BM.chaiwut
พระมหาชัยวุธ โภชนุกูล ฉายา ฐานุตฺตโม

ปรัชญามงคลสูตร ๒๕ : การตระเตรียมเข้าสู่ปัจฉิมวัย (ต่อ)


ปรัชญามงคลสูตร

ประเด็นว่า ทำไม ? ความเคารพเป็นต้นจึงได้มาเริ่มเมื่อเข้าสู่ปัจฉิมวัย... ผู้เขียนจะนำเอาแนวคิดจากคัมภีร์อรรถกถาซึ่งท่านได้ให้แนวทางไว้ และนำไปเทียบเคียงแนวคิดเดิมของศาสนาฮินดู ก่อนที่จะนำมาสู่ความเห็นของผู้เขียน...

ในการประมวลเนื้อหาของมงคลสูตร คัมภีร์อรรถกถาได้ประมวลช่วงคาบเกี่ยวคาถาที่ ๖ และคาถาที่ ๗ ดังต่อไปนี้...

....เว้นจากการเบียดเบียนผู้อื่นด้วยการเว้นจากบาป และเว้นจากการเบียดเบียนตนด้วยการสำรวมจากการดื่มน้ำเมา ยังธรรมฝ่ายกุศลให้เจริญด้วยความไม่ประมาทในธรรมทั้งหลาย.... ละเพศคฤหัสถ์เสียเพราะความเป็นผู้มีกุศลอันเจริญแล้ว แม้ตั้งอยู่ในภาวะแห่งบรรพชิต ก็ยังวัตตสมบัติให้สมบูรณ์..... ด้วยความเคารพในท่านผู้ควรเคารพ มีพระพุทธเจ้า พระสาวกของพระพุทธเจ้า พระอุปัชฌาย์ และอาจารย์ เป็นต้น และความถ่อมตน ละความติดปัจจัยด้วยความสันโดษ ตั้งอยู่ในภูมิของสัตบุรุษ ด้วยความเป็นผู้รู้จักอุปการคุณที่ท่านทำแล้ว ละความเป็นผู้มีจิตหดหู่ ด้วยการฟังธรรม.......

ตามความเห็นของพระอรรถกถาจารย์ เมื่อเราดำเนินตามคาถาที่ ๖ แล้ว กุศลธรรมก็จะค่อยๆ เจริญขึ้น และก็สละความเป็นผู้ครองเรือนแล้วบวชเป็นบรรพชิต... ต่อจากนั้นก็ให้ดำเนินการตามคาถาที่ ๗ ด้วยการมีความเคารพ เป็นต้น...

เมื่อถือเอาตามนัยนี้ จะเห็นได้ว่า หลังจากมีครอบครัวและประสบความสำเร็จพอสมควรทั้งทางคดีโลกและคดีธรรมแล้วก็ควรที่จะออกบวชเพื่อพัฒนาตัวเองให้สูงขึ้น... ประมาณนี้

................

ผู้เขียนมีความเห็นว่า แนวคิดประเด็นนี้ สอดคล้องกับเรื่องอาศรม ๔ ในศาสนาฮินดู ซึ่งได้แบ่งช่วงแห่งวัยชีวิตไว้ ๔ ระดับ กล่าวคือ

  • พรหมจารี วัยเด็กให้ศึกษาเล่าเรียน
  • คฤหัสถ์ วัยผู้ใหญ่ครองเรือน ศึกษาพิธีกรรม
  • วนปรัสถ์ เมื่อเริ่มมีหลานก็แสวงหาความสงบด้วยการไปอยู่ป่า
  • สันยาสี ถ้ามีศรัทธาแก่กล้าก็สละทุกอย่างออกท่องเที่ยวแสวงหาโมกขธรรม

เมื่อพิจารณาช่วงชั้นวัยในมงคลสูตร จะเห็นได้ว่า สิ้นคาถาที่ ๖ เริ่มคาถาที่ ๗ ให้บวชเป็นบรรพชิต จะตรงกับวนปรัสถ์ คือการมอบภาระให้ลูกหลานแล้วออกไปแสวงหาความสงบในป่า... ประมาณนั้น

ตามที่นำเสนอมาโดยย่อ จะเห็นได้ว่า คนเมื่อย่างเข้าสู่ปัจฉิมวัย ควรแสวงหาความสงบแห่งจิตใจ .... นั่นคือ การสะท้อนความต้องการที่แท้จริงของคนวัยนี้... ประมาณนั้น

ส่วนเนื้อหามงคลสูตรจริงๆ ไม่ได้บอกว่า จะต้องไปอยู่ป่า หรือจะต้องบวชเป็นบรรพชิต แต่เริ่มต้นด้วยการมีการเคารพ... นั่นคือ การแสวงหาความสงบแห่งจิตใจ เริ่มต้นที่การมีความเคารพ นั่นเอง

ประเด็นนี้ ผู้เขียนจะขยายความในตอนต่อไป....

  

หมายเลขบันทึก: 102456เขียนเมื่อ 11 มิถุนายน 2007 14:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มิถุนายน 2012 13:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
  • นมัสการหลวงพี่
  • ไม่ได้ทบทวนตรงนี้นาน
    • พรหมจารี วัยเด็กให้ศึกษาเล่าเรียน
    • คฤหัสถ์ วัยผู้ใหญ่ครองเรือน ศึกษาพิธีกรรม
    • วนปรัสถ์ เมื่อเริ่มมีหลานก็แสวงหาความสงบด้วยการไปอยู่ป่า
    • สันยาสี ถ้ามีศรัทธาแก่กล้าก็สละทุกอย่างออกท่องเที่ยวแสวงหาโมกขธรรม
  • รออ่านอีกครับ
  • ขอบคุณครับ
P

จำขึ้นใจ ในวิชา ดีกว่าจด

จำไม่หมด จดไว้ดู เป็นครูสอน

จดและจำ ทำตำรา ไว้ถาวร

เป็นอาภรณ์ ประดับตน นุกูลกาล

....ฝากให้อาจารย์....

เจริญพร

 

นมัสการหลวงพี่ค่ะ

    อยากทราบว่าปรัชญาที่เกี่ยวกับการพยาบาล คืออะไรบ้างค่ะ

    ตอนนี้กำลังศึกษาต่อวิชาชีพพยาบาลอยู่ค่ะ เลยอยากจะทราบ 

 

ไม่มีรูป
พยาบาล

ปรัชญาเกี่ยวกับการพยาบาล ? หลวงพี่ไม่เคยเรียน และก็ไม่ทราบ....

ส่วนที่เคยผ่านมาบ้างก็เกี่ยวกับชีวจริยศาสตร์ (Bioethics) ซึ่งมีประเด็นการปฏิบัติต่อคนไข้...

ถ้าสนใจก็ลองไปดูหนังสือ Principles of Biomedical Ethics ของ Tom L. Beauchamp เล่มนี้ปรับปรุงใหม่หลายครั้งแล้ว ตามที่ค้นมา หอมหาสมุดในเมืองไทยมีอยู่เกือบทุกแห่ง แต่บางแห่งอาจเป็นเล่มเก่า...

.........

ส่วนแนวคิดทางพระพุทธศาสนาลองค้นเรื่องการพยาบาลภิกษุผู้อาพาธ คิดว่าน่าจะพอนำมาประยุกต์ได้...

ตัวอย่างในพระไตรปิฏกก็เช่น http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_item.php?book=2&item=611 แล้วก็ลองไปค้นในอรรถกถาและฏีกา ซึ่งจะอธิบายรายละเอียดอีกครั้ง

เจริญพร

พระอาจารย์คงมิได้มุ่งหมายให้เป้าประสงค์ของโครงการที่กระผมจะทำนั้น...ตรงกับมงคลสูตรของพระอาจารย์กระมัง...

 

เพียงแต่ว่า...วาสนาช่างประจวบเหมาะ...พอกระผมเริ่มสนใจทำโครงการผู้สูงอายุ...ก็มาตรงกับมงคลสูตรของพระอาจารย์ที่ไลเรียงมาจนประจบพอดี...ช่างน่าอัศจรรย์นัก...555...

 

นี่กระมังที่เขาว่า...คนกระทำมิสู้ฟ้าลิขิต...55555

 

พอมาอ่านของพระอาจารย์...กระผมก็เห็นข้อเท็จจริงของชีวิตในวัยปัจฉิมประการหนึ่ง...ที่ควรจะเพิ่มเข้าในโครงการฯ...จริง ๆ ครับ...

การเตรียมตัวตาย...อย่างมีความสุข...(ตายยิ้มหรือยิ้มตาย)

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท