เขตการค้าเสรี (Free Trade Area : FTA)


คือการรวมกลุ่มเศรษฐกิจ โดยมีเป้าหมาย เพื่อลดภาษีศุลกากรระหว่างกันภายในกลุ่มลงให้เหลือน้อยที่สุดหรือเป็น 0% และ ใช้อัตราภาษีปกติที่สูงกว่ากับประเทศนอกกลุ่ม การทำเขตการค้าเสรีในอดีตมุ่งเน้นในด้านการเปิดเสรีด้านสินค้า โดยการลดภาษีและอุปสรรคที่ไม่ใช่ภาษีเป็นหลัก แต่เขตการค้าเสรีในระยะหลังๆ นั้น รวมไปถึงการ เปิดเสรีด้านบริการและการลงทุนด้วย
เขตการค้าเสรีที่สำคัญในปัจจุบัน คือ AFTA (เขตการค้าเสรีอาเซียน) และ NAFTA (เขตการค้าเสรีแห่งทวีปอเมริกาเหนือ) ซึ่งขณะนี้สหรัฐฯอยู่ระหว่างการเจรจาทำเขตการค้าเสรีในภูมิภาคอเมริกา(Free Trade Area of the Americas : FTAA)
เหตุใดจึงต้องทำการค้า FTA
สถานการณ์เศรษฐกิจโลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว มีแนวโน้มไปสู่การเปิดตลาดเสรีมากขึ้น การเจรจา WTO (องค์การการค้าโลก) ชะงักงันประเทศคู่ค้าสำคัญของไทยต่างหันไปเปิดเขตการค้าเสรี 2 ฝ่าย (FTA) กันมากขึ้น หากไทยอยู่นิ่งจะสูญเสียตลาดไทย จึงจำเป็นต้องปรับตัวเพื่อรองรับเขตการค้าเสรี : FTA
สถานการณ์ดังกล่าว โดยใช้ FTA เป็นกลยุทธ์ในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ และเพิ่มโอกาสการส่งออกทั้งตลาดเดิม และขยายเข้าสู่ตลาดใหม่ โดยมีเป้าหมายสำคัญ คือ
- ให้ไทยเป็นศูนย์กลางการค้าและการลงทุนในภูมิภาคเอเซีย
- เพิ่มรายได้การส่งออก
- สร้างฐานเศรษฐกิจที่เข้มแข็งในการพัฒนาประเทศ โดยขยายการส่งออก เพิ่มการจ้างงานและรายได้ให้ผู้ประกอบการ เกษตรกร ซึ่งจะช่วยสร้างความเข้มแข็งให้แก่เศรษฐกิจรากหญ้าไทยทำ FTA กับประเทศใดบ้าง
ปัจจุบันไทยทำ FTA กับ จีน ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อินเดีย เปรูสหรัฐฯ บาห์เรน กับ 1 กลุ่มเศรษฐกิจ คือ BIMST-EC(บังกลาเทศ อินเดีย พม่า ศรีลังกา ภูฎาน เนปาลและไทย) ซึ่งครอบคลุมประเทศคู่ค้า สำคัญของไทย(ยกเว้น EU) และครอบคลุมการค้า ประมาณ 43.8%ของมูลค่าการค้ารวมของไทย และหากรวมอาเซียนด้วยแล้วจะครอบคลุมการค้าถึง 62.5% ของมูลค่าการค้ารวมของไทย
ก้าวต่อไปจะพิจารณาเตรียมความพร้อม ในการเจรจา FTA กับสหภาพยุโรป แคนาดาแอฟริกาใต้ ชิลี เม็กซิโก เกาหลี กลุ่ม Mercosureและ EFTA (นอร์เวย์ ไอซ์แลนด์ สวิตเซอร์แลนด์และ ลิกเตน-สไตน์)
สินค้าและบริการที่เป็นเป้าหมายสินค้า แบ่งเป็นสินค้าเกษตรและสินค้าอุตสาหกรรม ได้แก่ อาหาร, แฟชั่น, รถยนต์และชิ้นส่วนฯ บริการ กลุ่มหลักๆ เช่น การท่องเที่ยว,การบริการสุขภาพและ Life Science, การก่อสร้างและออกแบบตกแต่งฯ รวมทั้งทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้า
โดยรวมแล้ว ต่างยอมรับกันแล้วว่า “นโยบายการค้าเสรี” ถือเป็นสิ่งที่ดีและจะหลีกเลี่ยงไม่ได้เพราะโลกยุคใหม่พัฒนาไปเร็วมาก ทำให้เกิดโอกาสใหม่ทางธุรกิจมากมายในตลาดโลกแต่ปัญหาใหญ่ที่ตามติดมา ก็คือ “การแข่งขัน” ในรูปแบบต่างๆ จะเกิดขึ้นควบคู่กันทันทีทั้งนี้ การจะได้ประโยชน์จากการเจรจาเปิดเสรีทางการค้าหรือไม่นั้น ต้องอยู่ภายใต้ เงื่อนไขสำคัญ คือจะต้องสร้าง “ความสามารถการ แข่งขันของธุรกิจไทย”ให้เกิดขึ้น ซึ่งขึ้นอยู่กับการบริหารจัดการของรัฐบาลเป็นสำคัญ
การสร้างประสิทธิภาพของภาคธุรกิจเอกชนโดยเฉพาะธุรกิจขนาดใหญ่ซึ่งจะต้องปรับและพัฒนาตัวเองอีกมาก ต้องมีระบบ กับการบริหารงานที่ดีให้มีความเป็นมืออาชีพ โปร่งใส ได้ประสิทธิภาพเพื่อให้แข่งขันได้ในตลาดสากลประกอบกับจะต้องสร้างธรรมาภิบาลของภาครัฐ ที่ไม่เพียงเฉพาะการสร้างความโปร่งใส ตรวจสอบได้เท่านั้น หากยังจะต้อง “ความมีประสิทธิภาพทางการบริหาร”ที่จะต้องดีจริง วัดและพิสูจน์ได้อีกด้วยการจัดทำเขตการค้าเสรีจะบังเกิดผลอย่างใดนั้น จึงขึ้นอยู่กับการบริหารจัดการของทั้งภาครัฐและภาคเอกชนที่จะต้องมีมาตรการ การประสานร่วมมือกันอย่างเป็นเอกภาพและจริงจังเพื่อประโยชน์ของประเทศโดยรวมอย่างยั่งยืนตลอดไป



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท