรมฯ ได้แจ้งไปยังกอง/ สำนักให้ข้อเสนอแนะแล้วกพร.จะได้รวบรวมนำเสนอกรมฯ ส่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ต่อไป

3.ให้มีการพัฒนาผู้นำทุกระดับโดยเฉพาะผู้นำภายใต้สภาวะจำกัดและให้มีกรอบแนวคิดมองโลกในอนาคต มีการคิดนอกกรอบ

ท่านรองไพโรจน์ให้ความเห็นว่า ขณะนี้เรามีปัญหายังเข้าไม่ถึงองค์ความรู้ในวิชาชีพ เขตจะต้องแสดงบทบาทผู้แทนกรมฯสร้างความเข้าใจ มีการบูรณาการและประสานงานเพื่อเข้าถึงองค์ความรู้ ต้องมีการพัฒนาผู้นำทุกระดับ เทคนิคการบริหารงานให้ประสบความสำเร็จโดยการสร้างจิตสำนึกให้ผู้นำและทำงานอย่างมีความสุข ประมาณเดือน สิงหาคมจะมีการอบรมเกษตรจังหวัด เขต ผู้อำนวยการกอง/สำนักเพื่อให้เปลี่ยนกระบวนทัศน์การทำงานโดยเฉพาะการทำงานที่ไม่ใช่แบบข้าราชการ

4.ทำอย่างไรให้บุคคลากรทั้งประเทศของกรมฯมีการสื่อสารภาษาเดียวกันภายในเวลาจำกัด

ท่านรองไพโรจน์ให้แนวคิดว่าควรใช้วิธี learn how to learn ให้คนได้เรียนรู้เช่นสอนวิธีเลี้ยงปลา ทำปลาเป็นอาหาร ช่วยเหลือตนเองได้ต้องใช้วิธีการสร้าง วิทยากรจากเขต เขตละ 3 คน จังหวัด ๆละ 2คน เพื่อถ่ายทอดความรู้ด้านบริหาร วิชาการ ระเบียบและกฎหมายต่าง ๆ ขณะนี้อายุเฉลี่ยของบุคคลากรในกรมฯคือ 49 ปี ดังนั้นต้องสร้างเลือดใหม่มาทดแทนเลือดเก่า

5.การสร้างรายได้ของกรมฯ

ให้มีการจัดตั้งคณะทำงานประกอบด้วยผู้อำนวยการศูนย์ให้ข้อมูลจริงได้ โดยเชิญกรมบัญชีกลางมาเข้าร่วมเพื่อให้เกิดข้อยุติว่าควรทำอย่างไร ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ต่อเกษตรกร กรมฯและประเทศต่อไป

6.การเพิ่มผลผลิตอ้อยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีพื้นที่กว่า 8 พันไร่ มีวิธีการดังนี้

  • คัดพื้นที่ปลูกตามชุดดินที่เหมาะสม
  • ใช้พันธุ์เหมาะสม K95/84
  • การเตรียมดิน อาจต้องระเบิดดินดารบางพื้นที่หรือใช้พืชตระกูลถั่ว ปอเทือง หรือไถกลบใบอ้อย
  • ปลูกตามฤดูกาล ฤดูฝนปลูก กพ.-เมย. (ดินเหนียว) ตค.-พย.(ดินทราย)
  • ตรวจแปลงสม่ำเสมอ
  • การดูแลรักษาเก็บเกี่ยว งดการให้น้ำ อายุ12-14 เดือน

7.การเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีดังนี้คือ

  • ใช้พันธุ์ดี เกษตรศาสตร์ 50 ห้วยบง 60  ระยอง 7, 9
  • วางแผนปลูกตามฤดูกาล
  • ปรับปรุงดินใช้ปุ๋ยพืชสด
  • เตรียมดิน ไถลึกพอสมควร ระเบิดดินดาน
  • วิธีปลูก ตามหลักวิชา
  • อายุต้นพันธุ์ 15 วัน
  • ระยะปลูกเหมาะสม กำจัดวัชชพืช 4 เดือน
  • ปุ๋ยเคมี สูตร15-15-15  13-13-21 และอินทรีย์

ขณะนี้มีปัญหาเรื่อง comtract farming  ในการผลิตเอทธานอล

8.ที่ประชุมให้กอง/สำนัก/เขต ให้ความเห็นตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้สำรวจว่างานควรทำแต่ยังไม่ได้ทำและงานที่ทำแล้วแต่ไม่จำเป็นต้องทำ  ซึ่งแต่ละกองนำเสนอต่อที่ประชุม

ท่านรองไพโรจน์เพิ่มเติมว่าควรมีการกำหนดเป้าหมายการผลิตและการตลาดร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเช่น กระทรวงพาณิชย์ สศก ฯลฯ

ดิฉันเห็นว่าหลายสิ่งเป็นเรื่องดีควรมีช่องทางให้บุคคลกรในกรมฯมีส่วนร่วมและแสดงความคิดเห็นในการพัฒนากรมฯต่อไป

ธุวนันท์ พานิชโยทัย

29 มิถุนายน 2550

 

หมายเลขบันทึก: 107148เขียนเมื่อ 29 มิถุนายน 2007 07:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
สวัสดีครับอ.ธุวนันท์  มาแวะเยี่ยมครับ  ขอบคุณมากครับ  ที่ได้แบ่งปันความรู้ที่เป็นประโยชน์มากครับ
  • ท่านรองฯ มีแนวคิดที่หใม่ ทันสมัยอยู่เสมอ ครับ
  • แล้วที่ กระทรวงฯมีคำสั่ง ให้ กษ.เป็นตัวแทนกระทรวงฯ ในระดับจังหวัดละครับ คืออะไร???
  • ขอบคุณครับ ที่นำมาแบ่งปันครับ

เรียนคุณเขียวมรกต

ขอบคุณเช่นกันคะ  ความรู้ถ้าเรายิ่งแบ่งปันก็ยิ่งได้รับกลับมานะคะ

เรียนคุณหนุ่มร้อยเกาะ

ที่คุณถามเรื่อง กษ. ไม่ทราบจริง ๆ คะเห็นเขาพูดกันมากเหมือนกันว่าขัดแย้งกับกฎหมายหรือเปล่า

ขอแก้ไขข้อความเพื่อความชัดเจน ผมพูดว่า "เราให้เกษตรกรตามที่เขาอยากได้ ท้ายสุดเขาทำอะไรเองไม่เป็น เราควรสอนเขาแบบ learn how to learn เฃ่น จะให้เขากินปสา ต้องสอนเขาเลี้ยงปลา สอนวิธีจับปลา และสอนวิธีทำปลาเป็นอาหาร ไม่ใช่เอาปลาท่ทำแล้วไปใหเขากิน เขาก๋จะทำอะไรไม่เป็น ต้องสอนเขาให้ทำเองได้ ทำเป็น แล้วมีความชำนาญก็จะเก่งเอง นานไปอาจเก่งกว่าเราอีก เพราะพลิกแพลงเป็น

เรียนท่านรองไพโรจน์ที่เคารพ

ขอบพระคุณท่านมากคะที่กรุณาแก้ไข

ตามที่ กษ.มีตำสั่งให้ กษ.จังหวัดเป็นผู้แทนกระทรวง หมายความว่า  1. มีบทบาทเป็นผู้แทนของหน่วยงานกระทรวงในจังหวัด  2. มีหน้าที่ในการประสานงาน บูรณาการการทำงาน บูรณาการแผนของหน่วยงานในสังกัดกระทรวง  3. มีความรับผิดชอบในการรวบรวมราบงานผลการปฏิบัติงานของหน่วยงานต่าง ๆ ในสังกัด กษ. รายงานกระทรวง ติดตามงานตามแผนงานและงานตามนฏยบายอำนาจอื่นตามที่กฎหมายกำหนด แต่ไม่มีอำนาจในการสั่งการ กำกับดูแล เกี่ยวกับการบริหารงาน บริหารเงิน และบริหารคน ของหน่วยงานใด หรือใช้อำนาจทางกฎหมายที่หน่วยงานมีที่มิใช่อำนาจตน

เรียนท่านรองไพโรจน์ที่เคารพ

ขอขอบพระคุณท่านที่กรุณาให้รายละเอียดที่เป็นประโยชน์มากคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท