เตรียมรับมือกับน้ำท่วม


น้ำท่วม

            ปีนี้ฝนมาเร็วและดูเหมือนจะมีปริมาณมากด้วย ประกอบกับข้อมูลเรื่องโลกร้อนที่กำลังตีแผ่กันอย่างต่อเนื่อง ทำให้หลายๆ คนหวั่นว่าปีนี้น้ำจะท่วมมากกว่าปีที่ผ่านมา น่าน เองปีที่แล้วถือว่าเป็นการท่วมครั้งยิ่งใหญ่ในรอบ43 ปีเลยทีเดียว เกิดความสูญเสียอย่างมหาศาล โดยที่ใครๆ ก็ไม่คาดคิดว่าน้ำจะท่วมมากมายขนาดนั้น ผลของการเกิดภัยพิบัติครั้งนี้ทำให้เกิดการตื่นตัวในการที่วางแผนรองรับภัยพิบัติที่อาจจะเกิดขึ้นอีกในปีนี้             องค์กรทั้งภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรพัฒนาเอกชน และชุมชนเองก็มีการจัดทำแผนเตรียมรับสถานการณ์ไว้ โดยมีน้ำท่วมปีที่แล้วเป็นบทเรียน ผู้เขียนเองก็มีประสบการณ์ทั้งเป็นผู้ถูกน้ำท่วมและผู้ประสานให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม ตลอดจน การถอดบทเรียนการจัดการในภาวะภัยพิบัติ การฟื้นฟูชุมชน การวางแผนรองรับภัยพิบัติที่อาจจะเกิดขึ้นอีกได้ในปีนี้หรือปีต่อๆ ไป โดยที่ไม่มีใครหยั่งรู้ได้ นอกจากการคาดการณ์กันเท่านั้น แต่การมีบทเรียน มีแผนรับมือไว้ย่อมเป็นฐานของการรับมืออย่างชาญฉลาด ลดความสูญเสียให้น้อยลงได้      

      อนาคตแน่นอนว่าโอกาสที่จะเกิดภัยพิบัติ โดยเฉพาะน้ำท่วมที่มากขึ้น รุนแรงมากขึ้นมีอยู่มาก เหตุผลหลายประการนอกจากภาวะโลกร้อนที่เราพูดกันมาก ที่สำคัญได้แก่            ทางน้ำ แก้มลิง สิ่งกีดขวางทางน้ำ เป็นประเด็นสำคัญอันหนึ่งที่มีการพูดคุยกันมาก เนื่องจากแต่เดิมจะมีแก้มลิงตามธรรมชาติ ที่เป็น ทางเดินน้ำเก่า หนองน้ำ คู คลอง จำนวนมาก ซึ่งพื้นที่เหล่านี้จะเป็นแอ่งกักเก็บน้ำตามธรรมชาติ แต่ปัจจุบันได้ถูกถมที่ ตัดถนน การรุกเข้าไปยังทางน้ำ หนองน้ำต่างๆ การปลูกสิ่งก่อสร้างกีดขวางทางน้ำในรูปแบบต่างๆ ทำให้พื้นที่ที่เป็นแก้มลิงตามธรรมชาติลดน้อยลงไปมาก ทำให้ไม่สามารถรองรับปริมาณน้ำที่มีจำนวนมากได้ แม้ปัจจุบันแผนการพัฒนาฟื้นฟูลำน้ำจะถูกหยิบยกมาคุยกันมากขึ้น แต่หากไปดูเนื้อในของการปฏิบัติกลับเป็นการก่อสร้างทางวัตถุมากกว่าที่จะพิจารณาในกระบวนการพัฒนาที่ยั่งยืนและสร้างความสมดุลของสิ่งแวดล้อม            ป่าไม้ถูกทำลายลงอย่างรวดเร็ว ป่าและต้นไม้ที่เคยโอบอุ้มน้ำและชะลอการไหลของน้ำ แต่ถูกทำลายลงอย่างรวดเร็ว ด้วยการขยายพื้นที่การเกษตร บ้านเรือน สถานที่ราชการ ถนนหนทาง พื้นที่เอกชนต่างๆ ล้วนแล้วแต่ก่อให้เกิดการทำลายป่าเป็นอันมาก ในขณะที่กระบวนการฟื้นฟูและปลูกป่าทดแทนยังทำได้ค่อนข้างจำกัด การเกษตรใช้เครื่องจักรกลบุกเบิกไถพรวน และสารเคมีการเกษตรอย่างมาก ทำให้เกิดการพังทลายของหน้าดินสูง เกิดแผ่นสไลด์ตัวในพื้นที่สูง ประเด็นปัญหาเหล่านี้ล้วนเกี่ยวโยงกับแผนการพัฒนาทั้งสิ้น             ปัญหาเหล่านี้แม้จะเป็นที่ตระหนักกันดี แต่กระบวนการฟื้นฟูยังห่างไกลความเป็นจริงอยู่มาก ในการเตรียมการรองรับภัยพิบัตินั้นจำเป็นต้องอาศัยชุมชนเป็นฐานในการปกป้องตนเองและเชื่อมโยงกับหน่วยงานองค์กรภายนอก เพื่อมิให้ประวัติซ้ำรอยเดิมอีก

คำสำคัญ (Tags): #น้ำท่วม
หมายเลขบันทึก: 102458เขียนเมื่อ 11 มิถุนายน 2007 14:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สวัสดีครับ  ผมเคยอยู่มูลนิธิหมู่บ้าน หลายปี ปัจจุบันอยู่ สถาบันส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน (สสวช.)  สนใจเรื่องเครือข่ายมาตลอด  .......

ขออนุญาต นำเขาแพลนเน็ต ครับ......

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท