ดูงาน(2) ไม่เห็นความเจ็บป่วย ไม่หลั่งน้ำตา


เกษตรกร จะเชื่อนักวิชาการ เชื่อดอกเตอร์ เชื่อเถ้าแก่ร้านขายสารเคมี เขาบอกว่า สารตัวนั้นดี ตัวนี้ดี ก็ลองใช้ จนพ่อค้ารวย แต่เกษตรกรแย่

            ดูงานเกษตรอินทรีย์ในอำเภอพระพรหม จังหวัดนครศรีธรรมราช (อ่านบันทึกแรก) พี่อำนวย แกนนำเกษตรอินทรีย์ในอำเภอพระพรหม เล่าให้ฟังว่า เขามีอาชีพปลูกมันหลา (มันเทศ) และการปลูกพืชผัก ซึ่งเป็นอาชีพส่วนใหญ่ในอำเภอพระพรหม แห่งนี้ ทำตามใบสั่งของพ่อค้าคนกลาง ต้องผลใหญ่ ผิวสวย จึงต้องพึ่งสารเคมี อยู่บนถนนสายสารเคมีมา 16 ปี
  • ปีที่ 1-8 อาการยังดี  (ยังไม่พบสิ่งปกติ)
  • ปีที่ 9-10 เริ่มมีอาการ ตัวเกรง สมองมึนงง คิดอะไรไม่ค่อยออก
 จุดหักเหที่ทำให้หยุดใช้สารเคมี...
  •  เพราะกลัวตาย ตรวจพบสารเคมีในร่างกายในระดับที่อันตราย เกือบทุกคนที่มีอาชีพทำผัก
  •  จึงมีการพูดคุย สุมหัวคุยกัน กับคนหัวอกเดียวกัน ครั้งแรกประมาณ 5 คน
  •  มีการทบทวนอดีต หันกลับไปดูคนรุ่นก่อนที่เขาทำการเกษตรโดยไม่ใช้สารเคมี       ทุกคนมี มติ ว่าให้หันกลับมาใช้ปุ๋ยหมัก โดยค่อย ๆ ทดแทนปุ๋ยเคมี
  •  เกษตรกร จะเชื่อนักวิชาการ เชื่อดอกเตอร์ เชื่อเถ้าแก่ร้านขายสารเคมี เขาบอกว่า สารตัวนั้นดี ตัวนี้ดี ก็ลองใช้ จนพ่อค้ารวย แต่เกษตรกรแย่
  • พีอำนวยจึงได้หันมา ศึกษาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอย่างจริงจังในปี 2542
  • ทบทวนอดีต ถอดบทเรียน การทำมันเทศ 16 ปี (นั่งพูดได้หลา ภาษา คนกินท่อม) (หลา: ศาลา,  ท่อม  : กระท่อม = พืชชนิดหนึ่ง) เริ่มเก็บข้อมูลทุกอย่างที่ได้ทำไป พบว่าธรรมชาติมีการเปลี่ยนแปลง เกษตรกรต้องปรับตัวให้ทัน ต้องเลิกใช้สาร ฆ่าหญ้าโดยเด็ดขาด เพราะเป็นการทำลายพันธุ์พืชทุกอย่าง และจากนโยบายของผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช จึงหันมาทำเกษตรอินทรีย์ โดยมีเจ้าหน้าที่เกษตรเป็นพี่เลี้ยง
  • ปรึกษากับครอบครัวได้ข้อสรุปว่า ต้องทำยอดมัน (ต้นพันธุ์มันเทศ) จำหน่าย เพราะใช้เวลาน้อยไม่ต้องใช้สารเคมี แต่ยังต้องพึ่ง ปุ๋ยเคมี เริ่มจดบันทึกการทำงาน
  • มีที่ดิน 8 ไร่ แบ่งเป็น 3 แปลงเท่า ๆ กัน ใช้ปุ๋ยน้ำของบริษัทดังที่ขายตรง ราคาแพง ๆ 1 แปลง ปุ๋ยในตลาด 1 แปลง และใช้ปุ๋ยหมักที่ทำเอง 1 แปลง ผลผลิตที่ได้ 2 แปลงแรกได้ยอดมันประมาณ 8,000 ยอด แปลงที่ใช้ปุ๋ยที่ทำเองได้ 7,000 ยอด ราคายอดละ 50 สตางค์ เมื่อเปรียบเทียบต้นทุนการผลิตแล้ว การใช้ปุ๋ยหมักอินทรีย์คุ้มค่ากว่ามาก
  •  จึงขยายไปสู่กลุ่มเพื่อน ๆ กลุ่มความคิด มีการเสวนากัน โดยตั้งเป้าที่จะคุยกัน(kv)
  • ทุกวันนี้ ร่างกายเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว จะไม่หันไปสู่ถนนเส้นเดิมอีกแล้ว ทางด้านสังคมก็ได้เพื่อน  ๆ คืนมา มีการพูดคุยกันแลกเปลี่ยนกันสม่ำเสมอ มีความพอประมาณ มีเหตุมีผล ชุมชนก็น่าอยู่ขึ้น
พี่อำนวย ฝากทิ้งท้ายไว้ว่า...
  •  ราชการต้องปรับบทบาท   เกษตรกรก็ต้องปรับ พบกันครึ่งทาง ทำงานกัน แบบเพื่อน แบบพี่ แบบน้อง ก็จะอยู่กันได้อย่างมีความสุข
 บันทึกมาเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครับ
ชัยพร  นุภักดิ์
หมายเลขบันทึก: 104649เขียนเมื่อ 19 มิถุนายน 2007 20:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (18)
ไม่ทราบว่าได้เจอคุณชาญวิทย์-นครศรีฯ คุณอำนวยพื้นที่นี้(เมื่อก่อน)หรือเปล่าครับ
  • ขอบคุณครูนง ครับ
  • เสียดาย ไม่ได้เจอพี่ชาญวิทย์ ช่วงนั้นเขาไปเป็นวิทยากร ที่ กรมส่งเสริมการเกษตร
  • ขอบคุณ คุณวีรศักดิ์ ที่ติดตามมาตลอด

สวัสดีค่ะ

      ขอบคุณค่ะที่นำมาแลกเปลี่ยน  จะขออนุญาตนำไปเล่าต่อนะค่ะ   

  • หวัดีครับ คุณจันทร์ฉาย
  • ยินดีที่ได้ ลปรร.ครับ
  • ประสบการณ์  คือบทเรียนอันล้ำค่า
  • พี่อำนวย  เป็นตัวอย่างที่ดี
  • หวัดดีครับ
  • เมืองน้ำดำมีเรื่องดี เอามาเล่าสู่กันฟังบ้างครับ

หวัดดีค่ะ

     ขอบคุณนะค่ะที่แวะไปทักทายในบล็อค...วันนี้จึงแวะมาเยี่ยมอีกรอบ...และขอเป็นกำลังใจให้พี่เขียนอะไรดีๆ สร้างสรรค์ขึ้นมาอีกเยอะๆ นะค่ะ

  สวัสดี  หนุ่มร้อยเกาะ

  เมื่อ2 ปีก่อนเคยพาเกษตรกรไปดูงานแถวนั้นแล้ว ยินดีด้วย ..ทีเขาเปลียนทางเดินจากสายเคมีสู่สายอินทรีย์... คงมีเงินเหลือเก็บมั่งและมีอายุยืนอยู่ใข้เงินนะ

ขอบคุณ......ที่ลปรร

 

  • ขอบคุณ คุณเกษตรยะลา ที่มาเยือน
  • ที่เห็นๆ เขามีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และเขาพอใจ ครับ
  • มาเยี่ยมกันอีกนะ
       เก็บข้อมูลยอดเยี่ยมมากๆ สมัครเป็นเครือข่ายด้วยคน
พี่ชัยพรมีเทคนิคในการเล่าประสบการณ์ ที่ดีมาก ๆ นะค่ะ

ขอเป็นเครือข่ายด้วยคนนะค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท