ฉุกคิด (1)


เกริ่น 

อ. สุธี เขียนมาว่าคอร์สนักศึกษาปี 2 ทันตกรรมชุมชนที่ มธ.กำลังจะเริ่ม อยากให้เขียนบันทึกให้น้องๆนักศึกษาได้อ่านกัน 

นอนคิด เดินคิด นั่งคิด มาวันครึ่งแล้วว่าจะเขียนอะไรดี

อาจารย์ก็รู้ว่าน้องๆเรียนหนักไม่เบา อยากเขียนอะไรให้อ่านกันได้โดยใช้เวลาไม่นานมาก

(แต่อาจเอาไปคิดต่อได้เวลาว่างๆ เช่น ตอนนั่งรถกลับบ้าน/กลับหอ ตอนอาบน้ำ หรือ ตอนเอนหลังเตรียมตัวเข้านอน)

---------------------------------------------------------------------------------------

เข้าเรื่อง 

วันนี้เดินไปร้านหนังสือใกล้บ้าน ไปเห็นหนังสือชื่อ Stumling on Happiness ที่ปกหลัง มีคำถามดีๆที่อ่านแล้ว อาจารย์คิดว่า "เออ จริงหว่ะ  ทำไมเราไม่เคยคิดสงสัยอะไรแบบนี้บ้าง" 

อาจารย์เลยเกิดความคิดแว๊บเข้ามาว่า เออ ขอเขียนบล็อกเป็นแนวนี้ละกัน 

จะเขียนเป็นคำถามให้คนอ่านไปคิดต่อเอง

อาจารย์อยากให้น้องๆหัดตั้งคำถาม หัดสงสัย  และพยายามหัดฉุกคิดกับเรื่องที่เราคิดว่ามันธรรมด๊าธรรมดาดูบ้าง เพราะการที่เราจะมีวุฒิภาวะมากขึ้นได้นั้น อาจารย์เชื่อว่า การได้คิดไตร่ตรองอะไรๆกับตัวเองและมิตรก็มีส่วนมากๆ 

ใครคิดแล้วได้ข้อสรุปออกมาให้กับตัวเองอย่างไรก็แล้วแต่คน ไม่ว่ากัน ไม่ได้หวังว่า นักศึกษาทันตะ มธ. ต้องมีแนวคิดเดียวกันหมด แต่อาจารย์ หวังเพียงว่า น้องๆนักศึกษาได้ใช้เวลาคิด สะท้อนใจตัวเองออกมาจริงๆ จนมีจุดยืนเป็นของตนเอง ไม่ใช่แค่เพราะไปฟังคนอื่นมา ว่าไงก็ว่างั้น ฉันใช้แต่ไขสันหลังไปวันๆ

"ก็เค้าทำกันแบบนี้"

"ก็สังคม ค่านิยมมันเป็นแบบนี้"

เคยลองคิดใคร่ครวญดูเล่นๆไม๊ว่ามันจริงแท้แค่ไหน อ.ไม่ได้ให้ต่อต้านกระแสนะ แต่แค่ให้ลองฝึึกเป็นแบบฝึกหัดคิดเล่นๆ ลองดูตัวเองว่า ในชีวิตประจำวันเรา เราทำอะไรที่มันไม่ตรงใจ ไม่ตรงสามัญสำนึกเราบ้าง แล้วทำไปทำไม ถ้าคิดว่าจำเป็นก็ทำต่อไป แต่บางที่เราอาจจะเพิ่งมารู้ตัวว่า อ่้าว...หลายๆอย่างเราก็เลือกได้หนิ

---------------------------------------------------------------------------------------

อ่ะ เริ่มเลยละกัน 

คำถามที่ 1.0

 

ืืทำไมคนตาดีถึงยอมจ่ายเงินมากมาย พยายามหาทางไม่ให้ตาเสีย แต่ทำไมคนตาบอดถึงไม่ค่อยใช้เงินไปในการหาทางทำให้ตามองเห็น 

(ทีมาคำถาม: หนังสือ เรื่อง Stumling on Happiness)

ลองไปคิดต่อดูเล่นๆดู มองได้หลายเรื่อง  แต่เรื่องที่อยากให้คิดต่อวันนี้คิด เรื่อง ปัญหา การแก้ปัญหา และ การปรับตัวให้เข้ากับปัญหาที่มี

คำถามที่ 1.1

อะไรคือปัญหา

ใครเป็นคนบอกได้บ้าง
 

เรื่องนี่เป็นเรื่องพิื้นฐานมากๆในชีวิตการทำงาน ไม่ว่าจะทำงานที่ไหน เช่น

คำถามที่ 1.2

เราเห็นว่าคนนี้สุขภาพช่องปากไม่ดีเลย  แต่เค้าไม่เห็นว่ามันเป็นปัญหา ชีวิตเค้ามีปัญหาเรื่องอื่นหนักกว่านั้นมากมาย

แล้วหมอจะทำไงต่อ?

ไม่ง่ายค่ะ เรื่องนี้ แล้วก็ไม่ได้มีคำตอบเดียว มันแล้วแต่สถานการณ์

แต่ไม่ถึงขนาดอกแตกตาย : )

ลองไปคิดดู เรื่องนี้เรื่องใหญ่  ให้เวลาหลายปี เพราะพอได้เข้าชุมชนมากขึ้น ได้ขึ้นคลินิด ได้พบปะคนไข้หลายๆแบบ แล้วความคิดเราก็จะสุกงอมขึ้นเอง ใครพร้อมก็มาคุยกันผ่านจอคอม ใครอยากแอบไปคิดคนเดียวตอนอาบน้ำก็ตามสบาย

ถ้าใครมีแรงมากหน่อย แนะนำให้เขียนไว้เป็นรายลักษณ์อักษรตอนนี้ว่าคิดอย่างไรกับ 3 คำถามนี้ แล้วพอเรียนจบลองมาอ่าน ดูสิว่าความคิดเราเองเปลี่ยนไปไม๊ แล้วพอทำงานไป 2-3 ปี ลองมาอ่านใหม่ ตอบใหม่ดู : )

---------------------------------------------------------------------------------------

วันนี้อ่านยาวนิดนะ เพราะเป็นบันทึกแรก มีกร่งมีเกริ่น ไว้คราวหน้าจะเขียนสั้นลง

อาจารย์มัทนา

18 มิ.ย. 2550 

หมายเลขบันทึก: 104443เขียนเมื่อ 19 มิถุนายน 2007 07:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 เมษายน 2012 22:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ขอบคุณ อาจารย์มัทนามากครับ

ที่กรุณาเขียนอะไรดีๆ มาสอนนักเรียน

เมื่อวานนี้ไปเข้าชั้นเรียนปฐมนิเทศเปิด course นี้มา

course นี้ชื่อ DS 211 Holistic health สี่หน่วยกิต สี่สัปดาห์

เปิด scene แรกเป็นเรื่องเกี่ยวกับ "การจัดการในกลุ่มย่อย"ล่ะ

มีเรื่องที่เป็นหลักการอย่างเรื่องการวิพากษ์, เรื่อง ground rules, เรื่องการสื่อสาร, ภาวะผู้นำ ในการทำกลุ่ม

กับเรื่องที่เป็นเครื่องมือ อย่างเรื่อง Mindmap, SWOT analysis และ six thinking hats

พี่ว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีมากในการให้นักศึกษาเข้าใจ กระบวนการการทำงานในกลุ่มให้แตกฉานเสียก่อนล่ะ

วันนี้เขาปิด scene นี้กันตอนบ่าย

มีการสรุป scene ในห้องเรียนด้วย

ปีนี้นักเรียนแปดกลุ่ม หกสิบกว่าคน งานหนักน่าดู

เลยคิดว่าหากแบ่งเบางานอาจารย์ผ่าน weblog ได้ก็น่าจะเป็นเรื่องดี

ผมได้อ่านบทความ

"ตีนที่มองไม่เห็นที่อาจสามารถ" โดย อ.นิธิ เอียวศรีวงศ์ เมื่อสองสัปดาห์ก่อน

http://www2.psu.ac.th/senate/moral_gov/article/article6.doc

ก็คั่นหน้าหนังสือนี้ไว้ คิดว่า

มีโอกาสเมื่อไหร่ต้องเอามาเป็นข้อสอบถามนักศึกษาของเราดู

เป็นเรื่องที่ทำให้เห็นความเชื่อมโยงจากเมืองสู่ชนบท

เป็นเรื่องราวชีวิตของ "แรงงานไร้ฝีมือ" ที่เป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศนี้

เลยเอามาแปะไว้ท้าทายและยั่วให้นักศึกษามาคิดกันต่อ

ถ้าผมออกข้อสอบ ผมจะถามว่า ในระบบสุขภาพไทย มี "ตีนที่มองไม่เห็น" ไหม ถ้ามี มันถีบใคร ไปที่ไหน

ฮ่า ฮ่า ยากดี ผมชอบจริงๆ

ในความเห็นผมนะ คอร์สนี้เป็นเรื่องของการสร้างฐาน, สร้างทักษะที่เอื้อกับการเป็นทันตแพทย์ชุมชนล่ะ

เริ่มจากทักษะการประชุมในกลุ่ม ที่เรียนรู้กันผ่านสถานการณ์ศึกษา

แต่ก่อนหน้านั้น ถ้าอาจารย์มัทนายังจำได้ถึงบรรยากาศของคอร์สแรกของวิชาแรกของคณะ

ก็เป็นการอบรมเรื่องการมาสาย

เมื่อวานก็อยู่ในบรรยากาศนี้ด้วยล่ะ

ทำไงจึงจะสอนว่าตรงต่อเวลาเป็น คุณธรรม ไม่ใช่เป็นแค่นิสัยที่ดี

อันนี้เป็นบทเรียนแรกที่เกือบครึ่งชั้นเรียนเจอไปเต็มๆ

ติดใจคำถามอาจารย์มัทนาครับ

ในซีนที่แอบไปเข้ามาก็มีคำถามลักษณะนี้

นักเรียนขึ้นหัวข้อเป็น learning objective ว่า

  • ความคิดคืออะไร

ผมชอบมาก อยากจะถามต่อไปให้ช่วยกันคิดอีกสองสามข้อ

  • ความจริงคืออะไร
  • ความรู้คืออะไร (เลียนแบบ final score)
  • ชีวิตคืออะไร

 

ดีจังที่นักเรียนคิด L.O. แบบนั้น

แปลว่าเริ่มสงสัยในสิ่งที่ไม่ค่อยได้สงสัย

แต่ถ้าให้ไปคิดต่อเรื่อง ความจริง ความรู้ และ ชีวิต นี่ โอ้ว น่าจะมีเวลาคุยกันจริงๆจังๆต่อนะ จะได้ไม่อึดอัด  ไม่ต้องสอบ แต่อยากนั่งคุยกับเค้าเรื่องนี้ ว่าเค้าคิดอย่างไร และครูทางโลกตะวันตกคิดอย่างไร ครูทางโลกตะวันออกคิดอย่างไรไว้บ้าง

นึกถึงบรรยากาศเวลาหลังทางข้าวเย็น นั่งคุยกันนอนคุยกันที่บ้านชาวบ้าน ทำกลุ่มก่อนเข้านอน แบบวันที่ไม่ต้องเตรียมงานสำหรับเช้าวันต่อไปมากเท่าไหร่หน่ะค่ะ ถ้ามีเวลาว่างๆแบบนั้นมากๆก็ดีเนอะ  

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท