เมืองสุรินทร์ถิ่นผ้าโฮล


ถิ่นผ้าโฮล

เมืองสุรินทร์ถิ่นผ้าโฮล

 

            วิโรจน์  แก้วเรือง

            เกษตรท่องเที่ยว หรือ ท่องเที่ยวเชิงเกษตร วันนี้จะพาท่านไปเยือนสุรินทร์ถิ่นช้างใหญ่    ผ้าไหมงาน ประคำสวย ร่ำรวยประสาท ผักกาดหวาน ข้าวสารหอมงามพร้อมวัฒนธรรมหนึ่งใน จังหวังอีสานใต้ ชายแดนติดประเทศกัมพูชา มีประวัติศาสตร์ความเป็นมาอันแสนนาน ประมาณ 2000 ปี ล่วงมาแล้ว จากหลักฐานเมืองสุรินทร์ ถูกสร้างขึ้นมาในสมัยของเรื่อง อำนาจ ในปี พ..2366 พรสุรินทร์ภักดีศรีณรงค์จางวาง ซึ่งเดิมเป็นหัวหน้าหมู่บ้านเมืองที่ได้ย้ายมาตั้งเมืองใหม่ที่บ้านดูประทายเมื่องที่ตั้งอยู่ภายในวัด จอมสุทธาวาส ตำบลเมืองที่ อำเภอเมือง ห่างจาก  ตัวเมืองปัจจุบัน 16 กิโลเมตร ซึ่งยังจะเห็นร่องรอยได้จาก ประสาท เมื่อขอมเสื่อมอำนาจลง สุรินทร์จึงถูกทิ้งเป็นเมืองร้าง มาจนกระทั้งสมัยรัชกาลที่ 1 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกโปรดเกล้าฯให้หลวงพระสุรินทรภักดีศีรณรงค์จางวาง เป็นเจ้าเมืองปกครอง ในปี พุทธศักราช 2329 และให้เปลี่ยนชื่อเดิมเมืองประทายสมันต์ มาเป็นเมืองสุรินทร์ ตามสร้อยบรรดาศักดิ์ของเจ้าเมืองคนแรก

            ในอดีต ถ้ากล่าวถึงสุรินทร์ก็มักจะนึกถึงแชม็ปดื่มสุราโดยดูจากสถิติยอดการจำหน่ายสุรา ต่อประชากรของจังหวัด แต่สุรินทร์ยังมีเรื่องดีๆ ที่คนทั่วไปนับถือมากกว่าสุรา คือ จนกลายเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัด ใครก็ตามที่ต้องการดูการแสดงความสามารถของช้างเป็นโขลง ๆ  เช่น การเตะบอลก็ต้องมาเที่ยวงานช้างที่สุรินทร์ จนทำให้ช้างสุรินทร์กลางเป็นสัตว์แสนรู้ ส่งออกไปยังจังหวัดต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมการท่อนเที่ยวของไทยในหลาย ๆ จังหวัด ปัจจุบัน ณ หมู่บ้านช้างที่บ้านตากลาง ตำบลกระโพ อำเภอท่าตูม ยังคงมีการเลี้ยงช้างและฝึกช้างพร้อมมีการจัดตั้งศูนย์การศึกษา เพื่อเป็นศูนย์รวม ของคนกับช้างและเป็นศูนย์ข้อมูลวัฒนธรรมท้องถิ่นอีกด้วย

            สุรินทร์ ยังมีของดีที่เป็นมรดกทางวัฒธรรมมายาวนานแต่พึ่งได้รับความนิยมจากผู้ใช้    ผ้าไหม คือ ผ้าโฮล ซึ่งเป็นผ้ามัดหมี่เอกลักษณ์ของเมืองสุรินทร์อย่างแท้จริง และเป็นผ้านิยมย้อมด้วยสีธรรมชาติเท่านั้น ศิลปะการผลิต ผ้าโฮล จะทำจากไหมเท่านั้น สืบต่อกันมาตั้งแต่สมัยขอมจวบจนปัจจุบัน การกล่าวว่าผ้าโฮล กำลังได้รับความนิยม นั้นไม่เกินความเป็นจริงเลย เนื่องจากสวมไม่สบายและไม่ยับง่าย เป็นที่ถูกใจของผู้ได้สัมผัส ซึ่งจะหาซื้อได้ที่หมู่บ้านทอผ้าไหมบ้านนาตัง บ้านของสินรินทร์ และบ้านโชค ตำบลเขวาสินรินทร์ และกิ่งอำเภอเขวาสินรินทร์ หรือถ้าไม่มีเวลาก็เลือกชมและหาซื้อจากร้านผ้าไหม ในตัวเมืองสุรินทร์ แต่ถ้าต้องการเรียนรู้กระบวนการผลิตผ้าไหมแบบพื้นบ้านครบวงจร ตั้งแต่การปลูกหม่อนการเลี้ยงไหม การสาวไหม การย้อมเส้นไหมด้วยสีธรรมชาติ การมัดหมี่ การทอผ้าไหม ก็ต้องไหที่ สถานีทดลองหม่อนไหมสุรินทร์ ที่ได้กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงเกษตร พิพิธภัณฑ์และห้องสมุดธรรมชาติไปแล้ว เพราะนอกจากจะได้ชมกิจกรรมดังกล่าวข้างต้นแล้วในสาวของเรืองอนุรักษ์ที่อาคารพิพิธภัณฑ์ขนาดย่อม มีการจัดแสดง ถึงแม่สีธรรมชาติที่ใช้ในการย้อมผ้าไหมของชาวสุรินทร์คือ สีแดง จากครั้ง สีน้ำเงินจากใบคราบ และสีเหลืองแก่จากแก่นเขและสีเหลืองจากเปลือกประโหด การผสมสีย้อมให้ได้สีย้อมหลากหลายมากขึ้น การย้อมผสมสี เน้นการย้อมทีละสี แห้งแล้วย้อมสีอื่นอีกครั้ง และเทคนิคการทำสีเพื่อใช้ทำผ้าโฮลจะใช้เพียง 5 สี ได้แก่ สีแดงอมทอง สีเหลืองอมทอง สีเขียว สีฟ้า และสีม่วง อีกท้องหนึ่งในเรื่องอนุรักษ์จะแสดงลายผ้าพื้นเมืองสุรินทร์ เช่น

1.      ผ้าสาคู เป็นผ้าที่ย้อมเส้นไหมเป็นสีแล้วทอสลับเส้นจะเป็นลายตารางไหม2.      ผ้าสระมอ เป็นผ้าที่ทำเช่นเดียวกับผ้าสาคู แต่ต่างกันที่ลวดลายเป็นตารางที่เล็กกว่า บางครั้งเรียกผ้าสมอเพราะลายคล้ายผลสมอ3.      ผ้าอันลูนเสียม (ภาษาเขมรหมายถึงผ้าลายไทย)4.      ผ้าโฮล เป็นผ้ามัดหมี่ย้อมด้วยสีธรรมชาติเท่านั้นใช้กระสวยทอถึง 7 กระสวย ในขณะที่มัดหมี่ทั่วไปใช้กระสวยเพียง 1 กระสวย5.      ผ้าอัมปรม เป็นผ้ามัดหมี่ดังเดิมของโลกและใช้การมัดหมี่ 2 ทาง ทั้งเส้นพุงและเส้นยืน คาดว่าผ้าอัมปรมได้ถูกผลิตขึ้นมานานกว่า 2,000 ปี พบผ้าชนิดนี้ที่ประเทศอินเดีย ญี่ปุ่น และอินโดนีเซียและไทย ดูลักษณะผ้าเหมือนประกายดาวบนท้องฟ้า โดยมีสีดังเดิมเป็นสีเปลือกมังคุด

นี่เป็นส่วนหนึ่งของเกษตรท่องเที่ยวที่สถานีทดลองหม่อนไหมสุรินทร์เท่านั้น ในอนาคตอันใกล้นี้ ท่านจะได้เห็นกิจกรรมการผลติหม่อนไหมของไทยมากกว่านี้ พร้อมภูมิทัศน์ที่สวยงาม  ตามนโยบายของการท่อนเที่ยวแห่งประเทศไทยและกรมวิชาการเกษตรได้ร่วมมือกันดำเนินการให้สถานี่แห่งนี้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร พิพิธภัณฑ์ และห้องสมุดธรรมชาติด้านหม่อนไหมที่สมบูรณ์แบบที่สุดของประเทศไทย ไปสุรินทร์ครั้งใดอย่าลืมแวะไปเยี่ยมเยือน สถานีทดลองหม่อนไหมสุรินทร์ ตั้งอยู่บนถนนสายสุรินทร์ กระสัง บุรีรัมย์ ห่างจากตัวเมืองเพียง 3.5 กิโลเมตร เท่านั้นเอง  

หมายเลขบันทึก: 102457เขียนเมื่อ 11 มิถุนายน 2007 14:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 มิถุนายน 2012 13:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ดิฉันเขียนเรื่องเล่าผ้าไหมเมืองสุรินทร์

ดีใจที่ได้มาอ่านเพิ่มเติม

ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท