Food Science/HR รุ่น 2


Food Science ลาดกระบัง

สวัสดีลูกศิษย์กลุ่มการจัดการธุรกิจการเกษตรและอุตสาหกรรม และชาว Blog ทุกท่าน

ในวันอาทิตย์ที่ 10 มิถุนายน นี้ เป็นวันแรกครับ ที่ผมได้รับเชิญให้ไปสอนในรายวิชา  การจัดการทรัพยากรมนุษย์ ให้กับภาควิชาการจัดการธุรกิจการเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร  หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ซึ่งเป็นรุ่นที่ 2 สำหรับการมาสอนที่นี่ สำหรับผมครับ

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องการจัดการทรัพยากรมนุษย์นั้น เป็นสิ่งที่ทุกคนและทุกองค์กรควรจะให้ความสนใจอย่างยิ่งครับ เพราะคนเป็นปัจจัยสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กร ครับ

สำหรับหลักสูตรนี้ ผมจะสอนทุกวันอาทิตย์เวลา 9.00 – 12.30 น. เริ่มวันอาทิตย์ที่ 10 มิถุนายน – 23 กันยายน 2550

อย่างเช่นทุก ๆ กลุ่มที่ผ่านมาที่ผมอยากจะให้ความรู้ที่เกิดขึ้นในห้องเรียนได้ถูกนำมาประมวลสรุป และถ่ายทอดไปสู่คนอื่น ๆ ในสังคมด้วย ก็ขอให้ใช้ Blog นี้เป็นสื่อกลางของพวกเรา

                                                       จีระ  หงส์ลดารมภ์

              เมื่อวันศุกร์ที่ 22 มิถุนายน 2550 นักศึกษาป.โท ลาดกระบังได้เดินทางไปให้ความรู้ทางโภชนาการที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กซึ่งอยู่ในความดูแลของอบต.เขาไม้แก้ว จังหวัดชลบุรี จึงมีภาพของกิจกรรมต่างๆมาฝากกัน

    

                                                      

                              

ทัศนศึกษาที่วังนำเขียว

เมื่อวันจันทร์ที่ 23 กรกฎาคม 2550 นักศึกษาป.โทคณะเทคโนโลยีการเกษตรได้เดินทางไปเยี่ยมชมแปลงผักปลอดสารพิษ ที่อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา

คำสำคัญ (Tags): #food science
หมายเลขบันทึก: 102210เขียนเมื่อ 10 มิถุนายน 2007 09:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (307)
ชื่อวิชา 04147152 การจัดการทรัพยากรมนุษย์อาจารย์ผู้สอน  ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ชื่อนักศึกษา อโณทัย วัฒนสุวรรณรหัสนักศึกษา 50066201 สิ่งที่ได้รับจากการเรียนวันที่ 10/06/20071.     วิธีการเรียนที่ถูกต้อง 2.     ควรพัฒนาตนเองและคนอื่นๆ ไปพร้อมๆกัน เป็นการคืนประโยชน์ให้กับสังคม
  1. การเรียนรู้จะต้องเรียนรู้ข้ามศาสตร์ และเชื่อมโยงแต่ละศาสตร์เข้าด้วยกัน
  2. หลักของ 4 L  และ 2 R
  3. ต้องให้มีการต่อยอดทางความรู้และความคิด
  4. การกระตุ้นและผลักดันให้มีความคิดดีและทำดี
  5. การทันโลกทันเหตุการณ์ตลอดเวลา
  สิ่งที่ได้รับจากการอ่านหนังสือเรื่อง ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ และ 2พลังความคิด ชีวิตและงาน      คนเป็นสิ่งที่มีค่า,ปัจจัย,ทุนหรือทรัพยากรที่สำคัญและมีค่ามากที่สุดขององค์กร ซึ่งองค์กรจะประสบความสำเร็จหรือล้มเหลวขึ้นอยู่กับคนไม่ใช่อุปกรณ์หรือเทคโนโลยี      ทฤษฎีนักบริหาร 8 H’s ของคุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ และทฤษฎีทรัพยากร 8 K’s ของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ มีความสอดคล้องกัน 7 ข้อ ( 1.Heritage vs Sustainable Capital , 2.Head vs Intellectual Capital , 3.Hand vs Talent Capital , 4.Heart vs Ethical Capital , 5.Home vs Human Capital , 6.Happiness vs Happiness Capital และ 7.Harmony vs Social Capital ) แต่จะมีข้อที่แตกต่างกันอยู่ 1 ข้อ ซึ่งได้แก่ Health vs  Digital Capital โดยที่ Health จะเน้นที่สุขภาพของมนุษย์ทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ส่วน Digital Capital จะเน้นที่ความรู้ ปัญญา และการทันโลกทันเหตุการณ์ซึ่งจะต้องให้ความสำคัญในเรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศ      ทฤษฎี 4 L’s ของคุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา และ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ที่มีเป้าหมายเดียวกัน     ทฤษฎี 3 วงกลม ของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ สามารถใช้กับโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงได้ซึ่งลักษณะของวงกลมทั้งสามนี้จะคล้องกันอยู่นั่นหมายความว่าการบริหารจัดการต่างๆจะต้องทำร่วมกัน(วงกลมที่1 คือ context วงกลมที่ 2 competencies วงกลมที่ 3 motivation )     สาเหตุที่ทำให้การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นไปได้ยากในสังคมไทย ได้แก่1.การลงทุนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้ผลตอบแทนระยะยาวและใช้เวลานาน  ต้องทำอย่างต่อเนื่อง ซึ่งคนไทยโดยมากต้องการลงทุนแบบเห็นผลระยะสั้นและเร็วมากกว่า2.การลงทุนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ไม่สามารถเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ได้อย่างชัดเจน     การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของเครือซีเมนต์ไทยที่สำคัญมี 3 ประการ คือ1.ความเชื่อมั่นในคุณค่าของคน2.ความรู้สึกว่าพนักงานคือคนในครอบครัวของเรา3.ความรับผิดชอบที่จะทำให้ทรัพยากรมนุษย์ของบริษัทมีทั้งราคาและคุณค่าทีสอดคล้องกัน       จากหนังสือทั้ง 2 เล่มที่ได้อ่านนั้นแสดงให้เห็นถึง ทรัพยากร ที่สำคัญ ซึ่งได้แก่ คน หรือ มนุษย์  และในการพัฒนา บริหาร หรือ จัดการกับทรัพยากรดังกล่าวเป็นศาสตร์อย่างหนึ่ง ซึ่งในการที่จะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์นั้นจำเป็นจะต้องได้รับการพัฒนาจากบุคคลผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญรวมถึงประสบการณ์ซึ่งน้อยคนนักที่จะสามารถเป็นได้ ในส่วนของประเทศไทยมีความโชคดีที่มีบุคคลที่มีความสามารถในด้านการพัฒนาทรัพายากรมนุษย์อยู่หลายท่านด้วยกัน ได้แก่ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ , คุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา และคุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์  จะเห็นได้ว่า แม้ว่า หลักการ ที่ทั้ง 3 ท่าน นำมาใช้ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จะไม่เหมือนกัน แต่จะเห็นว่าทั้ง 3 ท่านจะคอยช่วยส่งเสริมสนันสนุนซึ่งกันและกันตลอดเวลา โดยมีเป้าหมายเดียวกัน คือ เพื่อ มนุษย์ และ ท้ายที่สุดคือเพื่อประเทศชาติ        คนเราทุกคนสามารถพัฒนาตนเองได้ โดยจะต้องยอมที่จะปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงตนเองไปในทางที่ดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็น ชีวิตความเป็นอยู่ อุปนิสัยหรือทัศนคติ และหากได้มีผู้ที่มีประสบการณ์เป็นผู้ชี้แนะแล้วย่อมสามารถพัฒนาได้ทุกคน
กราบเรียน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ดิฉัน นางสาวนันทกา  บุญสุข นักศึกษาปริญญาโท คณะเทคโนโลยีการเกษตร สาขาวิชาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร รหัสนักศึกษา 5066206สิ่งที่ดิฉันได้รับจากการเรียนในวันอาทิตย์ที่ 10 มิถุนายน 2550 ก่อนอื่น ดิฉัน ประทับใจ ท่านอาจารย์ตั้งแต่แรกเห็น คือ ท่านอาจารย์เป็นบุคคลที่มีบุคลิกน่าเคารพนับถือ และเมื่อได้สนทนากับท่านก่อนเรียนแบบ Morning coffee รู้สึกได้เลยว่าท่านมีความเป็นกันเองกับนักศึกษาทุกคน และไม่ถือตัวเลยซักนิด จากนั้นพอพวกเราเริ่มเข้าไปเรียนในห้องเรียนเพียงวันแรก สิ่งที่ดิฉันได้รับก็คือ
  1. ท่านอาจารย์กระตุ้นให้ดิฉัน รู้จักใฝ่หาความรู้จากสิ่งรอบตัวอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้เป็นคนทันสมัยและทันต่อเหตุการณ์  ต้องไม่หยุดที่จะเรียนรู้  และไม่ได้รู้เฉพาะในกรอบหรือตำราเรียนเพียงอย่างเดียว
  2. การที่ดิฉันจะเป็นผู้นำที่ดีได้ จะต้อง คิดดีและเป็นคนดี แล้วก็เผื่อแผ่แบ่งปันให้กับส่วนรวมด้วย ไม่เห็นแก่ตัว
  3. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สามารถประยุกต์ใช้ได้กับศาสตร์ทุกแขนง เช่น ทรัพยากรมนุษย์กับวิทยาศาสตร์การอาหาร, ทรัพยากรมนุษย์กับเศรษฐศาสตร์ เป็นต้น เพราะ ทรัพยากรมนุษย์เป็นทรัพยากรที่มีค่ามากที่สุด
สิ่งที่ดิฉันได้รับจากการอ่านหนังสือ “2 พลังความคิด ชีวิตและงานและ ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้1.        ศ.ดร.จีระ, คุณหญิงทิพาวดี และ ท่านพารณ ต่างมีหนทางชีวิตที่แตกต่างกัน แต่สามารถเป็นบุคคลที่ประสบความสำเร็จได้อย่างมีความสุข เพราะ ท่านทั้ง 3 มีการเรียนรู้, คิด และกล้าลงมือทำ ไม่ใช่ดีแต่พูด ท่านทั้ง 3 ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค ใช้อุปสรรคให้เป็นโอกาส  ท่านเป็นคนเก่งที่ดีและมีคุณธรรม 2.        การที่จะเป็นผู้นำองค์กรที่ดีได้ ต้องให้ความสำคัญด้านการพัฒนาคน อย่าคำนึงถึงแต่ผลกำไร หรือเป็นมนุษย์หน้าเงิน เพราะคนเป็นทรัพยากรที่มีค่ามากที่สุด เมื่อคนมีคุณภาพ องค์กรก็จะมีคุณภาพ3.        ในการพัฒนาองค์กรให้ประสบความสำเร็จไม่ควรเลียนแบบการบริหารหรือแนวความคิดใดความคิดหนึ่งมาใช้ เพราะแต่ละองค์กรมีบุคลากรและปัญหาที่แตกต่างกัน นักพัฒนาจะต้องศึกษาความคิดหลายๆด้านและผสมผสานความคิดมาเป็นแบบแผนเฉพาะให้เหมาะสมสำหรับองค์กรนั้นๆ4.        การยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น เป็นสิ่งสำคัญในการทำงานเป็นทีม เพราะคนหนึ่งคน ไม่ได้เก่งไปหมดทุกด้าน การที่นำคนเก่งในแต่ด้านมาแบ่งปันความรู้และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน ผลงานก็จะประสบความสำเร็จได้ดียิ่งขึ้นไป5.        คุณค่าของคนไม่ได้วัดกันที่การศึกษา หรือใบปริญญาเพียงอย่างเดียว สิ่งสำคัญที่สุดคือ คนเหล่านั้นมีความสามารถเพิ่มผลผลิตได้มากแค่ไหน

6.        การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ต้องใช้เวลานาน เพราะฉะนั้นผู้นำจะต้องมีความอดทน มุ่งมั่น ที่จะพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผลตอบแทนเกิดขึ้นในระยะยาว

7.        เทคโนโลยีเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับโลกปัจจุบัน องค์กรที่ไม่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยสามารถประสบความสำเร็จได้เช่นกัน แต่จะไม่ทันและล้าหลังกว่าคนอื่น8.        การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ อันดับแรกต้องเริ่มจากที่บ้าน หรือ ครอบครัว โดยเริ่มตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา จนคลอดออกมาเป็นทารก ต้องให้ความรักความอบอุ่นและการดูแลเอาใจใส่ ให้การศึกษาที่ดี เมื่อเรียนจบมาทำงานก็จะเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพต่อองค์กร และประเทศชาติต่อไปด้วยความเคารพอย่างสูง
หนังสือ 2 เล่ม ซึ่งก็คือ ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ และ 2 พลังความคิดชีวิตและงาน ที่ได้อ่านในช่วง สองสามวันนี้ ช่วยเปิดโลกทัศน์ของนักเรียนวิทยาศาสตร์ที่ไม่เคยรู้จักเรื่องทรัพยากรมนุษย์ได้รู้และเข้าใจเกี่ยวกับความสำคัญในเรื่องนี้เพิ่มมากขึ้น ซึ่งจากความรู้ที่ได้จากหนังสือทั้งสองเล่มบวกกับประสบการณ์จากการที่ได้พบเจอมาตลอดระยะเวลาการทำงาน จึงพอที่จะสรุปเกี่ยวกับเรื่องทรัพยากรมนุษย์ตามความเข้าใจได้ดังนี้                การที่จะเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณค่าต่อองค์กรและต่อประเทศชาติ ต้อง เริ่มต้นจาก 1พัฒนาต่อเนื่องไปถึง 2 และ ความสำเร็จสูงสุดที่ 3                เริ่มต้นจาก 1   ซึ่งก็คือเริ่มจากตัวเราเอง ปัจจุบันในยุค Globalization ทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณค่าและเป็นที่ต้องการนั้นต้องทันในทุกๆเรื่อง อันได้แก่                                ทันสมัย  คือ ทุกวันนี้เทคโนโลยีใหม่ๆเกิดขึ้นมากมายซึ่งล้วนแต่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อช่วยเพิ่มความสะดวกสบาย ความรวดเร็วในการทำงาน ผู้ที่รู้จักใช้เทคโนโลยีให้ถูกวิธีก็ย่อมจะได้เปรียบผู้ที่ใช้เทคโนโลยีไม่เป็นเลย ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องใช้เทคโนโลยีให้ถูกต้อง เทคโนโลยีเป็นเพียงเครื่องมือช่วยในการทำงานไม่ใช่คนต้องพึ่งเทคโนโลยีในการทำงาน ซึ่งก็คือต้องรู้เท่าทันเทคโนโลยีนั่นเอง                                ทันเวลา  คือ ต้องทำอะไรรวดเร็ว ทันเวลาไม่ล้าหลังคนอื่น ในยุคที่การแข่งขันสูงอย่างปัจจุบันคนที่มีความรู้ความสามารถเท่าเทียม กันคนที่คิดเร็ว ทำเร็วย่อมเป็นผู้ถูกเลือก ซึ่งนอกจากเร็วแล้วต้องมีความรอบคอบอีกด้วย มิใช่สักแต่ว่าคิดเร็วทำเร็วแต่ผิดพลาด            ทันเหตุการณ์ คือ ต้องรู้จักมองรอบข้าง ข่าวสาร สถานการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นรอบตัว เพราะทุกอย่างมีความเชื่อมโยงกันตลอดเวลา ต้องมีฐานข้อมูลที่แน่นเพื่อที่จะใช้วิเคราะห์และประกอบการตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง                                ทันใจ  คือ ในที่นี้หมายถึง การรู้เท่าทันจิตใจทั้งของตนเองผู้อื่น การรู้เท่าทันจิตใจตนเองคือ ต้องระมัดระวังให้จิตใจอยู่ในกรอบของความดี เพราะคนเก่งแต่เลวไม่เป็นที่ต้องการของทั้งองค์กรและของประเทศชาติ และอย่างที่สองคือรู้เท่าทันจิตใจคนอื่นเพื่อทีจะสามารถปรับตัวให้สามารถเข้ากับคนอื่นได้โดยที่ไม่ถูกกลืน                  พัฒนาต่อเนื่องไปถึง 2   เมื่อองค์กรมีทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพแล้วก็ใช่ว่าจะทำให้องค์กรเจริญรุดหน้าได้ องค์กรจะต้องให้หรือ Share ในด้านต่างๆอย่างสมดุลไม่ว่าจะเป็นทางด้านBenefit Sharing ให้ผลตอบแทน ที่เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นเงินเดือน โบนัส สวัสดิการต่างๆ Spirit Sharing   คือการทำให้พนักงานรู้สึกถึงความเป็นเจ้าของร่วม ให้ความสำคัญกันพนักงานทุก  ระดับอย่างเท่าเทียม ให้การดูแลเอาใจใส่ต่อพนักงานอย่างจริงใจ Opportunity Sharing ให้โอกาสพนักงานได้พัฒนาทักษะต่างๆ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการทำงาน รวมทั้งโอกาสก้าวหน้าในองค์กร เมื่อพนักงาน รู้สึกว่าเป็นผู้รับจากองค์กรย่อมรู้สึกดี รู้สึกผูกพัน เสมือนกับเป็นครอบครัว การทุ่มเทแรงกายแรงใจในการทำงานอย่างเต็มที่ก็คือผลตอบแทนที่องค์กรจะได้รับ แต่การให้ทั้งสามทางต้องเป็นไปอย่างสมดุล เปรียบได้กับเก้าอี้ Chair ซึ่งขาต้องสมดุลกันจึงจะสามารถทำให้เก้าอี้ตั้งอยู่ได้อย่างแข็งแรงและมั่นคง “Share for strong chair” ความสำเร็จสูงสุดที่ 3            ความสำเร็จสูงสุดในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ คือ  ความเจริญก้าวหน้าอย่างยั่งยืนของประเทศ ความสามารถในการแข่งขันกับต่างประเทศ  ซึ่งนอกจากทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณค่า และองค์กรที่เข้มแข็งแล้ว รัฐบาลก็เป็นกลไกสำคัญที่จะขับเคลื่อนประเทศไปสู่ความเจริญอย่างยั่งยืน รัฐบาลควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ควบคู่ไปกับการพัฒนาด้านอื่นๆ ปัจจุบันความวุ่นวายต่างๆที่เกิดขึ้นในประเทศล้วนเกิดจากการพัฒนาประเทศซึ่งปราศจากการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์มิใช่หรือ?
กราบเรียน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์  ดิฉัน นางสาว วสพร บุญสุข รหัส 50066223 นักศึกษาปริญญาโท คณะเทคโนโลยีการเกษตร สาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร สิ่งที่ได้จากการเรียนรู้วันอาทิตย์ที่ 10 มิถุนายน 2550 ก็คือ  1.ได้แสดงความคิดเห็นร่วมกัน ซึ่งตรงกับทฤษฏี 4L’s ของท่านอาจารย์ จีระฯ คือ การสร้างโอกาสในการเรียนรู้ (Learning Opportunities)   2. มีการจุดประเด็นและเรียนรู้ความจริงที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ซึ่งตรงกับทฤษฎี 2 R’s ของท่านอาจารย์ จีระฯ  3. มีการคิดต่อยอดความคิดเห็นของผู้อื่น จะได้ความรู้ใหม่ๆ  4. ได้คิดเห็นแก่ส่วนรวม สังคม และประเทศไทยมากขึ้น  5. ได้กระตุ้นตัวเราให้มีการเรียนรู้ รอบตัว ทันเหตุการณ์ คิดนอกกรอบ และเปลี่ยนนิสัยเดิมๆจากการที่ได้อ่านหนังสือ ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ และ2 พลังความคิด ชีวิตและงาน ของท่านพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา และ คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์  ร่วมกับท่านอาจารย์ จีระ หงส์ลดารมภ์ แล้วสรุปว่า ดิฉันได้รับความรู้เกี่ยวกับเรื่องทรัพยากรมนุษย์เพิ่มขึ้น  และเปิดหู เปิดตา และ มันสมอง มากขึ้นด้วย คน เป็นทรัพยากรที่มีค่าที่สุดขององค์กร  ดังคำกล่าวของท่านพารณฯ ซึ่งดิฉันคิดว่า คน เป็นทรัพยากรที่มีความคิด  เรียนรู้ ฝึกฝนให้ตัวเองได้ เมื่อเปรียบเทียบกับเครื่องจักร เพราะเครื่องจักรจะต้องมีคนป้อนข้อมูลถึงจะทำงานได้ จึงถือได้ว่าคนเป็นทรัพยากรที่มีค่าที่สุด นอกจากคนต้องมีความรู้แล้ว จะต้องมี เก่ง 4 ของท่านพารณฯ (เก่งงาน เก่งคน เก่งคิด และเก่งเรียน) และ ดี 4   ของท่าน อาจารย์ จีระฯ (ประพฤติดี มีน้ำใจ ใฝ่ความรู้ และมีคุณธรรม) ด้วย และองค์กรจะต้องมีการอบรมเพื่อพัฒนาคนแบบยั่งยืน องค์กรถึงจะประสบความสำเร็จเหมือนองค์กรใหญ่ๆ การที่ได้แสดงความคิดเห็นร่วมกับผู้อื่น เห็นแก่ส่วนรวม สังคม และประเทศ ถือได้ว่าเป็นการเรียนรู้อย่างหนึ่ง ซึ่งตรงกับทฤษฏี 4L’s ของท่านอาจารย์ จีระฯ และทั้ง 3 ท่านมีทฤษฎีที่มีเป้าหมายเดียวกัน แต่ไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน ดังเช่น 8H’s ของคุณหญิงทิพาวดีฯ เรื่อง Health  (สุขภาพพลานามัยที่สมบูรณ์) กับ 8K’s ของท่านอาจารย์ จีระ ฯ เรื่อง Digital Capital (ทุนทางเทคโนโลยี) ซึ่งเมื่อนำมาบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ก็สามารถประสบความสำเร็จได้เหมือนกัน สุดท้ายนี้ทำให้ดิฉันเข้าใจและมีความรู้มากขึ้นในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ เพราะดิฉันเคยทำงานที่ต้องบริหารทรัพยากรมนุษย์ และค่อนข้างจะมีปัญหาในการทำงานร่วมกัน เนื่องจากดิฉันไม่มีหลักการ แนวคิด และทฤษฎีที่จะเชื่อมโยงงานกับคนได้ขอขอบพระคุณท่านอาจารย์ จีระ หงส์ลดารมภ์ ที่ได้ให้ความรู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ และ แนะนำหนังสือ ที่มีประโยชน์สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ 
นางสารังสิมา ลีลากิจทรัพย์

กราบเรียนอาจารย์ที่เคารพอย่างสูง ดิฉันนางสาวรังสิมา ลีลากิจทรัพย์ นักศึกษาปริญญาโท คณะเทคโนโลยีการเกษตร สาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร เลขประจำตัวนักศึกษา 50066203

สิ่งที่ดิฉันได้รับจากการเรียนในวันอาทิตย์ที่ 10 มิถุนายน 2550

1. อาจารย์สอนให้ดิฉันได้รู้จักที่จะให้การช่วยเหลือสังคมและคืนประโยชน์ให้กับสังคมบ้าง เนื่องจากเราได้รับจากสังคมมามากแล้ว ซึ่ง
Project ที่อาจารย์ให้ทางเราช่วยกันดำเนินการคือเรื่องของ Nutrition ซึ่งพบว่าในปัจจุบันเด็กไทยขาดสารอาหารกันมากทำให้สมองของเด็กไทยไม่พัฒนา

2. อาจารย์สอนให้เรียนแบบมีแนวคิดนอกกรอบ เปิดสมองให้กว้าง รับแนวความคิดใหม่ๆ และความรู้รอบตัวที่เกิดขึ้นมาประยุกต์ใช้ ร่วมถึงนำมาต่อยอด ซึ่งถ้าเป็นการเรียนแบบท่องจำอย่างเดียวจะไม่ได้รับประโยชน์ในเรื่องการบริหารสมองให้คิดเป็นและวิเคราะห์เป็น

3. ได้รับทราบข่าวสารจากภายนอกรวมถึงทราบถึงผลกระทบของเรื่องนั้นๆกับประเทศไทย

4. ได้รับทราบถึงทฤษฎี 4L's และ 2R's

และจากที่ดิฉันได้อ่านหนังสือทั้ง 2 เล่มของท่านนั้นก็พบว่าได้รับประโยชน์จากหนังสือทั้ง 2 เล่มเป็นอย่างมาก

เล่มที่ 1 เรื่อง 2 พลังความคิดชีวิตและงาน

จากหนังสือเล่มนี้สอนดิฉันให้ได้รู้จักกับทฤษฎีนักบริหาร 8
H'sของคุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ และทฤษฎีทรัพยากร 8K'sของดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เพื่อนำไปใช้ในการบริหารคน บริหารองค์กร รวมถึงการบริหารตนเองเพื่อให้เป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ ทำงานได้มีประสิทธิภาพ ประสบผลสำเร็จ เพราในปัจจุบันนี้ทุนที่จำเป็นที่ก็คือ คนหรือบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ ซึ่งเป็นปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนระบบต่างๆของการดำเนินงาน และยังพบอีกว่า ทุนมนุษย์ เป็นทุนที่สำคัญที่สุด เนื่องจากตั้งแต่เกิดมาคนเราจะเริ่มได้รับการปลูกฝังทั้งในเรื่องการอบรมเลี้ยงดู การศึกษา อาหารการกิน สุขภาพพลานามัยทั้งร่างกายและจิตใจ ซึ่งเป็นทุนขั้นพื้นฐานก่อนอันดับแรก และยังติดตัวไปจนตลอดชีวิต ดังนั้นเราควรจะมีการพัฒนาทุนมนุษย์ตั้งแต่อยู่ในวัยเยาว์ทันที

เล่มที่ 2 ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้

จากหนังสือเล่มนี้ทำให้เราได้รู้จักกับปราชญ์ทั้ง 2 ท่าน คือ คุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา และดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ผู้ปฏิบัติงานเพื่อสังคมในเรื่องการรณรงค์เพื่อให้สังคมเห็นความสำคัญของทรัพยากรมนุษย์ ทั้งในเรื่องของการใช้ชีวิต การปฏิบัติตน รวมถึงแนวความคิด และเส้นทางการบริหารงานด้านทรัพยากรบุคคล ซึ่งต้องเน้นที่การเอาใจใส่ดูแล ให้มีส่วนร่วมในองค์กรซึ่งจะทำให้พวกเค้ารู้สึกรักในองค์กร ต้องบริหารงานโดยใช้คุณธรรม และต้องใฝ่หาความรู้ตลอดเวลา ดังเช่นที่บอกว่าเครื่องจักรยิ่งนานยิ่งเก่า แต่คนที่ใฝ่หาความรู้ตลอดเวลายิ่งนานยิ่งมีคุณค่า ซึ่งเหล่าเป็นประโยชน์อย่างมากที่จะเป็นแนวทางนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน และยังได้รู้จักกับแนวคิดเรื่องคนเก่งกับคนดีที่คุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยาใช้เป็นคำนิยามของคนเก่งและคนดีของปูนซีเมนต์ไทย และนอกจากนี้ยังได้รู้จักกับทฤษฎี 4L's ซึ่งมีการเริ่มและมีวิธีการที่ต่างกัน แต่สุดท้ายเป้าหมายคือสร้างให้เป็นทรัพยากรที่มีคุณค่า ใฝ่หาความรู้ตลอดเวลา

น.ส.สุพิชฌาย์ หนูขาว

กราบเรียนที่ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ 

     ดิฉัน นางสาวสุพิชฌาย์  หนูขาว  นักศึกษาปริญญาโทสาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร  สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง  รุ่นที่ 2  ดิฉันรู้สึกภาคภูมิใจและดีใจเป็นอย่างยิ่งที่ท่านอาจารย์ได้สละเวลาอันมีค่ามาสอนวิชา HR  นี้ค่ะ  ความจริงความหมายของคำว่าบริหารทรัพยากรมนุษย์ก็ธรรมดาแต่ที่ไม่ธรรมดาคือผู้ที่เป็นคนถ่ายทอดสอนวิชานี้  ท่านอาจารย์มีวิธีการสอนที่มีการให้shareความรู้  กระตุ้นให้ผู้เรียนรู้จักใช้ความคิด    วิเคราะห์สถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น  สนใจในสิ่งรอบตัวที่เรากำลังมองข้ามไป  ทันต่อเหตุการณ์ บ้านการเมือง  ทันต่อยุคสมัย  รู้จักใช้ปัญญาแก้ปัญหา  และสอนให้รู้จักเสียสละเพื่อส่วนรวมช่วยเหลือสังคมด้วย 

     สิ่งที่ได้รับจากการเรียนวันแรก  เริ่มจากการนั่งก็แตกต่างกับการฟังบรรยายทั่ว ๆไปมีการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นที่เป็นปัญหาของสังคมออกมาshareกันซึ่งอาจารย์เป็นผู้ประสานความรู้  เพราะทุกคนในห้องล้วนแล้วแต่มีความรู้เฉพาะทางมาก  แต่ความรู้โดยภาพรวมยังไม่มี  ซึ่งต้องนำทฤษฎี 4 L's  เข้ามาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์  โดยเข้าใจวิธีการเรียนรู้  มีการสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้  สร้างโอกาสให้กับตนเองพร้อมที่จะเรียนรู้ในสิ่งต่าง ๆ   สร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้โดยมีการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันโดยการยกประเด็นที่สอดคล้องกับทฤษฎี  2  L's  โดยเรียนรู้จากความจริงที่เกิดขึ้น  ข้อวิเคราะห์ต้องตรงประเด็นเน้นการอ่านที่ตรง concept  เน้นการหาความรู้  สร้างมูลค่าเพิมให้กับสังคม

       และจากการอ่านหนังสือ 2 เล่ม  1.  พลังความคิดชีวิตและงาน  ผู้เขียนคือคุณหญิงทิพาวดี  เมฆสวรรค์  และท่านศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์  2.  ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้( HR. CHAMPIONS) ผู้เขียนคือท่านพารณ  อิศรเสนา  ณ อยุธยา  และท่าศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์   ถึงแม้ว่าท่านผู้เขียนทั้ง 3 ท่านจะมีตำแหน่ง และหน้าที่ ที่แตกต่างกัน  แต่สิ่งหนึ่งที่คิดและปฏิบัติเช่นเดียวกันก็คือ  ต้องการที่จะพัฒนาคุณภาพ  และศักยภาพของทรัพยากรมนุษย์ให้มีประสิทธิภาพ  โดยเริ่มจากการพัฒนาตนเอง  พัฒนาองค์กร  พัฒนาชุมชน  พัฒนาสังคม  และพัฒนาประเทศชาติ  โดยท่านทั้ง 3  ได้ใช้ประสบการณ์ของท่าน  คิดค้นทฤษฎี  8H's  ของคุณหญิงทิพาวดี  เมฆสวรรค์    และทฤษฎี  8 K's  ของท่านศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์  ซึ่ง  ทั้ง 2 ทฤษฎี นี้  เป็นการรวมเอาองค์ความรู้  โดยมีศัพท์ง่าย ๆ และทุกคนเข้าใจตรงกัน  เป็นแนวทางให้กันคนรุ่นใหม่และผู้ที่ได้ศึกษาได้พัฒนาจิตใจ  สมอง  ความคิด  การลงมือทำให้เกิดประโยชน์ต่อ ตัวเอง  องค์กร  สังคม  และประเทศชาติได้

     1.  สิ่งสำคัญในการขับเคลื่อนขององค์กรให้มีความเจริญก้าวหน้า  และเป็นหนึ่งได้  ก็คือ คน ( ทรัพยากรมนุษย์ )  ที่มีทั้งความคิดริเริ่มสร้างสรรค์  มีการกล้าที่จะลงมือทำ  กล้าคิด  และเรียนรู้ที่จะพัฒนาตัวเองอย่างไม่หยุดนิ่งตามกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลก  ซึ่งคนจะเก่งงานด้านเดียวไม่เพียงพอ  แต่ต้องมีคุณธรรม  มีความเคารพต่อองค์กรที่เราทำอยู่ด้วย  องค์กรโดยรวมเป็นสถานที่ที่ใหญ่  มีคนอาศัยทำงานอยู่มาก  ซึ่งแต่ละองค์กรต้องมีผู้นำ  ต้องมีปรัชญาในการบริหารชี้ย้ำแนวทางปฏิบัติที่ตรงกันโดยไม่แตกแยก  มีเป้าหมายที่จะดำเนินเป็นขั้นตอนตามทฤษฎี  3  วงกลมให้ขับเคลื่อนองค์กรไปในทิศทางเดียวกันคื่อเพิ่มผลผลิต  และผลกำไร 

     2.  ผู้นำต้องมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลวางแผนการบริหารงาน  ให้สอดคล้องกับยุคสมัยที่จะผ่านไป  5  ปี  10 ปี  ข้างหน้า  นั้น  องค์กรเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยผลักดันพัฒนาคนทุกระดับอย่างทั่วถึง และเท่าเทียมทั้งการจัดพัฒนาความรู้ทางด้านการบริหารธุรกิจ  ด้านการเพิ่มผลผลิต  ด้านการฝึกฝนอบรม  ด้านการพัฒนาวินัยในตนเองรวมถึงจิตใจด้วย  การสร้างค่านิยมให้กับคนในองค์กรได้พัฒนาศักยภาพของตัวเขาเอง  บรรยากาศในการทำงานก็เป็นสิ่งสำคัญ  นั้นจะทำให้เขารู้ว่าองค์กรมิได้ให้ค่าตอบแทนแค่เงินเดือน  แต่ยังให้ทั้งความรู้ใหม่ ๆ ประสบการณ์  แนวคิดต่าง ๆ ที่สามารถนำไปใช้กับชีวิตประจำวันของเขาด้วย ซึ่งทั้งหมดนี้เชื่อมโยงถึงทั้งองค์กรและพนักงานได้ประสบความสำเร็จทั้ง 2 ฝ่าย  ได้ทั้งความจงรักภักดีที่เกิดจากการมองตาแล้วแชร์ความเข้าใจกันคือให้ความรักกันนั่นเอง  แต่ในทางกลับกันการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นสิ่งที่อยากจะปฏิบัติ  เนื่องจากการลงทุนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้ผลตอบแทนระยะยาวและใช้เวลา  และในขณะเดียวกันที่ค่านิยมต้องการเห็นผลระยะสั้นมากกว่าดังนั้นผู้นำที่พัฒนาคนได้  ต้องป็นคนที่มุ่งมั่นและทำอย่างต่อเนื่อง  การลงทุนด้านทรัพยากรมนุษย์ไม่สามารถเก็บเกี่ยวผลประโยชน์อย่างชัดเจน  ผู้นำต้องสามารถบริหาร  สร้างแรงจูงใจ  (Motivation)  ให้พนักงานมากกว่าการคิดหาผลตอบแทนด้านผลผลิตและกำไร  ฉะนั้นองค์กรใดที่ไม่สร้างบรรยากาศทางการเรียนรู้  ไม่ให้โอกาศพนักงานทำงานที่ท้าทาย  เพื่อความก้าวหน้า  ไม่พัฒนาฝึกฝนอบรม  และแล้ววันหนึ่งพนักงานก็ไม่อยากอยู่ 

          การพลวัฒน์คนให้ก้าวสู่ระดับประเทศได้นั้น  จะต้องใช้ปัจจัยหลายด้าน  1. ต้องมีความคล่องแคล่วในภาษาไทยและภาษาอังกฤษ  2. มีความรู้ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี  3.  มีคุณธรรมในตัวเอง  4.  ต้องเป็นคนที่มีความกระตือรือร้น  ทันต่อเหตุการณ์บ้านเมือง  เป็นผู้เรียนที่ดี  ( Good  Learner )  รู้จักแสวงหาความรู้ใหม่ ๆ เสมอ  5.  ต้องเป็นคนที่ไม่หยุดพัฒนาตนเอง  เรียนรู้ตลอดเวลา  และเรียนรู้ตลอดชีวิต     ด้วยความเคารพอย่างสูง

     

   

        

     เรียนอาจารย์จีระ หงส์ลดารมภ์    กระผมนายวิศรุต  แสงโนรี 

นักศึกษาปริญญาโท  คณะเทคโนโลยีการเกษตร สาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร     สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง รหัสนักศึกษา  50066224   ต้องขอขอบพระคุณอาจารย์จิระ ซึ่งสละเวลามาถ่ายทอดความรู้ของท่านตลอดจนประสบการณ์ในการทำงานด้านทรัพยากรมนุษย์ของท่าน  โดยเฉพาะเรื่องคนซึ่งเป็นทรัพยากรที่มีค่าที่สุด ในการประกอบธุรกิจ       ต้องมีการพัฒนาไม่ใช่แต่ด้านความเก่งทางการทำงานอย่างเดียวต้องพัฒนาไปถึงด้านจริยธรรม ความดีในตัวบุคคลที่จะทำให้ทรัพยากรมนุษย์มีความสมบรูณ์ที่สุด อีกทั้งอาจารย์จีระ ยังมีวิธีสอนที่ทำให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมอย่างมากโดยมีการแสดงความคิดเห็น กับหัวข้อที่อาจารย์ตั้งขึ้นมา ซึ่งถือว่าเป็นการสอนในรูปแบบที่ดีมากเป็นการฝึกให้ผู้เรียนได้ออกความเห็น    ซึ่งทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน    ทำให้ได้มุมมองทางความคิดหลายด้าน  ซึ่งอาจก่อให้เกิดแนวคิดใหม่ๆขึ้นมาเพื่อนำไปประยุกต์ ใช้ในด้านการงานและชีวิตประจำวันได้อีกด้วย

        ความรู้ที่ได้รับจากหนังสือ 2 พลังความคิดชีวิตและงาน    ในหนังสือได้กล่าวถึงการใช้ทฤษฎี 8H’s : ทฤษฎีบริหารทรัพยากรมนุษย์ของคุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์  และทฤษฎี 8 K’s : ทฤษฎีทุนในทรัพยากรมนุษย์ของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ซึ่งเป้าหมายในการใช้นั้นสอดคล้องไปในแนวทางเดียวกัน  คือมุ่งที่จะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีศักยภาพ ไม่ใช่แค่การทำงานแต่หมายรวมถึงการดำเนินชีวิตการดูแลสุขภาพอีกด้วย การใฝ่หาความรู้ใหม่มาพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง  ซึ่งมีความรู้ที่นำไปใช้ได้จริงไม่เพียงแต่มีแค่ทฤษฎีเท่านั้น แต่ยังมีแต่ประสบการณ์การทำงานในด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ เรื่องเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยในการดำเนินชีวิต ซึ่งสามารถนำไปใช้เป็นแบบอย่างของการนำมาพัฒนาตนเองได้ทั้งสิ้นตัวอย่างเช่น  การเป็นคนที่ใส่ใจลูกน้องเพื่อนร่วมงาน แบ่งปันความรู้ที่มี การใส่ใจสุขภาพ ครอบครัว การที่เราต้องยึดมั่นในวัฒนธรรม ไม่ไหลไปตามกระแสโลกาภิวัฒน์จนลืมว่าตัวเองเป็นใคร ไม่ตามชาวต่างชาติไปซะทุกเรื่อง ให้นำเอาแต่สิ่งที่ใช้ในประเทศได้ดีเข้ามา ฝึกการใช้ความคิดจากสมองตนเอง และพัฒนาต่อยอดความคิดจากทุนทางความรู้ที่มี และค้นคว้าความรู้เพิ่มเติมไม่ว่าจะใช้เทคโนโลยีช่วย หรือจากประสบการณ์ของผู้คนรอบตัว เพราะความรู้ยิ่งมีมากก็จะสามารถพัฒนาออกมาเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ได้มาก  โดยเฉพาะทฤษฎี 8ทุน นั้นสามารถนำไปใช้ได้ทั้งในการพัฒนาตนเองและองค์กรได้เป็นอย่างดี เพราะมีเนื้อหาที่กล่าวถึง การใฝ่หาความรู้ ทักษะ การปฏิบัติที่เป็นทุนในด้านต่างๆ     ความรู้ที่ได้รับจากหนังสือเรื่อง ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ นั้นประกอบด้วยความรู้จากประสบการณ์การทำงานและการได้พบปะแลกเปลี่ยนความรู้และการพบเจอสถานการณ์ต่างๆมามากมาย ของสองผู้รู้จริงทางด้านทรัพยากรมนุษย์ และจากการที่ท่านทั้งสองเป็นนักคิด นักวางแผนโดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศที่จะได้รับจากการพัฒนาคนให้มีศักยภาพ ทั้งทางด้านความสามารถในการทำงาน ด้านการใฝ่หาความรู้เพิ่มเติม เพื่อนำมาคิดต่อยอดความรู้เดิมและพัฒนาเป็นคิดใหม่มาปรับปรุงคุณภาพจากตัวเองก่อน และนำไปพัฒนาต่อผู้อื่น

อีกทอดหนึ่ง  สามารถพัฒนาและยกระดับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในประเทศไทยให้มีความทัดเทียมกันานาชาติ  มีการใช้กลยุทธุ์ในการดึงความสามารถของคนออกมาใช้ให้เกิดประโยชน์     โดยใช้ทฤษฎี 4L’s ในการพัฒนาระบบการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น   ตลอดจนการใส่ใจดูแลผู้ใต้บังคับบัญชาเนื่องจากท่านทั้งสองได้ตระหนักว่าคนเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในองค์กร การสร้างความภักดีต่อองค์กร และการเอาใจใส่ดูแล ด้วยการลงไปพบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ซึ่งเป็นแนวทางการสร้างความเป็นกันเอง ทำให้ได้ทราบข้อมูลโดยตรงจากผู้ปฎิบัติงานทำให้ทราบถึงปัญหาและความคิดเห็นของลูกน้อง  ตลอดจนได้นำความรู้จากทฤษฎีเดิมทางการบริหารคนมาใช้โดยปรับให้สามารถใช้ในประเทศได้อย่างเหมาะสม  ซึ่งทำให้ผมตระหนักว่าการที่จะเป็นทรัพยากมนุษย์ที่ดีไม่ใช่จะมีแต่ความรู้ความสามารถเท่านั้น เราต้องมีทุนทางความรู้ด้านอื่นมาประกอบด้วยจึงจะทำให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนได้ โดยเฉพาะทุนทางมนุษย์ถ้ามีพื้นฐานในเรื่องนี้ดีคนจะมีคุณภาพดีตามไปด้วย หรือจะสามารถพัฒนาให้ดีได้ง่ายขึ้น

รสสุคนธ์ น้อยจินดา
เรียน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ดิฉัน น.ส. รสสุคนธ์ น้อยจินดา นักศึกษาปริญญาโท สาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร ก่อนอื่นขอขอบพระคุณอาจารย์มากค่ะที่สละเวลามาสอนพวกเรา ดิฉันรู้สึกเป็นเกียรติเป็นอย่างมาก ที่ได้มีโอกาสเป็นลูกศิษย์ของอาจารย์ค่ะ  แต่ครั้งแรกที่เจออาจารย์ยอมรับว่าทั้งกลัว ทั้งตื่นเต้นมากๆ เลยกับสไตล์การสอนของอาจารย์ที่ไม่เหมือนใครจริงๆ แต่พอเข้าห้องเรียนไปสักพักดิฉันก็รู้สึกผ่อนคลายขึ้น รวมทั้งพี่ๆ เพื่อนๆ ในห้องก็คงเช่นกันจากการเรียนวิชา HR ในวันที่ 10 มิ.ย. อาจารย์เน้นให้ทุกคนได้แสดงความคิดเห็นร่วมกัน นำความรู้มาแบ่งปันกัน และกระตุ้นให้ทุกคนตื่นตัว (ด้วยเสียงดัง ฟังชัด)และใช้ความคิดตลอดเวลา ให้รู้จักคิดนอกกรอบ ฝึกความคิดสร้างสรรค์ และคิดให้ตรงประเด็น โป๊ะเช๊ะ ซึ่งเป็นคำที่ฟังแล้วเข้าใจได้ทันที  อีกทั้งให้รู้จักติดตามข่าวสารบ้านเมือง  ข่าวธุรกิจ ต้องทันเหตุการณ์ คือ ไม่ใช่เรียนอย่างเดียว รู้แต่ในตำราเรียนไม่เพียงพอ ให้รู้รอบด้าน เห็นด้วยที่อาจารย์พูดว่า ปัจจุบัน มีนักศึกษาจบปริญญาโทตั้งมากมาย  แต่ประเทศก็ยังไม่มีอะไรพัฒนาขึ้น เนื่องจากคนในสังคมยังเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวมากเกินไป ไม่เคยนึกถึงประโยชน์ส่วนรวม หรือการทำอะไรเพื่อสังคมบ้าง อาจารย์สอนให้คิดแบบต่อยอด เมื่อได้รับความรู้อะไรมาก็อย่าหยุดอยู่กับที่จงคิดต่อว่าสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้หรือไม่ จากการอ่านหนังสือ ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ ของคุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา และอาจารย์ ซึ่งเป็นหนังสือที่มีคุณค่าอย่างยิ่งทั้งผู้ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และบุคคลทั่วไปที่สนใจ เมื่อดิฉันอ่านจบรู้สึกว่าชื่นชอบแนวความคิดของคุณพารณมากๆ คนเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่ามากที่สุดขององค์กร เป็นประโยคที่อ่านจากหนังสือ และฟังจากที่อาจารย์จีระสอน คือ คุณพารณเป็นผู้บริหารที่มีประสิทธิภาพยิ่งคนหนึ่ง เกี่ยวกับแนวความคิดเรื่องการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ท่านให้ความสำคัญกับคนในองค์กรเสมอ ไม่ว่าคนๆ นั้นจะเป็นผู้บริหาร หรือพนักงานทั่วไป ซึ่งพอจะสรุปแนวคิดในการบริหารทรัพยากรบุคลของคุณพารณได้ดังนี้1.     การสร้างความจงรักภักดีและความมีวินัยให้กับองค์กร  ซึ่งมีผู้บริหารเป็นแบบอย่างที่ดี และพนักงานทุกคนก็ถือปฏิบัติตาม โดยไม่ได้คิดว่าถูกบังคับด้วยกฎระเบียบ แต่ปฏิบัติกันมาจนเป็นวัฒนธรรมขององค์กร การที่ให้พนักงานระดับหัวหน้าต้องเปิดประตูตลอดเวลา เพื่อที่เมื่อลูกน้องมีปัญหาใดๆ จะได้เข้าไปปรึกษาเสมือนเป็นคนในครอบครัว สร้างวัฒนธรรมความร่มเย็นให้กับองค์กร2.     มีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ทางด้านองค์ความรู้ จัดอบรมทุกๆ ปี ให้กับพนักงานทั้งระดับบนและระดับล่าง เพื่อพัฒนาความรู้ ความสามารถ และเรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เกี่ยวกับงานของตนคนเก่ง-คนดี องค์กรจะประสบความสำเร็จได้ต้องมีคนที่ทั้งเก่งและดี เพราะคนเก่งอย่างเดียวอาจจะใช้ความสามารถของตนไปในทางที่ผิด นำความเสียหายมาสู่องค์กรได้ เก่ง 4 คือ เก่งงาน เก่งคน เก่งคิด และเก่งเรียน ดี 4 คือ ประพฤติดี มีน้ำใจ ใฝ่ความรู้ คู่คุณธรรม  ซึ่งมีการประเมินความสามารถในการทำงาน(capability) และความเป็นที่ยอมรับ (acceptability)3.     คนไม่ได้ต้องการผลตอบแทนที่เป็นเงินทองอย่างเดียว ยังต้องการผลตอบแทนทางใจด้วย จากการที่ผู้บริหารมีความสนใจและดูแลพนังงานทุกคนอย่างใกล้ชิด เมื่อพบเห็นข้อดีก็ชมเชยทันที ช่วยสร้างกำลังใจในการทำงานและเป็นแรงขับเคลื่อนที่จะทำงานให้ประสบความสำเร็จอีก4.     การยอมรับฟังความคิดเห็นของพนักงาน ถึงแม้จะทำให้การตัดสินใจต่างๆทำได้ช้า แต่ท่านก็ยินดี ท่านเป็นคนเก่งที่มีความอดทนสูง คือมีทั้ง IQ และ EQหนังสืออีกเล่มที่ได้ศึกษาคือ 2 พลังความคิดชีวิตและงาน ของ คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ และท่านอ. จีระ ได้แนวความคิดว่า การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้สามารถพึ่งพาตนเอง และมีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ควบคู่ไปกับคุณธรรมและจริยธรรมที่เข้มแข็ง ช่วยนำไปสู่การพัฒนาอย่างยังยืน จากการศึกษา ทฤษฎี 8 H’s : ทฤษฎีบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ของคุณหญิงทิพาวดี และ ทฤษฎี 8 K’s : ทฤษฎีทุนในทรัพยากรมนุษย์ ดิฉันคิดว่าทุนที่สำคัญของคนอยากแรกคือ ทุนมนุษย์ (Humen Capital)เมื่อเทียบกับทฤษฎีของคุณหญิงทิพาวดี คือ home ครอบครัวเหมือนเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญของคน การที่คนมีทุนพื้นฐานตั้งแต่เยาว์วัย คือ มีครอบครัวที่อบอุ่น มีสุขภาพอนามัยที่สมบูรณ์แข็งแรง มีจิตใจดี สภาพแวดล้อมดี เมื่อมีพื้นฐานทุนมนุษย์มาดี การเข้าสู่สังคมหรือการทำงานในองค์กร และการพัฒนาต่อยอดทุนทางด้านอื่นๆ ย่อมทำได้ง่าย สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับตนเอง สังคม องค์กรและประเทศชาติได้
เรียน ศ.ดร.จิระ ดิฉันนางสาวรฐา  จูจันทร์ นักศึกษาปริญญาโท คณะเทคโนโลยีการเกษตร สาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร เลขประจำตัวนักศึกษา 50066218   จากการเรียนในวันแรกวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ ทำให้เห็นถึงความสำคัญของทรัพยากรมนุษย์มากขึ้น ทำให้ต้องเป็นคนที่ใฝ่หาความรู้อยู่เสมอ วิธีการสอนของอาจารย์เป็นแนวทางการสอนที่เน้นให้นักศึกษาทุกคนได้มีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น เป็นการสื่อสาร 2 ทาง ซึ่งอาจารย์มีคำตอบอยู่แล้ว แต่ต้องการให้นักศึกษาได้รู้จักคิด รู้จักใช้ความรู้ที่มีอยู่มาตอบคำถาม และกระตุ้นให้ต้องหาความรู้ใหม่เพิ่มเติม  ซึ่งบทสรุปของการพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้นั้นสามารถเชื่อมโยงกับข้อมูลที่ท่านอาจารย์นำมาสอนได้ โดยให้นักศึกษาได้คิดเองไม่ใช่เป็นการเรียนแบบท่องจำ แต่เป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ที่ต้องการให้นักศึกษาทุกคนได้มีส่วนร่วม ให้รู้จักคิด วิเคราะห์สาเหตุ และสรุปประเด็น เป็นการกระตุ้นให้เป็นคนที่รอบรู้ข่าวสารที่เกิดขึ้น   สรุปประเด็น·        ต้องใฝ่หาความรู้และเรียนรู้ตลอดชีวิตพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง อย่าเรียนแบบท่องจำ ต้องคิดนอกกรอบ รู้จักต่อยอดสิ่งที่รู้ให้เกิดประโยชน์ เราจึงจะสามารถอยู่ได้ในโลกยุคไร้พรมแดนปัจจุบัน·        การเรียนการสอนเชื่อมโยงไปถึงทฤษฏี 4 L’s โดยที่ไม่ได้เกิดจากการท่องจำแต่ให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมจริงในการเรียนรู้ เป็นการสร้างนิสัยให้รู้จักเรียนรู้ใฝ่หาความรู้แบบไม่สิ้นสุด ไม่ควรมีความรู้เฉพาะแต่ในตำราควรรู้ในศาสตร์หลายๆ ศาสตร์·        ความรู้ต้องรู้จักเรียนรู้จากสิ่งที่เกิดขึ้นจริงรอบตัว เพราะทุกอย่างมีผลกระทบเชื่อมโยงกันทั้งนั้น เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ การเรียนรู้ต้องรู้จักจับประเด็น ตอบคำถามให้ตรงประเด็น ซึ่งบทสรุปของข้อนี้ก็สามารถเชื่อมโยงไปถึงทฤษฏี 2 R’s ·        การเป็นคนเก่งอย่างเดียวไม่พอ ต้องเป็นคนดี และรู้จักทำประโยชน์เพื่อสังคม·        คนเราไม่สามารถทำงานคนเดียวให้ประสบความสำเร็จอย่างดีได้ ต้องรู้จักทำงานเป็นทีมอาศัยความสัมพันธ์และแลกเปลี่ยนความรู้กับบุคคลอื่นเสมอ·        การมองภาพทรัพยากรมนุษย์ให้มองจากระดับโลก(macro)ไปสู่องค์กร(micro)   จากที่ได้อ่านหนังสือ 2 พลังความคิดชีวิตและงาน ไล่ล่าความเป็นเลิศด้วยทฤษฏี 8 H’s ของคุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ และทฤษฎีทุน 8K'sของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์  และหนังสือทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ จากแนวคิดว่าด้วยการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ของนักคิดและนักปฏิบัติ ท่านพารณ  อิศรเสนา ณ อยุธยา และ ศ.ดร.จิระ  หงส์ลดารมภ์ ซึ่งท่านนำทฤษฏีที่ท่านคิดมาใช้ปฏิบัติจริง ทำให้เกิดประโยชน์ขึ้นจริง สรุปประเด็นหลักของทฤษฏีทั้งหมดนั้นคือคนนอกจากเก่งแล้วจะต้องเป็นคนดี เพราะคนเป็นพลังขับเคลื่อนของงานทุกๆอย่าง เพราะหากองค์กรมีทั้งคนดีและมีความสามารถและพร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์อยู่เสมอจะทำให้องค์กรนั้นเจริญไปได้อย่างยั่งยืน เพราะถ้าเก่งแล้วโกงองค์กรก็อยู่ไม่ได้ หรือเป็นคนดีอย่างเดียวแต่ไม่เท่าทันคนอื่นก็จะทำให้องค์กรเสียประโยชน์เช่นกัน จึงต้องมีการพัฒนาคนให้มีคุณภาพ การที่ท่านเล็งเห็นถึงความสำคัญของคนท่านจึงได้มีการพัฒนาคนให้ดีขึ้นเรื่อยๆ และรักษาเค้าไว้ให้อยู่กับเราด้วยใจ ทำงานด้วยความสุข ซึ่งการเรียนวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ทำให้เห็นความสำคัญกับการลงทุนในการพัฒนาคนมากขึ้น เพราะการลงทุนกับคนเป็นการเพิ่มผลกำไรให้กับองค์กรที่สำคัญที่สุด  ด้วยความเคารพอย่างสูงรฐา  จูจันทร์                                             
นายพัฒนา ปลอดภัยงาม

    กราบเรียน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

กระผม นายพัฒนา ปลอดภัยงาม นักศึกษาปริญญาโท คณะเทคโนโลยีการเกษตร สาขาวิชา การจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร

สิ่งที่ได้รับจากการเรียนในวันแรกของภาคการศึกษา คือ ความแปลกใหม่ในการเรียนที่ไม่เคยเจอมาก่อน ในบรรยากาศการเรียน และวิธีการเรียน ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการเรียน นับว่าเป็นโอกาสอันดีที่ผมได้มีส่วนร่วมในการเรียนครั้งนี้ด้วย ซึ่งมีอาจารย์ที่ความรู้ ความสามารถและประสบการณ์ อย่างศ.ดร.จีระ มาเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ นั่นเป็นสิ่งที่จะกระตุ้นและเป็นสิ่งจูงใจที่พวกเราจะซึมซับความรู้จากอาจารย์ให้มากๆ เพราะในสังคมนี้คงไม่มีใครมีโอกาสดีที่จะได้เรียนกับอาจารย์เท่าพวกเราอีกแล้ว

สิ่งที่ได้รับจากหนังสือทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้

- ได้เห็นสิ่งดีๆที่อาจารย์ได้รับมา คือ โอกาส

โอกาสที่ได้ทำงานในตำแหน่งที่สำคัญ ก็คือ ผู้อำนวยการสถาบันทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งได้รับการเปิดโอกาสจากผู้ใหญ่ให้คนรุ่นใหม่(ในขณะนั้น)คือศ.ดร.จีระ โดยให้คนหนุ่ม(อายุ33ปี)เข้ามาทำงาน และ อาจารย์ก็ทำผลงานได้อย่างดีเยี่ยมและได้นั่งตำแหน่งอยู่หลายสมัย

- ภาพการทำงานของคนในองค์กรใหญ่ที่ได้รับการถ่ายทอดจากคุณพารณ

- การสร้างระบบการบริหารคนและแนวทางการทำงาน โดยการผสมผสานการทำงานแบบชาวต่างชาติและแบบเดิมเข้าด้วยกัน โดยนำสิ่งที่เป็นประโยชน์มาประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและความพึงพอใจสูงสุดในการทำงาน

- ทฤษฎี 4 L'sของคุณพารณและทฤษฎี 4 L's ของอาจารย์จีระ นั้นเป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมและเป็นทฤษฎีที่ดีมาก คือให้ความสำคัญของการเรียนรู้

หนังสือ2พลังความคิดชีวิตและงาน

ทฤษฎีทุนมนุษย์ อันมาจากปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้

มาจากรากฐานวัฒนธรรม เผ่าพันธุ์

มาจากความคิด สติปัญญา ความรู้ ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎี 4L's ของอาจารย์จีระ

มาจากทักษะ การลงมือทำการ การพัฒนาฝีมือเพื่อที่จะเป็นมืออาชีพ

มาจากจิตใจที่ดี มีคุณธรรม เพื่อสร้างสรรค์สิ่งดี ๆให้เกิดขึ้น ดังคำสอนของพระพุทธเจ้าต้องคิดดี ทำดี ทั้ง กาย วาจา ใจ 

มาจากสุขภาพที่ดี ทำให้มีแรงคิดและทำสิ่งต่าง ๆ ถ้าสุขภาพร่างกายไม่ดีแล้วก็จะมีอุปสรรคในการทำงาน

มาจากเทคโนโลยี เป็นกลไกที่จำเป็นในการทำงานให้มีประสิทธิภาพ และพัฒนางานให้ก้าวหน้าขึ้นไป เป็นส่วนช่วยด้านการศึกษาหาความรู้และข้อมูลใหม่ ๆ

มาจากบุคคล ซึ่งบุคคลที่ดีและมีความสามารถนั้น องค์ประกอบที่สำคัญ ก็คือ ครอบครัวซึ่งเป็นสถาบันแรกของทุกคน และเป็นสิ่งที่ใกล้ชิดที่สุด การเรียนรู้ก็เป็นสิ่งที่ได้รับจากการอบรมเลี้ยงดู จากการศึกษาเล่าเรียน

มาจากความสุข เป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงสภาพจิตใจที่ดี ทำให้มีพลัง เมื่อทำงานด้วยความสุขงาน ๆนั้น ย่อมเป็นงานที่ดีเพราะทำด้วยความสุขและความชอบ

มาจากความสามัคคี ซึ่งก่อให้เกิดพลังที่ยิ่งใหญ่ เมื่อร่วมมือร่วมใจกันจะทำให้งานต่างๆสำเร็จไปได้

มาจากการอยู่ร่วมกัน ควรวางบทบาทและหน้าที่ของตน และการสร้างปฏิสัมพันธ์ต่อสังคม เพื่อประโยชน์สุขการทำงานและอยู่ร่วมในสังคม  

เรียนศ.ดร จิระ หงส์ลดารมณ์  และสวัสดีพี่ทีมงาน Chira academy ทุกท่าน  ผมนาย อานนท์  ร่มลำดวน นักศึกษาป.โท การจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร ลาดกระบังรุ่นที่ 6 หลังจากการที่ผมได้เข้าเรียนในชั่วโมงแรกในวิชา การบริหารทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งผมยอมรับว่าในช่วงแรกก่อนที่จะเข้ามาเรียนคาดหวังแค่เพียงว่าจะเรียนวิชานี้ไปเพื่อบริหารงานองค์กรแต่เพียงอย่างเดียวแต่เมื่อได้พบและพูดคุย แลกเปลี่ยนพร้อมได้รับคำแนะนำจาก ศ.ดร จิระ หงส์ลดารมณ์ ( ซึ่งในที่นี้ผมขออนุญาติเรียกท่านว่าอาจารย์ ) ทำให้ผมเปิดมุมมองและโลกทัศน์ในการมองเรื่องทรัพยากรมนุษย์มากขึ้นโดยมองภาพในองค์รวมและอาจารย์ได้จุดประกายในความคิดที่จะให้ทำอะไรมากกว่าที่เราควรจะทำเพื่อแสดงศักยภาพในการเป็นทรัพยากรที่มีคุณภาพสามารถต่อยอด และมีความรอบรู้ในหลายๆเรื่องโดยต้องมีจริยธรรมที่ต่อเนื่องและยั่งยืนตลอดจนในช่วงเวลาที่เรียนเป็นระยะเวลาประมาณ 4 ชั่วโมงได้ศึกษาในเรื่องของการเรียนแนวใหม่โดยเฉพาะทฤษฎี 4 L ‘S2   และหลังจากนั้นผมได้อ่านและศึกษาความรู้เพิ่มเติมจากท่านผู้รู้เรื่องทรัพยากรมนุษย์ทั้ง 3 ท่านประกอบด้วย ท่านอาจารย์ ศ.ดร จิระ  หงส์ลดารมภ์ ,ท่าน พารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา และคุณหญิง ทิพาวดี  เมฆสวรรค์  จากหนังสือ ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ ( HR.CHAMPIONS ) และหนังสือ  2 พลังความคิดชีวิตและงานทำให้ผมได้เห็นและตระหนักมากขึ้นมากไปอีกว่ามีความจำเป็นอย่างยิ่งยวดขนาดไหนที่ควรส่งเสริมและพัฒนาในสิ่งต่างๆมากมายหลายด้านโดยอาศัยทฤษฎีต่างของท่านผู้รู้ทั้ง 3 ท่านได้แก่ทฤษฎี 3 K’s ทฤษฎีทุนในทรัพยากรมนุษย์ (ศ.ดร จิระ  หงส์ลดารมภ์ ) ,ทฤษฎี 8 H ‘s ทฤษฎีบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (  คุณหญิง ทิพาวดี  เมฆสวรรค์ )  รวมถึงแนวคิดการวางบริหารงานด้านบุคคลและการเป็นต้นแบบที่ดีของท่าน พารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา คือเรื่อง คนเก่ง คนดี , ความเชื่อเรื่องคุณค่าของคน ,การดูแลทุกข์สุขของคนใกล้ชิด และ การทำงานเป็นทีม  นอกจากนั้นทั้ง 3 ท่านยังมีความคิดเห็นไปแนวทางเดียวกันการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์นั้นต้องพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนซึ่งถือว่าเป็นหัวใจของการพัฒนาในด้านบุคคลเลยทีเดียวโดยต้องการดำเนินการนั้นจะต้องมีจริยธรรมควบคู่กันไปด้วย  โดยเริ่มที่รากฐานคือการศึกษา ( Head , Human Capital ) เป็นอย่างแรก  ซึ่งต้องประยุกต์ให้เท่าทันและเข้ากับการเปลี่ยนแปลงของโลกซึ่งเราอาจเริ่มต้นศึกษาจากประวัติของเรา ( Heritage ,

 Sustainable Capital ) โดยอาศัยความร่วมมือในทั้งระดับจุลภาคและมหาภาคหรือที่เรียกกันว่าการร่วมมือกันทุกหน่วยของคลัสเตอร์ทั้งแนวดิ่งและแนวนอน

จากการที่ได้อ่านบทความและได้ความรู้จากท่านผู้รู้ทั้ง 3 ท่านทำให้ผมมีไฟในการที่จะพัฒนาด้านทรัพยากรมษย์อยู่ 3 เรื่องด้วยกันคือ

1.ในส่วนที่ทำงานเนื่องจากที่ผมทำงานอยู่ ณ ปัจจุบันซึ่งอาศัยทฤษฎีในการทำงานซึ่งน่าจะมีส่วนคล้ายกับแนวทางของ

   ที่ทุกท่านชี้แนะอยู่นั่นคือนโยบาย  3 T ‘s สำหรับคนในหน่วยงานประกอบด้วย Trust , Transparency และ

   Teamwork  และนโยบาย 3 C’s สำหรับการเชื่อมต่อในหน่วนงานอื่นๆ ( เชื่อมโยงในคลัสเตอร์ต่างๆ )

    ประกอบด้วย Clean and Clear , Commutation และ Compromise  โดยมีเป้าหมายเพื่อคนในทีมงาน

    ทำงานกันเป็นทีมมีความโปร่งใสเชื่อใจกันตลอดจนในการทำงานร่วมกับทีมหรือคลัสเตอร์อื่นๆก็จะต้องมีการ

    ทำงานที่ชัดเจนมีการสื่อสารที่รวดเร็วและเข้าใจง่ายรวมถึงการประณีประนอม นั่นก็คือการประสานงานมิใช่การ

   ประสานงาเพื่อที่จะสามารถทำงานทั้งในทีมงานและองค์กรให้บรรลุวัตถุประสงค์และอยู่กันอย่างมีความสุข

   ซึ่งจากนี้ไปในแนวคิดการทำงานคงจะต้องเพิ่มเติมโดยน้อมนำข้อคิดและแนวคิดในเรื่องการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

    จากท่านผู้รู้ทั้ง 3 มาเป็นแนวทาง ปฎิบัติเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับทีมงานเพื่อให้เป็นบุคคลากรที่มีคุณภาพและเป็น

    ทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณค่าอย่างต่อเนื่องยั่งยืนและมีจริยธรรมให้กับประเทศต่อไปถึงแม้จะเป็นเพียงจุดเล็กๆก็ตาม

2.จากการที่อาจารย์ได้ให้การบ้านเรื่องของการที่ให้พวกเรานักศึกษาป.โท สาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและ

 อุตสาหกรรมอาหาร ลาดกระบังในส่วนของการช่วยเหลือสังคมในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในด้านที่เกี่ยวข้องกับอาหารหรือโภชนาการ โดยเน้นไปที่การวางรากฐานคือเรื่องของทุนมนุษย์  ( Human Capital ) จุดที่เน้นคือ You Are What You Eat ปลูกฝังไปยังเด็กเพื่อเพิ่มทุนทางมนุษย์ให้กับเด็กเป็นสาระสำคัญ ซึ่งพวกเราจะกลับมาทำการบ้าน และขอเป็นส่วนร่วมกับอาจารย์และทีมงาน Chira Academy  เพื่อพลักดันด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างเต็มที่และเต็มความสามารถ

3เชื่อมโยงในส่วนของภาคอุสาหกรรมอาหารทั้งหมดภายในประเทศและต่างประเทศโดยช่วยกันวางรากฐานในการ

 พัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยมุ่งเน้นไปที่ต้นทุนมนุษย์ ( Human Capital )   ซึ่งหากทุกคนที่อยู่ในส่วน 

  ภาคอุตสาหกรรมอาหารทุกคนร่วมมือกันและเล็งเห็นถึงความสำคัญของอาหารกับ

  การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์แล้วจะทำให้มีต้นทุนมนุษย์ที่ดีเนื่องจากมีอาหารที่ดีมีประโยชน์ตลอดจนการแชร์ในส่วน

  ทรัพยากรอาหารหรือเทคโนโลยีกันในระดับนานาชาติเพื่อแก้ไขการขาดแคลนสารอาหารร่วมกันเพื่อให้ทรัพยากร

  มนุษย์ทั้งหมดมีต้นทุนสุงขึ้นเพื่อที่จะสามารถพัฒนาต้นทุนด้านต่างๆต่อไปได้
นางสาวเบญจพร สุวรรณรักษ์
กราบเรียน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์   ดิฉันนางสาวเบญจพร  สุวรรณรักษ์  นักศึกษาปริญญาโท   เลขประจำตัวนักศึกษา 50066212สาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร  คณะเทคโนโลยีการเกษตร สิ่งที่ได้จากการอ่านหนังสือเรื่อง “ 2 พลังความคิดชีวิตและงาน และ   ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้  HR  Champions ” 1. คนเป็นทรัพยากรที่มีค่าและสำคัญที่สุดขององค์กร ซึ่งเป็นตัวกำหนดความสำเร็จหรือความล้มเหลวขององค์กร ดังนั้นองค์กรควรที่จะมีการส่งเสริมพัฒนาบุคลากรเพื่อเสริมสร้างศักยภาพ  ความจงรักภักดีและซื่อสัตย์ต่อองค์กรให้เหมือนครอบครัวของเขาให้ก้าวไป2. จากการอ่านทฤษฎีการบริหารต่างๆ เช่น 8 K’s  ของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ , 8 H’s ของคุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์   ทฤษฎี 4 L’s ของคุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา เป็นต้น เป็นแนวทางจุดประกายความคิดต่อยอดในการทำงานที่ทำอยู่ ซึ่งเดิมมีทีมงานการทำงานร่วมกับหัวหน้างานและน้องๆผู้ใต้บังคับบัญชาเหมือนผ่านไปวันๆ  แต่ตอนนี้ต้องมองย้อนและเปลี่ยนความคิดใหม่และแนวทางการทำงานโดยต้องมีความละเอียดอ่อนในเรื่องการประสานงาน การเรียนรู้   การวางตัวกับเพื่อนร่วมงานมากขึ้น  เปลี่ยนความคิดที่ว่าเราต้อง เก่ง แต่เราต้อง ดี พอสำหรับองค์กร  และที่สำคัญต้องทำงานในลักษณะที่รักองค์กรให้เหมือนรักครอบครัวของเรา 3. สาเหตุที่ทำให้การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศไทยเป็นไปอย่างล่าช้าคือ 1.การลงทุนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้ผลตอบแทนระยะยาวและใช้เวลานาน  ต้องทำอย่างต่อเนื่อง แต่ผู้บริหารโดยมากต้องการลงทุนแบบเห็นผลระยะสั้นและเร็ว2.การลงทุนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ไม่สามารถเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ได้อย่างชัดเจนแต่ในทางกลับกันหากองค์กรมีแนวคิดที่จะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยใช้แนวทางของเครือซีเมนต์ไทยซึ่งให้ความสำคัญ 3 ประการ คือ1.ความเชื่อมั่นในคุณค่าของคน       2.ความรู้สึกว่าพนักงานคือคนในครอบครัวของเรา       3.ความรับผิดชอบที่จะทำให้ทรัพยากรมนุษย์ของบริษัทมีทั้ง       ราคาและคุณค่าทีสอดคล้องกัน  เพียงแค่นี้ก็ก่อให้เกิดความจงรักภักดีต่อองค์กรค่ะ4.  การจะก้าวไปเป็นผู้บริหาร ต้องเป็นผู้มีวิสัยทัศน์ที่ก้าวไกลทำงานในปีนี้ต้องคิดไปถึง 5 – 10 ปีข้างหน้า  ต้องเป็นผู้ลงมือทำในเรื่องการพัฒนาอย่างจริงจังเพื่อให้เกิดความเชื่อถือในหลักการ และความศรัทธาแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา  ไม่ใช่แค่การนับถือเพราะอำนาจเงินสิ่งที่ได้จากการเรียนวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ในวันอาทิตย์ที่ 10  มิถุนายน  2550 คือได้รับการกระตุ้นสมองตลอดเวลาในการเรียนวิชานี้คือ1. กระตุ้นความคิดให้คิดนอกกรอบ และต่อยอดความคิดเดิม2. กระตุ้นความคิดให้ชีวิตต้องเรียนรู้ตลอดเวลาและต้องรู้จริง3. กระตุ้นความคิดต้องทันโลกข่าวสาร4. กระตุ้นความคิดว่าต่อไปเราต้องมีความเป็นผู้ใหญ่เพราะเราต้องรับผิดชอบสิ่งที่ใหญ่ขึ้นไป5. กระตุ้นความคิดว่าการเป็นคนดีเป็นส่วนหนึ่งในการตอบแทนสังคม และต้องรู้จักการเป็นผู้ให้มากกว่าการเป็นผู้รับสิ่งที่ได้จากการอ่านหนังสือเรื่อง “ 2 พลังความคิดชีวิตและงาน และ   ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้  HR  Champions ” ภาค 2 ในชีวิตจริงเดิมทีในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านก่อนเปิดภาคเรียน ดิฉันมีปัญหากับผู้จัดการฝ่ายในเรื่องผลงานที่ทำ ดิฉันเริ่มงานกับบริษัทแห่งนี้ได้ประมาณ 1 ปี 9 เดือน ในตำแหน่งหัวหน้าแผนกมีหน้าที่รับผิดชอบในงานที่ค่อนข้างมากเพราะว่าย้ายมาจากบริษัทใหญ่แห่งหนึ่ง ฐานเงินเดือนค่อนข้างสูงสำหรับคนอายุ 25 ปี ( ในตอนนั้น ) เวลาล่วงเลยไปเนื้องานเพิ่มขึ้นและความรับผิดชอบต้องสูงขึ้น มีผู้ช่วยเข้ามาเป็นเด็กเพิ่งจบใหม่โดยการฝากฝังของกรรมการผู้จัดการ (น้องเค้าไม่ได้จบสายตรงที่เกี่ยวข้องกับงานค่ะ)  แต่เงินเดือนของดิฉันเท่าเดิมไม่มีการปรับตำแหน่งเพิ่ม ( ตรงนี้ไม่ซีเรียสเพราะกำลังสนุกกับงาน )  เมื่อถึงเวลาพิจารณาการผ่านงานของผู้ช่วยซึ่งเป็นเด็กเพิ่งจบ  ผู้จัดการฝ่ายได้พิจารณาให้เขาได้ปรับตำแหน่งให้เท่ากับดิฉัน  และทราบมาเบื้องต้นแล้วว่าเพราะฐานเงินเดือนสูงแล้วจึงยังไม่ปรับ เมื่อดิฉันถามผู้จัดการฝ่ายซึ่งเป็นหัวหน้างานเค้าให้เหตุผลว่าน้องเค้าจบปริญญาตรีก็ต้องปรับให้เท่ากับวุฒิ และดิฉันถามย้อนว่าแล้วดิฉันล่ะไม่มีผลงานเลยรึไง เค้าบอกว่ามีผลงานและโอกาสก้าวหน้าแต่ต้องปรับปลายปี  ดิฉันเลยบอกเค้าว่าถ้าคิดว่าถ้าฐานเงินเดือนสูงแล้วก็ควรหาเด็กเพิ่งจบมาทำก็แล้วกัน  ไม่ควรหาคนที่มีประสบการณ์มาทำ วันนั้นก็เลยจบเพราะคิดว่าไม่มีอะไรจะเสียอีกแล้วและพร้อมจะออกจากงาน  หลังจากนั้นวันอาทิตย์ได้เรียนกับ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์  และอ่านหนังสือ 2 พลังความคิดชีวิตและงาน  จบเช้าวันอังคารที่ผ่านมา  ตอนเช้าที่มาทำงาน ดิฉันได้ยื่นหนังสือเล่มนี้ให้กับผู้จัดการฝ่ายของดิฉันและบอกว่า ให้เอาไปอ่านซะจะได้รู้ว่าคนเป็นทรัพยากรที่มีค่าที่สุดขององค์กร เพราะถ้าคุณอยากได้วัตถุดิบที่ดีเข้าโรงงาน คุณจะต้องพัฒนาคนหาวัตถุดิบก่อนถึงจะได้วัตถุดิบที่ดี แค่นั้น เรื่องไปถึงผู้บริหารระดับสูงภายในวันนั้น   วันนี้( วันพฤหัสบดี ) ผู้บริหารระดับสูงเรียกดิฉันไปคุย ปรับตำแหน่งและเงินเดือนให้สูงขึ้น  และเค้าเรียกผู้จัดการฝ่ายของดิฉันไปปรับผังองค์กรของฝ่ายใหม่  นี่แหละค่ะผลที่ได้จากการอ่านหนังสือของศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ค่ะ..... 
เมื่อวันอาทิตย์ ที่ 10  มิถุนายน  2550 ที่ผ่านมา ดิฉันนางสาว สุมิตรา พนาอภิชนได้มีโอกาสเรียนวิชา Human Resource Management กับท่านอาจารย์ จิระ หงส์ลดารมภ์  ซึ่งเป็นบุคคลสำคัญท่านหนึ่งที่เป็นที่รู้จักในแวดวงสังคมไทยและต่างชาติ วันนั้นข้าพเจ้าได้รับความรู้และมุมมองใหม่มากมาย เช่น อาจารย์จะค่อยกระตุ้นให้เรารู้จักที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ที่อยู่รอบตัวเรา ที่มิใช่การเรียนรู้ที่อยู่ในตำราเรียน เช่น เศรษฐกิจ สังคม การเมือง เพื่อมาเพิ่มพูนความรู้เดิมที่เรามีอยู่ และรู้จักที่จะวิเคราะห์สถานการณ์ต่างๆที่จะเกิดขึ้นเพื่อที่เราจะได้ตั้งรับกับสถานการณ์นั้นๆได้  หรือแม้แต่การนำประสบการณ์จากคนที่เราได้พบปะพูดคุยในเรื่องต่างๆ  มาประยุกต์ใช้กับงานที่เราทำ และยังสอนให้เรารู้จักที่จะคืนสิ่งดีๆสู่สังคมบ้าง มิใช่แต่จะเป็นผู้รับเพียงอย่างเดียว และสอนให้เรารู้ว่าคนที่จะเป็นผู้นำไม่ใช่แค่เก่ง หรือ รวยเพียงอย่างเดียวแต่ต้องประกอบไปด้วย คุณธรรม จริยธรรม  มีความใฝ่รู้ เสียสละ มีน้ำใจกับคนที่ด้อยโอกาสกว่า รู้จักการให้อภัยกันและรู้จักที่สู้ในสถานการณ์ที่ต้องสู้และรู้จักที่จะผ่อนผันในสถานการณ์ที่ต้องผ่อนเบา รู้จักที่จะทำวิกฤตให้เป็นโอกาส   หลังจากวันนั้นอาจารย์ได้ให้หนังสือมาอ่าน 2 เล่ม คือ ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ กับ 2 พลังความคิดชีวิตและงาน เมื่อข้าพเจ้าได้อ่านแล้วพอจะจับประเด็นของเล่ม ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ได้ว่า  คุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา และดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ มีจุดมุ่งหมายเดียวกัน คือ การเน้นพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้มีคุณภาพ โดยการส่งเสริมให้ทรัพยากรบุคคลมีการใฝ่รู้ตลอดเวลา  ความรักและสามัคคีกันในทีมและความภักดีต่อองค์กร และท่านทั้งสองยังทำให้บุคคลใต้การปกครองรู้สึกว่า ทรัพยากรมนุษย์เป็นทรัพยากรที่มีคุณค่ามากที่สุด ถ้าองค์กรใดได้บุคคลากรที่เก่งและมีคุณธรรมที่ดี ก็จะทำให้องค์กรนั้นมีศักยภาพสูงสุด และผู้นำต้องสามารถดึงจุดเด่นของแต่ละบุคคลออกมาได้ เพื่อให้คนในทีมแสดงความสามารถออกมาเต็มที่ส่วนเล่ม 2 พลังความคิดชีวิตและงาน ได้พูดถึง ทฤษฎีนักบริหาร 8 H’s  ของคุณหญิงทิพวดี เมฆสวรรค์(Home, Head, Heart, Happiness, Harmony, Heritage, Health และ Hand) และ  ทฤษฏีทรัพยากร 8 K’s ของศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ( Human capital,Intellectual, Ethical capital, Happiness capital, Social capital, Sustainability capital, Digital capital , Talented capital)  ล้วนเป็นทฤษฎีที่มีจุดมุ่งหมายปลายทางเหมือนกันคือ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณภาพ จากที่อ่าน ข้าพเจ้าได้แง่คิดที่ว่า คนเราจะเป็นคนที่เก่ง มีความสามารถ เป็นที่เคารพนับถือในสังคมนั้น  จะต้องมาจาก H ตัวเแรก (Home หรือ Human capital) เพราะว่า การที่เกิดเป็นคนที่ดีและเก่งได้นั้น จะต้องมาจากพื้นฐานหลายๆ อย่าง ตั้งแต่ การอยู่ในครรภ์ของมารดา  จนกำเนิดออกมา  รวมทั้งการเลี้ยงดูทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ  การให้ความรู้ การอบรมบ่มนิสัยทั้งทางด้านคุณธรรม จริยธรรม สอนให้รู้จักเสียสละกับคนที่ด้อยโอกาสกว่าและสอนให้เป็นคนมี่ใฝ่รู้ในสิ่งต่างๆ   แล้ว H หรือ K ตัวอื่นๆ ก็จะตามมา ที่ข้าพเจ้าคิดเช่นนั้นเพราะถ้าเราขาดการดูแลที่ดีจากครอบครัว ก็จะส่งผลให้เราเติบโตขึ้นมาเป็นบุคคลที่เป็นภาระต่อสังคม เนื่องจากไม่ได้รับการอบรมบ่มนิสัยทั้งทางด้านคุณธรรม จริยธรรม สภาพแวดล้อมที่ไม่ดีทำให้เราเป็นคนที่เห็นแก่ตัว  จะทำอะไรก็จะนึกถึงแต่ตัวเองโดยไม่สนใจว่าคนอื่นๆจะเป็นเช่นไร แล้วอย่างนี้จะทำให้องค์กรและสังคมน่าอยู่ได้อย่างไรและจากที่ได้อ่านหนังสือของอาจารย์ทำให้มนุษย์เงินเดือนอย่างข้าพเจ้ามีความรู้สึกว่าเรามิใช่แค่หุ่นเชิดขององค์กรเท่านั้น แต่เราเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาองค์กร/ กราบขอบพระคุณอาจารย์ จิระ หงส์ลดารมภ์  ที่มีหนังสือดีๆมาให้อ่าน
รายงานจากการเรียนวิชา Human Resource Management1.                   บรรยากาศการเรียนด้วยการ share ความรู้ในห้อง เพราะในชีวิตการทำงานนั้นต้องทำงานเป็น team work ซึ่งต้องรับฟังคิดเห็นของผู้อื่น2.                   กล้าแสดงความคิดเห็นต่อที่ประชุม3.                   การแบ่งประโยชน์สู่สังคม อยู่ด้วยการแบ่งปันซึ่งกันและกัน4.                   เมื่อเราอยู่ในโลกนี้ ความรู้ยังคงต้องค้นคว้าอยู่เสมอ เพราะสิ่งต่างๆรอบตัวเราสามารถเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา       รายงานจากการอ่านหนังสือทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ และสองพลังความคิดชีวิตและงาน                สิ่งที่ได้จากการอ่านหนังสือทั้ง 2 เล่มนั้น สิ่งแรกทำให้รู้ว่าโลกยิ่งปลี่ยนไปเท่าไหร่ เรายิ่งค้นคว้าหาความรู้มากเท่านั้น เพราะเมื่อเราไม่มีความรู้ก็จะทำให้เราไม่สามารถคิดในสิ่งใหม่ พัฒนาตัวเอง และประเทศชาติได้  สิ่งที่ได้ต่อมา คือ ในหน้าที่ หรือตำแหน่งที่ทำอยู่นั้น เป็นตำแหน่งที่เกี่ยวกับคนโดยตรง เพราะเราต้องอยู่กับพนักงานซึ่งเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาของเราด้วย เพราะฉะนั้นการปกครองพนักงานเป็นสิ่งละเอียดอ่อนมาก เพราะงานจะมีคุณภาพได้นั้นก็ขึ้นกับพนักงานที่ปฏิบัติ ดังนั้นการให้ความรู้กับพนักงาน ซึ่งความรู้ไม่ใช่เพียงวิชาการ แต่รวมไปถึงคุณธรรมและจริยธรรมด้วย นอกจากนี้ยังได้แง่คิดด้วยว่าถ้าเราอยากให้ผู้ใต้บังคับบัญชาทำในสิ่งที่เราต้องการ เราจะต้องทำตัวอย่างให้เค้าเห็นเสียก่อน จึงจะได้ชื่อเป็นผู้นำที่แท้จริง และผู้นำนั้นจะต้องมีความคิดสร้างสรรค์อยู่เสมอ เพราะจะทำให้องค์กรพัฒนามายิ่งขึ้น                สุดท้ายนี้การที่เราจะทำงานหรือการดำเนินชีวิตในแต่ละวันให้ประสบความสำเร็จนั้น ปัจจัยที่สำคัญก็คือ สติ ปัญญา และสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง เพราะถ้าขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งไปแล้วก็จะทำให้ผลลัพธ์ที่ได้ไม่มีคุณภาพ เพราะในสภาพสังคมปัจจุบันมีการแข่งขันกันอย่างมากมาย จึงทำให้เราไม่มีเวลาดูแลสุขภาพร่างกาย จนลืมไปว่าสุขภาพดีก็มีส่วนทำให้เรามีสมอง และปัญญาที่ดีด้วย 
กัญญารัตน์ ลาภเดโช
กราบเรียน  ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ดิฉันนางสาวกัญญารัตน์  ลาภเดโช  รหัสประจำตัว  50066209  นักศึกษาปริญญาโท สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง  คณะเทคโนโลยีการเกษตร  สาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหารในที่ 10 มิถุนายน  2550  สิ่งที่ดิฉันจากการเรียนที่ช่วยเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ที่ท่านอาจารย์ถ่ายทอดให้กับดิฉัน  คือการที่นักศึกษาได้แสดงออกของความคิดนักศึกษาเองที่เพิ่มมุมมองทางความคิดของดิฉันเอง  ซึ่งเชื่อว่าการได้แชร์ความคิดนั้นทำให้เราเห็นมุมมองและประสบการณ์ใหม่ที่เราอาจคิดไม่ถึงซึ่งตามหลักแล้วไม่มีความคิดใครที่ถูกและผิดเสมอไปจะทำให้เราได้รู้และได้เห็นหลายๆด้านของสังคม  วิธีการเทคนิคการสอนของอาจารย์เป็นการกระตุ้นให้นักศึกษาที่จะกระตือรือร้นในการเรียนที่ต่างจากการเรียนกนักศึกษารู้ที่จะสนใจสิ่งรอบตัวข่าวสารรอบข้างตัวเอง  ความรู้อย่างอื่นที่นอกเหนือจากสายวิชาที่ตัวเองเรียนมาหรือสายอาชีพที่ตัวเองทำงานอยู่  และมีการสั่งสอนถึงการทำอะไรนั้นให้คิดเพื่อสังคมด้วยโดยที่อาจารย์เน้นเรื่องคนเก่งและคนดีซึ่งสำคัญอย่างยิ่งใน การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จากการที่ได้อ่านหนังสือ ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ และ 2 พลังความคิดชีวิตและงาน หนังสือทั้ง 2 เล่มได้ถ่ายทอด   จากการที่ท่านพารณได้ กล่าวว่า   คนเป็นสมบัติที่มีค่าที่สุดขององค์กร   ทำให้ดิฉันได้เรียนรู้ถึงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์   ถ้าดิฉันเองเป็นเจ้าของกิจการนั้นทำให้ดิฉันรู้ว่าถ้าดิฉันต้องการให้องค์กรขับเคลื่อนไปสู่ความสำเร็จได้นั้น  ไม่ใช่การที่พนักงานได้ทำตามนโยบายที่ให้แก่พนักงานให้ทำตามเพื่อความสำเร็จขององค์กร  แต่เป็นการที่เราต้องพัฒนาคนในองค์กรของเราและตัวเราเองให้มีความรู้ความสามารถที่เพิ่มขึ้น  อีกทั้งการใส่ใจพนักงานในองค์กรของเราซึ่งเป็นจุดที่สำคัญอย่างยิ่ง  เครื่องจักรเราสามารถควบคุมทุกอย่างมันได้เมื่อเสียก็ทำการซ่อมการปรับปรุงได้  แต่ถ้าจิตใจคนในองค์กรเป็นการยากที่เราจะควบคุมได้  การทำให้พนักงานรักในงานรักในองค์องกรเสมือนเป็นกิจการของตัวเองจะเป็นการเพิ่มกำลังใจของพนักงาน  การที่มีการรับฟังความคิดเห็นของพนักงานในองค์กรการให้มีการสื่อสาร 2ทาง  การให้รางวัลการได้รับคำชมของพนักงานที่มาจากเรานั้นในกรณีที่พนักงานทำงานนั้นได้ดีก็เป็นการเพิ่มขวัญและกำลังใจให้พนักงานให้เค้ายิ่งรักในงานที่ทำมากขึ้นรักองค์กรมาขึ้นก็จะนำไปสู่ความสำเร็จขององค์กรได้   และสิ่งที่จำเป็นอีกอย่างในการพัฒนาองค์กรคือการพัฒนาทางด้านคุณธรรมจริยธรรมคนในองค์กรไปพร้อมๆกับการพัฒนาองค์กร ในเรื่องของความซื่อสัตย์  ความไม่เห็นแก่ตัว นอกจากจะเป็นผลดีต่อองค์กรเราแล้วแต่เป็นผลดีต่อสังคมด้วย  อาจบอกได้ว่านอกเหนือจากการให้ความรู้  เพื่อเพิ่มศักยภาพเพิ่มทักษะความสามารถแล้วที่เป็นพื้นฐานในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์แล้ว พื้นฐานอีกอย่างที่ควรส่งเสริมไปพร้อมกันคือคุณธรรมจริยธรรม  แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดก่อนที่เราจะพัฒนาคนในองค์กรคนที่อยู่ใต้บังบัญชาเรานั้นแล้ว  เราควรที่จะพัฒนาตัวเราเองไปด้วยเจ้าของกิจการควรมีวิสัยทัศน์  มีความรอบรู้ การรู้จักที่จะรับฟังความคิดเห็นการพร้อมที่จะเรียนรู้  และความสามารถในการที่จะตัดสินในต่างๆเพื่อนำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จได้
อรนุช หล่ำสกุลไพศาล
อรนุช หล่ำสกุลไพศาล นักศึกษา ป.โท  คณะเทคโนโลยีการเกษตร สาขาการจัดการเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร  รหัส 50066214 ก่อนอื่นต้องขอกล่าวสวัสดีท่านอาจารย์จีระ และพี่ทีมงานทุกท่าน และต้องขอบคุณท่านอาจารย์จีระที่ได้มาเปิดโลกการเรียนรู้ให้กับพวกเรา ตั้งแต่นาทีแรกที่ อ.จีระเดินเข้ามาพร้อมจัด Morning coffee จนถึงการเรียนการสอนใน Class ยอมรับว่าตกใจมากเพราะพึ่งรู้สึกถึงความกระตือรือร้นในตัวเอง แล้วก็รู้สึกเกร็ง ตื่นเต้นกับการเรียน การถูกกระตุ้นให้ใช้ความคิดอยู่ตลอด เป็นวิธีที่ไม่เคยมีอาจารย์ท่านใดได้สอนมาก่อน พอได้อ่านหนังสือทั้งสองเล่มของอาจารย์แล้วรู้สึกได้เลยว่านี่ล่ะคือวิธีเรียนที่ไม่ได้เป็นแค่ตัวหนังสือ อาจารย์สามารถนำเอามาใช้ได้ในชีวิตจริง ทั้งเรื่องคนเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่า คนเป็นสินทรัพย์ (asset) แล้วสิ่งที่อาจารย์เน้นตลอดเวลาที่เรียนคือ การปรึกษาหารือกัน จากหนังสือที่อ่านทั้ง 2 เล่มมีเนื้อหาที่สำคัญมากมายอาทิ เรื่อง การเรียนแบบใหม่อย่างทฤษฏี 4L’s ที่เป็นการเรียนรู้เน้นการวิเคราะห์แลกเปลี่ยนความคิด การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การสร้างบรรยายกาศในการเรียนรู้เพื่อกระตุ้นให้ผู้เข้าเรียนมีส่วนร่วม การเปิดโอกาสในการเรียนรู้ร่วมกับอาจารย์ และการขยายผล เพื่อทำประโยชน์คืนให้สังคม อย่างโครงการที่อาจารย์มอบหมายให้ทำ การขาดสารอาหารในเด็กภาคอีสานและ เรื่องการรับมือกับการเปลี่ยนแปลง หรือ Changing Management ทฤษฎี 3 วงกลม หลักการบริหารแบบมีส่วนร่วม ก้าวไปสู่การทำงานเป็นทีมที่ได้พูดถึงเรื่อง IT ว่ามีความสำคัญ เนื่องจากในการทำงานหรือการเรียนต้องใช้ระบบสารสนเทศมากขึ้น ทั้งการรับ-ส่ง E-mail การส่งของมูลต่างๆ เทคโนโลยีฯยังช่วยในการสืบค้นข้อมูลต่างๆ การจัดระบบข้อมูลพื้นฐาน ภาวะผู้นำ นวัตกรรม การบริหารเวลา อย่างที่อาจารย์ได้แนะนำว่าเราจะเรียนในแบบที่เคยเรียน ป.ตรีไม่ได้แล้วนับว่ามีประโยชน์ทั้งสิ้น หรือทฤษฎีเพิ่มศักยภาพของคน ที่ไม่ได้วัดกันที่ว่าจบจากที่ไหน จะต้องดูว่ามี ความสามารถ อย่างไร เป็นคนดี และเป็นคนเก่งหรือไม่ คนเก่ง (Capability) คือ เก่งงาน เก่งคน เก่งคิด เก่งเรียน, คนดี (Acceptability) คือ ประพฤติดี มีน้ำใจ ใฝ่รู้ คู่คุณธรรม เพราะคนเก่งอาจจะไม่ใช่คนดีไม่มีจริยธรรม การทำงานหรือองค์กรก็คงไม่ไปไหนและส่งผลเสียกับองค์กร หรือคนเก่งอาจจะทำงานรวมกับคนอื่นไม่ได้ อันนี้ก็แย่เหมือนกัน และเรื่อง แรงจูงใจ หรือ Motivation เป็นหลักหนึ่งที่ว่า คนเราจะสำเร็จในงานได้ต้องมองว่างานทุกอย่างเป็นงานที่ท้าทาย ต้องมีแรงบันดาลใจ ไม่งั้นจะฝ่อ แล้วเฉาตาย ในการทำงานที่ผ่านมาของดิฉันมักจะทำงานไปวันๆแรกก็ยังสนุกกับงาน แต่ไม่ได้รู้สึกว่างานเป็นสิ่งที่ท้าทายเท่าไร พอเบื่อก็เริ่มคิดที่จะเปลี่ยนงานไปๆมาๆตั้งแต่เรียนจบก็ 3 แห่งแล้ว เมื่ออาจารย์ถามว่าคุณเรียนไปทำไมแรกก็แค่คิดเรียนเพื่อที่จะได้งานทำที่ดีขึ้นเท่านั้นแต่ตอนนี้คิดที่อยากจะเลิกการเป็นมนุษย์เงินเดือนจึงต้องขอบคุณท่านอาจารย์จีระอีกครั้งนึ่งค่ะที่เป็นผู้ที่ช่วยชี้แนะแนวทาง การเรียนรู้ที่ไม่ใช่แค่เพียงตัวหนังสือ และความรู้ที่ไม่ได้อยู่ในตำราเรียนเท่านั้นสิ่งที่อาจารย์ได้แนะนำให้ติดตามข่าวสารบ้านเมือง ข่าวเศรษฐกิจ และสังคมเป็นเรื่องที่จำเป็น เพราะจากเดิมดิฉันมักจะเน้นอ่านข่าวแค่เฉพาะสิ่งที่อยากอ่านเท่านั้น อย่างพวกข่าวบันเทิง ตอนนี้เริ่มหันมาอ่านข่าวอื่นๆเพื่อเป็นการเปิดโลกทัศน์
กราบเรียน ท่านศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์                   ดิฉันชื่อนางสาวนิรชร ไชยกาญจน์ นักศึกษาระดับปริญญาโทสาขาวิชาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง รุ่นที่ 6 จากการที่ดิฉันได้มีโอกาสรับฟังการสอนของอาจารย์เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน  พ.ศ. 2550 ทำให้ดิฉันได้รับฟังความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาตนเองในด้านต่างๆ โดยเฉพาะด้านที่จะเป็นประโยชน์ให้กับสังคมไทยของเรา โดย การรู้จักที่จะศึกษาความรู้จากสิ่งแวดล้อมรอบตัว คือสถานการณ์บ้านเมืองที่เป็นไปในปัจจุบัน ผ่านทางเทคโนโลยีต่างๆที่ทันสมัยเช่น ระบบInternet หรือแม้กระทั่งจากสื่อต่างๆที่อยู่รอบตัวเราอย่างโทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์เป็นต้น แต่สิ่งที่ได้เพิ่มเติมขึ้นมาจากคำชี้แนะของอาจารย์โดยที่ตัวดิฉันเองไม่เคยนึกถึงว่าจะเป็นวิธีที่จะทำให้เราได้รับความรู้อย่างง่ายๆ รวดเร็วและกว้างขวางกว่าคือ การที่เราได้มีโอกาสได้พูดคุยกับผู้ที่มีความรู้และมีประสบการณ์มากมายอย่างเช่นท่านอาจารย์ และจากการได้แสดงความคิดเห็นโต้ตอบกันระหว่างในกลุ่มนักศึกษาด้วยกัน ทำให้ได้มีโอกาสมองเห็นแนวคิดหลากหลายในเรื่องต่างๆ ทำให้ได้ทราบถึงข้อมูลที่ไม่เคยทราบอย่างรวดเร็ว เพราะมีท่านอาจารย์และเพื่อนๆช่วยบอก แสดงให้เห็นว่า การทำงานเป็นทีม ช่วยกันคิดค้นจะทำให้เราสามารถทำงานได้ดีและมีประสิทธิภาพมากกว่าการทำงานคนเดียวมากนัก                   นอกจากนี้ในส่วนของการที่ได้ศึกษาจากหนังสือพ็อคเก็ตบุ๊ค 2 เล่มที่ท่านอาจารย์ได้แนะนำคือหนังสือทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ และ 2พลังความคิดชีวิตและงานนั้น ทำให้ดิฉันมีความรู้และเข้าใจถึงหลักการที่ท่านผู้มีประสบการณ์อย่างคุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา  ,คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ และอาจารย์จีระได้ใช้ในการพัฒนาบุคลากรในองค์กรที่อยู่ใต้บังคับบัญชา และใช้ในการบรรยายในโอกาสต่างๆที่ได้มีเกียรติรับเชิญจากองค์กรอื่นๆเพื่อช่วยเผยแพร่องค์ความรู้ ที่องค์กรต่างๆสามารถที่จะนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาบุคลากรให้มีความสามารถเพิ่มขึ้น และทำประโยชน์ให้กับสังคมและประเทศชาติได้ต่อไป ทั้งนี้สิ่งที่ได้รับนอกเหนือจากความรู้และประสบการณ์จากการทำงานดังกล่าวแล้ว ท่านทั้ง 3 ยังได้ให้การสั่งสอนในด้านจริยธรรม ความดีงาม การประพฤติตนให้อยู่ในกรอบของวัฒนธรรมอันดีงามของไทยในขณะที่สอนให้รู้จักคิดนอกกรอบเพื่อที่จะทำให้รู้จักค้นคว้าในสิ่งใหม่ๆที่เป็นประโยชน์มากขึ้นด้วย  ซึ่งสิ่งที่ดิฉันได้รับมานี้จะเป็นประโยชน์กับตัวดิฉันเอง สามารถนำไปใช้ในการพํฒนาตนเองและพัฒนางานให้ดียิ่งต่อไป
กราบเรียน ท่านอาจารย์ ศ. ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์                      ดิฉัน น.ส. สุภาภรณ์  นำรุ่งโรจน์ นักศึกษาปริญญาโทสาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร  สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง รหัสนักศึกษา 50066215  ดิฉันรู้สึกว่าพวกเราโชคดีและเป็นเกรียรติอย่างยิ่งที่ได้เป็นลูกศิษย์ของอาจารย์ซึ่งให้โอกาสกับพวกเราทุกคน

                    เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2550 ได้มาพบกันในห้อง moring coffee break โดยให้นักศึกษามานั่งร่วมพูดคุยและตกลงกับอาจาร์ยก่อนเข้าเรียน ซึ่งเป็นสไตล์การสอนและการพูดที่ไม่เหมือนใคร ดิฉันยอมรับค่ะว่าตื่นตะหนกเล็กน้อยและรู้สึกว่าตัวเองต้องปรับปรุงตัว พยายามพูดคุยและโต้ตอบกับอาจาร์ยให้มากขึ้น ซึ่งอาจเป็นเพราะลักษณะงานที่ทำมาและดิฉันยังติดนิสัยความเป็น scientist มากเกินไปและพูดไม่เก่งด้วย     แต่ยังไงดิฉันจะพยายามปรับปรุงตัวและจะปฏิบัติตามที่อาจารย์บอกไว้ให้ได้ค่ะแล้วยอมรับเลยค่ะว่าตื่นเต้นมากกับสไตล์การสอนของอาจารย์  ในวันอาทิตย์ที่ผ่านมามาก  เป็นการเรียนที่อาจาร์ยมีความจริงใจ จริงจังและเปิดเผยกับนักศึกษาทุกคนเป็นอย่างมาก ซึ่งอาจเป็นเพราะว่าเรายังไม่คุ้นเคยและไม่ค่อยพบกับอาจารย์ที่สไตล์พูดตรงและมา share  ความรู้กับนักศึกษา, รับฟังและแสดงความคิดเห็นกับนักศึกษาอย่างพวกเรา  อาจารย์สอนให้นักศึกษากล้าแสดงออก ,กล้าพูดกล้าคิดมากขึ้น , รู้จักคิดอย่างเป็นระบบเป็นขั้นตอน , เรียนรู้อย่างนอกกรอบและศึกษาหาความรู้จากสิ่งแวดล้อมอื่นที่ไม่ใช่จากตำราเรียนหรือจากการฟัง Lecture แล้วสอบเลย ไม่ได้นำมาไปใช้จริงทำให้ลืมไป    ซึ่งการเรียนรู้นั้นสามารถศึกษาได้อย่างไร้ขอบเขต กับสภาพแวดล้อมที่อยู่นอกตัวเราในปัจจุบัน เช่น pocket book, บุคคลทั่วไปที่ได้พบประพูดคุย, internet , ข่าวสารแหล่งต่างๆ เป็นต้น  สิ่งที่สำคัญ คือต้องคอย Update ข่าวสารเพื่อให้ทันโลกและเหตุการณ์อยู่เรื่อยๆ  หูตาต้องค่อยเปิดกว้าง,สอนเรื่องการจัดสรรเวลาและใช้เวลาให้คุ้มค่า , สอนว่าคนเราสามารถเรียนรู้และควรใฝ่หาความรู้ตลอดเวลาและการเรียนรู้ของคนเราไม่มีจุดสิ้นสุด และเราจะต้องหมั่นเพียรศึกษาหาความรู้หรือ active ไปตลอดชีวิตและอายุที่มากขึ้นก็ไม่ได้เป็นเงื่อนไขหรือสิ่งที่กีดกั้นให้คนเราศึกษาหาความรู้ได้น้อยลง ตราบใดที่เรายังมีชีวิตอยู่ในโลกใบนี้และเราก็ควรตอบแทนนายหลวงและแผ่นดินไทยที่เราอยู่,อยู่อย่างพอเพียง, พูดในเรื่องการต่อยอดและสร้างมูลค่าเพิ่มให้สังคมหรือรู้จักการให้ประโยชน์กับสังคมและผู้ด้อยโอกาสที่มีอยู่อย่างมากมายที่เราจะไปกันในวันที่ 22 มิถุนายน 2550 นี้เพื่อไปถ่ายทอดให้ความรู้และข้อคิดเห็นในเรื่อง Nutrition ของสารอาหารที่เด็กเล็กยังขาดหรือได้รับอย่างไม่เพียงพอและไม่ถูกต้องทำให้มีผละกระทบกับพัฒนาการของเด็กที่จะมาเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่เป็นสิ่งสำคัญในอนาคต  และอาจารย์ยังสอนเรื่องการให้ความรักกับผู้อื่น ความจริงใจและความมีน้ำใจต่อกันซึ่งในปัจจุบันนั้นจะพบได้ว่าสังคมในปัจจุบันมีการแข่งขันกันสูง คนเราเห็นแก่ตัวกันมากขึ้น ไม่ค่อยมีความจริงใจให้กัน มีแต่สวมหน้ากากเข้าหากัน หรือต้องมีผลประโยชน์มาต่อรองถึงจะเข้าร่วมในสังคมนั้นได้ เป็นต้น, ทำให้นักศึกษารู้จักดูแลสุขภาพ และสิ่งที่ขาดไม่ได้คือการออกกำลังกาย ซึ่งอาจาร์ยปฏิบัติอย่างเคร่งครัดทำให้คนเรามีสุขภาพแข็งแรงและ สมองปลอดโปร่งทำให้สามารถทำงานได้อย่างมีศักยภาพที่สม่ำเสมอและสูงขึ้น    

           HR-Human Resources ที่สำคัญและมีคุณค่ามากที่สุดกว่า เงินทอง เครื่องจักรและ IT คือ คน  การสร้างคนในการทำงานก็ต้องสร้างให้กับคนทุกระดับเริ่มจากให้  โอกาส (opportunity),  ความรู้  ( Knowlage )  แล้ว ทักษะ(skill) ก็จะตามมา ส่วนที่สำคัญในทุกองค์กรที่ขาดไม่ได้ก็คือ     เรื่อง   การอบรม (training need ) ให้กับพนักงานอยู่อย่างต่อเนื่อง ซึ่งองค์กรจะต้องกล้าลงทุนและไม่ควรประหยัดในเรื่องนี้ เช่น บ.ปูนซิเมนต์ไทย จก. ที่เป็นแบบอย่างขององค์กรที่ดีและมีศักยภาพสูงทำให้องค์กรเติบโตไปได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งใครๆก็อยากมีโอกาสที่จะเข้าทำงานในองค์กรนี้ที่มีความก้าวหน้า มั่นคงและให้ความสำคัญกับพนักงานทุกระดับชั้น   การสร้างความพร้อมให้เด็กไทยก้าวสู่ Global Citizen อย่างสมบูรณ์ที่สุด คือ ต้องคล่องแคล่ว 3 เรื่อง ได้แก่ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษและ IT    คนเราเมื่อเกิดมาแล้วต้องเรียนรู้ (Born to Learn) และเรียนรู้ (Learn)  อย่างสนุกและสร้างสรรค์ 

        ทฤษฎี 4 L’sของ อ.จีระและอ.พารณ ที่มีที่มาแตกต่างกันแต่มุ่งไปบนเป้าหมายเดียวกัน  องค์กรที่จะประสบความสำเร็จได้จะต้องมี คนทั้งเก่งและคนดี คนที่มี listening Skill คือต้องรับฟังความคิดของคนหลายๆความคิดและระดมความคิดกันจะทำให้การทำงานร่วมกันประสบความสำเร็จด้วยดี และต้องเป็นNetwork and Partnership ด้วย

ผู้นำที่ดีคือ Coach ที่ดีและเข้าใจจุดแข็ง จุดอ่อนของลูกน้อง พูดง่ายๆก็คือมองลูกน้องให้ออกว่าเป็นยังไง   

        ทฤษฎี 2R’s (เน้นเรื่องชี้ประเด็น) คือ Reality เรียนรู้จากความจริงที่เกิดขึ้นในประเทศ องค์กร และ Relevance ต้องตรงประเด็นเน้นการหาความรู้ใหม่ๆและนำไปสร้างมูลค่าเพิ่ม หรือนำไปต่อยอดต่อไปได้     ทำให้ทราบถึงความเหมือนและความแตกต่างของทฤษฏี 8H’s ของคุณหญิงทิพาวดีและ ทฤษฏี 8K’s ของ อาจารย์ จีระที่มีความเหมือนกันและแตกต่างกันอยู่1 หัวข้อคือ Health และ Digital Capital ซึ่ง 2 ทฤษฏีมีเป้าหมายเดียวกัน คือต้องการ Human ที่มีคุณภาพ ที่มี ความสามารถ, ความดีและความเก่ง   เพื่อให้ประเทศชาติเจริญรุ่งเรืองและทันสถานการณ์เข้ากับยุคโลกาภิวัฒน์ ได้ในปัจจุบัน
เรียน  ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์   ทีมงานChira Academy  และสวัสดีเพื่อนๆ  afim ทุกคนผม  นาย วรพจน์   สุ่เสน  เลขประจำตัว 50066204  นักศึกษาปริญญาโท  คณะเทคโนโลยีการเกษตร สาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร   สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง                  เมื่อวันที่ 10/6/50 ที่ผ่านมา  อ.จีระ  ได้ให้งานกับพวกผม ซึ่งเป็น นศ.ป.โท  คณะเทคโนโลยีการเกษตรสาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร  ไว้ 2 ข้อ คือ
  1. สิ่งที่ได้จากการเรียนในวันนี้ ( 10/6/50 )
  2. ให้อ่านหนังสือ 2 เล่ม  คือ  สองพลังความคิด  และทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ แล้วสรุปสิ่งที่ได้รับ
 ผมจะเริ่มจากโจทย์ข้อ 1 ก่อนนะครับ        ก่อนอื่นผมเห็นว่า  อ.จีระ  ทำการบ้านโดยการศึกษาประวัติของ นศ.ป.โท รุ่นนี้มาเป็นอย่างดี  ทราบถึงสายวิชาชีพที่พวกผมส่วนมากจบมา คือ food science  อ.จีระ จึงใช้วิธีให้ตัวอาจารย์เอง และนักศึกษา ได้พบปะพูดคุยกันให้พอรู้แนวทางการเรียนการสอนจะได้ปรับตัวได้ง่ายขึ้นซึ่งเป็นผลดีต่อทั้ง 2 ฝ่าย  แนวทางการสอนของ อาจารย์ค่อนข้างเป็นเรื่องใหม่สำหรับผม  ซึ่งพอจะสรุปสิ่งที่ อ.จีระ สอนเป็นข้อๆได้ดังนี้-         เน้นการกระตุ้นความคิด , คิดนอกกรอบ-         เรียน , รับฟังทุกๆศาสตร์ อย่าเน้นกับ science เพียงอย่างเดียว-         ทันเหตุการณ์-         การต่อยอดทางความคิด-         การมองช่องทางธุรกิจ-         เห็นแก่ส่วนรวมมากกว่าส่วนตัว-         กระตุ้นให้แต่ละคนอยากเป็นเจ้าของกิจการ  ไม่เป็นลูกจ้างตลอดไป-         เน้นให้ทำงานเป็น team work โจทย์ข้อ 2  เป็นการสรุปสิ่งที่ได้จากการอ่านหนังสือ 2 เล่มคือ  สองพลังความคิด ( ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  -คุณหญิงทิพาวดี  เมฆสวรรค์ )  และทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ ( ศ.ดร.จีระ   หงส์ลดารมภ์ คุณพารณ   อิศรเสนา ณ อยุธยา )                 หนังสือทั้ง 2 เล่ม จะช่วยให้เราเข้าใจถึงความสำคัญของทรัพยากรมนุษย์ โดยจะใช้ประวัติการทำงาน และแนวคิดของแต่ละท่าน  ทำให้เราเห็นภาพ และได้แนวทางในการทำงานต่อไปในอนาคต  เช่น  หนังสือสองพลังความคิด  จะสอนวิธีทำงานอย่างมืออาชีพ รักงานไม่ดูถูกงานที่ทำ , มีทัศนคติเชิงบวกในงาน , ต้องลงมือเท่าที่ทำได้ก่อนโดยไม่ต้องรอให้ทุกอย่างพร้อมหมด , การทำงานที่ดีต้องทำเป็นทีมเวิร์ค และดึงทักษะแต่ละคนออกมา ฯลฯ     หนังสือทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้  สอนแนวทางการสร้างคนเก่งและคนดี โดยสอนให้ผู้บริหารต้องทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดีก่อน ในส่วนการปกครองลูกน้องนั้น ต้องปกครองอย่างเป็นธรรม , ให้มีส่วนร่วมกับงาน , ทำงานเป็นทีมและท้าทาย , ยกย่องผลงาน , มีสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดี , มีค่าตอบแทนเหมาะสม , มีการอบรมเพิ่มความรู้ ฯลฯ                 สิ่งที่หนังสือทั้ง 2 เล่มสอนเหมือนกันคือ  ทรัพยากรมนุษย์เพิ่มมูลค่าและพัฒนาได้ตลอดเวลา  เมื่อทรัพยากรมนุษย์มีคุณภาพจะทำงานได้เป็นอย่างดี  ผลงานที่ดีจะเกิดกับองค์กร ( Micro )  จะมีผลผลิตเพิ่มขึ้น  มีความได้เปรียบในการแข่งขันทางธุรกิจ และส่งผลให้เศรษฐกิจขับเคลื่อนไปได้ด้วยดีทำให้ประเทศเจริญ ( Macro )                ประโยคประทับใจ   มีอยู่ประโยคหนึ่งซึ่งอยู่ใน หนังสือทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ ที่เมื่ออ่านแล้วทำให้ผมเห็นภาพความสำคัญของทรัพยากรมนุษย์ได้ชัดเจนมากคือประเทศที่มีทรัพยากรธรรมชาติมาก อาจใช้ทรัพยากรธรรมชาติเพื่อการเติบโตทางเศรษฐกิจโดยไม่พัฒนาทรัพยากรมนุษย์เลยแล้วจะทำอย่างไรถ้าทรัพยากรมนุษย์หมดตัวอย่างประเทศที่มีทรัพยากรธรรมชาติมาก คือซาอุดิอารเบีย  ประเทศที่ทรัพยากรธรรมชาติน้อย คือ ญี่ปุ่น  (จะเห็นถึงความเจริญทางเศรษฐกิจที่แตกต่างอย่างชัดเจน )                                ข้อสังเกต  ธุรกิจที่ประสบความสำเร็จในปัจจุบัน เป็นธุรกิจด้านความรู้ไม่ใช่ทรัพยากรธรรมชาติ  เช่น  Microsoft                 แม้รายละเอียดปลีกย่อย และวีธีการจะแตกต่างกันบ้าง  แต่ที่ทั้ง 3 ท่าน ทำเหมือนกันและเป็นจุดหมายสูงสุดคือการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณภาพอย่างยั่งยืน
กราบเรียน ศ ดร จิระ หงส์ลดารมภ์ดิฉัน นส เริงหทัย สำราญ นักศึกษาปริญญาโท  คณะเทคโนโลยีการเกษตร สาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร     สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง รหัสนักศึกษา  50066208สิ่งที่ได้รับจากการเข้า Morning coffee คือ ได้รับการชี้ประเด็น และจุดประกายความคิด ในการคิดนอกกรอบ ซึ่งต้องยอมรับว่า เป็นกบอยู่ในกะลา รอบรู้เพียงศาสตร์แห่งอาชีพของตนเอง ซึ่งหลังจากที่ได้รับการจุดประกายความคิดจาก ศ.ดร จีระ ทำให้ได้เปิดโลกทัศน์ และมีมุมมองใหม่ เกิดขึ้น ได้มองเห็นทั้งโอกาสและวิกฤตที่เกิดขึ้นในโลกปัจจุบัน กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้  และการพัฒนาตนเอง สิ่งที่ได้รับจากการอ่านหนังสือทั้ง 2 เล่ม คือ “2 พลังความคิดชีวิตและงาน และ ทรัพยากรมนุษย์พันธ์แท้ สิ่งแรกที่ดิฉันได้รับจากการอ่านหนังสือทั้ง 2 เล่ม คือ การถ่ายทอดความรู้จากผู้มีประสบการณ์และผู้ที่ประสบความสำเร็จในการทำงาน ถึง 3 ท่าน คือ ศ.ดร จิระ หงส์ลดารมภ์, คุณหญิงทิพาวดี  เมฆสวรรค์ และคุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา ผ่านการถ่ายทอดทางตัวอักษร บอกเล่าเรื่องราวประสบการณ์ และแนวความคิดในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ อย่างเข้มข้นโดย 2 พลังความคิดชีวิตและงาน ได้นำเสนอ 2 ทฤษฏี แห่งการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ คือ ทฤษฏี 8 H’s และทฤษฏี 8 K’s  ซึ่งมีทั้งความเหมือน และความแตกต่าง แต่มีจุดมุ่งหมายที่เหมือนกัน คือ  การพัฒนาคนซึ่งเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีค่าที่สุด หากมองความแตกต่าง ทั้งในด้าน Health และ Digital Capital ทั้ง 2 มุมมอง เป็นสิ่งสำคัญที่ไม่อาจมองข้าม แต่หากนำจุดที่แตกต่างบวกรวมเพิ่มใน ทั้ง 2 ทฤษฎี ผู้ที่ได้รับประโยชน์คือผู้ที่นำทฤษฏีนี้เป็นแนวทางในการปฏิบัติ โดยไม่ต้องสงสัย  ในโลกยุคโลกาภิวัฒน์ ที่ทุกคน ทุกบริษัท ทุกประเทศ มีความเท่าเทียมกัน สามารถฉกฉวยโอกาส รวมถึงการใช้ทรัพยากรและแหล่งความรู้ทุกรูปแบบจากทุกแห่ง ไม่มีกำแพง และอุปสรรค สามารถร่วมกันหรือแข่งขันกันได้ง่ายมากขึ้น คนจึงเป็นทรัพยากรที่มีค่า ซึ่ง การลงทุนในการพัฒนาทรัพยากรที่มีค่านี้ สิ่งที่ได้รับไม่ใช่เพียงแค่ กำไร แต่หมายถึง อนาคตของชาติ บริษัท ชุมชน และตัวของเราเอง ซึ่งในหนังสือ ทรัพยากรมนุษย์พันธ์แท้ ได้แสดงถึง แนวทางการคิดนอกกรอบ การต่อยอดความรู้ และการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ถ่ายทอดทางประสบการณ์จากคู่สนทนา โดยใช้ทฤษฏี 4 L’s เป็นแนวทางในการพัฒนาระบบการเรียนรู้ ซึ่งการพัฒนานั้นทำให้คนเก่ง แต่คนเก่งอาจไม่ใช่คนดี และคนดีอาจไม่ใช่คนเก่ง แต่คนเก่งและคนดีต่างหากที่เป็นทรัพยากรที่มีค่า และเป็นที่ต้องการมากที่สุด

 

เรียน  ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ พี่ๆทีมงาน Chira Academy ทุกท่าน  และสวัสดีเพื่อนๆ  afim รุ่น 6 ทุกคน

ผมชื่อนายปริญญา  รักพรหม รหัสประจำตัว 50066216 นักศึกษาปริญญโท คณะเทคโนโลยีการเกษตร สาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร   สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ก่อนอื่นผมต้องขอกล่าวว่านับว่าเป็นโอกาสที่ดีมากในชีวิตครั้งหนึ่งที่ผมเองได้มีโอกาสเรียนกับท่านอาจารย์จีระ หงส์ลดารมภ์ จากการที่ได้เข้าเรียนในวันเเรกซึ่งจัดให้มีการ Morning coffee กันซึ่งผมคิดว่าเป็นแนวทางที่ดีมากครับเพราะว่าเป็นการพูดคุยกันระหว่างอาจารย์กับนักศึกษาอย่างเป็นกันเอง โดยบรรยากาศการเรียนในวันแรกนับว่าเป็นความรู้สึกที่น่าตื่นเต้น และตื่นตัวตลอดเวลา ถือว่าเป็นการเริ่มต้นที่ดีครับกับแนวทางที่อาจารย์ได้กระตุ้นให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการนำเสนอความคิดแบบต่อยอด การคิดนอกกรอบ การพยายามศึกษาค้นหาความรู้ในศาสตร์อื่นๆให้มากขึ้น การกระตุ้นใก้เกิดการเรียนรู้ตลอดเวลา นั่นคือสิ่งที่ผมได้รับในวันเเรก ส่วนการบ้านที่ทางอาจารย์มอบหมายให้อ่านหนังสือ 2 เล่ม คือ หนังสือสองพลังความคิดและหนังสือทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ นั้น หลังจากที่ได้อ่านแล้วโดยบุคคลที่มาถ่ายทอดความรู้ให้นั้น คือ ท่านอาจารย์จีระ  หงส์ลดารมภ์ คุณหญิงทิพาวดี  เมฆสวรรค์ คุณพารณ  อิศรเสนา ณ อยุธยา  ทั้ง 3 ท่านล้วนเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่ายิ่งต่อประเทศมากเพราะเป็นผู้ที่ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์มาก ดังนั้น การที่ได้เรียนรู้แนวคิด วิธีการในการพัฒนาคน สร้างคนให้เป็นคนดีที่มีคุณภาพ และมีจริยธรรม เป็นทรัพยากรที่สำคัญของชาติ ไม่ว่าจะเป็น ทฤษฎี 8 H's ทฤษฎี 8 K's รวมถึง ทฤษฎี 4 L's คือ สิ่งที่ผมเองได้รับและจะเป็นแนวทางในการพัฒนาโดยเริ่มที่ตัวเองเป็นลำดับแรกก่อนที่จะต่อเนื่องไปยังคนอื่นๆ ในสังคมที่เราจะต้องทำงาน และใช้ชีวิตร่วมกัน ความรู้ที่ได้จากการอ่านหนังสือทั้ง 2 เล่ม นอกจากจะใช้เป็นแนวทางในการพัฒนางาน พัฒนาองค์กร พัฒนาคน แล้วผมคิดว่า นี่คือ พื้นฐานสำคัญในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศให้มีคุณภาพพร้อมที่จะนำพาประเทศชาติให้เจริญเติบโตอย่างแข็งแกร่งและยั่งยืน ครับ.

กราบเรียนท่าน ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์                ดิฉันนางสาววรนรี  พันธุสังข์ รหัสประจำตัวนักศึกษา 50066207 นักศึกษาปริญญาโท สาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง จากการเริ่มต้นการเรียนการสอนในชั่วโมงแรกของวิชา การจัดการทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Management) ของรุ่นดิฉันเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2550 ที่ผ่านมาเมื่อท่านศ.ดร จีระ มาถึงท่านได้ให้เราได้เริ่มทำความรู้จักระหว่างท่านและคณะนักศึกษาด้วยบรรยากาศแบบ Morning Coffee ซึ่งเป็นบรรยากาศที่แปลกใหม่และค่อนข้างแตกต่างจากการเรียนการสอนโดยทั่วไป ซึ่งในช่วงแรกๆนั้นต้องยอมรับจริงๆว่าทั้งดิฉันและเพื่อนๆค่อนข้างจะยังเกร็งและไม่ค่อยคุ้นเคยกับรูปแบบนี้นักแต่เมื่อเริ่มมีการถามตอบแลกเปลี่ยนระหว่างกันไปซักระยะก็รู้สึกว่าค่อยๆ Relax ขึ้นและเข้าใจสิ่งที่ท่านพยายามให้พวกเราทุกคนเข้าถึงระหว่างกันมากขึ้น ซึ่งเป็นอีกเทคนิคอีกรูปแบบหนึ่งที่น่าสนใจ เพราะจริงๆแล้วสิ่งที่ท่านพูดคุย หรือถามตอบเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดและมุมมองนั้นถ้ามองแบบผ่านๆแล้วมีทั้งเรื่องทั่วๆไป เรื่องเหตุการณ์บ้านเมือง เหตุการณ์ปัจจุบัน เรื่องที่ทันสมัยและตลอดจนเรื่องรอบๆตัวเราซึ่งบางครั้งเราอาจจะหลงลืมที่จะใส่ใจหรือให้ความสำคัญกับมันไป ซึ่งสิ่งเหล่านี้จริงๆแล้วมันแฝงไว้ด้วยความรู้และสิ่งต่างๆอีกมากมาย ทำให้พวกเรารู้ว่าจะเป็นผู้รอบรู้ต้องก้าวให้ทันโลกปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาอย่างมากมาย ไม่ใช่ให้ความสำคัญแต่วิทยาศาสตร์หรือด้านที่พวกเราคณะนักศึกษาคุ้นเคยเพียงเท่านั้น หลังจากนั้นเมื่อเข้าสู่ Class ท่านได้พูดสิ่งต่างๆมากมายทำให้สิ่งที่ดิฉันและเพื่อนได้รับจาการเข้า Class ครั้งนี้คือ -ท่านได้พยายามกระตุ้นทำให้พวกเราเกิดกระบวนความคิดต่างมากมายที่เพิ่มขึ้นทำให้พวกเราตระหนักว่าการเรียนรู้และความรู้ไม่มีที่สิ้นสุดจริงๆ แม้กระทั่งท่านซึ่งเป็นผู้มากมายไปด้วยประสบการณ์และความรู้ยังเรียนรู้เพิ่มเติมอยู่ตลอดเวลา - ท่านได้เน้นและทำให้เราเข้าใจได้ว่าแท้ที่จริงแล้วศาสตร์ทุกด้านมีความเกี่ยวเนื่องเชื่องโยงกันแม้แต่ด้านทรัพยากรมนุษย์ก็เกี่ยวข้องได้กับทุกด้าน รวมทั้งทรัพยากรย์มนุษย์กับวิทยาศาสตร์อาหารก็ด้วยเช่นกัน- ให้ตระหนักถึงการรู้จักต่อยอดทางความคิด และการรู้จักคิดนอกกรอบ ไม่ใช่แต่เพียงในตำรา หรือการท่องจำเท่านั้น- นอกจากการเป็นผู้รอบรู้ทั้นโลกทันเหตุการณ์เป็นคนที่เก่งแล้วต้องเป็นคนดีต้องมีจริยธรรมด้วย ต้องรู้จักที่จะเผื่อแผ่ตอบแทนสังคมไม่เห็นแก่ตัว จากการที่ท่านเสนอโครงการที่น่าสนใจเกี่ยวกับปัญหาทางด้าน Nutrition ของเด็กๆ ในฐานะที่พวกเราคณะนักศึกษาส่วนใหญ่มีความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์การอาหารมานั้นเราจะช่วยเหลือเด็กได้อย่างไร-การรู้จักคิดแล้วต้องคิดให้ตรงประเด็นซึ่งจากทั้งหมดพอท้ายชั่วโมงเราถึงเข้าใจว่าจริงแล้วทุกอย่างที่ท่านได้พยายามสอนและกระตุ้นให้เราคิดนั้นสามารถสรุปเป็น Cencept ที่เข้าใจและจำง่ายขึ้นคือ ทฤษฎี 4L’s ( Learning Methodology , Learning Environment , Learning Opportunities , Learning Communities ) และ ทฤษฎี 2R’s ( Reality , Relevance ) นั่นเอง ซึ่งทั้งหมดนี้ตามคำพูดของท่านพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา เป็นเพราะว่า คนเป็นทรัพยากรที่มีค่าที่สุดขององค์กร                จบจาก Class แล้วท่านศ.ดร.จีระ ได้แนะนำให้พวกเรากลับไปอ่านหนังสือ 2 เล่มคือ 2 พลังความคิดชีวิตและงาน โดยท่านศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมย์และคุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์  และอีกเล่มคือ ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ โดยท่านศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมย์และ ท่านพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา  นั้น หนังสือทั้ง 2 เล่มนี้ประกอบด้วยทฤษฎีต่างๆจากท่านทั้ง 3 ซึ่งล้วนแต่เป็นผู้มากมายความรู้ ประสบการณ์และความคิดริเริ่มกับความสำเร็จต่างๆที่มาเล่าให้เราได้เปิดมุมมองโลกทัศน์ต่างๆซึ่งเป็น concept ที่กระชับและเข้าใจได้โดยง่ายและนำมาประยุกต์ใช้กับชีวิตและการทำงานได้จริง ไม่ว่าจะเป็น ทฤษฎีนักบริหาร 8 H’s ของคุณหญิงทิพาวดี ทฤษฎี 8 K’s ของท่านศ.ดร.จีระ ที่มีแนวคิดที่เชื่อมโยงและจุดมุ่งหมายเพื่อจะไปถึงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่คล้ายคลึงกันถึงแม้ว่าประสบการณ์ในการทำงานและวิธีการนำเสนอจะแตกต่างกัน และแนวคิดต่างๆจากการให้ความสำคัญกับเกี่ยวกับ คนเพราะคนเป็นสมบัติที่มีค่าที่สุดขององค์กร ความเชื่อในคุณค่าของคน คนเก่ง คนดี และอีกหลายๆแนวคิดของท่านพารณ ซึ่งเป็นต้นแบบแนวคิดที่ดีในการบริหารงานด้านบุคคลและส่งให้ขยายผลไปถึงความสำเร็จขององค์กรได้ ซึ่งทั้งหมดนี้จะทำให้เห็นได้ว่าท่านทั้ง 3 เป็นนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างแท้จริงถึงแม้ว่าการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จะเป็นการลงทุนระยะยาวและไม่เห็นผลในทันทีแต่เป็นการลงทุนพัฒนาที่ยั่งยืน จากการอ่านหนังสือทั้ง 2 เล่มนี้ดิฉันคิดว่าทฤษฎีต่างๆตลอดจนประสบการณ์อันทรงคุณค่าของทั้ง 3 ท่านนั้นได้ให้เปิดมุมมองและวิธีคิดต่างๆเป็นแม่แบบที่ดีในการทิ่ดิฉันจะนำกลับไปปรับใช้ในองค์กรและต่อยอดการทำงานดิฉันให้พัฒนาดียิ่งขึ้นจากวิธีการเดิมๆตามความเข้าใจของตัวดิฉันเองโดยไม่ได้มีทฤษฎีใดๆ บางอย่างก็มาถูกทางและปฏิบัติอยู่แล้วดังแนวคิดท่านพารณเช่นหัวหน้างานต้องเปิดประตูตลอดเวลา บางอย่างก็ไม่ใช่ถึงกับไม่ถูกทางแต่อาจจะยังไม่ใช่วิธีที่ดีหรือดีที่สุดแต่จากแนวคิดต่างๆที่อ่านนี้น่าจะช่วยเติมเต็มหรือทำให้มันเป็นรูปธรรมที่ชัดเจนและให้ผลสัมฤทธิ์ดีที่มากขึ้น และสำหรับสิ่งหนึ่งที่ค่อนข้างประสบปัญหาอยู่จากการทำงานคือ เรื่องของการทำงานเป็นทีมซึ่งในบางส่วนยังคงประสบปัญหาอยู่และแก้ไขได้ยากเนื่องเป็นเรื่องของคนซึ่งบางครั้งเกิดจากทัศนคติไม่ตรงกันหรือจากการสื่อสารที่ผิดพลาดไม่ชัดเจนซึ่งแนวทางการแก้ไขอาจจำเป็นต้องสร้างวิธีการหรือกิจกรรมบางอย่างเพื่อเป็นเครื่องมือและเสริมสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทั้งคุณธรรมและจริยธรรมเพื่อเป็นไปในทิศทางและเป้าหมายอันเดียวกันเพราะหากได้พัฒนาทรัพยากรมนุษย์แล้วก็ส่งผลให้องค์กรก็จะพัฒนาต่อไปเช่นกัน ขอขอบคุณทั้ง 3 ท่านที่มีแง่คิดและประสบการณ์ที่ดีๆมาถ่ายทอดและดิฉันจะน้อมนำมาใช้โดยเริ่มกับตัวเองก่อนทั้งกับชีวิตประจำวันและต่อยอดการทำงานให้เกิดประโยชน์ต่อไป
Globalization effects on Food Science Due to “Food” is one of the 4 basic necessary factors for human living. Then any changes on global are effected on Food Science in 2 parts. 
  1. Agriculture
Agriculture is raw material of food science. It needs good irrigation, good soil and qualitative fertilizer. However our world is encountering with global warming such as a flood, earthquake, temperature rising etc. Natural disaster effects food science and agribusiness also.  
  1. Agro Industry
Agro industry requires modern technology for machinery and processing to produce quality product. So Information Technology and Technology development is the most important to be competitive with developed country. Any country which being slow in developing, will has many disadvantages when compare to others.        Although material and machinery are very important for Food Science. Still, Human is the most important because Human have brain skill, thinking method, analysis and development. So Human Resource Development is key for success.  

The effect of Globaliization to food business.

I'm focus 2 factors

1. WTO,FTA this factor are give the change for CHINA , INDIA , VIETNAM and Other country to fight for food business. These country have Low -cost in Production,be can set cheap product for Thailand's customer. The effect made Thiland disadvantaged , decreased income.

2. Energy made Thailand have Hi-cost in production,logistics and others.

The Government must to consult with enterprenuer in food business to solve this problem. Change some contract in disadvantage. set team  analysis to solve. Increasing export to the country can be make the gain    

Alternative Energy from Biodiesel,Natural Gas ,Solar cell ,Ethanol and others the government must to promote the alternative energy for food business. 

 

        Dear Prof. Dr. Chira , Chiraacademy and my friends         My name is Worapot  Susen.  I’m study to King Mongkut’s Institute TechnologyLardkrabang major subject Agribusiness of Food Industry Management. How does globalization effect food industry and human resource?       Globalization has pros and cons on food industry. We have a chance to learn new technology which can help increasing in productivity, cost reduction and variety in food production. On the other hands, entering into Free Trade Agreement (FTA) can cause an unfavorable impact on domestic products. For instance, fruits from China become more competitive in Thailand at the expense of Thai farmers (while some politicians gain benefit). Other effects are natural disaster, terrorism, energy and democracy. In order to succeed in globalization era, an organization should timely response to changing environment and be efficient and effective. To achieve this goal, an organization needs effective and efficient human resources who are ready for learning new knowledge. So, human resource development, which Prof. Dr. Chira is currently working on, is crucial to organization. 

สวัสดีครับท่านอาจารย์ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์
ผมมาขอบพระคุณท่านอาจารย์ที่จะนำความรู้
มาเผยแพร่เพื่อจะได้เรียนรู้ ผมจะมาติดตาม
และศึกษาในเรื่อง HR เพราะปัจจุบันทุนมนุษย์
ถือได้ว่าสำคัญต่อการบริหารและการจัดการ
เป็นอย่างยิ่ง ..... ขอบพระคุณมากครับ

Dear  :  Professor Doctor Jira  HongradaromQuestuion  :  1.  How do Globalization has an effect on food business ?  2. Is there any points in human resources organization   and how do they relate ?Answer  :       Globalization  makes the food business has a new  technology in  production so they can produce more product faster. There is standard accredited in food  industry many system for quality assurance consumer such as ISO 22000, ISO9001 , ISO /IEC 17025 , BRC , GMP, HACCP and etc.                      There are heavy competition in food business about import-export  standard in many product.                        The most value in the organization is “ human” because human is the keyword to the organization to the success.                                            Sincerely yours,                                     Supaporn  Numrungroj 
How does globalization is affect of food business and human resource in the organization and country?  I think Thailand is changed by Globalization such as economic, society, political, technology and natural disaster which it has an influence for food business and human resource in the organization and country certainly. The firstly, natural disaster have affect for raw material thus the processing for food business. Which has increase competition from investor superstore such as Big C, Lotus and Carrefour. Which it include fast food business such as McDonald’s, Pizza  and KFC. This food business is increasing in every part in Thailand since  Free Trade opened  cause been happened trade threaten. The customer  behavior are changing which the small entrepreneur are affectively. Thus the food business should be development human resource the knowledge and ability for the modern technology.  Conclusion globalization is affect of food business and human resource. So entrepreneur of food business should be development human resource because human resource is the most important for organization and country.
Globalization makes the world to be narrow, just click the mouse, we can easily to contact with the other and we can get all information easier than the past as well. And international trade will be “Free trade” we can not block product from foreign country and foreign country also can not obstruct us.    Regarding to effect of globalization to the food business, in my opinion
  1. “Free trade” produces an affect to the market, competition will be going up so producers need to reduce cost as much as possible, who have lower cost will be advantage.
  2. Food processing needs to use high technology for increase capacity.
  3. Quality of food product must be higher due to all of food standard system such as BRC, HACCP etc.
  4.  Human resource must be work with high efficiency and have knowledge and know how for develop themselves and business.  
                    “Who better Who fast Who win”
In Globalization, The first factor have effected for food business that Technology such as Biotechnology which Genetically modified organism(GMO) is argument to safety of consumer and new technology  production. The second factor is natural disasters  such as global warming, drought, flood etc.  It is to cause agriculture products loss and have an effect of food business. The third factor is unrest of countried, problem of politic, problem of unrest in 3 province to cause uncertainty price product and system of fall economy. Consumer is to spend decrease.Last factor is expensive oil price to effect transportation and to cause cost production increase.The factors to be related to human resource of organization that have human capital  to have knowledge, capability and goodness when  to share and to repair problem. Executive should adjust to train for knowledge and skill to person in organization that include new technology  production,  use resource to provide tallest benefit. For to fight in globalization.           

Globalization  and  Food  Science  have  to  related  to  as  follows.

1.  Food business  food  safety  to  favor  in  this  time.  Nanotechnology  is  popular to  used  in  food industrial  such  as  row  material , product , process , packaging and  transportation.  Currentiy  Thai  Government  to  establish  Bureau  Of  Quality  And  Safety  Of  Food and  have  a HACCP , GMP  etc.  In  food  industrial  to  be  devopment  a  quality.

Agibusiness  Now  product  of  agriculture  was  safety  first.  The  safety  in life  is  important  in  consumer.  The  farmers  doesn' t  to  command  chemical  substane  in  agriculture.  Organic  farm is  interesting in  time. 

In  food  industrial  was  improvement  a  quality  to  more  exportation.  A  requirement  to  development  in  food  industrial  is  Human  Resources  have  a  Knowledge  Based  skill  Intellectual  Capitals  for apprication  in  organization  and  Learning  Organization.   Creating  a  new  product  in  other  sevice.  Best & Regard.    Ms.Supitcha  Nookhao.

ขอฝากเนื้อฝากตัวเป็นศิษย์อาจารย์คนหนึ่งคะ

Dear Professor Doctor Jira  Hongradarom.

Globalization is the change that impact to economy, social, culture, technology etc. For example, the economy system monopolized and mange by a few first countries ex. USA, Canada, Germany , French and Australia. They having control production of important industrial product, firm, transportation, international insurance etc., passing big business which is called Transnational Corporation. Also they are producer and exporter for agriculture goods that produce by using modernity technology. They give subsidy for their agriculture and use policy for blocking product from other countries. Because of these countries have higher execution for making bargain in would market. That make developing country to be handicapped, the developing country have to import high price product while export low cost product and increase the debt with other countries. Which major business in Thailand is agriculture but we only have ungraduate labors who don't have knowledge in agriculture. Government should have policy for support agriculture department, don't focus only economy development by invest with overseas or develops medium and large business more than distribute income to agriculture department. Also government don't have training course for labor to improve their work skills.
Nowadays, it is the aged of globalization  which people admire the stuffs. So they try to make money to support whatever they need. They try to do some more work which it is very high competition at the present time. It found that the daily life of people is changed. In the past, we bought vegetable and fish for cooking at home, but now we have no time to do in that way because of working. We prefer to have some food which easy and ready to eat. So, many business about food industry are established, for example Fast food ( KFC, McDonald etc.), Ready to eat ( Easy go, Lotus etc.) or delivery service. In addition, we found agriculture and food industry business are high competition in the market. They bring high technology to produce more products with the customer need. It influence to human resource in the organization or country. They must have high knowledge following new technology. Because of unskilled labors will be discharged, because they save the cost of production. It makes big problem for government to solve these problem. Many businesses bring new technology to solve the unskilled labor which it can reduce the resources problem in business.

Nowadays, the daily of human is changing, people has to hurry in everyday. So people has to change the way of consuming, that‘s why there is the fast food.

The food industry tries to develop new food choices to meet the changing needs of its consumers and there is delivery service to serve the consumers also.

On the other hand, the production of agriculture has lend to develop the quality became of the development of technology. As people concern more about healthy food because the government try to campaign and searching about the nutrition and ingredient of healthy food, so it makes the food industry has a high growth opportunity.

  Human resource is most important to the organization because the business can‘t run or operates if there is no efficient human or worker. The organization has to treat and focus on their workers for the stability in long term of their business.

  Important, the quality of people is very important in order to develop the country, especially in ethical. The government has to plan and try to develop the human resource for the peace in our country and try to be the developed country.

Dear  Prof.Dr. Chira  and Chira  Academy TeamRegarding  about last Sunday ( June,17,2007 ) that we are talking about How does Globalization change effects  in Agricultural and Food Industry Business ? In My Opinion, I think that Globalization  is an advantage for  Agricultural and Food Industry Business because it is able to  help to freely transfer and  share information , Knowhow , technology and new Product  broader and faster. (Including domestic and International). However, Globalization could cause drawback effects: more competitive and higher tariff policy to protect local businesses.  But, the benefits shall outcome the drawbacks if we continuously develop, improve and share in micro business units   (Coordinate and share of in vertical and horizon cluster business units). We can also coordinate in the macro level. For Example, recently Europe and America has been interested in Asian food because they represent more natural and healthy such as food products from China, Korea, Thai, Vietnam and India. If those countries should consider to found a community or organization together such as “ Asian food  Organization“ or “ Oriental Healthy Food  Organization” , which those country members could share information ,raw material ,Know how with in organization. So, they can effectively expand market together and make more benefits. In micro aspect, they will improve and develop parallel with macro. For instance, within each country, food and agriculture organization could be established to develop, improve technology for educating people. And, if people have a good education, country will have better Human resources.In short, Globalization will improve and develop Agribusiness, Food Industry Business and human resources if we know how to take advantage from this opportunity.
ATTN:Sir,Dr.Chira,In my opinion,The Globalization take more effects to our agribusiness. The most effective cause is the bad politics like now. This event make every business down and down because the people do not insure the investment that they pay, so they keep their money theirself.  The second cause is new information technologies sometimes make the business glow very fast but sometimes make many problems for us such as the regulation and law. For example, GMOs plants in USA, some countries do not want to use them in their food so we can say “The commerce is prevented”. The plants from USA can not go outside the country then other countries can increase the price up because the demand is more than supply. I think we must learn the new information technologies and the regulations together.   The global warming make serious event to us. “Sunami” is the one sample of it. We need more times to repair an environment around that area. The economy was to be in the bad way. The next cause is the quantity of oil or fuel is going down. The price of it will increase until we can not control it. So we must urgently find some energy replace it  before it come to an end. As we know,Every agribusiness need oil or fuel in their business so if the price of it get high, the cost will get high too.  However the globalization sometime make the advantages for us such as we can receive the new information very fast and the cost of material will go down because there are many supplier for you to selected.   In the future, what the way of business go to? and how do we live? We must set the best plan and need quickly action for our agribusiness. By Anothai Wattanasuwan / 50066201

Globalization movements affect to food and agriculture changing policy. That means free trade is good for agriculture and food all over the world. And that's why they decided to invent a new concept, which each population should be able to eat from its own agriculture. The main thing for the farmers is to feed the population where they live, their own families, the local market, and then the national market

We also found that in some country, they are fighting against the FTA and accept food coming from outside, because they have enough rice, if they open the doors for that all their domestic prices will go down. It's impossible for farmers if they sell these products at a world price (non tariff price). So it's very important that countries or groups of countries be able to protect themselves from dumping which cause by FTA rules that each countries make decision themselves to choose it among the globalization movements.

Human have been changing and go up to develop of technology in Globalization . The food business or food industry are developing a quality product for consumer . Because the human has take an interested on health food and the safety in food when they was eating . On the other hand Today human was leaving rapidly then the food business must have develop themselves used by the knowledge and technology .

However the development of business and technology should going on with human development in the organization.

Above all, whenever you want to lead your organization had success. You should give important with human resource and ready to develop this one in your organization
.

 

Globalization affects to agribusiness 1.     Model technologies effect to high products price.2.     There is high competition for business.3.      Human resource must develop about technologies, languages and managements.4.      Research and Products development are short process.5.      Logistics are very quick.6.     Products storage keeps long time.7.     Human resource must be awareness, loyalty, tolerance and faithfulness.8.     Products are imported from foreign countries because FTA.9.     Import products and export products are cheap because 0% tax.
Dear Prof.Dr.Chira. My name is Ratha Choochan. On Sunday 17th June 2007. How does changeover of the world have impact Human and problem foreign labor emigrate work get in Thailand, Which affect for Thai people. Because they are spread pathogen such as Tuberculosis(T.B.) Abstract, How does globalization have an affect of Food business and Human resource. • Human like consume food be healthy such Fresh food,Bio-organic Food, Vegetable and fruit water • Obstruct business international, free trade, monopoly and national food standard quality of agriculture goods such as GMP, HACCP, ISO 9001, ISO 14001 and BRC • Research for Energy compensate such as solar energy, plam, Jatropha curcas. • Happen war in the world include Thailand which impact economy of Thailand. • Arise condition incalescent world and natural disaster such as Flood, Tsunasmi Thank you for opportunity in my opinion. You sincerely Ratha Choochan

Globalization  Effect all people and all country. When everyone and every country  under same rules, same standard. All of us concern those standard:  HACCP, ISO9000,ISO14000 and more..  Exactly, we must to practice this rules. Why ? . To keep our position in the world. We not ruler.

 

Food-Scinece Science & Technology that include every skill and technique can do for  produce foods. It’s response our consumption. Such as: GMO techniques, capsule and Nano technology will renovate all food producing.

 

We pass 3 mankind revolution and as soon as the 4th  wave will come on.

1st wave  around 10000 years ago.   Agriculture revolution

2nd wave around 300 years ago.  Industrial revolution

3rd wave around 50-60 years ago computer and telecommunication revolution

 

All revolution has two side effect. It change the world and change our. Today, the world will coming boundless world. World will be the flat (Thomas L. Friedman). Globalization effect and power of Nano.  We should ask ourselves. Who am I?

 

A.      a man is surfing the wave

B.      a man observe the wave.

C.      a man behind the wave and say “what is it happening”

In the future producing. All product depend on 2 factor

1. Globalization

2. Food-Science(Technology)

We should answer this question.

The position?

                Who, What and How. All country will compete within the same place that it mean more player and a lot of product in this game. Someone said “ All product have a target as the circle. Although the world has a million product when the circle is arranged. It has a gap. The gap is our chance”

Find out our position. We should produce for the niche product not mass product.

The technology?

                Future need Bio and Nano product. We should look for machine or appropriate technology.

Once day, the nano machine can do:

H2O + Nano engine = H2 + O

                                     = Energy + Oxygen

Then it possible, we can use this way for separate medicine from a herbal plant

I think our product should be niche market, specific target and healthy.  Now, we known. What is important?HR has function to develop and prepare skill, knowledge for us. Because human is most valuable more than everythings.

Sir  Prof. Dr. Chira  and Chira Academy team ...

The effect of the globalization  for  agribusinessThe globalization causes the change  for  agribusiness  administration at most such as  the requirement of a customer , way business competition   and the administration within the organization  thus agribusiness  organization will must have the education arrives at the effect from these thing which  for example. 1.  Customer  because  the behaviour of a customer is formed fix buying  behaviour  such as  the requirement  of a customer ,  the expectation for the quality and serve , the capital and sale goods lowland price more originally . unless the goods depend upon still including that affect goods.  such as serve sale back , the distribution on time , good quality regularly , etc.     thus the producer must make a customer feels satisfied in goods more than goods of the rival. such as produce goods directly the requirement of a customer , the products that don't be harmful to  the environment , raw material administration , the news information and the Technology , the shipping and goods distribution go to the last consumer will must the contentment to the customer.2. The administration within agribusiness  organization , the globalization  to cause working  change within the organization            2.1 Technology.  the growth of the Technology helps to testify work happen efficiently increase , fastness , the production takes time short , decrease production capital , the communication has within a company and a customer fast and convenient  such as  using internet , electronic mail , mobile telephone which  help give agribusiness succeeds

            2.2  The officer because  the growth of the Technology causes the change within the organization requirement  the labor is down  but   there is the requirement  the skill labor to increase.   thus  must admit the change  such as  learning  , officer development  ,the relationship to the organization. These  help  for business development  in the future.

                            thank  you ...ka

                      Miss  Benjaporn  Suwannarak

 

 

Dear, Prof. Dr. Hongladarom , Chiraacademy and my friends. In my opinion, I think  the Globalization has effected to everyone. Global exchange of agricultural produce has created new economic communities  and new ecological communities. We live in global ecosystem; in this, we have no choice,all nations of the world share a global culture, a consequence of past choices. And the economy has become increasingly global as well. In a global agricultural economy, small farms will be replace by large farm,which in turn will be controlled by giant multinational corporations. Small farmers quite simply will not be able to complete in a “free market” global economy.

And more important, ecological and cultural boundaries are essential to the long run sustainability of agriculture. Thus, if all economic boundaries are removed, human life on earth will not be sustainable.

Dear Prof. Dr. Chira ,         On last Sunday ( June , 17 th )  in our class at KMIT’L that  we were taking and sharing about Globalization  in the world and the interesting question from you “ How do Globalization has an effect on food business and human resource?

         At the present ,I think the Globalization is very important and related to anything in the world such as economics , society , all business , healthy , natural , environment , human , technology , …. etc.  and included the world of  food business has advantaged from the globalization of technology too. When we find the modern technology for food business  such as new machine to produce that can help increase productivity within short time , low cost , the way that decrease incomes. Now the market ‘s drive by product quality so that producer will improve quality in their product for can competitive in markets. : Improvement is including machine and human that will be improvement and development together for more efficiency. In  apart of human development  will use human resource for manage  that why human resource is has an effect by globalization change 

 

The progressive of infornation technology and communication make the world to be narrow.Every country can be contact easily such as effect to:

- Exchange knowlege-base, knowhow and culture.

- Completition in Economic.

Thus I'm a part of agribusiness and foodindustry, the effect of globalization to its,in my opinion as to follow:

1.Efficiency processing, high technology and knowlege science effect to produce such as efficiency and quality products.

2.Life style people changing just for behavior to food consume change therefor respond to develop products high nutrient as job for foodscientist or foodtechnologist.

3.Free Trade effect to completition of cost and price agro-products such as products from China, Vietnam etc.

4.Human development for modern learning  and technology to follow continous that is factor to have knowlege, ability skill as to advantage for organize and country.

เรียนท่าน อ. จีระ ที่เคารพ

จากการที่ได้ไปที่พัทยาในวันที่ 22/6/07 พร้อมเข้าเยี่ยมชมโรงเรียนเขาไม้แก้วนั้น ดิฉันรู้สึกประทับใจมาก เพราะในช่วงเช้า พวกเราได้มีการพูดคุยร่วมกันในสภาพของบรรยากาศที่ดี มีเสียงลมพัดและเสียงทะเล ถือเป็นการเปลี่ยนสถานที่ซึ่งทำให้เพิ่มสมาธิในการเรียนรู้มากขึ้น และในช่วงบ่ายได้เข้าไปที่โรงเรียนเขาไม้แก้วแล้วรู้สึกประทับใจในเจ้าหน้าที่ที่มีการเตรียมความพร้อมในการต้อนรับพวกเราเป็นอย่างดี(มาก) และรวมถึงผู้ปกครองของเด็กๆที่ให้ความร่วมมือในการเข้ามารับฟังการบรรยายของพวกเราเป็นอย่างดี   โดยได้มีการซักถามและให้ข้อคิดเห็นต่างๆด้วย ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ดีมาก ในเบื้องต้นรู้สึกว่าการดูแลของคณะเจ้าหน้าที่และครูที่โรงเรียนเขาไม้แก้วอยู่ในเกณฑ์ที่ดีหลายๆด้าน รวมถึงเรื่องอาหารการกินของเด็กๆด้วย ซึ่งพิจารณาจากคุณประโยชน์ของสารอาหารที่เด็กๆจะได้รับเป็นหลัก  สรุปคือ มีการพัฒนาเด็กๆทั้งในด้านสุขภาพกายและจิตใจ IQ,EQ หลังจากนั้นได้มีโอกาสเข้าไปเยี่ยมเด็กเล็กที่โรงเรียนเขาไม้แก้ว(โชคดีมากค่ะ ที่เด็กๆยังไม่กลับบ้านกัน) ทำให้ได้เห็นสภาพของเด็กๆ(เกือบ)ทุกคน ซึ่งโดยรวมแล้วเห็นว่าเด็กทุกคนร่าเริง มีสภาพกายและใจที่ดี ซึ่งน่าจะเป็นผลมาจากการที่ครูให้การดูแลเอาใจใส่เป็นอย่างดีนั่นเอง เมื่อลองคิดดูแล้ว ก็จะเกิดคำถามในใจว่า ในส่วนของโรงเรียนที่พวกเราไม่ได้ไปเห็นนั้นจะเป็นอย่างไรบ้างโดยเฉพาะโรงเรียนที่อยู่ในที่กันดารมากๆ เช่น ภาคอีสาน ฯ พวกเราจะสามารถให้การช่วยเหลืออย่างไรได้บ้างและทั่วถึงหรือไม่? แม้แต่ในส่วนของโรงเรียนเขาไม้แก้วเองก็ตาม เมื่อเด็กๆอยู่ที่บ้าน อาจจะมีผู้ปกครองบางท่านที่ยังไม่เห็นความสำคัญของพัฒนาการของเด็ก ทั้งนี้เนื่องจากไม่มีเวลาและเงิน  ซึ่งคงจะต้องคิดกันต่อไปว่าจะช่วยกันอย่างไรบ้างเท่าที่กำลังของพวกเราจะทำได้  สุดท้ายคงต้องขอบคุณ ท่าน อ.จีระ ที่ทำให้พวกเราได้มีโอกาสเข้าไปเยี่ยมชมโรงเรียนเขาไม้แก้วในวันนั้นค่ะ ทำให้ได้มีความรู้ด้านอื่นซึ่งไม่สามารถหาได้จากหนังสือทั่วไปค่ะ
อรนุช หล่ำสกุลไพศาล
ก่อนอื่นต้องขอกล่าวสวัสดีท่านอาจารย์จีระ และพี่ทีมงานทุกท่าน รวมถึงต้องขอขอบคุณพี่นะ ที่ได้หาที่นั่งให้พวกเรานั่ง วันศุกร์ที่ 22 ที่ผ่านมานี้พวกเราได้ไปบ้านพักของท่านอาจารย์ ที่พัทยา ในช่วงเช้าบรรยากาศดีมากๆ ถือเป็นการเรียนรู้นอกสถานที่ และในช่วงบ่ายได้ไปทำ โครงการเผยแพร่ความรู้ ที่ศูนย์พัฒนาการเด็กเล็ก ตำบลเขาไม้แก้ว อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี ต้องขอขอบคุณท่านปลัด และพี่ๆทุกคนที่มาฟังการเผยแพร่ของพวกเรา เรื่องที่พวกเราได้เตรียมไปพูดก็มีเรื่องความสำคัญของโภชนาการที่มีผลกับพัฒนาการสมอง เพราะหากเด็กได้รับโภชนาการที่ไม่เพียงพอ พัฒนาการของเด็กก็จะช้าลง รวมถึงข้อดี และข้อเสียของการที่ได้รับโภชนาการที่ไม่เพียงพอ ว่ามีผลกระทบต่อ IQ, และ EQ อีกทั้งได้เตรียมเมนูแนะนำที่ทางพวกเราได้ช่วยกันคิดโดยเน้นที่ทำง่าย และราคาถูก ปัญหาที่ทางศูนย์พบกันส่วนใหญ่คือ เด็กไม่กินผัก แล้วผู้ปกครองไม่ค่อยมีเวลาในการดูแลเรื่องอาหาร ผู้ปกครองส่วนใหญ่มักให้เงินเด็กไปหาซื้อกินเอง รวมถึงที่ได้คุยกับผู้ปกครองท่านหนึ่งช่วงที่พักกินกาแฟ ผู้ปกครองท่านนี้มีปัญหาเรื่องที่ลูกเป็นโรคภูมิแพ้อย่างรุนแรง ทางกลุ่มจึงแนะนำพี่ผู้ปกครองท่านนั้นไปหลายข้อด้วยกัน อาทิเรื่องการดูแลความสะอาด เรื่องฝุ่นตามที่นอน และแนะนำให้ออกกำลังกาย จากประสบการณ์เหล่านี้เป็นสิ่งที่น้อยคนนักจะได้สัมผัส เมื่อไปแล้วรู้สึกหายเหนื่อยทันทีที่มีคนมาค่อยนั่งฟังในสิ่งที่เราได้เตรียมไป ต้องขอขอบคุณอีกครั้งค่ะ

กราบเรียนท่านอาจารย์จิระ หงส์ลดารมณ์และชาวblogทุกท่าน

ดิฉันชื่อนางสาวนิรชร ไชยกาญจน์ นักศึกษาปริญญาโทชั้นปีที่ 1 สาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร คณะเทคโนโลยีการเกษตร สจล. เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2550 ท่านอาจารย์จิระได้เปิดโอกาสให้เราได้เปลี่ยนบรรยากาศการเรียนการสอนจากอยู่ในห้องสี่เหลี่ยมที่มีอุปกรณ์สื่อการสอนที่ทันสมัยไปสู่บรรยากาศการเรียนชายทะเลที่มีลมพัดเย็นสบาย อากาศสดชื่นซึ่งหาได้ยากในเขตกรุงเทพมหานคร โดยได้รับการเอื้อเฟื้อจากพี่นะช่วยหาเก้าอี้มาให้เราได้นั่งพูดคุยกันอย่างสบายๆ ต้องขอขอบคุณไว้ ณ ที่นี้ด้วยนะคะ โดยในช่วงเช้า เราได้มีกิจกรรมการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์ข่าวสารของบ้านเมืองในด้านต่างๆเช่น เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การเมืองเป็นต้นท่านอาจารย์จิระได้ให้แง่คิดในเรื่องต่างๆ รวมถึงได้แนะนำให้เราได้รู้จักหนังสือพิมพ์ที่ไม่ค่อยได้พบเห็นตามร้าน/แผงขายหนังสือทั่วไปชื่อ Halo T-bone ทำให้เรามีแหล่งความรู้เพิ่มขึ้นอีก และหลังจากพักรับประทานอาหารกลางวันซึ่งเป็นก๋วยเตี๋ยวเรือแสนอร่อยและคอหมูย่างน้ำจิ้มรสเด็ด เราได้เดินทางต่อไปยังที่ทำการอบต. เขาไม้แก้ว อ.บางละมุง จ.ชลบุรีซึ่งการเดินทางไปครั้งนี้มีความคืบหน้าเกี่ยวกับการทำงานของเราในโครงการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับโภชนาการสำหรับเด็กก่อนวัยเรียน ที่ได้ริเริ่มทำที่ต.เขาไม้แก้ว อ.บางละมุงจ.ชลบุรีเป็นที่แรก โดยได้มีการบรรยายความรู้ให้กับทางผู้ปกครองและคณะครูผู้ดูแลน้องๆที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กฯได้ทราบและเข้าใจพร้อมทั้งเล็งเห็นถึงความสำคัญของโภชนาการที่มีผลต่อการพัฒนาศักยภาพของน้องๆ นอกจากนี้ยังได้มีการซักถามเพิ่มเติมและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างทางเราและคณะผู้ปกครองอีกด้วย หลังจากนั้นเราก็ได้เดินทางไปที่ศูนย์เด็กเล็กฯเพื่อพบกับน้องๆที่น่ารัก และได้นำหนังสือระบายสีและสีไม้ไปเป็นของฝากให้กับน้องๆที่ศูนย์ฯด้วย จากการที่ได้ไปดำเนินงานในครั้งนี้ทำให้เรามีโอกาสได้ทราบถึงปัญหาที่เกิดกับเด็กที่อยู่ในชนบทว่ายังไม่ได้รับโภชนาการที่ดีเพียงพอกับการเจริญเติบโตเท่าที่ควร และได้รับข้อมูลจากทางศูนย์ฯเพื่อนำมาใช้ในการทำงานขั้นต่อไปด้วย ทั้งนี้ต้องขอขอบคุณท่านอาจารย์จิระและคณะทำงานของท่านที่ได้ให้ความช่วยเหลือรวมทั้งเปิดโอกาสให้เราได้ทำอะไรเพื่อตอบแทนสังคมมา ณ ที่นี้ด้วยค่ะ
เรียน ศ.ดร.จีระ ดิฉัน นางสาวนันทกา  บุญสุข นักศึกษาปริญญาโท ภาควิชาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง จากการที่ดิฉันได้เข้าร่วมกิจกรรมให้ความรู้ทางด้านโภชนาการให้กับ อบต.เขาไม้แก้ว จ.ชลบุรี ในวันที่ 22 มิถุนายน 2550 ดิฉันมีความรู้สึกภาคภูมิใจเป็นอย่างมาก เพราะดิฉันได้มีโอกาสแบ่งปันความรู้ที่ดิฉันได้เรียนมาทางด้านวิทยาศาสตร์การอาหารให้เกิดประโยชน์กับสังคม แต่กิจกรรมนี้จะเกิดขึ้นไม่ได้เลยถ้าไม่มีท่านอาจารย์คิดริเริ่มขึ้น ก่อนอื่นดิฉันขอขอบพระคุณท่านอาจารย์เป็นอย่างสูงที่เป็นแกนนำในการทำกิจกรรมในครั้งนี้ ถึงแม้ดิฉันจะเสียค่าเสียโอกาสในการลางาน 1 วัน แต่ผลตอบแทนคุ้มค่าเกินกว่าที่ดิฉันคาดคิด ตั้งแต่เดินทางไปถึงอบต. ทางคณะ อบต. ก็จัดการต้อนรับที่อบอุ่น ทั้งผู้ปกครองและครูก็ให้ความสนใจและความร่วมมือเป็นอย่างมาก มีการซักถามเกี่ยวกับการจัดมื้ออาหารให้ครบ 5 หมู่กับบุตรหลาน, การฝึกให้เด็กกินผัก เป็นต้น สิ่งที่ดิฉันดีใจที่สุดในการทำกิจกรรมครั้งนี้ ก็คือ จากการแบ่งปันความรู้ของพวกเรา ชาวบ้านเข้าใจมากขึ้นและอยากนำกลับไปปฏิบัติ ต่อจากนั้นเมื่อดิฉันเดินทางไปยังศูนย์เด็กเล็กเพื่อแจกสมุดภาพระบายสี เพื่อฝึกให้เด็กๆมีจินตนาการและความคิดสร้างสรร ดิฉันดีใจที่เห็นเด็กๆยิ้มมีความสุข ถึงแม้ว่ากิจกรรมครั้งนี้จะมีระยะเวลาเพียง 1 วัน แต่ก็ได้ข้อคิด คือ เยาวชนเป็นบุคลากรสำคัญในการพัฒนาประเทศ แต่ในประเทศของเรายังมีเยาวชนที่ขาดโอกาสอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน, ขาดการศึกษา ทำให้สมองของเด็กมีการพัฒนาต่ำ ดังนั้น คนไทยด้วยกันเองจึงควรตระหนักและเห็นคุณค่า เพราะถ้าเราปลูกฝังสิ่งที่ดีๆตั้งแต่วัยเด็ก เด็กเหล่านั้นก็จะเป็นผู้ใหญ่ที่ดีในวันข้างหน้าต่อไป เพื่อพัฒนาประเทศไทยให้ก้าวหน้าทัดเทียมอารยประเทศสุดท้ายนี้ ดิฉันก็หวังว่าในอนาคตประเทศไทยก็จะเจริญก้าวหน้าและพัฒนามากขึ้น เพราะเราร่วมมือกันสร้างบุคลากรที่มีคุณภาพ

เรียนท่านอาจารย์จีระ หงส์ลดาภรณ์ ดิฉันนางสาววสพร บุญสุข นักศึกษาปริญญาโท คณะเทคโนโลยีการเกษตร สาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง คณะท่านอาจารย์จีระ และนักศึกษาปริญญาโทได้จัดทำ "โครงการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับโภชนาการสำหรับเด็กก่อนวัยเรียน" เมื่อวันศุกร์ที่ 22 มิถุนายน 2550 ที่ผ่านมา ได้ไปที่อบต.เขาไม้แก้วและศูนย์เด็กเล็กเขาไม้แก้ว ตำบลเขาไม้แก้ว อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี

ตอนเช้าเดินทางไปพัทยาที่พักของท่านอาจารย์จีระ เปิดการเรียนแบบสร้างบรรยากาศ นั่งคุยกันริมชายทะเลพัทยา (ต้องขอบคุณพี่นะ ที่ช่วยหาเก้าอี้เตรียมไว้ให้พวกเรา) ในหัวข้อเรื่อง 5 K, 8K  ให้เลือก K ที่สนใจแล้วเสนอท่านอาจารย์จีระ พร้อมกับท่านอาจารย์จีระให้คำปรึกษาหาแหล่งข้อมูล จากนั้นท่านอาจารย์จีระได้แนะนำหนังสือพิมพ์ Halo T bone เป็นหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษ ทำให้ได้แหล่งความรู้ใหม่ รวบรวม global ไว้ในหนังสือพิมพ์เล่มนี้ และอีกมุมหนึ่งของหนังสือเล่มนี้ กล่าวถึงสถานการณ์ปัจจุบันของตะวันออกกลาง  และพวกเราได้ถ่ายรูปร่วมกัน และดิฉันได้มีโอกาสได้ถ่ายรูปคู่กับท่านอาจารย์จีระรู้สึกเป็นเกียรติ และดีใจมาก

ตอนเที่ยงได้รับประทานอาหารร่วมกับท่านอาจารย์จีระและทีมงาน รู้สึกว่าท่านอาจารย์เป็นกันเองมาก ได้รู้จักอีกมุมหนึ่งของท่านอาจารย์จีระ  ตอนบ่ายเดินทางไปที่อบต.เขาไม้แก้ว ได้เข้าไปแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับโภชนาการสำหรับเด็กก่อนวัยเรียน ตอนแรกทั้งปลัดอบต.เขาไม้แก้ว คุณครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และผู้ปกครอง ยังไม่ให้ความสนใจซักเท่าไร เมื่อท่านอาจารย์จีระได้ให้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นของแต่ละคนแล้ว ได้รับความสนใจเพิ่มขึ้น ทำให้ได้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการโภชนาการสำหรับเด็กก่อนวัยเรียน จากนั้นเดินทางไปศูนย์เด็กเล็ก ไปพบกับเด็กๆ ไปแจกสมุดระบายสี สีเทียน และสีไม้  เพื่อที่เด็กๆ จะได้ฝึกพัฒนาการด้านศิลปะ  สุดท้ายนี้โครงการจะบรรลุไปได้ด้วยดีต้องขอขอบพระคุณท่านอาจารย์จีระ ทีมงาน ปลัดอบต.เขาไม้แก้ว และคุณครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เป็นอย่างมาก ที่ทำให้พวกเราเห็น Case study จากการทำงานของเราเอง
นาย พัฒนา ปลอดภัยงาม

เรียน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ กระผม นายพัฒนา ปลอดภัยงาม นักศึกษาปริญญาโท คณะเทคโนโลยีการเกษตร สาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

เมื่อวันศุกร์ที่22มิถุนายน 2550 ที่ผ่านได้มีโอกาสที่ได้ไปทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ให้กับสังคม ได้ไปที่อบต.เขาไม้แก้ว อ.บางละมุง จ.ชลบุรี ไปให้ความรู้ด้านโภชนาการกับอบต.และผู้ปกครองเด็กที่ศูนย์เด็กก่อนวัยเรียน ก็ได้รับความร่วมมือจากผู้ปกครองอย่างดีและถ้ามีโอกาสจะกลับไปให้ความรู้อีกครั้ง การไปจ.ชลบุรีในครั้งนี้ต่างจากทุก ๆ ครั้งที่เคยไป ได้ความอิ่มใจกลับมา เพราะได้ช่วยเหลือในให้ข้อมูลในส่วนที่ผู้ปกครองสงสัยและอยากรู้

ได้ไปเรียนหนังสือริมทะเล ชอบมากครับ

ขอขอบคุณศ.ดร.จีระ ที่ให้พวกเราได้ไปทำประโยชน์ให้กับสังคม

 

        เรียน อาจารย์  จีระ  หงส์ลดารมภ์   

ผม นาย วรพจน์   สู่เสน      นักศึกษาปริญญาโท  คณะเทคโนโลยีการเกษตร  สาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร  สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

เมื่อวันศุกร์ที่ 22 มิถุนายนที่ผ่านมา คณะท่านอ.จีระ รวมถึงนักศึกษาปริญญาโท  พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ได้จัดทำ " โครงการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับโภชนาการสำหรับเด็กก่อนวัยเรียน"  โดยไปที่  อบต.เขาไม้แก้วและศูนย์เด็กเล็กเขาไม้แก้ว อ.บางละมุง จังหวัดชลบุรี

ช่วงเช้าพวกผมนัดเจอกันที่ ลาดกระบัง แล้วไปพร้อมกันโดยรถของคณะ (นี่เป็นครั่งแรกที่พวกเราไปกันโดยรู้จักกันแล้ว สนุกกว่ารับน้องคับ)  เมื่อถึงบ้านพักของอาจารย์จีระ ก็มีกิจกรรมเดินทางกันเล็กน้อย ^^ เนื่องจากรถไม่สามารถเข้าถึงได้ อ.จีระพาพวกเราไปนั่งพูดคุยที่ชั้น 2 ของอาคารว่ายน้ำ ซึ่งลมพัดเย็นสบายมาก เป็นการเรียนแบบใหม่ที่พวกผมไม่เคยมาก่อน  รู้สึกดีครับ เรียนในบรรยากาศดีๆ เพิ่มความสนใจในการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี  อ.ให้แลกเปลี่ยนทัศนคติ ถึง นสพ.ต่างประเทศฉบับหนึ่ง ( Halo T bone ) ชื่อน่าทานครับ แต่ราคาสูงพอสมควร ^^  เป็นหนังสือพิมพ์ที่ให้ข้อมูลข่าวสารทุกๆด้านของโลก มีทั้ง เทคโนโลยี  เศรษฐกิจ  การเมือง แต่มีจุดอ่อนตรงเป็นมุมมองเพียงด้านเดียวจากโลกตะวันตก  จากนั้นให้แบ่งกลุ่มงานกันเรื่อง 5k,8k  โดย อ.จะเป็นโค้ช คอยให้คำปรึกษา กรณีมีปัญหา   จากนั้นพวกผมได้ไปรับประทานอาหารกลางวันพร้อมกับ อ.จีระ บรรยากาศสนุกสนานเป็นกันเองดีครับ   แต่พวกผมไปถึง อบต.เขาไม้แก้ว ค่อนข้างช้ากว่ากำหนดการนิดหน่อย  แต่ไปถึงแล้วค่อนข้างตกใจเล็กน้อยทาง อบต.ให้การต้อนรับดีมาก แสดงให้เห็นถึงการให้ความสำคัญกับอ.จีระ ของคนในละแวกนั้นเป็นอย่างดี  หลังจากให้ความรู้กับผู้ปกครองของเด็กแล้ว ไปที่ศูนย์เด็กเล็กต่อ ให้ของเล่นเด็กๆ ซักถามเรื่องโภชนาการจากผู้ปกครอง  พบว่าปัญหาส่วนใหญ่  หลังจากที่เด็กออกจากศูนย์ไปแล้ว เมื่อกลับบ้านเด็กไม่ได้ทานอาหารที่มีคุณค่าเท่าไร ทานตามที่ผู้ใหญ่ทำปกติ ทำให้อาจเป็นส่วนให้เด็กได้รับสารอาหารไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้  ทำให้เด็กด้อยประสิทธิภาพลงได้  เมื่อกลับจาก เขาไม้แก้วแล้ว  พวกผมจะพยายามหาเวลาว่าง นัดรวมตัวกัน เพื่อให้ความรู้กับกลุ่มผู้ปกครองเด็กเล็ก ที่ค่อนข้างด้อยโอกาส เพื่อเป็นประโยชน์แก่สังคมต่อไป ตามที่อ.จีระ อยากให้พวกผมเห็นประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตัว 

 

          จากการที่ได้ไปเรียนนอกสถานที่ ที่ อบต. เขาไม้แก้ว จ.ชลบุรี เมื่อวันศุกร์ที่ 22 ที่ผ่านมา ทำให้มองโลกได้กว้างมากกว่าที่เคย จากการใช้ชีวิตปกติ ทำงาน เที่ยว เรียนในห้อง ก็ได้ไปสัมผัสบรรยากาศใหม่ๆ ได้รู้จักคนมากขึ้น และรับรู้ถึงปัญหาของคนอื่นๆ ในสังคม ได้เรียนรู้ที่จะรู้จักช่วยเหลือคนอื่น เพื่อที่จะให้สังคมพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น 

         เด็กในวันนีจะเป็นพลังที่สำคัญที่จะขับเคลื่อนสังคมให้ดำเนินต่อไปในทางที่ดีในวันข้างหน้า ถ้าหากพลังเหล่านี้มีความสมบูรณ์ทั้งทางร่างกายและจิตใจก็ย่อมที่จะทำให้ประเทศชาติและสังคมเจริญก้าวหน้า ดังนั้นการพัฒนาเด็กๆ ทังในเรื่อง IQ,EQ และสุขภาพร่างกายก็เป็นสิ่งสำคัญที่ทั้งพ่อแม่ผู้ปกครองและประชาชนทุกคนต้องให้ความสำคัญไม่น้อยไปกว่าการพัฒนาในเรื่องอื่นๆเลย

เรียน ศ.ดร จิระ หงส์ลดารมย์

ดิฉัน นส เริงหทัย สำราญ นักศึกษาปริญญาโท คณะเทคโนโลยีการเกษตร สาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ก่อนอื่น ต้องขอขอบพระคุณท่านอาจารย์ จิระ ที่หยิบยื่นโอกาส ในการช่วยเหลือสังคมให้กับ นักศึกษาปริญญาโท สาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร สถาบันเทคโนโลยีลาดกระบัง โดยการให้มีส่วนร่วมใน  "โครงการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับโภชนาการสำหรับเด็กก่อนวัยเรียน" และได้เข้าไปเผยแพร่ความรู้ให้กับ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ของ อบต ตำบลเขาไม้แก้ว อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน ที่ผ่านมา ซึ่งการไปในครั้งนี้สร้างความประทับให้กับดิฉันเป็นอย่างมาก โดยได้มีโอกาสนำความรู้ทาง Food science ที่เรียนมาไปเผยแพร่ความรู้ให้กับผู้ปกครองในการดูแลเด็กเล็กก่อนวัยเรียน ซึงได้รับความสนใจจากผู้ปกครอง ในการซักถามข้อมูลต่างๆ นอกจากนี้ยังได้มีโอกาสไปเยี่ยมเด็กที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ของ อบต เขาไม้แก้ว ที่ได้จัดตั้งขึ้น ถึงแม้พื้นที่ กับจำนวนเด็ก ที่อยู่ในความดูแล 77 คน ถือว่าค่อนข้างจำกัด แต่ก็ได้รับความดูแลจากอาจารย์ พี่เลี้ยงเป็นอย่างดี สังเกตได้จาก เด็กๆ มีสุขภาพดี ร่าเริง แจ่มใส  จากภาพที่เห็นทำให้มองย้อนกลับไปในสถานการณ์ปัจจุบันของประเทศไทย ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคม และวัฒนธรรมในหลายๆ ด้าน เช่น แรงงานต่างด้าว การมีเพศสัมพันธุ์ก่อนวัยอันควร เด็กถูกทารุณกรรม ถูกข่มขืน ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้ก่อให้เกิดปัญหาตามมาทั้งสิ้น และสุดท้ายเด็กจะกลายเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด ทำให้ดิฉันได้ข้อคิด ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของชาติ ที่ต้องเร่งพัฒนาทั้ง IQ, EQ และสร้างภูมิคุ้มกันในการดำเนินชีวิต โดยการปลูกฝังและฝึกฝนตั้งแต่วัยเด็ก ซึ่งรัฐบาลควรให้ความสำคัญ ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าการพัฒนาด้านอื่นๆ เพราะเด็กเหล่านี้จะกลายเป็นผู้ใหญ่ และเป็นทรัพยากรที่สำคัญของประเทศต่อไป

รียน อาจารย์จีระ  หงส์ลดารมภ์   

ผม นายปริญญา  รักพรหม นักศึกษาปริญญาโท  คณะเทคโนโลยีการเกษตร  สาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร  สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

ก่อนอื่นผมต้องขอเรียนอาจารย์ก่อนเลยครับว่า จากที่ได้ไปร่วมทำกิจกรรมในวันศุกร์ที่ 22 มิ.ย.2550 ที่ผ่านมานั้นผมรู้สึกว่าสิ่งที่ได้รับกลับมาในวันนั้นคุ้มค่ากับเวลาที่ต้องลางานไป 1 วัน การได้เปลี่ยนบรรยากาศและรูปแบบในการเรียนจากเดิมที่เรียนและทำกิจกรรมกันแต่ภายในห้องเรียน เป็นการสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีในการเรียนรู้ ความรู้สึกผ่อนคลายด้วยสภาพแวดล้อมที่แตกต่างเหมือนเป็นการกระตุ้นให้เกิดจินตนาการในการคิดและวิเคราะห์ข้อมูลได้ดีมากครับ สำหรับกิจกรรมที่เราได้ไปร่วมกันทำที่ อบต.เขาไม้แก้ว อ.บางละมุง จ.ชลบุรี ซึ่งเรามีเป้าหมายในการไปให้ความรู้ทางโภชนาการสำหรับเด็กก่อนวัยเรียน รวมถึงการร่วมแสดงความคิดเห็นระหว่างผู้ปกครองและกลุ่มนักศึกษา ข้อมูลที่เราได้ในวันนั้น เช่น โภชนาการที่เด็กได้รับในแต่ละวัน การทำกิจกรรมของโรงเรียน รวมถึงสภาพแวดล้อมทั่วๆไปของชุมชน นั่นคือ การเรียนรู้จากเรื่องจริง สถานการณ์จริง ทำให้เรามองภาพของปัญหาได้ชัดเจนและกว้างมากขึ้น ผมเลยนึกถึงคำพูดที่อาจารย์ได้กล่าวย้ำเป็นประจำว่า "เราได้ตอบแทนอะไรกลับคืนสู่สังคมแล้วบ้าง" มันเป็นเรื่องจริงและสำคัญจริงๆ ทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพของชาติต่อไปในอนาคต จำเป็นที่จะต้องสร้างตั้งแต่ระดับปฐมวัยจริงๆ ครับ.

นางสาวเบญจพร สุวรรณรักษ์
เรียนท่านศาสตราจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมณ์ เมื่อวันศุกร์ที่ 22 มิถุนายน 2550 ที่ผ่านมา ได้ร่วมกันทำ"โครงการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับโภชนาการสำหรับเด็กก่อนวัยเรียน" ได้ไปที่ศูนย์เด็กเล็กเขาไม้แก้ว ตำบลเขาไม้แก้ว อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี มีความรู้สึกภาคภูมิใจเป็นอย่างมาก เพราะได้มีโอกาสแบ่งปันความรู้ที่ได้เรียนมาให้เกิดประโยชน์กับสังคม แต่กิจกรรมนี้จะเกิดขึ้นไม่ได้เลยถ้าไม่มีท่านอาจารย์เป็ยผู้คิดริเริ่มขึ้น ต้องขอขอบพระคุณท่านอาจารย์เป็นอย่างสูงที่เป็นแกนนำในการทำกิจกรรมในครั้งนี้   และได้ข้อคิด ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยต้องเริ่มพัฒนา IQและ EQ  โดยการปลูกฝังและฝึกฝนตั้งแต่วัยเด็ก เพราะเด็กในวันนี้จะกลายเป็นผู้ใหญ่ซึ่งเป็นทรัพยากรที่ทรงคุณค่าสำคัญในการพัฒนาประเทศต่อไปค่ะ   

เรียนศาสตราจารย์ ดร.จิระ ดิฉันรฐา  จูจันทร์ เมื่อวันศุกร์ที่ 22 มิ.ย. 50 ที่ผ่านมาดิฉันและเพื่อนๆ ได้ไปจัดกิจกรรมโภชนาการด้านอาหารสำหรับเด็กก่อนวัยเรียน ที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลเขาไม้แก้ว อ.บางละมุง จ.ชลบุรี การจัดกิจกรรมในครั้งนี้จะเกิดขึ้นไม่ได้เลยหากไม่มีแนวความคิดดีๆ ในการทำประโยชน์เพื่อสังคมจากท่านอาจารย์จิระ ทำให้รู้จักนึกถึงคนอื่น นึกถึงสังคม

 

การไปจัดกิจกรรมโภชนาการในครั้งนี้สำหรับดิฉันถือว่าได้รับประโยชน์มาก เพราะพื้นฐานที่เด็กได้รับตั้งแต่เล็ก ไม่ว่าจะป็นพื้นฐานการศึกษา พื้นฐานทางสุขภาพพลานามัย โภชนาการด้านอาหารที่มีผลต่อร่างกาย และจิตใจของเด็กๆ ที่จะเติบโตมาเป็นทุนมนุษย์ที่มีประสิทธิภาพ และการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ทำให้เพื่อนๆทุกคนได้ร่วมกิจกรรมกันมากขึ้น ซึ่งปกติเราจะเจอกันเฉพาะวันเสาร์-อาทิตย์ และเป็นการเปลี่ยนบรรยากาศในการเรียนรู้ได้นั่งคุยแลกเปลี่ยนความรู้กันริมทะเล สร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ที่ไม่จำเจอยู่แต่ในห้องเรียน และยังเป็นการทำประโยชน์เพื่อสังคมด้วย

 

การนั่งคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันทำให้ได้เห็นมุมมองหลายอย่าง อย่างเรื่องหนังสือพิมพ์ที่อาจารย์จิระยกตัวอย่างมาให้พวกเราดูว่ามีข้อดี-ข้อเสียอย่างไร ซึ่งต้องยอมรับว่าสำหรับดิฉันมองไม่รอบด้านว่าเราได้อะไรจากหนังสือพิมพ์นี้บ้าง มีความแตกต่างอย่างไร เพียงเรื่องนี้ก็เป็นการสอนให้ดิฉันทราบว่าควรพิจารณาและมองให้รอบด้านแล้วเราจะเห็นสิ่งที่เป็นประโยชน์กับเรา ต้องรู้จักคิดนอกกรอบ

 

ช่วงบ่ายของการจัดกิจกรรมโภชนาการด้านอาหารสำหรับเด็กก่อนวัยเรียน มีการแนะนำความรู้ด้านโภชนาการให้กับผู้ปกครองของเด็กทราบถึงประโยชน์และโทษของอาหารหากเด็กไม่ได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอครบทั้ง 5 หมู่ รวมถึงได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและทราบถึงปัญหาที่เด็กๆ ณ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลเขาไม้แก้วได้รับ อย่างปัญหาที่ดิฉันเห็นว่าสำคัญไม่แพ้ปัญหาด้านโภชนาการคือ ปัญหาชาวต่างด้าวซึ่งเข้ามาทำงานในไทยแล้วเกิดมีลูกหลานเกิดขึ้นมา บ้างก็เป็นเชื้อสายชาวต่างด้าวโดยตรง บ้างก็เป็นลูกผสมระหว่างคนไทยและชาวต่างด้าว ซึ่งก้ได้นำบุตรหลานมาฝากเลี้ยงไว้ที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลเข้าไม้แก้ว ซึ่งตรงจุดนี้ก็ทำให้น่าคิดว่าปัญหาชาวต่างด้าวที่รอบเข้ามาทำงานในประเทศไทยจะส่งผลอย่างไรต่อคนไทยเราบ้าง เพราะขณะนี้เขาได้มีลูกหลานเกิดขึ้นมาแล้ว ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ที่จะต้องหาหนทางแก้ไขไม่แพ้ปัญหาโภชนาการ

 

ด้วยความเคารพอย่างสูง

 

รฐา  จูจันทร์

   เรียนอาจารย์จีระ  และพี่ทีมงานทุกท่าน จากการไปดูงานที่จังหวัดชลบุรี เมื่อวันที่ 22 มิ.ย. 2550 ทำให้ผมได้มีโอกาสได้มีโอกาสได้ฟังข้อคิด แนวคิดใหม่จากอาจารย์จีระ  ซึ่งท่านสละเวลามาเพื่อสอนให้ผมได้เข้าใจถึงการเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ คือนอกจากต้องเป็นคนเก่งแล้ว เรายังต้องเป็นคนดีทำอะไรตอบแทนสังคมด้วย เพื่อทำให้ชาติเจริญยิ่งๆขึ้นไป อีกทั้งยังได้เปลี่ยนบรรยากาศในการเรียน ทำให้รู้สึกดีในการเรียนเพราะบรรยากาศนอกห้องเรียน ซึ่งเป็นทะเลนั้นทำให้รู้สึกสดชื่น ผ่อนคลาย เกิดบรรยากาศในการเรียนที่ดี  ส่วนกิจกรรมที่คณะนักศึกษาได้รับมอบหมายนั้นทำให้ผมได้ทราบถึงปัญหาด้านโภชนาการของเด็กวัย 3-5 ปี โดยได้รับข้อมูลจากผู้ปกครองเด็กโดยตรงจากการลงพื้นที่ ทำให้มีข้อมูลในการนำมาใช้ในการพัฒนาวิธีการที่จะช่วยเด็กๆ ให้มีโภชนาการที่ดีขึ้น และสุดท้ายในการได้เข้าเยี่ยมชมบ้านเด็กเล็ก ทำให้ได้ทราบถึง สภาพห้องเรียนของเด็กและบรรยากาศโดยรอบห้องเรียน อีกทั้งได้พบกับเด็กๆในศูนย์เด็กเล็กทำให้ยิ่งรู้สึกว่าต้องมีการพัฒนาในด้านโภชนาการเด็กเล็ก เนื่องจากการที่เราได้ลงพื้นที่แล้วทำให้ได้รู้ว่ามีคนอีกมากที่ไม่มีความรู้ทางโภชนาการที่ดีพอทำให้เด็กนั้น มีปัญหาทางด้านการได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน ซึ่งมีผลต่อการเจริญเติบโตทางร่างกายและพัฒนาการทางสมอง หากเด็กในชาติขาดสารอาหารอนาคตต่อไปในการพัฒนาประเทศคงไม่ดีแน่นอน

กราบเรียน ท่านอาจารย์ ศ. ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์                      ดิฉัน น.ส. สุภาภรณ์  นำรุ่งโรจน์ นักศึกษาปริญญาโทสาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร  สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง รหัสนักศึกษา 50066215                    เมื่อวันที่ 22มิถุนายน 2550 ได้ไปเรียนรู้กับพักผ่อนเปลี่ยนบรรยากาศกับริมทะลในช่วงเช้า ดิฉันรู้สึกถึงความสดชื่นและ Relax  ไปด้วย ที่ได้ไปเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ กับบรรยากาศที่ไม่ใช่ห้องเรียนสี่เหลี่ยมอีกต่อไปค่ะ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นข่าวสารจากหนังสือพิมพ์  Herald Tribune ที่เน้นข่าวสารทั่วโลกที่มีความทันสมัย เป็นต้น                   ช่วงบ่ายได้เดินทางไปศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลเขาไม้แก้ว ให้ความรู้กับชาวบ้านในเรื่อง โภชนาการที่ดีสำหรับเด็กก่อนวัยเรียน  ว่าควรจะมีการให้ความสำคัญกับเด็กในช่วงอายุ 3-6 ปี นี้เป็นอย่างมาก เพราะช่วงนี้เป็นช่วงที่สมองกำลังพัฒนาและเจริญเติบโตในช่วงนี้เป็นอย่างมาก ถ้าช่วงวัยนี้เด็กไม่ได้รับสารอาหารที่ครบ 5 หมู่ และถูกต้องก็จะมีผลกับการพัฒนาสมองของเด็กได้ดี ซึ่งเด็กจะฉลาดและสมองจะเติบโตได้เต็มที่ก็ขึ้นกับช่วงอายุ 3-6 ปีเป็นอย่างยิ่ง

ได้แลกเปลี่ยนสอบถามข้อมูลกับชาวบ้านทำให้ได้รับข้อมูลโดยตรงที่พวกเราสามารถนำความรู้ด้านวิทยาศาสตร์การอาหารมาถ่ายทอดให้กับชาวบ้านโดยตรง ซึ่งดิฉันยังจำคำพูดของท่านอาจารย์จีระและรู้สึกเป็นเกรียติอย่างยิ่งกับคำพูดที่ว่า เป็นโอกาสยากที่พวกเรานักวิทยาศาสตร์การอาหาร ที่จะมีโอกาสมาพบปะให้ความรู้กับชุมชน เช่นศูนย์เด็กเล็กตำบลเขาไม้แก้ว แต่ท่านอาจารย์เป็นผู้เห็นความสำคัญกับเรื่องนี้ คือโภชนาการสู่ท้องถิ่นโดยเริ่มจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเขาไม้แก้วเป็นแห่งแรกซึ่งดิฉันคิดว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่งและจากการสอบถามชาวบ้านเขารู้สึกดีใจที่ท่านอาจารย์ได้พาพวกเรามาให้ความรู้ที่ถูกต้องและมาแนะนำเมนูเพิ่มเติมแก่เด็กให้ได้สารอาหารครบ 5 หมู่  ได้มาพบปะเด็กดิฉันรู้สึกมีความสุขค่ะ ซึ่งเป็นโอกาสยากที่ดิฉันจะมาทำประโยชน์ให้กับสังคมในรูปแบบนี้ได้และได้มากเจอเด็กที่น่ารัก ร่าเริงแจ่มใส ซึ่งจะเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่ดีต่อไปในอนาคต

รสสุคนธ์ น้อยจินดา
         กราบเรียนท่านอาจารย์จีระ หงส์ลดาภรณ์ ดิฉันนางสาวรสสุคนธ์ น้อยจินดา นักศึกษาปริญญาโท คณะเทคโนโลยีการเกษตร สาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เมื่อวันศุกร์ที่ 22 มิถุนายน 2550 ได้เดินทางไปที่ อบต.เขาไม้แก้วและศูนย์เด็กเล็กเขาไม้แก้ว ตำบลเขาไม้แก้ว อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี ตามโครงการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับโภชนาการสำหรับเด็กก่อนวัยเรียน  โดยช่วงเช้า  เดินทางไปที่บ้านพักอาจารย์ที่พัทยาก่อน แล้วท่านอาจารย์ให้พวกเราขึ้นไปนั่งแลกเปลี่ยนความรู้กันที่ชั้นลอย เหมือนกับได้เปลี่ยนบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ จากห้องเรียนธรรมดา และสไลด์นำเสนอ เป็นห้องเรียนธรรมชาติที่อากาศเย็นสบาย  มีทะเลให้มองเพลิน เพิ่มจินตนาการให้กว้างไกล และสื่อการสอนที่ใช้ก็คือ การพูดคุยของอาจารย์กับนักศึกษาโดยตรง โดยเรื่องที่พูดคุยกันวันนั้น อาจารย์นำหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษเล่มหนึ่ง ชื่อ  “Halo T bone” ซึ่งเนื้อหามีหลากหลายเรื่องจากหลายประเทศในโลกตะวันตก จากนั้นอาจารย์ให้จับคู่กันทำงาน ในหัวข้อของ 5K และ 8K เพื่อนำเสนออาจารย์ โดยอาจารย์ได้สละเวลาเพื่อเป็นที่ปรึกษาให้กับพวกเราถ้าใครมีปัญหาในการค้นคว้าข้อมูล  และการรวบรวมข้อมูลนำเสนอ                 ช่วงบ่าย หลังจากที่ได้รับประทานก๋วยเตี๋ยวเรือที่ร้านคุณป้าอัธยาศัยดีแล้ว เราเดินทางไปที่ อบต. เขาไม้แก้ว เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลทางด้านโภชนาการสำหรับเด็กวัยก่อนเรียน และซักถามข้อสงสัยร่วมกัน โดยท่านอาจารย์ช่วยสนับสนุนให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการซักถามข้อสงสัย เพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกัน จากนั้นไปที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก  ไปพบกับน้องๆ และแจกสมุดระบายสี และสีไม้ให้กับน้องๆ  จากการที่ไปทำโครงการครั้งนี้ พบว่าเด็กยังมีปัญหาทางด้านโภชนาการ คือยังไม่ได้รับสารอาหารเท่าที่ควร  ต้องให้ความรู้ทางด้านโภชนาการกับผู้ปกครองเพิ่มเติมได้  และจะดำเนินการแก้ไขต่อไป  และขอขอบคุณท่านอาจารย์จีระ และพี่ๆทีมงานที่พาเราไปทำโครงการดีๆ และได้ทำประโยชน์ให้กับสังคม

สิ่งที่ได้จากการไปดูงาน  วันที่  22  มิถุนายน  2550

จากการที่ได้ไปดูงาน  ณ สถานรับเลี้ยงเด็กก่อนวัยเรียนองค์การบริหารส่วนตำบลเขาไม้แก้ว  จ.ชลบุรี แล้วนั้น  ได้รับรู้ถึงปัญหาการความรู้ความเข้าในเรื่องโภชนาการของชาวบ้านที่นั้น  ได้เห็นถึงการเลี้ยงดูเด็กซึ่งเป็นเยาวชนของชาติ  ที่จะเติบโตไปเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศรุ่นต่อไป   เด็กเหล่านั้นมีปัญหาอย่างแรกคือการที่พ่อแม่ยากจน  มีอาชีพที่ไม่แน่นอน  อีกทั้งที่หลักๆคือพ่อแม่ของเด็กยังเป็นวัยรุ่น  ซึ่งบางคนยังพูดได้ว่ายังเป็นเยาวชนอยู่  ซึ่งคนในวัยนั้นควรที่จะได้รับการศึกษา  แต่คนเหล่านั้นไม่มีโอกาสที่จะได้รับการศึกษาปัญหาอย่างแรกคือความยากจน  ขาดแคลนทุมทรัพย์ที่จะไปซื้ออาหารเพื่อบำรุงร่างกาย  เพื่อบำรุงสมอง  และขาดความรู้  ซึ่งถ้าเค้าได้รับโอกาสทางการศึกษาแล้วเค้าอาจจะไม่ได้ตั้งท้องตั้งแต่วัยเด็กเค้าอาจมีความรู้ความสารถเพื่อยกระดับฐานะของตัวเอง  ในเรื่องของการเข้าทำงานอาจได้งานในตำแหน่งที่ดีกว่านี้เงินเดือนดีกว่านี้  และส่งผลถึงลูกที่จะเกิดในอนาคตอาจได้รับการดูแลได้รับสารอาหารหรืออาหารที่มีประโยชน์มากกว่านี้  แต่เราคงไม่สามารถไปเปลี่ยนอดีตของเค้าได้  เราเพียงแต่ทำได้คือการไปให้ความรู้ในส่วนที่จะสามารถทำได้  เพื่อเป็นความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการที่เค้าจะดูแลลูกเค้าตามกำลังทรัพย์ตามสถานภาพทางเศรษฐกิจของครอบครัวเค้าที่เค้าสามารถจัดหาอาหารให้ลูกของเค้าได้รับ  อีกทั้งเป็นการให้ความรู้แก่องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นให้ตระหนักถึงความสำคัญของอาหารที่เด็กควรได้รับที่มีผลต่อการพัฒนาการของเด็ก  ซึ่งจริงๆแล้วคนในองค์การส่วนท้องถิ่นส่วนมากไม่ได้ให้ความสนใจเท่าไหร่เกี่ยวกับการพัฒนาเด็กแต่เป็นการให้ความสนใจในการพัฒนาวัตถุ เช่น  ถนนหนทาง  สิ่งปลูกสร้าง ซึ่งที่จริงแล้วการพัฒนาที่สำคัญที่สุดคือ  คนหรือประชากรในความดูแลขององค์การเหล่านั้นให้มีความรู้  การให้การสนับสนุนด้านการศึกษา  อีกทั้งในเมื่อมีการที่จะพัฒนาส่วนท้องถิ่นเองแล้ว  น่าจะมีการพัฒนาถึงระดับประเทศ ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งการพัฒนาเด็กเยาวชนที่กำลังจะเติบโตไปเป็นกำลังในการพัฒนาชาติ สิ่งที่เน้นย้ำคือการให้ความรู้เพื่อพัฒนาตัวเอง คิดค้นเทคโนโลยีและสิ่งต่างๆเพื่อพัฒนาประเทศ ไม่ใช่ที่จะต้องรอพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างชาติ  เพื่อไปเป็นลูกจ้างชาวต่างชาติเสมอไป  แต่นี่ไม่ใช่ให้เราเกลียดต่างชาติ  แต่เด็กไทยควรที่จะฉลาดในการที่เอาข้อดีของต่างชาติมาใช้ไม่ใช่เอามาใช้ทั้งหมดโดยไม่ดูถึงสภาพที่แท้จริงของประเทศ เหมือนผู้ใหญ่ในตอนนี้กำลังทำอยู่  เอาความรู้มาปรับปรุงประยุกต์ใช้แทนการที่เราจะขาดดุลในการซื้อเทคโนโลยีจากต่างประเทศ  เราทุกคนควรที่จะให้ความสนใจในเรื่องการพัฒนาคนโดยเริ่มที่เยาวชนเป็นอย่างยิ่ง  สิ่งที่เริ่มคือ  เริ่มตั้งแต่การกินอยู่ของเยาวชนสารอาหารที่เด็กควรได้รับเพื่อไปบำรุงร่างการและสมอง  และที่สำคัญคือการให้ความรู้  การให้โอกาสแก่เด็กที่ขาดแคลนเพราะในประเทศไทยนั้นยังมีเด็กไทยอีกมากที่ต้องการศึกษาแต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ และโอกาส
รังสิมา ลีลากิจทรัพย์
ดิฉันนางสาวรังสิมา ลีลากิจทรัพย์ นักศึกษาปริญญาโท สาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร เนื่องด้วยเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2550 ทางดิฉันได้เดินทางไปที่  อบต.เขาไม้แก้วและศูนย์เด็กเล็กเขาไม้แก้ว อ.บางละมุง จังหวัดชลบุรี เพื่อจัดทำโครงการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับโภชนาการอาหาร ทั้งนี้ดิฉันได้รับประโยชน์เป็นอย่างมาก และคิดว่าคุ้มค่ากับการที่ต้องเสียโอกาสในการทำงานของตนเอง ทั้งนี้ดิฉันขอกราบขอบพระคุณอาจารย์เป็นอย่างมากที่ได้มอบโอกาสดีดีให้กับดิฉันให้ได้มีส่วนร่วมทำเพื่อชุมชน และได้ทราบว่าปัจจุบันยังมีคนที่ขาดโอกาสและต้องการได้รับโอกาสจากเราอีกเป็นจำนวนมาก  และถ้ามีโอกาสดิฉันก็ยินดีจะทำเพื่อชุมชนอีกในครั้งต่อไป

เรียน อาจารย์ที่เคารพ

                ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณอาจารย์ จีระ ที่ได้มีโครงการดีๆ ให้กับพวกดิฉัน วันที่ 22 ที่ผ่านมา ดิฉันได้ไปเยี่ยมศูนย์เด็กเล็กที่เขาไม้แก้ว จ.ชลบุรี จากที่ได้ไปคุยกับชาวบ้านที่นั้น พบว่าชาวบ้านยังมีคำถามเกี่ยวกับการดูแลเด็กเล็กพอสมควร โดยเฉพาะอาหารการกินของเด็ก ตอนที่อยู่ที่บ้านว่าจะให้เด็กเหล่านั้นรับประทานอะไรดี ก่อนหน้านี้ดิฉันคิดว่าเรื่องเหล่านี้ทุกคนน่าจะรู้ดี แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่เลย และวันนั้นจึงเป็นโอกาสดีที่ได้ทำประโยชน์ให้กับสัมคมบ้าง ถึงมันจะยังเป็นสิ่งเล็กน้อย แต่ถ้ามีการขยายวงกว้างออกไปยังพื้นทั่วประเทศไทยก็จะทำให้ เด็กที่เป็นอนาคตของชาติ มีพัฒนาการที่ดี และต้องขอขอบคุณ พี่นะ ที่ได้ช่วยจัดเตรียมสถานที่ไว้ให้
นายอานนท์ ร่มลำดวน

เรียน ศ.ดร.จิระ  หงส์ลดารมณ์ และพี่ๆทีมงาน Chira Academy ทุกๆคน หลังจากที่เราได้ร่วมกันทำกิจกรรมเพื่อสังคมซึ่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในรูปแบบของสังคมของการเรียนรู้ คือการเข้าไปร่วมกับชุมชนเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลในด้านโภชนาการ  โดยเฉพาะในเด็กเล็กนั้นทำให้พวกผมและเพื่อนๆ  AFIM6 's KMITL ได้เปิดมุมมองใหม่ๆ มากขึ้นซึ่งหลังกลับมาจากโครงการนั้นแล้ว พวกเราก็คิดว่าจะกลับไปทำอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดผลอย่างดีที่สุด เหมือนอย่างที่ทางอาจารย์แนะนำและบอกพวกเราเสมอว่าต้อง get  thing done  ซึ่งนอกจากนี้ทำให้เราเกิดไฟในการที่จะทำอะไรหลายๆอย่างเพื่อสังคมโดยเฉพาะในชนบทที่ยังขาดความรู้ 

อย่างไรก็ดี ผมต้องขอขอบคุณบุคคลดังต่อไปนี้อย่างมากที่ทำให้ผมได้พัฒนาตัวเองไปอีกขั้นในด้านมุมมองและวิธีคิดในเรื่องของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยเฉพาะท่านอาจารย์ จิระ ซึ่งโครงการนี้จะเกิดขึ้นไม่ได้เลยถ้าไม่มีคำชี้แนะของทางอาจารย์ ว่าเราต้องออกไปช่วยเหลือสังคม ซึ่งในฐานะที่เราเป็นบุคคลากรที่มีความรู้ทางด้านวิทยาศาตร์อาหาร  สมควรนำความรู้ที่เรียนไป่ชวยเหลือเด็กเพื่อให้มีทุนมนุษยืที่ดี เพื่อที่จะเป้นทรัพยากรมนุษยืที่ดีต่อไปในอนาคต และขอขอบคุณความช่วยเหลือจากพี่ๆทีมงาน Chirra acdemy ที่คอยอำนวยความสะดวกในตลอดการเดินทางในครั้งนี้ ขอบคุณ ท่าน อบต.เขาไม้แก้วและทีมงานในศูนย์เด็กเล็ก ตลอดจนพ่อแม่ผู้ปกครอง และน้องๆของเขาไม้แก้วทุกท่านที่ ให้การต้อนรับเป็นอย่างดี  และสุดท้ายขอขอบใจเพื่อนๆทุกคนที่ร่วมมือกันในการนำข้อมูลทางด้านโภชนาการที่เกี่ยวกับเด็กไปร่วมกันนำเสนอ และทำกิจกรรมครั้งนี้ให้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี

 

นส.วรนรี พันธุ์สังข์

เรียน ศ.ดร. จีระ  ดิฉันนางสาววรนรี  พันธุสังข์ นักศึกษาปริญญาโท คณะเทคโนโลยีเกษตร สาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

                หลังจากที่พวกเราคณะนักศึกษาปริญญาโท ได้มีโอกาสเรียนนกับท่านอาจารย์ซึ่งปกติจะเป็นการเรียนในห้องโดยเริ่มก่อนการเรียนทุกครั้งด้วยกิจกรรม Morning Coffee แต่เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2550 ท่านได้จัดการเรียนการสอนพิเศษให้แก่พวกเรา คือได้ออกไปนอกสถานที่ที่จ. ชลบุรี ทำให้พวกเราได้เปลี่ยนแปลงบรรยากาศการเรียนนอกจากเรียนที่สถาบันเพียงอย่างเดียว

เริ่มจากในช่วงเช้าเป็นการรวมกลุ่มกันบรรยากาศริมทะเลมีการถาม-ตอบและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันระหว่างพวกเราและท่านอาจารย์ในหลายๆเรื่องเช่นเรื่องเกี่ยวกับงานที่ท่านมอบหมายให้พวกเราทำส่งโดยเป็นการหาข้อมูลและนำเสนอเกี่ยวกับทฤษฎี 8 K , 5 K และ  4 R เลือกหัวข้อที่เราสนใจและแบ่งกลุ่มละ 2 คน จากกการพูดคุยทำให้เห็นมุมมองความคิดเห็นต่างๆ และวิธีการหาข้อมูลในหัวข้อที่เราสนใจ นอกจากนี้มีสิ่งที่ท่านนำเสนอให้พวกเราได้มีโอกาสทราบข้อมูลใหม่ๆอีกทางคือท่านนำเสนอหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งซึ่งมีการนำเสนอและรายละเอียดที่ดี เปิดโลกทัศน์ความเป็นไปและมุมมองที่กว้างเพิ่มเติมนอกจากหนังสือพิมพ์หรือสิ่งพิมพ์ที่เป็นแหล่ งข้อมูลที่พวกเรามักจะได้เห็นโดยทั่วไปซึ่งค่อนข้างจะเป็นประโยชน์อย่างมาก พอเที่ยงทุกคนก็ร่วมทานอาหารด้วยกัน

หลังจากนั้นเราได้เดินทางต่อมุ่งหน้าไปที่อบต.เขาไม้แก้ว จ.ชลบุรี ซึ่งมีท่านปลัดและเจ้าหน้าที่ตลอดจนชาวบ้านจำนวนหนึ่งรอให้การต้อนรับพวกเราอยู่ ซึ่งการที่เราเข้าไปครั้งนี้เป็นการไปจากที่ท่านอาจารย์ได้ให้แง่คิดและสอนในเรื่องของการให้พวกเรารู้จักช่วยกันดูแลแบ่งปันซึ่งกันและกันในสังคมจากสิ่งที่เรามีความรู้อยู่ คือเป็นโครงการเกี่ยวกับการให้ความรู้ในเรื่อง Nutrition พื้นฐานให้แก่ชาวบ้านเพื่อความเข้าใจและพัฒนาเด็กเล็กที่ศูนย์เด็กเล็ก เขาไม้แก้ว จ.ชลบุรี ซึ่งหลังจากที่พวกเราได้นำเสนอให้ความรู้ความเข้าใจเพิ่มเติมให้แก่ชาวบ้านไปนั้นทำให้พวกเราพอได้เป็นถึงปัญหาในพฤติกรรมการบริโภคที่ชาวบ้านดูแลลูกหลานที่ยังไม่ค่อยถูกต้องมากขึ้นตลอดจนตอบข้อซักถามต่างๆเพื่อแก้ไขข้อสงสัยที่เป็นปัญหาของชาวบ้านเพิ่มเติม ต่อจากนั้นก็เข้าไปที่ศูนย์เด็กเล็ก ได้พบกับน้องๆและครูที่ดูแลได้เข้าไปดูความเป็นอยู่และซักถามถึงกิจกรรมและความเป็นไป ปัญหาที่พบของศูนย์และข้อมูลเกี่ยวกับเด็กๆจากครูผู้ดูแลทั้งแนะนำให้ความรู้และแลกเปลี่ยนกันทำให้พวกเราเข้าใจสภาพมากขึ้นและทำให้พวกเราทราบว่ายังมีจุดที่น่าสนใจและต้องแก้ไขอีกหลายเรื่องที่ยังไม่ได้รับการดูแลและเข้าใจทั่วถึงอย่างถูกจุดซึ่งไม่ได้ใช่แต่การดูแลที่ศูนย์เพียงอย่างเดียวแต่รวมไปถึงผู้ปกครองด้วยที่ยังเข้าใจไม่ถูกต้องในบางเรื่อง ซึ่งการไปของพวกเราในครั้งนี้น่าจะเป็นประโยชน์ให้แก่ทั้งเด็กเล็กและชาวบ้านเพิ่มขึ้นระดับหนึ่ง ต้องขอขอบคุณท่านอาจารย์ที่ได้ให้โอกาสและมุมมองอีกด้านหนึ่งที่บางครั้งเราอาจจะมองข้ามหรือยังดูแลซึ่งกันและกันยังไม่ทั่วถึงกันในสังคมจากการที่เราได้ไปศึกษานอกสถานที่ในครั้งนี้
กราบเรียน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมณ์ ดิฉัน นางสาวนันทกา บุญสุข นักศึกษาปริญญาโท ภาควิชาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง จากการที่ดิฉันได้เรียนในวันที่ 1 กรกฎาคม 2550 เกี่ยวกับ Innovation ทำให้ดิฉันได้ทราบว่า Innovation (นวัตกรรม) คือ การสร้างสิ่งใหม่ๆ ที่ไม่เคยมีมาก่อน โดยใช้ความรู้ การรวบรวม การผสมผสาน บวกกับความคิดสร้างสรรค์ สร้างสิ่งที่มีประโยชน์กับเศรษฐกิจและสังคม ถ้าสิ่งใหม่ๆที่เกิดขึ้นนั้นไม่ได้สร้างประโยชน์ จะเป็นแค่เพียง สิ่งประดิษฐ์เท่านั้น นวัตกรรมอาจเป็นการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีที่มีอยู่แล้ว และทำให้สิ่งที่มีอยู่ดีขึ้น หรือ เป็นการสร้างสิ่งที่ไม่เคยมีมาก่อนในโลก แล้วนำมาแทนที่สิ่งที่มีอยู่เดิมก็ได้ ความสำคัญของนวัตกรรมที่เห็นได้ชัด คือ การลดช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจน ทำให้คุณภาพชีวิตมนุษย์ดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นด้านการศึกษาและวัฒนธรรม เบ็ดตกปลา (ทฤษฏีพึ่งตนเอง) เกี่ยวข้องกับนวัตกรรม เนื่องจาก เบ็ดตกปลาทำให้เกิดนวัตกรรม การที่เป็นเช่นนี้เพราะ นวัตกรรมใหม่ๆจะเกิดขึ้นไม่ได้เลยถ้ามนุษย์ไม่รู้จักแสวงหาความรู้รอบตัวอยู่เสมอ การที่มนุษย์เป็นคนใฝ่รู้ ความรู้ที่เราได้รับมานั้น จะจุดประกายความคิดสร้างสรรค์และกลายมาเป็นนวัตกรรม ดังข้อความด้านล่าง ความรู้อย่างเดียว = ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม, ความคิดสร้างสรรค์อย่างเดียว  =  การเพ้อฝัน, ความรู้+ความคิดสร้างสรรค์  =  เกิดนวัตกรรม ทรัพยากรมนุษย์เกี่ยวข้องกับนวัตกรรม เนื่องจาก มนุษย์เป็นผู้คิด โดยต้องคิดอย่างเป็นระบบ (System thinking) และบริหารจัดการ (Get thing done) เพื่อให้เกิดนวัตกรรม โดนมนุษย์ต้องมี ทฤษฏี 3 C คือ Customer ต้องนึกถึงความต้องการของลูกค้า (Demand)  มากกว่า ความต้องการขายสินค้า (Supply)Change มนุษย์ต้องยอมรับการเปลี่ยนแปลง และ Command & Control มนุษย์ต้องไม่บ้าอำนาจ รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น จึงจะทำให้เกิดนวัตกรรมสรุป มนุษย์ต้องมีการเปิดโลกทัศน์ให้กว้าง รู้ข้ามสาร รวมทั้งมีความคิดสร้างสรรค์ และทำงานเป็นทีม จึงจะก่อให้เกิดนวัตกรรม ที่เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจ สังคมและประเทศชาติ

           เรียน  อาจารย์   จีระ  หงสลดารมภ์

ผม  นาย  วรพจน์   สู่เสน    นักศึกษาปริญญาโท  คณะเทคโนโลยีการเกษตร  สาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร  สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

เมื่อวันอาทิตย์ที่ 1 ก.ค. 2550 ที่ผ่านมา อ.จีระได้พูดถึงเรื่อง นวัตกรรม ( innovation ) และได้ตั้งคำถามไว้ 3 ข้อ คือ

1.นวัตกรรมคืออะไร                                                     

2.เกี่ยวข้องกับเบ็ดตกปลาที่อาจารย์พูดให้กลุ่มอบต.ที่โคราชฟังอย่างไร

3.เกี่ยวข้องกับทรัพยากรมนุษย์อย่างไร

 

Ans

1. นวัตกรรมคือ การกระทำสิ่งใหม่ๆ ทั้งสิ่งประดิษฐ์และแนวคิด ที่มีการใช้ความรู้และความคิดสร้างสรรค์ สามารถนำไปใช้ได้จริง มีประโยชน์กับเศรษฐกิจและสังคม ( จะเน้นย้ำการนำไปใช้ได้จริงๆ อาจจะเป็นด้านธุรกิจหรือสังคมก็ได้ )

2.เกี่ยวข้องกับเบ็ดตกปลาอย่างไร    เบ็ดตกปลาในความเข้าใจของผม คือการเรียนรู้ไม่มีที่สิ้นสุด และนำความรู้เหล่านั้นมาต่อยอดสร้างมูลค่าเพิ่ม ( Add Value )  แน่นอนว่า "นวัตกรรม" ย่อมเกิดขึ้นจากการเรียนรู้ที่ไม่สิ้นสุดเหมือนกัน  กล่าวคือการมีเบ็ดตกปลามีโอกาสทำให้เกิดนวัตกรรมได้ 

3. เกี่ยวกับทรัพยากรมนุษย์อย่างไร   ทรัพยากรมนุษย์ที่ดีเป็นกลุ่มที่มีศักยภาพในการก่อให้เกิดนวัตกรรมมากที่สุด       

 การก่อให้เกิด นวัตกรรม ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ไม่ใช่เรื่องยากจนเกินไป  ทุกคนทำได้ ถ้าตั้งใจและมองภาพรวมให้กว้างขึ้น เรียนหลายๆศาสตร์ อย่างที่อ.จีระเคยสอน และรู้จักคิดสร้างโอกาส+ลงมือทำ    

นวัตกรรมอยู่ไม่ไกลเกินเอื้อมครับ

นายอานนท์ ร่มลำดวน
เรียน ศ.ดร.จิระ หงส์ลดารมส์  และทีมงาน Chira Academy  ทุกๆท่าน  ก่อนอื่นผมขออนุญาติแสดงความยินดีกับท่าน อาจารย์จิระ  ที่เพิ่งได้รับรางวัล Thailand Top 100 HR เมื่อวันศุกร์ (29 มิ.ย 50 ) ที่ผ่านมาและเมื่อวันวันอาทิตย์ ( 1 ก.ค 50 ) ท่านอาจารย์ได้อธิบายและเปิดเทปในการพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้กับท่าน ศุภชัย  ถึงเรื่อง Innovation  ( นวัตกรรม ) ซึ่งจากการที่ผมได้รับฟังทำให้ผมได้รับทราบแนวความคิดในเรื่องของการพัฒนา นวัตกรรม ว่าความคิดใหม่ๆนั้นเป็นสิ่งที่ดีแต่หากว่าในการคิดนั้นไม่มีการกระทำที่จริงจังและอย่างต่อเนื่องนั้น ก็ไม่อาจก่อให้เกิดนวัตกรรมใหม่ได้  ทำให้ผมมาย้อนดูตนเองและประเทศไทยของเราโดยเฉพาะวงการอุตสาหกรรมอาหารที่ผมได้จบและทำงานโดยเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านแล้วว่าบ้านเราได้มีการพัฒนา นวัตกรรมใหม่สำหรับอาหารแล้วหรือยัง ??  ยกตัวอย่างเช่นเวียตนาม  : เนื่องจากประเทศเวียตนามมีอัตราการเติบโตจากการพัฒนาในประเทศอย่างมากทำให้ผู้คนมีรายได้ต่อหัวมากขึ้น สะท้อนให้เห็นว่าคนจะมีกำลังในการซื้อมากขึ้น แนวโน้มนวัตกรรมอาหารจะเป็นการนำผลิตภัณฑ์อาหารดั้งเดิมที่ผู้บริโภคนิยม  มาพัฒนาให้อยู่ในรูปผลิตภัณฑ์สะดวกใช้ ผลิตภัณฑ์อาหารปลอดภัย และผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพสิงคโปร์  :  รัฐบาลมีการส่งเสริมสุขภาพให้กับประชาชน ดังนั้นนวัตกรรมอาหารในประเทศสิงคโปร์คือ ผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพรวมถึงอาหารที่เป็นออร์แกนิค ซึ่งในปัจจุบันห้างสรรพสินค้าชั้นนำของสิงคโปร์มีการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ดังกล่าวออกมาอย่างแพร่หลายและหลากหลายรูปแบบมาเลเซีย  :  การสร้างสรรค์นวัตกรมมอาหารจะเป็นการนำความฝัน ประสบการณ์ และความต้องการของผู้บริโภคมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีมูลค่าสูงขึ้น และเมื่อมีการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆเกิดขึ้นทางรัฐบาลจะผลักดันให้ผู้ประกอบการดำเนินการจดสิทธิบัตรด้วย ซึ่งในนวัตกรรมของประเทศมาเลเซียคือ ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ ที่เห็นได้ชัดคือกาปฟสำเร็จรูปซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้บริโภคของชาวมาเลเซียนิยมบริโภคมากที่สุดยังเป็นกาแฟเพื่อสุขภาพ ฟิลิปปินส์  :  ใช้แนวโน้มตลาดหรือความต้องการของผู้บริโภค เป็นปัจจัยที่สำคัญในการสร้างสรรค์นวัตกรรม โดยมีทิศทางคือ ผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพ ซึ่งจะแอบแผงอยู่ในทุกส่วนของผลิตภัณฑ์ เช่น ส่วนประกอบอาหาร บรรจุภัณฑ์ และเรื่องขนาดของผลิตภัณฑ์ กล่าวคือมีขนาดเล็กๆเพื่อให้การบริโภคพอดีคำ  ส่วนแนวโน้มอาหารที่เป็น Super size จะลดลงเพื่องจากจะทำให้ผู้บริโภครับประทานมากเกินปกติและก่อให้เกิดโรคอ้วนตามมาอินโดนีเซีย :  เป็นอาหารเพื่อสุขภาพ เช่นเดียวกับระเทศอื่นๆแต่ในส่วนที่น่าสนใจคือการเน้นการนำอาหารพื้นเมือง มาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ให้มีความหลากหลายเหมาะกับสไตล์การดำรงชีวิต  เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในประเทศมากขึ้น นั่นก็คือ เทมเป้  ( Tempe ) = อาหารหมักจากถั่วเหลืองด้วยเชื้อรา Rhizopus Oligosporus ที่มีคุณค่าสารอาหารสูงซึ่งเป็นที่รู้จักกันและชื่นชอบในหลายๆประเทศ            ซึ่งอาหารเพื่อสุขภาพนั้นนับว่าเป็นแนวโน้มและนวัตกรรมอาหารของทุกๆประเทศ  แต่ที่สำคัญคือในการพัฒนาหรือสร้างสรรค์นวัตกรรมให้ก้าวล้ำหน้าคู่แข่ง  ซึ่งเทคโนโลยีที่น่าจับตามองนั่นก็คือ  นาโนเทคโนโลยี  มาใช้นวัตกรรมอาหารหรือเทคโนโลยีอาหารเช่นการนำเอนไซค์มาใช้  , การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่สามารถรักษาคุณประโยชน์ของสารอาหารจนถึงมือผู้บริโภค เป็นต้น โดยควรเน้นไปที่ผลิตภัณฑ์เกษตร เพราะเนื่องจากประเทศไทยเรานั้นมีสินค้าที่เป็นสินค้าเกษตรที่ถือว่ามีคุณภาพดีมาก ยกตัวอย่างเช่น ที่วังน้ำเย็น  มีผักที่สดและสะอาดมาก ซึ่งทางอาจารย์และพวกเรานักศึกษาปริญญาโทลาดกระบัง กำลังวางแผนกันในเรื่องของการเข้าไปศึกษาข้อมูลเพื่อให้เกิดวัตกรรมใหม่ๆทางด้านอาหาร อย่างน้อยเราอาจจะมีส่วนร่วมในการกระตุ้นและอาจก่อให้เกิดการร่วมกันสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ในประเทศไทยที่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ทันในยุคที่เกิดนวัตกรรมอาหารเพื่อสุขภาพเช่นทุกวันนี้"ขอขอบคุณข้อมูลความรู้บางส่วนจากรายงานของสถาบันอาหาร" 

Innovation 

- นวัตกรรมคือะไร   

Ans นวัตกรรม คือ สิ่งใหม่ๆ ที่เกิดจากการคิดค้นของมนุษย์เพื่อพัฒนาชีวิต,สังคม และเศรษฐกิจ ให้ดีขึ้นซึ่งสิ่งสำคัญที่สุด คือ จะต้องนำมาใช้ประโยชน์หรือก่อให้เกิดประโยชน์ได้จริง ไม่ใช่เป็นเพียงแค่ความคิดเท่านั้น 

 -  เกี่ยวข้องกับเบ็ดตกปลาและทรัพยากรมนุษย์อย่างไรอย่างไร

Ans เบ็ดตกปลา เป็นเครื่องมือที่ชาวประมงสามารถที่จะใช้ในการทำมาหากินได้ตลอดชีวิต ดังนั้นการที่จะช่วยเหลือชาวประมงไม่ใช่การเอาปลามาให้แต่เป็นการให้เป็ดตกปลาที่แข็งแรงซึ่งเขาจะใช้ในการทำมาหากินได้ตลอดชีวิต เปรียบได้กับการสร้างทรัพยากรมนุษย์ให้มีทุนมนุษย์ครบในทุกๆด้าน (8K) โดยต้องสร้างนิสัยการเรียนรู้ตลอดชีวิต (4L) เพราะปัจจุบันโลกมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ดังนั้นนอกจากจะมีความรู้ความสามารถแล้วสิ่งสำคัญที่ทรัพยากรมนุษย์จะต้องมีคือ ความสามารถในการเรียนรู้ที่จะปรับตัวให้เข้ากับโลกที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

           ดังนั้น กล่าวโดยสรุปก็คือ นวัตกรรมถือเป็นทุนอย่างหนึ่งที่ทรัพยากรมนุษย์ในยุคปัจจุบันจำเป็นต้องมีเพื่อใช้เป็นเครื่องมือรับกับความเปลี่ยนแปลงของโลกสมัยใหม่ให้สามารถที่จะอยู่อย่างยั่งยืนได้

                กราบสวัสดีท่านอาจารย์จีระ และพี่ทีมงานทุกท่านความรู้ที่ได้จากการเรียนในวันอาทิตย์ที่ผ่าน ได้เรียนรู้ในเรื่อง Innovation และได้มีการพูดในชั้นเรียนถึงเรื่องเบ็ดตกปลา (ทฤษฎีพึ่งพาตนเอง) จึงขอสรุปตามความเข้าใจของตัวเองว่า Innovation คืออะไร, เกี่ยวข้องกับเบ็ดตกปลาอย่างไร และเกี่ยวข้องกับทรัพยากรมนุษย์เรื่องใดบ้างInnovation เป็นการนำเอาแนวความคิดใหม่ วิธีการใหม่ๆ มาปฏิบัติหลังจากที่ได้ผ่านการทดลองและได้รับการพัฒนามาเป็นลำดับแล้ว โดยเริ่มมาจากการคิดค้นและพัฒนา ซึ่งอาจมีการทดลองปฏิบัติก่อน ถึงแม้ว่า เมื่อนำไปปฏิบัติจริงแล้วเกิดความแตกต่างจากเดิมที่เคยปฏิบัติมาก่อนหน้าก็ตาม นอกจากนี้ "นวัตกรรม" ยังหมายความรวมไปถึงการทำใหม่ขึ้นอีกครั้ง โดยการปรับปรุงสิ่งเก่าให้ใหม่ขึ้นมาและมีการพัฒนาศักยภาพของบุคลากร หน่วยงาน ตลอดจนองค์กรนั้นๆ ซึ่งนวัตกรรมไม่ใช่การขจัดหรือล้มล้างสิ่งเก่าให้หมดไปแต่จะเป็นการปรับปรุงเสริมแต่งและพัฒนา เพื่อทำให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ                 เบ็ดตกปลา เกี่ยวกับ Innovation อย่างไร??? เบ็ดตกปลา หรือก็คือ ทฤษฏีพึ่งพาตนเอง ส่วน Innovation ที่เป็นเสมือน เข็มชี้นำ เพราะการทำในสิ่งที่แตกต่างจากคนอื่น โดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ (Change) ที่เกิดขึ้นรอบตัวเราให้กลายมาเป็นโอกาส (Opportunity) และถ่ายทอดไปสู่แนวความคิดใหม่ที่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเอง และ สังคม แต่จะต้องอาศัยความรู้ และการเรียนรู้ใหม่ๆ ที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จากความคิดของคนนำไปสู่การค้นหาแนวคิดใหม่และการใช้ประสบการณ์เข้ามาเสริม บวกกับการที่บุคคลแต่ละคนจะมีความรู้ ความสามารถในเรื่องที่แตกต่างกัน เมื่อบุคคลเหล่านั้นแลกเปลี่ยนความรู้แบ่งปันข่าวสารข้อมูลระหว่างกัน มีการพัฒนาความรู้ด้วยกันอย่างต่อเนื่อง โดยการใช้เทคโนโลยี อย่าง Internet เป็นตัวเชื่อม แล้วนำความรู้เหล่านั้นมาประกอบกัน ก็จะสามารถทำให้เกิดกรอบแนวความคิดสร้างสรรค์อย่างได้รวดเร็ว เกิดเป็นองค์ความรู้ สร้างความเข้มแข็งทางด้านการวิจัยและพัฒนาโดยเฉพาะการพัฒนาเทคโนโลยี และการประยุกต์ใช้ประโยชน์ในภาคการผลิต การใช้เทคโนโลยีในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และการยกระดับคุณภาพสินค้า หรือการพัฒนาทางเทคโนโลยีเพื่อต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น และคุณภาพชีวิตของคนประเทศ                 แนวทางในการพัฒนาระบบวิจัยที่ตอบสนองปัญหาทั้งในภาคเศรษฐกิจ และสังคมของประเทศ จำเป็นต้องอาศัยการพึ่งพาตัวเอง (เบ็ดตกปลา) และนวัตกรรม เป็นต้นกำลัง เพื่อที่จะบูรณาการองค์ประกอบทุกด้านของประเทศ โดยเฉพาะกลไก  ทางสถาบันการเงิน หน่วยงานด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี สถาบันการศึกษา และฝึกอบรม หรือสถาบันชุมชน ให้สามารถเชื่อมโยงเป็นเครือข่าย ที่มีพลังเพียงพอที่จะขับเคลื่อนประเทศ ให้มีศักยภาพในการแข่งขันและการพัฒนาที่ยั่งยืน
รสสุคนธ์ น้อยจินดา

              กราบเรียนอาจารย์จีระ หงส์ลดารมภ์ ดิฉัน นางสาวรสสคนธ์ น้อยจินดา นักศึกษาปริญญาโท สาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร สถาบันพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ก่อนอื่นต้องกราบขออภัยอาจารย์และท่านผู้เข้าชม Blog ทุกท่าน เนื่องจากคราวที่แล้วดิฉันเขียนชื่อหนังสือพิมพ์ผิด ขอแก้ไขเป็น Herald tribune ค่ะ จากการที่ได้เรียนกับอาจารย์ในวันที่ 1 กรกฎาคม 2550 บรรยากาศในห้องก็ดีขึ้นกว่าครั้งแรกๆ เนื่องจากพวกเราเริ่มเกร็งน้อยลง และเข้าใจวิธีการสอนของอาจารย์มากขึ้น ครั้งนี้ท่านอาจารย์ให้เราฟังบทสัมภาษณ์ของคุณศุภชัย หล่อโลหการ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ซึ่งเป็นบทสัมภาษณ์เกี่ยวกับเรื่องนวัตกรรม มีหัวข้อหลัก 3 ข้อ คือ คำจำกัดความของนวัตกรรม, ความสำคัญของนวัตกรรม และ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อช่วยเสริมนวัตกรรม

              คำจัดกัดความของนวัตกรรม(Innovation) คือ การกระทำสิ่งใหม่ๆ ที่ได้จากการใช้ความรู้และความคิดสร้างสรรค์   อาจเป็นสิ่งประดิษฐ์ใหม่ แนวความคิด หรือการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงในสิ่งเดิมให้ดีขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น เหมาะแก่การใช้สอย  ซึ่งอาจจะใช้เทคโนโลยีเป็นกลไกสำคัญในการกระทำสิ่งใหม่ๆ นั้น และสิ่งนั้นต้องมีประโยชน์ต่อองค์กร หรือสังคม  อีกทั้งสามารถนำไปปฏิบัติจริงให้เป็นผลสำเร็จ เปรียบเสมือนเบ็ดตกปลาอันดี คือสามารถพึ่งตนเองได้ ใฝ่หาความรู้ มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นจากคนอื่นๆ  จนได้ข้อสรุปที่ดี่สุด   และนำความรู้เหล่านั้นไปใช้ให้เกิดประโยชน์ นวัตกรรมก็เหมือนเป็นทุนชั้นดีที่คนที่มีเบ็ดตกปลาอยากนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเอง และองค์กรของตน

              นวัตกรรม (Innovation) เป็นทุนข้อหนึ่งในทฤษฎี 5K ของท่านอาจารย์ ที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง ในยุคโลกาภิวัตน์นี้ ที่มีการแข่งขันกันทางด้านธุรกิจเป็นอย่างมาก  ทุกองค์กรต่างก็หาจุดเด่นของธุรกิจของตน  ผลิตภัณฑ์ใหม่ หรือแนวความคิดใหม่ๆ  ที่น่าจะเป็นที่สนใจ และยอมรับจากผู้บริโภค เป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ธุรกิจดำเนินต่อไปได้  และตัวแทนที่จะทำให้เกิดสิ่งเหล่านี้ขึ้นมาได้ คือ  ทรัพยากรมนุษย์ เพราะต่อให้องค์กรนั้นมีเทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัยมากมาย แต่ขาดมนุษย์มาบริหารจัดการให้เทคโนโลยีเหล่านั้นเกิดประโยชน์ ใช้สอยได้จริง  ก็คงไม่มีประโยชน์   ดั้งนั้น ทุกองค์กรจงเร่งพัฒนาให้ทรัพยากรมนุษย์ภายในองค์กรมีเบ็ดตกปลาเป็นของตนเอง และเบ็ดตกปลาเหล่านั้นก็จะช่วยให้ธุรกิจหยัดยืนอยู่ได้อย่างไม่เป็นรองใคร อีกทั้งเพิ่มการพัฒนาอย่างยังยืนเข้าไปด้วย เพื่อความสำเร็จอย่างยั่งยืนเช่นกัน

นางสาวรังสิมา ลีลากิจทรัพย์
                ดิฉันนางสาวรังสิมา ลีลากิจทรัพย์ รหัสนักศึกษา 50066203  ปริญญาโท คณะเทคโนโลยีการเกษตร สาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร ปัจจุบันนี้โลกเราเป็นโลกในยุคโลกาภิวัฒน์ ซึ่งจะมีการเกิดขึ้นของนวตกรรมใหม่ๆ มากมาย อาทิเช่น Nanotechnology ฯลฯ  ซึ่งในความหมายของนวตกรรมนั้นหมายถึง สิ่งใหม่ที่เกิดขึ้นจากการใช้ความรู้ ความคิด วิทยาการ รวมทั้งความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งทำให้เกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศชาติ และจากความหมายข้างต้นจะเกี่ยวข้องกับทฤษฎีเบ็ดตกปลาคือ ในทฤษฎีเบ็ดตกปลานี้จะสอนให้เรารู้จัดพึ่งพาตนเอง ใฝ่หาความรู้ใส่ตัวเสมอ ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งกับการคิดสร้างสรรค์เพื่อให้เกิดนวตกรรมใหม่ นวตกรรมใหม่นั้นจะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยทั้งความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ความรู้รอบตัวเพื่อให้ก้าวทันโลกยุคใหม่ รวมทั้งรู้จักการบริหารจัดการและตัดสินใจในการบริหารงานแต่ทั้งนี้ต้องรู้จักรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นด้วย ฯลฯ                และจะพบอีกว่านวตกรรมกับทรัพยากรมนุษย์มีความสัมพันธ์กันอย่างมากคือ ถึงแม้ว่าจะมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์เพียงใด งบประมาณมากมาย แต่ในทางปฏิบัติถ้าไม่มีทรัพยากรมนุษย์ที่ดีมาทำหน้าที่ในการบริหารจัดการและตัดสินใจในการบริหารงานรวมถึงการทำหน้าที่ในการควบคุมกระบวนการดำเนินงาน ก็ไม่สามารถที่จะทำให้เกิดเป็นนวตกรรมขึ้นมาได้ สุดท้ายเมื่อเกิดเป็นนวตกรรมขึ้นมาแล้วทั้งด้านเทคโนโลยีก็มีความพร้อม การวิจัยก็มีความพร้อม ฯลฯ แต่ผู้ใช้งานยังไม่มีการพัฒนาให้เป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีฝีมือ ก็จะทำให้ไม่สามารถใช้นวตกรรมที่มีอยู่ให้เกิดคุณค่าและเกิดประโยชน์ได้
กราบเรียน ท่านอาจารย์ ศ. ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์

                      ดิฉัน น.ส. สุภาภรณ์  นำรุ่งโรจน์ นักศึกษาปริญญาโทสาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร  สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง รหัสนักศึกษา 50066215 

                  นวัตกรรม(Innovation)  คือ สิ่งใหม่ที่ต้องใช้ความรู้และความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งต้องมีประโยชน์ต่อสังคมแล้วนำมาทำขึ้นเป็นแผนธุรกิจ  เช่นช่วยลดช่องว่างระหว่างคนรวยและคนจน  ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง2 ด้าน คือ นวัตกรรมด้านเศรษฐกิจและนวัตกรรมด้านสังคม เกิดขึ้น  โดยการที่มีนวัตกรรมใหม่ๆขึ้นมาได้นั้นต้องได้รับความรู้ใหม่แล้วนำมาทำเพื่อให้เกิดประโยชน์ได้ โดยใช้ความคิดสร้างสรรค์มาทำให้เกิดขึ้นเป็นโครงการขึ้นมาได้

                 ความสำคัญของ Innovation  ก็คือ ต้องพัฒนาอย่างต่องเนื่องห้ามหยุดนิ่งต้องแสวงหาธุรกิจใหม่ๆโดยต้องมีเทคนิคใหม่ๆที่จะแข่งขันกับผู้อื่นได้ ต้องควบคู่ไปกับวัฒนธรรม โดยการวิจัยเทคโนโลยีไปสู่นวัตกรรมได้นั้น ต้องมาจาก system thinking ซึ่งนวัตกรรมนั้น อาจทำขึ้นมาแล้วไม่สำเร็จก็ได้

                   การพัฒนาทรัพยากรบุคคล ได้นั้นต้องอาศัยการจัดการในเรื่องความสามารถของบุคคลากร, การบริหารผู้ใต้บังคับบัญชา, การพูดคุยกับลูกค้าให้เข้าใจ เป็นต้น และในองค์กรส่วนใหญ่ก็ยังขาดในเรื่อง 3 C ดังนี้

1. change คือคนไทยเราไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง ชอบยึดติดกับรูปแบบเดิมๆลักษณะการทำงานแบบเดิมๆ

2.  customer คือ คนไทยยังไม่เน้น ความต้องการลูกค้าในเรื่องบริการเป็นหลัก

3.  command & control คือ คนเราต้องไม่บ้าอำนาจ ต้องรู้จักรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นแล้วจะทำให้เกิดการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆเกิดขึ้นได้                ดังนั้น นวัตกรรม(Innovation) ต้องใช้ความรู้หลายๆด้าน ถึงจะทำให้ชิ้นงานนั้นๆประสบความสำเร็จได้

เรียนท่านอาจารย์จีระ ที่เคารพ

                   Innovation หรือ นวัตกรรม ตามที่ ดร.ศุภชัย หล่อโลหการ  /  ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ได้ให้สัมภาษณ์ ไว้สรุปได้ดังนี้

1.Innovation / นวัตกรรม คืออะไร

Innovation หรือ นวัตกรรม มาจาก นวัตซึ่งหมายถึง สิ่งใหม่  และ กรรม ซึ่งหมายถึง การกระทำ โดยเมื่อรวมกันแล้วเป็น นวัตกรรม จะหมายถึง การทำสิ่งใหม่เพื่อให้เกิดรูปแบบของธุรกิจใหม่ ซึ่งจะต้องใช้ความรู้ ,ความคิดและความสร้างสรรค์  และจะต้องมีประโยชน์ทางเศรษฐกิจด้วย ดังนั้นนวัตกรรมจะเน้นในเรื่องของการใช้ความรู้ มากกว่า การสร้าง ซึ่งจะเห็นว่า หากมีการสร้างสิ่งใดขึ้นมาแล้วไม่ได้นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ สิ่งนั้นจะไม่เรียก นวัตกรรม แต่จะเรียกว่าเป็นสิ่งประดิษฐ์แทน

                นวัตกรรม มี 2 แบบ ได้แก่ นวัตกรรมทางเศรษกิจ และนวัตกรรมทางสังคม  ซึ่งในการทำนวัตกรรม ไม่ได้มุ่งเน้นเรื่องธุรกิจเพียงด้านเดียว แต่จะต้องให้ความสำคัญต่อด้านสังคม และ วัฒนธรรมด้วย ต้องควบคู่กันไป จึงจะทำให้นวัตกรรมนั้นประสบความสำเร็จได้

ปัญหาของการทำนวัตกรรมมี 3 ประการ ได้แก่ การไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลง(Change),  ไม่สนใจความต้องการของลูกค้า(Customer)  และไม่ยอมรับความคิดเห็นของคนอื่น (Command and Control)

ทางแก้ของปัญหาทั้งสามก็คือ 1.ให้มีเตรียมความพร้อมที่จะรับการเปลี่ยนแปลงเสมอ 2.ให้มีความสนใจตลาดหรือสิ่งที่ลูกค้าต้องการเป็นอันดับแรก 3.ต้องเปิดใจรับฟังความคิดเห็นของคืนอื่นให้มากขึ้น 

2.Innovation /นวัตกรรม เกี่ยวข้องกับเบ็ดตกปลาอย่างไร

                นวัตกรรม เป็นการคิดค้นสิ่งใหม่ๆที่เป็นประโยชน์ทั้งต่อเศรษฐกิจและสังคม จำเป็นที่จะต้องอาศัยเบ็ดตกปลาของแต่ละคน เพื่อให้เกิดนวัตกรรมที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติในเวลาเดียวกันด้วย ทั้งนี้เนื่องจากเบ็ดตกปลาเป็นหลักการพึ่งตนเองของแต่ละคน ซึ่งการที่จะพึ่งตนเองได้นั้นหมายความว่าแต่ละคนจะต้องเรียนรู้สิ่งใหม่ๆต่างๆที่เกิดขึ้นโดยที่จะต้องมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างบุคคลเพื่อสรุปเป็นความคิดรวมอันจะทำให้ได้คำตอบที่ดีมากยิ่งขึ้นในการที่จะทำให้นวัตกรรมที่คิดค้นขึ้นเกิดประโยชน์สูงสุดอันเป็นผลทำให้นวัตกรรมนั้นคงอยู่ได้นานและเป็นที่ยอมรับ

 

3.Innovation / นวัตกรรมเกี่ยวข้องกับทรัพยากรมนุษย์ในเรื่องใด

                เนื่องจาก นวัตกรรม เป็นการกระทำสิ่งใหม่ๆที่ต้องใช้ความรู้,ความคิดและความสร้างสรรค์ ดังนั้นการที่จะทำได้เกิดสิ่งดังกล่าวที่เรียกว่า นวัตกรรม ได้จะต้องอาศัยทรัพยากรมนุษย์ในการคิดค้นและจัดการเท่านั้น  หากไม่มีทรัพยากรมนุษย์แล้วนวัตกรรมจะไม่สามารถเกิดขึ้นได้   เมื่อคิดค้นขึ้นมาแล้วจะต้องนำมาจัดการนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อไปซึ่งจะจำเป็นที่จะต้องให้มนุษย์เป็นผู้จัดการอีกเช่นกัน ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่า นวัตกรรมและทรัพยากรมนุษย์ไม่สามารถแยกจากกันได้  (การที่จะมีนวัตกรรมได้จะต้องมีทรัพยากรมนุษย์ และทรัพยากรมนุษย์จะต้องมีการคิดค้นและสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆเสมอ ) จะต้องอยู่คู่กันเสมอ

     เรียน อาจารย์จีระ  หงส์ลดารมภ์  และทีมงาน

     เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา อาจารย์จีระได้มีโอกาสได้ดูเทปการพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างอาจารย์จีระกับท่าน ศุภชัย  ถึงเรื่อง Innovation ( นวัตกรรม ) และให้นำมาตอบคำถาม ซึ่งผมฟังและรวบรวมข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อตอบคำถามแล้วได้ดังต่อไปนี้

   Innovation หมายถึง  สิ่งใหม่ที่เกิดจากการใช้ความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ มีประโยชน์ต่อสังคม สามารถซื้อหาเพื่อนำไปใช้ได้จริง

      เบ็ดตกปลา คือ เครื่องมือในการนำไปใช้ประโยชน์ในการทำงานและดำเนินชีวิต การที่จะมีเบ็ดตกปลาได้นั้นเกิดจากการสั่งสมองค์ความรู้ และการใฝ่รู้ เรื่องที่ได้ฟังเกี่ยวกับเบ็ดตกปลา ก็คือถ้าเรามีองค์ความรู้ด้าน นวัตกรรมดีก็อาจก่อให้เกิดสิ่งที่เป็นสิ่งใหม่ๆ ที่ก่อให้เกิดประโยชน์ได้

      เกี่ยวข้องกับทรัพยากรมนุษย์ กล่าวคือ คนเป็นผู้คิดค้น สร้างสรรค์สิ่งต่างๆบนโลก นวัตกรรมก็เช่นกัน เกิดจากการคิดสร้างสรรค์ กล้าออกนอกกรอบเดิมๆโดยใช้องค์ความรู้ตามระบบ ที่สั่งสมมาใช้ในการพัฒนาจนเกิดเป็นสิ่งใหม่ เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ต่อคน ซึ่งอาจจะนำทฤษฎี 3 วงกลม คือ คำนึงถึงลูกค้า (customer) ว่าต้องการสิ่งใดและพัฒนาสินค้าหรือบริการตามความต้องการของลูกค้าให้มากที่สุด อย่างที่สองต้องยอมรับการเปลี่ยนแปลง(change) และไหลตามกระแสไปให้ได้  และสิ่งสุดท้ายการสั่งการ และควบคุม (Command &Control)ควรเอาใจเขามาใส่ใจเราคิดถึงใจลูกน้อง ไม่ใช้อำนาจกดขี่และสมควรให้แสดงความคิดเห็น และนำความคิดเห็นที่ดีของผู้อื่นมาปรับใช้และควบคุมให้ดีเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์กร

    การเกิดนวัตกรรมใหม่ไม่สามารถสิ่งเกิดขึ้นได้จากความคิดเพ้อฝันอย่างเดียว  ต้องมีความรู้ที่เป็นระบบ บวกกับความคิดสร้างสรรค์และการลงมือปฏิบัติอย่างจริงจัง โดยคำนึงถึงประโยชน์ของผู้ที่ได้ใช้และผู้ที่ได้รับผลกระทบจากนวัตกรรมนั้นๆด้วย จึงจะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อสังคม
เรียนท่านอาจารย์จีระ หงส์ลดารมภ์ ดิฉันนางสาววสพร บุญสุข นักศึกษาปริญญาโท คณะเทคโนโลยีการเกษตร สาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

                ขอแสดงความยินดีกับท่านอาจาย์จีระ ที่ได้รับรางวัล Thailand Top 100 HR เมื่อวันศุกร์ที่ 29 มิถุนายน 2550 ที่ผ่านมา และดิฉันได้มีโอกาสไปแสดงความยินดีกับงานครั้งนี้ด้วย จัดที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อไปถึงที่งานได้เจอกับนักข่าว และผู้บริหารที่มีความรู้ ความสามารถในเรื่องของการจัดการทรัพยากรมนุษย์หลายท่าน รู้สึกตื่นเต้นมาก ทำให้ดิฉันได้รู้จักและเรียนรู้จากสังคมใหม่ๆ ในงานครั้งนี้มาก ได้เปิดโลกทัศน์ ได้มีความคิดนอกกรอบ เพราะได้ออกมาจากกรอบที่ดิฉันเคยอยู่ (สังคม) และรู้สึกประทับใจกับท่าน ดร. สุเมธ ตันติเวชกุล ได้ขึ้นกล่าวถึงเรื่อง การพัฒนาของประเทศ ตอนอยู่บนเวทีบุคลิกของท่านสุเมธ เป็นธรรมชาติ สบายๆ ฟังแล้วไม่น่าเบื่อ และไม่เครียดแม้แต่น้อยเลย ดิฉันจึงรู้สึกศรัทธาในตัวของท่านสุเมธมาก และเมื่อวันอาทิตย์ที่ 1 กรกฏาคม 2550 ท่านอาจารย์

จีระ เปิดประเด็นเรื่อง นวัตกรรม (Innovation)  ให้ทุกคนเรียนรู้จากเทปบันทึกของท่านอาจารย์จีระ กับ คุณ ศุภชัย

หล่อโลหการ ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน ในหัวข้อเรื่อง HR and Innovation ทำให้ดิฉันได้ทราบว่าคำว่า นวัตกรรม (Innovation) คือ สิ่งใหม่ที่เกิดขึ้นมา ต้องมีการรู้จักใช้ความคิดสร้างสรรค์อย่างมีระบบระเบียบ ต้องทำให้เกิดประโยชน์กับสังคม เศรษฐกิจ และต้องมีผู้บริโภคเกิดขึ้นด้วย จะเห็นได้ว่าต้องมีความคิดสร้างสรรค์ก่อนจะไปเป็นนวัตกรรมได้ ซึ่งความคิดสร้างสรรค์จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อทุกคนต้องมีเบ็ดตกปลา (ทฤษฏีพึ่งตนเอง) ต้องใฝ่หาความรู้ตลอดชีวิต และวิธีการเรียนรู้ โดยการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน ตรงกับแนวคิดของท่าน ศ.ดร.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ กล่าวว่าการรักที่จะเรียน ต้องสนใจ ใฝ่เรียน เน้นการอ่าน และศึกษาอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้เข้าใจรูปแบบการสอนของท่านอาจารย์จีระมากขึ้น

นวัตกรรมจะสำเร็จได้ต้องอาศัยทรัพยากรมนุษย์ เป็นตัวขับเคลื่อนให้เกิดนวัตกรรม ก็คือ ทุกคนต้องกล้าคิด กล้าทำ กล้านำ กล้าเปลี่ยนแปลง รวมกับการบริหารจัดการให้ทรัพยากรมนุษย์เป็นแบบ Get thing done ทำจริงและสำเร็จ สร้างแรงจูงใจให้มีความพร้อมที่จะก้าวไปข้างหน้า ปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลก สอดคล้องกับทฤษฏี 3 C ของท่านอาจารย์จีระ คือ  change,  customer และต้องไม่เน้น command & control  เพราะว่าถ้าไม่ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น(Listening) และไม่เรียนรู้สิ่งใหม่(Learning)จะทำให้ไม่เกิดนวัตกรรม  ดังนั้น นวัตกรรม (Innovation) จะต้องเกิดจากการบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์กรโดยมีการนำทฤษฏี 2R , 4L, 5K, 8K, 3C, 3 วงกลม , เบ็ดตกปลา (ทฤษฎีพึ่งตนเอง) มาประยุกต์ใช้จึงจะทำให้นวัตกรรมสำเร็จได้

เรียน ศ.ดร.จิระ ดิฉันรฐา  จูจันทร์ ในวันอาทิตย์ที่ผ่านมาได้เรียนในหัวข้อเรื่องนวัตกรรม (Innovation) ทำให้ทราบถึงความสำคัญของนวัตกรรมว่ามีความเกี่ยวข้องกับทรัพยากรมนุษย์อย่างไรบ้าง และได้เรียนรู้เกี่ยวกับทฤษฏีเบ็ดตกปลา เพื่อนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อยอดให้เป็น

ท่านอาจารย์จิระยังได้คิดโครงการดีๆ ที่จะให้นักศึกษาได้ไปดูงานที่กลุ่มเกษตรกร อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดโคราช เพื่อศึกษาการทำการเกษตรชีวภาพ เพื่อจะได้ต่อยอดให้เกิดธุรกิจ หรือให้ข้อมูลทางการตลาดที่เป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรได้บ้าง

 สรุปประเด็นเรื่องนวัตกรรม (Innovation)

  • ความสำคัญของนวัตกรรม คือการทำสิ่งใหม่ที่เกิดจากการใช้ความรู้และความคิดสร้างสรรค์ที่มีประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคม เพื่อให้สามารถนำมาต่อยอดและขยายผลให้เกิดการลงทุนทางธุรกิจในทุกระดับอย่างรวดเร็ว ต้องทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้นมีแนวทางปฏิบัติใหม่ๆ เกิดขึ้น
  • นวัตกรรมเกี่ยวข้องกับทฤษฏีเบ็ดตกปลา คือ ต้องรู้ว่าโลกเปลี่ยนแปลงไปถึงใหน ต้องรู้ว่าความรู้มีอะไรบ้างแล้วนำไปใช้ ต้องใช้ความรู้หลายด้านจึงจะมีความสำเร็จไปสู่นวัตกรรม ต้องทำจริง และต้องมีประโยชน์กับสังคมและสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง โลกยุคใหม่เราทำงานแบบเดิมไม่ได้ ต้องอย่าหยุดการเรียนรู้  คิดอย่างสร้างสรรค์ และคิดเป็นระบบ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ และทำอย่างต่อเนื่อง
  • นวัตกรรมเกี่ยวข้องกับทรัพยากรมนุษย์ในเรื่องของการจัดการที่จะต้องอาศัยการจัดการของตัวบุคคล การมีความคิดริเริ่มที่ดี มีทุกอย่างพร้อม แต่สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ ต้องมีคนบริหารจัดการที่ดี เพราะคนเป็นกลไกขับเคลื่อนงานทุกอย่างให้ประสบความสำเร็จ และต้องอาศัยความร่วมมือกัน เพราะจากที่ดูเทปที่ท่านอาจารย์จิระได้สัมภาษณ์คุณศุภชัยทำให้ได้ทราบว่าหลายโครงการที่ทำแล้วไม่ประสบความสำเร็จทั้งที่มีความพร้อมทุกอย่างแต่ขาดการจัดการที่ดีของตัวบุคคลทำให้งานไม่ประสบความสำเร็จ

การจะพัฒนาให้เกิดนวัตกรรม คนเราต้องรู้จักเปลี่ยนแปลง ต้องคิดอย่างสร้างสรรค์ คิดอย่างเป็นระบบและใช้ความรู้หลายอย่างมาไตร่ตรองจึงจำเป้นต้องใฝ่หาความรู้อยู่เสมอ จะทำให้เกิดผลดีกับทั้งกับตัวเรา ระบบเศรษฐกิจและสังคมได้  สิ่งสำคัญอีกอย่างคือต้องรู้จักรับฟังเพื่อที่จะเรียนรู้ และทำให้เกิดการมีส่วนร่วม เพราะคนเราไม่สามารถทำงานคนเดียวให้ประสบความสำเร็จได้

     เรียนท่านอาจารย์จีระ  ที่เคารพ 

  จากการที่ดิฉันได้ดูเทปการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างท่านอาจารย์จีระ  และ ท่านศุภชัย  ในเรื่อง  HR & Innovation   ในความเข้าใจของดิฉันคือ

นวัตกรรม  ( Innovation )  คือ  การสร้างสรรรค์และคิดค้นสิ่งใหม่ ๆ ขึ้นมาให้เกิดการเพิ่มมูลค่า  (Add  Value )  และต่อยอดพัฒนาในการดำเนินธุรกิจ  ซึ่งเป็นทรัพย์สินทางปัญญาอันเกิดมาจากความคิดและปัญญาของมนุษย์เป็นผลโดยตรงที่เกิดมาจากการทุ่มเท  ซึ่งประเมินค่าเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคม  อีกทั้งยังช่วยลดช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจน  ลดปัญหาอาชญากรรม  นวัตกรรมใหม่ ๆ ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจในรูปแบบ  go to business. ให้มองในรูปแบบ  focus  ระบบธุรกิจ   คือต้องมีความรู้  ใช้ความคิดใหม่ ๆ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์  ทำให้เกิดประโยชน์สูงสุด 

นวัตกรรมกับเบ็ดตกปลา  คือ  การแสวงหาความรู้อย่างต่อเนื่อง  (Learning  by  doing )  และพึ่งพาตนเอง ( making my selfe )  innovation  จะเกิดขึ้นได้ก็ด้วยอาศัยหลักการดังกล่าว  มีการศึกษาหาความรู้ใหม่ ๆ  เปิดโลกทัศน์ให้กับตนเองมองตนเองแล้วมองภาพรวมผู้อื่นด้วย  เรียนรู้จากเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน  อันจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศได้อย่างดีที่สุด 

นวัตกรรมกับมนุษย์  ต้องเป็นสิ่งที่ต้องมีอยู่คู่กันไปตลอด  มนุษย์  ( Humen )  เป็นผู้ที่ดำเนินการคิดตริตรอง  และเป็นผู้ลงมือทำ  จึงจะเกิดนวัตกรรมอันหนึ่งอันใดขึ้นมา    เศรษฐกิจและสังคมจะพัฒนาก้าวหน้าได้ต้องอาศัยทุนมนุษย์  ( Human  Capital )  ตามทฤษฎี  8  K's  (ของท่านอาจารย์จีระ ) ที่เอาความคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่  ( Innovation )  +  Get thing  done  =  Add  Value  +  Community  Development. สิ่งเหล่านนี้จะต้องมีการ follow  up &  follow  to   เพื่อให้มีการพัฒนาองค์กรและประเทศอย่างต่อเนื่องไม่หยุดนิ่งและไปได้ถึงปลายทาง.     

กราบเรียนท่านอาจารย์จีระและสวัสดีเพื่อนๆชาวblogทุกคน ดิฉันนางสาวนิรชร ไชยกาญจน์ นักศึกษาระดับป.โท ชั้นปีที่ 1สาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร สจล. เมื่อวันอาทิตย์ที่1 ก.ค. 2550 ในชั่วโมงการเรียนกับท่านอ.จีระ เราได้มีการพูดคุยถึงความสัมพันธ์ระหว่างHRและINNOVATION ว่ามีความเกี่ยวข้องกันในด้านใดบ้าง และได้ชมเทปบันทึกภาพการสนทนาระหว่างท่านอ.จีระ กับคุณศุภชัย หล่อโลหการ ผอ.สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติและการสนทนาระหว่างท่านอ.จีระกับศจ.ดร.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์พอจะสรุปได้ดังนี้

-นวัตกรรมคือ การกระทำสิ่งใหม่ๆที่เกิดจากการนำความรู้และความคิดสร้างสรรค์มาประยุกต์ใช้เพื่อทำให้เกิดประโยชน์แก่สังคมทั้งในด้านสังคมวัฒนธรรมและเทคโนโลยีการผลิตหรือการดำเนินงานต่างๆด้วยเทคนิคที่ทันสมัย

-เกี่ยวข้องกับคำว่า"เบ็ตตกปลา"ในความหมายที่ท่านอ.จีระ กล่าวถึงคือ เบ็ดตกปลาคือการเสาะแสวงหาความรู้ใส่ตน เมื่อนวัตกรรมคือความรู้ใหม่ๆที่มีประโยชน์ เราซึ่งเป็นทรัพยากรมนุษย์ซึ่งเป็นทุนที่สำคัญที่สุดในการดำเนินงานต่างๆ เพราะมนุษย์คือผู้ที่ทำให้เกิดการกระทำต่างๆในสังคม ก็ต้องมีการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆรอบตัวเราที่มีประโยชน์เพื่อพัฒนาตนเองตลอดเวลาให้มีความรู้ความสามารถที่จะทำงานได้มีประสิทธิภาพเพื่อช่วยในการพัฒนาประเทศให้มีความก้าวหน้าทัดเทียมกับอารยประเทศได้ ซึ่งการแสวงหาความรู้นี้สามารถทำได้หลายทางเช่น การsearchจากinternet, การอ่านหนังสือที่อยู่ต่างๆที่อยู่รอบตัว,การดูโทรทัศน์และการฟังวิทยุเป็นต้น แต่การจะช่วยให้มีความรู้ที่แตกฉานและมีความคิดที่หลากหลายมากขึ้นวิธีการที่ดีที่สุดคือการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองแล้วนำมาวิเคราะห์อภิปรายร่วมกันเป็นการshareความรู้ให้กันและร่วมกันสร้างnetworkในการทำงานจะช่วยให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้การจะเรียนรู้ให้ได้ดีนั้นท่านอ.จีระได้สอนเราใช้ทฤษฎี 3cประกอบด้วย

1. changeคือการยอมรับปรับตัวต่อสิ่งใหม่ที่มีประโยชน์กับตัวเอง

2. customerคือการให้ความสำคัญกับลูกค้าที่มีการติดต่อกับเราทั้งในด้านสินค้าและบริการ

3. command and controlคือการรู้จักที่จะเปิดโลกทัศน์ของเราให้กว้าง ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ทั้งที่เป็นคำติและคำชมเพื่อจะได้นำมาใช้ปรับปรุงตนเอง โดยเราต้องรู้จักยอมรับฟังจากทั้งคนที่อยู่ระดับเหนือกว่าเราเช่น พ่อแม่ ครูอาจารย์ หัวหน้างาน หรือคนที่มีอายุและประสบการณ์มากกว่าเรา, คนที่อยู่ระดับเดียวกันกับเราเช่น เพื่อนเรียน เพื่อนร่วมงานและสุดท้ายรับฟังจากคนที่อยู่ระดับต่ำกว่าเช่น ลูกน้องหรือคนที่อายุและประสบการณ์น้อยกว่าเรา

สุดท้ายนี้ดิฉันก็ขอแสดงความยินดีกับท่านอ.จีระที่ท่านได้รับรางวัลThailand Top 100 HR ซึ่งทางม.ธรรมศาสตร์ได้จัดขึ้นเพื่อเป็นการยกย่องบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถทางHuman resource ในประเทศไทยให้สังคมได้รู้จัก เพื่อเป็นกำลังใจให้ทุกท่านทำงานเพื่อเป็นประโยชน์ให้กับสังคมและประเทศชาติต่อไปค่ะ

 

นางสาวศศิวิมล ทับเวช
ดิฉันชื่อ นางสาวศศิวิมล ทับเวช นักศึกษาปริญญาโท สาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง จากการเรียนวันที่ 1 ก.ค.50 สรุปได้ดังนี้1. Innovation คืออะไรเป็นการนำวิธีการใหม่ ๆ มาปฏิบัติหลังจากได้ผ่านการทดลองหรือได้รับการพัฒนามาเป็นขั้น ๆ แล้ว โดยมีขั้นตอนดังนี้          1. การคิดค้น (invention)          2. การพัฒนา (Development)          3. นำไปปฏิบัติจริง ซึ่งมีความแตกต่างจากการปฏิบัติเดิมที่เคยปฏิบัติมา2. Innovation เกี่ยวข้องกับทฤษฎีเบ็ดตกปลาอย่างไรการที่จะเป็นคำว่า นวัตกรรมได้นั้น เราต้องมีความรู้ และจะต้องเรียนรู้ตลอดเวลาเพื่อที่จะเอาความรู้นั้นไปคิดค้น พัฒนา และสามารถนำเอาไปปฏิบัติได้ประโยชน์ต่อสังคม ซึ่งจะสอดคล้องกับทฤษฎีเบ็ดตกปลา3. Innovation เกี่ยวข้องกับทรัพยากรมนุษย์อย่างไรคนเรานั้นจะมีนวัตกรรม ต้องรู้จักสร้างสรรค์ ต้องมีความพร้อมจะก้าวไปข้างหน้า ปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลก ให้เหมาะสมสอดคล้องกับความเป็นอยู่ และต้องพัฒนาให้สามารถแก้ปัญหาด้วยความคิดที่ลื่นไหล เป็นระบบระเบียบ พอทางหนึ่งตันต้องหาทางใหม่อยู่เสมอ ช่วยกันหาทางฝ่าทางตันให้ได้ ด้วยการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ควบคู่กันไปกับการพัฒนาคนขององค์กร ความสัมพันธ์ของนวัตกรรมกับเทคโนโลยีจึงมีความใกล้ชิดกัน เนื่องจากนวัตกรรมเป็นการนำความคิดไปพัฒนาจนได้มาซึ่งสิ่งใหม่ๆ นวัตกรรมสามารถนำไปใช้ได้ไม่เลือกว่าจะเป็นองค์การใดก็ตาม ดังนั้น ในแง่การบริหารทรัพยากรมนุษย์แล้ว การพิจารณาถึงหลักการด้านนวัตกรรมจึงเป็นเรื่องที่ต้องทำให้ชัดเจน แม้ต้องเปลี่ยนอะไรๆ หลายอย่างก็ตาม เพราะจะเป็นนวัตกรรมไปไม่ได้ถ้าไม่รักการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดี นอกจากนี้นวัตกรรมจะสำเร็จได้ต้องอาศัยภาวะผู้นำ กล้าคิด กล้าทำ กล้านำ กล้าเปลี่ยนแปลง บวกกับการบริหารจัดการ ภาวะผู้นำจะเป็นองค์ประกอบที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทิศทางที่เราหวังไว้ได้ ทำให้เราเกิดพลังในการกระตุ้นให้เกิดความร่วมมือร่วมใจ พร้อมที่จะเดินก้าวไปอย่างเร็วๆ แต่มั่นคง เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ การบริหารจัดการที่ดี ต้องมีการใช้ทรัพยากรต่างๆ อย่างประหยัด การดำเนินงานต่างๆ ก็จะราบรื่นไปด้วย การพัฒนาระบบงานและบุคลากรเป็นหัวใจสำคัญที่จะทำให้การดำเนินการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ มีหลักการมากมายมาพัฒนาคน แต่ขอให้อย่ายึดติดรูปแบบจนทำอะไรทะลุนอกกรอบไม่ได้ เมื่อเราทำอะไรแบบติดกรอบจะทำให้เป็นการปิดกั้นนวัตกรรมได้เช่นกัน
นาย พัฒนา ปลอดภัยงาม

เรียน อ.จีระ หงส์ลดารมภ์ และเพื่อนชาวBlog ผมนายพัฒนา ปลอดภัยงาม นักศึกษาปริญญาโท สาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสากรรมอาหาร คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

จาการที่ได้ศึกษาเรื่องนวัตกรรม(innovation)ทำให้ได้รับความรู้ใหม่ๆเกิดขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีต่อการเรียนรู้ในปัจจุบัน คำว่านวัตกรรม(innovation)ก็คือสิ่งใหม่ที่เกิดจากการใช้ความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ มีประโยชน์ต่อสังคมและเศรษฐกิจ

ซึ่งผมได้คิดเกี่ยวกับเรื่องนวัตกรรมนี้ได้ว่า

การที่จะเกิดนวัตกรรมขึ้นนั้นจะเกิดจากปัจจัยดังนี้

change การเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆรวมถึงพฤติกรรมของคน

developement การพัฒนาตนเองเพื่อสร้างสรรค์และเพิ่มมูลค่าในสิ่งที่มี

create กระบวนการคิดที่สร้างสรรค์และเกิดประโยชน์เพื่อส่วนรวม

และสิ่งที่เป็นความขัดแย้งที่ไม่ทำให้เกิดนวัตกรรมที่อาจารย์จีระได้ให้ทฤษฎี3Cก็คือ

change การที่ไม่กล้าเปลี่ยนแปลง

command,control ความคิดถูกจำกัดโดยผู้นำ

customer ไม่ทำสิ่งต่างๆเพื่อสนองความต้องการของตลาด ทำให้ไม่เกิดความยอมรับและเป็นประโยชน์

ส่วนทฤษฎีเบ็ดตกปลา นั้นก็เป็นสิ่งที่ดี

เพราะเข้ากับสังคมไทยซึ่งผู้คนส่วนใหญ่มักจะไม่ค่อยหาความรู้ให้กับตนเอง จะรอแต่ให้ผู้อื่นหยิบยื่นให้

ดังนั้น การร่วมสร้างจิตสำนึกในการใฝ่หาความรู้จึงเป็นสิ่งที่ควรกระทำเป็นอย่างยิ่ง เพราะความรู้นั้นเปรียบเป็นทรัพยาการที่มีคุณค่า ไม่เช่นนั้นประเทศอื่น ๆก็จะนำหน้าประเทศไทย

ร่วมสร้างสรรค์ชาติไทยให้เข้มแข็งด้วยครับ

 

สิ่งที่จะทำให้เกิดคำว่า “Innovation  สำหรับดิฉัน   คือ  เกิดจากพื้นฐานทางความรู้ที่มีอยู่เมื่อมีความรู้ก่อจะเกิดความคิด  ความคิดที่จะทำสิ่งใหม่  สิ่งที่คนอื่นว่านอกกรอบ  อาจเป็นไปไม่ได้  เมื่อสิ่งใหม่ที่คิดมานั้นได้ลงมือกระทำลงมือประดิษฐ์จนเกิดเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่มีคุณค่ามีประโยชน์  ไม่ว่าต่อตัวเองหรือต่อคนอื่นด้วยก็ตาม ซึ่งเหมือนกับนักประดิษฐ์และนักวิทยาศาสตร์ที่เราอาจเคยได้ยินชื่อมา เช่น  อัลเบิร์ท  ไอส์ไต  ไอแซ็ก  นิวตัน  เป็นต้น   แต่สำหรับคนไทยแล้วบุคคลที่สำคัญที่สุดสำหรับคนไทยที่เราควรยกย่องเป็นอย่างยิ่งคือ  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของประเทศไทยเราที่ทรงคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่เพื่อคนไทยตลอดมา  โดยเริ่มจากพื้นฐานทางความรู้ของพระองค์  

ในเมื่อความรู้เป็นเสมือนสิ่งเริ่มต้นที่จะคิดที่จะทำสิ่งต่างๆให้เกิดประโยชน์แล้ว  ถ้าเปรียบเหมือนว่าเรากำลังจะตกปลาเพื่อมาเป็นอาหารนั้น  ความรู้ก็เปรียบเสมือนเบ็ดตกปลา  ปลาที่ได้มาเป็นอาหารนั้นก็เปรียบเสมือนสิ่งดีๆที่เกิดขึ้นจากการใช้ความรู้ซึ่งเป็น ประโยชน์กับเราทั้งสิ้น  ความรู้นั้นเป็นเสมือนทรัพย์สินส่วนตัวที่มีค่ามาที่สุดของมนุษย์เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญในการหาเลี้ยงชีพได้  ซึ่งอุปกรณ์ชิ้นนี้ไม่มีใครมาขโมยได้และจะเพิ่มขึ้นเมื่อมนุษย์เกิดการใฝ่ความรู้ที่จะหาความรู้เพิ่มเติมให้กับตัวเองเราก็จะมีอุปกรณ์ให้การหาเลี้ยงชีพได้หลายด้าน  การหาเลี้ยงชีพด้วยตัวเองอันเกิดจากความรู้ของตัวเองก็เหมือนเราต้องตกปลาด้วยตัวเองทักษะทุกอย่างก็ย่อมเกิดความรู้และทักษธของตัวเอง  เราทุกคนต้องพึ่งพาตัวเองให้ได้ก่อน  ก่อนที่เราจะไปพึ่งพาคนอื่น  คนเรานั้นคงไม่มีใครที่จะไปพึ่งพาใครได้ตลอดชีวิตและคงไม่มีใครให้เราได้พึ่งพาได้ตลอดชีวิตเช่นกัน  ดังนั้นเราจึงควรที่จะใฝ่หาความรู้เพื่อมาเป็นเบ็ดไว้ใช้ตกปลาเพื่อมาเป็นอาหารแก่ตัวเราเองเป็นอาหารในการดำรงชีวิตของเราเอง

เมื่อทุกคนมีความรู้ในการที่จะพึ่งพาตัวเองแล้วนั้น  ตราบใดที่มนุษย์เป็นสัตว์สังคมแล้ว  เมื่อคนทุกคนมาอยู่ในที่เดียวกันหรือในสังคมแล้วนั้น  ก็ต้องย่อมเกิดสิ่งต่างๆมากมายจากการที่มนุษย์มาอยู่ร่วมกัน แต่การที่มนุษย์มาอยู่ร่วมกันย่อมเกิดสิ่งดีและสิ่งไม่ดี  แต่ทุกคนย่อมอยากให้เกิดสิ่งดีๆแล้วนั้น  เราจึงควรที่อยู่ร่วมกันจึงควรนำความรู้ที่ได้มานั้นมาสร้าง  มาคิดสิ่งดีๆให้กับสังคมที่เราอยู่  เป็นการพัฒนาคน พัฒนามนุษย์ในสังคมเราให้อยู่อย่างมีความสุข  เมื่อสังคมมีความรู้  การพัฒนาประเทศเพื่อให้เกิดความก้าวหน้านั้นย่อมเกิดขึ้นได้จากคนทุกคน
เรียน ศ.ดร. จีระ  ดิฉันนางสาววรนรี  พันธุสังข์ นักศึกษาปริญญาโท คณะเทคโนโลยีเกษตร สาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง                เมื่อวันอาทิตย์ที่ 1 ก.ค. 2550 ท่านอาจารย์จีระ ได้สอนและให้พวกเราได้มีโอกาสดูเทปการสนทนาเปลี่ยนความรู้และความคิดเห็นระหว่างท่านอาจารย์จีระและท่านศุภชัยในหัวข้อเกี่ยวกับ นวัตกรรม หรือ Innovation ซึ่งทำให้ดิฉันได้ความรู้เพิ่มเติมและมีความเข้าใจกับคำว่า นวัตกรรม หรือ Innovation มากขึ้น และจากคำถามที่เป็นประโยชน์จากท่านอาจารย์ให้พวกเราคิดตามจากสิ่งที่ได้ฟังสรุปเป็นดังนี้ คือ1.        นวัตกรรมและความสำคัญ นวัตกรรม คือ การทำสิ่งใหม่ๆแตกต่างจากที่เคยมีมาโดยได้มาจากการนำความรู้และความคิดสร้างสรรค์และต้องรู้จักคิดอย่างเป็นระบบ และสำคัญคือจะต้องถูกนำมาใช้ได้จริงและก่อให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุดซึ่งแตกต่างจากสิ่งประดิษฐ์ที่คิดค้นขึ้นแต่อาจจะไม่ได้ใช้ นวัตกรรมจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมากในการพัฒนาโลกปัจจุบันทั้งทาง เศรษฐกิจและสังคม2.        นวัตกรรมกับทฤษฏีเบ็ดตกปลาทั้ง 2 สิ่งมีความเกี่ยวข้องกันคือ แหล่งที่มาหรือแนวความคิดใหม่ๆ นั้นจะเกิดขึ้นได้มาจากาใฝ่หาหรือแลกเปลี่ยนความรู้โดยพื้นฐานจากทฤษฏี 4L  ซึ่งเปรียบเสมือนเบ็ดตกปลาที่เราสามารถเก็บเกี่ยวได้อย่างไม่สิ้นสุดโดยต้องคำนึงถึงหลัก 2 Rควบคู๋ไปด้วย ก่อให้เกิดกระบวนการไปสู่นวัตกรรมใหม่ๆ นั่นเอง หลังจากได้นวัตกรรมใหม่ๆ แล้วเราต้องคำนึงถึงทฤษฎี 3 C ได้แก่ -         Change การยอมรับการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ-         Customer ต้องรู้จักสนใจความต้องการของลูกค้า -         Command and Control ยอมรับความคิดเห็นของคนอื่นเหล่านี้จะเป็นส่วนเสริมให้นวัตกรรมใหม่ๆที่เกิดขึ้นนั้นประสบความสำเร็จ และนี่ก็คือ Thinking System  ที่ได้รับจากการฟังการสนทนาของท่านอาจารย์กับท่านศุภชัย3.        นวัตกรรมกับทรัพยากรมนุษย์นวัตกรรมจะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยทรัพยากรมนุษย์ในการคิดค้น สรรค์สร้างสิ่งต่างๆ  ซึ่งในการที่จะคิดค้นสิ่งใดๆ ได้นั้นต้องมีการเรียนรู้ใฝ่รู้และต้องเป็นไปอย่างกว้างขวางหรือที่เรียกว่าการรู้ข้ามศาสตร์ และต้องเป็นไปอย่างสะสม ต่อเนื่อง จนก่อให้เกิดทุนทางปัญญาเพิ่มขึ้นไปจนถึงการต่อยอดกลายเป็น skill หรือ Know how  ของตนเองได้และพัฒนาเป็นนวัตกรรมใหม่ๆได้ จากที่กล่าวมาทั้งหมดคือ เราต้องรู้จักใช้เบ็ดตกปลาในการสะสมทุนทางปัญญาและพัฒนาเป็นทุนทางทักษะเพื่อก่อให้เกิดนวัตกรรมใหม่
สวัสดีครับนักศึกษาทุกท่าน
ตอนนี้อาจารย์เดินทางไปออสเตรเลียกับขณะของกฟผ.แล้ว ก็ขอให้นักศึกษาทุกคนเอาใจใส่การสอนของ อ.ยม และให้รายงานความคืบหน้าของรายงานเรื่องทุนต่างๆทาง Blog เป็นระยะ โดยให้ค้นคว้าจากหนังสือ บทความต่างๆทาง internet ขอเน้นว่าเป็นสิ่งที่อาจารย์ยังไม่เคยอ่าน ถ้าใครอยากจะให้อาจารย์แนะนำอะไรก็ถามมาได้
                             ขอบคุณครับ
                          จีระ หงส์ลดารมภ์
นายปริญญา รักพรหม
เรียน อาจารย์จีระ หงส์ลดารมภ์ ผม นายปริญญา รักพรหม นักศึกษาปริญญาโท คณะเทคโนโลยีการเกษตร สาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ก่อนอื่นผมขอแสดงความยินดีกับ อาจารย์จีระ ด้วยนะครับที่ได้รับรางวัล HR TOP 100 จากสถาบันทรัพยากรมนุษย์ ม.ธรรมศาสตร์ จากโจทย์ที่อาจารย์ได้ฝากไว้เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมาในหัวข้อเรื่อง นวัตกรรม ว่า มีความหมาย, ความสำคัญ และเกี่ยวข้องกับทรัพยากรมนุษย์อย่างไร นั้น เริ่มที่โจทย์แรกก่อนเลยครับ. 1.“นวัตกรรม” ตามมุมมองของผม ผมมองว่าเป็นการแปลงความคิดหรือการต่อยอดความคิดที่สร้างสรรค์ออกมาแล้วนำไปขยายผลต่อเพื่อให้เกิดสิ่งใหม่ๆ ขึ้นมาและทำให้เกิดประโยชน์มากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่สามารถจับต้องได้หรือจะเป็นไปในรูปแบบของการเรียนรู้ กระบวนการทำงาน การบริหารงาน ซึ่งก็ถือว่าเป็นนวัตกรรมเช่นกัน ทั้งนี้นิยามความหมายของคำว่านวัตกรรมสามารถนิยามได้หลากหลาย ท้ายที่สุดแล้วจำเป็นต้องมีพื้นฐานมาจากความคิดที่สร้างสรรค์เช่นกัน ครับ. 2.ณ ปัจจุบันนี้ต้องยอมรับเลยครับว่าการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ นั้นเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมากๆ ซึ่งมีผลต่อเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ - ทางด้านเศรษฐกิจ ได้รับผลโดยตรงจากการพัฒนานวัตกรรมใหม่ขึ้นมาโดยจะส่งผลให้เศรษฐกิจของประเทศมีศักยภาพในการแข่งขันและสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ ความรู้ รูปแบบการทำงาน รวมถึงกระบวนการใหม่ๆ ให้ดีขึ้น - ทางด้านสังคมและวัฒนธรรม การสร้างนวัตกรรมใหม่ขึ้นมานั้นนอกจากจะมีผลโดยตรงต่อเศรษฐกิจแล้วนั้น ทางด้านสังคมและวัฒนธรรมก็ได้รับผลเช่นกัน ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่น ด้านการพัฒนาระบบเทคโนโลยีการสื่อสาร ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ คอมพิวเตอร์ ดาวเทียม ทีวี ล้วนเป็นผลผลิตทางด้านนวัตกรรมทั้งนั้น ซึ่งการพัฒนาสิ่งเหล่านี้ขึ้นมาทำให้คนเราสามารถติดต่อสื่อสารกันได้เร็วขึ้น สามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลได้อย่างง่ายดาย คนเราเลยจำเป็นจะต้องปรับตัวให้ทันยุคสมัย ปรับตัวให้สามารถแข่งขันกับคนอื่นๆ เพราะยุคสมัยปัจจุบัน คือ ยุคแห่งการแข่งขัน ยุคแห่งการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม ดังนั้น เมื่อพฤติกรรมวิถีชีวิตของคนเราเปลี่ยนไปเลยกระทบไปถึงวัฒนธรรมของคนในสังคมด้วยเช่นกัน “การสร้างนวัตกรรมใหม่นั้นถ้าจะพูดว่าเป็นการเปลี่ยนโลกให้เป็นโลกยุคโลกาภิวัตน์ก็ไม่ผิดครับ” 3.การที่คนเราจะสามารถสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ขึ้นมาได้นั้นใช่ว่าจะอาศัยแค่เพียงความคิดแบบโป๊ะเชะ หรือ ปิ๊งไอเดียเท่านั้นก็จะทำได้แล้ว โดยพื้นฐานหากไม่ได้มีการศึกษาหาความรู้ตลอดเวลา ความรู้แค่เพียงในห้องเรียนไม่พอแน่นอน ความรู้นอกห้องเรียนต่างหากที่เราจะต้องไขว่คว้าและใฝ่หามันมาให้ได้เพื่อเป็นพื้นฐานในการต่อยอดความคิดเพื่อนำไปสู่การสร้างนวัตกรรมต่างๆ เพื่อสร้างให้เกิดประโยชน์มากที่สุด ความรู้ที่ท่าน อ.จีระ ได้ถ่ายทอดให้ลูกศิษย์ ไม่ว่า ทฤษฎี 8 K’s, 5 K’s, 4 L’s, 3 C’s, 2 R’s รวมถึงทฤษฏีเบ็ดตกปลาที่ดูเหมือนจะเป็นข้อความธรรมดาแต่ในความหมายแล้วยิ่งใหญ่และแฝงด้วยข้อคิดยิ่งนัก ที่ผมกล่าวรวมมาทั้งหมดนี้ คือ แนวทางที่เราและทุกคนในทุกๆ ภาคส่วนของสังคม จำเป็นที่จะต้องเรียนรู้เพื่อพัฒนาตัวเองและสังคมให้แข็งแกร่ง เข้มแข็ง ท้ายสุดแล้วก็จะเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการช่วยสรรสร้างนวัตกรรมใหม่ขึ้นมาพัฒนาชุมชน สังคมและประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้าอย่างยั่งยืนตลอดไป
น.ส.เบญจพร สุวรรณรักษ์
กราบเรียน  ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์            “นวัตกรรม” (Innovation) มีรากศัพท์มาจาก innovare ในภาษาลาติน แปลว่า ทำสิ่งใหม่ขึ้นมา ความหมายของนวัตกรรม   หมายถึงความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว ให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น  เมื่อนำ นวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วย ประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย ในเชิงเศรษฐศาสตร์คือ การนำแนวความคิดใหม่หรือการใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่แล้วมาใช้ในรูปแบบใหม่ เพื่อทำให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ หรือก็คือ การทำในสิ่งที่แตกต่างจากคนอื่น โดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ (Change) ที่เกิดขึ้นรอบตัวเราให้กลายมาเป็นโอกาส (Opportunity) และถ่ายทอดไปสู่แนวความคิดใหม่ที่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคมนวัตกรรมกับเบ็ดตกปลา                เปรียบได้ดังปรัชญาการพึ่งพาตนเองของแต่ละคน  เรียนรู้ด้วยตนเองและนำความรู้เหล่านั้นมาสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยตนเองคิดค้นสิ่งใหม่ ๆ ที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคม  ซึ่งการเรียนรู้เราต้องใฝ่เรียนรู้ตลอดชีวิตจึงก่อให้เกิดนวัตกรรมนวัตกรรมกับทรัพยากรมนุษย์                 นวัตกรรมกับมนุษย์เป็นสิ่งคูกันเพราะมนุษย์ที่มีการเรียนรู้และพัฒนาอยู่เสมอเป็นตัวขับเคลื่อนทำให้เกิดนวัตกรรม และสิ่งสำคัญที่จะทำให้มนุษย์มีการสร้างนวัตกรรม  คือ                  1.  การยอมรับการเปลี่ยนแปลง (Change)  การยอมรับการเปลี่ยนแปลงก่อให้เกิดการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ                 2.  ความต้องการของลูกค้า ( Customer)  เนื่องจากในระบบเศรษฐกิจคำนึงถึงปัจจัยความต้องการของผู้ค้าเป็นสำคัญ นวัตกรรมจึงเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความพอใจของลูกค้า                 3.  ความคิดเห็นของคนอื่น ( Command and control) การเปิดใจรับฟังเปรียบได้ดั่งการเรียนรู้ของมนุษย์                ดังนั้นจากการเรียนวิชานี้ทำให้รู้สึกว่าชีวิตของคนเราต้องมีการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา  จึงทำให้มีการพัฒนาของโลกและระบบเศรษฐกิจต่าง ๆ
เรียน อาจารย์จีระ หงส์ลดารมภ์  ดิฉัน นางสาว สุมิตรา พนาอภิชน  เมื่อวันอาทิตย์ ที่ผ่านมา ดิฉันไม่ได้เข้าเรียนของวิชา HR ของอาจารย์นั้น ดิฉันรู้ลึกว่า ดิฉันได้เสียโอกาสในการเรียนรู้ เนื่องจากสุขภาพของร่างกายในวันนั้นไม่อำนวยต่อการเรียนรู้ แต่จากที่ดิฉันได้สอบตามจากเพื่อนๆ แล้ว พอจะสรุปได้ว่า.        นวัตกรรม คือ การทำสิ่งใหม่ๆที่มีความแตกต่างจากสิ่งเดิมที่เคยมีมาก่อน โดยได้มาจากการนำความรู้และความคิดสร้างสรรค์และต้องรู้จักคิดอย่างเป็นระบบ และสามารถนำมาใช้ได้จริงและก่อให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด นวัตกรรมนั้นจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมากในการพัฒนาโลกปัจจุบันเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นทาง เศรษฐกิจและสังคม.        นวัตกรรมกับทฤษฏีเบ็ดตกปลามีความเกี่ยวข้องกันคือ แหล่งที่มาหรือแนวความคิดใหม่ๆ นั้นจะเกิดขึ้นได้ต้องมาจากใฝ่หาความรู้หรือแลกเปลี่ยนความรู้โดยใช้พื้นฐานจากทฤษฏี 4L  ซึ่งเปรียบเสมือนเบ็ดตกปลาที่เราสามารถเก็บเกี่ยวได้อย่างไม่สิ้นสุดโดยต้องคำนึงถึงหลัก 2 Rควบคู่ไปด้วย ก่อให้เกิดกระบวนการไปสู่นวัตกรรมใหม่ๆ หลังจากได้นวัตกรรมใหม่ๆ แล้วเราต้องคำนึงถึงทฤษฎี 3 C ได้แก่ -         Change การยอมรับการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ-         Customer ต้องรู้จักสนใจความต้องการของลูกค้า -         Command and Control ยอมรับความคิดเห็นของคนอื่นเหล่านี้จะเป็นส่วนเสริมให้นวัตกรรมใหม่ๆที่เกิดขึ้นนั้นประสบความสำเร็จ.        นวัตกรรมกับทรัพยากรมนุษย์นวัตกรรมจะเกิดขึ้นได้นั้น เราต้องอาศัยทรัพยากรมนุษย์ในการคิดค้น สรรค์สร้างสิ่งต่างๆขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็นการคิดค้นสิ่งใหม่ขึ้นมาได้ก็ต้องมีเรียนรู้ แต่ต้องเป็นการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องที่มีความหลากหลายด้าน จนกลายเป็น skill หรือ Know how  ของตนเองได้และพัฒนาเป็นนวัตกรรมใหม่ๆได้ จากที่กล่าวมาทั้งหมดคือ เราต้องรู้จักใช้เบ็ดตกปลาในการสะสมทุนทางปัญญาและพัฒนาเป็นทุนทางทักษะเพื่อก่อให้เกิดนวัตกรรมใหม่
เรียน อาจารย์จีระ หงส์ลดารมภ์  ดิฉัน นางสาว สุมิตรา พนาอภิชน  เมื่อวันเสาร์ที่ 7 กรกฎาคม นั้น อาจารย์ได้พูดถึงการพาพนักงานของ กฟผ. จำนวน 60 คนไปศึกษาหัวข้อ ทรัพยากรมนุษย์ ยังต่างประเทศ เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและการเรียนรู้นอกสถานที่ และในรายการอาจารย์ยังมีความคิดว่าในอนาคตจะเข้าไปช่วยการปฎิรูปให้กับตำรวจเพื่อให้องค์กรมีความคล่องตัว ไม่ว่าจะเป็นด้านคุณธรรมและจริยธรรม, สิ่งที่อาจารย์ยังคงเห็นว่ามีความสำคัญคือ  แรงงานต่างด้าวที่อยู่ในประเทศไทย เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะที่แม่สอดจะมีพม่าเป็นจำนวนมากแต่ประเทศไทยยังไม่มีมาตรการในเรื่องนี้เท่าที่ควร. การเรียนรู้จะต้องอ่านให้หลากหลายด้าน การเรียนรู้ไม่จำเป็นต้องอ่านแต่ในหนังสือ เพราะการเรียนรู้นั้นได้จากทางอินเตอร์เน็ต หรือการใช้ Blog ในแลกเปลี่ยนความรู้และอาจารย์ยังพูดคนไทยว่าจริงๆ แล้วคนไทยมีความสามารถไม่แพ้คนต่างชาติ แต่เนื่องจากคนไทยถูกเรียนรู้มาด้วยการท่องจำมากกว่าการเรียนรู้โดยการคิด หรือการค้นคว้าด้วยตนเอง ถ้าประเทศไทยเรามีระบบการศึกษาที่มีประสิทธิภาพมากกว่านี้ ก็จะทำให้เรามีทรัพยกรที่มีคุณภาพเป็นจำนวนมาก ก็จะทำให้ประเทศไทยสามารถพัฒนาไปได้อีกมาก แต่ทุกวันนี้ธุรกิจเกษตรยังไม่มีผลเท่าที่ควรเนื่องจากว่าคนไทยยังขาดความรู้ในด้านการตลาดและการจัดการ ทั้งที่คนไทยเรามีความสามารถทางการเกษตรหลายอย่าง ดังนั้นทางภาครัฐน่าจะมีการเอาส่งเสริมการเกษตรให้จริงจังกว่านี้

   เรียน อ.จีระ , อ.ยม , ทีมงาน  Chira Academy และผู้อ่านทุกท่าน  ผม นายวรพจน์  สู่เสน  นักศึกษาปริญญาโท สาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร  คณะเทคโนโลยีการเกษตร  สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

 

       เนื่องจากในวันที่ 8/7/50 ที่ผ่านมา ( ผมเขียน Blog วันเดียวกันนี้ )  เป็นวันแรก ที่ผมได้มีโอกาสเรียนกับ อ.ยม นาคสุข   หัวข้อโดยรวมที่ อ.ยม สอน คือ "ภาพรวมของการบริหารทรัพยากรมนุษย์"   แต่  อ.ยม จะมีความรู้เสริมให้จากประเด็นต่างๆที่เราถาม ที่ผมพอจะจับประเด็นได้ ขอยกตัวอย่างดังนี้                     

1.การแก้ไขปัญหา อย่าแก้ที่ตัวปัญหาแต่ให้หาสาเหตุของปัญหาแล้วแก้                                              

2.ในการทำอะไรทุกๆอย่าง ต้องมียุทธศาสตร์ ( การวางแผน ) เสมอ

3.การจะมองอะไรให้มอง 2 ด้านเสมอ ( ด้านดีและไม่ดี )  แต่ให้มีทัศนคติเป็นบวกเสมอ ถ้ามีปัญหาอะไร อย่าหนีปัญหา แต่ให้คิดหาวิธีการแก้ไข

 

   สิ่งต่างๆที่ อ.ยมได้ถ่ายทอดมาในวันนี้ เป็นการพูดถึงปัญหาด้านทรัพยากรมนุษย์ต่างๆที่ทุกคนเคยพบเจอมา ทำให้ทุกคนมองภาพออกได้ง่าย และสามารถเก็บเกี่ยวเทคนิคต่างๆ ของ อ.ยมไปใช้ได้ทุกคน  ขอบคุณครับ

กราบเรียน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมณ์, คุณยม นาคสุข และท่านผู้อ่านทุกท่าน ดิฉัน นางสาวนันทกา บุญสุข นักศึกษาปริญญาโท ภาควิชาบริหารธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร คณะเทคโนโลยีการเกษตรสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังจากการที่ดิฉันเข้าเรียนในวันที่ 8 กรกฎาคม 2550 เวลา 9.00 13.00 น. เรื่อง ภาพรวมการบริหารทรัพยากรมนุษย์ดิฉันได้รับประเด็นโป๊ะเชะจากท่านอ.ยม  ดังจะกล่าวในหัวข้อหลักๆ 3 ประเด็น คือ1.   แก้ปัญหาที่สาเหตุในทุกๆองค์กรย่อมมีปัญหาเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นปัญหาของทั้งองค์กร ของฝ่าย ของแผนก หรือแม้แต่ตัวบุคคลเอง ดังนั้นเมื่อเกิดปัญหาก็ต้องแก้ปัญหา แต่การแก้ปัญหาให้มีประสิทธิภาพ ต้องแก้ปัญหาที่สาเหตุไม่ใช่ที่ตัวปัญหา และคนทุกคน ต้องมองปัญหาที่เกิดจากตัวเราเองก่อนว่าตัวเรามีข้อบกพร่องอย่างไร อย่าโทษแต่คนอื่น ดังเช่นที่คุณยมยกตัวอย่างบริษัทที่พนักงาน Strike (มีการนัดหยุดงาน) การแก้ปัญหาของผู้บริหารควรถามสาเหตุก่อนว่าที่นัดกันหยุดงานเพราะอะไร? จะได้แก้ปัญหาได้ตรงจุด2.   คนที่เป็นคนเก่งจะต้องเป็นคนดีด้วย คงไม่มีใครที่ดีพร้อมไปหมดทุกเรื่อง ทุกคนต่างมีทั้งจุดอ่อนและจุดแข็งในตัวเอง แต่โดยส่วนใหญ่แล้ว คนที่เก่งมักจะได้รับเลือกให้เป็นหัวหน้า แต่คนเก่งมีจุดอ่อน คือ ความดื้อรั้น ไม่ยอมรับฟังใครเพราะคิดว่าตัวเองเก่งที่สุด ดังนั้น การที่คนเก่งจะเป็นคนดีด้วยนั้น ต้องคิดบวก (Positive thinking) และเชื่อว่าทุกคนอยากเป็นคนดี แล้วชีวิตจะยั่งยืน ดังเช่น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท่านเป็นคนเก่ง มีโครงการที่พระองค์พระราชดำริขึ้นมากมาย และท่านก็เป็นคนดีด้วย ทรงอุทิศพระวรกาย เสียสละทำงานหนักเพื่อประโยชน์ส่วนรวมของคนทั้งประเทศ จนทุกวันนี้คนทั้งประเทศรักและเทิดทูนท่าน ท่านเป็นคนเก่งและเป็นคนดี ท่านจึงยั่งยืนจนทุกวันนี้3.   หลักในการสร้างอำนาจการที่หัวหน้าจะมีอำนาจนั้นมีหลักปฏิบัติอยู่ 5 ประการ คือ3.1           ให้-หัวหน้าต้องให้โอกาส, ให้ความรู้, ให้อภัย และให้รางวัลกับลูกน้อง3.2           ติ-เมื่อลูกน้องทำผิดต้องตำหนิ เพื่อให้ลูกน้องเข้าใจและไม่ทำผิดอีก แต่การตำหนิจะต้องใช้เหตุผล ไม่ใช่อารมณ์3.3           ผู้รู้มากกว่า-หลักการง่ายๆก็คือ นำจุดอ่อนของลูกน้องมาเป็นจุดแข็ง ลูกน้องจะได้ชื่นชมและนำมาเป็นแบบอย่าง3.4           อ้างอิง-ใช้อำนาจอ้างอิง เช่น กฎขององค์กร หรือ ประธานองค์กรเพื่อให้ลูกน้องตระหนักถึงความสำคัญและเต็มใจปฏิบัติงาน 3.5           ทางนิติกรรม-จะต้องมีการออกจดหมายหรือแจ้งข่าวสารในการดำเนินงานต่างๆ เพื่อให้การทำงานมีระบบประเด็นทั้ง 3 เรื่องนี้ มีประโยชน์มาก เพราะสามารถนำไปใช้ได้ในทุกๆองค์กร เพื่อให้องค์กรสามารถดำเนินงานได้ตรงตามวัตถุประสงค์ขององค์กร, ลูกค้าพึงพอใจ และพนักงานก็พึงพอใจด้วยเช่นกัน
เรียน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมณ์ ดิฉันนางสาวนันทกา บุญสุข และนางสาววสพร บุญสุข นักศึกษาปริญญาโท ภาควิชาบริหารธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังจากทฤษฏี 8 K’s, 5 K’s ของท่านอาจารย์ ดิฉันสองคนเลือกCreativity Capital หรือทุนแห่งความคิดสร้างสรรค์ มาศึกษาเพิ่มเติม เพราะในโลกปัจจุบันเกิดการแข่งขันกันมากมาย บุคคลใดที่มีความคิดสร้างสรรค์ที่แปลกใหม่ไม่เหมือนคนอื่น หรือคิดในสิ่งที่ไม่เคยมีใครคิดมาก่อน บุคคลนั้นก็จะเป็นผู้ได้เปรียบ เพราะ ความคิดสร้างสรรค์ก่อให้เกิดนวัตกรรมจากการค้นคว้าว่าใครบ้างที่พูดถึงความคิดสร้างสรรค์?ดิฉันสองคนสนใจคำพูดของบุคคล 3 ท่าน1. ดร.เอ็ดเวิรด์ เดอ โบโน ท่านเป็นปรมาจารย์ด้านความคิดสร้างสรรค์ ศึกษากระบวนการสร้างความคิดโดยใช้แนวคิด “Six Thinking Hats” โดยหมวกสีเขียว แทน ความคิดสร้างสรรค์2. คุณเทเรซา อมาไบล์ ได้กล่าวไว้ว่า ความคิดสร้างสรรค์ประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ประการ ได้แก่ ความเชี่ยวชาญ ทักษะในการคิดอย่างสร้างสรรค์ และ แรงจูงใจ3.ศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ ได้กล่าวไว้ว่าการที่จะกำหนดว่าสิ่งใดเกิดจากความคิดสร้างสรรค์นั้นสามารถพิจารณาได้จากองค์ประกอบสำคัญ อันได้แก่ ความคิดนั้นต้องเป็น สิ่งใหม่ (new , original)  ใช้การได้ (workable) และมีความเหมาะสม (appropriate)นอกจากนี้ Case study ที่ดิฉันสองคนจะศึกษาก็คือ1.   “Creativity and Creativities”เป็นงานวิจัยเกี่ยวกับความแตกต่างของความคิดสร้างสรรค์ที่เกิดจากคนๆเดียวกับความคิดสร้างสรรค์ที่เกิดจากคนหลายคนและ2.   “Time pressure and creativity”เป็นงานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับความกดดันเรื่องเวลาที่มีผลต่อความคิดสร้างสรรค์ ส่วนความคิดสร้างสรรค์เกี่ยวกับ Food Science อย่างไร ?ดิฉันได้ศึกษาเนื้อหาเกี่ยวกับโรงงานผลิตขนมปัง 3 โรงงาน สรุปสั้นๆว่า โรงงานขนมปังที่มีแรงงานที่มีความคิดสร้างสรรค์จะผลิตขนมปังได้มากกว่า โรงงานที่คนงานไม่ใช้ความคิดสร้างสรรค์ เมื่อกำหนดระยะเวลาเท่ากัน และจำนวนคนงานเท่ากัน ดิฉันขอความกรุณาอาจารย์ขอคำเสนอแนะว่าสิ่งที่ดิฉันค้นคว้านี้ตรงประเด็น หรือไม่ และดิฉันควรค้นคว้าอะไรเพิ่มเติมอีกหรือไม่คะ ขอขอบพระคุณท่านอาจารย์อย่างสูง

 

 สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ นักศึกษา ป.โท ลาดกระบังฯ และท่านผู้อ่านทุกท่าน  กราบขอบพระคุณ ศ.ดร.จีระ ที่ให้เกียรติ ให้ความไว้วางใจ เข้าไปแชร์ความรู้ประสบการณ์กับ นักศึกษา ป.โท ที่ลาดกระบัง เมื่ออาทิตย์ทีผ่านมา  ขอชื่นชม นักศึกษา สองรายที่ส่ง blog มาเป็นอันดับ 1 และ 2 ตามลำดับ ได้แก่
  1. วรพจน์ สู่เสน เมื่อ อา. 08 ก.ค. 2550 @ 20:25
  2. Nuntaga Boonsuk เมื่อ อา. 08 ก.ค. 2550 @ 20:48
 แต่อย่างไรก็ตาม การเขียน blog ในส่วนที่ผมสอนไป  ขอให้นักศึกษาทบทวนองค์ความรู้ จากที่ได้มีประสบการณ์ร่วมกันในห้อง และจากเอกสารที่ให้ไป ทำความเข้าใจเสียก่อน  ทบทวน ๆ ๆ ก่อน จากนั้น พยายามจับประเด็นให้ได้ครอบคลุม องค์ความรู้ ภาพรวมการบริหารทรัพยากรมนุษย์ โดยอาจจะเลือก ตัวอย่างใดตัวอย่างหนึ่ง หรือ เอาทั้งสามตัวอย่าง ดังนี้มาเขียน 
  • ความสำคัญของ HRM หลังจากนักศึกษาได้เรียนรู้ ได้ตระหนักว่า HRM นั้น สำคัญอย่างไร 1... 2...3....ให้ตรงประเด็น และมีความคิดเห็นอย่างไร มีอะไรควรเพิ่มเติมหรือไม่
  
  • หลักการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่ดี นักศึกษาได้เรียนรู้ว่ามีอะไร บ้าง1....2.....3...4.....5...6...... และมีความคิดเห็นอย่างไร มีอะไรควรเพิ่มเติมหรือไม่
 
  • หรือ ปัญหาที่เราพบด้าน คน จากประสบการณ์ของนักศึกษา มีอะไร  ยกตัวอย่าง1...... 2.....3...... แต่หลังจากที่เรียนรู้แล้วนักศึกษา มีแนวคิดในการจัดการที่จะเสนอแนะต่อการแก้ไขปัญหาอย่างไร  1....2....3....นักศึกษามีความคิดเห็นเพิ่มเติมหรือไม่
 การเรียน ป.โท  ต้องคิด วิเคราะห์ เสนอความเห็นเป็น ต้องฝึก ฝืน ข่มใจ เอาชนะใจตนเองให้ได้   อย่างไรก็ตาม  โดยภาพรวม นักศึกษาตั้งใจเรียนรู้ ตื่นตัว กระตือรือร้นดีมาก สมกับเป็นนักศึกษาที่ลาดกระบังฯ ซึ่งเป็นสถาบันที่ทรงเกียรติ และมีศักดิ์ มีศรี สร้างทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณค่า ให้กับสังคม ประเทศชาติ
 องค์ความรู้ที่ได้รับมอบหมายให้ไปช่วยแชร์ความรู้ ประสบการณ์ คือ เรื่อง ภาพรวมการบริหารทรัพยากรมนุษย์  ผมได้ทำสรุปรายงานสาระ โดยย่อ มาให้ทราบดังนี้   วัตถุประสงค์ของการเรียนการสอน  ภาพรวมการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ที่ผมกำหนดไว้คือ  
  1. เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับภาพรวมการบริหารทรัพยากรมนุษย์ และบทบาทของทรัพยากรมนุษย์ที่มีต่อองค์การ
  2. เพื่อให้นักศึกษาสามารถนำความรู้ไปบูรณการกับองค์ความรู้อื่น
  3. เพื่อให้นักศึกษาสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ในการทำงานและการดำเนินชีวิตได้
  เกณฑ์การวัดผลการเรียน ในส่วนที่ผมรับผิดชอบเรื่อง  ภาพรวมการบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีเกณฑ์ดังนี้  
  • 10% การเข้าชั้นเรียน และการมีส่วนร่วมในห้องเรียน      
  • 10% ส่งการบ้านทาง Blog ภายในวันพุธ
  • 30% ทำรายงานตามที่ได้รับมอบหมาย case study
  • 50% สอบปลายภาค                                                                                     
เมื่อนักศึกษาได้เรียนรู้ ภาพรวมการบริหารทรัพยากรมนุษย์  นักศึกษาก็ควรที่จะได้พูดคุยหรือตอบ คำถาม กับผู้อื่นได้ว่า
  • Personnel administration กับ HR management ต่างกันหรือไม่อย่างไร
  • การบริหารทรัพยากรมนุษย์คืออะไร มีบทบาทอย่างไร
  • หลักในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่ดี ควรมีหลักการบริหารจัดการอย่างไร
  • บริหารทรัพยากรมนุษย์มีกี่กระบวนการ อะไรบ้าง  จงอธิบาย
  • ทุนมนุษย์คืออะไร ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง
  • นักบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่ดี ควรมีสมรรถนะอย่างไร
  • การบริหารทรัพยากรมนุษย์ ในองค์การของท่าน มีการจัดการอย่างไร ถูกต้องเหมาะสมหรือไม่อย่างไร
  Scope การบรรยาย-ถาม-ตอบ  
  • สิ่งที่นักศึกษาคาดหวัง ต้องการเรียนรู้ใน ภาพรวมการบริหารทรัพยากรมนุษย์(เน้นธุรกิจอาหาร)
  • วิวัฒนาการ-ภารกิจ-ปรัชญา-เป้าหมายของการบริหารทรัพยากรมนุษย์
  • ความหมาย  HR และกระบวนการของการบริหารทรัพยากรมนุษย์
  • บทบาทและสมรรถนะของนักบริหารทรัพยากรมนุษย์
  • ปัญหาในภาพรวมของ HRM ในธุรกิจอาหาร
  • ยุทธศาสตร์การบริหารทรัพยากรมนุษย์  จากสภาพปัญหาที่พบ
  • ถาม - ตอบ
 ความหมายของการบริหารทรัพยากรมนุษย์การบริหารคนให้บรรลุเป้าหมายองค์การ
  1. ลูกค้าพึงพอใจ
  2. ผลประกอบการ การดำเนินงานขององค์กรดี
  3. พนักงานมีความพึงพอใจ
 ความแตกต่างระหว่าง Personnel Administration กับ HRMPersonnel Administration
  1. มองคนเป็น Cost ดูแลแค่เข้ามา และก็ให้ออกไป.
  2. ดูแลคนตั้งแต่วันเริ่มงาน และวันสุดท้ายของการจ้าง
  3. เป็นกระบวนการทำงานเกี่ยวกับคน เน้นเอกสาร
  4. สรรหาตามความต้องการ เน้นปริมาณ และทันกาล
  5. เน้นควบคุม ขาด ลา มา สาย  การจ่ายค่าจ้าง
  6. ไม่สนใจด้านแรงงานสัมพันธ์
  7. ฯลฯ
  HRM
  1. มองคนเป็น ทรัพยากรที่มีคุณค่ามากที่สุดในองค์การ
  2. ให้การดูแลตั้งแต่ ก่อนเข้าและหลัง
  3. เป็นกระบวนการทำงานที่สอดคล้องกับโครงสร้าง กลยุทธ์และวิสัยทัศน์ขององค์การ
  4. การสรรหาและคัดเลือกจะมีการวางแผน  มีการกำหนดสมรรถนะ และคุณสมบัติตามลักษณะงาน
  5. มุ่งเน้นวัฒนธรรมและค่านิยมเดียวกันในองค์การ
  6. มุ่งพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และเน้นคุณภาพชีวิตการทำงาน
  7. บริหารทัศนคติพนักงาน ให้การมีส่วนร่วม
  8. ฯลฯ
  ความสำคัญของทรัพยากรมนุษย์
  1. ช่วยลดปัญหาด้านคน
  2. เพิ่มขีดความสามารถ
  3. เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
  4. เพิ่มคุณภาพขององค์กร
  5. เพิ่มคุณภาพาสินค้า/บริการ
  6. เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันขององค์กร
  7. ช่วยลดต้นทุนของการปฏิบัติการ
 บทบาทใหม่ของฝ่ายทรัพยากรมนุษย์
  1. การเป็นหุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์  Strategic Partner  เน้นความสำเร็จหรือประสิทธิผลขององค์การ
  2. การเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง   Change Agent  เน้นการอำนวยการและนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลง
  3. People Champion เน้นการมองคนว่าเพิ่มคุณค่าให้องค์กรได้
  4. การเป็นผู้เชี่ยวชาญ ในงานวิชาชีพ  Functional Expert เน้นประสิทธิภาพของกระบวนการทำงาน
  กระบวนการในงานบริหารทรัพยากรมนุษย์ในองค์การINPUT
  • การกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ วัตถุประสงค์ เป้าหมายของฝ่าย HRM ให้สอดคล้อง กับ วิสัยทัศน์ และกลยุทธ์ธุรกิจ
  • การจัดทำแผนยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัดความสำเร็จ
  • การวางแผนกำลังคน
  • การกำหนดตำแหน่งและอัตราเงินเดือน
  • การสรรหาและเลือกสรร การดูแลก่อนเข้ามาเป็นสมาชิกองค์กร
  • การบรรจุแต่งตั้ง
 PROCESSES
  • การดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์
  • การตรวจสอบผลการปฏิบัติตามแผน
  • การปรับปรุงพัฒนาการทำงานอย่างต่อเนื่อง
  • การสร้างพันธมิตรในองค์การ และนอกองค์การ
  • การทดลองปฏิบัติราชการ
  • การประเมินผลการปฏิบัติงาน
  • การเลื่อนตำแหน่ง
  • การเลื่อนขั้นเงินเดือน
  • การพัฒนาบุคคล
  • สวัสดิการ
 OUTPUT
  • การพ้นจากการเป็นพนักงาน/ลูกจ้าง
  • การดูแลหลังพ้นสภาพการจ้าง
  • การรายงานผลการปฏิบัติงาน
  • ความพึงพอใจของพนักงาน
  • ผลประกอบการขององค์การ
  • ความพึงพอใจของลูกค้า
  • สภาพแวดล้อมการทำงานที่ดี
  • ทุนมนุษย์ ตามแนวคิด ทฤษฎี 8K’s ของ ศ.ดร.จีระ
 ทฤษฎีทุน 8 ประการขับเคลื่อนองค์การ- โดย ศ.ดร.จีระ
  1. Human Capital   ทุนมนุษย์
  2. Intellectual Capital  ทุนทางปัญญา
  3. Ethical Capital  ทุนทางจริยธรรม
  4. Happiness Capital  ทุนแห่งความสุข
  5. Social Capital   ทุนทางสังคม
  6. Sustainability Capital ทุนแห่งความยั่งยืน
  7. Digital Capital   ทุนทาง IT
  8. Talented Capital    ทุนทางKnowledge, Skill และ Mindset
  หลักการบริหารทรัพยากรมนุษย์ เน้น ความสุข  ความสำเร็จ ความยั่งยืน
  1. หลักคุณธรรม
  2. หลักนิติธรรม
  3. หลักสมรรถนะ
  4. หลักผลงาน
  5. หลักคุณภาพชีวิต
  6. หลักการมีส่วนร่วม
 หลักการบริหารจัดการที่ดี (Good governance)
  1. หลักนิติธรรม
  2. หลักคุณธรรม
  3. หลักความโปร่งใส
  4. หลักการมีส่วนร่วม
  5. หลักความรับผิดชอบ
  6. หลักความคุ้มค่า
 ตัวอย่างปัญหาในการบริหารทรัพยากรมนุษย์(ในธุรกิจอาหาร) เช่น
  • ปัญหาด้านคุณภาพสินค้า-บริการ   สาเหตุของปัญหา เช่น คนขาดความรู้ ทักษะ คน ขาดคุณภาพ
  • ปัญหาการผลิตสินค้า-บริการไม่ทัน สาเหตุของปัญหา เช่น การใช้กำลังคนด้อยมีประสิทธิผล
  • ปัญหาการลาออกของพนักงานระดับล่างสูง  สาเหตุของปัญหา เช่น  สัญญาจ้างกำหนดระยะเวลา  อัตราค่าจ้าง สวัสดิการไม่เพียง ไม่จูงใจเพียงพอ
  • ปัญหา ความขัดแย้งในหน่วยงาน ระหว่าง หัวหน้ากับพนักงาน  สาเหตุของปัญหา เช่น ไม่มีระบบพัฒนาบุคลากรที่ดี ขาดการส่งเสริมด้านภาวะผู้นำ จริยธรรมที่ดี
  • ปัญหาพนักงานพนักงาน ไม่เคารพ ไม่ศรัทธาหัวหน้างาน  สาเหตุของปัญหา เช่น หัวหน้างานขาดทักษะ ขาดความรู้การสร้างอำนาจ บารมี  พนักงานขาดการอบรมอย่างต่อเนื่อง เป็นต้น
 การกำหนดยุทธศาสตร์ ควรศึกษาปัญหา จากปัญหาในองค์กร  ให้แก้ไขและป้องกันปัญหา โดยศึกษาจากสาเหตุของปัญหาจากแนวคิด ทฤษฎี Objective Three  ต้นไม้แห่งปัญหา ต้นไม้แห่งความสำเร็จ  ตัวอย่างการกำหนดยุทธศาสตร์จากปัญหา
ปัญหา สาเหตุ ยุทธศาสตร์
ปัญหาด้านคุณภาพสินค้า-บริการ   คนขาดความรู้ ทักษะ คน ขาดคุณภาพ ยุทธศาสตร์พัฒนาความรู้ด้านคุณภาพให้กับพนักงาน
ปัญหาการผลิตสินค้า-บริการไม่ทัน การใช้กำลังคนด้อยมีประสิทธิผล ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพกำลังคนทีมีอยู่
ปัญหา ความขัดแย้งในหน่วยงาน หัวหน้างานขาดทักษะ ขาดความรู้ ยุทธศาสตร์พัฒนาหัวหน้างาน
  หน่วยงาน HRM  - หรือหน่วยงานที่มีบุคลากรเป็นจำนวนมาก แลและให้ความสำคัญกับคน  ต้องเป็นองค์การที่พร้อมรับเปลี่ยนแปลง
  • ต้องจัดทำแผนกลยุทธ์ 
  • มีการปรับองค์การใหม่ให้เข้ากับสถานการณ์
  • มีการปรับวัฒนธรรมการทำงาน ?
  • มีการจัดทำแผนกลยุทธ์
  • เน้นการบริหารด้วยผลงาน
  บทบาทและสมรรถนะผู้บริหารทรัพยากรมนุษย์ ยุคใหม่ 7 ประการ
  1. คิดเชิงบวก มากกว่าเชิงลบ (Positive Thinking)
  2. คิดเชิงระบบ (System Thinking)
  3. ผู้ผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลง (Change Agent)
  4. ผู้กล้าปรับเปลี่ยน/กล้าเสี่ยง (Innovator และ Risk Taker)
  5. ผู้ให้บริการช่วยเหลือผู้อื่น (Service-minded Leader)
  6. ผู้เอื้อประสานสัมพันธ์ ผนึกกำลัง (Coordinator/Collaborator)
  7. ผู้สอน ผู้แนะนำ พี่เลี้ยง (Instructor/Coach/mentor)
  8. ผู้มีวิสัยทัศน์ (Visionary Leader)
  

กิจกรรมที่มีระหว่างการเรียนการสอน

  1. การถามประเด็นปัญหา ด้าน HRM เรื่องคน ที่นักศึกษาพบในองค์การ
  2. แนวทางแก้ไข ป้องกันปัญหา
  3. กิจกรรมกลุ่ม ให้ศึกษา  การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในองค์การ ของสมาชิกกลุ่ม  วิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง ปัญหา กลยุทธการจัดการ  ข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหา
 การบ้าน

4.    นอกเหนือจากที่แจ้งไป จากข้อ 3 เตรียมเสวนา แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการเรียนการสอนครั้งต่อไป

 5.    เขียน Blog “การเรียนการสอนครั้งนี้ ได้ประเด็นอะไร ที่น่าสนใจ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ อย่างน้อย 3-5 ประเด็น ลงใน Blog ของ ศ.ดร.จีระ เช่นเคย ภายในวันพฤหัสฯที่จะถึงนี้  จุดเด่นที่พบ
  1. นักศึกษาส่วนใหญ่ตั้งใจศึกษาดีมาก
  2. นักศึกษามีประเด็นคำถาม สิ่งที่อยากเรียนรู้ที่น่าสนใจ และเป็นประโยชน์กับ นักศึกษาทุกคนในห้องเรียน
  3. หลักสูตร มีการจัดผู้มีความรู้ ผู้มีประสบการณ์ตรง หลากหลายมาให้ความรู้แก่นักศึกษา
 กราบเรียน ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ อาจารย์ ยม นาคสุข และท่านผู้อ่านทุกคน

ดิฉันนางสาว วสพร บุญสุข นักศึกษาปริญญาโท คณะเทคโนโลยีการเกษตร สาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง 

       วันอาทิตย์ที่ 8 กรกฎาคม 2550  เป็นวันแรกได้เรียนกับอาจารย์ยม นาคสุขทำให้ดิฉันได้รับความรู้ในเรื่อง การจัดการทรัพยากรมนุษย์ 3 ประเด็น ดังนี้ประเด็นที่หนึ่ง คือ เรื่องของการวางแผน (การสอบ) เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิตประจำวันของเรา ทุกคนต้องมีการวางแผน ต้องมีการพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น เพื่อให้ตรงตามเป้าหมาย  ซึ่งสอดคล้องกับกระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์คือต้องมี Input + process + output

 ประเด็นที่สอง คือ การแก้ไขปัญหา ทุกปัญหา ต้องหาสาเหตุก่อนที่จะแก้ไขปัญหา ต้องแก้ที่สาเหตุเสมอไม่ใช่แก้ที่ตัวปัญหา ยกตัวอย่างเช่น คนปวดท้อง ทานยาแก้ปวดท้อง แล้วยังไม่หาย แต่สาเหตุจริงคือความเครียด ดังนั้นจึงต้องแก้ปัญหาโดยการออกกำลังกาย และพักผ่อน จะทำให้ลดความเครียดได้ อาการปวดท้องจะหาย คือการแก้ปัญหาตรงสาเหตุที่เกิดขึ้น

ประเด็นที่สาม คือ ปัญหาใหญ่ขององค์กร คือ System และ Human เพราะว่าองค์กรต้องมีทั้งระบบหรือมนุษย์ที่ดีก่อน ถึงจะทำให้องค์กรประสบความสำเร็จ เริ่มต้นจากมนุษย์ต้องเป็นคนกระทำให้เกิดระบบ ดังนั้นทรัพยากรมนุษย์จึงเป็นส่วนสำคัญที่สุดในองค์กร

ประเด็นที่สี่ คือ Prosonnel Administration เป็นการบริหารทรัพยากรมนุษย์ยุคแรก ทำงานวันต่อวัน จะดูแลเมื่อเข้ามาทำงานในองค์กร แตกต่างกับ Human Resources Management  เป็นการบริหารทรัพยากรมนุษย์จะดูแลก่อนเข้ามาทำงาน ระหว่างทำงาน ออกจากการทำงาน รวมถึงครอบครัวด้วย สรุปทั้ง 4 ประเด็นนี้ ดิฉันได้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรมนุษย์มากขึ้น สามารถนำไปใช้ได้ในชีวิตประจำวัน  และต้องเริ่มต้นบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่ตัวดิฉันเองก่อนที่จะไปบริหารทรัพยากรมุษย์ในองค์กร จะทำให้องค์กรประสบความสำเร็จ  
  

เรียนศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์ และ อาจารย์ยม  นาคสุข ที่เคารพ และท่านผู้อ่านทุกท่าน ดิฉันนางสาวอรุณี แซ่ตั้ง นักศึกษาปริญญาโท คณะเทคโนโลยีการเกษตร สาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง                                                                    จากการที่อาจารย์ยม ได้กรุณามาสอนเรื่องภาพรวมการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ในวันอาทิตย์ที่  8 กรกฎาคม 2545 ที่ผ่านมาทำให้ดิฉันได้รับความรู้เกี่ยวกับความสำคัญและ หลักการบริหารทรัพยากรมนุษย์เพิ่มขึ้นอย่างมาก และนอกจากนั้นอาจารย์ยมยังได้ให้ประเด็นที่น่าสนใจหลายๆเรื่องซึ่งล้วนแล้วแต่มีประโยชน์ทั้งสิ้น และสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับทั้งในชีวิตประจำวันและในหน้าที่การงาน  ซึ่งประเด็นที่น่าสนใจที่สุดสำหรับดิฉัน 3 หัวข้อคือ

 1.    การทำงานใดๆก็ตามเมื่อเกิดข้อผิดพลาดขึ้นมาต้องเริ่มพิจารณาที่ตัวเองก่อนอย่าโทษคนอื่นเพื่อที่จะได้แก้ไขที่ตัวเราและเกิดการพัฒนา 2.    การแก้ปัญหาต้องเริ่มแก้ที่สาเหตุ รากเหง้าของปัญหาอย่ามุ่งแก้ที่ตัวของปัญหาแต่เพียงอย่างเดียวจึงจะสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างแท้จริง  3.    ปัญหาขององค์กรต่างๆมีอยู่สองเรื่องคือ เรื่องระบบ และเรื่องคน แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือคนเนื่องจากคนเป็นกลไกในการขับเคลื่อนระบบ ถึงระบบจะดีแค่ไหนถ้าคนที่ควบคุมระบบไม่ดีก็ไม่สามารถทำให้องค์กรเจริญได้ สุดท้ายนี้ขอขอบพระคุณอาจารย์ยมเป็นอย่างมากที่เสียสละเวลามาให้ความรู้ และให้คำแนะนำตอบคำถามต่างๆของนักศึกษา และที่ขาดเสียไม่ได้คือขอบพระคุณ ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์  ที่ได้เสียละเวลาวางแผนการสอนพวกเราเป็นอย่างดี ซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์ในการเรียนและการทำงานเป็นอย่างสูง

  

สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ / ศิษย์ที่เรียน ป.โท/และท่านผู้อ่านทุกท่าน ขณะนี้ มี Outstanding Student  ในเรื่องของความรวดเร็วในการเขียน บล็อก แชร์ความรู้ประสบการณ์ วรพจน์ สู่เสน เมื่อ อา. 08 ก.ค. 2550 @ 20:25Nuntaga Boonsuk เมื่อ อา. 08 ก.ค. 2550 @ 20:48วสพร บุญสุข  เมื่อ จ. 09 ก.ค. 2550 @ 13:17 [ 315533 ] อรุณี แซ่ตั้ง   เมื่อ อ. 10 ก.ค. 2550 @ 07:53 [ 316115 ]  ผมเคยได้ยินสุภาษิตจีนมานานแล้วว่า  คนทำอะไรเร็ว กินเร็ว เดินเร็ว พูดเร็ว ทำงานเร็ว  คน ๆ นั้นโดยพื้นฐานมักจะเป็นคนขยัน ตื่นตัว คนเก่งมักจะมีคุณลักษณะประการหนึ่ง ในหลาย ๆ ประการ คือ เร็ว จึงอาจกล่าวได้ว่า นักศึกษาทั้ง 4 ท่าน เป็นคนเก่ง อย่างไรก็ตาม อาจมีคนเก่งอยู่ในกลุ่มอีกหลายคน  ที่กำลังทบทวนร่างที่ตนเอง เตรียมเขียนมาแชร์ความรู้อยู่   ผมทบทวนประเด็นที่แนะนำเกี่ยวกับการเขียน บล็อกว่า ให้ใช้ตัวอักษร แบบ Tahoma ขนาด 14-16 ส่วนที่เป็น หัวข้อควรใช้ตัวอักษรหนา ใช้สีเข้ม   ก่อนนำมาวางลงในบล็อกให้ตรวจสำนวน คำผิด แก้ไขให้เรียบร่อยก่อน จึงนำมาวางในบล็อก ในส่วนเนื้อหา ควรเฉียบ คม ชัด ลึก ตรงประเด็น ให้ครอบคลุมว่า เรียนกับผม ได้ประเด็นอะไร โป๊ะเฉ๊ะ !  หมายถึง ใช่เลย เรื่องนี้ ตรงใจมาก ไม่ต้องลงรายละเอียดในการเรียนการสอน เอาประเด็นที่คิดว่าตนเองได้ข้อคิด สัก 3 ประเด็นเป็นอย่างน้อย  และจะนำไปใช้พัฒนาตน พัฒนาคน พัฒนางาน พัฒนาระบบอย่างไร มีนักศึกษาคนหนึ่งเขียนอีเมล์สั้นกระฉับตรงประเด็น คือ ประเด็นที่ได้ นอกเหนือจากวิชาการด้าน HRM คือ อาจารย์ถาม ว่า พวกเรา เรียน ป.โท นี้ ต้องเรียนกี่วิชา ตั้งเป้าประสงค์ที่จะมีผลการเรียนดีเยี่ยม(A) กี่วิชา มียุทธวิธีไปสู่เป้าประสงค์นั้นอย่างไร  มีการเตรียมกาย เตรียมใจอย่างไร  คำถามนี้ ไม่เคยมีใครถาม และก็ไม่ได้คิดไว้ด้วย   แต่พอได้ฟังคำถามแล้ว รู้สึกกระตุ้นสติ ทำให้เกิดปัญญา ว่า ต้องตื่นตัว ต้องมีแผน ต้องทำตามแผน ต้องตรวจสอบผล และต้องปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง สิ่งนี้ สำคัญ  ได้ประเด็นนี้ไป นอกเหนือจากวิชาการขอชื่นชม ศิษย์ที่มีบุญทั้งหลาย ขอให้ตั้งใจเขียนให้ดี โอกาสต่อไป จะได้แนะนำให้ว่า มีจุดอ่อน จุดแข็งอย่างไร และควรมียุทธศาสตร์อย่างไร   

ผนแนะนำให้ศิษย์ เข้าไปศึกษาดูในบล๊อคอื่น ๆ ของ ศ.ดร.จีระ เช่น ที่ท่านไปสอน ป.โท ที่สวนสุนันทา  ที่ ม.นานาชาติ สแตมฟอร์ ฯลฯ เพิ่มเติม ศึกษาดูสำนวนการเขียน สาระต่าง ๆ และฝึกเขียนบล๊อคให้มากที่สุด เพื่อสะสมทุนทางความรู้ +ทุนทาง IT เอาไว้ให้มาก ๆ

 

 ขอให้นักศึกษาโชคดี
     
 

สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ / ศิษย์ที่เรียน ป.โท/และท่านผู้อ่านทุกท่าน 

 

ขณะนี้ มี Outstanding Student  ในเรื่องของความรวดเร็วในการเขียน บล็อก แชร์ความรู้ประสบการณ์

  1. รพจน์ สู่เสน เมื่อ อา. 08 ก.ค. 2550 @ 20:25
  2. Nuntaga Boonsuk เมื่อ อา. 08 ก.ค. 2550 @ 20:48
  3. วสพร บุญสุข  เมื่อ จ. 09 ก.ค. 2550 @ 13:17 [ 315533 ]
  4. อรุณี แซ่ตั้ง   เมื่อ อ. 10 ก.ค. 2550 @ 07:53 [ 316115 

ผมเคยได้ยินสุภาษิตจีนมานานแล้วว่า  คนทำอะไรเร็ว กินเร็ว เดินเร็ว พูดเร็ว ทำงานเร็ว  คน ๆ นั้นโดยพื้นฐานมักจะเป็นคนขยัน ตื่นตัว

คนเก่งมักจะมีคุณลักษณะประการหนึ่ง ในหลาย ๆ ประการ คือ เร็ว จึงอาจกล่าวได้ว่า นักศึกษาทั้ง 4 ท่าน เป็นคนเก่ง 

อย่างไรก็ตาม อาจมีคนเก่งอยู่ในกลุ่มอีกหลายคน  ที่กำลังทบทวนร่างที่ตนเอง เตรียมเขียนมาแชร์ความรู้อยู่   ผมทบทวนประเด็นที่แนะนำเกี่ยวกับการเขียน บล็อกว่า ให้ใช้ตัวอักษร แบบ Tahoma ขนาด 14-16 ส่วนที่เป็น หัวข้อควรใช้ตัวอักษรหนา ใช้สีเข้ม   ก่อนนำมาวางลงในบล็อกให้ตรวจสำนวน คำผิด แก้ไขให้เรียบร่อยก่อน จึงนำมาวางในบล็อก 

ในส่วนเนื้อหา ควรเฉียบ คม ชัด ลึก ตรงประเด็น ให้ครอบคลุมว่า เรียนกับผม ได้ประเด็นอะไร โป๊ะเฉ๊ะ !  หมายถึง ใช่เลย เรื่องนี้ ตรงใจมาก ไม่ต้องลงรายละเอียดในการเรียนการสอน เอาประเด็นที่คิดว่าตนเองได้ข้อคิด สัก 3 ประเด็นเป็นอย่างน้อย  และจะนำไปใช้พัฒนาตน พัฒนาคน พัฒนางาน พัฒนาระบบอย่างไร 

ตัวอย่างหนึ่ง คือมีนักศึกษาคนหนึ่งเขียนอีเมล์สั้นกระฉับตรงประเด็น คือ "ประเด็นที่ได้ นอกเหนือจากวิชาการด้าน HRM คือ อาจารย์ถาม ว่า พวกเรา เรียน ป.โท นี้ ต้องเรียนกี่วิชา ตั้งเป้าประสงค์ที่จะมีผลการเรียนดีเยี่ยม(A) กี่วิชา มียุทธวิธีไปสู่เป้าประสงค์นั้นอย่างไร  มีการเตรียมกาย เตรียมใจอย่างไร "

 คำถามนี้ ไม่เคยมีใครถาม และก็ไม่ได้คิดไว้ด้วย   แต่พอได้ฟังคำถามแล้ว รู้สึกกระตุ้นสติ ทำให้เกิดปัญญา ว่า ต้องตื่นตัว ต้องมีแผน ต้องทำตามแผน ต้องตรวจสอบผล และต้องปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง สิ่งนี้ สำคัญ  ได้ประเด็นนี้ไป นอกเหนือจากวิชาการ"

ขอชื่นชม ศิษย์ที่มีบุญทั้งหลาย ขอให้ตั้งใจเขียนให้ดี โอกาสต่อไป จะได้แนะนำให้ว่า มีจุดอ่อน จุดแข็งอย่างไร และควรมียุทธศาสตร์อย่างไร   

ผนแนะนำให้ศิษย์ เข้าไปศึกษาดูในบล๊อคอื่น ๆ ของ ศ.ดร.จีระ เช่น ที่ท่านไปสอน ป.โท ที่สวนสุนันทา  ที่ ม.นานาชาติ สแตมฟอร์ ฯลฯ เพิ่มเติม

 

ควรศึกษาดูสำนวนการเขียน สาระต่าง ๆ และฝึกเขียนบล๊อคให้มากที่สุด เพื่อสะสมทุนทางความรู้ +ทุนทาง IT เอาไว้ให้มาก ๆ

 

 

ขอให้นักศึกษาโชคดี
กราบเรียนศ.ดร.จีระ , อาจารย์ยม และท่านผู้อ่านblogทุกท่าน ดิฉันนางสาวนิรชร ไชยกาญจน์ นักศึกษาระดับปริญญาโทสาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร คณะเทคโนโลยีการเกษตร สจล. จากการที่ได้มีโอกาสได้ฟังการบรรยายของอาจารย์ยมเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2550เกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ทำให้ดิฉันมีความคิดเห็นดังนี้1.   การที่เราจะบริหารงานต่างๆในองค์กรให้ประสบความสำเร็จ ได้นั้น ซึ่งตัวดิฉันเองแบ่งความสำเร็จในการทำงานออกเป็น 2 ด้านคือ1.1         ด้านผลงานจากการทำงานคือ หน่วยงานสามารถปฏิบัติงานได้สำเร็จตามเป้าหมายที่วางแผนไว้ เช่น ทำการผลิตได้ตามแผนการผลิตโดยมี%ตำหนิไม่เกิน1%เทียบกับผลผลิต1.2         ด้านความร่วมมือในการทำงานคือ ทุกคนที่อยู่ในทีมงานเดียวกันสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความสุข(Happiness)ในการทำงาน

ซึ่งการจะทำให้ประสบความสำเร็จดังกล่าวได้นั้นควรจะต้องมีการนำหลักการบริหารแบบHRMมาใช้มากกว่าแบบ Personel administration เพราะหลักการดังกล่าวจะเน้นการดูแลให้ความสำคัญกับทรัพยากรมนุษย์มากกว่า ซึ่งจะทำให้บุคลากรที่อยู่ในองค์นั้นๆมีศักยภาพในการทำงานและยินดีที่จะทำงานเต็มความสามารถให้กับองค์กร ทำให้องค์กรนั้นๆมีการพัฒนาไปในทางที่ดีอย่างต่อเนื่อง สิ่งที่สำคัญที่สุดของการที่จะทำให้เกิดการบริหารที่มีหลักการHRMได้นั้น ต้องเริ่มที่ผู้บริหารระดับสูงขององค์กรต้องมีนโยบายและเป็นผู้ริเริ่มที่จะทำ เพราะถ้าหากหน่วยงานต่างๆต้องการจะทำแต่ผู้บริหารระดับสูงไม่เห็นด้วยก็คงจะเกิดระบบนี้ได้ยาก ซึ่งเป็นหน้าที่หลักที่ทางฝ่ายบุคคล จะต้องดำเนินการเป็นอันดับแรก เพื่อให้การดำเนินงานตามแผนที่วางไว้เดินต่อไปได้

นอกจากนี้สิ่งที่ดิฉันได้รับเพิ่มเติมนอกเหนือจากความรู้ทางด้านHRแล้ว อาจารย์ยังได้พูดถึงการทำงานหรือการเรียนที่ดีอีกว่า ควรจะต้องมีการวางแผนและกำหนดเป้าหมายในการเรียน เพื่อที่เราจะได้ไม่เสียเวลาและเสียโอกาสที่ดีๆไปขอขอบคุณอาจารย์ยมไว้ ณ ที่นี้ด้วยค่ะ

เรียน ศ.ดร.จีระ  หงลดารมย์, อ.ยม  นาคสุข สวัสดีเพื่อนๆ AFIM6 และท่านผู้อ่านทุกท่าน  ผมนายปริญญา  รักพรหม นักศึกษา ป.โท สาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังสำหรับการเรียนในวันอาทิตย์ที่ 8 ก.ค.50 ที่ผ่านมาซึ่งเป็นหัวข้อเกี่ยวกับเรื่องการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในธุรกิจอุตสาหกรรมอาหารเนื้อหาที่ อ.ยม ได้นำมาสอนลูกศิษย์ในวันนั้นถือว่าเป็นประโยชน์มากครับเพราะจะเกี่ยวข้องกับนักศึกษาโดยตรงซึ่งส่วนใหญ่ก็ทำงานอยู่ในภาคอุตสาหกรรมเกษตร-อาหาร การเรียนการสอนก็เป็นบรรยากาศที่เน้นการมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นแลกเปลี่ยนความรู้กันตามแนวทางที่ ท่าน อ.จีระได้วางไว้ ต้องขอขอบคุณอาจารย์ทั้ง 2 ท่านมากครับที่ได้ช่วยปูพื้นฐานและชี้นำความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาความรู้ ความสามารถ  สำหรับการบริหารงานในองค์กรนั้นหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องเกี่ยวข้องกับการบริหารคนและบริหารระบบ โดยเฉพาะการทำงานที่เกี่ยวข้องคนนั้นเป็นเรื่องที่ยากและสำคัญมาก เพราะว่าคนเป็นทรัพยากรที่มีความสำคัญมากที่สุดในองค์กร ใครจะบอกว่ามีเงินทุนมาก ทุ่มงบประมาณพัฒนาทางเทคโนโลยี เครื่องมือให้ทันสมัยเพื่อยกระดับและคุณภาพขององค์กรให้ดีขึ้นนั้นยังไม่เพียงพอและจะไม่ประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืนได้ หากไม่ได้ให้ความสำคัญในการพัฒนาทรัพยากรบุคคลขององค์กรให้มีคุณภาพ องค์กรจะก้าวหน้าอย่างมั่นคงผู้บริหารจำเป็นจะต้องกำหนดยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาคุณภาพทรัพยากรบุคคลภายในองค์กรให้ดีเพื่อให้บุคลากรได้พัฒนาความรู้ ความสามารถ ทักษะการทำงาน และมีความภูมิใจในงานที่ทำ นอกจากรายได้ที่ได้รับอย่างเหมาะสมจากองค์กรแล้วนั้นบุคลากรจะมีความภูมิใจมากหากผลการทำงานได้เป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จขององค์กร การนำหลักการง่ายๆ คือ PDCA (Plan Do Check Action) นอกจากจะนำมาใช้ในการพัฒนาคุณภาพงานแล้ว ยังมีความสำคัญในการช่วยพัฒนาบุคลากรให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ คิดแก้ไขปัญหา อย่างต่อเนื่องครับ  หลักการนี้สามารถนำไปใช้ได้กับทุกๆสายงานไม่เฉพาะด้านอุตสาหกรรมอาหาร หากมีโอกาสอยากให้ อ.ยม ช่วยแนะนำความรู้ด้านระบบ TQM ด้วยครับ. ขอบคุณครับ
เรียน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์, อ.ยม  นาคสุข สวัสดีเพื่อนๆ AFIM6 และท่านผู้อ่านทุกท่าน  ผมนายปริญญา  รักพรหม นักศึกษา ป.โท สาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง สำหรับการเรียนในวันอาทิตย์ที่ 8 ก.ค.50 ที่ผ่านมาซึ่งเป็นหัวข้อเกี่ยวกับเรื่องการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในธุรกิจอุตสาหกรรมอาหารเนื้อหาที่ อ.ยม ได้นำมาสอนลูกศิษย์ในวันนั้นถือว่าเป็นประโยชน์มากครับเพราะจะเกี่ยวข้องกับนักศึกษาโดยตรงซึ่งส่วนใหญ่ก็ทำงานอยู่ในภาคอุตสาหกรรมเกษตร-อาหาร การเรียนการสอนก็เป็นบรรยากาศที่เน้นการมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นแลกเปลี่ยนความรู้กันตามแนวทางที่ ท่าน อ.จีระได้วางไว้ ต้องขอขอบคุณอาจารย์ทั้ง 2 ท่านมากครับที่ได้ช่วยปูพื้นฐานและชี้นำความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาความรู้ ความสามารถ  สำหรับการบริหารงานในองค์กรนั้นหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องเกี่ยวข้องกับการบริหารคนและบริหารระบบ โดยเฉพาะการทำงานที่เกี่ยวข้องกับคนนั้นเป็นเรื่องที่ยากและสำคัญมาก เพราะว่าคนเป็นทรัพยากรที่มีความสำคัญมากที่สุดในองค์กร ใครจะบอกว่ามีเงินทุนมาก ทุ่มงบประมาณพัฒนาทางเทคโนโลยี เครื่องมือให้ทันสมัยเพื่อยกระดับและคุณภาพขององค์กรให้ดีขึ้นนั้นยังไม่เพียงพอและจะไม่ประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืนได้ หากไม่ได้ให้ความสำคัญในการพัฒนาทรัพยากรบุคคลขององค์กรให้มีคุณภาพ องค์กรจะก้าวหน้าอย่างมั่นคงผู้บริหารจำเป็นจะต้องกำหนดยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาคุณภาพทรัพยากรบุคคลภายในองค์กรให้ดีเพื่อให้บุคลากรได้พัฒนาความรู้ ความสามารถ ทักษะการทำงาน และมีความภูมิใจในงานที่ทำ นอกจากรายได้ที่ได้รับอย่างเหมาะสมจากองค์กรแล้วนั้นบุคลากรจะมีความภูมิใจมากหากผลของการทุ่มเททำงานนั้นได้เป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จขององค์กร การนำหลักการง่ายๆ ที่เป็นพื้นฐานของ HRM คือ PDCA (Plan Do Check Action) นอกจากจะนำมาใช้ในการพัฒนาคุณภาพงานแล้วนั้นยังมีความสำคัญในการช่วยพัฒนาบุคลากรให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ คิดแก้ไขปัญหา อย่างต่อเนื่อง ครับ หลักการนี้สามารถนำไปใช้ได้กับทุกๆสายงานไม่เฉพาะด้านอุตสาหกรรมอาหาร หากมีโอกาสอยากให้ อ.ยม ช่วยแนะนำความรู้ด้าน TQM ด้วยครับ. ขอบคุณครับ
กราบเรียน ท่าน อาจารย์ศ. ดร. จีระ,อาจารย์ยม, เพื่อนๆนักศึกษา MBA อาหารและท่านผู้อ่านทุกๆท่านค่ะ ดิฉัน น.ส. สุภาภรณ์ นำรุ่งโรจน์ นศ.MBAอาหาร ภาควิชาบริหารธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร คณะเทคโนโลยีการเกษตรสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังรู้สึกเป็นเกรียติเป็นอย่างยิ่งที่เป็นความโชคดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้มาเป็นลูกศิษย์ ท่านอ.จีระแล้ว ยังได้มีโอกาสได้เป็นลูกศิษย์อ.ยม ด้วยรู้สึกภูมิใจและภูมิใจที่วิชา HR นี้ให้ความสำคัญกับ Human เป็นอย่างมาก ที่มีผู้มีประสบการณ์ตรงหลากหลายมาให้ความรู้แก่พวกเราทุกคนค่ะ จากเมื่อวันที่ได้เรียนกับอาจารย์ยม เป็นวันแรกอาจารย์ได้เล่าประวัติ,ประสบการณ์ต่างๆของท่าน ให้ทราบและมาดูที่ web เพิ่มเติมรู้สึกทึ่งในความสามารถของอาจารย์ยมที่อยู่ในวงการอุตสาหกรรมอาหารที่ใกล้ตัวพวกเราและมองภาพพวกเราออกว่ามีพื้นฐานเป็นอย่างไรทำให้ทราบว่าอาจารย์ยมท่านได้ปฏิบัติตามสิ่งที่ท่านอ.จีระย้ำอยู่เสมอว่าคนเราต้องใฝ่รู้และหาความรู้อย่างต่อเนื่องไม่มีจุดสิ้นสุด ที่จะเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณค่าได้       จากการเรียนวิชา HR เมื่อวันที่ 8/7/50 ซึ่งอาจารย์ยมได้มาสอนและถ่ายทอดความรู้ในเรื่องภาพรวมการบริหารทรัพยากรมนุษย์มีดังนี้·        ความสำคัญของ HRM หลังจากได้เรียนรู้และได้ตระหนักว่า HRM นั้นมีความสำคัญ มีประเด็น ดังนี้1. HRM เป็นระบบการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่ดีในปัจจุบัน กล่าวคือ เป็นระบบที่มีการดูแลคนเหมือนคนในครอบครัว ที่ต้องให้ความรัก,ความเอาใจใส่และห่วงใยอย่างต่อเนื่อง ซึ่งต่างจากระบบ Personnel Management ที่เป็นการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่มองคนเป็นแค่สินค้า หรือเครื่องจักร ที่ยิ่งนานวันจะเสื่อมลง เท่านั้น ให้แต่ค่าจ้าง เมื่อรับเข้ามาและก็ให้ออกไป ซึ่งไม่ให้ความสำคัญกับคน แต่เน้นความต้องการผลิตสินค้าให้ปริมาณมาก กล่าวคือ คิดวิธีหรือทำยังไงก็ได้ให้ได้ product ที่มากที่สุด ซึ่งเป็นประสบการณ์ที่ได้เจอมากับตนเอง รู้สึกถึงไม่มีความรู้สีกที่ดีกับองค์กรนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้บริหารและผู้จัดการที่ใช้ระบบแบบนี้ ปัญญาที่พบคือ ภาวะสมองไหล พนักงานตั้งแต่ระดับพนักงานถึงระดับผจกฝ่าย เกิดการเข้า-ออก อย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลกระทบเกิดขึ้นมากมาย โดยเฉพาะในเรื่องของ ระบบคุณภาพต่างๆของบริษัท ไม่แข็งแรงพบจุดบอดต่างๆมากมาย ไม่มีบุคลากรที่มีคุณสมบัติหรือความสามารถมากพอที่จะทำให้องค์กรเติบโตไปได้ และฝ่ายพัฒนาทรัพยากรบุคคลไม่มีความใส่ใจหรือดูแลพนักงานในองค์กรเลย เขียนเป็นแผนแต่ไม่ได้นำมาปฏิบัติกับพนักงานในองค์กร  ซึ่งการใช้ระบบ HRM นั้นจะต้องใช้บุคลากรที่มีความรู้และความใส่ใจ เข้าใจกับระบบนี้และให้ความสำคัญกับระบบ HRM เป็นอย่างดี สิ่งที่ขาดไม่ได้ คือ ต้องมีการลงทุนกับคนสูงกว่า Personnel Management เพราะ ระบบ HRM เป็นระบบที่ให้ความสำคัญกับคนเป็นอันดับแรก เพราะถ้าในองค์กรขาดคนที่เป็นทั้งคนเก่งและคนดีนั้น ก็จะไม่สามารถทำให้องค์กรนั้นประสบความสำเร็จหรือเติบโตต่อไปได้ และเป็นระบบที่ต้องใช้ปัจจัยต่างๆมากมายที่จะ support ได้ที่เป็นสิ่งสำคัญและหลีกเลี่ยงไม่ได้เลย เพราะในปัจจุบันเศรษฐกิจไทยไม่คร่องตัว ทำให้องค์กรต่างๆ เกิดการ save cost เกิดขึ้น ทำให้ทุกองค์กรไม่สามารถใช้ระบบ HRM นี้ได้2.  กับประเด็นที่ว่าการทำงานกับองค์กรนั้น ระยะเวลาในการทำงานกับองค์กรไม่ใช่สิ่งสำคัญ ซึ่งดิฉันเห็นด้วยกับอาจารย์เป็นอย่างยิ่งและโป๊ะเฉ๊ะ เป็นอย่างมาก เพราะ ต้องพิจารณาอย่างอื่นมาเกี่ยวข้องด้วย เช่น บุคคลนั้นได้มีการทำงานอะไรให้กับองค์กรบ้าง และ บุคคลนั้นอาจต้องการทำงานที่ท้าทายและใช้เวลากับองค์กรนั้นไม่มากนักหรือไม่ยึดติดกับองค์กรนั้นไปตลอดชีวิต เพื่อที่จะนำประสบการณ์ไปต่อยอดกับการดำเนินชีวิตของตนเองและครอบครัวต่อไปได้      คนที่ทำงานดีหรือมี talent ไม่จำเป็นต้องอยู่นาน เพราะบางคนอยู่ในองค์นานเป็น 10 ปี แต่อาจมีผลงาน สู้คนที่อยู่ 1-3 ปี ไม่ได้โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Master ที่ใช้ฝีมือตนเอง ไม่ได้ copy มากจากของคนอื่น  และผู้บริหารต้องมาพิจารณาด้วยว่า บุคคลนั้นได้ทำอะไรให้องค์กรบ้าง ควรให้ผลตอบกับเขาที่ทำงานให้กับบริษัทอย่างเต็มที่และจะทำให้เกิดความรู้สึกและผูกผันเหมือนบริษัทเป็นครอบครัวแห่งที่ 2 ·        ปัญญาที่พบด้าน คน จากประสบการณ์ของดิฉัน มีประเด็น ดังนี้1.      การบ้าอำนาจ หัวหน้างานใช้แต่อำนาจอย่างเดียว ไม่มีความรักและความจริงใจให้กับลูกน้อง หวังผลประโยชน์ฝ่ายเดียว ทำให้ลูกน้องไม่เกิดความศรัทธา เคารพ นับถือและให้เกรียติ กล่าวคือ ไม่มีบารมี2.      ใช้คนคุ้มมาก กล่าวคือ ทำงานเกินกำลังที่จะทำไหว ทำให้เกิดความเหนื่อยล้าและทำให้ทำงานได้ไม่ดีและผิดพลาดขึ้นบ่อย3.      ลด O.T. กับพนักงาน แต่งานต้องเสร็จเรียบร้อย ซึ่งทำได้ยากและทำให้พนักงานเกิดความเครียด และไม่มีความสุขกับการทำงาน4.      กดกันกับลูกน้องตลอดเวลา ไม่ใจกว้างกับลูกน้อง ต้องมีผลประโยชน์มาแลกเปลี่ยนเสมอ อิจฉาลูกน้อง ไม่ส่งเสริมหรือพัฒนาลูกน้อง กล่าวคือ ส่งเสริมตนเองและพัฒนา traing ตนเอง5.      ตามความคิดของดิฉัน คิดว่า ผู้บริหารที่ดีควรที่จะ ให้ กับลูกน้องมากๆ เช่น ความรู้เกี่ยวกับงาน แก้ปัญหาให้กับลูกน้องได้ และควรเห็น ลูกน้องเป็นคนในครอบครัว เช่น พี่น้อง ซึ่งจะทำให้เกิดการทำงานที่มีความสุขทั้งต่อตนเองและบุคคลอื่นด้วย เมื่อลูกน้องทำผิดสามารถตำหนิได้แต่ไม่ควรโยนความผิดให้เขา หัวหน้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบด้วย ต้องให้เกรียติกับลูกน้องเป็นอย่างมากห้ามดูถูกคนเป็นเด็ดขาดถึงการศึกษาจะต่ำกว่าเราก็ตาม เพราะเราทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกัน

6.      นี่แหละค่ะที่ดิฉันคิดว่า ถึงจะเป็นหัวหน้าที่ดีได้ ซึ่ง ดิฉันก็นำมาปฏิบัติแต่ก็ยอมรับค่ะ ว่าไม่ได้ 100 % ซึ่งก็มีปัญหาอย่างอื่นมาเกี่ยวข้องด้วย

 สรุป จากหัวข้อต่างๆที่กล่าวมา ก็เกิดจากวิธีสร้างอำนาจของผู้บริหารที่ดี หรือ อำนาจทั้ง 5 ในอย่างต่ำ 8 ชั่วโมง / วัน มีดังนี้1)    อำนาจสร้างด้วยการให้2)    อำนาจสร้างด้วยการติ3)    อำนาจสร้างด้วยการเป็นผู้รู้มากกว่า4)    อำนาจสร้างด้วยการอ้างอิง5)    อำนาจนิติกรรม                               ขอบคุณค่ะ          น.ส. สุภาภรณ์  นำรุ่งโรจน์           รหัสนักศึกษา 50066215              
    กราบเรียน ท่าน อาจารย์ศ. ดร. จีระ,อาจารย์ยม, เพื่อนๆนักศึกษา MBA อาหารและท่านผู้อ่านทุกๆท่านค่ะ ดิฉัน น.ส. สุภาภรณ์ นำรุ่งโรจน์ นศ.MBAอาหาร ภาควิชาบริหารธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร คณะเทคโนโลยีการเกษตรสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังรู้สึกเป็นเกรียติเป็นอย่างยิ่งที่เป็นความโชคดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้มาเป็นลูกศิษย์ ท่านอ.จีระแล้ว ยังได้มีโอกาสได้เป็นลูกศิษย์อ.ยม ด้วยรู้สึกภูมิใจและภูมิใจที่วิชา HR นี้ให้ความสำคัญกับ Human เป็นอย่างมาก ที่มีผู้มีประสบการณ์ตรงหลากหลายมาให้ความรู้แก่พวกเราทุกคนค่ะ จากเมื่อวันที่ได้เรียนกับอาจารย์ยม เป็นวันแรกอาจารย์ได้เล่าประวัติ,ประสบการณ์ต่างๆของท่าน ให้ทราบและมาดูที่ web เพิ่มเติมรู้สึกทึ่งในความสามารถของอาจารย์ยมที่อยู่ในวงการอุตสาหกรรมอาหารที่ใกล้ตัวพวกเราและมองภาพพวกเราออกว่ามีพื้นฐานเป็นอย่างไรทำให้ทราบว่าอาจารย์ยมท่านได้ปฏิบัติตามสิ่งที่ท่านอ.จีระย้ำอยู่เสมอว่าคนเราต้องใฝ่รู้และหาความรู้อย่างต่อเนื่องไม่มีจุดสิ้นสุด ที่จะเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณค่าได้  

     จากการเรียนวิชา HR เมื่อวันที่ 8/7/50 ซึ่งอาจารย์ยมได้มาสอนและถ่ายทอดความรู้ในเรื่องภาพรวมการบริหารทรัพยากรมนุษย์มีดังนี้

·        ความสำคัญของ HRM หลังจากได้เรียนรู้และได้ตระหนักว่า HRM นั้นมีความสำคัญ มีประเด็น ดังนี้

 

1. HRM เป็นระบบการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่ดีในปัจจุบัน กล่าวคือ เป็นระบบที่มีการดูแลคนเหมือนคนในครอบครัว ที่ต้องให้ความรัก,ความเอาใจใส่และห่วงใยอย่างต่อเนื่อง ซึ่งต่างจากระบบ Personnel Management ที่เป็นการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่มองคนเป็นแค่สินค้า หรือเครื่องจักร ที่ยิ่งนานวันจะเสื่อมลง เท่านั้น ให้แต่ค่าจ้าง เมื่อรับเข้ามาและก็ให้ออกไป ซึ่งไม่ให้ความสำคัญกับคน แต่เน้นความต้องการผลิตสินค้าให้ปริมาณมาก กล่าวคือ คิดวิธีหรือทำยังไงก็ได้ให้ได้ product ที่มากที่สุด ซึ่งเป็นประสบการณ์ที่ได้เจอมากับตนเอง รู้สึกถึงไม่มีความรู้สีกที่ดีกับองค์กรนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้บริหารและผู้จัดการ

ที่ใช้ระบบแบบนี้ ปัญญาที่พบคือ ภาวะสมองไหล พนักงานตั้งแต่ระดับพนักงานถึงระดับผจกฝ่าย เกิดการเข้า-ออก อย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลกระทบเกิดขึ้นมากมาย โดยเฉพาะในเรื่องของ ระบบคุณภาพต่างๆของบริษัท ไม่แข็งแรงพบจุดบอดต่างๆมากมาย ไม่มีบุคลากรที่มีคุณสมบัติหรือความสามารถมากพอที่จะทำให้องค์กรเติบโตไปได้ และฝ่ายพัฒนาทรัพยากรบุคคลไม่มีความใส่ใจหรือดูแลพนักงานในองค์กรเลย เขียนเป็นแผนแต่ไม่ได้นำมาปฏิบัติกับพนักงานในองค์กร  ซึ่งการใช้ระบบ HRM นั้นจะต้องใช้บุคลากรที่มีความรู้และความใส่ใจ เข้าใจกับระบบนี้และให้ความสำคัญกับระบบ HRM เป็นอย่างดี สิ่งที่ขาดไม่ได้ คือ ต้องมีการลงทุนกับคนสูงกว่า Personnel Management เพราะ ระบบ HRM เป็นระบบที่ให้ความสำคัญกับคนเป็นอันดับแรก เพราะถ้าในองค์กรขาดคนที่เป็นทั้งคนเก่งและคนดีนั้น ก็จะไม่สามารถทำให้องค์กรนั้นประสบความสำเร็จหรือเติบโตต่อไปได้ และเป็นระบบที่ต้องใช้ปัจจัยต่างๆมากมายที่จะ support ได้ที่เป็นสิ่งสำคัญและหลีกเลี่ยงไม่ได้เลย เพราะในปัจจุบันเศรษฐกิจไทยไม่คร่องตัว ทำให้องค์กรต่างๆ เกิดการ save cost เกิดขึ้น ทำให้ทุกองค์กรไม่สามารถใช้ระบบ HRM นี้ได้

 2.  กับประเด็นที่ว่าการทำงานกับองค์กรนั้น ระยะเวลาในการทำงานกับองค์กรไม่ใช่สิ่งสำคัญ ซึ่งดิฉันเห็นด้วยกับอาจารย์เป็นอย่างยิ่งและโป๊ะเฉ๊ะ เป็นอย่างมาก เพราะ ต้องพิจารณาอย่างอื่นมาเกี่ยวข้องด้วย เช่น บุคคลนั้นได้มีการทำงานอะไรให้กับองค์กรบ้าง และ บุคคลนั้นอาจต้องการทำงานที่ท้าทายและใช้เวลากับองค์กรนั้นไม่มากนักหรือไม่ยึดติดกับองค์กรนั้นไปตลอดชีวิต เพื่อที่จะนำประสบการณ์ไปต่อยอดกับการดำเนินชีวิตของตนเองและครอบครัวต่อไปได้      คนที่ทำงานดีหรือมี talent ไม่จำเป็นต้องอยู่นาน เพราะบางคนอยู่ในองค์นานเป็น 10 ปี แต่อาจมีผลงาน สู้คนที่อยู่ 1-3 ปี ไม่ได้

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Master ที่ใช้ฝีมือตนเอง ไม่ได้ copy มากจากของคนอื่น  และผู้บริหารต้องมาพิจารณาด้วยว่า บุคคลนั้นได้ทำอะไรให้องค์กรบ้าง ควรให้ผลตอบกับเขาที่ทำงานให้กับบริษัทอย่างเต็มที่และจะทำให้เกิดความรู้สึกและผูกผันเหมือนบริษัทเป็นครอบครัวแห่งที่ 2

 

·        ปัญญาที่พบด้าน คน จากประสบการณ์ของดิฉัน มีประเด็น ดังนี้

1.      การบ้าอำนาจ หัวหน้างานใช้แต่อำนาจอย่างเดียว ไม่มีความรักและความจริงใจให้กับลูกน้อง หวังผลประโยชน์ฝ่ายเดียว ทำให้ลูกน้องไม่เกิดความศรัทธา เคารพ นับถือและให้เกรียติ กล่าวคือ ไม่มีบารมี

 

2.      ใช้คนคุ้มมาก กล่าวคือ ทำงานเกินกำลังที่จะทำไหว ทำให้เกิดความเหนื่อยล้าและทำให้ทำงานได้ไม่ดีและผิดพลาดขึ้นบ่อย

 

3.      ลด O.T. กับพนักงาน แต่งานต้องเสร็จเรียบร้อย ซึ่งทำได้ยากและทำให้พนักงานเกิดความเครียด และไม่มีความสุขกับการทำงาน

 

4.      กดกันกับลูกน้องตลอดเวลา ไม่ใจกว้างกับลูกน้อง ต้องมีผลประโยชน์มาแลกเปลี่ยนเสมอ อิจฉาลูกน้อง ไม่ส่งเสริมหรือพัฒนาลูกน้อง กล่าวคือ ส่งเสริมตนเองและพัฒนา traing ตนเอง

 

5.      ตามความคิดของดิฉัน คิดว่า ผู้บริหารที่ดีควรที่จะ ให้ กับลูกน้องมากๆ เช่น ความรู้เกี่ยวกับงาน แก้ปัญหาให้กับลูกน้องได้ และควรเห็น ลูกน้องเป็นคนในครอบครัว เช่น พี่น้อง ซึ่งจะทำให้เกิดการทำงานที่มีความสุขทั้งต่อตนเองและบุคคลอื่นด้วย เมื่อลูกน้องทำผิดสามารถตำหนิได้แต่ไม่ควรโยนความผิดให้เขา หัวหน้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบด้วย ต้องให้เกรียติกับลูกน้องเป็นอย่างมากห้ามดูถูกคนเป็นเด็ดขาดถึงการศึกษาจะต่ำกว่าเราก็ตาม เพราะเราทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกัน

 

6.      นี่แหละค่ะที่ดิฉันคิดว่า ถึงจะเป็นหัวหน้าที่ดีได้ ซึ่ง ดิฉันก็นำมาปฏิบัติแต่ก็ยอมรับค่ะ ว่าไม่ได้ 100 % ซึ่งก็มีปัญหาอย่างอื่นมาเกี่ยวข้องด้วย

  สรุป จากหัวข้อต่างๆที่กล่าวมา ก็เกิดจากวิธีสร้างอำนาจของผู้บริหารที่ดี หรือ อำนาจทั้ง 5 ในอย่างต่ำ 8 ชั่วโมง / วัน มีดังนี้1)    อำนาจสร้างด้วยการให้2)    อำนาจสร้างด้วยการติ3)    อำนาจสร้างด้วยการเป็นผู้รู้มากกว่า4)    อำนาจสร้างด้วยการอ้างอิง5)    อำนาจนิติกรรม                                 ขอบคุณค่ะ                        น.ส. สุภาภรณ์  นำรุ่งโรจน์                             รหัสนักศึกษา 50066215

             

 
รสสุคนธ์ น้อยจินดา

          กราบเรียน ศ.ดร.จีระ หงลดารมภ์ อาจารย์ยม นาคสุข และท่านผู้อ่านทุกท่าน ดิฉัน นางสาวรสสคนธ์  น้อยจินดา  นักศึกษาปริญญาโท สาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร คณะเทคโนโลยีการเกษตรสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง 

           จากที่ได้เรียนในวันอาทิตย์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 เวลา 9.00 – 13.00 น. เรื่อง ภาพรวมการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งเป็นการเรียนครั้งแรกกับอาจารย์ยม รู้สึกชื่นชอบบรรยากาศในการเรียนเป็นอย่างมาก เนื้อหาที่เรียนที่ดิฉันจับประเด็นได้หลักๆ 3 ประเด็น ดังนี้

ประเด็นแรก การวางแผน วางยุทธศาสตร์  คือ การจะทำอะไรต้องมีการวางแผนล่วงหน้า อย่างที่ท่านอาจารย์ถามนักศึกษาเกี่ยวกับการเก็บ A ของแต่ละคน ต้องมีการวางแผนในการเรียน วางยุทธศาสตร์ไว้ก่อน แล้วพยายามปฏิบัติให้ได้ตามแผนนั้น 

ประเด็นที่สอง การแก้ปัญหาต้องแก้จากสาเหตุ  ศึกษาถึงสาเหตุที่แท้จริงของปัญหา อย่ามองข้ามตนเอง ถ้าปัญหาเกิดจากตนเองก็ต้องแก้ก่อนที่จะไปกล่าวโทษคนอื่น

ประเด็นที่สาม การบริหารจัดการคนเก่ง ให้ทั้งเก่งและมีคุณธรรม จริยธรรม ทำการวิเคราะห์คนเก่ง ถ้าเป็นคนเก่งแต่อ่อนด้านความดี ต้องเร่งการพัฒนาด้านคุณธรรม จริยธรรม เพื่อเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีค่าขององค์กร

จากประเด็นที่สรุปได้ทั้งสาม สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการบริหารตนเองและบริหารทรัพยากรมนุษย์ขององค์กร มองภาพให้กว้างขึ้น มี Positive thinking อีกทั้ง ยังได้รับความรู้เพิ่มเติมจากการตอบคำถามของท่านอาจารย์ยมที่นักศึกษาร่วมกันถาม ขอขอบพระคุณท่านอาจารย์ยมมากค่ะ 
อรนุช หล่ำสกุลไพศาล

        กราบเรียนศ.ดร.จีระ , อาจารย์ยม และท่านผู้อ่านblogทุกท่าน ดิฉันนางสาวอรนุช หล่ำสกุลไพศาล นักศึกษาระดับปริญญาโทสาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร คณะเทคโนโลยีการเกษตร สจล. จากการที่ได้มีโอกาสได้ฟังการบรรยายของอาจารย์ยมเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 เกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ความรู้ที่ได้รับจากการเรียนวิชา HR ซึ่งอาจารย์ยมได้มาสอนและถ่ายทอดความรู้ในเรื่องภาพรวมการบริหารทรัพยากรมนุษย์มีดังนี้

หลักการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 

·        Personnel administration กับ HR management ต่างกันตรงที่

 
Personnel administration HR management
1.          มอง คน เป็นต้นทุน2.          เริ่มดูแล คน เหล่านั้นต่อเมื่อเขาเหล่านั้นได้เข้าเป็นพนักงานขององค์กรแล้ว ในช่วงการทดลองงานจะยังไม่มีการดูแล และจะดูแลตั้งแต่เริ่มทำงานจนถึงวันสุดท้ายของการจ้างงาน3.          กระบวนการทำงานด้านคน เน้นตามเอกสารทั้งการควบคุมขาด ลา มาสาย การจ่ายค่าจ้าง และจัดหาคนตามความต้องการ เน้นปริมาณ ไม่สนใจเรื่องแรงงานสัมพันธ์ 1.    มองคนเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่า2.    เริ่มดูแลคนตั้งแต่เข้างาน แม้จะอยู่ในช่วงการทดลองงาน จนถึงหลังการทำงาน รวมถึงมุ่งพัฒนาให้เกิดการมีส่วนร่วม รวมถึงสร้างวัฒนธรรม ปรับทัศนคติ ค่านิยมของพนักงาน ให้ตรงกัน 3.    การคัดเลือก สรรหาจะมีการวางแผน มีการกำหนดสมรรถนะ และคุณสมบัติตามลักษณะงาน เน้นกระบวนการทำงานที่สอดคล้องกับโครงสร้าง กลยุทธ์ และวิสัยทัศน์ขององค์กร
 ในบริษัทมีการลาออกกันสูง แล้วก็ต้องทำการฝึกงานให้กับคนที่เข้ามาใหม่ อย่างที่ อาจารย์ยม แนะนำว่าการแก้ปัญหาต้องแก้ที่ต้นเหตุ ต้องถามตัวเอง “Why” 5 ครั้งแล้วถึงจะได้คำตอบออกมาโดยเริ่มจากถามตัวเราเองก่อน why!why!why!why!why! แม้แต่เรื่องแรงงานสัมพันธ์ แรกก็ไม่รู้เลยว่าคืออะไร แล้วทำไมต้องมี เพราะที่ทำงานมีแต่สหภาพแรงงาน ก็พึ่งทราบจากอาจารย์ยม ว่าแรงงานสัมพันธ์คืออะไร ทำไมจึงต้องมี ทำไมจึงต้องมี แรงงานสัมพันธ์ เพราะแรงงานสัมพันธ์ มีไว้เพื่อรับฟังความคิดเห็นของพนักงานในองค์กร อย่างเช่นห้องน้ำไม่เพียงพอ โรงอาหารไม่มีความสะอาด เป็นต้น แรงงานสัมพันธ์ก็จะนำข้อเสนอเหล่านั้นไปแจ้งให้ เจ้าขององค์กร หรือบุคคลที่สามารถจัดการในข้อเรียกร้องเหล่านั้นได้ แต่ถ้าแรงงานสัมพันธ์ ทำได้แค่เพียงบอกว่า ทนทนไป ก็จะก่อให้เกิดการพูดคุยกัน รวมกันเป็นกลุ่ม เป็นแผนก แล้วจดทะเบียนจนเกิดเป็นสหภาพแรงงาน 

การพัฒนาบุคลากร คือต้องดูว่าองค์กรเรามีคนเก่งกี่เปอร์เซ็นต์ และเรื่องที่สองต้องดูว่าเขาอ่อนอะไร แล้วจึงเสริมให้เขา อย่างความรู้ ทัศนะคติ คุณธรรม ถามตัวเองว่าเคยเสริมให้เขาหรือไม่ แล้วทำไมถึงไม่ทำ สิ่งที่สำคัญคือก่อนที่เราจะ Change คนอื่น เราต้อง Positive ก่อน เมื่ออาจารย์พูดถึงเรื่อง การคิดบวก จึงถามตัวเองทันทีว่าเราไม่เคยคิดถึงเรื่องการคิดบวกเลย ยอมรับว่าตอนที่อาจารย์ยม พูดถึงเรื่องนี้ งง ว่าจำเป็นด้วยหรือ เมื่อทบทวนดูแล้วจึงรู้ว่าเมื่อลองคิดบวกกับคนที่ร่วมงานด้วยในช่วงวันจันทร์-อังคารที่ผ่านมานี้ ทำให้รู้สึกสบายใจอย่างบอกไม่ถูก

 การติเพื่อก่อ ถือเป็นเทคนิคหนึ่ง คือควรทำโดยทันทีเมื่อลูกน้องทำผิด ด่าคนให้เพราะ ติเพื่อก่อ ติเพื่อให้เกิดการสร้างสรรค์ อาจใช้อำนาจอ้างอิง  อำนาจทางนิติกรรม โดยให้โอกาส ความรู้ ให้อภัย ให้คุณ ให้โทษ บริหารเขาเหมือนลูกและน้องให้ความเป็นกันเอง แต่ก่อนอื่นการที่เราจะเป็นผู้นำ จะติเขาได้ต้องรู้ให้มากกว่าลูกน้อง ต้องดูว่าลูกน้องมีจุดอ่อนอะไร แล้วนำจุดอ่อนเหล่านั้นทำเป็นจุดแข็งของเรา ช่วงท้ายชั่วโมง อาจารย์ยมได้ย้ำว่าการจะทำอะไรต้องมีทุนความรู้ มีคุณธรรม จริยธรรม มีปัญญา มีทุนทาง IT รู้จักพอประมาณ ไม่ทำอะไรเกินตัว ทำแล้วต้องยั่งยืน ตามทฤษฏี 8 K’s ของท่านอาจารย์จีระ
สวัสดี อาจารย์ จีระ, อาจารย์ ยม และท่านผู้อ่านทุกท่าน         เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2550 ที่ผ่านมา ดิฉัน นางสาว สุมิตรา พนาอภิชน ได้เข้าศึกษาวิชา Human Resources Management กับอาจารย์ ยม ณ. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต พอจะสรุปเป็นประเด็นได้ดังต่อไปนี้1. คนที่จะทำอะไรแล้วประสบความสำเร็จได้นั้น สิ่งที่แรกที่ต้องมีคือ การทำจิตให้นิ่งหรือการมีสมาธิในการที่จะทำสิ่งต่างๆ และการมีความเชื่อมั่นในสิ่งที่จะทำว่าจะต้องประสบความสำเร็จ เพราะจิตของมนุษย์เรานั้นจะเป็นไปตามที่คิด ถ้าเราคิดว่าคงไม่สำเร็จแน่งานนั้นก็อาจจะไม่สำเร็จดังที่จิตได้คิด2. การที่เราจะมองหรือตัดสินใครสักคนว่าเป็นคนเช่นไรนั้น ให้มอง 2 ด้าน คือ ด้านบวกและด้านลบ แต่ส่วนใหญ่แล้วคนเรามักจะมองคนอื่นเฉพาะที่เป็นด้านลบเท่านั้น ดังนั้น คนที่จะประสบความสำเร็จในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ได้ดีนั้น สิ่งหนึ่งที่สำคัญคือการมองคนให้มองสองด้าน แล้วนำสิ่งที่ได้มาวิเคราะห์ก่อนที่จะตัดสินใจว่า คนๆนั้นเป็นคนไม่ดี และผู้บริหารที่ดีต้องมีความเชื่อว่า  คนมีความสำคัญที่สุดในองค์กร พนักงานไม่ใช่ต้นทุน แต่เป็นสิ่งที่มีคุณค่ามากที่สุดในองค์กร และคนทุกคนต้องการที่จะเป็นคนดี และถ้าองค์กรใดที่สามารถบริหารทรัพยากรมนุษย์ในองค์กรได้ดี  ผลกำไรก็จะตามมา3. การบริหารคนเก่งนั้น ต้องเริ่มตั้งแต่กระบวนการรับสมัครพนักงานที่มีความสามารถมาร่วมงาน เมื่อได้คนเก่งมาทำงานด้วยแล้ว องค์กรต้องมีแผนในการพัฒนาทรัพยากร. มีหลักสูตรในการอบรม อย่างเช่น หลักสูตรพฤติกรรมพึ่งประสงค์ เช่น การสอนให้คนเป็นคนตรงต่อเวลา มีความซื่อสัตย์ เป็นคนเอื้ออาทรช่วยเหลือซึ่งกันและกัน หรือแม้แต่การให้พนักงานมีสวนร่วมในการแสดงความคิดเห็น และองค์กรน่าจะนำทฤษฎีมัสโรลมาใช้ในการทำยุทธ์ศาสตร์ ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์  ว่าเราต้องการอะไร และจะทำสิ่งที่เราต้องการได้อย่างไร สำหรับในเรื่องปัจจัยพื้นฐานของคน บทบาทสำคัญของผู้นำองค์กร มีอยู่ 3 อย่างคือ 1) ลูกค้าพึงพอใจ (Customer Satisfaction)2) ผลประกอบการการดำเนินงานขององค์กรดี   (Organization Result)3) พนักงานมีความพึงพอใจ (Employee Satisfaction)เครื่องมือที่ใช้ช่วยในการจัดการเรื่องคน เช่น Internal audit, morning meeting, weekly or monthly meeting, PDCA4) วิธีในการสร้างอำนาจมีอยู่ 5 วิธี คือ การให้ (เช่น การให้โอกาส. การให้ความรู้, การให้อภัย.รางวัล หรือแม้แต่การให้ความใกล้ชิด), การติ, การเป็นผู้รู้มากกว่า (คือต้องรู้ให้มากกว่าลูกน้อง โดยดูที่จุดอ่อนของลูกน้องแล้ว นำจุดอ่อนนั้นมาเป็นจุดแข็งของเรา), อำนาจอ้างอิง, อำนาจทางนิติกรรมจากสิ่งที่ ดิฉันได้กล่าวมาในข้างต้นนั้น สามารถที่จะนำไปประยุกต์ใช้ที่ทำงานหรือแม้แต่ในชีวิตประจำวันได้ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาตนเองหรือการพัฒนาพนักงานที่อยู่ใต้อำนาจการบริหาร  สำหรับตัวของดิฉันเองเป็นเพื่อพนักงาน office สิ่งที่จะนำมาใช้ได้ก็เป็นเรื่องการตัดสินคนว่าคนนั้นเป็นคนดีหรือเป็นเลวนั้น  เราต้องรู้จักวิเคราะห์ทางด้านบวกและด้านลบ ก่อนจึงจะตัดสินว่าคนๆนั้นเป็นคนเช่นไร สุดท้ายนี้ต้องขอขอบพระคุณอาจารย์จีระและอาจารย์ยม ที่ได้เสียสละเวลาอันมีค่ามาให้ความรู้กับดิฉันและเพื่อน และที่ลืมไม่ได้ต้องขอขอบคุณ พี่เอ้ พี่เอ และพี่นะ ที่คอยช่วยประสานงานจนเกิดการเรียนรู้ในวันนี้ขึ้นมาได้
   เรียน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ อาจารย์ยม นาคสุข และผู้อ่านทุกท่านครับ  กระผมนายวิศรุต แสงโนรี นักศึกษาสาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง    จากการเรียนเมื่อวันอาทิตย์ที่ 8 ก.ค.50 ที่ผ่านมา ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณ อาจารย์ยม ที่เสียสละเวลามาให้ความรู้ในการบริหาร ทรัพยากรมนุษย์ในธุรกิจอาหาร แม้เนื้อหาของอาจารย์อาจไม่ได้เจาะจงกับการบริหารธุรกิจธุรกิจอาหารโดยตรงแต่การให้ แง่คิด และการยกตัวอย่างที่เกิดขึ้นจริงในการทำงานมาแสดงนั้น ทำให้ผมได้เห็นภาพเกี่ยวกับงานบริหารทรัพยากรมนุษย์ซึ่งผมไม่มีประสบการณ์ทางด้านนี้เลย ได้ง่ายขึ้น  อาจารย์ได้สอนให้มีสติ จิตต้องนิ่งในการเรียน ซึ่งทำให้เรียนได้เข้าใจง่ายขึ้น  สิ่งที่ผมได้จากการเรียนครั้งนี้ คือ
  1. การบริหารทรัพยากรมนุษย์ คือ การบริหารทัศนคติ การแก้ปัญหาเราต้องแก้จากสาเหตุ เช่น คนงานลาออก   อาจเกิดจากสัญญาจ้างไม่มั่นคง และการแก้ปัญหาต้องแก้จากตัวเราก่อน ยิ่งถ้าเป็นผู้บริหารต้องสำรวจตัวเองก่อนจะกล่าวโทษผู้อื่น
  2. คนเราต้องมีเป้าหมาย  และออกไปหาความรู้เพื่อพาตัวเองไปสู่เป้าหมายให้ได้ ถึงแม้เรายังไปไม่ถึงเป้าหมายแต่เราก็ยังมีโอกาสในการไปถึงเป้าหมายเสมอถ้าเรายังไม่หมดความพยายาม
  3. การสร้างอำนาจ ทำได้โดย การให้  การติ  การเป็นผู้รู้มากกว่า  การอ้างอิง  นิติกรรม
    สิ่งที่ผมประสบอยู่ในการทำงาน คือ คนงานในภาคการเกษตรมีอัตราการลาออก มาทำงานไม่ตรงเวลาบ่อยๆ การเก็บเกี่ยวผลผลิตมีปัญหาเนื่องจากคนงานขาดความรู้ที่ถูกต้อง    จากการเรียนในครั้งนี้ทำให้ผมได้ความรู้ที่จะสามารถนำไปใช้เพื่อลดอัตราดังกล่าว กล่าวคือจะนำเรื่อง การให้สัญญาจ้างที่ยาวกว่าเดิมคือจ้างเป็นปี แทนสัญญาจ้างเป็นเดือนและให้เงินพิเศษเมื่อมีงานเพิ่มขึ้นในบางช่วง และการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับคนงาน อาจมีการจัดเลี้ยงประจำปีเพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดี การลงพื้นที่ในการทำงานสอบถามปัญหาต่างๆ และให้ความรู้ที่ถูกต้องในการทำงานด้วยการจัดโครงการอบรมการเก็บเกี่ยวผลผลิตที่ถูกวิธีจากนักวิชาการทางการเกษตร     ข้อเสนอแนะ อยากให้อาจารย์ยม ช่วยแนะนำการรับคนในการเข้าทำงานโดยละเอียดด้วยคับ  ต้องขอขอบคุณอาจารย์ยมอีกครั้งสำหรับข้อมูลดีดี ทำให้ผมได้มีแนวทางในการแก้ปัญหาและพัฒนาตัวเองให้เป็นคนที่ดีมีคุณภาพมากขึ้นคับ
กราบเรียนศ.ดร.จีระ , อาจารย์ยม  และท่านผู้อ่านblogทุกท่าน   ดิฉันนางสาวกัญญารัตน์  ลาภเดโชนักศึกษาปริญญาโทสาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร คณะเทคโนโลยีการเกษตร  สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร  จากการที่ได้มีโอกาสได้ฟังการบรรยายของอาจารย์ยมเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 เกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ความรู้ที่ได้รับจากการเรียนวิชา HR ซึ่งอาจารย์ยมได้มาสอนและถ่ายทอดความรู้ในเรื่องภาพรวมการบริหารทรัพยากรมนุษย์ต้องขอขอบพระคุณอาจารย์จีระและอาจารย์ยม และคณะที่ได้เสียสละเวลาอันมีค่ามาให้ความรู้แก่ดิฉัน  ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งด้านการบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ได้จริง  สิ่งที่ได้อย่างยิ่งคือการที่เราต้องรู้จักใฝ่ความรู้ให้แก่ตัวเอง  ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งในการพัฒนาคนสิ่งที่ได้จากการเรียนครั้งนี้มีดังนี้1.    ผู้นำต้องประกอบไปด้วย  ทุนมนุษย์  ทุนทางปัญญา  อำนาจ และยุทธศาสตร์ต่างๆเช่น  การสร้างแรงจูงใจ  การสร้างทัศนคติที่ดี การตอบสนองความต้องการ  เป็นต้น  เพื่อใช้ในการจัดการการบริหารทรัพยากรมนุษย์  ซึ่งการบริหารทรัพยากรมนุษย์นั้นไม่ใช่แค่ในที่ทำงาน  แต่สามารถใช้ได้กับการอยู่ร่วมกันในสังคม  ครอบครัว  เพื่อน  พี่น้องได้เป็นอย่างดี2.   การแก้ปัญหาต่างๆในองค์กร  ควรที่จะแก้ที่ต้นเหตุดูที่สาเหตุของปัญหา  โดยเริ่มจากดูที่ตัวเราเอง  ตั้งแก่นโยบาย  กฎระเบียบต่างๆ  อีกทั้งสวัสดิการที่ให้แค่คนในองค์กรนั้นเพียงพอหรือตรงต่อความต้องการของคนใจองค์กรหรือไม่  เมื่อทราบถึงปัญหาแล้วควรที่จะมีการแก้ปัญหาอย่างเร่งด่วน  และมีการปรับปรุงข้อกำหนดต่างๆให้สอดคล้องกับสถานการณ์  แต่ภายใต้พื้นฐานของความพอใจทั้งสองฝ่ายคือฝ่ายพนักงานเองและผู้บริหารเองด้วย  การบริหารองค์กรควรมีการรับฟังความคิดเห็นของคนในองค์กรด้านต่างๆ  ซึ่งจะทำให้คนในองค์กรเกิดความเชื่อมั่นแก่องค์กรเกิดทัศนคติที่ดีกับองค์กรเองไปถึงเมื่อเข้าลาออกจากองค์ไปแล้ว3.   การบริหารทรัพยากรมนุษย์ต้องมีการวางแผน  วางยุทธศาสตร์  ตั้งแต่การสรรหาพนักงาน  ตลอดจนการฝึกอบรมพนักงาน  หรือแม้กระทั้งการวางตำแหน่งหน้าที่งานให้เหมาะสมกับคนกับพนักงานนั้นๆ ตลอดจนการฝึกอบรม  การให้ความรู้แก่คนในองค์กร  เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเรื่องคนไม่มีคุณภาพ  ที่อาจจะทำให้เกิดปัญหาต่างๆแก่องค์กรได้ในภายหลังสิ่งที่ได้จากการเรียนครั้งนี้เป็นเหมือนความรู้  ที่เล่าผ่านประสบการณ์ทำให้ได้เชื่อโยงถึงประสบการณ์ที่ตัวเองเคยประสบมาจริง  และสามารถนำประสบการณ์นั้นไปประยุกต์ใช้ได้  เห็นถึงความสำคัญในการที่เราจะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เทคนิคต่างๆที่จะนำมาใช้ในแต่ละสถานการณ์ต่างๆการเปลี่ยนทัศนคติด้านลบของคนให้เป็น ด้านบวกการสร้างความจงรักภักดีให้แก่คน  ซึ่งเป็นสิ่งที่ท้าทายความสามารถของเราอย่างยิ่ง  เพราะสิ่งที่จำเป็นและสิ่งที่ยากที่สุดขององค์กรคือ  การจัดการคน 
นายอานนท์ ร่มลำดวน
เรียน ศ.ดร. จิระ  อาจารย์ ยม พี่ๆชาว Chira academy และท่านผู้อ่าน blog ของพวกเราชาวนักศึกษา ป.โท ลาดกระบังทุกท่านครับ  ในวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ( 8 ก.ค 50 ) นับว่าเป็นอีกวันที่ผมรู้สึกยินดีที่ได้รับคำแนะนำจากท่านผู้มีประสบการณ์ทางด้าน HR อีกท่านหนึ่ง นั่นก็คือ ท่านอาจารย์ ยม ภายในระยะเวลาเพียงแค่ไม่กี่ขั่วโมงทำให้ผมขยายภาพได้มากขึ้นต่อเนื่องจากที่ได้รับคำแนะนำจากท่านอาจารย์จิระ ซึ่งสามารถสรุปได้แยกเป็นหัวข้อได้ดังนี้ 1.ความสำคัญของ HRM    หลังจากที่ได้ฟังคำชี้แนะจากท่านอาจารย์ ยม แล้วผมขออนุญาตสรุปแบบสั้นๆตามแนว Thinking concept  หรือแนวความเข้าใจของผมคือ HRM ก็เป็นเสมือนกับแรงหรือเฟืองกลางที่จะสามารถพลักดันเพื่อให้ทุกๆ

   คนเกิดความสุข ( ทุนแห่งความสุข ) ทั้งในด้านของลูกจ้าง และองค์กร

   ดังนั้นในการใส่แรงหรือหมุนเฟืองนั้นจะต้องใช้ความรู้ความเข้าใจอย่างดีเพื่อที่ให้แรงหรือเฟืองนั้นหมุนไปอย่างเป็นไปอย่างมีระบบสมดุลและต่อเนื่อง 2.หลักการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่ดี

   จากแนวความคิดเรื่องแรงหรือเฟืองที่ขับเคลื่อนองค์กรที่ต้องใช้เทคนิคและความรู้ความเข้าใจการการผลักหรือหมุนเฟืองนั้นนอกจากจะต้องรู้จังหวะในการใส่แรงหรือผ่อนแรงว่าจังหวะแบบนี้ควรที่จะต้องใส่แรงอย่างไรตลอดจนถึงต้องเป็นแรงที่ถูกต้อง สมดุลเพื่อให้แรงหรือเฟืองนั้นหมุนไปอย่างถูกทิศ ถูกที่ ถูกเวลา ด้วยจึงจะเกิดประสิทธิภาพมากที่สุด

 3.การนำแนวความคิดไปประยุกต์ใช้

   จากแนวความคิดที่ท่านอาจารย์ทั้งสองแนะนำและให้ความรู้กับผมและเพื่อนๆทำให้ผมนึกถึงและย้อนกลับมามองในเนื้องานที่ผมทำอยู่นั้นมีการพัฒนาด้าน HR หรือเป็นเพียงแค่ PA ธรรมดาเทียบกับแนวความคิดที่ผมได้มานั่นก็คือการใส่แรงหรือเฟืองไปถูกต้องหรือไม่

 

   ซึ่งในการทำงานร่วมกันของทีมงานหรือองค์กรของผมจะยึดถือนโยบายหลัก ก็คือ

 

   นโยบาย 3 T เพื่อเป็นตัวกำหนดให้พนักงานและองค์กรสามารถบรรลุจุดประสงค์ร่วมกันได้นั่นก็คือ

 ·        Trust·        Transparency ·        Team work   

   และยังมีสิ่งที่จะต้องยึดมั่นไว้ในใจ

( Keep in mine ) อีก 4 C  นั่นคือ

 ·        Clean & Clear·        Compromises ·        Communication ·        Control   สรุปก็คือจริงๆแล้วนโยบาย 3 T และ  4 C นั้นก็เป็นการพัฒนาทางด้าน HR อย่างหนึ่งเพียงแต่ที่ผ่านมาผมมองสิง่เหล่านี้เป็นแค่ Tool อย่างหนึ่งในการทำงานแค่นั้น ซึ่งจากการถ้าไม่ได้รับคำแนะนำจากท่านอาจารย์ทั้งสองแล้วผิดก็คงยังไม่สามารถเกิดภาพและสามารถเชื่อมโยงในแนวความคิดในเรื่อง HR ได้แบบนี้ว่าที่จริงแล้วสิ่งที่ดำเนินการทำอยู่แล้วนั้นล้วนแล้วแต่พูดถึงเรื่องคนทั้งสิ้น และเป็นการปรับในแง่ทัศนคติของผู้ทำงาน เพื่อให้เกิดความสุขของผู้ทำงานและการประสบความสำเร็จขององค์กร ซึ่งหลังจากนี้ผมจะนำความรู้ที่ได้จากท่านอาจารย์ทั้งสองท่านมาพัฒนาและปรับใช้ให้เกิดประโยชน์มากยิ่งขึ้นกว่าเดิมขอขอบพระคุณครับ       

 

นายอานนท์ ร่มลำดวน
   เรียน ศ.ดร. จิระ  อาจารย์ ยม พี่ๆชาว Chira academy และท่านผู้อ่าน blog ของพวกเราชาวนักศึกษา ป.โท ลาดกระบังทุกท่านครับ  ในวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ( 8 ก.ค 50 ) นับว่าเป็นอีกวันที่ผมรู้สึกยินดีที่ได้รับคำแนะนำจากท่านผู้มีประสบการณ์ทางด้าน HR อีกท่านหนึ่ง นั่นก็คือ ท่านอาจารย์ ยม ภายในระยะเวลาเพียงแค่ไม่กี่ขั่วโมงทำให้ผมขยายภาพได้มากขึ้นต่อเนื่องจากที่ได้รับคำแนะนำจากท่านอาจารย์จิระ ซึ่งสามารถสรุปได้แยกเป็นหัวข้อได้ดังนี้ 1.ความสำคัญของ HRM    หลังจากที่ได้ฟังคำชี้แนะจากท่านอาจารย์ ยม แล้วผมขออนุญาตสรุปแบบสั้นๆตามแนว Thinking concept  หรือแนวความเข้าใจของผมคือ HRM ก็เป็นเสมือนกับแรงหรือเฟืองกลางที่จะสามารถพลักดันเพื่อให้ทุกๆคนเกิดความสุข ( ทุนแห่งความสุข ) ทั้งในด้านของลูกจ้าง และองค์กร    ดังนั้นในการใส่แรงหรือหมุนเฟืองนั้นจะต้องใช้ความรู้ความเข้าใจอย่างดีเพื่อที่ให้แรงหรือเฟืองนั้นหมุนไปอย่างเป็นไปอย่างมีระบบสมดุลและต่อเนื่อง 2.หลักการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่ดี   จากแนวความคิดเรื่องแรงหรือเฟืองที่ขับเคลื่อนองค์กรที่ต้องใช้เทคนิคและความรู้ความเข้าใจการการผลักหรือหมุนเฟืองนั้นนอกจากจะต้องรู้จังหวะในการใส่แรงหรือผ่อนแรงว่าจังหวะแบบนี้ควรที่จะต้องใส่แรงอย่างไรตลอดจนถึงต้องเป็นแรงที่ถูกต้อง สมดุลเพื่อให้แรงหรือเฟืองนั้นหมุนไปอย่างถูกทิศ ถูกที่ ถูกเวลา ด้วยจึงจะเกิดประสิทธิภาพมากที่สุด 3.การนำแนวความคิดไปประยุกต์ใช้   จากแนวความคิดที่ท่านอาจารย์ทั้งสองแนะนำและให้ความรู้กับผมและเพื่อนๆทำให้ผมนึกถึงและย้อนกลับมามองในเนื้องานที่ผมทำอยู่นั้นมีการพัฒนาด้าน HR หรือเป็นเพียงแค่ PA ธรรมดาเทียบกับแนวความคิดที่ผมได้มานั่นก็คือการใส่แรงหรือเฟืองไปถูกต้องหรือไม่    ซึ่งในการทำงานร่วมกันของทีมงานหรือองค์กรของผมจะยึดถือนโยบายหลัก ก็คือ     นโยบาย 3 T เพื่อเป็นตัวกำหนดให้พนักงานและองค์กรสามารถบรรลุจุดประสงค์ร่วมกันได้นั่นก็คือ  ·        Trust·        Transparency ·        Team work     และยังมีสิ่งที่จะต้องยึดมั่นไว้ในใจ ( Keep in mine ) อีก 4 C  นั่นคือ  ·        Clean & Clear·        Compromises ·        Communication ·        Control   สรุปก็คือจริงๆแล้วนโยบาย 3 T และ  4 C นั้นก็เป็นการพัฒนาทางด้าน HR อย่างหนึ่งเพียงแต่ที่ผ่านมาผมมองสิง่เหล่านี้เป็นแค่ Tool อย่างหนึ่งในการทำงานแค่นั้น ซึ่งจากการถ้าไม่ได้รับคำแนะนำจากท่านอาจารย์ทั้งสองแล้วผิดก็คงยังไม่สามารถเกิดภาพและสามารถเชื่อมโยงในแนวความคิดในเรื่อง HR ได้แบบนี้ว่าที่จริงแล้วสิ่งที่ดำเนินการทำอยู่แล้วนั้นล้วนแล้วแต่พูดถึงเรื่องคนทั้งสิ้น และเป็นการปรับในแง่ทัศนคติของผู้ทำงาน เพื่อให้เกิดความสุขของผู้ทำงานและการประสบความสำเร็จขององค์กร ซึ่งหลังจากนี้ผมจะนำความรู้ที่ได้จากท่านอาจารย์ทั้งสองท่านมาพัฒนาและปรับใช้ให้เกิดประโยชน์มากยิ่งขึ้นกว่าเดิมขอขอบพระคุณครับ              
นางสาวศศิวิมล ทับเวช
กราบเรียน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมย์ อ. ยม นาคสุข และท่านผู้อ่านทุกท่าน ดิฉันนางสาวศศิวิมล ทับเวช นักศึกษาปริญญาโท ภาควิชาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เนื่องจากว่าในวันอาทิตย์ที่ 8 ก.ค.50 ได้เรียนวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ จากเวลา 9.00-13.15 น. สรุปได้ดังนี้1.    การแก้ปัญหาต้องดูที่สาเหตุเป็นหลัก เพราะในบางครั้งการแก้ปัญหาที่ไร้ทิศทางหรือเข้าใจในปัญหาผิดก็ย่อมให้ไม่สามารถแก้ปัญหานั้นได้ เช่น ทำไมพนักงานจึงลาออกเยอะ วิธีการคิดก็คือ ทุกคนต้องการปัจจัย4 ความปลอดภัย ความรัก และการยอมรับ (กฎของมาสโลว์) จากข้อมูลดังกล่าวก็ต้องนำมาคิดว่าเราได้ให้สิ่งเหล่านี้กับพนักงานหรือยัง 2.    วิธีการสร้างอำนาจ(1)           การให้ เช่น โอกาส ความรู้ อภัย(2)           ติ เพื่อให้มีการปรับปรุงที่ดียิ่งขึ้น(3)           ผู้รู้มากกว่า ทำให้เรามีความน่าเชื่อถือ (4)           การอ้างอิง เช่น ระเบียบบริษัท เจ้านายที่ตำแหน่งสูงกว่าเรา(5)           นิติกรรม มีการแจ้งข่าวสาร จดหมายซึ่งวิธีการดังกล่าวจำเป็นต้องทำทุกวัน 3.    การวางแผนทั้งในเรื่องการทำงาน เรียน หรือการดำเนินชีวิต ซึ่งต้องสร้างเป้าหมายที่จะปฏิบัติ เพราะถ้าไม่มีการวางแผน เราจะกระทำแบบเลื่อนลอย และไปสู่เป้าหมายนั้นไม่มีประสิทธิภาพ4.    หลักการเรียนที่ดี คือ(1)           สนใจ(2)           ใส่ใจ(3)           เอาใจใส่ สุดท้ายนี้ดิฉันขอกราบขอบพระคุณศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมย์ อ. ยม นาคสุข เป็นอย่างสูงที่ได้ให้ความรู้ และประสบการณ์ และดิฉันจะนำความรู้ไปพัฒนาสังคมให้ดีที่สุด
นายอานนท์ ร่มลำดวน
ก่อนอื่นผมต้องขอโทษ ทางอาจารย์ศ.ดร. จิระ อาจารย์ ยม พี่ๆชาว Chira academy และท่านผู้อ่าน blog ของพวกเราชาวนักศึกษา ป.โท ลาดกระบังทุกท่าน อันเนื่องจากการพยายามส่ง Blog ของผมใน 2 ครั้งแรกผิดพลาดและพยายามที่จะจัดเรียง Blog ให้สวยงามแล้วแต่ก็ไม่สำเร็จ ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 3 ไม่แน่ใจจะเรียบร้อยหรือไม่อย่างไร ถ้าอย่างไรรบกวนพี่ Blog Master รบข้อความใน 2 ครั้งแรกให้ด้วยนะครับ เรียน ศ.ดร. จิระ อาจารย์ ยม พี่ๆชาว Chira academy และท่านผู้อ่าน blog ของพวกเราชาวนักศึกษา ป.โท ลาดกระบังทุกท่านครับ ในวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ( 8 ก.ค 50 ) นับว่าเป็นอีกวันที่ผมรู้สึกยินดีที่ได้รับคำแนะนำจากท่านผู้มีประสบการณ์ทางด้าน HR อีกท่านหนึ่ง นั่นก็คือ ท่านอาจารย์ ยม ภายในระยะเวลาเพียงแค่ไม่กี่ขั่วโมงทำให้ผมขยายภาพได้มากขึ้นต่อเนื่องจากที่ได้รับคำแนะนำจากท่านอาจารย์จิระ ซึ่งสามารถสรุปได้แยกเป็นหัวข้อได้ดังนี้ 1.ความสำคัญของ HRM หลังจากที่ได้ฟังคำชี้แนะจากท่านอาจารย์ ยม แล้วผมขออนุญาตสรุปแบบสั้นๆตามแนว Thinking concept หรือแนวความเข้าใจของผมคือ HRM ก็เป็นเสมือนกับแรงหรือเฟืองกลางที่จะสามารถพลักดันเพื่อให้ทุกๆคนเกิดความสุข ( ทุนแห่งความสุข ) ทั้งในด้านของลูกจ้าง และ องค์กร ดังนั้นในการใส่แรงหรือหมุนเฟืองนั้นจะต้องใช้ความรู้ความเข้าใจอย่างดีเพื่อที่ให้แรงหรือเฟืองนั้นหมุนไปอย่างเป็นไปอย่างมีระบบสมดุลและต่อเนื่อง 2.หลักการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่ดี จากแนวความคิดเรื่องแรงหรือเฟืองที่ขับเคลื่อนองค์กรที่ต้องใช้เทคนิคและความรู้ความเข้าใจการการผลักหรือหมุนเฟืองนั้นนอกจากจะต้องรู้จังหวะในการใส่แรงหรือผ่อนแรงว่าจังหวะแบบนี้ควรที่จะต้องใส่แรงอย่างไรตลอดจนถึงต้องเป็นแรงที่ถูกต้อง สมดุลเพื่อให้แรงหรือเฟืองนั้นหมุนไปอย่างถูกทิศ ถูกที่ ถูกเวลา ด้วยจึงจะเกิดประสิทธิภาพมากที่สุด 3.การนำแนวความคิดไปประยุกต์ใช้ จากแนวความคิดที่ท่านอาจารย์ทั้งสองแนะนำและให้ความรู้กับผมและเพื่อนๆทำให้ผมนึกถึงและย้อนกลับมามองในเนื้องานที่ผมทำอยู่นั้นมีการพัฒนาด้าน HR หรือเป็นเพียงแค่ PA ธรรมดาเทียบกับแนวความคิดที่ผมได้มานั่นก็คือการใส่แรงหรือเฟืองไปถูกต้องหรือไม่ ซึ่งในการทำงานร่วมกันของทีมงานหรือองค์กรของผมจะยึดถือนโยบายหลัก ก็คือ นโยบาย 3 T เพื่อเป็นตัวกำหนดให้พนักงานและองค์กรสามารถบรรลุจุดประสงค์ร่วมกันได้นั่นก็คือ • Trust • Transparency • Team work และยังมีสิ่งที่จะต้องยึดมั่นไว้ในใจ ( Keep in mine ) อีก 4 C นั่นคือ • Clean & Clear • Compromises • Communication • Control สรุปก็คือจริงๆแล้วนโยบาย 3 T และ 4 C นั้นก็เป็นการพัฒนาทางด้าน HR อย่างหนึ่งเพียงแต่ที่ผ่านมาผมมองสิง่เหล่านี้เป็นแค่ Tool อย่างหนึ่งในการทำงานแค่นั้น ซึ่งจากการถ้าไม่ได้รับคำแนะนำจากท่านอาจารย์ทั้งสองแล้วคิดตามก็คงยังไม่สามารถเกิดภาพและสามารถเชื่อมโยงในแนวความคิดในเรื่อง HR ได้แบบนี้ว่าที่จริงแล้วสิ่งที่ดำเนินการทำอยู่แล้วนั้นล้วนแล้วแต่พูดถึงเรื่องคนทั้งสิ้น และเป็นการปรับในแง่ทัศนคติของผู้ทำงาน เพื่อให้เกิดความสุขของผู้ทำงานและการประสบความสำเร็จขององค์กร ซึ่งหลังจากนี้ผมจะนำความรู้ที่ได้จากท่านอาจารย์ทั้งสองท่านมาพัฒนาและปรับใช้ให้เกิดประโยชน์มากยิ่งขึ้นกว่าเดิม ขอขอบพระคุณครับ
เรียนศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ อาจารย์ยม นาคสุข และผู้อ่านทุกท่านคะ   ดิฉันนางสาวเริงหทัย สำราญ นักศึกษาปริญญาโทสาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร คณะเทคโนโลยีการเกษตร  สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร  จากการเรียนเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 ที่ผ่านมาในหัวข้อ ภาพรวมการบริหารทรัพยากรมนุษย์ โดย อาจารย์ยม นาคสุข ทำให้ดิฉันได้รับความรู้ซึ่งนอกจากความรู้ในเชิงวิชาการของภาพรวมการบริหารทรัพยากรมนุษย์แล้ว ยังได้ความรู้จากการถ่ายทอดประสบการณ์ที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับการบริหารจัดการ และการแก้ไขปัญหาที่เกิดจาก ทรัพยากรมนุษย์ ในหลายๆ มุมมอง ซึ่งเป็นข้อคิดที่ดีในการนำไปประยุกต์ใช้ สรุปเป็นประเด็นได้ดังนี้ประเด็นแรก  มองปัญหาที่สาเหตุ การวิเคราะห์ถึงสาเหตุและรากเหง้าของปัญหา จะสามารถขจัดปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้อย่างตรงจุด ไม่ว่าจะเป็นการปัญหาด้าน System หรือแม้แต่ ทรัพยากรมนุษย์ที่เรามีอยู่ ซึ่งต้องอาศัย หลักการ PDCA เข้ามาช่วยในการแก้ไขปัญหา และการเกิดซ้ำของปัญหาต่างๆ อย่างต่อเนื่องประเด็นที่สอง  มองที่ตัวเราก่อน ซึ่งดิฉันประทับใจมาก โดยอาจารย์ยม ได้ให้คำแนะนำ ว่าทุกครั้งที่เรากลับบ้าน หรือก่อนนอนให้ถามตัวเองว่าเราทำอะไรผิดพลาดบ้าง และตั้งเป้าหมายว่า พรุ่งนี้หรือครั้งต่อไปเราจะไม่ทำให้เกิดข้อผิดพลาดอีก เพื่อให้สามารถแก้ไขและทำให้ดีขึ้น ซึ่งเป็นการมองปัญหาในเชิงบวก นอกจากจะสามารถพัฒนางานได้แล้ว ยังสามารถพัฒนาตนเองได้อีกด้วย (Continuous Improvement) ซึ่งเป็นการฝึกให้เรามีเป้าหมาย และการเตรียมการในอนาคต  ประเด็นที่สาม  เริ่มต้นด้วย ใส่ใจ สนใจ และเข้าใจ  ไม่ว่าจะเป็นการทำงาน และการบริหารทรัพยากรมนุษย์ หากเราใส่ใจ สนใจ และเข้าใจ ในสิ่งที่เรากำลังกระทำ หรือบุคคลที่เราเกี่ยวข้องด้วย การให้เกียรติ และมีทัศนคติเชิงบวก ย่อมทำให้ System และ ทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งเป็นปัญหาที่สำคัญของทุกองค์กร สามารถคลีคลายลงได้อย่างสมานฉันท์          ซึ่งจากทั้งสามประเด็น หากเรา มี Heart Head Hand คือการใช้หัวใจ ใช้เหตุผลในการวิเคราะห์ ถึงสาเหตุ, การแก้ไขปัญหา และการเป็นต้นแบบที่ดี เป็นผู้นำที่ดี นี่คือหัวใจของการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์นั่นเอง
กราบเรียนท่านอาจารย์จีระ และท่านอาจารย์ยม และท่านผู้อ่านทุกท่าน  เนื่องจากในสัปดาห์ที่แล้ว(วันที่ 8 กรกฎาคม 2550) ดิฉันได้มีโอกาสได้เรียนวิชา Human Resource Management กับท่านอาจารย์ยม ทำให้ได้รับความรู้และความเข้าใจเป็นอย่างมากในเรื่องของการจัดการทรัพยากรมนุษย์ โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้1.     ในเรื่องการสร้างอำนาจ มีด้วยกันอยู่ 5 วิธี ดังนี้1)     การสร้างอำนาจด้วยการให้ ( โอกาส,ความรู้,อภัย,ความใกล้ชิด,คุณ,โทษ ฯลฯ)2)      การสร้างอำนาจด้วยการติ (เป็นการติเพื่อก่อให้เกิด ไม่ได้เป็นการติเพื่อทำลาย) 3)      การสร้างอำนาจด้วยการเป็นผู้รู้มากกว่า กล่าวคือจะต้องเป็นผู้ที่รู้มากกว่าลูกน้องและจะต้องรู้จุดแข็งและจุดอ่อน โดยนำจุดอ่อนของลูกน้องมาเป็นจุดแข็ง4)      การสร้างอำนาจด้วยการใช้อำนาจอ้างอิง เป็นการนำอำนาจของบุคคลที่เป็นที่เคารพและเชื่อถือมาอ้างอิงเพื่อให้ผู้อื่นปฏิบัติตามในสิ่งที่ควร5)      การสร้างอำนาจตามนิติกรรม เป็นการใช้สื่อต่างๆที่อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบตามตำแหน่งและหน้าที่  เช่น จดหมาย , เอกสาร , ประกาศ ของคำว่า ลูกน้อง มาจาก คำว่า ลูก” + “น้องและ หัวหน้าซึ่งมาจากคำว่า หัว” + “หน้า ของการสร้างอำนาจ 2.     การมองผู้อื่นนั้นไม่ควรมองเพียงด้านเดียว  ควรมองหลายๆ ด้าน และจะทำให้เห็นสิ่งต่างๆในบุคคลผู้นั้น เนื่องจากแต่ละคนไม่มีใครที่จะมีแต่เพียงข้อดีหรือข้อเสียทั้งหมด ดังนั้นการมองหลายๆด้าน หลายๆมุมจะทำให้เรามองเห็นทั้งข้อดีและข้อเสีย ซึ่งเราควรนำข้อดีนั้นมาพิจารณาใช้ให้เกิดประโยชน์ทั้งต่อตนเองและสังคม3.     ในการเรียนรู้ต่างๆ จะต้องเป็นผู้มีบุญโดยปฏิบัติตนดังนี้  จะต้องสนใจ , จะต้องใส่ใจ และ จะต้องเอาใจใส่4.     ในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในทรัพยากรมนุษย์ ควรแก้ไขที่ต้นเหตุจึงจะถูกต้องและถูกจุดเพื่อให้หายขาดและป้องกันการเกิดซ้ำ และหากเมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นต้องขอให้มองเริ่มต้นที่ตนเองก่อนที่จะมองที่ผู้อื่น5.     การบริหารทรัพยากรมนุษย์ควรเริ่มที่ ตนเองและครอบครัว6.     การ motivation มนุษย์ ให้นึกถึงเรื่องของปัจจัยพื้นฐานที่มนุษย์ทุกคนต้องการ7.     ความแตกต่างระหว่างแรงงานสัมพันธ์และสหภาพแรงงานที่ควรจะต้องทราบจากสิ่งต่างๆที่ได้รับมาข้างต้น ดิฉันสามารถนำไปเป็นแนวทางประกอบการจัดการทรัพยากรมนุษย์ในหน่วยงานได้เป็นอย่างดี และหากประสบความสำเร็จในขั้นต้นแล้ว ดิฉันจะทำการขยายผลต่อไปในระดับที่สูงขึ้นต่อไป
เรียน ศ.ดร.จีระ หงส์รดารมภ์  อาจารย์ยม นาคสุข และท่านผู้อ่านทุกท่าน จากการที่ ศ.ดร.จีระ หงส์รดารมภ์ ได้มอบหมายงานในการศึกษาเรื่องทฤษฎี ทุนต่างๆนั้น ทางกลุ่มของดิฉันได้เลือกที่จะศึกษาทุนแห่งความสุข เนื่องจากได้เล็งเห็นว่า ปลายทางสุดท้ายของมนุษย์ทุกคนล้วนแล้วแต่ต้องการความสุขกันทั้งนั้น  มนุษย์ทำทุกสิ่งทุกอย่างก็เพื่อทำให้เกิดความสุขไม่ว่าจะต่อตนเองหรือผู้อื่น ซึ่งจากการค้นคว้าหาข้อมูลต่างๆ พอจะได้ Scope ของงานดังต่อไปนี้  1.                           การเริ่มต้นกล่าวถึงทฤษฎีความสุขในยุคแรกๆ ซึ่งเริ่มมีเมื่อประมาณกว่า สองพันห้าร้อยปีที่แล้ว เช่น ขงจื้อ เม่งจื้อ พระพุทธเจ้า  Aristotle, Abraham Maslow เป็นต้น 2.                           ศึกษาเกี่ยวกับ ดัชนีความสุขโลก (HPI) ทั้งในแง่ความหมายและการนำไปใช้3.                           ศึกษา Lectures ของ Richard Layard ซึ่งเกี่ยวข้องกับเรื่องความเกี่ยวโยงของความสุขและวิทยาศาสตร์ เศรษศาสตร์และสังคมศาสตร์ 4.                           ศึกษาถึงความสัมพันธ์ของทุนความสุขกับธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร ซึ่งกลุ่มของดิฉันสนใจในเรื่องการขยายตัวของธุรกิจที่เกี่ยวกับเรื่องความสุขของจิตใจที่มีอยู่แพร่หลายในปัจจุบัน เช่น ธุรกิจสปา, นวดแผนโบราณเป็นต้น และ แนวโน้มของธุรกิจอาหารในปัจจุบันและอนาคตที่เน้นเรื่องสุขภาพและรูปลักษณ์ที่สวยงามมากขึ้น จาก Scope งานทั้งหมดข้างต้นรบกวน ศ.ดร.จีระ หงส์รดารมภ์  และ อาจารย์ยมมีช่วยให้ comment หรือคำแนะนำด้วยค่ะ ขอบพระคุณค่ะ  

เรียนท่านศ.ดร.จีระ  ท่านอาจารย์ยม  ท่านผู้อ่าน และเพื่อนนศ.ปริญญาโทสาขาบริหารธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหารทุกท่าน

      ดิฉันนางสาวสุพิชฌาย์  หนูขาว  นศ.ปริญญาโท สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าลาดกระบัง  สาขาวิชาบริหารธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร ดิฉันรู้สึกภูมิใจเป็นอย่างยิ่งที่ท่านอ.ยมได้สละเวลาอันมีค่ามาสอนวิชาบริหารทรัพยากรมนุษย์ในขอบข่ายที่มองเห็นภาพและเข้าใจง่ายมาก  ท่านอ.ยมเตรียมตัวมาสอนพวกเราดีมาก ๆ ท่านเตรียมสไลด์มามากกว่า  100  สไลด์  แต่ก็มีข้อจำกัดทางด้านเวลาส่วนเนื้อหาที่คุยกันนั้นตามความเข้าใจของดิฉันมี  3  ประเด็น  ดังนี้

1.     Persernal  Administion  กับพัฒนาการไปสู่  Human  Resources. 

Persernal  คือ  มีหน้าที่ในการสรรหาคัดเลือก  คิดเวลาพนักงานเข้า ออก  ลางาน  คัดเลือก  ส่งสายการผลิต  เมื่อเซ็นต์สัญญาว่าจ้างแล้วเริ่มดูแลพนักงาน  ส่วน Human  Resources   คือ  เริ่มดูแลตั้งแต่เรียน  ปรับปรุงบุคลากรให้มความรู้ความสามารถ  ดูแลลูกหลาน  กระตุ้นให้อยากอยู่ต่อ  มีบ้านพัก  สวัสดิการให้  Out  sources  เริ่มตั้งแต่  Input  Process  Output  เน้นภาพลักษณ์บริษัท  เน้นธรรมาภิบาล คุณธรรม จริยธรรม

ทั้งภาครัฐและเอกชนมีการปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพ                                            

      2.  การบริหารทรัพยากรมนูษย์ควรเริ่มจากครอบครัวเป็นพื้นฐานสำคัญพ่อแม่ให้ความรู้ทางปัญญา  และความรู้ทางอารมณ์  กับเด็ก  ต่อมาก็ที่โรงเรียน  มหาวิทยาลัย  องค์กร(ที่ทำงาน)  ต้องให้เขาได้รับการฝึกอบรมที่ดีตลอด  ในองค์กรต้องมียุทธศาสตร์1. พัฒนาความรู้ ความสามารถ  2. พัฒนาทัศนคติ  3. พัฒนาจิตใจ  หลักในการเปลี่ยนคน  Change  ต้องมี  Positive  Thinking  เชื่อว่าเขาเหล่านั้นเป็นคนดีได้  เขาทุกคนต้องการอะไร  ตามปัจจัยทฤษฎี มัสโลว์  กำหนดยุทธศาสตร์ปัจจัยที่ต้องการตามหลักปัจจัย 4  กิน  ใช้  นุ่งห่ม  รักษาโรค  สนองความต้องการให้แก่เขา  สิ่งเหล่านี้ส่งผลไปถึง  Human  Capital  Managment. ด้วย

     3.  ทรัพยากรมนุษย์กับบริษัทผลิตอาหาร  เน้นคุณภาพด้านพัฒนาคน เป็นปัจจัยหลัก  คน(พนักงาน)  ต้องมีคุณภาพก่อนอาหาร  1.บริหารทัศนคติ  2. พัฒนาความรู้  3.  พัฒนาจิตใจ  แล้วคุณภาพงานก็จะตามมา  องค์กรที่ดีจะดูที่คนก่อนที่จะดูที่ผลกำไร  

 องค์กรที่โง่จะดูที่ผลกำไรก่อนถึงจะดูคน        การบริหารงานบุคคลที่ดี   1. รู้จักบริหารตนเองก่อน  รับกรอบความคิดใหม่ๆ ไม่มีอะไรที่ทำไม่ได้   2.  ปัญหาต้องแก้ที่ตัวเราก่อน   3.  องค์กรที่ยิ่งใหญ่มักมีผู้นำที่ดีมีปัญหาปุ๊บแก้ปัญหาปั๊บมองให้ลึก  แก้ปัญหาที่สาเหตุ  มองที่ตัวของปัญหา  4.  ตั้งคำถาม  Why  5  Why  5.  การติดตามผลงานที่ได้รับการฝึกอบรมไป  ทำให้คุณ  ไม่ทำให้โทษ  มีระเบียบในองค์กร  ระบบงานผู้นำที่ดี  1.  ใหึความเป็นกันเอง  ให้โอกาส  ให้ความรู้  ให้อภัย  ลูก + น้อง   เราต้องบริหารเหมือนลูก  เหมือนน้องของเรา  2.  ติ  ถ้าลูกน้องทำผิดต้องเรียกติ  ถ้าไม่ติคุณก็จะบกพร่องในหน้าที่  เช่นบัตรพนักงานไม่ติด  ก็ต้องตักเตือนด้วยความละมุนละม่อม  อาจจะพูดตักเตือนแต่ยิ้มด้วย  3.  เป็นผู้รู้มาก  รู้อะไรแล้วต้องรู้ให้มากกว่า  ลูกน้องมีจุดอ่อนอะไรต้องแสวงหาเอามาเป็นจุดแข็งของเราซะ   4.  อำนาจต้องอ้างอิง  อาจจะอ้างอิงถึงผู้บังคับบัญชาบ้าง  เจ้านายบ้าง  5.  อำนาจทางนิติกรรม  แจ้งข่าวสาร  จดหมาย  ออกจดหมาย  ประกาศแจ้งพนักงาน  วางแผนการทำงาน  Managment  by  working  around.      การบริหารคนไม่ใช่เรื่องยากและก็ไม่ใช่เรื่องง่าย  เพียงแต่เราต้องพัฒนาทัศนคติให้ถาวร  มีทัศนคติทางจิตใจ  รู้จักรักองค์กร  ต้องพัฒนาเขาอย่างต่อเนื่อง  และพัฒนาให้มีประสิทธิภาพต่องานในแต่ละแผนก  ประเมินผลงานสม่ำเสมอให้   เป็นแรงผลักดัน  ให้เขาเป็นคนดีมีคุณภาพได้

เรียน ศ.ดร.จีระ อาจารย์ยม และทีมงาน(พี่เอ้ พี่เอ พี่นะ) ดิฉันรฐา จูจันทร์

ดิฉันต้องขอบคุณท่านอาจารย์และทีมงานทุกท่านค่ะที่สละเวลาของท่านมาให้ความรู้กับนักศึกษาปริญญาโท สาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร แต่ดิฉันเป็นนักศึกษาคนหนึ่งที่ไม่มีบุญได้เรียนกับท่านอาจารย์ ถึงแม้จะไม่ได้เรียนกับท่านอาจารย์จนครบเทอมแต่ได้รับความรู้จากท่านอาจารย์อย่างมากในเรื่องแนวคิดที่ว่าคนเราต้องเรียนรู้ตลอดเวลา ซึ่งดิฉันจะนำไปใช้ปรับปรุงตัวเองให้ใฝ่รู้อยู่เสมอ และจะคอยติดตามข้อมูลข่าวสารใน www.chiraacademy.com เสมอ และดิฉันขอใช้เว็ปนี้เป็นสื่อกลางในการบอกลาเพื่อนๆ ขอให้เพื่อนๆ ทุกคนโชคดีนะค่ะ คงมีโอกาศได้เจอกันอีก ดีใจค่ะที่ได้มีโอกาศรู้จักกับทุกคน สู้ต่อไปนะค่ะ

 

ขอขอบพระคุณท่านอาจารย์จีระ ท่านอาจารย์ยม และทีมงานทุกท่านค่ะ

รฐา  จูจันทร์

เรียน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์และอาจารย์ยม กระผม นายพัฒนา ปลอดภัยงาม นักศึกษาปริญญาโท คณะเทคโนโลยีการเกษตร สาขา การจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

HRM(Human Resource Management)

ซึ่งเป็นศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการคน

อันมีปัจจัยหลายอย่างที่จะทำให้เกิดความสำเร็จในการบริหาร

1.การสรรหาบุคลากรที่มีความเหมาะกับองค์กร

-ต้องหาคนที่มีความสามารถและมีความตั้งใจที่จะร่วมงานอย่างแท้จริง เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในการทำงาน

2.การพัฒนาศักยภาพในการทำงาน

-การหมุนเวียนงาน

-การปรับเปลี่ยนตำแหน่งงานให้เหมาะสม

3.การปลูกฝังจิตสำนึกเพื่อส่วนรวมหรือองค์กร

-เพื่อทำให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานอย่างสูงสุด

4.การสร้างสิ่งจูงใจในการทำงาน

-สวัสดิการ

-รางวัล

-ตำแหน่ง

ทุกๆคนในองค์นั้นต่างต้องมุ่งไปในเป้าหมายเดียวกันและต้องวางแผนการที่จะไปสู่เป้าหมายนั้นอย่างเป็นระบบร่วมกัน อาจต้องมีการตั้งกฎเกณฑ์ บทลงโทษ รางวัล เพื่อกระตุ้นให้ประสบความสำเร็จในองค์กร

แต่การจัดการทรัพยากรมนุษย์นั้นต้องพัฒนาไปทั้งระบบตั้งแต่ระดับถึงระดับบริหาร

แลและต้องทำอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เหมาะสมกับยุคสมัย และสังคม นั้น ๆ

 

 "คน" เป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าที่สุด

นางสาวเบญจพร สุวรรณรักษ์
กราบเรียน ศ.ดร.จีระ หงส์รดารมภ์  อาจารย์ยม นาคสุข   เพื่อนๆ AFIM 6 และท่านผู้อ่านทุกท่าน  ดิฉันนางสาวเบญจพร  สุวรรณรักษ์  นักศึกษาปริญญาโทสาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร จากสัปดาห์ที่แล้ว ( วันอาทิตย์ที่  8  กรกฎาคม  2550 ) ถือว่าเป็นประสบการณ์ที่ดีอย่างยิ่งในชีวิตเพราะมีโอกาสได้ศึกษาจากผู้มีความรู้ความสามารถระดับประเทศในเรื่องของการบริหารทรัพยากรบุคคลอย่างอาจารย์ยม  อาจารย์ยมได้ให้ความรู้ความเข้าใจได้เป็นอย่างดีเยี่ยม ในเรื่องเนื้อหาในการเรียน  การยกตัวอย่าง (โดยใช้เรื่องใกล้ตัว ทำให้เข้าใจง่าย)  1.   ข้อแตกต่างระหว่าง Personnel administration มองคนเป็นต้นทุน มีหน้าที่หลักในการคัดเลือกคนเข้าทำงานตามความต้องการขององค์กร  เน้นตามเอกสารทั้งการควบคุมขาด ลา มาสาย การจ่ายค่าจ้าง Human  Resources  คัดสรรบุคคลที่มีความรู้ความสามารถตรงตามความต้องการขององค์กร เริ่มดูแลตั้งแต่เข้าเริ่มงาน ปรับปรุงบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถ  ดูแลสวัสดิการต่างๆ  เน้นภาพลักษณ์บริษัท  เน้นธรรมาภิบาล คุณธรรม จริยธรรม เพื่อให้ลูกจ้าง และองค์กรทุกๆคนเกิดความสุข ( ทุนแห่งความสุข ) 2.    หลักการบริหารทรัพยากรมนุษย์  จากแนวความคิดเรื่องแรงหรือเฟืองที่ขับเคลื่อนองค์กรทำอย่างไรจะทำให้เฟืองนั้นหมุนไปอย่างถูกทิศ ถูกที่ ถูกเวลาและเกิดประสิทธิภาพ(Input + process + output) 1. บริหารความรู้ความสามารถ  2. บริหารทัศนคติ  3. บริหารจิตใจ  โดยอาศัยทฤษฎี มัสโลว์  โดยใช้ปัจจัยสนองความต้องการให้แก่พนักงาน3.    ปัญหาในการบริหารทรัพยากรมนุษย์บุคลากรขาดความรู้ ทักษะ ความสามารถ ในสายงานที่ปฎิบัติ  ความขัดแย้งของพนักงานภายในองค์กร  หัวหน้างานขาดทักษะ ขาดความรู้การสร้างอำนาจบารมี  พนักงานขาดการอบรมอย่างต่อเนื่อง เป็นต้น หลักการแก้ปัญหาเบื้องต้น คือ 1. Internal Ordit  2. หลัก PDCA  3. Meeting4.    แนวทางแก้ไขปัญหาในการบริหารทรัพยากรมนุษย์เราต้องแบ่งโครงสร้างงานให้ชัดเจน เพื่อความชัดเจนในหน้าที่ที่ต้อรับผิดชอบของพนักงาน  ทำงานแบบระบบ Team System  และที่สำคัญต้องทำงานแบบมีทัศนคดิในทางบวก จึงจะทำงานอย่างมีความสุขอาจารย์ยมได้ตอบข้อสงสัยต่างๆได้อย่างละเอียดและชัดเจน  และให้ข้อคิดต่างๆในการฝึกฝนเพื่อพัฒนาให้ตนเองเป็นผู้นำที่ดีในอนาคต คือการทำงานจะต้องมีการวางแผน  วางยุทธศาสตร์การทำงาน  ทำด้วยใจสงบนิ่ง  สนใจ  ใส่ใจ  เอาใจใส่  ขันติ  ประพฤติอย่างผู้มีบุญ และวิธีการสร้างอำนาจ  ซึ่งสิ่งต่างๆที่ได้เรียนมานี้เป็นสิ่งที่สามารถใช้ได้ในชีวิตการทำงานจริงของทุกคน  เพราะปัญหาหลักในการทำงานคือ คน  มากกว่าเนื้องานหากสามารถแก้ปัญหาเรื่องคนได้  การทำงานจะลุล่วงได้ตามเป้าหมายค่ะ
กราบเรียนท่านอาจารย์จีระ และอาจารย์ยม นาคสุข  ดิฉันนางสาววรนรี พันธุสังข์ นักศึกษาปริญญาโท สาขาวิชาบริหารธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ก่อนอื่นดิฉันรู้สึกเสียดายเป็นอย่างยิ่งที่ไม่ได้เข้าเรียนในวันอาทิตย์ที่ 8 กรกฏาคม 2550 ผ่านมาเนื่องจากติดธุระสำคัญตั้งแต่วันเสาร์ไม่สามารถเลื่อนได้จึงทำให้ไม่สามารถเข้าเรียนในครั้งนี้และพลาดโอกาสในการเรียนและรับความรู้จากอาจารย์ยม ที่เสียสละเวลามาให้ความรู้ในครั้งนี้ ภายหลังจากเสร็จธุระและกลับมาเมื่อวันพุธสอบถามจากเพื่อนๆ และติดตามรายละเอียดที่อาจารย์ยมแนะนำใน blog ทำให้ทราบว่าเป็นวิธีการเรียนรู้อีกวิธีหนึ่งตามทฤษฏี 4 L ของท่านอาจารย์จีระ  และจากการที่ได้ข้อมูลต่างๆแล้วดิฉันมีความเห็นเกี่ยวกับ HR ดังนี้·        ความสำคัญของ HRM หลังจากที่ได้เรียนรู้ดิฉันมีความเห็นว่า เป็นหลักสำคัญที่ใช้ในการพัฒนาให้บุคลากรและองค์กรมีความสุขร่วมกัน และสามารถที่จะทำให้บุคลากรและองค์กรมีการพัฒนาอย่างมีศักยภาพ และบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้   ·        ปัญหาที่พบด้านคนจากประสบการณ์ของดิฉัน ได้แก่ บุคลากรมีความขัดแย้งกันทำให้การดำเนินงานไม่เป็นไปอย่างราบรื่น ทางดิฉันเองก็ได้ดำเนินการแก้ไขโดยเริ่มจากการหาสาเหตุของปัญหาก่อน ซึ่งตรงกับคำแนะนำที่อาจารย์ให้  ทำให้คิดว่าได้ดำเนินการแก้ไขถูกทางแล้ว และขณะนี้อยู่ในระหว่างการดำเนินการแก้ไขปัญหาที่เกิดจากตัวบุคคล การปรับทัศนคติของแต่ละคนให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายเดียวกัน  และต่อไปดิฉันจะนำคำแนะนำที่ได้จากอาจารย์ไปประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ดีขึ้นต่อองค์กรของดิฉันต่อไป  

       กราบเรียน ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์  อาจารย์ยม นาคสุข และท่านผู้อ่านทุกท่าน ดิฉัน นางสาวรสสุคนธ์ น้อยจินดา และนายวรพจน์  สู่เสน  นักศึกษาปริญญาโทสาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร

       จากการที่อาจารย์ได้มอบหมายงานให้เราเลือกศึกษาทุนที่เราสนใจ คือ ทางดิฉันได้เลือก Talent capital ทุนทาง Knowledge, Skill และ Mindset ซึ่งอยู่ถัดจาก ทุนทางปัญญาถ้าดูตามแผนภาพต้นไม้ของท่านอาจารย์ยม เหตุผลที่สนใจในหัวข้อนี้เนื่องจากคิดว่า Talent capital เหมือนเป็นจุดต้นๆ ของการพัฒนาในด้านทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งถ้ามีทุนในข้อนี้แล้วย่อมจะพัฒนาทุนในข้ออื่นๆ ตามมาได้อย่างไม่ยากเย็นนัก ซึ่ง Scope งานของเรา ก็จะแบ่งเป็น

       ส่วนแรก คำนิยามของ Talent capital, Talent management ที่น่าสนใจ คือ Ed Michaels,Helen Handfield-Jones และ Beth Axelrod  ให้นิยามไว้ว่า ความเก่ง(Talent) หมายถึง บุคลากรที่มีความสำคัญต่องานซึ่งมีแนวคิดเชิงกลยุทธ์ที่แหลมคม มีความสามารถเป็นผู้นำ มีทักษะในการสื่อสารมีความสามารถในการจูงใจและแนะนำผู้อื่น และอีกท่าน คือ Schweyer  เขียนในหนังสือชื่อ Talent Management Systems : Best Practices in Technology Solutions for Recruitment, Retention and Workforce Planning ให้นิยามของ Talent Management System (TMS) ว่าคือ กระบวนการวิเคราะห์และวางแผนอย่างเป็นระบบให้มีความสอดคล้องกันระหว่างการเสาะแสวงหาบุคลากร (sourcing) การคัดกรอง (screening) การคัดเลือก (selection) การกระจายไปทำงาน(deployment) การพัฒนา (development) ตลอดจนการรักษาให้คงอยู่กับองค์กร (retention) ของทรัพยากรมนุษย์ที่มีศักยภาพและความสามารถระดับสูงให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

       ส่วนที่ 2 จะยกตัวอย่าง case studyที่ศึกษา เป็นของกรมราชทัณฑ์  ได้จัดโครงการค้นหาและพัฒนาผู้มีสมรรถนะสูง  (Talent  Management) เพื่อค้นหาข้าราชการที่มีความสามารถพิเศษหรือมีสมรรถนะสูงและเพื่อวางระบบการจัดทำแผนพัฒนาและฝึกอบรมข้าราชการที่มีความสามารถพิเศษ  case study ที่สองบริษัท เครือซีเมนต์ไทย จำกัด(มหาชน) ซึ่งมีแนวคิดการบริหารจัดการคนเก่ง การสรรหาและคัดเลือกคนเก่ง   การพัฒนาคนเก่ง   การให้รางวัลคนเก่ง  และการรักษาคนเก่ง  และจะพยายามหา case study เพิ่มเติมอีก ส่วนที่ 3 เป็นการวิเคราะห์จุดแข็งจุดอ่อนของ Talent capital กับทุนอื่นๆ จึงขอความกรุณาท่านอาจารย์จีระ และอาจารย์ยม ช่วยให้คำแนะนำ หรือค้นคว้าเนื้อหาในตรงจุดไหนที่น่าสนใจเพิ่มเติม  ขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงค่ะ
กราบเรียน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์, อาจารย์ ประกาย ชลหาญ และท่านผู้อ่านทุกท่าน ดิฉันนางสาวนันทกา บุญสุข นักศึกษาปริญญาโท ภาควิชาบริหารธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง จากการที่ดิฉันเรียนในวันที่ 15 กรกฎาคม 2550 เวลา 9.00 12.00 น. กับอาจารย์ประกาย ชลหาญ ได้รับความรู้ในเรื่องของ การบริหารการเปลี่ยนแปลง ได้ข้อสรุปดังนี้ คือ เนื่องจากสถานการณ์โลกมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็น การเปลี่ยนแปลงจากผลกระทบภายนอกองค์กร ทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม หรือแม้แต่การเปลี่ยนแปลงจากภัยธรรมชาติ และการเปลี่ยนแปลงภายในองค์กรเอง เช่น การเปลี่ยนแปลงทิศทางของธุรกิจ, การเปลี่ยนแปลงระบบงาน, การเปลี่ยนแปลงนโยบายขององค์กร เป็นต้น ดังนั้นบทบาทของผู้นำแต่ละองค์กรจึงมีความสำคัญมากในการบริหารคน โดยจะต้องเตรียมพร้อม, รู้จักปรับตัว, เข้าใจการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น, ประเมินปัญหา, มีการวางแผนที่ดีและกระตุ้นให้คนตื่นตัวพร้อมที่จะเผชิญหน้ากับการเปลี่ยนแปลงร่วมกันเป็นทีม นอกจากหัวข้อที่เรียนนี้แล้ว อาจารย์ประกาย ยังสอนแนวความคิดอื่นอีกหลายอย่างที่เป็นประโยชน์ เช่น - เทคนิคในการเรียนรู้ ต้อง เรียนรู้จากคนเก่ง และ รู้หลากหลายแล้วนำมาผสมผสานกันให้ได้- การเป็นผู้บริหาร ควรรู้ว่าสายงานไหนสำคัญที่สุดในองค์กร เพื่อจะได้  support สายงานนั้น และการบริหารองค์กร ควรเก่ง 2 เรื่อง เรื่องแรก คือ การบริหารจัดการคน และเรื่องที่สอง คือ เข้าใจด้านบัญชีการเงิน- การเป็นผู้บริหารควรให้เวลาและสอนลูกน้อง ใช้ระบบคุณธรรม และต้องกระจายงานให้เป็น (คุณ-หน่ะ-ทำ)- อาจารย์ประกายได้สอนเทคนิคในการบริหารหัวหน้า โดยท่านกล่าวว่า การบริหารหัวหน้าเป็นการบริหารที่ยากที่สุด เพราะหัวหน้ามีอำนาจมากกว่าเรา เทคนิคก็คือ เราต้องเข้าใจงานของหัวหน้า, เข้าใจทิศทางขององค์กร, เรียนรู้วิธีการทำงานเป็นทีม, และที่สำคัญ ต้องพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลง ปรับปรุงและตอบสนองในสิ่งที่หัวหน้าต้องการ ดังคำที่อาจารย์กล่าวง่ายๆว่า เข้าใจผู้นำ เข้าใจตัวเอง และเข้าใจสิ่งแวดล้อมเราจึงจะทำงานอย่างมีความสุข  ถึงแม้ว่าอาจารย์ประกายจะสอนเราเพียงครั้งเดียว และเวลาแค่ 3 ชั่วโมง แต่ความรู้ที่ได้รับเป็นประโยชน์และสามารถนำไปใช้ในชีวิตการทำงานของดิฉันได้มาก ดิฉันขอขอบพระคุณอาจารย์เป็นอย่างสูงที่สละเวลามาสอนดิฉัน ด้วยความเคารพอย่างสูง
กราบเรียน ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์  อาจารย์ประกาย ชลหาญ และท่านผู้อ่านทุกคน ดิฉันนางสาว วสพร บุญสุข นักศึกษาปริญญาโท คณะเทคโนโลยีการเกษตร สาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง   วันอาทิตย์ที่ 15 กรกฎาคม 2550 เป็นครั้งแรกที่ได้เรียนกับอาจารย์ ประกาย ชลหาญ ในรายวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ ได้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องการบริหารการเปลี่ยนแปลง ได้ 3 ประเด็นดังนี้ประเด็นแรก คือ ปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงจากภายนอกหรือภายในเราจะต้องเข้าใจ ต้องเรียนรู้ และต้องพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลง ปรับปรุง ทำให้เราสามารถบริหารการเปลี่ยนแปลงได้ประเด็นที่สอง คือ Leadership Management แต่ละบริษัทจะมี Leader Follower Environment/Situation แตกต่างกัน เมื่อมีส่วนหนึ่งเปลี่ยนแปลงทุกคนต้องเข้าใจ เรียนรู้ พร้อมที่จะต้องเปลี่ยนแปลง จะทำให้เราสามารถบริหารการเปลี่ยนแปลงของ Leader Follower Environment/ Situation ได้                 ประเด็นที่สาม คือ เมื่อผู้นำต้องการเปลี่ยนแปลงองค์กรจะต้องมี Changing Systems and Structures มี 3 state ดังนี้ 1. Current State คือ  ปัจจุบันเป็นอย่างไร 2. Transition State เป็นเครื่องมือที่ต้องจัดการให้ดี 3. Improved State คือ แล้วอนาคตดีขึ้นอย่างไรบ้าง กล่าวคือ ต้องขายฝันให้ได้ องค์กรจะได้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย          สรุปได้ว่าทั้ง 3 ประเด็นนี้ ทำให้ดิฉันเข้าใจและพร้อมที่จะบริหารการเปลี่ยนแปลงได้ สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ เพราะปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ทั้งภายนอกและภายใน  ที่สำคัญเริ่มจากที่ตัวดิฉัน ก่อนที่จะไปเปลี่ยนแปลงคนอื่นในองค์กร               
     เรียนศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์ อาจารย์ประกาย ชลหาญ อาจารย์ยม นาคสุข ที่เคารพ และท่านผู้อ่านทุกท่าน ดิฉันนางสาวอรุณี แซ่ตั้ง นักศึกษาปริญญาโท คณะเทคโนโลยีการเกษตร สาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง                                                                      จากการที่อาจารย์ประกาย ได้กรุณามาสอนเรื่อง Change management ในวัน อาทิตย์ที่ 15 กรกฎาคม ที่ผ่านมาซึ่งนอกจากอาจารย์ประกายจะสอนตามเนื้อหาแล้วอาจารย์ยังให้ความรู้เพิ่มเติมซึ่งเกิดจากประสบการณ์การทำงานของอาจารย์ที่ผ่านมาซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างมากทีเดียว     เป็นต้นว่าอาจารย์ได้กล่าวถึงหน้าที่ของผู้นำที่ดีว่าต้องสามารถกำหนดแนวทางในการทำงานให้เป็นไปในทางเดียวกัน ต้องมีการกระจายอำนาจ และที่สำคัญคือต้องเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับลูกน้อง 

   

     และในเรื่อง Change management นั้นมีหลักการคือจะต้องมีความเข้าใจทั้งลูกน้องและหัวหน้ารวมถึงสภาวะการณ์ขององค์กรในขณะนั้นอย่างแท้จริง   จึงจะสามารถบริหารจัดการกับการเปลี่ยนแปลงนั้นได้อย่างดีและมีประสิทธิภาพ

    

    สุดท้ายนี้ขอขอบพระคุณอาจารย์ประกายที่ได้มาให้ความรู้แก่นักศึกษาในครั้งนี้ค่ะ

 

เรียน อาจารย์ จีระ หงส์ลดารมภ์            เมื่อวันเสาร์ที่ 14 Jul 07 ดิฉันได้มีโอกาสฟังวิทยุ 96.5 M Hz. ของท่านอาจารย์ จีระ พอจับประเด็นที่สำคัญได้ดังนี้1 นักธุรกิจส่งออกไม่ค่อยใช้นโยบายเศรษฐกิจพอเพียง เมื่อตอนธุรกิจส่งออกเฟื่องฟูนั้น ผู้ประกอบธุรกิจมีกำไรกันมหาศาล แต่ไม่รู้จักนำผลกำไรบางส่วนที่ได้รับมาพัฒนาธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นพวกเทคโนโลยี การพัฒนาความรู้ของพนักงาน หรือการพัฒนาฝีมือแรงงานจึงทำให้พอเศรษฐกิจทรุดตัวลงส่งผลให้เจ้าของธุรกิจถึงกับต้องปิดกิจการไปตามๆ กัน เนื่องจากไม่มีความสามารถในการแข่งขัน2. ผู้ประกอบการยังคงบริหารธุรกิจแบบเดิมๆ ไม่สนใจว่าโลกภายนอกจะเป็นเช่นไรไม่ได้แล้ว แต่ผู้ประกอบต้องเข้าใจเหตุการณ์ในยุคโลกาภิวัตน์ จึงจะสามารถบริหารธุรกิจให้ผ่านพ้นวิกฤติไปได้3. เหตุการณ์ที่โรงงานเลิกจ้างพนักงานเป็นจำนวนมากเป็นปัญหาที่ทุกฝ่ายต้องเข้ามาช่วยกันในการแก้ไขปัญหา เพราะพนักงานเหล่านั้นจะกลายเป็นบุคคลว่างงาน แต่ถ้าเจ้าของกิจการเปลี่ยนจากการเลิกจ้างงานมาเป็นการลดเงินเดือนในช่วงที่ธุรกิจมีปัญหาก็จะทำให้พนักงานเหล่านั้นยังพอที่จะมีรายได้อยู่บ้าง  4. ในปัจจุบันการจะประกอบธุรกิจอะไรก็ตาม ไม่ใช่เน้นที่สินค้าราคาถูกเท่านั้น แต่ยังต้องคำนึงถึงความพึงพอใจของลูกค้าด้วย จึงจะดำเนินธุรกิจไปได้ขอบคุณค่ะสุมิตรา พนาอภิชน
เรียน อาจารย์ จีระ, อาจารย์ ประกาย และอาจารย์ ยม            เมื่อวันเสาร์ที่ 15 Jul 07 ดิฉันได้มีโอกาสเรียนวิชา HR กับอาจาย์ ประกาย ณ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าคุณทหารลาดกระบัง  พอจับประเด็นที่สำคัญได้ดังนี้1 บริษัทที่จะประสบความสำเร็จ คือบริษัทที่ตอบสนองกับการเปลี่ยนแปลงได้ดี ผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จไม่ใช่แค่รู้จักปรับตัว แต่ต้องสามารถประเมินปัญหาและสามารถที่จะทำให้แผนการเปลี่ยนแปลงนั้น เกิดขึ้นในองค์กรให้ได้องค์ประกอบที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในองค์กร คือ ทำให้คนรู้สึกตื่นตัว, ต้องการสนับสนุนจากผู้ที่เกี่ยวข้อง, จะต้องได้รับ commitment จากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง, ต้องมีแผนในการเปลี่ยนแปลง, จะต้องสร้างความรู้สึกให้ได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต การเปลี่ยนแปลงจะไม่สำเร็จถ้ามีสิ่งเหล่านี้ คือ คนไม่ยอมเปลี่ยนแปลง, มีทัศนคติที่ไม่ดี, มองไม่เห็นว่าจะเปลี่ยนแปลงไปเพื่ออะไร2. หน้าที่หลักของผู้บริหาร คือ การทำให้ลูกน้องทำงานให้ได้และทำงานให้เป็น ซึ่งจะต้องประกอบไปด้วย 1) Ability  คือ ความสามารถในการทำงาน เช่น ความรู้, ทักษะ, ประสบการณ์, ทัศนคติที่ดี เป็นต้น 2) motivation คือ แรงจูงใจที่จะทำงาน เช่น ความก้าวหน้าในการทำงาน, ยอมรับจากเพื่อนร่วมงาน, ความภูมิใจในตัวเอง และการเรียนรู้เพิ่มเติมแต่สิ่งสำคัญที่สุดก่อนที่จะทำการ motivation ลูกน้อง เราต้องเข้าใจในตัวลูกน้องก่อนและเข้าใจทิศทางขององค์กรให้ท่องแท้หน้าที่ที่ดีของหัวหน้าที่ต้องมี คือ วิสัยทัศน์ (Plathpinder) ต้องไปในทิศทางเดียวกัน (Ahigniml)  การกระจายอำนาจให้พนักงานในการตัดสินใจ (Empower) และการเป็นตัวอย่างที่ดีให้ลูกน้อง (Role model) ขอบคุณค่ะสุมิตรา พนาอภิชน
เรียนท่านศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  ท่าน อ.ยม  นาคสุข  ท่านอ. ประกาย  ชลหาญ  ท่านผู้อ่าน  และสมาชิก นศ. ปริญญาโทสาขาบริหารธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหารทุกท่าน     ดิฉัน  นางสาวสุพิชฌาย์  หนูขาว  นักศึกษาปริญญาโทสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง คณะเทคโนโลยีการเกษตร  สาขาวิชาบริหารธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร  จากที่ได้เรียนและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับท่านอ.ประกาย  เมื่อวันที่  15  กรกฎาคม  2550  ท่านอ.ประกาย ได้พูดถึงการบริหารการเปลี่ยนแปลงไว้ว่า  การบริหารการเปลี่ยนแปลง  Change  Management  ผู้ประกอบการ ( ผู้นำ )  จะต้องเข้าใจในการเปลี่ยนแปลงตามสภาวะโลก  เศรษฐกิจในปัจจุบัน  ที่พัฒนาขึ้นทุกวัน  ผู้บริหารที่ดีจะต้องมีความรู้กว้างขวาง  ทันต่อเหตุการณ์ปัจจุบัน  ซึ่งได้จากการอ่านหนังสือมาก  แลกเปลี่ยนความคิดเห็น  ตักตวงความรู้จากผู้รู้  เปิดโลกทัศน์  และจะต้องรู้ในหลายเรื่อง เช่น  การเงิน  การธนาคาร  การบัญชี  และที่สำคัญที่สุดต้องมีความรู้ในเรื่องของรู้ คน  ( Human )  ต้องเก่งคนด้วย คนเป็นสิ่งสำคัญในระบบการจัดการที่จะทำหน้าที่พัฒนาการบริหารการเปลี่ยนแปลงในองค์กรต่าง ๆ ได้  ซึ่งทุกองค์กรนั้นมีความหลากหลาย  ทุกคนจะต้องรู้ฝ่ายงานที่มีความสำคัญที่สุด   Key  Function  เพื่อที่จะได้สนับสนุนองค์กรให้โตได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด  และบริษัทก็มีความยั่งยืนตลอดไปด้วย  ( ตามทฤษฎี ท่านศ.ดร. จีระ   เรื่องทุนแห่งความยั่งยืน  )  ผู้บริหารจะต้องให้เวลากับลูกน้อง  ทางด้านการสอนงาน  ฝึกอบรม          นิสัยถาวร   ซึ่งพนักงานบางคนก็ดื้อรั้นไม่ยอมฟัง  ต้องใช้ระบบ  คุณธรรม ( คุณ น่ะ ทำ )  มาช่วยมีการมอบอำนาจให้ลุกน้องได้ตัดสินใจเอง  กระจายงานให้ลองทำเองและเรียนรู้เองบ้าง  พัฒนาคนโง่ให้ฉลาดขึ้น  และปกครองคนฉลาด ๆ เป็นหลัการบริหารหารเปลี่ยนแปลง  1. ต้องเข้าใจสิ่งที่เขารับผิดชอบ  รู้เขา รู้เรา ต้อง  Motivation ต้องยกระดับลูกน้อง  ปัญญาชน หรือ คนใช้แรง  ทำให้พนักงานรักงาน  2.  ต้องเข้าใจเป้าหมายขององค์กรของคุณให้แจ่มแจ้ง  3.  ต้องรู้จักทำงานเป็นทีม ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน 4.  ต้องพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงและปรับปรุง  หัวหน้าต้องเป็นตัวอย่างที่ดีให้แก่ลูกน้อง  5. ต้องเข้าใจสภาพความเป็นจริงขององค์กร การสื่อสารในองค์กรต้องมีประสิทธิภาพ        สิ่งสำคัญในการเปลี่ยนแปลงองค์กร  ควรเริมต้นจากการเปลี่ยนแปลงคนเนื่องจากคน  เป็นสิ่งสำคัญที่กระทำการเปลี่ยนแปลงองค์กรทั้งองค์กร  คนดี คนพัฒนา คนไม่หยุดนิ่ง  องค์กรก็จะพัฒนาไปในทิศทางที่ดี ก้าวหน้า  และยั่งยืนสืบต่อไปด้วย

 

กราบเรียน ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์, อาจารย์ยม นาคสุข, อาจารย์ประกาย ชลหาญ และท่านผู้อ่านทุกท่าน ดิฉันนางสาวอรนุช หล่ำสกุลไพศาล นักศึกษาปริญญาโท คณะเทคโนโลยีการเกษตร สาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง   จากที่เรียนกับอาจารย์ประกายเมื่อวันอาทิตย์ที่ 15 กรกฎาคม 2550         ได้รับความรู้ในหลายเรื่องด้วยกัน เรื่องแรกเรื่องการเปลี่ยนแปลงขององค์กรมีทั้งการเปลี่ยนแปลงภายนอกและภายใน การเปลี่ยนแปลงภายนอก อย่างเช่น การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง, สังคม, สภาพเศรษฐกิจ ,ทางธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงภายใน อย่างเช่น การเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจ, การ Take Over, การเปลี่ยนระบบงาน, การเปลี่ยนนโยบายการทำงาน, การเปลี่ยนผู้นำ, ซึ่งผู้บริหารที่ประสบความสำเร็จจะต้องไม่ใช่รู้จักปรับตัว แต่สามารถวิเคราะห์ วินิจฉัยปัญหา เผชิญหน้ากับปัญหา และสามารถบริหารการเปลี่ยนแปลงในองค์กรได้ ซึ่งจะต้องอาศัยความเข้าใจ การเรียนรู้ การทำงานเป็นทีม         เรื่องที่สอง หน้าที่หลักของผู้บริหาร คือ เพื่อให้คนทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งต้องทำให้คนทำงานได้ ใช้ระบบคุณธรรม (คุณ-น่ะ-ทำ) ผู้บริหารจะต้องเข้าใจ เรื่องคน (Individual) เชื่อมโยงไปถึงเรื่อง Ability และ Motivation ในเรื่องของคน สามารถที่จะ นำไปสู่ Organization ไปถึง Operation ไปถึง Strategy และ Environment          เรื่อง Leadership ที่ต้องมี 4 อย่าง อย่างแรก Path finder คือ หาทางให้คนเดิน (ชี้ช่อง) สร้าง Vision ดูแผนกของเราคืออะไร อย่างที่สอง aligning คือ ต้องไปในทางเดียวกัน หากเดินไปคนละทิศละทาง จะเหมือนอยู่ที่เดิม หรือไม่ก็ถอยหลัง อย่างที่สาม Empower คือ ต้องให้เขารู้จักตัดสินใจ ให้อำนาจ หากผิดพลาดต้องบอกทันที และอย่างสุดท้าย Role model คือ ต้องเป็นตัวอย่างที่ดี  

       กราบเรียน ศ.ดร. จีระหงส์ลดารมภ์ อาจารย์ยม นาคสุข อาจารย์ประกาย ชลหาญ และท่านผู้อ่านทุกท่าน ดิฉัน นางสาวรสสคนธ์ น้อยจินดา นักศึกษาปริญญาโท สาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร สถาบันพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

       เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2550 เรียนในหัวข้อ Change Management ของอาจารย์ประกาย ชลหาญ ซึ่งพอจับประเด็นสำคัญได้ดังนี้

       ระเด็นแรก ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงมีทั้งปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายในองค์กร ปัจจัยภายนอกองค์กร เช่น การเมือง สังคม สภาพเศรษฐกิจ คู่แข่ง เทคโนโลยี ภัยธรรมชาติ และปัจจัยจากภายในองค์กร เช่น ทิศทางทางธุรกิจ การเปลี่ยนเจ้าของกิจการ นโยบายในการทำงาน ซึ่งวิธีการบริหารจัดการที่ดี คือต้องสามารถประเมินปัญหา วินิจฉัยปัญหา และวางแผนรับการเปลี่ยนแปลง

       ประเด็นที่สอง การบริหารจัดการในองค์กรมี 3 ลักษณะ คือ Manage up, Manage down และ Manage sideway ซึ่งส่วนที่บริหารยากที่สุด คือ Manage up หัวหน้าหรือผู้บริหาร เนื่องจากมีตำแหน่งสูงกว่าเรา ซึ่งท่านอาจารย์ได้แนะแนวทางในการบริหารจัดการหัวหน้า ต้องพยายามเข้าใจในสิ่งที่หัวหน้ารับผิดชอบ เข้าใจทิศทางขององค์กร และต้องพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลง ปรับปรุง เพื่อตอบสนองให้ตรงตามความต้องการของหัวหน้า(เฉพาะในสิ่งที่ถูกต้อง)

       ประเด็นที่สาม ที่จะบริหารองค์กรเก่ง ต้องเก่งสองเรื่อง คือ 1. บัญชีการเงิน เป็นเรื่องสำคัญขององค์กรที่ต้องมีผู้รู้ และมีความสามารถในการบริหารจัดการ เพื่อเกิดประโยชน์และไม่เสียผลประโยชน์ของบริษัท 2. การบริหารจัดการคน จากที่เคยเรียนมาในครั้งแรกๆ แล้ว คนเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุดขององค์กร หัวหน้าต้องเข้าใจว่าลูกน้องต้องการอะไร และมีวิธีการบริหารให้คนทำงาน   จากการเรียนครั้งนี้ ทำให้ดิฉันทราบถึงการเปลี่ยนแปลงที่สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา จึงต้องต้องมีการวางแผนที่ดี เพื่อเตรียมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ขอขอบคุณท่านอาจารย์ประกายมากค่ะ

     เรียน อ.จีระ , อ.ยม , อ.ประกาย , ทีมงาน  Chira Academy และผู้อ่านทุกท่าน  ผม นายวรพจน์  สู่เสน  นักศึกษาปริญญาโท สาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร  คณะเทคโนโลยีการเกษตร  สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

     เนื่องจากในวันที่ 15/7/50 ที่ผ่านมา  ผมได้มีโอกาสเรียนกับ อ. ประกาย ชลหาญ  ในหัวข้อ            " Change  Management "   ซึ่ง อ. ประกายจะเน้นการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและแชร์ประสบการณ์ ที่อาจารย์มีให้พวกเราฟัง  ผมจะขอยกบางประเด็น ที่ อ.ประกายพูดถึงมาเล่าให้เพื่อนๆฟังดังนี้

    1. ผู้บริหารที่ดี ต้องเก่ง 2 อย่าง  คือ  เก่งคน + เก่งการเงิน

โดยเก่งคน คือ ให้สอนงาน แจกจ่ายงานให้ลูกน้องทำงานได้ manage คนให้ได้  ถ้าลูกน้องเก่งแล้วเราจะทำงานสบายขึ้น    

เก่งการเงิน  คือ  ให้รู้เรื่องและเข้าใจ finance ไว้  มากๆ เพราะเป็นปัจจัยหลักให้องค์การอยู่รอด

     2. การบริหาร มี 3 ทาง คือ  

           -  manage  up ( บริหารหัวหน้า )

           -  manage  down ( บริหารลูกน้อง )

           -  manage  side way  (บริหารเพื่อนร่วมงาน)

      3. บทบาทของผู้นำมี 4 อย่าง คือ

           - Pathfinder  ( ชี้ทางให้คนเดิน )

           - Aligning  ( ชี้ให้ทุกคนเดินในทิศเดียวกัน )

           - Empower ( กระจายอำนาจ )

           - Role Model  ( เป็นตัวอย่างที่ดี )

       4. การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว  ถ้าเราไม่ได้มีการเตรียมความพร้อมไว้  โอกาสที่จะเจ็บมากกว่าคนอื่น ในยามที่เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นมาจะมีมาก  ดังนั้นบริษัทที่จะประสบความสำเร็จคือ บริษัทที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงได้ดี  และ manager ที่จะประสบความสำเร็จนั้น ต้องมองเห็นการเปลี่ยนแปลง และคิดวิธีที่จะรับมือกับการเปลี่ยนแปลงนั้นได้

      อ.ประกาย ใช้ ทฤษฎี 4 L's  ในการสร้างให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี  สิ่งต่างๆที่ อ. สอน  ผมจะนำไปพิจารณา และประยุกต์ใช้ต่อไปครับ 

                                                 ขอบคุณครับ

                                                

นายอานนท์ ร่มลำดวน
เรียน ศ.ดร.จิระ , อาจารย์ ยม , อาจารย์ประกาย , ทีมงาน Chira Academy  และผู้อ่านทุกๆท่าน  ในวันอาทิตย์ที่ผ่านมาทางผมและเพื่อนๆชาวนักศึกษา ป.โท ลาดกระบัง ได้มีโอกาสที่ดีอีกครั้งที่ได้รับเกียรติจากท่านอาจารย์ประกาย มาบรรยายและแลกเปลี่ยนมุมมองในด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์  ซึ่งในหัวข้อที่มาแลกเปลี่ยนในวันนั้นก็คือเรื่อง Change Management ซึ่งในบรรยายกาศการเรียนและการแลกเปลี่ยนความรู้นั้นเป็นไปอย่างสนุกสนานทำให้ผมได้รับมุมใหม่ๆ และเข้าใจในเรื่องของการพัฒนามนุษย์เพิ่มขึ้นไปอีก โดยสิ่งที่ผมได้เรียนรู้ในวันนั้นรวมกับสิ่งที่ท่าน ศ.ดร.จิระ และ อาจารย์ยม สอนมาเป็นเวลาครึ่งเทอมแล้วนั้น ผมพอสรุปเป็นภาพได้ก็คือ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่แท้จริงแล้วก็คือ  การทำให้คนหรือมนุษย์นั้นพัฒนาความสามารถของคน ( Ability ) ให้ออกมาสูงสุด ซี่งความสามารถนั้นขึ้นอยู่กับทุนของบุคคลนั้นๆ  โดยในการพัฒนาความสามารถหรือศักยภาพนั้น อาจเป็นการเพิ่มทุนให้กับตัวบุคคลากร ( Value Added )  หรือการกระตุ้น ( Motivation ) เพื่อให้สิ่งที่มีอยู่ในตัวบุคคลนั้นๆสามารถตอบสนองและแสดงออกมาเพื่อให้บรรลุในงานหรือวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ( Micro or Macro Objective )  ซึ่งเมื่อมีการพัฒนาหรือกระตุ้นไม่ว่าด้านไหน อย่างไรสิ่งที่ต้องมีมาควบคู่กันคือการเปลี่ยนแปลง ซึ่งตามธรรมชาติของคนไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง ดังนั้นการจัดการหรือรับมือกับการเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นเรื่องที่สำคัญโดยเฉพาะกับผู้ที่เป็นผู้นำ หรือผู้จัดการ ต้องสามารถ วิเคราะห์สถานการณ์  , เข้าใจในการบริหารทั้งในตั้งและแนวนอน , วางวัตถุประสงค์ที่สามารถเห็นร่วมกันได้อย่างชัดเจนเป็นรูปธรรมให้กับผู้ตาม  และนำพาทุกคนให้ไปในจุดมุ่งหมายเดียวกัน ดังนั้นเมื่อเปรียบเทียบกับสถานการณ์ในปัจจุบันแล้วจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าประเทศไทยนั้นไม่สามารถจัดการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงได้ดีเท่าที่ควร  ซึ่งในสถานการณ์ดังกล่าวนี้จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้เรื่องของ HR เข้ามาช่วยโดยที่จะต้องอาศัยความร่วมมือกันของบุคคลากรในทุกๆส่วนร่วมมือกันทั้งในแนวดิ่งและแนวนอน โดยเฉพาะผู้นำ จึงจะสามารถนำพาประเทศให้ผ่านพ้นวิกฤต ดังกล่าวไปได้
สวัสดีท่านศาสตราจารย์ ดร.จีระ ,ท่านอาจารย์ประกาย ,ท่านอาจารย์ประกายที่เคารพ และสวัสดีท่านผู้อ่านทุกท่าน  เนื่องจากดิฉันได้มีโอกาสเข้าเรียนกับท่าน อาจารย์ประกายเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2550 ในเรื่อง Change Management ทำให้ดิฉันได้เรียนรู้สิ่งต่อไปนี้ 1.ทฤษฎี 3 วงกลม ได้แก่ Leader , Follower และ Environment ว่ามีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันโดยไม่สามารถแยกออกจากกันได้

  

    

2. การบริหารมี 3 ระดับ คือ2.1 การบริหารหัวหน้า ซึ่งยากสุด2.2 การบริหารลูกน้อง ซึ่งง่ายสุด เนื่องจาก เรามีอำนาจในการดำเนินการได้2.3 การบริหารเพื่อนร่วมงาน ซึ่งถือเป็นการบริหารระดับกลางๆ ไม่ยากหรือง่ายจนเกินไป                                        3. การวัดความยิ่งใหญ่ของบริษัท สามารถวัดได้จาก 3 สิ่งต่อไปนี้3.1 วัดจากยอดขายของบริษัท3.2 วัดจากทรัพย์สินที่มีอยู่ของบริษัท3.3 วัดจากผลกำไรที่ได้รับของบริษัท 4. สิ่งที่หัวหน้าจะต้องทราบในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ คือ4.1 ความต้องการของคน ในแต่ละระดับที่แตกต่างกัน4.2 ทิศทางขององค์กร 5. บทบาทของผู้นำที่ดี คือต้องสามารถชี้นำให้ผู้ตามสามารถดำเนินไปในทิศทางเดียวกันและจะต้องกระจายอำนาจให้กับทุกคนเพื่อที่จะได้ตัดสินใจในระดับที่ดูแลรับผิดชอบได้ พร้อมกับจะต้องทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดีด้วย
กราบเรียน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมย์ อ. ยม นาคสุข อ.ประกาย ชลหาญ และท่านผู้อ่านทุกท่าน ดิฉันนางสาวศศิวิมล ทับเวช นักศึกษาปริญญาโท ภาควิชาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เนื่องจากว่าในวันอาทิตย์ที่ 15 ก.ค.50 ได้เรียนวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ จากเวลา 9.00-12.00 น. สรุปได้ดังนี้1.    การเปลี่ยนแปลงมี 2 ด้าน คือด้านนอกองค์กร : การเมือง คู่แข่ง เทคโนโลยี ภัยธรรมชาติ สังคม เศรษฐกิจ เป็นต้นด้านในองค์กร : เปลี่ยนแปลงทิศทางของธุรกิจ take  over ระบบงาน นโยบาย ผู้นำ เป็นต้น2.    หน้าที่ของผู้บริหาร คือ-        Pathfinder (ชี้ทาง) เช่น นโยบาย วิสัยทัศน์-        Aligning (เดินไปทางเดียวกัน) เช่น การสื่อสาร-        Empower (การกระจายอำนาจ)-        Role model (ตัวอย่างที่ดี)3.    การบริหารจัดการมี 3 ทิศทาง-        Manage-up เป็นการบริหารผู้บังคับบัญชา-        Manage-down เป็นการบริหารลูกน้อง-        Manage-sideway เป็นการบริหารเพื่อนร่วมงาน สุดท้ายดิฉันขอขอบพระคุณศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมย์ อ. ยม นาคสุข อ.ประกาย ชลหาญ ที่ได้ให้ความรู้ และถ่ายทอดประสบการณ์ ซึ่งมีประโยชน์ในการทำงาน และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้  
นาย พัฒนา ปลอดภัยงาม

เรียน ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  และอาจารย์ประกาย

สิ่งที่ได้รับจากการเรียนในวันที่ 15 ก.ค.นั้น คือ ทฤษฎี 3 วงกลม ได้แก่ Leader  Follower และ Environment ว่ามีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ต้องเกี่ยวข้องในทุกองค์กร

ในการบริหารจัดการต้องบริหารงานทั้งในแนวดิ่งและแนวราบ ซึ่งมีทั้งเจ้านายและลูกน้องในแนวดิ่ง

ส่วนในแนวราบก็มีผู้ร่วมงาน ซึ่งต่างคนก็มาจากต่างสังคม ครอบครัว ทำให้เกิดความคิดเห็นไม่ตรงกัน ทำให้เกิดความขัดแย้งกันได้ แต่ผมคิดว่าการที่จะป้องกันสิ่งเหล่านี้ ต้องมาจากตัวเราเองก่อน

เช่นถ้าเพื่อนร่วมงานนั้นพยายามที่จะให้ร้าย ต่อว่าเรา เนื่องจากมีความไม่ชอบเป็นการส่วนตัว เราก็หาทางที่จะหลีกเลี่ยง แต่ถ้าเกินไปก็ควรหาทางแก้ไขหรือการตอบโต้

ควรใช้หลักคุณธรรม

 

เรียน ศ.ดร.จีระ  อาจารย์ ยม  อาจารย์ประกาย ทีมงาน  ChiraAcademy  และผู้อ่านทุกๆท่านเนื่องจากในวันอาทิตย์ที่ผ่านมาผมได้มีโอกาส ในการได้เรียนกับ อาจารย์ประกาย ทำให้ได้รับความรู้จากประสบการณ์การทำงานในด้านการบริหารงานด้านทรัพยากรมนุษย์จากท่านอาจารย์ และได้แลกเปลี่ยนมุมมองในด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ และด้านการดำเนินธุรกิจ  ซึ่งมีหัวข้อหลักที่มาแลกเปลี่ยนก็คือเรื่อง

Change Management โดยบรรยากาศ

ในการเรียนนั้นมีความเป็นกันเองและผ่อนคลาย ทำให้ได้รับความรู้อย่างมาก ส่วนความรู้ที่ได้รับมีประเด็นหลักดังนี้
  1. การที่จะเป็นผู้นำที่ดีได้ต้องมีความสามารถ ในด้านต่างๆหลากหลายรอบรู้ โดยเฉพาะเรื่องการเงิน และการบริหารคนให้มีประสิทธิภาพ
     2.การบริหาร มี 3 ระดับ ดังนี้      manage up ( บริหารหัวหน้า )เป็นสิ่งที่ยากที่สุดเนื่องจากอาจเกิดการไม่ยอมรับได้ง่ายเพราะเหตุผลทางด้านตำแหน่งหน้าที่ที่แตกต่างและความน่าเชื่อถือ                 manage down ( บริหารลูกน้อง )สามารถทำได้โดยง่าย เพราะเป็นหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติจากงานที่ได้รับมอบหมาย       manage side way  (บริหารเพื่อนร่วมงาน) ต้องใช้ความพยายามมากขึ้นกว่าระดับลูกน้องเนื่องจากมีหน้าที่ในระดับเดียวกันอาจไม่ยอมรับได้ง่าย        3.นักบริหารที่ดี ต้องสามารถ วิเคราะห์สถานการณ์   เข้าใจในการบริหารระดับเดียวกันและต่างกัน วางวัตถุประสงค์ที่สามารถทำให้มีความเข้าใจตรงกันและสามารถปฏิบัติให้เกิดผลได้จริง ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ต้องขอขอบคุณอาจารย์ประกาย และทีมงาน Chira Academy  ที่ทำให้ผมได้มีความรู้เพิ่มเติม และมีแนวทางในการนำไปใช้ในการทำงานและอยู่ร่วมสังคมอย่างมีความสุขต่อไป ขอบคุณครับ
น.ส.วรนรี พันธุสังข์

เรียน ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมและคุณประกาย ชลหาญ ดิฉันนางสาววรนรี พันธุสังข์ นักศึกษาปริญญาโท คณะเทคโนโลยีเกษตร สาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

เมื่อวันอาทิตย์ที่ 15 กรกฏาคม 2550 ในชั่วโมงเรียนของพวกเราคณะนักศึกษาปริญญาโท เป็นอีกครั้งที่ท่านอาจารย์จีระได้ให้พวกเราได้มีโอกาสได้รับการถ่ายทอดจากท่านผู้มีประสบการณ์เพิ่มอีกท่านหนึ่ง ซึ่งจากการเรียนในครั้งนี้คุณประกายได้ให้แง่คิดต่างๆ โดยในช่วงแรกได้อธิบายพร้อมทั้งยกตัวอย่างในการบริหารจัดการและการเป็นผู้นำในองค์กรโดยทั่วๆไปให้แก่พวกเราอย่างง่ายๆและสามารถนำไปคิดวิเคราะห์เปรียบเทียบจากสิ่งที่เจอจากชีวิตการทำงานจริงในปัจจุบันได้จริงไม่ว่าจะเป็นเรื่องของคนที่จะบริหารองค์กรต้องเก่ง 2 เรื่อง คือ 1 เก่งบริหารจัดการคน และ 2 ต้องเก่งบัญชีและการเงิน ซึ่งในการบริหารงานจะดีไม่ได้หากเราบริหารงานด้วยความกลัว นอกจากนี้แล้วยังมีประเด็นองค์ประกอบที่ต้องพิจารณาอยู่ตลอดเวลาในส่วนของ Leadership & Management อยู่ 3 องค์ประกอบที่มีความสำคัญและเกี่ยวเนื่องกันเป็นลักษณะวงกลม 3 อัน 1 Leader 2. Follower และ 3 Environment ทั้งนี้เมื่อเราได้พิจารณาจริงๆแล้วจะพบว่าในการบริหารในองค์กรนั้นมีอยู่ด้วยกัน 3 Level คือ
  • บริหารกับผู้ที่ระดับที่สูงกว่า ซึ่งเป็นเรื่องที่ยากที่สุดเพราะเป็นสิ่งอยู่นอกเหนือการ control ของเรา

     

  • บริการกับคนระดับล่าง หมายถึงผู้ที่อยู่ในระดับที่ต่ำกว่า ที่ระดับนี้จะง่ายกว่าระดับแรกเพราะยังคงอยู่ภายใต้การควบคุม
  •  

  • บริหารระดับเดียวกัน
  •  

    ทั้งนี้ไม่ว่าจะบริหารกับระดับใดก็แล้วแต่เราต้องรู้จักที่จะเข้าใจถึงภาวะการเป็นผู้นำและสิ่งแวดล้อม ต้องพยายามเข้าใจในบทบาทและสิ่งที่ระดับสูงกว่าทำ มีความเข้าใจใน Policy ของบริษัท เรียนรู้ถึงวิธีการทำงานเป็นทีม และที่สำคัญต้องรู้จักพร้อมที่จะเปิดและบริหารการเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงได้ ต้องรู้จักหน้าที่ของผู้บริหาร คือต้องทำให้คนทำงานให้เป็นซึ่งการที่เราจะทำให้คนทำงานหนึ่งๆได้นั้นต้องทำให้เค้ามี 2 สิ่งสำคัญในตัว คือ

1. Ability การที่เราจะทำให้เกิด Skill และ Knowledge ได้เราต้องรู้จักสอนงานสร้างความท้าทายเพื่อก่อให้เกิดการเรียนรู้ซึ่งจุดนี้ในการทำงานจริงของดิฉันที่ได้ทำอยู่พบว่าหลังจากที่ทำไปแล้วเป็นการสร้าง Ability ให้เกิดขึ้นได้อย่างดี

2. Motivation ก่อนที่เราจะดำเนินในส่วนนี้ได้เราต้องเริ่มจากเรียนรู้ก่อนว่าลูกน้องหรือผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาเรานั้นต้องการอะไร และทำให้เกิดความเข้าใจต่อทิศทางขององค์กร

จากระบบวิธีการคิดต่างๆกับการที่เราจะรู้จักบริหารในองค์กรดังที่คุณประกายให้แนวคิดแก่ดิฉันและเพื่อนๆเหล่านี้นั้นสิ่งที่มีความสำคัญและสร้างการประสบความสำเร็จในการบริหารในองค์กรที่เราต้องปรับปรุงต้องเข้าใจและรู้เท่าทันได้อีกสิ่งหนึ่งที่ผู้บริหารต้องมีคือ Change Management ต้องรู้จักเปลี่ยนแปลงก่อนที่จะถูกบังคับให้เปลี่ยนซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้มีอยู่ด้วยกัน 2 ทาง คือ ภายนอก เช่นจาก คู่แข่ง การเมือง เทคโนโลยี เศรษฐกิจ ภัยธรรมชาติ สังคม เป็นต้น และภายใน เช่นการเปลี่ยนแปลงทิศทางของธุรกิจ การเปลี่ยนแปลงนโยบาย การเปลี่ยนแปลงผู้บริหาร ระบบงานเป็นต้น

ทั้งหมดนี้ดิฉันคิดว่าเป็นประโยชน์ต่อดิฉันเป็นอย่างยิ่งจากการที่ได้ฟังประสบการณ์ การอธิบายต่างๆ ของคุณประกายที่ได้สละเวลามาถ่ายทอดให้ดิฉันและเพื่อนๆ เพราะเมื่อได้พิจารณาย้อนกลับไปที่การทำงาน บางอย่างเป็นสิ่งที่เคยประสบ หรือกำลังประสบอยู่สามารถนำไปใช้ได้จริงเข้าใจทิศทางและคิดอย่างเป็นระบบเป็นหลักการมากขึ้นตลอดจนดิฉันคิดว่าจะสามารถนำไปประยุกต์หรือต่อยอดได้มากทีเดียว

 

กราบเรียน ศ.ดร. จีระ, อาจารย์ประกาย , อาจารย์ยม  และท่านผู้อ่านทุกท่านค่ะ ดิฉัน นางสาวสุภาภรณ์  นำรุ่งโรจน์ นักศึกษาปริญญาโท สาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร สถาบันพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

      

     เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2550 จากการได้เรียนกับอาจารย์ประกาย ชลหาญ  รู้สึกชอบกับการ style การสอนของ อาจารย์เป็นอย่างมาก , ได้รับความรู้ต่างๆมากมาย และได้รับการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับอ. ประกาย รู้สึกสนุก กับการสอนของ อ. อีกแบบนึงที่ได้แสดงความคิดเห็นอย่างมากมาย สามารถนำมาใช้ในชีวิตของตนเองและแฝงข้อคิดต่างๆเอาไว้ให้ต่อยอดต่อไป  เช่น ให้ศึกษาบุคคลที่มีความสามารถว่าเขามีหลักการปฏิบัติอย่างไรถึงจะประสบความสำเร็จในธุรกิจ, ต้องรู้ว่าองค์กรที่สำคัญที่สุดว่าสายงานไหนสำคัญที่สุด เพื่อsupport ให้ธุรกิจเติบโต เจริญรุ่งเรือง, ยั่งยืนได้   เป็นต้น  การที่นำมาใช้ในการบริหารของผู้บริหารต้อง motivate ลูกน้องให้ได้ ก่อน motivate คนตั้องรู้ว่าลูกน้องต้องการอะไรในองค์กร   หลักการ motivate คนมีดังนี้

 1.      ได้รับค่าตอบแทนที่ดี2.      มีความก้าวหน้าในการทำงาน3.      การยอมรับจากเพื่อนร่วมงานและครอบครัว4.      ความภูมิใจในตนเอง, พอใจในตนเอง5.      การได้เรียนรู้จากการได้รับ training6.      มั่นคง7.      มีความท้าทาย8.      บริษัทต้องลงทุนในเรื่อง training  ให้กับพนักงานเป็นอย่างมาก

9.      มี OT, วันหยุด เสาร์-อาทิตย์

   การบริหารการจัดการ ต้องมี 3 วง ดังนี้

       1.)  ความเป็นผู้นำ (leader)    2 .)  ต้องมี follower  enviroment   3.) สถานการณ์ ตามความเป็นจริง 

 ซึ่งหน้าที่หลักของผู้บริหารทั่วไป คือ ทำให้คนทำงานให้ได้ และทำให้ลูกน้องทำงานให้เป็น  ถึงจะมีคุณสมบัติในการเป็นผู้นำองค์กรใน Human Management ที่ดีได้ต่อไปได้ค่ะ        ขอขอบคุณมากค่ะ 
กราบเรียนท่านศ.ดร.จีระ,อ.ยม,อ.ประกายและท่านผู้อ่านทุกท่าน ดิฉันได้มีโอกาสเรียนวิชา การบริหารทรัพยากรมนุษย์ กับอ.ประกายเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2550 จากการฟังการบรรยายในหัวข้อ Change Management ทำให้ดิฉันได้แนวคิดในเรื่องของ การจัดการธุรกิจในลักษณะที่ต้องมีการเปลี่ยนแปลงวิธีการทำงานตลอดเวลา เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพของการทำงานที่องค์กรกำลังประสบอยู่ ทั้งในเรื่องการกำหนดเป้าหมายในการทำงาน, การกำหนดกลยุทธ์หรือวิธีการดำเนินงาน รวมถึงวิธีการที่จะใช้ในการแก้ปัญหา ซึ่งทุกส่วนที่กล่าวมานั้นล้วนแล้วแต่ทำให้ต้องมีการเปลี่ยนแปลงทั้งสิ้น และเป็นการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดี เพื่อให้เกิดการพัฒนาและองค์กรมีการเติบโตต่อไป
เรียน ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์  อาจารย์ยม นาคสุข และท่านผู้อ่านทุกท่าน  จากรายงานที่อาจารย์ได้มอบหมายให้แต่ละกลุ่มศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับทฤษฏีทุน 8 K’s จากการเลือกหัวข้อเรื่องที่จะศึกษาทางกลุ่มของกระผม ซึ่งประกอบด้วย นายปริญญา  รักพรหม และ นายวิศรุต  แสงโนรี ได้เลือกศึกษาเรื่องทุนแห่งความยั่งยืน (Sustainable Capital) เหตุผลที่เราเลือกศึกษาทุนแห่งความยั่งยืน เพราะคิดว่าการใช้ชีวิตหรือการดำเนินชีวิตในยุคปัจจุบันซึ่งเป็นยุคที่มีการแข่งขัน เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาในทุกๆ ด้าน เป็นเรื่องที่ท้าทายและจำเป็นที่จะต้องศึกษาว่าเราจะรับมือกับการเปลี่ยนแปลงนี้ได้อย่างไร เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน สามารถยืนอยู่ได้ด้วยตัวเองโดยไม่จำเป็นต้องพัฒนาแบบก้าวกระโดดโดยมองข้ามการพัฒนาและวางรากฐานให้แข็งแกร่งเสียก่อน  ซึ่งจากการค้นคว้าหาข้อมูลต่างๆ ขอบข่ายของการนำเสนอข้อมูลจะเริ่มต้นจาก1. ศึกษาถึง พื้นฐาน ที่มาของการพัฒนาสู่ความยั่งยืน โดยศึกษาจากทฤษฏีเศรษฐกิจพอเพียง บทความและแนวคิดของบุคคลสำคัญที่มีชื่อเสียง เช่น คุณพารณ  อิศรเสนา ณ อยุธยา, ศาสตราจารย์ นายแพทย์ประเวศ  วะสี, ดร. จิรายุ  อิศรางกูร ณ อยุธยา เป็นต้น2. ศึกษาถึงความสำคัญและตัวอย่างการนำไปประยุกต์ในปัจจุบัน3. ศึกษาถึงความสัมพันธ์ของทุนแห่งความยั่งยืนกับทุนด้านอื่นๆ ว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างไร4. นำเสนอแนวทางการนำหลักการของทุนแห่งความยั่งยืนมาประยุกต์ใช้กับการพัฒนาธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร ตามความคิดเห็นของกลุ่ม จากขอบข่ายของการนำเสนอข้อมูลงานทั้งหมดที่วางไว้ข้างต้น ทางกลุ่มจึงขอรบกวนขอคำแนะนำและคำชี้แนะด้วยครับว่าขอบข่ายที่วางไว้นั้นมาถูกทางรึเปล่าหรือว่าควรจะเพิ่มการศึกษาในด้านใดอีกครับ ขอบพระคุณท่านอาจารย์มากครับ.
อรนุช หล่ำสกุลไพศาล
กราบเรียน ศ.ดร. จีระ, อาจารย์ประกาย, อาจารย์ยม และท่านผู้อ่านทุกท่านค่ะ ดิฉันนางสาวนิรชร              ไชยกาญจน์                          รหัสนักศึกษา 50066202นางสาววรนรี               พันธุสังข์                               รหัสนักศึกษา 50066207นางสาวอรนุช              หล่ำสกุลไพศาล                   รหัสนักศึกษา 50066214 นักศึกษาปริญญาโท สาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร สถาบันพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เมื่อวันอาทิตย์ที่ 22 กรกฎาคม 2550 ได้มีการสอบวัดผลกลางภาคเรียนที่ 1 วิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ โดยท่านอาจารย์จีระ ได้จัดให้มีการสอบ ORAL หรือการสอบโดยการให้นักศึกษาตอบคำถามที่ท่านตั้งหัวข้อให้ตอนที่อาจารย์นัดสอบนั้นท่านได้ให้เหตุผลที่ท่านเลือกใช้วิธีนี้ในการสอบว่า ท่านต้องการที่จะให้นักศึกษาของท่านได้แสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่ตามที่คิด มากกว่าที่จะท่องตามตำราหรือ เอกสารต่างๆแล้วมาเขียนตอบในข้อสอบ  คำถามที่กลุ่มที่ 2 ของเราได้รับก็คือ จากข่าวที่หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้แสดงวิสัยทัศน์ และนโยบายที่ทางพรรคจะปฏิบัติและ ให้ความสำคัญ อยู่ด้วยกันหลาย เรื่อง ตั้งแต่เรื่องปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมไปถึงเรื่องปัญหาเกี่ยวกับทรัพยากรมนุษย์ และให้สมมุติว่านักศึกษาอยู่ในฐานะเดียวกันกับคุณอภิสิทธิ์ โดยท่านอาจารย์จีระให้นั่งระดมความคิดก่อนที่จะตอบ 5 นาทีและ ทางกลุ่มได้แบ่งประเด็นการตอบออกเป็น3 ประเด็น 

                ประเด็นที่หนึ่ง โอกาสทางการศึกษา การศึกษาเป็นสิ่งที่สำคัญและเป็นพื้นฐานที่จะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ไปในทิศทางต่างๆ ของประเทศเป็นอย่างมาก ทั้งที่เราจะเห็นว่ารัฐมีการให้ทุนการศึกษา การให้โอกาสในการกู้ยืมเพื่อการศึกษาในอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำอยู่ แต่ในความเป็นจริงโอกาสในการศึกษายังไม่อย่างไม่ทั่วถึงและจำกัดอยู่ในบางกลุ่มเท่านั้น เช่น การกำหนดการให้ทุนแก่เยาวชนที่อยู่ในโครงการช้างเผือกหรือผู้ที่มีผลการเรียนดี ได้ที่ 1 ในการศึกษาต่อ แต่ในความเป็นจริงยังมีคนอีกหลายกลุ่มโดยเฉพาะกลุ่มที่มีความยากจนอีกมากที่ไม่มีโอกาสได้รับสิ่งเหล่านี้ แม้ตั้งแต่เริ่มเรียนเพื่อให้มีผลการเรียนดีมาแสดงเพื่อได้ทุนศึกษาต่อ หรือไม่มีโอกาสตั้งแต่จะได้มีโอกาสได้เล่นกีฬาหรือเข้าร่วมในสิ่งซึ่งแสดงความสามารถเพื่อเข้าโครงการช้างเผือกได้ เป็นต้น

 แนวทางการแก้ไข : ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดของแต่ละจังหวัดเป็นแกนนำในการดำเนินนโยบาย หรือเรียกได้อีกอย่างว่าเป็น ผู้ว่า HR” ที่เน้นในเรื่องของการพัฒนาเยาวชนซึ่งเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าของเราให้มีคุณภาพมากที่สุดเพื่อเป็นกำลังในการพัฒนาประเทศต่อไป ทำไมถึงต้องเป็นผู้ว่า HR ก็เพราะหากเรามี ผู้ว่า HR” ผู้ว่า มีอำนาจที่จะส่งผลในการดำเนินการพัฒนาต่างๆได้ดีกว่าผู้ที่ไม่มีอำนาจในการตัดสินใจ                                ประเด็นที่สอง เรื่องจริยธรรม ปัจจุบันคุณธรรมและจริยธรรมเป็นสิ่งที่กำลังน่าเป็นห่วงอย่างมากในสังคมของเราซึ่งจากที่เรามีวัฒนธรรมที่ดีงาม แต่เมื่อเหตุการณ์ และสภาวะแวดล้อมต่างๆ เปลี่ยนแปลงไปตามภาวการณ์และพร้อมๆกับที่โลกมีความเจริญและก้าวหน้าทางวัตถุ เทคโนโลยีมากขึ้นทุกวันแต่คุณธรรมและจริยธรรมกลับเสื่อมถอยลง มีแบบอย่างที่ไม่ดีเกิดขึ้นมากมายและค่อนข้างจะเสรีและออกจะเสรีมากเกินไปในบางเรื่องซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบได้ในหลายๆด้านโดยเฉพาะกับเยาวชนหากขาดผู้คอยชี้นำหรือสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องแก่เค้าซึ่งบางกรณีก็เป็นการยากที่จะต้องคอยทำความเข้าใจหรือแก้ปัญหากับสิ่งซึ่งเกิดขึ้นไปแล้ว แทนที่จะเป็นการกำหนด ป้องกันก่อนที่จะเกิดแล้วมาอธิบายกันทีหลัง ตลอดไปจนถึงสื่อต่างๆก็มีส่วนที่จะป้อนข้อมูลข่าวสารให้กับทุกคนซึ่งก็อีกเช่นเคย เยาวชนนั่นเอง เช่น ข่าวที่พาดตามหน้าหนังสือพิมพ์ ที่มีเนื้อข่าวของเหตุการณ์ที่ค่อนข้างขาดศีลธรรม คุณธรรมต่างๆ ไม่ว่าจะข่าวฆ่า ขมขื่น การทำร้ายกันของคนในครอบครัว ซึ่งเป็นการนำเสนอกันแบบทุกวันจนทำให้สังคมเกิดความรู้สึกชินหรือจนไม่รู้สึกอะไรกับสิ่งเหล่านี้ไปแล้วว่าเป็นการกระทำที่ผิดอีกทั้งจากความรุนแรงต่างๆที่เห็นกันอยู่ทุกวันก็กลับกลายเป็นแบบอย่างไป                 - แนวทางการแก้ไข :สามารถทำได้โดยการจัดให้มีหน่วยงานหรือรัฐมนตรีในกระทรวงต่างๆที่เกี่ยวข้องเข้ามาพิจารณาและดูแลอย่างใกล้ชิดและจริงจังในแต่ละประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้องระหว่างคุณธรรมจริยธรรมกับทรัพยากรมนุษย์ในปัจจุบัน มีการเข้าถึงตั้งแต่ในระดับเยาวชนเช่น ทบทวนหลักสูตร วิชาที่เกี่ยวข้องกับการสอนการเรียนรู้ในเรื่องของคุณธรรมจริยธรรมและชี้ให้เห็นถึงผลดีหรือผลเสีย บทลงโทษต่างๆจาการประพฤติไม่ดีหรือการที่ไม่มีคุณธรรมจริยธรรมการกระทำความผิดต่างๆ หรืออาจจัดกิจกรรมในระดับโรงเรียนในแต่ละโรงเรียนให้เยาวชนได้คิดและมีส่วนร่วม ส่งเสริมให้มีโครงการต่างๆจากกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้และอาจขยายผลไปถึงการแข่งขัน หรือเผยแพร่ระหว่างโรงเรียน ไปจนระดับจังหวัด ระดับภาคหรืออาจไปจนถึงระดับประเทศโดยคอยมีผู้ปกครอง ครู และผู้ใหญ่ในสังคมให้คำชี้แนะและสนับสนุนจากกลไกเหล่านี้ให้เยาวชนซึมซับและรู้จักผิดชอบชั่วดีไปจนเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ส่วนในระดับผู้ใหญ่อยู่แล้วทางสื่ออาจมีการจำกัดหรือลดบทบาทในบางส่วนที่มีความเสรีจนเกินไปโดยส่วนกลางของประเทศ                  ประเด็นที่สาม เรื่องการพัฒนาคุณภาพชีวิต เสริมจากประเด็นที่หนึ่ง และสองควรมีการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับคนไทยมากขึ้น โดยจัดให้มีการพัฒนาทักษะความรู้ในอาชีพต่างๆ การให้ความรู้ทางด้านสุขภาพและ อนามัยแก่ประชาชนในท้องถิ่นโดยหน่วยงานของภาครัฐและกลุ่มพ่อแม่ผู้ปกครองเป็นแกนนำ หรือเป็นสื่อกลางในการดำเนินงานเช่นเดียวกับการพัฒนาทางการศึกษาของเด็ก โดยเน้นการพัฒนาด้านพัฒนาศูนย์เด็กเล็ก อบต. อนามัย และกลุ่มพ่อแม่ผู้ปกครองที่ต้องทำงานร่วมกันเป็นทีม เมื่อเราจะพัฒนาให้มีผู้ว่าจังหวัดHR แล้ว กับการที่เราจะปลูกฝังเรื่องคุณธรรมจริยธรรมแล้ว การเริ่มที่เด็กซึ่งเป็นอนาคตของชาติ เพื่อให้พวกเขาได้รับอาหารที่ดี มีการดูแลสุขภาพที่ดี ภายใต้การดูแลของอบต. และผู้ว่า HR ที่ให้การสนับสนุน ซึ่งทั้งหมดนี้ควรจะทำงานกันเป็นทีม และการจัดกระจายเสียงตามสายภายในโรงเรียน ให้เด็กๆทุกคนได้รับฟังเสียงพวกเขาเองอาจจะเป็นตัวแทนนักเรียนที่จะพูดกระจายเสียงตามสายภายในโรงเรียน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการทำความดีต่างๆ อาจจะเก็บกระเป๋าสตางค์ได้                หลังจากที่ได้ทำการสอบครบแล้วทุกกลุ่ม ท่านอาจารย์จีระ ได้สรุปและให้แต่ละกลุ่มผลัดเปลี่ยนกันมาเล่าถึงคำถามและ คำตอบที่ได้ตอบท่านไปเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ให้กับเพื่อนๆในกลุ่มอื่น เนื่องจากคำถามของแต่ละกลุ่มแตกต่างกัน เพื่อให้เกิดแนวความคิดที่หลากหลายแตกฉานมากขึ้น
กราบเรียนอาจารย์ จีระ, อาจารย์ ยม, อาจารย์ประกาย และท่านผู้อ่านทุกท่าน สมาชิกในกลุ่มมีดังนี้ นาย วรพจน์ สู่เสน นางสาว วสพร บุญสุข และ นางสาว สุพิชฌาย์   หนูขาว นักศึกษาปริญญาโท สาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เมื่อวันอาทิตย์ที่ 22 กรกฎาคม 2550 มีการสอบกลางภาคเรียนที่ 1 วิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ แบ่งเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนที่หนึ่ง คือ การสอบแบบ ORAL และส่วนที่สอง คือ สรุปประเด็นที่ได้จากการอ่านเรื่อง Global Business ส่วนที่หนึ่ง คำถามกลุ่มที่ 1 ได้คือ คำถามที่ว่า เรือแล่นจากเกาะอังกฤษไปยังซิดนีย์ มีทั้งหมด 11 ลำ ในฐานะกัปตันเรือ คุณจะบริหารจัดการอย่างไรให้ไปถึงซิดนีย์ แล้วเมื่อไปถึงจะทำอย่างไรให้อยู่รอด?  คำตอบ คือ ถ้าเปรียบเรือเป็นเสมือนองค์กร ที่ผู้บริหารจะต้องมีการจัดการให้องค์กรประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย (ซิดนีย์)  สิ่งที่ผู้บริหารต้องทำคือ การสร้างแรงจูงใจ (motivate) พนักงานทำงานให้บรรลุเป้าหมาย เมื่อประสบความสำเร็จตามเป้าหมายแล้วต้องเรียนรู้กับสังคมใหม่ และต้องปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมใหม่ เช่น การเรียนรู้จากคู่แข่งทางธุรกิจ การสร้าง net work สร้างความสัมพันธ์กับหน่วยธุรกิจต่างๆ (การเรียนรู้จากชนเผ่าพื้นเมือง เพื่อจะดำรงชีวิตอยู่ได้ในซิดนีย์)              ส่วนที่สอง เรื่องโลกธุรกิจ (Global Business) สรุปประเด็นได้ดังนี้คือในปัจจุบันมีการเชื่อมต่อกันทั่วโลก ในปัจจุบันประเทศอเมริกามีเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่สุด ในขณะที่เศรษฐกิจของประเทศ จีน และอินเดีย กำลังพัฒนาขึ้นมาเทียบเท่ากับอเมริกา ซึ่งส่วนใหญ่เป็นธุรกิจส่งออก และประเทศอเมริกาต้องนำเข้าสินค้าจากประเทศ จีน และ อินเดีย  ทั้ง 3 ประเทศมีการพึ่งพาอาศัยกัน เนื่องจากคนในประเทศอเมริกาให้ความสำคัญในการเลือกซื้อสินค้าในเรื่องของราคา ส่งผลให้อเมริกาต้องสั่งซื้อสินค้าจากประเทศจีนและอินเดีย ทำให้แรงงานในประเทศจีนและอินเดียไม่ตกงาน  แต่ประเทศอเมริกามีมาตรการปกป้องอุตสาหกรรมในประเทศ โดยตั้งภาษีสินค้านำเข้าสูงขึ้น ปัจจุบันประเทศจีนและอินเดีย ได้มีการพัฒนาด้านการศึกษาให้ประชากรในประเทศอย่างรวดเร็ว จึงทำให้แรงงานฝีมือที่มีคุณภาพมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ประเทศจีน และอินเดีย จึงสามารถพัฒนาประเทศได้ใกล้เคียงประเทศอเมริกา โดยที่เน้นการศึกษาเป็นหัวใจสำคัญ ในขณะที่อเมริกาหยุดการพัฒนาด้านการศึกษาของประชากรในประเทศ จึงทำให้ประเทศอเมริกาชะลอการเติบโต สรุปได้ว่าการพัฒนาต้องพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างต่อเนื่อง ส่งผลต่อศักยภาพของประเทศในภาพรวม โดยสามารถศึกษาได้จากทั้ง 3 ประเทศนี้ และจากการทำงานกลุ่มครั้งนี้ทำให้สมาชิกในกลุ่มได้ความรู้เพิ่มขึ้น ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน ช่วยกันระดมความคิดเห็นของทุกคน รู้จักที่จะฟังความคิดของผู้อื่นและเสนอความคิดเห็นคิดของตนเอง ทำให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้
กราบเรียน ท่านอาจารย์ ศ. ดร. จีระ , อาจารย์ ยม , อาจารย์ประกาย , ทีมงาน Chira Academy และสวัสดีท่านผู้อ่านทุกท่าน ค่ะ   

    สมาชิกในกลุ่ม มีดังนี้   นางสาวเริงหทัย สำราญ , นางสาว สุภาภรณ์  นำรุ่งโรจน์ และนางสาวกัญญารัตน์  ลาภเดโช  นักศึกษาปริญญาโท คณะเทคโนโลยีเกษตร สาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

      เมื่อวันอาทิตย์ที่ 22 /7/07  ได้มีการทดสอบความรู้ในเรื่องการบริหารทรัพยากรมนุษย์ โดยการสอบ Oral Test ร่วมกับ ท่านอาจารย์ จีระ ซึ่งนอกจากทางกลุ่มจะได้ทดสอบความรู้แล้ว ยังได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ,ได้รับคำแนะนำและความรู้เพิ่มเติมจาก ท่านอาจารย์จีระ ซึ่ง ต้องขอกราบขอบพระคุณท่าน อ. จีระ เป็นอย่างยิ่งค่ะ ซึ่งทางกลุ่มได้หัวข้อเรื่อง   ประชาธิปไตย และรัฐธรรมนูญ ในชนบท ให้แนวทาง 3 ทาง โดยให้ความรู้ การศึกษา ทรัพยากรมนุษย์ที่ดีขึ้น การสร้างประชาธิปไตย กับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ให้ยั่งยืน  

   โดยทางกลุ่มมีความเห็นตรงกันว่า การพัฒนา ประชาธิปไตย และรัฐธรรมนูญ ในชนบท ให้เกิดความยั่งยืนนั้น คงต้องมาควบคู่กับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยต้องเริ่มจาก

     1.   การปลูกฝัง และการให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประชาธิปไตย  

     เริ่มตั้งแต่เด็กๆ จากผู้ที่ใกล้ชิดจากที่บ้าน เช่น พ่อ แม่ และโรงเรียน คือครู, อาจารย์ ซึ่งทั้งพ่อ แม่ และครูอาจารย์ หรือผู้ที่จะให้ความรู้ควรมีความเป็นกลาง และมีความเข้าใจกัประชาธิปไตย อย่างถ่องแท้ เสียก่อน ซึ่งปัจจุบันทั้งพ่อแม่และครูเป็นสาเหตุที่สำคัญทำให้เด็กได้รับความรู้ความเข้าใจจากประชาธิปไตยที่ไม่ถูกต้องหรือไม่ให้ความสำคัญกับประชาธิปไตยต่อเด็กเท่าไรนัก และนี่ก็คือการเสริมสร้างโดยนำ ทุนมนุษย์  (Human Capital) นั้นคือ เด็กๆ นั่นเอง  อาจเริ่มจากกิจกรรมที่ใกล้กับตัวเด็ก  เปิดโอกาสให้เด็กได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น โดยการโหวต และต้องรู้จักยอมรับในการตัดสินใจของคนกลุ่มมาก ซึ่งการปลูกฝังตั้งแต่เด็กจะทำให้เด็กมีทัศนคติที่ดี รู้สึกถึงความรับผิดชอบและหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติในฐานะที่เป็นคนไทยคนหนึ่ง

 2.  การสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ (ทฤษฎี 4L) โดยนำทุนสังคม (Social Capital) มาใช้โดยนำประชาธิปไตยไปสู่สังคมในชนบทนั้นๆ เช่น หมู่บ้าน, อบต,โรงเรียน, เทศบาล, วัด เป็นต้น  โดยเป็นการพัฒนา ความรู้ ความคิด และทัศนคติ ต่อประชาธิปไตย และรัฐธรรมนูญในชนบท ควรจะเริ่มจากการสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้และสังคมแห่งการเรียนรู้ เริ่มจาก การแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็นร่วมกัน(Learning Methology) การสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ (Learning Environment)ซึ่งอาจจะเป็นแหล่งชุมชน วัด ร้านกาแฟ เป็นต้น  โดยรวมถึงการสร้างโอกาสในการเรียนรู้จากผู้มีความรู้และประสบการณ์(Learning Opportunity) เกี่ยวกับประชาธิปไตย และรัฐธรรมนูญที่ถ่องแท้ ซึ่งอาจเป็นหน่วยงานราชการ ผู้ใหญ่บ้าน อบต. โดยผู้มีความรู้ต่างๆ ต้องมีความเป็นกลางในการให้ข้อมูลจึงจะทำให้ สังคมแห่งการเรียนรู้นี้สัมฤทธิผลได้ และสุดท้ายต้องมีการขยายผลต่อในวงกว้าง ไปยังชุมชนข้างเคียง (Learning Communication) เพื่อสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้เพิ่มมากขึ้น3. การสร้างความยั่งยืน ในประชาธิปไตย และรัฐธรรมนูญโดยนำ ทุนความยั่งยืน (Sustamable  Capital) มาใช้  โดยนำประชาธิปไตยไปปฏิบัติจริงในหมู่บ้าน, วัด,โรงเรียน โดยใช้วิธีการต่างๆ เช่น ทำเป็นเอกสาร , แผนพับ โดยมีภาพการ์ตูนและภาษาที่เข้าใจง่ายแจกจ่ายสู่สังคม ใช้วิธีนี้เพราะ การใช้ภาษาที่เข้าใจงง่าย และการ์ตูนทำให้มองภาพได้ง่ายและใกล้ตัวเขา ซึ่งภาษาทางรัฐธรรมนูญในระบอบประชาธิปไตย เป็นภาษาที่เข้าใจยากมองภาพไม่ออก สำหรับบุคคลทั่วๆไป โดยเฉพาะในชนบทจึงทำให้ประชาธิปไตยยังไม่กระจายเข้าไปสู่ท้องถิ่นอย่างมีประสิทธิภาพมากนัก

ต้องทำให้ประชาธิปไตย และรัฐธรรมนูญแทรกซึมเข้าไปในชีวิตประจำวัน และผู้ที่ปฏิบัติก็ต้องมีความรู้ความเข้าใจ ไม่เกิดอคติ และต้องเป็นกลาง ซึ่งในปัจจุบันทางรัฐบาลได้เปิดโอกาสให้มีการลงประชามติเพื่อรับร่างรัฐธรรมนูญ  โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น และกำหนดอนาคตของประเทศร่วมกัน ซึ่งการเปิดโอกาสในครั้งนี้ ทางรัฐบาลได้มีการแจกเอกสารร่างรัฐธรรมนูญให้กับประชาชนเพื่อศึกษาก่อนแสดงความคิดเห็น ซึ่งถือว่าเป็นวิธีที่ดี แต่ด้วยเนื้อหา และภาษาที่ใช้ในร่างรัฐธรรมนูญ อาจเป็นสิ่งที่ยากต่อความเข้าใจและยากต่อการนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันของประชาชน ดังนั้นทางกลุ่มจึงมีความเห็นว่า หากต้องการให้เกิดความยั่งยืนในประชาธิปไตย และรัฐธรรมนูญ ทางองค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐ และเอกชน ควรร่วมกันในการให้ความรู้ ทั้งสื่อในรูปต่างๆ หรืออาจจัดท่ำร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน   ที่เน้นเนื่อหา และภาษาที่ง่ายต่อความเข้าใจ และสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง ก็จะทำให้ประชาธิปไตย และรัฐธรรมนูญที่เรากำลังจะร่วมกันสร้าง และกำหนดอนาคตของประเทศ มีความยั่งยืนตลอดไป

 สรุป Case Study นี้ มีบทบาทต่อ HR คือการเรียนรู้ ไม่ใช่เรียนรู้แต่องค์กร ต้องเรียนรู้จากสภาวะแวดล้อม (Enviroment ) ด้วย และใช้ทฤษฏี 4L มาใช้กับชุมชนต่อไป 
กราบเรียน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์, อาจารย์ยม, อาจารย์ประกาย, พี่ๆทีม Chira Academy และท่านผู้อ่านทุกท่าน ดิฉัน นางสาวนันทกา บุญสุข, นางสาวอรุณี แซ่ตั้ง และนายปริญญา รักพรหม นักศึกษาปริญญาโท ภาควิชาบริหารธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง             เนื่องด้วยวันอาทิตย์ที่ 22 กรกฎาคม 2550 ที่ผ่านมา เป็นวันสอบกลางภาค วิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ของอาจารย์ โดยมีการสอบแบบ Oral Test โดยจัดกลุ่ม 3 คน ระดมสมองตอบคำถาม กลุ่มของเราได้คำถามว่า ถ้าหากพวกเราเป็น ดร.จีระที่จะจัดรายการโทรทัศน์ที่ UBC ช่อง 28 ออกอากาศเวลา 22.00 น.ทุกอาทิตย์ พวกเราจะจัดรายการรูปแบบไหน ลองเสนอโครงการแต่ละอาทิตย์มา 4 รูปแบบ?”            อาจารย์ให้เวลา 5 นาทีในการระดมสมอง แล้วพวกเราก็ตอบไปว่า รายการของเราจะเน้นจาก Macro สู่ Micro มองมุมกว้างลงมาสู่มุมแคบอาทิตย์แรกที่ออกอากาศ พวกเราจะสร้าง Brand ของ HR ก่อน เพื่อปูพื้นความรู้ให้กับผู้ชมทุกท่านเข้าใจว่า HR คืออะไร โดยเชิญบุคคลที่มีชื่อเสียง เช่น คุณพารณ มาพูดคุย ผู้ชมจะได้เห็นความสำคัญว่า บุคคลที่ประสบความสำเร็จมอง HR อย่างไรอาทิตย์ที่สอง พวกเราจะนำเสนอเป็นสื่อ เช่น ละคร หรือ การ์ตูนเพราะ HR เป็นทฤษฏีอาจจะเข้าใจยาก การใช้สื่อประเภทนี้จะทำให้ผู้ชมเข้าใจ HR ได้ง่ายขึ้นอาทิตย์ที่สาม เราจะเปิดโอกาสให้ผู้ชมรายการ โทรศัพท์เข้ามาถามปัญหาที่พบในด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในองค์กร โดยมีนักศึกษา หรือ หัวหน้าชุมชนเข้ามาร่วมฟังในรายการด้วยอาทิตย์ที่สี่ พวกเราจะมีการเปิดโอกาสในการเรียนรู้นอกสถานที่ โดยจัดสัญจรไปยังหน่วยงานที่น่าสนใจอาจารย์จีระยังเพิ่มเติมคำตอบของพวกเราว่า อาจารย์ต้องการใช้สื่อทางโทรทัศน์เพื่อกระตุ้นให้คนไทยสนใจเรือง HR เห็นความสำคัญ, เข้าใจ และนำ HR ไปใช้ในองค์กรเพื่อพัฒนาองค์กร และพัฒนาประเทศให้อยู่รอดและยั่งยืน และจากการอ่านบทความเรื่อง Global Business จาก หนังสือ Time, July 30, 2007 ได้ประเด็นที่น่าสนใจ คือ1. ยุคปัจจุบันเป็นของยุคโลกาภิวัฒน์การพัฒนาในด้านเทคโนโลยีต่างๆเป็นเรื่องสำคัญ ประเทศที่ก้าวช้าก็เท่ากับก้าวถอยหลังในขณะที่ประเทศอื่นๆก้าวหน้าและพัฒนาอย่างรวดเร็ว ในบทความที่ได้อ่านทั้งจีนและอินเดียได้เห็นความสำคัญของเทคโนโลยีเป็นอย่างมาก ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีควบคู่ไปกับการศึกษาย่อมทำให้เกิดการพัฒนาอย่างรวดเร็ว ดังนั้นมนุษย์ในยุคปัจจุบันจำเป็นที่จะต้องมี ทั้งทุนความรู้ควบคู่ไปกับทุนทางเทคโนโลยีและทุนทางนวัตกรรม การพัฒนาอย่างรวดเร็วของจีนและอินเดียน่าจะเป็นตัวอย่างที่ดีของประเทศไทยในการที่จะพัฒนาและส่งเสริมความรู้ให้แก่ทรัพยากรมนุษย์ภายในประเทศเพื่อที่จะให้ประเทศก้าวไปข้างหน้าอย่างรวดเร็วทัดเทียมกับประเทศอื่นๆ 2. ในการพึ่งพากันด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ยังก่อให้เกิดผลดี คือ ทำให้ทางรัฐบาลของประเทศจีนและอินเดียยังรักษาระดับของการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจที่รวดเร็วเอาไว้  เพราะอเมริกากับยุโรปถือเป็นลูกค้าของประเทศจีนและอินเดีย ถ้าหากยุโรปหยุดการสั่งซื้อสินค้าจากจีนและอินเดีย ประเทศจีนและอินเดียก็จะเกิดผลกระทบที่รุนแรงเช่นกัน3. การที่ให้ความสำคัญแก่อาชีพต่างๆนั้นไม่ควรสนใจแต่เพียงอาชีพจากสิ่งที่มีเทคโนโลยี ความก้าวหน้าในโลก ยังมีอีกหลายอาชีพที่เป็นลักษณะที่ต้องอาศัยความละเอียด และต้องอาศัย คน ซึ่งนั่นก็หมายถึงแรงงาน แรงงานที่มีคุณภาพถือเป็นหัวใจสำคัญ โดยเฉพาะในเรื่องของการศึกษา อย่างเช่น จีนและอินเดียซึ่งเดิมศักยภาพยังไม่เท่าอเมริกายังสามารถรู้จักปรับเปลี่ยนและพัฒนามาเพื่อจะเทียบเท่าอเมริกาและยุโรปดังทุกวันนี้
นายอานนท์ ร่มลำดวน นายพัฒนา ปลอดภัยงาม และนายวิศรุต แสงโนรี
       รียน ศ.ดร จิระ  ,ท่านอาจารย์ยม  , อาจารย์ประกาย , พี่ทีมงาน Chiraacademy และเพื่อนๆที่ติดตาม Blog ของพวกเราชาวนักศึกษา ป.โท ลาดกระบังทุกๆท่าน

จากเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมากลุ่มผมและเพื่อนได้มีประสบการณ์การเรียนและการสอบในรูปแบบใหม่ซึ่งเป็นสิ่งที่ท้าทายและมีความสนุกอย่างมากคือการสอบแบบ Oral โดยการให้ตั้งหัวข้อและอาศัยความรู้ที่เรียนมาทั้งหมดเพื่อตอบคำถามโดยแบ่งเป็นออกเป็นกลุ่มซึ่งกลุ่มของผมประกอบไปด้วย นายอานนท์   ร่มลำดวน  นายพัฒนา  ปลอดภัยงาม  และนายวิศรุต   แสงโนรี 

 

จากการคำถามของอาจารย์จีระ ที่ว่าจะ  ปัจจุบันมีการปรับเปลี่ยนระบบราชการในกระทรวงศึกษา  ซึ่งถ้าเราจะวิจัยใน เรื่องการปรับเปลี่ยนระบบการศึกษาในปัจจุบันเราจะวิจัยเรื่องใดบ้างเพราะสาเหตุใด  ซึ่งในวันนั้นหลังจากกลุ่มของผมได้ปรึกษาหารือกันแล้ว ได้ข้อสรุปว่า ข้าราชการในกระทรวงศึกษามีความคิดเห็นที่แตกต่างจากระบบ และนโยบายที่ภาครัฐนำมาใช้ปฏิรูปการศึกษา ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาตามมาอย่างมากมายจากการที่ไม่มีการศึกษา วางแผนและถึงนำมาปรับใช้ในระบบราชการของไทย  ปัญหาทางด้านขนาดขององค์กรที่มีความใหญ่ จนได้ชื่อว่าเป็นกระทรวงที่ใหญ่ที่สุดในโลก ทำให้มีการบริหารได้อย่างยากลำบาก ทางกลุ่มจึงตั้งหัวข้อในการวิจัยได้ดังนี้

 

1.       การวัดความพึงพอใจต่อระบบการปฏิรูปการศึกษาของข้าราชการกระทรวงศึกษาธิการ หัวข้อนี้มุ่งศึกษาปัญหาความพึงพอใจและไม่พึงพอใจต่อระบบการปฏิรูปการศึกษา ว่ามีสัดส่วนเท่าไหร่ และมีสิ่งที่ไม่พึงพอใจในเรื่องใดบ้าง  ซึ่งในการทำงานหรือการเปลี่ยนแปลงรูปแบบในการทำงานนั้นควรที่จะให้ผู้ทำงานเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องในการปรับเปลี่ยนเนื่องจากผู้ที่ทำหน้างานย่อมรู้เห็นในเรื่องของข้อดีข้อเสีย และสามารถแนะแนวทางในการแก้ไขให้ตรงกับจุดประสงค์ได้  นอกจากนี้ยังช่วยส่งเสริมให้เกิดทุนแห่งความสุข เนื่องจากการมีส่วนร่วมรวมถึงการสร้างแรงจูงใจในองค์กรเพื่อที่จะสามารถขับเคลื่อนงานให้บรรลุจุดประสงค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

 2.       การวัดเป้าหมายในการวางนโยบายของรัฐสามารถทำให้มีประสิทธิผลได้จริงหรือไม่  หัวข้อนี้มุ่งศึกษาว่าข้าราชการสามารถนำนโยบายจากภาครัฐมาปฏิบัติให้เกิดผลได้หรือไม่ ถ้าไม่มีสาเหตุมาจากสิ่งใด

เพื่อเป็นการให้ทั้งส่วนรวมในองค์กรห็นภาพร่วมกันว่าจุดประสงค์ในการเปลี่ยนแปลงนั้นเเป้าหมายคืออะไรและคนในองค์กรสำคัญอย่างไรในการปรับเปลี่ยนครั้งนี้  

 3.       การวัดว่าประชาชนได้รับความพึงพอใจในการบริการหลังจากมีการปฏิรูปการศึกษาหรือไม่ อย่างไร มุ่งเน้นศึกษาประสิทธิผลในการดำเนินงานในมุมมองที่ประชาชนทั่วไปได้มีส่วนในการรับรู้ผลของการดำเนินงานที่ออกสู่ภายนอก  ไม่ว่าการการที่จะทำอะไรก็ตามในเรื่องของความพึงพอใจของลูกค้าเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดว่าประชาชนต้องการอย่างนั้นหรือไม่   หรือต้องให้ลูกค้านั้นทราบถึงข้อดีในการที่ปรับเปลี่ยนโดยวัดผลจากความพึงพอใจ   

     ซึ่งหลักการในการตอบครั้งนี้เรานำเรื่องของทุน 3 ทุนที่กลุ่มผมได้ศึกษามาตอบนั่นก็คือ  ทุนทางจริยธรรม  ,ทุนทางนวัตกรรม   และทุนแห่งความยั่งยืน  

       ดังนั้นสรุปสั้นๆก็คือการที่เราจะสร้างกรอบอะไรก็ตามในการอยู่ร่วมกัน ต้องประกอบด้วยกัน 3 ส่วนคือ  เป้าหมาย  วิธีการ  และผลที่ได้รับ  โดยพิจารณาจากคนในสังคมนั้นๆเป็นหลักดังนั้น ในการต่อยอดเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหรือเกิดนวัตกรรมใหม่ๆที่ดีขึ้นนั้น  ต้องให้คนในสังคมหรือผู้ที่เกี่ยวข้องทราบถึงเป้าหมาย และผลที่จะได้รับเพื่อจะได้เกิดแรงจูงใจ และความสุขที่จะร่วมกันทำให้บรรลุเป้าหมายซึ่งถ้าหากทำได้ดังกล่าวก็จะเกิดกรอบหรือเรียกอีกอย่างว่าจริยธรรมในการอยู่ร่วมกันและการดำเนินงานร่วมกัน อย่างต่อเนื่องในที่สุด     และนอกจากจะได้แลกเปลี่ยนความคิดกับท่านอาจารย์จีระแล้ว ท้ายชั่วโมงอาจารย์ได้ให้ทุกคนมาสรุปเนื้อหาในหัวข้ออื่นๆของเพื่อนๆเพื่อแบ่งปันความรู้ มุมมอง ซึ่งถือเป็นการสังคมแห่งการเรียนรู้อย่างหนึ่ง สามารถนำมาต่อยอดเพื่อใช้กับตัวเองและองค์กรได้  ดังนั้นการสอบครั้งนี้จึงมีประโยชน์มากกว่าการนำความรู้มาใช้เพื่อตอบปัญหาในกรอบแคบๆเหมือนการสอบทั่วๆไปที่ไม่สามารถแชร์คำตอบร่วมกันต่างคตนก็จะต่างตอบในกระดาษไม่ได้มีการแบ่งปันความคิดเห็นร่วมกันดังที่กล่าวมาแล้ว   ขอขอบคุณอาจารย์ จีระ ในการมอบโอกาสดีๆในชีวิตการเรียนในครั้งนี้ครับ ขอบคุณครับ  
นายอานนท์ ร่มลำดวน

เรียน ศ.ดร จิระ  ,ท่านอาจารย์ยม  , อาจารย์ประกาย , พี่ทีมงาน Chiraacademy และเพื่อนๆที่ติดตาม Blog ของพวกเราชาวนักศึกษา ป.โท ลาดกระบังทุกๆท่าน

 

      จากการที่ทางอาจารย์จิระได้แนะนำให้อ่านบทความและศึกษาเรื่อง Global Business  ซึ่งจากการอ่านและวิเคราะห์บทควาจากมุมของผมคือ ในเรื่องที่ปัจจุบันที่มีคำกล่าวว่าปัจจุบันโลกได้เชื่อมโยงเป็นหนึ่งเดียวแล้วนั้นคอนข้างจะเห็นได้ชัดเจนในปัจจุบันซึ่งจากการแข่งขันในตลาดเสรี  ทำให้ทุกประเทศมีโอกาสที่จะเติบโตได้เท่าเทียมกันขึ้นอยู่กับว่าประเทศใดมีแผนการพัฒนาที่ดีกว่ากัน  ซึ่งจะเห็นได้ว่าในการที่ประเทศนั้นๆจะพัฒนาได้ล้วนแล้วแต่ขึ้นอยู่กับ  คน เท่านั้น

 

 ดังจะเห็นได้ว่าประเทศ จีน และอินเดียนั้นมีการพัฒนาและให้ความสำคัญทางด้านคน หรือทรัพยากรมนุษย์เป็นอย่างมาก โดยเน้นที่การศึกษา  และการสร้างคุณค่า Value Added กขึ้น โดยให้คิดอย่างสร้างสรรค์ ซึ่งในอเมริกาเองซึ่งเคยเป็นผู้นำในด้านนี้กลับลดถอยในเรื่องของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ลง ซึ่งสวนกระแสกับทางจีน และอินเดีย จากการเติบโตดังกล่าวทำให้เกิดการ balance ทางธุรกิจระหว่าง 3 ประเทศมากขึ้นซึ่งมีผลมาจากการค้าเสรี และ Global Business  มีการย้ายฐานการผลิตมาที่จีนและอินเดียมากขึ้น แต่ก็มีนโยบายตอบโต้เพื่อป้องกันการเจริญเติบโตของ Global Business คือการตั้งกำแพงภาษี หรือมาตราหารทางกฎหมายต่างๆ  

 ในท้ายที่สุดตัวตัดสินว่าประเทศใดจะคงอยู่และสามารถที่จะเป้นเจ้าในโลกของ Global Business ได้นั้นตัวที่จะวัดได้อย่างชัดเจนก็คือ ประเทศใดสามารถพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ได้มีประสิทธิภาพมากที่สุดก็

  ย่อมมีสิทธิ์ในการเป็นผู้นำในโลกของ Global Business

         แล้วประเทศไทยล่ะมีแผนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อรองรับโลกของ Global Business แล้วหรือยัง???
กราบเรียน ท่านอาจารย์ ศ. ดร. จีระ , อาจารย์ ยม , อาจารย์ประกาย , ทีมงาน Chira Academy และสวัสดีท่านผู้อ่านทุกท่าน ค่ะ   

    สมาชิกในกลุ่ม มีดังนี้   นางสาวเริงหทัย สำราญ , นางสาว สุภาภรณ์  นำรุ่งโรจน์ และนางสาวกัญญารัตน์  ลาภเดโช  นักศึกษาปริญญาโท คณะเทคโนโลยีเกษตร สาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

ในโลกแห่งยุคโลกาภิวัฒน์ที่ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัด    ในบางประเทศในโลกเป็นผู้ผลิตเพื่อที่จะแปรรูปทรัพยากรเพื่อเป็นสิ่งอุปโภคบริโภคแก่ประเทศอื่นๆบนโลกนี้  หรือเพื่อส่งให้แก่ประเทศมหาอำนาจ เช่น  สหรัฐอเมริกา  กลุ่มประเทศยุโรป  เป็นต้น  โดยที่ประเทศผู้ผลิตในของโลกที่ใหญ่ที่สุดในตอนนี้ที่ถูกมองเป็นอันดับแรกๆ  คือ  จีนและอินเดีย   ผู้ผลิตในที่นี้อาจมองถึงการผลิตทรัพยากรบุคคลเพื่อป้อนเข้าสู่ตลาดอุตสาหกรรมแรงงาน     แต่ตอนนี้เริ่มมีความกังวลเกิดขึ้นในประเทสมหาอำนาจในเรื่องของความมั่นคงทางเศรษฐกิจที่ตัวเองเคยยึดอำนาจการต่อรองไว้  อันเนื่องมาจากการที่ประเทศผู้ผลิตเหล่านี้เริ่มมีการพัฒนาตัวเองด้านต่างๆ  อีกทั้งทรัพยากรในประเทศมหาอำนาจเหล่านั้นเริ่มที่จะน้อยลง  และเริ่มที่ต้องพึ่งพาประเทศผู้ผลิตเหล่านี้มากขึ้น  ซึ่งอาจมีผลกระทบถึงอำนาจการต่อรองที่ตัวเองเคยได้เปรียบอยู่ในอดีต   ปัญหาเหล่านี้น่าจะเกิดมาจากการที่ประเทศมหาอำนาจอาจเกิดการทะนงตัวว่าตัวเองมีอำนาจอยู่  มีความล้ำหน้าด้านเทคโนโลยีอยู่  โดยหารู้ไหมว่าประเทศผู้ผลิตเหล่านั้นอาจกำลังพัฒนาตัวเองพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศตัวเองเพื่อมาแข่งขันในระดับโลกได้  และเพื่อบริหารทรัพยากรธรรมชาติที่ตัวเองมีอยู่ให้ใช้ได้เกิดประโยชน์ที่สุด  และเพื่อการที่ตัวเองไม่ต้องตกเป็นรองให้กับประเทศมหาอำนาจแบบเดิม    การที่ประเทศที่เคยตกเป็นรองด้านต่างๆลุกขึ้นมาและพัฒนาตัวเอง  โดยอาศัยจากการที่เคยต้องรอรับเทคโนโลยีจากประเทศที่เจริญ  แต่หกลับนำเทคโนโลยีเหล่านั้นมาพัฒนาต่อ  เกิดการต่อยอดเพิ่มศักยภาพและความสามารถให้กับตัวเอง  และพร้อมที่จะพัฒนาต่อเพื่อหวังว่าจะล้ำหน้าประเทศที่เคยต้องพึ่งพาด้านเทคโนโลยีเดิมจะเห็นได้ว่าในโลกยุคปัจจุบันที่มีการแข่งขันสูงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง  ดังเห็นได้ว่าจีนและอินเดีย  ให้ความสำคัญกับการพัฒนาคนเป็นอย่างมากโดยเน้นเรื่องการให้การศึกษามากยิ่งขึ้น  เมื่อประเทศเหล่านั้นให้โอกาสในการศึกษาแก่ประชากรของประเทศเค้าอย่างทั่วถึง  และมีสิ่งต่างๆที่สนับสนุนและส่งเสริมการเรียนรู้ให้ประชากรเหล่านั้นแล้ว  เมื่อประชากรมีความรู้ความสามารถแล้วนั้นเป็นเสมือนกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศและเป็นเสมือนลูกโซ่  ของพัฒนาด้านคนอย่างต่อไปและยั่งยืน     แต่เมื่อมองไปในประเทศอื่นแล้ว  กลับมามองที่ประเทศไทยเราเองบ้างนั้น  การศึกษาของไทยเด็กไทยที่มีโอกาสได้ศึกษากลับอยู่เพียงกลุ่มเดียว  คือกลุ่มของผู้ที่พอมีปัจจัยทางด้านการเงิน  ในครอบครัวของเด็กที่ยากจนกลับถูกบดบังด้านการศึกษาแม้กระทั้งการศึกษาขั้นพื้นฐานเองยังไม่มีโอกาสได้ศึกษาเลย   คนไทยสนใจด้านการเงินเศรษฐกิจโดยที่เอาตัวเองไปอิงกับต่างชาติ  แต่ไม่สนใจด้านการเงินที่จะเอามาเป็นทุนการศึกษาให้กับคนเพื่อการศึกษา  เพื่อการพัฒนาประเทศที่แท้จริงและยั่งยืน   ถ้าคนในประเทศไม่มีความรู้แล้ว  แล้วจะเอาอะไรไปพัฒนาประเทศ  ต้องตกเป็นรองประเทศอื่นต้องคอยพึ่งพาเทคโนโลยีจากเค้างั้นหรือ  

 

นิรชร ไชยกาญจน์, วรนรี พันธุสังข์, อรนุช หลำสกุลไพศาล
กราบเรียนศ.ดร.จีระ,อ.ยม,อ.ประกายและท่านผู้อ่านblogทุกท่านกลุ่มของดิฉันประกอบด้วย1.    นางสาวนิรชร  ไชยกาญจน์2.    นางสาววรนรี   พันธุสังข์3.    นางสาวอรนุช  หล่ำสกุลไพศาลนักศึกษาระดับปริญญาโทสาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง  จากที่ได้เรียนกับศ.ดร.จีระเมื่อวันอาทิตย์ที่ 22/7/50 อ.ได้มอบหมายงานให้อ่านบทความจากหนังสือ TIME ฉบับประจำวันที่ 30/7/50 หัวข้อเรื่อง Global Business จากคอลัมภ์ Book Excerpt ซึ่งนำบทความนี้มาจากหนังสือเล่มใหม่ของ Robyn Meredith ชื่อ THE ELEPHANT AND THE DRAGON ซึ่งคอลัมภ์ดังกล่าวได้นำเนื้อหาบางส่วนของหนังสือที่ได้กล่าวถึงการลอกเลียนแบบทางกลยุทธ์ (Coping Strategies) มากล่าวถึงในบทความของหนังสือ TIME ฉบับนี้ ซึ่งผู้เขียนได้กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจของโลกโดยมีผลจากการเติบโตของจีนและอินเดีย, อันตรายหรือผลเสียจากการสงวนอาชีพเพื่อไว้ให้กับประชากรภายในประเทศ (Protectionism) และ ชาติตะวันตกจะมีอะไรที่จะนำไปแข่งขันด้วยได้สำหรับธุรกิจในศตวรรษที่ 21      เนื้อหาของบทความดังกล่าวได้พูดถึงการเปลี่ยนแปลงสถานะของประเทศต่างๆในโลกในระบบทางธุรกิจ จากเดิมที่ประเทศทางตะวันตกทั้งในสหรัฐอเมริกาและในทวีปยุโรปอยู่ในสถานะที่เป็นทั้งผู้ผลิตและเป็นผู้คิดค้นเทคโนโลยีและความรู้ (know-how) ต่างๆ ผลิตสินค้าและเทคโนโลยีต่างๆมาขายให้กับประเทศทางตะวันออก ขณะเดียวกันก็ให้การพัฒนาทางด้านความสามารถของประชากรภายในประเทศจนมีขีดความสามารถเป็นที่ยอมรับ แม้ระดับการศึกษาที่ตั้งเกณฑ์ไว้เมื่อเทียบกับในประเทศกำลังพัฒนาและด้อยพัฒนาจะไม่ถือว่าอยู่ในระดับสูงก็ตาม จนทำให้ประชากรภายในประเทศให้ความสนใจในการศึกษาต่อระดับมหาวิทยาลัยน้อยกว่าประเทศที่อยู่ในระดับการพัฒนาที่ต่ำกว่า ทั้งที่ระบบการศึกษาของประเทศเหล่านี้อยู่ในระดับแนวหน้าของโลก แต่กลับมีคนจากตะวันออกหรือคนจากนอกประเทศเข้ามาเรียนในปริมาณที่มากขึ้นเรื่อยๆจากสาเหตุนี้ทำให้คุณภาพโดยรวมของประชากรรุ่นใหม่มีระดับที่ต่ำกว่าเมื่อเทียบกับประชากรที่มาจากประเทศทางตะวันออกที่ได้นำเทคโนโลยีและความรู้ต่างๆที่ได้ไปจากประเทศตะวันตกนั้น ไปศึกษาและพัฒนาจนมีขีดความสามารถที่มากกว่า และต่อมาก็ได้ทำหน้าที่เป็นผู้รับจ้างผลิตสินค้าและเทคโนโลยีรายใหญ่ซึ่งในปัจจุบันก็คือประเทศจีนและประเทศอินเดียตามลำดับ แทนที่ประเทศทางตะวันตก นอกจากนี้คนจากประเทศทางตะวันออกที่มีความสามารถก็ยังได้รับการว่าจ้างให้ไปทำงานให้กับบริษัทที่อยู่ในประเทศตะวันตก ซึ่งทางรัฐบาลของประเทศดังกล่าวคือ สหรัฐอเมริกา และประเทศในยุโรป มองว่าเป็นการแย่งงานของคนในประเทศจึงมีความพยายามที่จะนำมาตรการป้องกันมาใช้คือการสงวนอาชีพบางอาชีพไว้ให้เฉพาะพลเมืองภายในประเทศเท่านั้น(protectionism) ซึ่งก็มีทั้งอาชีพที่ต้องมีความรู้เฉพาะทาง(specialise)และเป็นอาชีพทั่วไป โดยเฉพาะอาชีพทั่วไปที่ต้องกำหนดให้มีการจ้างก็เนื่องจากในปัจจุบันมีการพัฒนาทางเทคโนโลยีอย่างรวดเร็วทำให้มีการคิดค้นเครื่องจักรมาทำงานแทนคนได้มากขึ้น ซึ่งหมายถึงจะต้องมีคนว่างงานมากขึ้นเช่นกัน ทางรัฐบาลจึงได้กำหนดมาตรการดังกล่าวขึ้นมาใช้ แต่ก็ไม่ค่อยได้รับความร่วมมือจากบริษัทต่างๆเท่าใดนัก เนื่องจากบริษัทมองว่า เป็นการสิ้นเปลืองและเป็นการเพิ่มต้นทุนในการทำธุรกิจโดยใช่เหตุ โดยมีเหตุผลอยู่ 2 ข้อหลักคือ จ้างคนเพิ่มก็ต้องเสียค่าจ้างเพิ่ม เสียค่าสวัสดิการต่างๆที่กฎหมายแรงงานกำหนดให้ต้องมีและอีกเหตุผลคือ เมื่อจ้างมาในระดับที่รัฐบาลกำหนดก็อาจกลายเป็นการจ้างคนเกินงาน จะให้ออกก็จะทำได้ยาก และแม้ว่าจะทำได้สำเร็จก็ต้องเสียค่าใช้จ่ายเป็นค่าชดเชยทดแทนการให้ออก ซึ่งก็อาจจะมากกว่าการจ้างต่อไปอีกต่างหาก เมื่อเป็นเช่นนี้บริษัทต่างๆในประเทศตะวันตกจึงหันมาใช้การสั่งซื้อสินค้าหรือการว่าจ้างให้ประเทศทางตะวันออก ซึ่งมีค่าแรงและมีต้นทุนที่ถูกกว่า ให้ผลิตสินค้าให้ แล้วจึงนำมาขายเพื่อเป็นกำไรอีกต่อหนึ่ง ซึ่งมูลค่าของการซื้อขายนี้มีเม็ดเงินอยู่ในธุรกิจประมาณ 1 ล้านล้านล้านดอลลาร์ เป็นเงินที่มีมากกว่าการที่จะจ้างคนของในประเทศตนเองทำการผลิตมาก ในขณะเดียวกันถ้ามองจากทางด้านประเทศตะวันออกที่อยู่ในฐานะผู้ผลิตสินค้า มูลค่าของเงินจำนวนนี้เมื่ออยู่ในประเทศดังกล่าว เช่นในประเทศจีนหรืออินเดีย จะเปรียบเทียบได้ว่ามีมูลค่ามากกว่าถึง 50% (1: 1.46) หรืออาจกล่าวได้อีกนัยหนึ่งว่า การที่ประเทศทางตะวันตกว่าจ้างให้ประเทศทางตะวันออกทำการผลิตให้ก็เสมือนกับทำให้ประชากรในประเทศนั้นๆมีงานทำ และเมื่อมีความแตกต่างของค่าเงินเข้ามาเกี่ยวข้อง ก็เลยทำให้มูลค่าของเม็ดเงินที่เข้าประเทศมีมากขึ้นไปด้วย ผู้เขียนได้กล่าวไว้อีกว่า หากสถานการณ์ยังคงเป็นเช่นนี้ต่อไป ก็จะส่งผลในระยะยาวได้อีกด้านคือ ความเหลื่อมล้ำในเรื่องฐานะระหว่างคนในประเทศที่ร่ำรวยกว่าหรือในประเทศที่พัฒนาแล้วจะมีช่องว่างที่แคบลงเมื่อเทียบกับประเทศผู้ผลิตที่เป็นประเทศกำลังพัฒนาหรือประเทศด้อยพัฒนา และเมื่อเป็นเช่นนี้ต่อไปอเมริกาและประเทศในยุโรปก็จะอยู่ในฐานะผู้ซื้อแทนที่ประเทศทางตะวันออก พร้อมกับที่จะมีคนว่างงานมากขึ้นในประเทศ อเมริกาก็จะเข้าสู่สถานการณ์ที่เศรษฐกิจอยู่ช่วงถดถอยหรือเศรษฐกิจขาลง ในขณะที่จีนและอินเดีย และประเทศผู้ส่งออกรายอื่นจะอยู่ในฐานะผู้ผลิตที่มีเทคโนโลยีและความรู้ต่างๆที่ล้ำหน้ากว่าแทน โดยจีนจะเป็นผู้นำทางด้านการผลิต และอินเดียจะเป็นผู้นำทางด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์    ในช่วงท้ายของบทความได้มีการพูดถึงการให้ความเห็นของผู้ที่มีประสบการณ์ที่อยู่ในวงการธุรกิจหลายท่านซึ่งได้ให้ความเห็นโดยสรุปได้ว่า  การที่ประเทศทางตะวันจะกลับมาแข่งขันได้อีกนั้นต้องให้ความสำคัญในเรื่องการพัฒนาคน โดยเน้นการเพิ่มระดับการศึกษาของประชากรและการให้ความสำคัญทางด้านเศรษฐกิจและการลงทุนภายในประเทศมากขึ้น โดยต้องทำให้เห็นความแตกต่างของขีดความสามารถของประเทศตะวันตก ที่เป็นผู้ริเริ่มการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ ซึ่งถ้าประเทศจีนและอินเดียสามารถเปลี่ยนแปลงตัวเอง อเมริกาและประเทศในยุโรปก็ย่อมทำได้เช่นกัน
นางสาวศศิวิมล ทับเวช , นางสาวอโณทัย วัฒนสุวรรณ , นางสาวสุมิตรา พนาอภิชน
สวัสดีท่านอาจารย์จีระ และท่านผู้อ่านทุกท่าน เนื่องจากกลุ่ม4(นางสาวศศิวิมล ทับเวช , นางสาวอโณทัย วัฒนสุวรรณและนางสาวสุมิตรา พนาอภิชน) ได้มีโอกาสได้เข้าเรียนและสอบ oral ในวันที่ 22/07/2007 กับท่านอาจารย์จีระ ซึ่งท่านอาจารย์ได้โจทย์ซึ่งเป็นสถานการณ์ซึ่งเกิดขึ้นในปัจจุบัน ได้แก่ ปัญหาเรื่องของค่าเงินบาทที่เปลี่ยนแปลงไปจนเป็นผลทำให้บริษัทไทยศิลป์ฯ ต้องปิดกิจการลงไปนั้น ท่านอาจารย์ได้ให้ทีมของพวกเราระดมความคิดในเชิงของการป้องกัน ว่า หากพวกเราเป็น CEO แล้วพวกเราจะมีกลยุทธ์การจัดการอย่างไรที่จะป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้น  ทางพวกเราจึงได้ระดมความคิดเห็นกันและสรุปเป็นข้อๆดังนี้(If I were CEO of Thaisin company, I would use three strategy actions ) 1.กลยุทธ์การสร้างแบรนด์เป็นของตนเอง เพื่อที่จะไม่ต้องรับจ้างผลิตสินค้าแบรนด์ของต่างชาติ ( The first,I would make my own brand to well known in the world.)2.กลยุทธ์การสร้างองค์กรที่แข็งแกร่ง โดยเริ่มจากการสร้างคนขึ้นมาอย่างมีประสิทธิภาพ(The second,I would make my company more stronger than other companies. I make my workers to be the efficiency persons by training all everythings that they need to know about business.)3.กลยุทธ์การสร้างความรู้ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์(The third or the final strategy,I would update the news and the knowledge to our team everytime.) ในด้านของเอกสาร Global Business ที่ท่านอาจารย์ที่ได้ให้มาศึกษาเพิ่มเติมนั้นทำให้พวกเรารู้ถึงสถานการณ์ของโลกธุรกิจในปัจจุบันที่เกิดการเปลี่ยนแปลงไปค่อนข้างมาก โดยสรุปคร่าวๆ เป็นดังนี้ หนังสือเล่มใหม่ของ Robyn Meredith กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงของประเทศ US ,จีน และอินเดีย โดยจีนได้กลายเป็นผู้นำด้านการผลิตของโลก ในขณะที่ US ได้กลายเป็นผู้บริโภคของโลก และอินเดียได้กลายเป็นผู้นำด้าน IT ของโลกจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยของ US  โดยที่จีนได้ปิดโรงงานหรือเลิกจ้างคน  ทางอินเดียเองได้รู้สึกถึงภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำใของ US ด้วย ในด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศที่ยังต้องมีการพึ่งพากันอยู่ จีนไม่ต้องการสูญเสียลูกค้า เช่น Wal-Mart และ บริษัทใน US เพราะถ้าหากไม่มีลูกค้าแล้ว จีนก็จะได้รับผลกระทบ โดยการปิดกิจการไป คนจีนล้านคนก็จะต้องตกงาน  ส่วนอินเดียต้องหยุดการส่งสินค้าออก ทำให้เศรษฐกิจของอินเดียเกิดความไม่ปกติ เป็นผลทำให้ผู้นำของประเทศที่ได้รับการเลือกมาบริหารประเทศก็จะถูกโหวดออกและจะไม่ได้รับการเลือกอีกในการเลือกตั้งครั้งต่อไป  US กับ EU ต้องเชื่อมโยงตลาดของตัวเองให้ทันกับการเจริญเติบโตที่รวดเร็วของตลาดเอเชีย ดังนั้นในตอนนี้ทุกประเทศจะต้องคำนึงถึงเศรษฐกิจของทั้งโลกเป็นสำคัญการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของจีนและอินเดีย คือการตั้งภาษีเพื่อกีดกันทางการค้า เพื่อลดการย้ายงานไปยังอินเดีย จนเป็นผลทำให้ US เกิดภาวการณ์ว่างงานการคุ้มครองอุตสาหกรรมภายในประเทศ ทำได้โดยการจัดเก็บภาษีอากรขาเข้าให้สูงสำหรับสินค้าของประเทศคู่แข่งเหตุผลที่ทำให้ผู้ซื้อต่อต้านการตัดสินใจซื้อสินค้าในราคาที่ต่ำสู้ใกล้เคียงกับ wal mart และหันมาซื้อในราคาที่สูงกว่าจากแหล่งและร้านค้าดังๆ  ผู้ซื้อจำนวนมาก ยินยอมที่จะจ่ายมากกว่าการซื้อสินค้าที่ผลิตโดยคนงานในประเทศ ผู้ซื้อเลือกที่จะซื้อสินค้าราคาถูกโดยไม่ได้สนใจหรืออยากรู้ว่าสินค้านั้นๆผลิตจากที่ใด  สิ่งที่ประเทศทางตะวันตกไม่ควรมองข้าม คือ ประเทศอินเดียและจีน ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วส่งผลกระทบให้กับประเทศตะวันตกไม่น้อย เช่น  US ยังต้องลดอัตราการจ้างงานลง เมื่ออุตสาหกรรมแบบอัตโนมัติเข้ามาแทนที่ย่อมเป็นผลทำให้คนตกงานมากขึ้น  US จะต้องจัดระบบการศึกษาสาธารณะและต้องทำให้สถานการณ์ทางการเงินฟื้นคืนกลับมา  แต่เดิม US มีพื้นฐานทางด้านการศึกษาที่แข็งแกร่งซึ่งเป็นจุดแข็งทางการแข็งขันในตลาดแรงงานโดยเฉพาะความสามารถทางด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ แต่ปัจจุบัน US มีวิถีชีวิตและพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปมากได้แก่ การใช้จ่ายที่ฟุ่มเฟือย ไม่มีการออมเงิน มีการกู้ยืมใช้จ่ายมากขึ้น ในขณะที่อินเดียและจีนมีการเก็บออมมากกว่า  ดังนั้นหากUS หันมาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมใหม่ก็ไม่ยากที่จะทำให้คนอเมริกันกลับมามีชีวิตและมาตรฐานความเป็นอยู่ที่ดีเช่นเคย มากกว่าเดิมได้  ในเรื่องของการศึกษา,การเงิน,ระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานที่ดีจำเป็นต้องได้รับการพัฒนา ซึ่งจีนและอินเดียได้มีการพัฒนาไปค่อนข้างมากซึ่งบางสิ่ง US ไม่มี  ทั้งอินเดียและจีนซึ่งเดิมเคยมีศักยภาพที่ไม่ดีเท่ากับ US ยังสามารถพัฒนาจนเทียบเท่า US และ EU ได้   ดังนั้นถึงเวลาที่ USจะต้องหันกลับมามองและดำเนินการบางอย่างในเรื่องนี้อย่างจริงจัง เพราะ US มีศักยภาพอยู่แล้ว จึงน่าจะปรับเพื่อให้กลับไปเป็นเหมือนเดิมได้ไม่ยาก จากข้างต้น ได้แสดงให้พวกเราเห็นได้ว่าการพัฒนาหรือเปลี่ยนแปลงสิ่งใดๆ ล้วนขึ้นอยู่ที่ คน หรือ มนุษย์ ที่ทำให้ดีขึ้นหรือถดถอยลงได้ ในส่วนของคนไทยน่าจะต้องนำสิ่งเหล่านี้มาเป็นบทเรียนที่ดีได้เพื่อที่จะได้ดำเนินไปได้อย่างถูกทาง
   

     เรียน ศ.ดร จิระ  ท่านอาจารย์ยม   อาจารย์ประกาย  ทีมงาน Chiraacademy และผู้ที่ติดตาม Blog ของนักศึกษา ป.โท ลาดกระบังทุกๆท่าน

     หลังจากการที่ได้อ่านบทความเรื่อง Global Business  ทำให้ผมได้สิ่งที่น่าสนใจ ดังนี้1. การที่ประเทศ จีน และอินเดียนั้นมีการพัฒนามากและรวดเร็วในยุคนี้เพราะให้ความสำคัญทางด้านทรัพยากรมนุษย์เป็นอย่างมาก โดยเน้นที่การปลูกฝังให้เกิดการเรียนรู้  และการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับตัวเอง2 .การที่ความเจริญเริ่มย้ายฝั่งจากอเมริกา มาสู่ประเทศจีนและอินเดียนั้นอเมริกาก็ไม่ได้นิ่งเฉย ได้ตั้งกำแพงภาษีและการกีดกันทางการค้าขึ้นมาเพื่อพยายามลดการเจริญเติบโตของประเทศคู่ค้า 3. ความสามารถในการแข่งขันในปัจจุบัน ไม่เพียงแต่จะต้องผลิตผลิตภัณฑ์ทีมี่คุณภาพในราคาต้นทุนต่ำเท่านั้น  แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการพัฒนาคนให้มีคุณภาพในการทำงาน และมีจริยธรรม การพัฒนาถึงจะมีประสิทธิภาพและยั่งยืน    ขอขอบคุณอาจารย์จีระ ที่ได้แนะนำบทความดีดีให้ผมได้อ่าน ซึ่งบทความนี้ทำให้ผมได้เข้าใจปัจจัยในการพัฒนาของประเทศมหาอำนาจใหม่ได้ดียิ่งขึ้นและตระหนักว่าความสำคัญในการพัฒนาประเทศในปัจจุบันนั้น  จะทำได้ดีได้ เราต้องเริ่มจากการเห็นความสำคัญของคน ให้มากกว่านี้ และพัฒนาให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต 
เรียน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์, อาจารย์ยม และท่านผู้อ่านทุกท่าน ดิฉันนางสาวนันทกา บุญสุข นักศึกษาปริญญาโท ภาควิชาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง         จากการที่ดิฉันได้เข้าเรียนในวันที่ 29 กรกฎาคม 2550 เวลา 9.00-12.00 น. ในคาบเรียนนี้มีการนำเสนองานในหัวข้อเรื่องกรณีศึกษา : การบริหารทรัพยากรมนุษย์ขององค์กรต่างๆ มีการนำเสนอตัวอย่างองค์กร 5 องค์กร คือ บริษัทปูนซีเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) ซึ่งดิฉันเป็นตัวแทนกลุ่มในการนำเสนอ, บริษัทเชียงใหม่เฟรชมิลค์, บริษัท GFPT, การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย และ พรานทะเล โดยแต่ละกลุ่มได้นำเสนอภาพรวมการบริหารทรัพยากรมนุษย์ และท่านอาจารย์ยมก็ได้แนะนำความรู้เพิ่มเติม ดิฉันได้รับประเด็นโป๊ะเชะมากมายหลายอย่าง ดังจะยกตัวอย่าง 3 ประเด็นคือ 1.    การที่บริษัทใดจะมีความเจริญและยั่งยืนได้ ต้องมีแรงงานสัมพันธ์ที่ดี คือ ต้องตอบสนองความต้องการของพนักงานก่อนที่พนักงานจะเรียกร้อง และแรงงานสัมพันธ์ต้องทำเชิงรุกห้ามทำเชิงรับ เช่น การจัดงานปีใหม่, การจัดงานทำบุญทางศาสนา เป็นต้น เพื่อให้พนักงานมีแรงจูงใจในการทำงานและทำงานอย่างมีความสุข2.    การให้โบนัสและสวัสดิการแก่พนักงาน อาจารย์ชี้แจงว่าถ้าให้ครั้งที่ 1 พนักงานจะขอบคุณอย่างยิ่ง ถ้าให้ครั้งที่ 2 พนักงานจะรู้สึกว่าเป็นพระคุณอย่างยิ่ง และถ้าให้ครั้งที่ 3 เป็นการยืนยัน และพนักงานจะมีความคาดหวังว่าจะได้อย่างมาก ซึ่งการให้ประโยชน์แก่ลูกจ้างจะไม่สามารถลดได้ ยกเว้นได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากลูกจ้าง ดังนั้น การให้โบนัสและสวัสดิการแก่พนักงาน ต้องทำอย่างมีระบบ และวางระบบให้ดีและชัดเจน 3.    จากตัวอย่างบริษัทเชียงใหม่เฟรชมิลค์ ที่มีการจัดสรรค่าตอบแทนตาม กำลังบริษัทไม่ควรทำแบบนี้ เพราะปัจจุบันเป็นยุคแห่งเศรษฐกิจฐานความรู้และทางเลือก ถ้ามีการจัดสรรค่าตอบแทนตามกำลังบริษัทจะรักษาคนไว้ไม่ได้ ดังนั้นอาจารย์ยมแนะนำว่า ควรมีการสำรวจ (Survey) การทำเงินเดือนของบริษัทอื่นในธุรกิจประเภทเดียวกัน นำมาเป็นแนวทางในการจัดสรรค่าตอบแทน เป็นต้นนอกจากการนำเสนองานแล้วเรายังได้รับความรู้จากอาจารย์ยมในเรื่องของแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ คือ มี 3 ห่วง 2 เงื่อนไข ห่วงแรก คือ พอประมาณ ห่วงที่ 2 คือ มีเหตุผล ห่วงที่ 3 คือ มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี  โดยมี 2 เงื่อนไข คือ มีความรู้และมีคุณธรรม จึงจะนำไปสู่เศรษฐกิจ, สังคม, สิ่งแวดล้อม, วัฒนธรรมที่ยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องน่าเสียดายที่พวกเรามีโอกาสในการเรียนกับอาจารย์ยมเพียงแค่ 2 ครั้ง รวม 6 ชั่วโมง แต่ความรู้ที่ดิฉันได้รับเป็นประโยชน์ในชีวิตการทำงานอย่างมาก ดิฉันขอขอบพระคุณอาจารย์ยมที่สละเวลามาให้ความรู้พวกเรา ขอให้อาจารย์มีสุขภาพพลานามัยที่สมบูรณ์แข็งแรง มีความสุข และประสบความสำเร็จในทุกๆด้านนะคะ ด้วยความเคารพอย่างสูง นันทกา บุญสุข
นาย พัฒนา ปลอดภัยงาม

เรียน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ อาจารย์ยม และทีมงาน

กระผม นายพัฒนา ปลอดภัยงาม นักศึกษาปริญญาโท สาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

 สิ่งที่ได้รับในการเรียนวันที่ 29 ก.ค.2550 ที่ผ่านมา นั้นได้ทราบถึงระบบการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของบริษัทต่าง ๆ ซึ่งแต่ละที่นั้นต่างมีเป้าหมายที่เหมือนกันก็คือการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในองค์กรให้มีประสิทธิภาพ ในการที่จะบริหารนั้นในแต่ละองค์การ อาจให้ความสนใจที่ สวัสดิการ ผลตอบแทน โดยมองข้ามความต้องการที่แท้จริงของคนในองค์การ ซึ่งอาจต้องการด้านอื่น ๆ เช่น การฝึกอบรม การสร้างบรรยากาศในที่ทำงาน แรงจูงใจในการทำงานโดยหัวหน้างาน ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องการที่แท้จริงและอาจมีมูลค่ามากกว่าเงิน

ได้รับทราบถึงวิธีการคำนวณเงินโบนัส

ว่าต้องอาศัยข้อมูลของธุรกิจเดียวกันมาประกอบการให้โบนัส ว่าควรอยู่ในระดับใด

และการได้รับอาจไม่ต่อเนื่องทุกปีและเท่าเดิมหรือเพิ่มขึ้น หรือบริษัทสามารถปฏิเสธที่จะไม่จ่ายให้

 

      กราบเรียน ศ.ดร.จีระ หงลดารมภ์ อาจารย์ยม นาคสุข และท่านผู้อ่านทุกท่าน ดิฉัน นางสาวรสสคนธ์  น้อยจินดา  นักศึกษาปริญญาโท สาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร คณะเทคโนโลยีการเกษตรสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง  จากที่ได้เรียนในวันอาทิตย์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 เวลา 9.00 – 13.00 น. เรื่อง แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการบริหารทรัพยากร และการ Present งานของนักศึกษาแต่ละกลุ่มในเรื่อง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ขององค์กรที่สนใจศึกษา  เนื้อหาที่เรียนที่ดิฉันจับประเด็นได้หลักๆ 4 ประเด็น ดังนี้

ประเด็นแรก แนวคิดต้นไม้กับการบริหารทรัพยากรมนุษย์  คือ มีการเปรียบเทียบขั้นตอนของการปลูกต้นไม้ กับการบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่แต่ละขั้นตอนก็จะมีลักษณะสอกคล้องกัน เช่น การสรรหาเมล็ดพันธุ์กับการคัดสรรพนักงานคือมีการคัดเลือกให้ได้สิ่งเริ่มต้นที่ดีและมีประสิทธิภาพ เพื่อความเป็นประโยชน์ในระยะยาว และง่ายต่อการพัฒนาให้ดีขึ้น

ประเด็นที่สอง การบริหารความขัดแย้ง คือ เมื่อทราบปัญหา หายุทธวิธีแก้ปัญหา วางแผน (Action Plan) ปฏิบัติตามแผนและมีการตรวจสอบผล ถ้าแผนยังไม่ดีจะปรับปรุงแก้ไขอย่างไร ซึ่งสิ่งที่เน้นคือ เราต้องทราบปัญหาและสาเหตุของปัญหาที่แท้จริง 

ประเด็นที่สาม เมื่อมีปัญหาแต่มีคนที่ไม่ยอมรับในการแก้ปัญหา ท่านอาจารย์แนะนำให้กำหนดบุคคลนั้น และทำงานเป็นทีม มีการสื่อสารสองทาง ใช้เครื่องมือ Survey, resource, จัดการประชุม ทำการประเมินผล และตรวจสอบภายใน จัดเลี้ยงรับประทานอาหารร่วมกัน เพื่อที่จะได้พูดคุยกันมากขึ้น  

ประเด็นที่สี่ เศรษฐกิจพอเพียงกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ คือ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มี 3 ห่วง 2 เงื่อนไข 3 ห่วง คือ ความพอประมาณ(Moderation) ความมีเหตุมีผล(Reasonableness) และความมีภูมิคุ้มกัน (Self-Immure) 2 เงื่อนไข คือ เงื่อนไขความรู้และเงื่อนไขคุณธรรม โดยสมรรถนะที่พึงประสงค์ของผู้นำ จากรายงานการสัมมนาตัวแทนชาติต่างๆ ในอาเซียน เรื่อง New Wave Leaders มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเช่นกัน เพื่อนำไปสู่ความสมดุลของเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม และพร้อมที่จะรับความเปลี่ยนแปลง

      จากประเด็นที่สรุปได้ทั้งสี่ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ขององค์กร แนวทางการแก้ไขปัญหาต่างๆ และการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่เกี่ยวข้องกับแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างมีประสิทธิภาพ นำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ขอขอบพระคุณท่านอาจารย์ยมมากค่ะ 
            เรียนศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์ อาจารย์ยม นาคสุข ที่เคารพ และท่านผู้อ่านทุกท่าน ดิฉันนางสาวอรุณี แซ่ตั้ง นักศึกษาปริญญาโท คณะเทคโนโลยีการเกษตร สาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง                                                                             จากการที่ได้เรียนกับอาจารย์ยม เมื่อวันอาทิตย์ที่ 29 กรกฎาคมที่ผ่านมา โดยอาจารย์ได้ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มนำเสนองานที่ได้รับมอบหมายซึ่งก็คือ การนำเสนอเกี่ยวกับงานทางด้าน HR ของบริษัทต่างๆ ซึ่งเพื่อนๆก็ได้ทำงานกันอย่างเต็มที่ ทำให้ดิฉันได้รับความรู้เพิ่มขึ้นอย่างมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งมีประเด็นที่น่าสนใจคือเรื่องการให้เงินเดือนสวัสดิการ หรือโบนัสแก่พนักงาน ควรมีการสำรวจดูบริษัทที่มีลักษณะธุรกิจที่คล้ายกันว่ามีลักษณะอย่างไรแล้วนำมาเทียบดูกับบริษัทของตนเองว่าอยู่ในเกณฑ์เดียวกันรึเปล่า ซึ่งจะทำให้ไม่เกิดการ Turn over สูง และพนักงานมีความพึงพอใจและเต็มใจที่จะทำงาน

         

          และอีกประเด็นหนึ่งคือเรื่องการที่จะมีการเปลี่ยนแปลงในบริษัทเพื่อให้สามารถดำเนินอยู่ได้ภายใต้เศรษฐกิจที่ไม่ดีนั้น ควรที่จะมีการแจ้งให้พนักงานทุกแผนกทราบเพื่อหาข้อแก้ไขร่วมกัน ถือเป็นการให้ความสำคัญกับพนักงานทุกๆแผนกอย่างเท่าเทียมกันและพนักงานจะได้รู้สึกว่าตนเองนั้นมีความสำคัญกับบริษัทเท่าๆกับคนอื่น และเข้าใจในสถานการณ์ของบริษัทรวมถึงเต็มใจที่จะเปลี่ยนแปลงเพื่อให้บริษัทอยู่รอด

 

           สุดท้ายนี้ขอขอบพระคุณอาจารย์ยม เป็นอย่างสูงที่ได้มาให้ความรู้กับนักศึกษาทุกคน แม้ว่าอาจารย์ยมจะมาสอนเพียง 2 ครั้งแต่ก็ได้รับความรู้และประสบการณ์ในเรื่องการบริหารทรัพยากรมนุษย์เพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก ซึ่งความรู้ที่ได้ก็สามารถทีจะนำไปใช้ทั้งในชีวิตการทำงานและชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดีเลยทีเดียว
นางสาว วสพร บุญสุข

กราบเรียนอาจารย์จีระ หงส์ลดารมภ์, อาจารย์ยม และท่านผู้อ่านทุกท่าน ดิฉัน นางสาว วสพร บุญสุข นักศึกษาปริญญาโท คณะเทคโนโลยีการเกษตร สาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เมื่อวันอาทิตย์ที่ 29 กรกฏาคม 2550 ได้รับความรู้ในการนำเสนอกรณีศึกษา เรื่อง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในบริษัทต่างๆ ในการนำเสนอครั้งนี้มีทั้งหมด 5 บริษัท ดังนี้ 1. บริษัทปูนซีเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) 2. บริษัทเชียงใหม่เฟรชมิลค์ จำกัด 3. บริษัท GFPT จำกัด (มหาชน) 4. บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และ 5. บริษัท พรานทะเล จำกัด โดยการนำเสนอภาพรวมการบริหารทรัพยากรมนุษย์ และ แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งได้ความรู้ 5 ประเด็นดังนี้

ประเด็นแรก คือ ทุกบริษัทมีกระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในองค์กรดังนี้ 1. การวางแผน การสรรหา และเลือกสรรทรัพยากรมนุษย์ (input) 2. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (process) 3. การดูแลและทัศนคติ ของทรัพยากรมนุษย์ เมื่อออกไปจากองค์กร (output)

ประเด็นที่สอง คือ การบริหารองค์กรจะต้องมีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างต่อเนื่อง ซึ่งสังเกตได้จากทัศนคติของพนักงานในองค์กร

ประเด็นที่สาม คือ บริษัทที่ในองค์กรที่มีสหภาพแรงงาน ต้องมีการวางแผนบริหารทรัพยากรมนุษย์ในเชิงรุก และควรดึงพนักงานเข้ามาร่วมมือปฏิบัติงานในการวางแผนด้วย

ประเด็นที่สี่ คือ การบริหารทรัพยากรมนุษย์สามารถเปรียบเทียบได้กับการทำสวน (การปลูกต้นไม้) ดังตารางข้างล่างนี้

 
การทำสวน การบริหารทรัพยากรมนุษย์
การเตรียมพื้นที่ปลูก การตั้งบริษัท
การสรรหาเมล็ดพันธุ์ การคัดสรร คัดเลือก
การเพาะเมล็ด การแต่งตั้ง พนักงานประจำตำแหน่ง
การให้ปุ๋ย รดน้ำ การจ่ายค่าจ้าง เงินเดือน
การฆ่าแมลง กำจัดวัชพืช การฝึกอบรม พัฒนาพนักงาน
การออกดอก ออกผล ผลงาน ประสิทธิภาพงาน
 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 ประเด็นที่ห้า คือ แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ต้องใช้หลักแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มี 2 เงื่อนไข คือ 1.เงื่อนไขความรู้ 2. เงื่อนไขคุณธรรม และ 3 ห่วง ดังนี้ ห่วงที่หนึ่ง คือ มีเหตุมีผล ห่วงที่สอง คือ พอประมาณ ห่วงที่สาม คือ มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี จะนำไปสู่ความยั่งยืนในองค์กร

สุดท้ายนี้สรุปได้ว่าการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ต้องมีพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างต่อเนื่อง และต้องมีการวางแผนให้เป็นแบบเชิงรุกในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ต้องผสมผสานกับแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงด้วย ขอขอบพระคุณอาจารย์ยม ที่ได้ให้ความรู้ แนวการวางแผนและแนวทางการแก้ไขปัญหา สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

อรนุช หล่ำสกุลไพศาล

กราบเรียน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมย์; อ. ยม นาคสุข และผู้อ่าน Blog ทุกท่านค่ะ ดิฉันน.ส.อรนุช หล่ำสกุลไพศาล นักศึกษาปริญญาโท สาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร สถาบันพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

วันที่ 29 กรกฎาคม ที่ผ่านมาได้มีโอกาสเรียนกับอาจารย์ยม ซึ่งอาทิตย์นี้อาจารย์ยม กำหนดให้ส่งรายงานเรื่องภาพรวมการบริหารทรัพยากรมนุษย์ และPresent เมื่อทุกกลุ่มได้ทำการ Present เสร็จเรียบร้อยแล้ว อ.ยมจึงสรุปเรื่องภาพรวมที่เกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ได้ 3 ประเด็นหลัก

ประเด็นแรก เรื่องของยุทธศาสตร์ในองค์กร องค์กรส่วนใหญ่จะเริ่มจากการรับบุคลากรเข้าทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ และการมุ่งรักษาคนดีให้อยู่กับองค์กรต่อไปนั่นเป็นสิ่งที่จำเป็น เพราะหากองค์กรอยู่ในช่วงเศรษฐกิจขาลง จำเป็นต้องอาศัยบุคลากรที่เข้มแข็ง มีประสิทธิภาพควบคู่กันถึงจะสามารถฝ่าวิกฤต และก้าวต่อไปได้ ดังนั้นจึงขอสรุปเรื่องการรับบุคลากรจะมีหลักโดยทั่วไปอยู่ 5 ข้อคือ

1. การสรรหาคัดเลือกบุคคลเข้าทำงาน

2. การจัดคนเข้าทำงานให้เหมาะสมกับลักษณะงาน

3. มีการบริหารค่าจ้างและให้ผลตอบแทนที่เป็นธรรม

4. มีการสร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงาน

5.มีการส่งเสริมการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาพัฒนาพนักงาน

ซึ่งหลักทั่วไปเหล่านี้ทุกองค์กรมีเป้าหมายของการคัดเลือกอยู่ 4 ประการคือ

1.ต้องการคนที่มีความรู้ความสามารถในตำแหน่งงานที่เปิดรับ (IQ)(Knowledge)

2. ต้องการคนที่มีความมุ่งมั่นและแรงจูงใจในการทำงาน (Motivation)

3. ต้องการคนที่มีวุฒิภาวะทางอารมณ์ (EQ) (Behavior)

4. ต้องการคนที่มีจริยธรรมในวิชาชีพ

ประเด็นที่สอง การเปรียบเทียบแนวความคิดที่เกี่ยวกับต้นไม้ การสรรหาคน และหลักการบริหารจัดการ คือ

เมล็ดพันธ์ดี เป็นเรื่องการสรรหาคนเก่ง และคนดี หลักการจัดการ Recruit & Selection system Probation& Orientation แทนที่จะเน้นเรื่องการจ้างงานแบบเดิมให้หันมาเน้นด้าน Employability ซึ่งเป็นแนวการพัฒนาคนหรือหาโอกาสให้คนได้พัฒนาศักยภาพของตนเอง เพื่อให้คนมีความสามารถหลายๆด้าน

ดินดี ก็คือเรื่องของระบบผลตอบแทนที่เหมาะสม หลักการจัดการ Merit System Performance Management Salary& Benefit

รดน้ำพรวนดิน เรื่องของการปกครองบังคับบัญชา หลักบริหารจัดการ Fairness Trust ต้องสร้างบรรยากาศให้พนักงานยอมรับค่านิยมใหม่ๆขององค์กร วัฒนธรรม ที่มุ่งเน้นเรื่อง Speed, Delivery, Best Quality, CR Innovation ก็จะเป็นตัวกำหนด Norm ของบริษัทที่ทุกคนในองค์กรต้องยอมรับ นอกจากนั้นการสร้างค่านิยมอื่นๆ เช่น การให้ความสำคัญกับลูกค้า การเน้นการทำกำไร คุณภาพ ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล เพิ่มสูงขึ้นตามเป้าหมายของบริษัท

ใส่ปุ๋ย เรื่องความรู้ ทักษะ ทัศนคติ หลักการบริการจัดการเรื่องของ HR Development Career Path & Promotion ให้แสวงหาแนวทางใหม่ ในการทำงาน หมายถึง เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นก็ให้กลับไปมองอดีตว่า ปัญหานี้เคยแก้ไขมาอย่างไรผสมกับความคิดใหม่ทำใหม่ เพระสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันกับอดีตย่อมแตกต่างกัน

กำจัดศัตรูพืชเรื่องขจัดความคับข้องใจ หลักการบริหารจัดการ Good Communication HR & Company Relationship อยู่บนพื้นฐานของความเชื่อเดิมคนในองค์กรที่มีระบบการสื่อสารที่ดีภายในองค์กร อาจจะทำได้โดยการจัดประชุมพูดคุยกันทุกสัปดาห์ สร้างมาตรวัดการทำงาน พยายามให้คนเข้ามามีส่วนร่วม จะทำให้พนักงานในองค์กรยอมรับการเปลี่ยนแปลง เพิ่มขวัญกำลังใจ และรักษาบุคลากรที่มีคุณภาพอยู่กับบริษัท

ประเด็นที่สาม เรื่องความยั่งยืนซึ่งเปรียบเทียบกับโครงสร้างของต้นไม้เริ่มจากรากหญ้าค่อยขึ้นไปจนกระทั่งถึงยอด ทำไมถึงเริ่มจากรากหญ้า

รากหญ้าเป็นการแสดงถึงความรอบรู้ที่ต้องประกอบทุนทางด้านปัญญา บวกกับทุนมนุษย์และทุนความรู้ ส่งผลถึง ความมีคุณธรรม คือทุนทางจริยธรรม; ความมีเหตุมีผล (ศีล 5 ข้อ); ความพอประมาณ เมื่อมีทั้งหมดเราก็จะมีภูมิคุ้มกัน นำไปสู่ความยั่งยืน 
นางสาวศศิวิมล ทับเวช
            กราบเรียน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ อาจารย์ยม นาคสุข และสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน ดิฉันนางสาวศศิวิมล ทับเวช นักศึกษาปริญญาโท สาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง        เมื่อวันอาทิตย์ที่ 29 กรกฎาคม 2550 ได้เรียนเรื่อง แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ สรุปดังนี้ 1.    ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมี 5 แนวความคิด คือ ความรอบรู้ ความมีคุณธรรม ความมีเหตุ มีผล ความพอประมาณ และการมีภูมิคุ้มกัน2.    การบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เปรียบเสมือนการปลูกต้นไม้ คือ การเริ่มต้นที่การเตรียมพร้อม การคัดสรร รวมถึงผลงาน ประสิทธิภาพงานซึ่งหมายถึงการออกดอก ออกผลของต้นไม้3.    การจัดการแรงงานสัมพันธ์ที่ดีระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง เป็นวิธีการที่ยั่งยืน และทำให้การทำงานประสบความสำเร็จได้ เช่น จัดงานตามเทศกาล ด้านศาสนา เป็นต้น4.    เครือซีเมนต์ไทยมีจุดเด่นคือ การพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง ทุนทางด้านมนุษย์เป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญที่สุดในองค์กร ความเก่งต้องควบคู่กับความดี การทำงานเป็นทีม และการกล้าคิด กล้าทำในสิ่งที่ถูกต้อง5.    การบริหารจัดการที่ดีควรมีหลักธรรมาภิบาล ดังนี้ หลักนิติธรรม หลักคุณธรรม หลักความโปร่งใส หลักการมีส่วนร่วม หลักความรับผิดชอบ หลักความคุ้มค่าดิฉันขอกราบขอบพระคุณอาจารย์ทั้ง 2 ท่านเป็นอย่างสูงที่ได้ให้ความรู้ ซึ่งความรู้ที่ได้นั้นเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข และถูกต้อง

   เรียน อ.จีระ , อ.ยม ,  ทีมงาน  Chira Academy และผู้อ่านทุกท่าน  ผม นายวรพจน์  สู่เสน  นักศึกษาปริญญาโท สาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร  คณะเทคโนโลยีการเกษตร  สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

   เนื่องจากในวันที่ 29/07/07 ที่ผ่านมา ผมได้มีโอกาสเรียน HR กับ อ.ยมอีกครั้งหนึ่ง ครั้งนี้เป็นการ Present เกี่ยวกับ ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ขององค์กรต่างๆ  ซึ่งมีการกล่าวถึง 5 องค์กร คือ

1. บริษัทปูนซีเมนต์ไทยจำกัด ( มหาชน )       

2. บริษัทเชียงใหม่เฟรชมิลค์จำกัด

3. บริษัท GFPT จำกัด ( มหาชน )

4. บริษัท ปตท.จำกัด ( มหาชน )

5. บริษัทพรานทะเลจำกัด

และการเรียนเรื่อง แนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์

   ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ขององค์กรต่างๆ ที่ทุกกลุ่มนำมา Present นั้น จะเห็นได้ว่าเป็นองค์กรที่มีขนาดใหญ่และมีชื่อเสียง  ซึ่งองค์การเหล่านี้ล้วนให้ความสำคัญกับทรัพยากรมนุษย์ โดยสังเกตได้จาก

1. มีการกำหนดนโยบายและแนวทางชัดเจนในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตั้งแต่การสรรหาคัดเลือก , การพัฒนาทักษะ ทัศนคติในการทำงาน , การรักษาบุคลากรไว้กับองค์กร ไปจนถึงการใช้ประโยชน์หลังจากเกษียณอายุการทำงานแล้ว

2. มีการเน้นยุทธศาสตร์สร้างแรงงานสัมพันธ์ให้เข้มแข็ง เพื่อเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง

   ในเรื่องแนวความคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนั้น  อ.ยม เน้นเรื่อง ความยั่งยืนเป็นหลัก โดยเริ่มตั้งแต่

1.ความรอบรู้

2.คุณธรรม

3.ความมีเหตุมีผล

4.ความพอประมาณ

5.การมีภูมิคุ้มกัน

 

      กล่าวโดยสรุปว่า  องค์กรขนาดใหญ่ที่มีชื่อเสียงในปัจจุบันเน้นให้ความสำคัญกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์มาก ซึ่งจะเป็นแรงผลักดันให้องค์กรก้าวหน้าต่อไปได้อย่างมั่นคง  และ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนั้น เน้นที่ความยั่งยืนเป็นหลัก  โดยมีรากฐานมาจาก ความรอบรู้ , คุณธรรม , ความมีเหตุมีผล , ความพอประมาณ และการมีภูมิคุ้มกัน  ในท้ายที่สุดจะเกิดความยั่งยืนขึ้น

   กราบเรียน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ อาจารย์ยม นาคสุข ทีมงานChiraa Academy และท่านผู้อ่านทุกท่าน

   จากการเรียนในวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ผมได้จับประเด็นจากการสอนของอาจารย์ยม ได้ดังนี้

1.    แนวคิดเรื่องการบริหารทรัพยากรมนุษย์เปรียบเสมือนการปลูกต้นไม้ คือ-         คัดสรรค์เมล็ด สรรหาคนเก่งและต้องเป็นคนดี-         มีดินดี  การให้ค่าตอบแทนที่เหมาะสม-         รดน้ำพรวนดิน    ต้องปกครองให้ดี-         ใส่ปุ๋ย เพิ่มทักษะ ความรู้ด้วยการอบรม

-         กำจัดศัตรูพืช ขจัดความข้องใจให้หมด

2.  ได้รับความรู้ ด้านแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง -         ความรู้ จากการใฝ่หาความรู้เพื่อนำมาปรับใช้  -         คุณธรรม เป็นสิ่งที่สำคัญเพราะจะทำให้เกิดการยับยั้งชั่งใจ และทำแต่สิ่งที่เหมาะสม-         พอประมาณ การรู้จักตนเองและประเมินความเหมาะสมในการตัดสินใจ และรู้จักพอ-         มีเหตุผล ในการตัดสินใจ โดยนำความรู้ที่มีมาประกอบการตัดสินใจและก่อนจะตัดสินใจควรมีการคิดไตร่ตรองให้ถ้วนถี่เสียก่อน-         มีภูมิคุ้มกัน ต้องมีการวางแผน โดยต้องนำข้อมูลที่มีมาวิเคราะห์ก่อนวางแผนโดยต้องมีแผนทางเลือกเผื่อฉุกเฉินด้วย

3. การบริหารความขัดแย้ง ต้องรู้สาเหตุว่าเกิดจากอะไร นำข้อมูลที่ได้ไปกำหนดยุทธวิธี โดยสมควรจะมีเป็นทางเลือก2-3 วิธี โดยแต่ละแผนมีความสำคัญลดหลั่นกันไป จากนั้นเลือกแผน นำแผนหลักไปวางแผนปฏิบัติการ ทำตามแผน ตรวจสอบและประเมินผล ต้องบริหารความเปลี่ยนแปลง โดยต้องควบคุมให้เกิดผลดีมากกว่าผลเสีย กระจายความมีส่วนร่วมสร้างให้เกิดความเชื่อมั่น โดยเราต้องมีความเชื่อมั่นในตัวผู้อื่นเสียก่อน เมื่อมีปัญหาต้องนำผู้ที่เกี่ยวข้องมาพบกันและสอบถามให้รู้ถึงปัญหา แก้ปัญหาโดยการให้ตัวบุคคลที่มีปัญหามีส่วนร่วม ใช้การสื่อสารแบบสองทาง นำข้อมูลมาวิเคราะห์ ให้รู้ถึงเบื้องลึก จัดให้มีประชุมบ่อยครั้งขึ้น เพื่อรับทราบปัญหาและแก้อย่างทันท่วงที ประเมินตามระยะ และตรวจสอบภายในว่ามีความพอใจหลังการแก้ไขปัญหาหรือไม่ อย่างไร

 
สวัสดีอาจารย์จีระ,อาจารย์ยมที่เคารพ และสวัสดีท่านผู้อ่านทุกท่าน  เนื่องจากดิฉันได้มีโอกาสเข้าเรียนกับท่าน อาจารย์ประกายเมื่อวันที่ 29  กรกฎาคม 2550 มีประเด็นที่ได้เรียนรู้ดังนี้1. การให้สวัสดิการกับพนักงาน ต้องมีการพิจารณาให้เหมาะสมในหลายๆด้านเมื่อเทียบกับบริษัทที่อยู่ในกลุ่มประเภทเดียวกัน และในการให้นั้นจะต้องคงรักษาสภาพไว้ ไม่สามารถลดลงได้2. การบริหารงานทรัพยากรมนุษย์ที่ดี ควรจัดให้มีแรงงานสัมพันธ์ ที่แข็งแรงเพื่อไม่ให้เกิดสหภาพแรงงาน แต่หากเกิดมีสหภาพแรงงานแล้วนั้น ก็ควรที่จะบริหารสหภาพแรงงานนั้นให้เป็น เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อองค์กร3. บริษัทควรจัดให้มีชุมชนสัมพันธ์ เช่น การมอบทุนการศึกษาให้แก่ประชาชนทั่วไป หรือ การทำกิจกรรมที่ประโยชน์อื่นๆต่อสังคมรอบข้าง4. ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นทางสายกลาง ประกอบไปด้วย 5 แนวคิด ได้แก่ 3 ห่วง 2 เงื่อนไข     เงื่อนไขที่ 1 ได้แก่ ความรู้ (รอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง)    เงื่อนไขที่ 2 ได้แก่ คุณธรรม (ซื่อสัตย์สุจริต สติปัญญา ขยันอดทน แบ่งปัน)    ห่วงที่ 1 ได้แก่ มีเหตุผล    ห่วงที่ 2 ได้แก่ พอประมาณ    ห่วงที่ 3 ได้แก่ มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี     ซึ่งจะนำไปสู่ความยั่งยืนในส่วนของเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้นต่อไปได้
สวัสดีอาจารย์จีระ,อาจารย์ท่านอื่นๆที่เคารพ และสวัสดีท่านผู้อ่านทุกท่าน  เนื่องจากดิฉันได้มีโอกาสได้ไปเยี่ยมชม บ้านบุไทร ที่ อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา เมื่อวันที่ 30  กรกฎาคม 2550 มีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้
  1. บ้านบุไทร มีสภาพบรรยากาศที่เป็นธรรมชาติ อากาศบริสุทธิ์ ซึ่งสามารถเดินทางไปได้อย่างสะดวก เนื่องจากอยู่ไม่ไกลจากกรุงเทพฯ เหมาะสำหรับการเข้าไปเที่ยวเยี่ยมชม
  2. สถานที่พักของบ้านบุไทร เป็นโฮมสเตย์ ซึ่งมีข้อดีหลายประการ ดังนี้
1)    สภาพบ้านพักที่เป็นโฮมสเตย์ มีลักษณะสะอาดสะอ้าน และสามารถซึมซับบรรยากาศความเป็นอยู่ของชาวบ้านได้เป็นอย่างดี2)    ชาวบ้านให้การต้อนรับด้วยไมตรีจิต ยิ้มแย้มแจ่มใส 3)    ท่านประธานกลุ่ม ลุงอินทร์ที่ให้ความช่วยเหลือ ติดต่อประสานงานต่างๆ ภายในบ้านบุไทรได้เป็นอย่างดี  ดิฉันสามารถรู้สึกได้ถึงความปรารถนาดีนั้น รวมทั้ง ลุงอินทร์เป็นผู้ที่มีความมุ่งมั่นในการพัฒนาเป็นอย่างมาก เนื่องจากพบว่าท่านได้ทำกิจกรรมเสริมสร้างรายได้ให้กับชาวบ้านบุไทร เช่น การสร้างโฮมสเตย์ เป็นต้น ซี่งหากนักท่องเที่ยวทุกท่านมีโอกาส น่าจะเข้าไปพบปะ พูดคุย กับ ลุงอินทร์4)    สิ่งที่เป็นจุดเด่น อย่างหนึ่งของอำเภอวังน้ำเขียว ก็คือ การผลิตผักปลอดสารพิษ ซึ่งขึ้นชื่อและโด่งดังมาก และจากการที่ดิฉันได้เข้ามาสัมผัสแล้ว พบว่า ผักปลอดสารพิษที่อำเภอวังน้ำเขียว มีคุณภาพที่ยอดเยี่ยมมาก  - ความสด กรอบ ของผัก , ลักษณะของต้น ,ใบ ของผักที่มีขนาดใหญ่ , สีของผักที่แสดงความสมบูรณ์ และเมื่อได้ทดสอบโดยการชิมแล้ว จะรู้สึกถึงความแตกต่างของผักปลอดสารพิษกับผักธรรมดา  จึงเกิดความคิดว่า ถึงเวลาแล้วที่คนไทยน่าจะปฏิวัติเรื่องการบริโภคผัก โดยให้หันมาบริโภคผักปลอดสารพิษให้มากขึ้น ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ทางด้านสุขภาพของทุกท่านเองและช่วยเหลือส่งเสริมอาชีพเพื่อสร้างรายได้ให้กับชาวบ้าน หากลองนึกกันดีๆแล้ว จะเห็นว่า ประเทศไทยมีผักคุณภาพดีหลายชนิด พวกเราน่าจะให้การส่งเสริมเกษตรกรไทยมากกว่า การนำเข้าผักจากต่างประเทศ ในช่วงการเดินทางนั้น ดิฉันได้มีโอกาสเข้าเยี่ยมชม ไร่องุ่น ที่  Village Farm & Winery ซึ่งบรรยากาศดีมากๆ อีกสถานที่หนึ่ง ภายในร้านมีแปลงสาธิตของการปลูกต้นองุ่น, มีโต๊ะสำหรับนั่งรับประทานอาหารที่เป็นธรรมชาติ และหากท่านยังสามารถเข้าชมโรงงานผลิตไวน์องุ่นได้อีกด้วย ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง และใน trip ของการเดินทางนี้ ไม่ว่าจะเป็นการเข้าเยี่ยมชม บ้านบุไทร หรือ Village Farm & Winery ก็ดี คงต้องขอขอบคุณ อาจารย์ จีระ  เป็นอย่างสูง ที่ท่านได้ให้การช่วยเหลือและประสานงานให้เป็นอย่างดี ทำให้ดิฉันและเพื่อนๆสามารถได้มีโอกาสสัมผัสกับบรรยากาศที่ประทับใจเหล่านี้  นับว่าเป็นการเรียนรู้ที่มีคุณค่ามาก คงต้องกล่าวขอบคุณอาจารย์จีระ อีกครั้งหนึ่งค่ะ
นางสาวนิรชร ไชยกาญจน์
กราบเรียน ศ.ดร.จีระ, อ.ยม,ประกาย และท่านผู้อ่าน blog ทุกท่าน ดิฉันนางสาวนิรชร ไชยกาญจน์ นักศึกษาปริญญาโทสาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง จากการเข้าฟังการบรรยายของอ.ยม เมื่อวันอาทิตย์ที่ 29/07/50 ในวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ โดยในการเรียนวันนี้ทางอ.ยมได้มอบหมายให้นักศึกษาทำรายงานและนำเสนอในรูปแบบการรายงานหน้าชั้นเรียนและเป็นรูปเล่ม หัวข้อที่กำหนดให้เป็นการศึกษาและนำเสนอถึงโครงสร้างการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของบริษัทที่ทางนักศึกษาให้ความสนใจ ซึ่งจากการฟังการรายงานจากเพื่อนนักศึกษาแต่ละกลุ่ม และส่วนที่อ.ยมได้สรุปแนวคิดและให้คำแนะนำเพิ่มเติม พอจะสรุปได้ว่า การที่บริษัทจะสามารถเจริญก้าวหน้าไปได้อย่างรวดเร็ว และมีความมั่นคงยั่งยืนได้นั้น จำเป็นที่จะต้องมีการจัดวางโครงสร้างขององค์กรอย่างมีระเบียบและเหมาะสมกับลักษณะงานขององค์กร โดยจะต้องมี-      การจัดหาบุคลากรที่ความสามารถ อาจหาได้จากคนที่เพิ่งจบมาใหม่หรือเป็นบุคลากรที่มีความรู้มีประสบการณ์อยู่แล้วมาจากที่อื่น-      หลังจากนั้นก็จะต้องมีการพัฒนาความรู้ความสามารถของบุคลากรเหล่านั้นให้มีมากขึ้นไปอีก-      คงรักษาบุคลากรให้คงอยู่ และร่วมมือกันทำงานอย่างเต็มความสามารถให้กับองค์กร โดยการสร้างบรรยากาศการทำงานให้น่าอยู่ ทำแล้วมีความสุข มีความพอใจอยากที่จะทำงานด้วย-      ใช้ประโยชน์จากบุคลากรให้เหมาะสมกับความสามารถ และไม่หนักเกินไปจากหน้าที่ที่ควรรับผิดชอบ และให้การดูแลแก่บุคคลที่ทำประโยชน์ให้แม้กระทั่งหลังจากที่ได้เกษียณอายุการทำงานไปแล้วก็ตาม นอกจากนี้ยังอาจให้เค้าได้มีส่วนช่วยเหลือองค์กรโดยอาจให้อยู่ในตำแหน่งที่ปรึกษาหรือผู้มีประสบการณ์ คอยให้คำปรึกษาหรือให้การอบรมกับคนรุ่นหลังที่เข้ามาใหม่ก็ได้   นอกจากนี้การจะบริหารงานทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพนั้นควรที่จะมีการดำเนินงานในลักษณะของการมีแรงงานสัมพันธ์ คือการดำเนินงานในเชิงรุกที่ฝ่ายบุคคลขององค์กรจะต้องเข้าไปสำรวจ หรือตรวจสอบว่า พนักงานในองค์กรมีปัญหาอะไรหรือไม่ และให้ความช่วยเหลือเท่าที่สามารถจะช่วยได้เพราะเมื่อคนเราไม่มีปัญหาที่ทำให้ต้องคิดแล้วก็จะสามารถที่จะทำงานได้อย่างเต็มความสามารถ ทำให้องค์กรได้รับประโยชน์เต็มที่ ไม่เกิดปัญหาเช่น กรณีการประท้วง การก่อม็อบจากพนักงานเป็นต้น   ในช่วงท้ายอ.ยมได้ให้แนวความคิดเกี่ยวกับการนำความรู้เศรษฐกิจแบบพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาใช้ในการดำเนินงาน พร้อมทั้งแนวคิดในการพัฒนาคนโดยอาศัยการอธิบายในรูปแบบเปรียบเทียบกับการปลูกและการเจริญเติบโตของต้นไม้ เพื่อให้เกิดความเข้าใจมากขึ้น และให้คำแนะนำในการแก้ปัญหาที่ทางนักศึกษาได้ตั้งคำถาม ซึ่งเป็นปัญหาที่ได้พบได้ทั่วไปในองค์กรที่ยังมีการบริหารด้านทรัพยากรบุคคลไม่สมบูรณ์นักอีกด้วย        

       กราบเรียน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์, อาจารย์ยม นาคสุข และสวัสดีผู้อ่านทุกท่านค่ะ ดิฉันนางสาวสุภาภรณ์  นำรุ่งโรจน์  นักศึกษาปริญญาโท สาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง       เมื่อวันที่ 29/7/50 ได้เรียนกับ อ. ยม เป็นครั้งที่ 2 และครั้งสุดท้ายสำหรับวิชานี้แล้ว ซึ่งดิฉันแบ่งเป็น 2 ประเด็น ดังนี้

 

1. เรื่องการนำเสนอองค์กรของภาพรวมการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในองค์กรต่างๆ ที่แต่ละกลุ่มได้เลือกมานั้น แบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ที่เห็นได้ชัดเจน คือ ธุรกิจที่เป็นองค์กรที่มีชื่อเสียงและมีระบบของ HR ที่เข้มแข็งและเน้นเรื่องทรัพยากรมนุษย์เป็นอย่างมากคือ ปูนซิเมนต์ไทยและปตท. อีกธุรกิจหนึ่ง คือธุรกิจเกี่ยวกับอาหารมีดังนี้ ธุรกิจผลิตภัณฑ์นม, ธุรกิจไก่แช่แข็งและธุรกิจอาหารทะเลแช่แข็ง ซึ่ง 3 ธุรกิจนี้ ยังพบข้อบกพร่อง ละจุดอ่อนต่างๆ ที่จากการนำเสนอจะพบปัญหาต่างๆ ดังนี้ ยังไม่มีสหภาพแรงงานเกิดขึ้น, มีการ turn over ในอัตราที่สูงมาก, บุคลากรฝ่ายHR ยังไม่มีความเข้มแข็งพอและต้องสร้างทัศนคติที่ดีให้กับพนักงานเพื่อให้เกิดความรู้สึกที่ดีและรักในองค์กรให้มากขึ้น

 

2.  แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการบริหาร HR  เป็นการมองภาพรวมในการบริหาร HR เปรียบได้กับการทำสวน ซึ่งเริ่มจากหาพื้นที่ปลูก = บริษัทที่มีระบบการจัดการของ HRที่ดี จนถึงขบวนการสุดท้ายคือ ได้ออกดอกและผลตามต้องการ = ได้ผลงานที่มีประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น ซึ่งกว่าจะได้การบริหารและพัฒนาHRที่ดีได้นั้น ต้องมีการบริหารจัดการที่ดี ที่ต้องมีนิติกรรม, คุณธรรม, ความโปร่งใส, ความมีส่วนร่วม,ความรับผิดชอบและความคุ้มค่ากับสิ่งที่ได้รับ และทำให้เกิดภูมิคุ้มกัน ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 5 เรื่อง คือ 1.) ต้องมีความรู้  2.) ต้องมีคุณธรรม  3.) ต้องมีเหตุและผล   4.) ต้องมีความพอประมาณ และ 5.) ต้องมีคุณธรรมรองรับไว้เสมอ ขั้นตอนสุดท้ายคือ ต้องประเมินสถานะ เช่น ผลที่ปรากฏออกมา,ต้องทำงานเป็นทีม,ต้องมีการกระจายอำนาจและการบริหารความเชื่อมั่นน่าเชื่อถือ โดยต้องมั่นใจ เชื่อใจในบุคคลากรให้ได้

   สุดท้ายนี้ขอขอบคุณอ.ยมเป็นอย่างยิ่งที่ให้ความรู้และข้อเสนอแนะต่างๆทำให้พวกเราได้เห็นภาพรวมและการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่แท้จริงที่เป็นการนำเสนอให้เห็นของจริงและที่อ. ยมได้สอนไว้ทำให้ได้เข้าใจมายิ่งขึ้นและเห็นจุดแข็งและจุดอ่อนที่ต้องแก้ไขและพัฒนาของระบบHR ต่อไป และเกิดประโยชน์สามารถนำไปใช้และต่อยอดต่อไป  เพื่อพัฒนาในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ต่อไปได้ค่ะ
เรียนท่านศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์  ท่านอ. ยม  นาคสุข  ท่านผู้อ่าน  และนศ.ใปริญญาโทสาขาบริหารธุรกิจและอุตสาหกรรมเกษตรทุกท่าน ดิฉันน.ส.สุพิชฌาย์  หนูขาว  นักศึกษา สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าลาดกระบัง  คณะเทคโนโลยีการเกษตร  สาขาบริหารธุรกิจและอุตสาหกรรมการเกษตรจากเมื่อวันที่  29  ก.ค.  2550  ได้ศึกษาและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันกับท่านอ.ยม  นาคสุข  ช่วงแรก present งานที่อ. ให้ทำเมื่อ 2 สัปดาห์ที่แล้ว  เรื่องศึกษากลยุทธการวางแผนงานการบริหารทรัพยากรมนุษย์  ในบริษัทที่เราสนใจ  โดยแบ่งเป็น 5 กลุ่ม  บริษัทที่สนใจได้แก่  1. บริาัท  ปูนซีเมนต์ไทย  จำกัด (มหาชน)  2.  บริษัท  เชียงใหม่เฟรชมิลค์  จำกัด  3.  บริษัท  การปรโตรเลียม  แห่งประเทศไทย  จำกัด ( มหาชน )  4.  บริษัท  จีเอฟพีที จำกัด  (มหาชน )  5.  บริษัทพรานทะเล  จำกัด  โดยสรุปตามที่ท่าน อ. ได้ให้คำแนะนำ  เนื่องจากแต่ละบริษัท ฯ  มีแผนกบริหารทรัพยากรมนุษย์เหมือนกันโดยภาพรวมแล้วคล้ายคลึงกัน  แต่แตกต่าง กันที่การจัดตำแหน่งงาน  ความรับผิดชอบในหน้าที่  ยังไม่ครอบคลุม การทำงานในองค์กรต้องมีสเตป  มีการบริหารภาพรวม คือพัฒนาองค์กรและคนอย่างไม่หยุดยั้ง  ดูแลทุนมนุษย์ที่ีเป็นปัจจัยทุนพื้นฐานให้มีประสิทธิภาพ  คนเก่งต้องมีคุณธรรมด้วย  ระบบผลตอบแทนต้องเหมาะสม  การปกครองและการบังคับบัญชาต้องดีและยุติธรรม  มีการให้ความรู้  เพิ่มทักษะ  บริหารทัศนคติคนในองค์กร  ขจัดความคับข้องใจ  มีการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้  (leaning  organization )  มีการสร้างแรงจูงใจ  ผลักดันในองค์กร  หันกลับไปมองอดีตกลับมาพัฒนาปัจจุบัน  การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์กรจะเน้นเมื่อเข้าไปในองค์กรวันแรกมี  1.  การปฐมนิเทศ  ให้ความรู้ในภาพรวมขององค์กร  แนะนำองค์กร ป้องกันการ  turn over  ได้ด้วยการปลูกฝังให้พนักงานรักองค์กร  2.  มีการฝึกอบรม ของแผนกที่เข้าทำงาน  แนะนำเทคนิคการทำงาน  3.  การประเมินผลการปฏิบัติงาน  4.  มีค่าตอบแทน  5.  บอกสวัสดิการและผลประโยชน์  โบนัส  สวัสดิการแรงงาน  ที่รับประทานอาหาร  นำ้ดื่ม  6.  เรื่องความปลอดภัยในการทำงานและสุขภาพ  7.  ด้านแรงงานสัมพันธ์  มักจะมีความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง  มีกิจกรรมสัณทนาการ  มีคณะกรรมการสวัสดิการ  พนักงานต้องการอะไร  ต้องจัดให้ก่อนที่พนักงานร้องขอ  มีการอบรมทางด้านจริยธรรมคุณธรรมให้แก่พนักงาน  อบรมศาสนาสร้างความสัมพันธ์ต่อความเจริญและยั่งยืนในองค์กร  ประการสำคัญถ้าบริษัทฯ  ใดมีสหภาพแรงงาน  จะต้องมีการบริหารเขา  เอาเขามาเป็นพันธมิตร  ให้มีส่วนร่มในบริษัท  ต้องให้ร่วมประชุมด้วย  มี action  plan มีขีดความรับผิดชอบที่วางไว้  ส่วนแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์นั้นท่านอ.ได้นำมาประยุกต์ใช้ในการบริหารก็คือ  ต้องดำเนินทางสายกลาง  3  ห่วง  2  เงื่อนไข  1.  มีเหตุผล  2.  พอประมาณ  3.  มีภูมิคุ้มกันในตัว   ใช้ในด้านการวางแผนอัตรากำลังพล  การสรรหา  คัดเลือกบุคลากร  การทำสัญญาจ้างงาน  การปฐมนิเทศ  การฝึกอบรมและการพัฒนา  แรงงานสัมพันธ์  การประเมินผลการปฏิบัติงาน  การเลื่อนขั้น  เลื่อนตำแหน่ง  หัวข้อการประเมินต้องโปร่งใส  ตรวจสอบได้  มีคุณธรรม  การบริหารค่าจ้าง  ค่าตอบแทน  สวัสดิการเป็นต้น       HR  ไม่ใช่ใครก็ทำได้  แต่ใครทำได้จะต้องมีความรู้  มีทักษะ  มีการเข้าอบรมกับกระทรวงแรงงานและหน่วยงานอื่น ๆ  ต้องทำเชิงรุก  ไม่ทำเชิงรับ  ความรู้อะไร  ปัญหาอะไรที่จะเกิดในอนาคตต้องทำทันทีไม่ต้องรอแก้ไขเหตุการณ์ที่เกิดทีหลังนั่นคือหลักการบริหารเชิงรุก 
 เรียนอาจารย์ จีระ หงส์ลดารมภ์ อาจาย์ ยม และท่านผู้อ่านท่าน ดิฉันนางสาว วสพร บุญสุข นักศึกษาปริญญาโท คณะเทคโนโลยีการเกษตร สาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เมื่อวันที่ 29-30 กรกฏาคม 2550 ท่านอาจารย์จีระ กับคุณหญิง และนักศึกษาปริญญาโท ได้เดินทางไปศึกษาดูงานเกี่ยวกับผักปลอดสารพิษ โฮมสเตย์ ที่บ้านบุไทร และวิลเลจฟาร์ม แอนด์ไวน์เนอรี่ อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัด นครราชสีมา วันอาทิตย์ที่ 29 ก.ค. 50 เวลา 17.00 น. เดินทางออกจากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ไปนอนโฮมสเตย์ที่หมู่บ้านบุไทร อำเภอวังน้ำเขียว ที่บ้านพี่สายทอง ซึ่งได้ติดต่อประสานงานกับ ลุงอินทร์ เป็นประธานกลุ่มโฮมสเตย์ที่บ้านบุไทร ตอนเช้า วันจันทร์ที่ 30 ก.ค. 50 รับประทานอาหารเช้า เมนู คือ ข้าวต้มไก่ใส่เห็ดหอมสด (อร่อยมากๆ) ผลไม้ เช่น กระท้อน น้อยหน่า ลำไย  และ แก้วมังกร เป็นต้น เป็นผักและผลไม้ปลอดสารพิษ ซึ่งเป็นสินค้าที่เป็นจุดเด่นที่บ้านบุไทร อำเภอวังน้ำเขียว ได้สัมผัสกับธรรมชาติ อากาศที่บริสุทธิ์ มีภูเขาสีเขียวรอบล้อม บรรยากาศดีมาก มองดูแล้วรู้สึกผ่อนคลายและสดชื่น จากนั้นได้เดินทางไปยังสวนลุงไกร ซึ่งปลูกผักปลอดสารพิษ  โดยเฉพาะผักสสัดต่างประเทศกว่า 10 สายพันธุ์  สลัดแก้ว สลัดคอร์ส กรีนโอ๊ค เรดโอ๊ค เรดลีฟ บัตเตอร์เฮด นอกจากผักสลัด ก็มีมะเขือเทศราชินี มะเขือเทศเนื้อ กะหล่ำปลี ข้าวโพดหวาน ฟักทอง บีทรูทและได้เลือกซื้อผักปลอดสารพิษสดๆ กัน ที่สวนลุงไกร ต่อจากนั้นไปชมฟาร์มเพาะเห็ดหอม พร้อมได้เลือกซื้อเห็ดหอมสดกัน ตอนเที่ยง ดิฉันและเพื่อนๆ ทุกคนได้รับประทานอาหารเที่ยงที่บ้านลุงอินทร์ ร่วมกับท่านอาจารย์จีระ  คุณหญิง ลุงอินทร์ และพี่นะ ต้องขอขอบพระคุณท่านอาจารย์จีระ กับ คุณหญิง เป็นอย่างมาก ที่ได้ซื้อสาคูไส้หมูมาฝาก เมื่อนำมารับประทานคู่กับผักกาดหอมที่ทั้งสดและปลอดสารพิษ และ เมนูอาหาร น้ำพริกปลาทู กับ ผัดผักปลอดสารพิษ (อร่อยมากๆ)  ตอนบ่าย ดิฉันและเพื่อนๆ ทุกคนเดินทางไปยัง วิลเลจฟาร์ม แอนด์ไวน์เนอรี่ พร้อมกับท่านอาจารย์จีระ คุณหญิง และลุงอินทร์ ได้สัมผัสกับบรรยากาศไร่องุ่นขนาดใหญ่ภายในฟาร์ม วิเลจฟาร์มแห่งนี้ เป็นโรงงานผลิตไวน์ที่อยู่ลึกลงไปในช่องหินนั้น สร้างโดยคำนึงถึงอุณหภูมิในการเก็บไวน์ให้ได้คุณภาพดี นอกจากนั้นภายในฟาร์มยังมีร้านอาหาร สปา และห้องพัก เป็นต้น ซึ่งดิฉันและเพื่อนๆ ได้ชิมน้ำองุ่น 100% และถือว่าเป็นสถานที่น่าสนใจที่หนึ่งในวังน้ำเขียว ตอนเย็นเดินทางกลับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง  และต้องขอขอบคุณลุงอินทร์ และพี่สายทอง ที่นำกระท้อนมาฝากดิฉันและเพื่อนๆจากการเรียนรู้นอกห้องเรียน ทำให้ได้รับความรู้เพิ่มเติม และ รับรู้ถึงความมุ่งมั่น ตั้งใจ ของลุงอินทร์ ที่จะพัฒนาหมู่บ้านบุไทรเกี่ยวกับผักปลอดสารพิษ และต้องขอขอบพระคุณท่านอาจารย์จีระ  เป็นอย่างยิ่งที่ได้แนะนำสถานที่วังน้ำเขียว และ วิลเลจฟาร์ม แอนด์ไวน์เนอรี่ ทำให้ได้สัมผัสกับธรรมชาติ และได้เรียนรู้จากสังคม  ทำให้ดิฉันและเพื่อนๆ ได้นำความรู้มาประยุกต์ใช้กับการช่วยลุงอินทร์พัฒนาหมู่บ้านบุไทรเกี่ยวกับผักปลอดสารพิษ ร่วมกับท่านอาจารย์จีระ โดยการตั้งร้านค้าผักปลอดสารพิษบริเวณทางเข้าหมู่บ้านที่วังน้ำเขียว และใช้แบรนด์เป็นจุดขาย (อยู่ในช่วงดำเนินงาน) สุดท้ายนี้ขอชวนเพื่อนๆ และท่านผู้อ่านทุกท่านไปเที่ยวโฮมสเตย์ ที่บ้านบุไทร อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัด นครราชสีมาด้วยนะค่ะ   
กราบเรียนศ.ดร.จีระ , อ.ยม ,อ.ประกาย และท่านผู้อ่านทุกท่านดิฉันนางสาวนิรชร ไชยกาญจน์ นักศึกษาระดับปริญญาโทสาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วันนี้ดิฉันมีประสบการณ์ที่น่าสนใจจากการที่ได้ไปเที่ยวที่อ.วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา ที่ต้องใช้คำว่าไปเที่ยว เพราะจากการที่ได้ไปคราวนี้ ดิฉันมีความรู้สึกว่า ได้ไปพักผ่อนอย่างแท้จริง ทั้งที่เป็นการพักผ่อนหลังจากการทำงานที่บริษัท ซึ่งครั้งสุดท้ายที่ได้ไปเที่ยวแบบนี้ก็ประมาณ 1 ปีได้แล้วค่ะ ค่อนข้างเหนื่อยนะคะ และเป็นการได้ผ่อนคลายหลังจากการสอบกลางภาคเรียนที่ 1 ได้สิ้นสุดลง ไปคราวนี้ได้รับประสบการณ์ดีๆมาหลายอย่าง ขอเล่าให้ฟังเลยนะคะ-         ประสบการณ์ที่ดีอย่างแรกเลยก็คือ ได้พบเพื่อนร่วมเที่ยวทางธรรมชาติกลุ่มใหม่ ทำให้ได้รสชาดความสนุกสนานอีกแบบค่ะ-         อย่างที่2 เลยคือได้มีประสบการณ์ในการได้ไปพักค้างคืนในที่พักที่เรียกว่า โฮมสเตย์ที่บ้านบุไทร บ้านที่เราไปพักเป็นบ้านของพี่สายทอง ซึ่งก็น่ารักมากๆ ให้การดูแลเราอย่างดี ทั้งในเรื่องการเตรียมที่พัก และอาหารเช้าสุดอร่อยเป็นข้าวต้มไก่ใส่เห็ดหอมปลอดสารพิษที่เก็บมาสดๆจากฟาร์ม และอาหารเที่ยงก็เป็นน้ำพริกปลาทู ทานกับผักสดๆ และกับข้าวที่แสนอร่อยอีกหลายอย่าง (อร่อยแค่ไหนก็เห็นเติมกันคนละ 2-3 จานหล่ะค่ะ) ซึ่งเป็นครังแรกที่ได้มีโอกาสได้ร่วมรับประทานอาหารกับท่านอ.จีระและคุณหญิง ซึ่งโดยปกติท่านไม่ค่อยที่จะมีเวลามาได้สัมผัสกับธรรมชาติเท่าใดนัก นอกจากนี้อากาศยามเช้าที่บุไทรก็สดชื่น เป็นอากาศที่สะอาดบริสุทธิ์ เหมือนได้ไปฟอกปอดให้สะอาดเอี่ยมหลังจากที่ต้องอยู่กับมลพิษในเมืองกรุงมานาน -         อย่างที่3 คือได้ไปเยี่ยมชมร้านขายผักและผลิตภัณฑ์จากผักปลอดสารพิษของลุงไกร และก็ได้เห็นว่า คนไทยในปัจจุบันเริ่มหันมาให้ความใส่ใจกับสุขภาพมากขึ้น เพราะมีลูกค้าซึ่งเป็นนักท่องเที่ยวมาซื้อสินค้าที่ร้านเยอะมาก จนสินค้าที่นำมาจำหน่ายไม่เพียงพอ ทำให้เล็งเห็นว่า ธุรกิจการจำหน่ายสินค้าผักและผลิตภัณฑ์จากผักปลอดสารพิษของที่นี่ ยังสามารถเติบโตไปได้อีกมาก ซึ่งทางศ.ดร.จีระเองก็มีโครงการที่จะร่วมทุนกับลุงอินทร์ ผู้นำของกลุ่มธุรกิจโฮมสเตย์ ในการที่จะลงทุนเปิดเป็นร้านค้าจัดจำหน่ายสินค้าจากฝีมือชาวบ้านในอ.วังน้ำเขียว และขยายธุรกิจโฮมสเตย์ให้กว้างขางมากยิ่งขึ้นเพื่อรองรับกลุ่มผู้มาเยือนจากที่ต่างๆ เพื่อช่วยให้ชาวบ้านมีรายได้จากการจำหน่ายสินค้าที่ทำได้ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องไปพึ่งพากลุ่มนายทุนที่แสวงหาผลประโยชน์มากกว่าที่จะให้ความช่วยเหลือชาวบ้านอย่างจริงใจ โดยการดำเนินงานนี้จะยึดหลักการจากทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นหลัก เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาหนี้สินจากการลงทุนทำธุรกิจเกินตัวแก่กลุ่มชาวบ้าน โดยมีท่านศ.ดร.จีระ เป็นผู้ให้คำปรึกษา รวมทั้งออกทุนในการดำเนินธุรกิจช่วงแรกให้ด้วยค่ะ-         และสุดท้ายท่านศ.ดร.จีระได้พาพวกเราไปเยี่ยมชม วิลเลจฟาร์ม แอนด์ ไวน์เนอร์รี่ ซึ่งเป็นสถานที่ผลิตไวน์เพือ่ส่งขายต่างประเทศ และมีส่วนหนึ่งจัดทำเป็นร้านจำหน่ายอาหารและเครื่อง และมีที่พักให้กับนักท่องเที่ยวที่ต้องการมาเปลี่ยนบรรยากาศในการพักผ่อนด้วย ซึ่งทางร้านก็ให้การต้อนรับเป็นอย่างดี เราได้ชิมน้ำองุ๋นรสชาดดี(ที่จริงอยากชิมไวน์ค่ะ แต่ต้นทุนน่าจะสูงถ้าให้ลูกค้าทุกคนที่มาชิม ทางร้านคงจะขาดทุนแน่ๆค่ะ) ถ้าเพื่อนๆและท่านผู้อ่านท่านใดสนใจจะไปพักผ่อนก็ขอแนะนำที่นี่นะคะ รับรองไม่ผิดหวังค่ะสุดท้ายนี้ก็ขอฝากแหล่งท่องเที่ยวทางธุรกิจเกษตรที่น่าสนใจแห่งนี้ไว้ด้วยนะคะ ถ้ามีเวลาว่างอยากจะพักผ่อนก็มาได้เลยค่ะ ที่บ้านบุไทร อ.วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา ใกล้กรุงเทพฯแค่นิดเดียวค่ะ และถ้าสนใจหาข้อมูลเพิ่มเติมก็ลองเข้าไปที่เวบไซด์ www.wangnamkheo.com หรือถ้าจะจองที่พักโฮมสเตย์ก็สามารถโทร.ติดต่อได้ที่เบอร์โทรศัพท์ 081-068-6887 ติดต่อลุงอินทร์ เพื่อสำรองที่พักล่วงหน้านะคะ
เรียน อาจารย์ จีระ , อาจารย์ ยมและอาจารย์ประกาย           เมื่อวันที่ 29 30 มิถุนายน 2550 ดิฉันได้มีโอกาสไปที่ บ้านบุไทร อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดโคราช วันแรกที่ไปถึงนั้นได้รับการต้อนรับจาก ลุงอิน(ผู้ริ่เริ่มทำโฮมสเต็ล) และป้าสายทอง (เจ้าของบ้านโฮมสเต็ลที่ได้ไปพักอาศัยด้วย) เป็นอย่างดี แรกเป็นคืนที่ข้าพเจ้านอนหลับได้สนิทมากอาจจะเป็นเพราะบรรยายกาศที่นั้นเต็มไปด้วยความงียบสงบและอากาศที่เย็นสบายโดยไม่ต้องเปิดพัดลมเลย และเช้าวันรุ่งขึ้นทางป้ายสายทองก็ได้เตรียมอาหารเช้าไว้รอ และที่นั้นตอนเช้าชาวบ้านได้มีการทำบุญที่วัดตั้งแต่เช้าตรู่ หลังจากที่ได้รับประทานอาหารเช้าเป็นที่เรียบร้อยก็ได้เดินทางไปที่บ้านลุงอิน เพื่อสอบถามข้อมูลความเป็นมาของการก่อตั้งโฮมสเต็ล และสอบถามเกี่ยวกับสถานที่เที่ยวในวังน้ำเขียว ไม่ว่าจะเป็น การปลูกผักปลอดสารพิษ น้ำตก วิถีชีวิตของชาวบ้านที่เต็มไปด้วยธรรมชาติ ข้อมูลเกี่ยวกับชมรมโฮมสเต็ล และชมรมอนุรักษ์ธรรมชาติ ประมาณช่วง10 โมง ได้ไปดูแหล่งขายผักของลุงไกรและได้มีการพูดคุยกันถึงเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวกับการเกษตร หลังจากนั้นได้มีโอกาสไปเยี่ยมชมการปลูกเห็ดหอมและแปลงผักปลอดสารพิษ หลังจากนั้นประมาณเที่ยงก็ได้กลับมารับประทานอาหารที่บ้านลุงอิน โดยการรับประทานอาหารมื้อเที่ยงในครั้งนี้ได้รับร่วมรับประทานอาหารกับอาจารย์จีระและ ภริยา (คุณหญิงตุ๊ก) ซึ่งเป็นการรับประทานอาหารที่เต็มไปด้วยความสุขถามกลางธรรมชาติ และอาหารที่ได้รับประทานนั้นเป็นผักปลอดสารพิษที่ชาวบ้านวังน้ำเขียวเป็นผู้ปลูกในระหว่างที่รับประทานอาหารได้พูดคุยถึงแนวทางที่จะช่วยในการพัฒนาวังน้ำเขียวให้เป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวมากกว่านี้ โดยกลุ่มของดิฉันได้เสนอว่าน่าจะมีการทำซุ้มขายสินค้าของวังน้ำเขียวที่บริเวณทางเข้าและการทำร้านอาหารโดยให้ผักปลอดสารพิษมาใช้ในการปรุงอาหาร ในช่วงบ่ายได้มีโอกาสไปเยี่ยมชมโรงผลิตไวน์วิลเลจฟาร์มแอนด์ไวน์เนอรี่ และมีการพูดคุยเจ้าหน้าที่ถึงวิธีการผลิตไวน์ บรรยากาศภายในโรงผลิตไวน์เป็นธรรมชาติมาก ถ้าใครมีโอกาสได้ไปที่โคราช ไม่ควรพลาดที่จะแวะไปเที่ยวที่วังน้ำเขียว แล้วถ้าจะได้สิ่งดีๆที่มิอาจลืมเลย สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.homestaythailand.org/
อรนุช หล่ำสกุลไพศาล

 

วันที่29-30 กรกฎาคม 2550 ที่ผ่านมาได้มีอากาสไปดูงานที่วังน้ำเขียวกับอาจารย์จีระ และคุณหญิง คณะของเราได้เข้าพักที่ บุไทร โฮมสเตย์ ( Busai Home Stay ) ซึ่ง ได้รับตราสัญลักษณ์ มาตรฐานโฮมสเตย์ไทยและโฮมสเตย์ต้นแบบปี 2547 จากกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ซึ่งตั้งอยู่ที่หมู่ 4 บ้านบุไทร ตำบลไทยสามัคคี อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา 30370

ต้องขอขอบคุณลุงอินทร์ มูลพิมาย ประธานกลุ่มอนุรักษ์ต้นน้ำมูล และพี่สายทองเจ้าของบ้านที่เราไปพัก ที่อำนวยความสะดวกให้กับพวกเราตลอดการดูงานในครั้งนี้ และคอยต้อนรับพวกเราอย่างอบอุ่น การดูงานในครั้งนี้เราได้เรียนรู้อาชีพเกษตรแบบยั่งยืนเช่นการเพาะเห็ดหอม การปลูกผักเมืองหนาวปลอดสารพิษ ซึ่งผักเหล่านี้มีความหวาน อร่อย กรอบ หอม แม้กระทั่งผักชีของที่นี้มีความกรอบ ต้นอวบและใส หอม มาก

ช่วงเช้าหลังจากที่ได้กินข้าวต้มฝีมือพี่สายทองแล้วได้เดินทางไปยังสวนลุงไกร ซึ่งปลูกผักปลอดสารพิษ  โดยเฉพาะผักสลัดต่างประเทศกว่า 10 สายพันธุ์ นอกจากผักสลัด ก็มีมะเขือเทศราชินี ข้าวโพดหวาน และได้เลือกซื้อผักปลอดสารพิษสดๆกับน้ำสลัดกลับบ้านกัน และมีนักท่องเที่ยวมาซื้อผักปลอดสารที่สวนลุงไกรกันไม่ขาดสาย ต่อจากนั้นไปชมฟาร์มเพาะเห็ดหอม คณะของเราได้รับประทานอาหารเที่ยงที่บ้านลุงอินทร์ ร่วมกับท่านอาจารย์จีระคุณหญิง; ลุงอินทร์ และพี่นะ ต้องขอขอบพระคุณท่านอาจารย์จีระ และ คุณหญิง ที่ได้ซื้อสาคูไส้หมูมาฝาก เมื่อนำมารับประทานคู่กับผักกาดหอมที่ลุงอินทร์เก็บมา นอกจากนี้พี่สายทองได้ทำเมนูอาหาร น้ำพริกปลาทู กับ ผัดผักปลอดสารพิษ (อร่อยมากๆ)

อาจารย์จีระ ท่านจึงมีความสนใจที่จะช่วยเหลือเกษตรกรที่อำเภอบุไทร (ท่านอยากให้เบ็ดตกปลาแก่ชาวบ้านที่บุไทร) โดยให้พวกเราดูงานของที่นี้และให้ช่วยแชร์ความคิดในการพัฒนาด้านการตลาดกับพวกชาวบ้าน ซึ่งทางคณะจึงได้เสนอแนวความคิดว่า น่าจะทำเป็นแบรนด์ของที่บุไทร  และให้แบรนด์ขายตัวมันเองซึ่งการทำตลาดอาจเริ่มจากการเปิดที่ขายผักบริเวณด้านหน้าทางเข้าและส่งผักไปขายในที่ต่างๆในนามของ บุไทร ผักปลอดสารพิษ รวมถึงบริเวณภายในบุไทรยังไม่มีการเปิดร้านอาหารที่ทำจากผักไร้สารพิษ จึงคิดว่าน่าจะเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการโฆษณาเรื่องของผักปลอดสารพิษที่สดและอร่อย

หลังจากได้เดินทางออกมาจากบุไทรแล้ว คณะของเรา อาจารย์จีระ, คุณหญิง, พี่นะ และลุงอินทร์ได้เดินทางไปเยี่ยมชมสวนองุ่นที่ Village farm ที่อยู่ใกล้กับโฮมสเตย์ ได้เข้าชมวิธีการผลิตไวน์ ที่บ่มไวน์ ได้ชิมน้ำองุ่น 100% (หอมและ หวานธรรมชาติ) พร้อมทั้งได้ฟังเพลงเพราะๆที่ทางร้านได้คัดเพลงเพื่อมาเปิดให้ลูกค้าในร้านได้รู้สึกผ่อนคลาย และได้ชมวีดิทัศน์ในการแนะนำสวนองุ่นของที่นี่ด้วย

สุดท้ายนี้อยากชวนเพื่อนๆชาว BLOG ทุกท่านไปเที่ยวที่นี่เหมือนกับคณะของเรา เพราะเชื่อว่านอกจากที่ทุกท่านได้ไปพักผ่อนแล้วยังจะได้รับการต้อนรับอย่างจริงใจ ชาวบ้านที่นั้นน่ารักมากจริงๆ (จนถึงขนาดท่านอาจารย์จีระ และคุณหญิงอยากที่จะสร้างบ้านพักที่นั่นเลยทีเดียว)และช่วงเช้าจะมีหมอกบางๆทำให้ได้สูดอากาศที่สด รู้ได้เลยอากาศบริสุทธิ์เป็นอย่างไง ซึ่งเรียกได้ว่าคุ้มจริงๆค่ะ อยากให้ชาว Blog ทุกท่านได้ไปพักผ่อนที่นั่นจริงๆ ซึ่งสามารถตรวจสอบเส้นทาง และข้อมูลเบื้องต้นได้ที่ http://www.wangnamkheo.com หรือโทรหาลุงอินทร์ได้โดยตรงที่เบอร์ 08-1068-6887
กราบเรียนท่านศ.ดร.จีระ  อ.ยม นาคสุข อ.ประกายและท่านที่อ่าน blog ทุกท่านค่ะดิฉันนางสาววรนรี พันธุสังข์ นักศึกษาปริญญาโท สาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังเมื่อวันอาทิตย์ที่ 29/07/07 ดิฉันและเพื่อนนักศึกษาได้มีโอกาสเรียนกับอ.ยม นาคสุขอีกครั้งซึ่งในวันนี้เริ่มด้วยการนำเสนอเกี่ยวกับภาพรวมการบริหารทรัพยากรมนุษย์ขององค์กรต่างๆจากที่ได้มีการแบ่งกลุ่มกันให้ไปศึกษาจากครั้งที่แล้ว และจากที่แต่ละกลุ่มได้ศึกษามานำเสนอนั้นรวมมีอยู่ 5 องค์กร ดังนี้-                   กลุ่มที่ 1 : บริษัทปูนซีเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน)-                   กลุ่มที่ 2 : บริษัทเชียงใหม่เฟรชมิลค์ จำกัด -                   กลุ่มที่ 3 : บริษัท GFPT จำกัด (มหาชน) -                   กลุ่มที่ 4 : บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)-                   กลุ่มที่ 5 : บริษัท พรานทะเล จำกัด ซึ่งท่านอ.ยม ได้เน้นให้พวกเราได้คิดตามถึงลักษณะที่สำคัญในภาพรวม วิธีการบริหารขององค์กรต่างๆจากข้อมูลที่แต่ละกลุ่มศึกษาและนำเสนอพร้อมทั้งได้ชี้แนะเพิ่มเติมเพื่อให้เราเกิดความเข้าใจและเห็นภาพเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์มากขึ้น หลังจากนั้นก็ได้ให้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตลอดจนให้โอกาสได้ซักถามและชี้แนะเพิ่มเติมจากการซักถามเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์เพื่อเป็นแนวทางก่อประโยชน์ให้แก่พวกเราจากสิ่งที่ประสบมาจากการทำงานและนำไปปรับใช้ ทั้งนี้ดิฉันขอสรุปเป็นประเด็นต่างๆ ดังนี้1 ภาพรวมการบริหารงานทรัพยากรมนุษย์ในบริษัทใหญ่ๆ ที่มีการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ เช่น ปูนซีเมนต์ไทย และปตท ที่มีการนำระบบหรือกลไลต่างๆมาดูแลและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างต่อเนื่อง การให้ความมั่นใจในคุณภาพชีวิตการทำงาน ปลูกฝังทัศนคติที่เป็นมิตรต่อองค์กรและการสร้างแรงจูงใจ การสร้างวัฒนธรรมองค์กร ตลอดจนมีกระบวนการวางแผนและสรรหาคัดเลือกบุคลากร จากแนวความคิดทุนทางมนุษย์เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด 2.ภาพรวมการบริหารงานทรัพยากรมนุษย์ในองค์กรที่ใหญ่และที่ยังไม่ใหญ่มากนักแต่ยังมีการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่ไม่เป็นระบบ ต้องรู้จักทบทวนและให้ความสำคัญและต้องมีความเข้าใจในการบริหารงานต่างๆในด้านนี้เพิ่มเติมและให้รวดเร็วขื้นอีกเป็นอย่างมากไม่ว่าจะในเรื่องของการศึกษาและให้ความสำคัญของแรงงานสัมพันธ์ภายในองค์กรซึ่งจะมีการจัดการที่ดีหรือไม่สามารถพิจารณาได้จากบริษัทและลูกจ้างมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน สหภาพแรงงานและความอ่อนไหวต่างๆที่อาจสร้างความไม่พอใจหรือก่อปัญหาของคนในองค์กร  การบริหารการให้คุณให้โทษ การให้โบนัส ต้องระวังและรู้จักวางแผนเป็นขั้นบันไดอย่างเหมาะสม หากเกิดความผิดพลาดจากไม่รู้จักวางแผนเช่นเกิดกรณีโบนัสลดลงจากที่เคยให้หรือการให้คุณอื่นๆลดลงจากที่เคยให้ลูกจ้างสามารถร้องเรียนได้เป็นต้นทั้งนี้บริษัทควรมีการตรวจสอบข้อมูลรวมไปถึงการให้คุณหรือค่าตอบแทนของบริษัทในประเภทเดียวกันเพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานด้วย  การทบทวนปัญหาและการลดปัญหา Turn Over ของคนในองค์กร3. การนำแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับ HRM มารู้จักบูรณาการใช้ในการดำเนินชีวิต และหน้าที่การงาน  คือ ต้องบริหารคนด้วยความรอบรู้(1) รู้จักที่จะจัดการคนอยู่บนพื้นฐานของคุณธรรม (2)และจริยธรรม  และด้วยความมีเหตุผล (3) มีการดำเนินการเรื่องคนบนทางสายกลางอย่างพอประมาณ (4) รู้จักประมาณตน ตลอดจนมองกาณ์ไกลมีแผนรองรับเป็นภูมิคุ้มกัน (5)  ดังหลักการตามกระแสพระราชดำรัส ซึ่งเปรียบได้กับลักษณะของต้นไม้ที่มีตั้งแต่รากฐานที่ดีเติบโตต่อไปเป็นต้นที่มีความยั่งยืน4. การบริหารความแตกต่าง ต้องเริ่มจากการรู้ถึงปัญหาและสาเหตุก่อน แล้วกำหนดหายุทธวิธีในการแก้ปัญหานั้นๆ ดังการเข้าสู่ PDCA Concept ทั้งนี้ยังต้องรู้จักบริหารความขัดแย้งนั้นตลอดจนถึงบริหารความเปลี่ยนแปลงที่จะตามได้ให้เป็นด้วย ซึ่งต้องคำนึงถึง หลักความเชื่อใจและหลักการกระจายอำนาจด้วย ในส่วนใหญ่หลายๆครั้งจะพบว่าการแก้ปัญหามักต้องมีตัวกลางแต่ในความเป็นจริงแล้วการแก้ปัญหาที่ดีที่สุดต้องมีต้องมีผู้เกี่ยวข้องทั้ง 2 ฝ่ายมาร่วมด้วยจะดีและตรงจุดที่สุดซึ่งอาจต้องเป็นไปโดยการอาศัยเครื่องมือบางอย่างที่ก่อให้เกิดภาวะ Two way communication หรือสร้างสถานการณ์ให้มีส่วนร่วมทั้ง 2 ฝ่าย และทำการประเมินผล และต้องทำให้เกิดการContinuous Improment ตามมาด้วย
นายอานนท์ ร่มลำดวน
เรียน ศ.ดร.จิระ  ท่านอาจารย์ยม พี่ๆทีมงาน Chira academy และท่านที่ติดตาม Blog ทุกๆท่าน  ช่วงในวันอาทิตย์ที่ผ่านมาผมและเพื่อนๆนักศึกษา ป.โทลาดกระบัง ได้มีโอกาสสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้  ในการแลกเปลี่ยนมุมมองในเรื่องการบริหารทรัพยากรมนุษย์โดยแบ่งกัน ออกเป็น 5 กลุ่ม และแยกกันไปศึกษาในเรื่องการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในบริษัทต่างๆ เพื่อศึกษาถึงภาพรวม การจัดการ  ข้อดี ข้อเสีย และข้อคิดเห็นของแต่ละกลุ่ม  โดยบริษัทที่แต่ละกลุ่มนั้นได้นำเสนอนั้นประกอบไปด้วย  บริษัท เครือซีเมนส์ไทย , บริษัท ปตท , บริษัท พรานทะเล , บริษัท เชียงใหม่เฟรชมิลค์ , และบริษัท GFPT โดยจากการรับฟังในการนำเสนอ  การแลกเปลี่ยนมุมมอง ตลอดจนได้รับคำแนะนำจากท่านอาจารย์ยม ผมพอสรุปประเด็นที่น่าสนใจในมุมมองของผมได้ดังนี้1.ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์   ก็คือการจัดการที่เกี่ยวข้องกับคนเพื่อให้งาน   บรรลุผลตามเป้าหมาย หรือวัตถุประสงค์ขององค์กร2.ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในภาพรวมนั้นครอบคลุมตั้งแต่การสรรหา    จนกระทั่ง การดูแลพนักงานแม้จะไม่ได้ทำงานร่วมกันแล้วก็ตามกล่าวคือถ้า            เปรียบเทียบกับการผลิตก็คือตั้งแต่ 

    Input  - >   Process  - >  Output

  3.อุปกรณ์ที่ช่วยในการบริหารทรัพยากรมนุษย์อย่างหนึ่งที่สำคัญในยุคนี้ก็คือ การ   บริหารแรงงานสัมพันธ์  เพื่อเป็นตัวเชื่อมระหว่างบริษัทกับพนักงาน4.ในเรื่องการบริหารทรัพยากรมนุษย์จะต้องทำอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะอย่างยิ่ง   ผู้บริหารสูงสุดหรือเจ้าของบริษัทต้องมีความเข้าใจและดำเนินกิจกรรมนั้นๆอย่าง   ต่อเนื่อง กล่าวคือต้องมี Human Resource Management in mine    นอกจากนี้ท่านอาจารย์ยมยังให้ความรู้ในเรื่องของแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์  โดยเชื่อมโยงระหว่างแนวคิด 3 วงกลมกับ 2 เงื่อนไข และ ทฤษฎีทุนมนุษย์ ไว้อย่างน่าสนใจมากทำให้สามารถมองเห็นภาพและเข้าใจในหลักการของทั้ง 2 อย่างมากขึ้นและสิ่งสุดท้ายที่สำคัญที่สุดอีกอย่างหนึ่งในยุคนี้คือเรื่อง  Conflict and change   Management  ที่จะต้องเจอทุกองค์กรหรือแม้แต่ในชีวิตประจำวัน หรือในสภาพสังคมในปัจจุบัน ที่ต้องการผู้บริหารที่มีความรู้และความสามารถในการจัดการในเรื่องดังกล่าวมากที่สุด  
นายปริญญา รักพรหม
เรียน ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์, อ.ยม  นาคสุข สวัสดีเพื่อนๆ AFIM6 และท่านผู้ติดตาม Blog ทุกท่าน  ผมนายปริญญา  รักพรหม นักศึกษา ป.โท สาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง  สำหรับการเรียนในวันอาทิตย์ที่ 29 ก.ค.50 ที่ผ่านมา ก็เป็นการนำเสนอรายงานกรณีศึกษาการบริหารงานด้านทรัพยากรมนุษย์ขององค์กรต่างๆ ที่แต่ละกลุ่มได้ทำการศึกษามา ซึ่งก็มีความหลากหลายในสายอุตสาหกรรมต่างๆ ทั้งทางด้านอุตสาหกรรมอาหาร พลังงาน ปูนซีเมนต์ ดังประกอบไปด้วย กลุ่ม 1- บริษัท เครือซีเมนส์ไทย กลุ่ม 2- บริษัท เชียงใหม่เฟรชมิลค์กลุ่ม 3- บริษัท GFPTกลุ่ม 4- บ.ปตทกลุ่ม 5- บริษัท พรานทะเล จากการนำเสนอรายงานของแต่ละกลุ่มทำให้เห็นภาพรวมและ ข้อดี ข้อเสีย ของการบริหารงานด้านทรัพยากรมนุษย์ ของแต่ละบริษัท และตามความความเห็นส่วนตัวผมมองเห็นประเด็นหลักๆ ที่สำคัญในการนำมาใช้บริหารงานด้านทรัพยากรมนุษย์ คือ1. การบริหารงานโดยเน้นการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรด้วยการส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง อย่างเข่น กลุ่มบริษัท SCG, ปตท. เป็นต้น เขาได้เน้นเรื่องการสร้างบุคลากรให้มีความรู้ ความสามารถ และเป็นคนดีมีคุณธรรม ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญมากครับ2. การบริหารแรงงานสัมพันธ์เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่มีความสำคัญเช่นกัน เพราะว่า องค์กรที่จะประสบความสำเร็จได้ดีนั้นผู้บริหารองค์กรจะต้องสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับพนักงาน ต้องให้ความสนใจดูแลสวัสดิการ สวัสดิภาพของพนักงานด้วยเสมือนหนึ่งเป็นคนในครอบครัวเดียวกัน3. การบริหารค่าจ้าง ก็เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่ อ.ยมได้ฝากข้อคิดที่สำคัญไว้ด้วย คือ องค์กรจะต้องมีความยุติธรรมต่อลูกจ้างมีการจัดการการปรับขึ้นเงินเดือนที่เหมาะสม เทคนิกการปรับขึ้นเงินโบนัสประจำปีควรจะมีการระบุในรายละเอียดให้ชัดเจนในข้อตกลง เช่น การปรับขึ้นเงินโบนัสก็ให้สอดคล้องกับผลประกอบการของบริษัท เป็นต้น และควรทำการสำรวจกลุ่มบริษัทประเภทเดียวกันว่ามีมาตรฐานในการปรับขึ้นเงินโบนัสประจำปีอย่างไรบ้างเพื่อที่จะได้ใช้เป็นข้อมูลเปรียบเทียบได้ ส่วนแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ อ.ยม ได้ฝากแนวคิดไว้ให้ทำความเข้าใจ คือ หลัก 3 ห่วง 2 เงื่อนไข ประกอบด้วย ห่วงที่1 ความพอประมาณ-เป็นการรู้จักประมาณตน ไม่ทำอะไรเกินความเหมาะสมของตัวเอง ห่วงที่2 ความมีเหตุมีผล-การคิด พูด ลงมือปฏิบัติ ต้องถูกต้องด้วยเหตุผล  ห่วงที่3 ความมีภูมิคุ้มกัน-เป็นการวางแผนเตรียมความพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคตเงื่อนไขที่1 ความรู้-การมีความรู้เรียนรู้อย่างต่อเนื่องและสามารถเชื่อมโยงวิเคราะห์ปัญหาให้ถึงแก่นได้เงื่อนไขที่2 คุณธรรม-การเป็นคนดี มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่และสังคมซึ่งทั้งหมดนี้เป็นแนวปฏิบัติทางสายกลางและเป็นแนวทางในการนำไปใช้ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ให้มีความพร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลงและช่วยในการพัฒนาองค์กรให้สามารถแข่งขันและเติบโตอย่างยั่งยืนได้

กราบเรียนท่าน อ.ศ.ดร.จีระ , อ.ยม  และท่านผู้อ่านทุกท่านดิฉันนางสาวสุภาภรณ์  นำรุ่งโรจน์ นักศึกษาระดับปริญญาโทสาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง 

 เมื่อวันที่ 29-30/7/50ดิฉันและเพื่อนๆได้มีโอกาสไปบ้านบุไทร อ.วังน้ำเขียว จ.นครราชศรีมา โดยมีลุงอินทร์ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มตั้งโฮมสเตย์ของบ้านบุไทรขึ้นมาและเป็นประธานกลุ่มมาต้อนรับเป็นอย่างดี  ซึ่งดิฉันขอเล่าและแบ่งประเด็นได้ดังนี้

 

1. โฮมสเตย์บ้านบุไทร เริ่มก่อตั้งมาได้ 3 ปีแล้วโดยลุงอินทร์เป็นผู้ริเริ่มและมีความฝันที่อยากทำโฮมสเตย์โดยไปอบรมการทำโฮมสเตย์และนำความรู้ที่ได้มาใช้และเริ่มทำโฮมสเตย์ ในหมู่บ้านบุไทร โดยเริ่มจากบ้านของลุงอินทร์ก่อน แล้วทำให้คนในหมู่บ้านเห็นว่าโฮมสเตย์เป็นยังไงแล้วคนอื่นๆในหมู่บ้านก็สนใจและมีสมาชิกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนพัฒนาเป็นโฮมสเตย์ที่น่าสนใจที่หนึ่งและไม่ไกลจากกรุงเทพมากนัก มีจุดเด่นในเรื่องของบรรยากาศที่เป็นธรรมชาติมีภูเขารอบล้อม เปรียบได้กับสวิสเซอร์แลนด์ในเมืองไทยก็ว่าได้ ซึ่งตอนเช้ามีหมอกขึ้น อากาศเย็นสบายตลอดปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ดิฉันประทับใจมาก คือ การต้อนรับของลุงอินทร์,พี่สายทองและชาวบ้านที่ดูแลเป็นอย่างดีเหมือนเป็นคนในครอบครัวเลยค่ะ

 

2.  บ้านพักโฮมสเตย์บ้านบุไทร ที่ไปพัก คือ บ้านพี่สายทอง ที่เป็นกันเองดูแลพวกเราเป็นอย่างดีสิ่งที่ประทับใจคือ เมื่อได้เข้าบ้านพี่สายทองได้นำน้ำฝนเย็นๆมาให้ดื่ม รู้สึกสดชื่นและยอมรับว่าหาดื่มยากมากโดยเฉพาะในกรุงเทพ   โดยพวกเราชอบมากและดื่มจนหมดเลยค่ะ ,อาหารก็อร่อยเป็นข้าวต้มใส่เห็ดหอมสดของขึ้นชื่อวังน้ำเขียวด้วยและผลไม้ที่ปลูกเองมีรสหวานอร่อยสดๆ ซึ่งบ้านพี่สายทองมีปลูกพริก,กุหลาบ,ผักชี, หน่อไม้และอื่นๆที่แสนร่มรื่น

 

3. พอประมาณ10 โมงเช้าลุงอินทร์ได้พาพวกเราไปสวนลุงไกรที่เป็นศูนย์กลางแปลงปลูกผักสลัดจากต่างประเทศหลายๆชนิด ซึ่งลุงอินทร์ได้อธิบายและพาไปดูแปลงปลูกผักเกษตรอินทรีย์ของที่นี่ที่มีชื่อเสียงของวังน้ำเขียวว่าปลูกอะไรบ้างปลูกยังไงซึ่งการปลูกของที่นี่จะแปลงนึงไม่ใหญ่นักและมีหญ้ารอบล้อมเพื่อกันแมลงและวัชพืชต่างๆซึ่งการปลูกวิธีนี้ประสบความสำเร็จได้ผลผลิตที่ดีกว่าสมัยก่อนที่ปลูกครั้งหนึ่งแปลงใหญ่ ซึ่งเป็นเกร็ดความรู้เล็กๆน้อยๆที่น่าสนใจ และที่นั้นมีนักท่องเที่ยวมาซื้อผักปลอดสารพิษสดๆจากสวนกันมากมาเป็นระยะๆจนเกษตรกรขายแทบไม่ทันเลยทีเดียว

 

4. ได้รับประทานอาหารกลางวันกับท่าน อ.จีระและคุณหญิงภริยาท่านอ.จีระ ที่บ้านลุงอินทร์กับผักสดๆปลอดสารพิษและอาหารที่แสนอร่อยและสาคูไส้หมูที่อ.จีระซื้อมาฝากจากกรุงเทพเพื่อมารับประทานกับผักหอมที่นี่โดยเฉพาะ ซึ่งมีรสชาติอร่อย+ผักสดๆกรอบๆของวังน้ำเขียวอร่อยมากๆค่ะ เมื่ออิ่มท้องแล้วยังอิ่มกับธรรมชาติที่สวยงามและสดชื่น หลังจากนั้น อ.จีระได้พาพวกเราไปเยี่ยมชม วิลเลจฟาร์มที่มีชื่อเสียงของวังน้ำเขียวซึ่งมีที่พัก,ร้านอาหารและได้เยี่ยมชมโรงงานผลิตไวน์ส่งออกต่างประเทศที่มีชื่อเสียงที่หนึ่งของประเทศอีกด้วย

   สุดท้ายนี้ดิฉันขอขอบพระคุณท่านอ.จีระเป็นอย่างสูงที่ให้โอกาสดิฉันและเพื่อนๆได้มารู้จักสังคมการเรียนรู้ที่นี่ของวังน้ำเขียว ได้มาพบปะกับลุงอินทร์ที่มีความตั้งใจและมุ่งมั่นมากที่จะพัฒนาโฮมสเตย์บ้านบุไทรในเรื่องต่างๆต่อไปและพี่สายทองที่น่ารักเป็นกันเองให้ที่พักและอาหารที่แสนอร่อย,บรรยากาศดี,สดชื่นมากและมีโอกาสมาเยี่ยมชมวิลเลจฟาร์มที่มีชื่อเสียงในเรื่องไวน์ส่งออกของประเทศ ถือเป็นประสบการณ์ที่คุ้มค่าและประทับใจมากๆค่ะ

กราบเรียนท่าน อ.ศ.ดร.จีระ , อ.ยม  และท่านผู้อ่านทุกท่านดิฉันนางสาวสุภาภรณ์  นำรุ่งโรจน์ นักศึกษาระดับปริญญาโทสาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง 

 เมื่อวันที่ 29-30/7/50ดิฉันและเพื่อนๆได้มีโอกาสไปบ้านบุไทร อ.วังน้ำเขียว จ.นครราชศรีมา โดยมีลุงอินทร์ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มตั้งโฮมสเตย์ของบ้านบุไทรขึ้นมาและเป็นประธานกลุ่ม  ซึ่งดิฉันขอเล่าและแบ่งประเด็นได้ดังนี้

1. โฮมสเตย์บ้านบุไทร เริ่มก่อตั้งมาได้ 3 ปีแล้วโดยลุงอินทร์เป็นผู้ริเริ่มและมีความฝันที่อยากทำโฮมสเตย์โดยไปอบรมการทำโฮมสเตย์และนำความรู้ที่ได้มาใช้และเริ่มทำโฮมสเตย์ ในหมู่บ้านบุไทร โดยเริ่มจากบ้านของลุงอินทร์ก่อน แล้วทำให้คนในหมู่บ้านเห็นว่าโฮมสเตย์เป็นยังไงแล้วคนอื่นๆในหมู่บ้านก็สนใจและมีสมาชิกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนพัฒนาเป็นโฮมสเตย์ที่น่าสนใจที่หนึ่งและไม่ไกลจากกรุงเทพมากนัก มีจุดเด่นในเรื่องของบรรยากาศที่เป็นธรรมชาติมีภูเขารอบล้อม เปรียบได้กับสวิสเซอร์แลนด์ในเมืองไทยก็ว่าได้ ซึ่งตอนเช้ามีหมอกขึ้น อากาศเย็นสบายตลอดปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ดิฉันประทับใจมาก คือ การต้อนรับของลุงอินทร์,พี่สายทองและชาวบ้านที่ดูแลเป็นอย่างดีเหมือนเป็นคนในครอบครัวเลยค่ะ

2.  บ้านพักโฮมสเตย์บ้านบุไทร ที่ไปพัก คือ บ้านพี่สายทอง ที่เป็นกันเองดูแลพวกเราเป็นอย่างดีสิ่งที่ประทับใจคือ เมื่อได้เข้าบ้านพี่สายทองได้นำน้ำฝนเย็นๆมาให้ดื่ม รู้สึกสดชื่นและยอมรับว่าหาดื่มยากมากโดยเฉพาะในกรุงเทพ   โดยพวกเราชอบมากและดื่มจนหมดเลยค่ะ ,อาหารก็อร่อยเป็นข้าวต้มใส่เห็ดหอมสดของขึ้นชื่อวังน้ำเขียวด้วยและผลไม้ที่ปลูกเองมีรสหวานอร่อยสดๆ ซึ่งบ้านพี่สายทองมีปลูกพริก,กุหลาบ,ผักชี, หน่อไม้และอื่นๆที่แสนร่มรื่น

3. พอประมาณ10 โมงเช้าลุงอินทร์ได้พาพวกเราไปสวนลุงไกรที่เป็นศูนย์กลางแปลงปลูกผักสลัดจากต่างประเทศหลายๆชนิด ซึ่งลุงอินทร์ได้อธิบายและพาไปดูแปลงปลุกผักเกษตรอินทรีย์ของที่นี่ที่มีชื่อเสียงของวังน้ำเขียวว่าปลูกอะไรบ้างปลูกยังไงซึ่งการปลูกของที่นี่จะแปลงนึงไม่ใหญ่นักและมีหญ้ารอบล้อมเพื่อกันแมลงและวัชพืชต่างๆซึ่งการปลูกวิธีนี้ประสบความสำเร็จได้ผลผลิตที่ดีกว่าสมัยก่อนที่ปลูกครั้งหนึ่งแปลงใหญ่ ซึ่งเป็นเกร็ดความรู้เล็กๆน้อยๆที่น่าสนใจ และที่นั้นมีนักท่องเที่ยวมาซื้อผักปลอดสารพิษสดๆจากสวนกันมากมาเป็นระยะๆจนเกษตรกรขายแทบไม่ทันเลยทีเดียว

4. ได้รับประทานอาหารกลางวันกับท่าน อ.จีระและคุณหญิงภริยาท่านอ.จีระ  ที่บ้านลุงอินทร์กับผักสดๆปลอดสารพิษและอาหารที่แสนอร่อยและสาคูไส้หมูที่อ.จีระซื้อมาฝากจากกรุงเทพเพื่อมารับประทานกับผักหอมที่นี่โดยเฉพาะ ซึ่งมีรสชาติอร่อย+ผักสดๆกรอบๆของวังน้ำเขียวอร่อยมากๆค่ะ เมื่ออิ่มท้องแล้วยังอิ่มกับธรรมชาติที่สวยงามและสดชื่น หลังจากนั้นท่านอ.จีระได้พาพวกเราไปเยี่ยมชม วิลเลจฟาร์มที่มีชื่อเสียงของวังน้ำเขียวซึ่งมีที่พัก,ร้านอาหารและได้เยี่ยมชมโรงงานผลิตไวน์ส่งออกต่างประเทศที่มีชื่อเสียงที่หนึ่งของประเทศอีกด้วย

 สุดท้ายนี้ดิฉันขอขอบพระคุณท่านอ.จีระเป็นอย่างสูงที่ให้โอกาสดิฉันและเพื่อนๆได้มารู้จักสังคมการเรียนรู้ของวังน้ำเขียว ได้มาพบปะกับลุงอินทร์ที่มีความตั้งใจและมุ่งมั่นที่พัฒนาโฮมสเตย์บ้านบุไทรในเรื่องต่างๆต่อไปค่ะและพี่สายทองที่น่ารักเป็นกันเองให้ที่พัก,อาหารที่แสนอร่อย,บรรยากาศดี,สดชื่นมากและได้มีโอกาสมาเยี่ยมชมวิลเลจฟาร์มที่มีชื่อเรื่องไวน์องุ่นส่งออกต่างประเทศ ถือเป็นประสบการณ์ที่คุ้มค่าและประทับใจมากๆค่ะ

     กราบเรียนท่าน อ.ศ.ดร.จีระ , อ.ยม  และท่านผู้อ่านทุกท่านดิฉันนางสาวสุภาภรณ์  นำรุ่งโรจน์ นักศึกษาระดับปริญญาโทสาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง 

 เมื่อวันที่ 29-30/7/50ดิฉันและเพื่อนๆได้มีโอกาสไปบ้านบุไทร อ.วังน้ำเขียว จ.นครราชศรีมา โดยมีลุงอินทร์ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มตั้งโฮมสเตย์ของบ้านบุไทรขึ้นมาและเป็นประธานกลุ่ม  ซึ่งดิฉันขอเล่าและแบ่งประเด็นได้ดังนี้

1. โฮมสเตย์บ้านบุไทร เริ่มก่อตั้งมาได้ 3 ปีแล้วโดยลุงอินทร์เป็นผู้ริเริ่มและมีความฝันที่อยากทำโฮมสเตย์โดยไปอบรมการทำโฮมสเตย์และนำความรู้ที่ได้มาใช้และเริ่มทำโฮมสเตย์ ในหมู่บ้านบุไทร โดยเริ่มจากบ้านของลุงอินทร์ก่อน แล้วทำให้คนในหมู่บ้านเห็นว่าโฮมสเตย์เป็นยังไงแล้วคนอื่นๆในหมู่บ้านก็สนใจและมีสมาชิกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนพัฒนาเป็นโฮมสเตย์ที่น่าสนใจที่หนึ่งและไม่ไกลจากกรุงเทพมากนัก มีจุดเด่นในเรื่องของบรรยากาศที่เป็นธรรมชาติมีภูเขารอบล้อม เปรียบได้กับสวิสเซอร์แลนด์ในเมืองไทยก็ว่าได้ ซึ่งตอนเช้ามีหมอกขึ้น อากาศเย็นสบายตลอดปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ดิฉันประทับใจมาก คือ การต้อนรับของลุงอินทร์,พี่สายทองและชาวบ้านที่ดูแลเป็นอย่างดีเหมือนเป็นคนในครอบครัวเลยค่ะ

2.  บ้านพักโฮมสเตย์บ้านบุไทร ที่ไปพัก คือ บ้านพี่สายทอง ที่เป็นกันเองดูแลพวกเราเป็นอย่างดีสิ่งที่ประทับใจคือ เมื่อได้เข้าบ้านพี่สายทองได้นำน้ำฝนเย็นๆมาให้ดื่ม รู้สึกสดชื่นและยอมรับว่าหาดื่มยากมากโดยเฉพาะในกรุงเทพ   โดยพวกเราชอบมากและดื่มจนหมดเลยค่ะ ,อาหารก็อร่อยเป็นข้าวต้มใส่เห็ดหอมสดของขึ้นชื่อวังน้ำเขียวด้วยและผลไม้ที่ปลูกเองมีรสหวานอร่อยสดๆ ซึ่งบ้านพี่สายทองมีปลูกพริก,กุหลาบ,ผักชี, หน่อไม้และอื่นๆที่แสนร่มรื่น

3. พอประมาณ10 โมงเช้าลุงอินทร์ได้พาพวกเราไปสวนลุงไกรที่เป็นศูนย์กลางแปลงปลูกผักสลัดจากต่างประเทศหลายๆชนิด ซึ่งลุงอินทร์ได้อธิบายและพาไปดูแปลงปลุกผักเกษตรอินทรีย์ของที่นี่ที่มีชื่อเสียงของวังน้ำเขียวว่าปลูกอะไรบ้างปลูกยังไงซึ่งการปลูกของที่นี่จะแปลงนึงไม่ใหญ่นักและมีหญ้ารอบล้อมเพื่อกันแมลงและวัชพืชต่างๆซึ่งการปลูกวิธีนี้ประสบความสำเร็จได้ผลผลิตที่ดีกว่าสมัยก่อนที่ปลูกครั้งหนึ่งแปลงใหญ่ ซึ่งเป็นเกร็ดความรู้เล็กๆน้อยๆที่น่าสนใจ และที่นั้นมีนักท่องเที่ยวมาซื้อผักปลอดสารพิษสดๆจากสวนกันมากมาเป็นระยะๆจนเกษตรกรขายแทบไม่ทันเลยทีเดียว

4. ได้รับประทานอาหารกลางวันกับท่านอ.จีระและคุณหญิง ที่บ้านลุงอินทร์กับผักสดๆปลอดสารพิษและอาหารที่แสนอร่อยและสาคูไส้หมูที่อ.จีระซื้อมาฝากจากกรุงเทพเพื่อมารับประทานกับผักหอมที่นี่โดยเฉพาะ ซึ่งมีรสชาติอร่อย+ผักสดๆกรอบๆของวังน้ำเขียวอร่อยมากๆค่ะ เมื่ออิ่มท้องแล้วยังอิ่มกับธรรมชาติที่สวยงามและสดชื่น หลังจากนั้นอ.จีระได้พาพวกเราไปเยี่ยมชม วิลเลจฟาร์มที่มีชื่อเสียงของวังน้ำเขียวซึ่งมีที่พัก,ร้านอาหารและได้เยี่ยมชมโรงงานผลิตไวน์ส่งออกต่างประเทศที่มีชื่อเสียงที่หนึ่งของประเทศอีกด้วย

 สุดท้ายนี้ดิฉันขอขอบพระคุณท่านอ.จีระเป็นอย่างสูงที่ให้โอกาสดิฉันและเพื่อนๆได้มารู้จักสังคมการเรียนรู้ของวังน้ำเขียว ได้มาพบปะกับลุงอินทร์ที่มีความตั้งใจและมุ่งมั่นที่พัฒนาโฮมสเตย์บ้านบุไทรในเรื่องต่างๆต่อไปค่ะและพี่สายทองที่น่ารักเป็นกันเองให้ที่พัก,อาหารที่แสนอร่อย,บรรยากาศดี,สดชื่นมากและได้มีโอกาสมาเยี่ยมชมวิลเลจฟาร์มที่มีชื่อเรื่องไวน์องุ่นส่งออกต่างประเทศ ถือเป็นประสบการณ์ที่คุ้มค่าและประทับใจมากๆค่ะ

    เรียน อ.จีระ , อ.ยม ,  ทีมงาน  Chira Academy และผู้อ่านทุกท่าน  ผม นายวรพจน์  สู่เสน  นักศึกษาปริญญาโท สาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร  คณะเทคโนโลยีการเกษตร  สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

     เนื่องจากวันที่ 29 - 30/7/50 ที่ผ่านมา ผมได้มีโอกาสไปศึกษาดูงาน เรื่องผักปลอดสารพิษ ที่บ้านบุไทร อ.วังน้ำเขียว จ,นครราชสีมา  เริ่มออกเดินทางประมาณ 17.00 น. ไปถึงที่พักประมาณ 23.00น.  คืนแรกก็สนุกสนานกันพอประมาณหลังจากเครียดกับการสอบมาทั้งเดือน (ฝึกคณิตศาสตร์กันยามดึก) ช่วงเช้าตื่นขึ้นมาได้รับอากาศบริสุทธิ์ ( วังน้ำเขียวได้ชื่อว่าเป็นแหล่งโอโซนอันดับต้นๆของโลก ) อากาศกำลังดีไม่ร้อนจนเกินไป ระหว่างรับประทานอาหารที่ พี่สายทอง ซึ่งเป็นเจ้าของ โฮมสเตย์ที่พวกผมไปพัก มาพูดคุยด้วยความเป็นกันเอง เลยมีโอกาสได้สอบถามคร่าวๆ ถึงความเป็นมาของธุรกิจโฮมสเตย์ในระแวกนี้ ว่า ประธานกลุ่ม ชื่อ ลุงอินทร์ เป็นคนริเริ่ม และเป็นคนบริหารจัดการอยู่ในช่วงนี้  จากนั้นช่วงสาย พวกผมได้มีโอกาสพบลุงอินทร์ ได้พูดคุยสอบถาม และได้ไปเยี่ยมชมสวนผักปลอดสารพิษของชาวบ้าน ทำให้พอทราบถึงแนวคิดของการทำธุรกิจผักปลอดสารพิษในละแวกนี้ว่า จะมีบางคนที่เข้มแข็ง เป็นศูนย์รวมให้แต่ละบ้านนำพืชผักมาวางขายเป็นจุดเดียวกัน แต่เมื่อดูจากระยะทาง และจุดขายแล้ว ถ้าเราสามารถทำให้สามารถขายผักปลอดสารพิษได้ในบริเวณโฮมสเตย์เลยน่าจะดีกว่า เพราะนักท่องเที่ยวสามารถซื้อหาได้ง่าย และยังเป็นแหล่งดึงดูดให้มาพักที่โฮมสเตย์ด้วย  จากนั้น ช่วงเที่ยง อ.จีระ และ คุณหญิง ( ภรรยา ) ของอาจารย์ได้ให้เกียรติพวกผม มานั่งรับประทานอาหารด้วย และได้พูดคุยกันระหว่างรับประทานอาหาร ถึงแนวทางที่จะช่วยพัฒนาให้ผักปลอดสารพิษมีจุดขาย  สามารถกระจายให้บุคคลทั่วๆไปหารับประทานได้ง่าย จากที่คุยแล้วได้ความว่า จะให้ลุงอินทร์ ช่วยเป็นพื้นธุระหาพื้นที่ในการจำหน่ายให้และทางนักศึกษา ป.โทลาดกระบัง จะช่วยในเรื่อง การตลาด และ Brand ซึ่งน่าจะเป็นจุดเริ่มต้นที่มั่นคงของธุรกิจ ที่ไม่ได้ทำอะไรเกินตัวมากนัก ซึ่งเรื่องนี้ ทางลุงอินทร์ และทางคณะนักศึกษาจะประสานงานกันอีกครั้ง  ในช่วงบ่าย อ.จีระ ได้พาพวกผม และลุงอินทร์ ไปที่  วิลเลจน์ฟาร์มแอนด์ ไวน์งเนอรี่ ซึ่งเป็นรีสอร์ต และไร่องุ่นในบริเวณใกล้เคียงซึ่งอ.จีระรู้จักเป็นอย่างดี ได้มีโอกาสดูไลน์การผลิตไร่องุ่น และรับประทานน้ำองุ่นฟรี !!  พวกผม ลุงอินทร์ และ อ.จีระ ได้มีโอกาสพูดคุยแลกเปลี่ยนความเห็นกัน จนถึงช่วงเย็น ( ประมาณ 16.30 น.) ซึ่งระหว่างที่พวกผมได้อยู่กับ อ.จีระนั้น ได้ความรู้เพิ่มเติมมากมาย  จากนั้นจึงเดินทางกลับ

        ต้องขอขอบคุณ อ. จีระ , คุณหญิง , ลุงอินทร์ และพี่สายทอง ที่ทำให้พวกผมได้มีประสบการณ์ดีๆเพิ่มขึ้นในชีวิต งานในเรื่องนี้ พวกผมจะพยายามทำต่อให้เต็มความสามารถครับ

กราบเรียน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์, อาจารย์วสุ แสงสิงห์แก้ว และท่านผู้อ่านทุกท่าน ดิฉันนางสาวนันทกา บุญสุข นักศึกษาปริญญาโท ภาควิชาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง         จากการเรียนในวันที่ 5 สิงหาคม 2550 เวลา 09.00-12.00 น. กับอาจารย์วสุ แสงสิงห์แก้ว (หรือ พี่จิ๊บ ที่อาจารย์อนุญาตให้พวกเราเรียกอย่างเป็นกันเอง) ในวันนี้พวกเราได้แชร์ความรู้กับอาจารย์มากมาย ดังจะยกประเด็นตัวอย่าง คือ เรื่องแรกอาจารย์แนะนำในเรื่องของ การปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมขององค์กร คือ อย่าสร้างกำแพงขึ้นมาก่อนที่เราจะเข้าทำงานในองค์กรใดๆ เพราะว่าจะทำให้เกิดความขัดแย้งกับผู้อื่นได้ง่าย และควรสร้างบารมีในที่ทำงาน พร้อมทั้งมีความอ่อนน้อมถ่อมตน เพื่อให้สามารถร่วมงานกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ซึ่งอาจารย์กล่าวว่า ความสุขในการเป็นคนดีมี 3 ประการ คือ อย่าทำให้ตนเองเดือดร้อน, อย่าทำให้คนอื่นเดือดร้อน และเป็นผู้ให้ตามอัตภาพจากนั้นอาจารย์ยังสอนพวกเราว่า การเป็นผู้บริหารที่ดีไม่ใช่เรื่องง่ายๆ  เพียงแค่เซ็นต์ชื่อแล้วก็ผ่านไป การเป็นผู้บริหารที่ดีนั้น ก่อนที่จะตัดสินใจทำอะไรจะต้องมีการประมวลความรู้ทั้งหมดมาใช้ และควรติดตามข่าวสารการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในโลกอยู่ตลอดเวลา เพื่อพัฒนาตนเอง จึงสามารถบริหารองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสบความสำเร็จ นอกจากนี้ อาจารย์ยังสอนให้พวกเรารู้จักวางแผนชีวิตไว้ล่วงหน้า เช่น ถามตัวเองว่าอีก 10 15 ปี ต่อจากนี้ ตัวเราจะไปอยู่ตรงจุดไหน เป็นต้น เพื่อให้พวกเราตั้งจุดมุ่งหมายในชีวิต ไม่ได้คิดเพียงแค่ทำงานไปวันๆ โดยไม่มีการวางแผนที่จะพัฒนาตนเอง ซึ่งในการวางแผนนี้จะต้องเผื่อพื้นที่ในการเปลี่ยนแปลงของชีวิตไว้ด้วย เพราะถ้าเราจริงจังจนเกินไป เมื่อเกิดความผิดพลาด เราจะไม่สามารถควบคุมตนเองได้ การวางแผนชีวิตที่อาจารย์กล่าวถึงนั้น สามารถนำไปใช้ได้ทั้งในชีวิตส่วนตัว และนำใช้ในการบริหารองค์กรได้อีกด้วย         จากการเรียนในครั้งนี้ ดิฉันขอขอบพระคุณอาจารย์วสุเป็นอย่างมากที่สละเวลามาให้ความรู้และแชร์ประสบการณ์ดีๆให้กับพวกเรา และที่สำคัญที่สุด ขอขอบพระคุณอาจารย์จีระ ที่เปิดโอกาสในการเรียนรู้ให้แก่พวกเราอีกครั้งค่ะ
รสสุคนธ์ น้อยจินดา

      กราบเรียน ศ.ดร.จีระ หงลดารมภ์ อาจารย์วสุ แสงสิงห์แก้ว และท่านผู้อ่านทุกท่าน ดิฉัน นางสาวรสสคนธ์  น้อยจินดา  นักศึกษาปริญญาโท สาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร คณะเทคโนโลยีการเกษตรสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง  จากที่ได้เรียนในวันอาทิตย์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2550 เวลา 9.00 – 12.00 น. เรื่อง ประสบการณ์ในการทำงาน (กระทรวงต่างประเทศ) เนื้อหาที่เรียนที่ดิฉันจับประเด็นได้หลักๆ 3 ประเด็น ดังนี้

      ประเด็นแรก นักบริหารที่ดี ต้องมีการเตรียมตัวและพร้อมที่จะเผชิญหน้ากับสถานการณ์ที่เข้ามาได้ทุกรูปแบบ มีการมองภาพล่วงหน้า คือมีการมองถึงการเปลี่ยนแปลงในอนาคต  ต้องรับทราบข่าวสารใหม่ๆ ในทุกๆ วัน ทุกอย่างมีวิวัฒนาการ และต้องมีการพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง

      ประเด็นที่สอง การเป็นผู้บริหารที่มีความสุข  ท่านอาจารย์บอกว่าในทางพระพุทธศาสนา ไม่ได้แยกว่าเป็นความสุขกับความทุกข์ แต่มีแต่ทุกข์มากกับทุกข์น้อย คือช่วงที่คิดว่ามีความสุขที่จริงแล้วเป็นช่วงที่มีทุกข์น้อย การเป็นผู้บริหารที่มีความสุข จะต้องพยายามหาจุดมุ่งหมายหรือสิ่งที่จะทำให้มีความสุข จะได้เห็นทิศทางในการบริหาร ซึ่งเราจะค้นพบตนเองได้นั้นต้องอาศัยทั้งวัยวุฒิและประสบการณ์

      ประเด็นที่สาม ความแตกต่างของการบริหารงานของภาครัฐและภาคเอกชน

  

การบริหารงานของภาคเอกชน การบริหารงานของภาครัฐ
1. เงินทุนมาจากเจ้าของกิจการ หรือแหล่งเงินทุน

2. ผู้บริหารมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ได้ผลกำไรสูงสุด

 3. การตัดสินใจเชิงนโยบายทำได้อย่างรวดเร็ว
1. เงินทุนมาจากภาษีของราษฎร 2. ผู้บริหารเป็นผู้เข้ามารับเงินเดือน และขับเคลื่อนประเทศให้ดีขึ้น

3. การตัดสินใจเชิงนโยบายจะยุ่งยาก เนื่องจากที่มาของแหล่งเงินทุนต่างกัน ต้องปฏิบัติงานตามขั้นตอน

      จากประเด็นที่สรุปได้ทั้งสาม สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ขององค์กร และได้ทราบประสบการณ์ในการทำงานของอาจารย์ในต่างประเทศ การแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นภายใต้กฎระเบียบของประเทศนั้น คือตั้งแต่เรื่องเล็กน้อยจนถึงเรื่องที่เกี่ยวพันไปถึงกฎหมายของประเทศนั้นด้วย ขอขอบพระคุณท่านอาจารย์วสุมากค่ะ  และอยากมีโอกาสเรียนกับท่านอาจารย์อีก
รสสุคนธ์ น้อยจินดา

      กราบเรียน ศ.ดร.จีระ หงลดารมภ์ อาจารย์วสุ แสงสิงห์แก้ว และท่านผู้อ่านทุกท่าน ดิฉัน นางสาวรสสคนธ์  น้อยจินดา  นักศึกษาปริญญาโท สาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร คณะเทคโนโลยีการเกษตรสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง  จากที่ได้เรียนในวันอาทิตย์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2550 เวลา 9.00 – 12.00 น. เรื่อง ประสบการณ์ในการทำงาน (กระทรวงต่างประเทศ) เนื้อหาที่เรียนที่ดิฉันจับประเด็นได้หลักๆ 3 ประเด็น ดังนี้

      ประเด็นแรก นักบริหารที่ดี ต้องมีการเตรียมตัวและพร้อมที่จะเผชิญหน้ากับสถานการณ์ที่เข้ามาได้ทุกรูปแบบ มีการมองภาพล่วงหน้า คือมีการมองถึงการเปลี่ยนแปลงในอนาคต  ต้องรับทราบข่าวสารใหม่ๆ ในทุกๆ วัน ทุกอย่างมีวิวัฒนาการ และต้องมีการพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง

      ประเด็นที่สอง การเป็นผู้บริหารที่มีความสุข  ท่านอาจารย์บอกว่าในทางพระพุทธศาสนา ไม่ได้แยกว่าเป็นความสุขกับความทุกข์ แต่มีแต่ทุกข์มากกับทุกข์น้อย คือช่วงที่คิดว่ามีความสุขที่จริงแล้วเป็นช่วงที่มีทุกข์น้อย การเป็นผู้บริหารที่มีความสุข จะต้องพยายามหาจุดมุ่งหมายหรือสิ่งที่จะทำให้มีความสุข จะได้เห็นทิศทางในการบริหาร ซึ่งเราจะค้นพบตนเองได้นั้นต้องอาศัยทั้งวัยวุฒิและประสบการณ์

      ประเด็นที่สาม ความแตกต่างของการบริหารงานของภาครัฐและภาคเอกชน

  

การบริหารงานของภาคเอกชน การบริหารงานของภาครัฐ
1. เงินทุนมาจากเจ้าของกิจการ หรือแหล่งเงินทุน

2. ผู้บริหารมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ได้ผลกำไรสูงสุด

 3. การตัดสินใจเชิงนโยบายทำได้อย่างรวดเร็ว
1. เงินทุนมาจากภาษีของราษฎร 2. ผู้บริหารเป็นผู้เข้ามารับเงินเดือน และขับเคลื่อนประเทศให้ดีขึ้น

3. การตัดสินใจเชิงนโยบายจะยุ่งยาก เนื่องจากที่มาของแหล่งเงินทุนต่างกัน ต้องปฏิบัติงานตามขั้นตอน

      จากประเด็นที่สรุปได้ทั้งสาม สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ขององค์กร และได้ทราบประสบการณ์ในการทำงานของอาจารย์ในต่างประเทศ การแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นภายใต้กฎระเบียบของประเทศนั้น คือตั้งแต่เรื่องเล็กน้อยจนถึงเรื่องที่เกี่ยวพันไปถึงกฎหมายของประเทศนั้นด้วย ขอขอบพระคุณท่านอาจารย์วสุมากค่ะ  และอยากมีโอกาสเรียนกับท่านอาจารย์อีก
กราบเรียนศ.ดร.จีระ, อ.ยม, อ.ประกาย ,อ.วสุ และท่านผู้อ่านทุกท่านดิฉันน.ส.นิรชร ไชยกาญจน์ นักศึกษาระดับป.โท สาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร สจล. จากการที่ได้มีโอกาสฟังการบรรยายในชั่วโมงการเรียนวิชา การจัดการทรัพยากรมนุษย์ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 5 สิงหาคม 2550 กับอ.วสุ  แสงสิงห์แก้วได้รับข้อคิดดีๆเกี่ยวกับการปฏิบัติตนเพื่อให้เข้ากับวัฒนธรรมขององค์กรหรือสถานที่ที่เราได้มีโอกาสเข้าไปเกี่ยวข้อง โดยอ.วสุได้นำประสบการณ์จากการที่ได้ทำงานในกระทรวงการต่างประเทศ ในฐานะนักการฑูตที่ต้องเดินทางไปทำงานในประเทศต่างๆ ทำให้ได้มีโอกาสพบกับความหลากหลายของวัฒนธรรม การดำรงชีวิต และแนวคิดที่มีความแตกต่างกันตามความเชื่อที่มีของแต่ละที่ ทำให้อาจารย์ต้องปรับตัวเองให้เข้ากับบุคคลและสภาพแวดล้อมการทำงานต่างๆนั้นให้ได้โดยอ.วสุได้อธิบายถึงวิธีการปรับตัว พร้อมทั้งเล่าเหตุการณ์ตัวอย่างที่มีทั้งเรื่องดีและเรื่องร้ายที่คงไม่มีใครอยากจะเจอให้นักศึกษาฟัง และนอกจากนี้อาจารย์ได้อธิบายเปรียบเทียบถึงความแตกต่างกันของแต่ละองค์กร ที่จะเห็นได้ชัดเจนที่สุดก็คือ ความแตกต่างระหว่างการทำงานในส่วนราชการและเอกชน ซึ่งมีความแตกต่างกันในหลายเรื่องเช่น1.   ระเบียบปฏิบัติในการทำงาน ของราชการจะเป็นการปฏิบัติงานตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย โดยจะมีวิธีการปฏิบัติที่ค่อนข้างจะมีแนวทางที่ชัดเจน ในขณะที่การทำงานในภาคเอกชนจะเน้นให้ใช้ความรู้ความสามารถในการทำงานแบบแข่งขันกัน 2.   รายได้หรืองบประมาณที่นำมาใช้จ่ายในการทำงานและการจ้างงาน ของราชการจะมีการเบิกจ่ายจากงบประมาณของประเทศ แต่ภาคเอกชนอาจมีการอิงผลกำไรจากการดำเนินธุรกิจมาเกี่ยวข้องด้วย ทำให้เห็นชัดถึงความมั่นคงในเรื่องของรายได้ที่แตกต่างกันนอกจากนี้อ.วสุยังได้กล่าวถึงแง่คิดที่ทำให้เราสามารถที่จะปรับตัว และเข้าใจกับสิ่งที่เกิดขึ้นรอบตัวได้ง่ายขึ้น และทำให้เกิดผลดีกับตัวเราโดยการยกตัวอย่างพุทธศาสนสุภาษิตและคำคมที่ให้แง่คิดที่ดีๆหลายอย่างด้วยกัน ซึ่งจากการที่ได้อ่าน ทำให้ดิฉันคิดว่า ถ้าเราสามารถที่จะปฏิบัติตามได้ ก็จะเกิดผลดีกับตัวเราและคนรอบข้าง ช่วยให้อยู่อย่างมีความสุขกายและสบายใจด้วยค่ะ
นางสาว วสพร บุญสุข

กราบเรียนอาจารย์ จีระ หงส์ลดารมภ์, อาจารย์ ยม, อาจารย์ วสุ และท่านผู้อ่านทุกท่าน ดิฉัน นางสาว วสพร บุญสุข นักศึกษาปริญญาโท คณะเทคโนโลยีการเกษตร สาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง 

เมื่อวันอาทิตย์ที่ 5 สิงหาคม 2550 ได้มีโอกาสได้เรียนกับอาจารย์วสุ แสงสิงห์แก้ว (พี่จิ๊บ) ในรายวิชา การจัดการทรัพยากรมนุษย์ ในหัวข้อ ประสบการณ์ในการทำงาน (ในกระทรวงการต่างประเทศ) ทำให้ดิฉันได้ความรู้เพิ่มเติม 4 ประเด็นดังนี้

ประเด็นแรก คือ การยกคำกล่าวของพระพุทธองค์ทรงกล่าวว่า วิสสาวะ ปรมา ญาติ ความคุ้นเคยเป็นญาติอย่างยิ่ง เมื่อคนเราที่คุ้นเคยกันจะช่วยเอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกัน ทำให้ลดขั้นตอนความยุ่งยาก (สร้างConnection)

ประเด็นที่สอง คือ การบริหารองค์กรหรือทรัพยากรมนุษย์ จะต้องเริ่มที่ตัวเราก่อนเสมอ ต้องปรับตัวเข้ากับสังคม วัฒนธรรม ขององค์กร โดยการเข้าไปแบบว่างเปล่า เป็นแก้วที่ว่างเปล่า ไม่สร้างกำแพงปิดกั้นตัวเรา

ประเด็นที่สาม คือ การเป็นผู้บริหารที่ดี ต้องรู้จักเผชิญกับสิ่งที่เกิดขึ้น จะต้องอาศัย ประสบการณ์+ความรู้ความสามารถ+connection และการที่จะประสบความสำเร็จในชีวิต สิ่งที่สำคัญก็คือ การเป็นคนดีของสังคม และต้องมีสติ สรุปภาพรวมของคนดีได้ดังนี้ 1. อย่าทำให้ตัวเราเดือดร้อน 2. อย่าทำให้คนอื่นเดือดร้อน

3. ควรทำประโยชน์ให้กับสังคมตามกำลังของเรา (ความพอเพียง)

ประเด็นที่สี่ คือ การทำงานไม่ว่าจะหน้าที่หรือตำแหน่งไหน ตัวเราจะต้องรักงานที่ทำ จะทำให้เกิดความสุขในการทำงาน  ผลงานออกมาจะมีประสิทธิภาพ และประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน  สรุปประเด็นทั้งหมดได้ว่า การจะทำให้คนอื่นรัก หรือให้คนอื่นเกลียดเราน้อยลง ขึ้นอยู่กับการกระทำตัวของเราเอง ต้องรู้จักปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น และจะต้องมีทุนของอาจารย์จีระ คือ ทุนแห่งจริยธรรม (Ethical Capital) และ ทุนแห่งความสุข(Happiness Capital) จากการเรียนครั้งนี้ ทำให้ดิฉันรู้จักการเรียนที่มีความสุข และขอบคุณอาจารย์วสุ ที่ได้เล่าประสบการณ์จากการทำงานในกระทรวงการต่างประเทศ  คำกลอน และคำคม ให้ดิฉัน สามารถนำมาเตือนสติ แลtประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดีกับสถานการณ์ปัจจุบันนี้  
นางสาวศศิวิมล ทับเวช
กราบเรียนศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ คุณวสุ และท่านผู้อ่านทุกท่าน ดิฉันนางสาวศศิวิมล ทับเวช นักศึกษาปริญญาโทสาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง        เมื่อวันอาทิตย์ที่ 5 สิงหาคม 2550 เวลา 9.00-12.00น. ได้เรียนวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ เรื่องประสบการณ์การทำงาน (กระทรวงต่างประเทศ) สรุปได้ดังนี้1.    การมี connection นั้นจะทำให้เราสามารถทำงานได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น2.    ในการทำงานยิ่งมีกระบวนการหรือขั้นตอนมากจะส่งผลให้การทำงานนั้นๆมีประสิทธิภาพน้อย เช่น การแก้ไขปัญหาทางการเกษตร3.    บุคคลที่เปรียบเสมือนน้ำเต็มแก้วจะทำให้เกิดกำแพงและนำสู่อุปสรรคในการทำงาน ดังนั้นเราต้องทำตัวให้เป็นแก้วที่ว่างและเล็กที่สุด4.    การพัฒนาตัวเองจะต้องทำไม่หยุดนิ่ง เพราะเทคโนโลยีและความก้าวหน้ามีตลอดเวลา และในขณะเดียวกันบทความที่กล่าวไว้ในอดีตก็ไม่สามารถตอบโจทย์ปัจจุบันได้ทั้งหมด ดังนั้นเราต้องเป็นคนรู้ทันโลก5.    คนดี คือ อย่าทำให้ตัวเองเดือดร้อน อย่าทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน และทำเพื่อสังคมตามกำลังสุดท้ายนี้ดิฉันขอขอบพระคุณ คุณวสุ เป็นอย่างมากที่ได้ให้ความรู้และประสบการณ์ ดิฉันจะนำความรู้ที่ได้เรียน มาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน และการทำงานเพื่อพัฒนาตัวเองและสังคมให้ดียิ่งขึ้น

กราบเรียนท่าน อ.ศ.ดร.จีระ  , อ.วสุ  และท่านผู้อ่านทุกท่านดิฉันนางสาวสุภาภรณ์  นำรุ่งโรจน์ นักศึกษาระดับปริญญาโทสาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง 

 

 เมื่อวันที่ 5/8/50 ได้มีโอกาสได้เรียนกับคุณ วสุ แสงสิงห์แก้ว หรือพี่วสุนั้นเอง ดิฉันขอเรียกเป็นอาจารย์น่ะค่ะ ที่ได้มาถ่ายทอดความรู้และเล่าประสบการณ์ในการทำงานที่กระทรวงการต่างประเทศตลอดเวลา 18 ปี ที่ผ่านมาซึ่งได้ข้อคิดที่ดีๆมากมาย ซึ่งดิฉันขอแยกเป็นประเด็นดังนี้

1. การทำงานนั้นย่อมมีทั้งสุขและทุกข์ แต่ควรที่จะมีสุขมากกว่าหรือ  happiness Capitalให้มาก เป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้งานที่ทำอยู่จึงจะทำให้งานออกมาดีและผ่านพ้นไปได้ ซี่งการทำอะไรด้วยความสุขด้วยรอยยิ้มย่อมจะทำให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น อย่างการเรียนก็ควรจะเรียนอย่างมีความสุข การทำงานก็ควรมีแนวทางการจัดการบริหารให้มีความสุข นั้นคือต้องรักในสิ่งที่เราทำนั้นเอง2. วัฒนธรรมการอยู่ในองค์กรควรมีการสร้างความคุ้นเคย การมีความสัมมาคารวะ การให้เกรียติกับผู้ร่วมงานและผู้อาวุโสกว่าเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อเกิดการสร้างสัมพันธ์ที่ดีในองค์กรและจะทำให้มีความสุขกับงานที่ทำตามมาด้วย

3. การบริหารภาครัฐต่างกับภาคเอกชน ซึ่งทุกๆคนก็รู้กันดีแต่มีอย่างหนึ่งที่การบริหารภาครัฐไม่ต่างกับภาคเอกชนก็คือ คุณสมบัติของผู้บริหารที่ดีของภาครัฐและเอกชน เช่น การมีความห่วงใยกังวล,ความอบอุ่นใจกับผู้ร่วมงานในองค์กรทุกคน ที่เหมือนกัน

สรุป จุดหมายปลายทางชีวิตของการทำงานก็คือ  การเป็นคนดีของสังคม ทำประโยชน์ให้สังคมและคืนประโยชน์ให้สังคมโดยไม่ทำให้ตนเองและผู้อื่นเดือดร้อน  ซึ่งดิฉันคิดว่ามีประโยชน์ในการนำมาใช้ในชีวิตประจำวันและการทำงานต่อไปและเพื่อเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ที่ดีต่อไปค่ะ
เรียนศร.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  อาจารย์วสุ  แสงสีแก้ว รวมถึงอาจารย์ทุกท่านและท่านผู้อ่าน  ดิฉันนางสาว อรุณี แซ่ตั้ง นักศึกษาปริญญาโท การจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง   เมื่อวันอาทิตย์ที่ 5 สิงหาคมผ่านมา อาจารย์วสุ  แสงสีแก้ว ได้เสียสละเวลามาสอน ซึ่งการเรียนการสอนในวันนั้นเป็นไปอย่างสนุกสนานเป็นกันเอง อาจารย์ได้สร้างบรรยากาศในการเรียนแบบผ่อนคลาย คล้ายๆกับเป็นการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน ทำให้ได้เข้าใจ ในทฤษฏี 4’L ของศร.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  มากขึ้น ถ้ามีการสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ที่ดี ไม่มีความเครียด นั้นจะทำให้สมองปลอดโปร่งสามารถรับสิ่งต่างๆ ได้ดีและไม่มีอคติซึ่งจะส่งผลให้การเรียนรู้มีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนั้นอาจารย์วสุ ยังได้ให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมในองค์กรไม่ว่าจะเป็นในฐานะของน้องใหม่ขององค์กร หรือ รุ่นพี่ในองค์กร เพราะแต่ล่ะองค์กรมีวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน หากสามารถปรับตัวให้เข้ากับองค์กรได้ก็จะสามารถทำงานได้อย่างมีความสุข เพราะความสุขในการทำงานเป็นเรื่องสำคัญ การทำงานด้วยความสุขงานก็ย่อมออกมาดีด้วย  นอกจากนั้น อาจารย์ยังย้ำให้รู้จักช่วยเหลือคนอื่นและทำตัวให้เป็นคนดีของสังคม เพราะสุดท้ายแล้วความดีเท่านั้นที่จะคงอยู่ตลอดไป และเป็นสิ่งที่ทำให้ตัวเรามีคุณค่ามากกว่าทรัพย์สินเงินทองอื่นๆ สุดท้ายนี้ขอขอบคุณอาจารย์วสุ  แสงสีแก้วสำหรับบรรยากาศการเรียนรู้ที่ดี และความรู้ที่อาจารย์ได้มอบให้ด้วยค่ะ

     เรียน อ.จีระ , อ.จิ๊บ ,  ทีมงาน  Chira Academy และผู้อ่านทุกท่าน  ผม นายวรพจน์  สู่เสน  นักศึกษาปริญญาโท สาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร  คณะเทคโนโลยีการเกษตร  สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

     เนื่องจากวันที่ 5/8/50 ที่ผ่านมา ผมได้มีโอกาสเรียน HR กับ อ.วสุ  แสงสิงห์แก้ว ( อ.จิ๊บ )  โดยประเด็นที่เรียน จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับประสบการณ์จริง กับการทำงานทางด้าน HR  ทั้งในและต่างประเทศ  ซึ่ง อ.จิ๊บ  ได้ให้แง่คิดต่างๆ ที่ผมพอจะจับประเด็นได้ดังนี้

     1. Change Management   การเปลี่ยนแปลง มีอยู่เสมอ ( เป็นเรื่องธรรมดา ) ผู้บริหารที่ดี ต้องจัดการและรับมือกับการเปลี่ยนแปลงนั้นได้

    2. ความสุข  การกระทำใดๆก็ตาม อย่าเน้นที่ผลประโยชน์เป็นหลัก ให้ดูที่ความสุขที่จะได้รับด้วย  เช่นการทำงาน ณ.ปัจจุบันของแต่ละคน มีความสุขดีหรือไม่  ถ้าไม่ มีทางไหนที่จะปรับปรุงให้มีความสุขขึ้นหรือเปล่า

    3. การเป็นหัวหน้าที่ดี   เมื่อมองถึงหัวหน้า ในมุมมองของลูกน้องแล้ว ย่อมมีอยู่ 2 อย่าง คือ เป็นที่รักและเป็นที่เกลียดชัง  การประพฤติตัวอย่างไรให้เป็นที่รักของลูกน้องนั้น ต้องมีความเมตตา ความอบอุ่น พร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือกับลูกน้อง อย่าปัดความรับผิดชอบ ด่าทอ ( พวกฟ้องนายขายเพื่อน ) แล้วคุณจะเป็นหัวหน้าที่ดี ที่เมื่อคุณ ตายจากองค์กรนั้นๆไปแล้วแต่ชื่อเสียงของคุณยังคงอยู่

    4. หลักรัฐศาสตร์ และ หลักนิติศาสตร์ มีความสำคัญทั้งคู่ แต่บางครั้ง การใช้รัฐศาสตร์ ช่วยให้ทำอะไรได้สะดวกมากขึ้น เรื่องต่างๆดูเบาลงได้ ถ้าบางครั้งยึดกับตัวกฎมากเกินไปปัญหาอาจลุกลามใหญ่โตได้  ( เน้นการมี connection + network ที่ดี )

    5. เพื่อน   การมีเพื่อนเป็นสิ่งที่ดี ยิ่งมีเพื่อนที่ดีมากเท่าไร การกระทำต่างๆ จะง่ายขึ้นเท่านั้น สามารถเอื้อประโยชน์กันได้ ( แต่ต้องไม่ผิดจริยธรรม )

 

    โดยสรุปแล้ว อ.จิ๊บ เน้นให้อยู่ในสังคมอย่างมีความสุข และให้มี เพื่อน ให้มากๆ การกระทำสิ่งใดๆก็ตามจะราบรื่น  สิ่งต่างๆที่ อ.จิ๊บ สอนมานี้ ผมจะนำไปประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวัน ซึ่งสามารถใช้ได้จริง อย่างเห็นได้ชัด       

                                                  ขอบคุณครับ

                                                     วรพจน์

อรนุช หล่ำสกุลไพศาล

กราบเรียน ศ.ดร.จีระ, อ.วสุ และท่านผู้อ่านทุกท่าน ดิฉัน น.ส.อรนุช หล่ำสกุลไพศาล ID.50066214 นักศึกษาระดับ ป.โท สาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง จากการที่ได้มีโอกาสฟังการบรรยายในชั่วโมงการเรียนวิชา การจัดการทรัพยากรมนุษย์ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 5 สิงหาคม 2550 กับ อ.วสุ แสงสิงห์แก้ว สามารถจับประเด็นได้ 3 ประเด็นดังนี้

ประเด็นแรก เรื่องการเป็นนักบริหารที่ดีต้องมี Information มีนโยบายที่ชัดเจน มี Connection และรู้ ความต้องการทั้งของตัวเอง ลูกน้อง และลูกค้า ถามตัวเองอะไรเกิดขึ้นวันนี้ เมื่อวานเกิดอะไรขึ้น ที่สำคัญในการทำงานของเรา Connection เป็นสิ่งที่สำคัญ การสื่อสารที่ดีสามารถขจัดความขุ่นข้องหมองใจสามารถทำให้สิ่งที่ยากเป็นสิ่งที่ง่ายระหว่างเจ้านาย ลูกน้อง และลูกค้า

ประเด็นที่สอง อาจารย์ได้เล่าประสบการณ์ให้พวกเราได้ฟังกัน พร้อมกับเปรียบเทียบในเรื่องของการทำงานว่า เมื่อเราแรกเข้าทำงานทุกคนเปรียบเสมือนน้ำเต็มแก้ว คนเรามักสร้างกำแพงที่มองไม่เห็นจึงมักเกิดความขัดแย้งเมื่อเราจริงจังมากเกินไปมักยอมรับความล้มเหลวของตัวเองไม่ได้ แต่ถ้าหากเราเป็นแก้วเปล่า ทำให้กลมกลืน รู้จักที่จะอ่อนน้อมถ่อมตน ให้เกียรติกัน แต่มีหลักการหรือจุดยืนของตัวเอง ค่อยๆที่จะสร้างบารมีไป

 

ประเด็นที่สาม ข้อคิดสุดท้ายที่อาจารย์ให้ คือโค้งสุดท้ายเมื่อเรากำลังจะออกจากงานไม่ว่าเราจะเป็นระดับผู้บริหารระดับสูงแค่ไหนหากเราไม่เคยทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อองค์กรเอาแต่อยู่ไปวันๆ ไม่เป็นที่น่าจดจำ ที่น่านับถือก็ไม่มีค่าอะไร เมื่อเทียบกับผู้จัดการธรรมดาที่ได้สร้างแนวทางไว้ให้คนรุ่นหลังที่ใครๆก็ให้ความเคารพอย่างจริงใจเป็นที่น่าจดจำ ทำให้นึกถึงหนังสือ HR พันธ์แท้ของท่านพารณและ อ.จีระ ที่เป็นผู้หนึ่งที่เป็นที่น่าจดจำ เป็นแนวทางให้กับลูกน้องในองค์กร เป็นที่น่านับถือไปตลอดกาล

อาจารย์ได้ส่งท้ายเรื่องการเป็นคนดี 3 ประการว่าอย่าทำให้ตนเองเดือดร้อน, อย่าทำให้คนอื่นเดือดร้อน และ มีความสุขกับสิ่งที่ตัวเองมีอยู่อย่างพอเพียง จากเอกสารที่ อ.วสุ ให้เป็นข้อคิด คติดีๆ โดยส่วนตัวเห็นว่าเอกสารชุดนี้สามารถใช้ได้ในทุกสถาน หยิบขึ้นมาอ่านได้ทุกเมื่อจึงขอยกข้อคิด และคติดีๆ ที่อาจารย์ได้ให้มาใส่ไว้ใน Blog ให้ได้อ่านกันค่ะ

มิตตะรูเปนะ พะหะโว ฉันนา เสวันติ สัตตะโว แปลว่า ศัตรูจำนวนมากที่คบหา แฝงมาโดยรูปแห่งมิตร.

 

การมีเพื่อนฝูงมากก็ยิ่งมีหนทางเดินมาก More friends More ways  

การรู้จักคนมาก ดีกว่าจะเก่งกาจมาก Know “WHO” is better than know “HOW”
กราบเรียนอาจารย์ จีระ หงส์ลดารมภ์, อาจารย์ วสุ และท่านผู้อ่านทุกท่าน ดิฉัน นางสาว เริงหทัย สำราญ นักศึกษาปริญญาโท คณะเทคโนโลยีการเกษตร สาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เมื่อวันอาทิตย์ที่ 5 สิงหาคม 2550 ที่ผ่านมา ทาง อาจารย์วสุ แสงสิงห์แก้ว (พี่จิ๊บ) ได้ให้เกียรติมาเป็นวิทยากรให้ความรู้ ในรายวิชา การจัดการทรัพยากรมนุษย์ ในหัวข้อ ประสบการณ์ในการทำงาน (ในกระทรวงการต่างประเทศ) ซึ่งได้รับความรู้จากประสบการณ์จริงจากการทำงาน การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ในบทบาทของกระทรวงต่างประเทศ ต่อคนไทยในต่างแดน ซึ่งดูแลตั้งแต่เรื่องสวัสดิการ ความเป็นอยู่ และให้ความช่วยเหลือกับคนไทยในต่างแดนในทุกๆ ด้าน นอกจากนี้ยังได้รับการถ่ายทอดแนวความคิดในการทำงาน ผู้บริหารที่ดีต้องเตรียมพร้อมในการพบและเผชิญกับสภานการณ์ที่เข้ามาในทุกรูปแบบ ซึ่งต้องอาศัย ทั้งความรู้ ความชำนาญ และเครือข่าย(Connection) การมีเครือข่าย คือการทีเรามีมิตร รู้จัก และคุ้นเคย กับทั้งภาคธุรกิจ ที่สามารถเอื้อประโยชน์กันได้ ก็จะสามารถทำให้สิ่งที่ยากเป็นเรื่องง่ายได้ ดังพุทธสุภาษิตทรงกล่าวว่า วิสสาสะ ปรมา ญาติ ความคุ้นเคยเป็นญาติอย่างยิ่งใหญ่ ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการดำเนินชีวิต ให้สามารถดำเนินชิวิตอย่างมีความสุข ซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกคนปรารถนานั่นเอง
สวัสดีอาจารย์จีระ,อาจารย์วสุที่เคารพ และสวัสดีท่านผู้อ่านทุกท่าน  เนื่องจากดิฉันได้มีโอกาสเข้าเรียนกับท่าน อาจารย์วสุเมื่อวันที่ 5  สิงหาคม 2550 มีประเด็นที่ได้เรียนรู้ดังนี้1.การปฏิบัติตัวให้เหมือนแก้วที่ว่างที่สุดหรือมีน้อยที่สุด เพื่อที่จะได้สามารถรับสิ่งที่ดีๆเพิ่มได้ เพื่อที่จะได้สร้างบารมีควบคู่ไปด้วยซึ่งในการสร้างบารมีจะต้องอาศัยระยะเวลาในสร้างสมไว้(พิสูจน์ให้ผู้อื่นทราบด้วยการกระทำที่ตั้งใจจริง,มุ่งมั่น และจะต้องมีการอ่อนน้อมถ่อมตนประกอบด้วย ฯลฯ )2.การก้าวหน้าแบบยั่งยืนจะต้องทำให้เป็นที่รักของคนทั่วไปด้วย3.ผู้บริหารที่ดี จะต้องมีการพัฒนาตนเองตลอดเวลา คือต้องทราบสิ่งที่เกิดแล้ว และสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น รวมทั้งสามารถพยากรณ์สิ่งที่จะเกิดในอนาคตได้ เพื่อที่จะได้วางแผนได้ถูกต้อง

4.การทำงานหรือเรียนจะต้องทำอย่างมีความสุข โดยการเริ่มต้นจากตัวเราเองก่อน กล่าวคือจะต้องรักงานที่ทำหรือรักเรื่องที่เรียน    

5.ในมุมมองของความสุข ไม่มีผู้ใดที่มีแต่ความสุข หรือ มีแต่ความทุกข์ ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วควรมองว่า ทุกข์มากหรือทุกข์น้อย จะเห็นได้ว่าการที่เมื่อไรก็ตามที่เรามีทุกข์น้อย นั่นหมายความว่า เรามีความสุขอยู่ด้วย6.จงอย่ากลัวการเปลี่ยนแปลง 7.ความแตกต่าง และ ความเหมือน ในการบริหารภาคเอกชนและภาครัฐ    ความแตกต่าง :   7.1ภาคเอกชนจะเน้นกำไรสูงสุด การตัดสินใจเชิงนโยบายสามารถกระทำได้อย่างรวดเร็ว และมีการใช้ต้นทุนของตนเอง    7.2ภาครัฐ มีการใช้ต้นทุนจากภาษีที่เก็บจากประชาชน และมีผู้บริหารที่จะมีหน้าที่บริหารเงินทุนดังกล่าวเพื่อประเทศชาติการทำงานหรือเรียนจะต้องทำอย่างมีความสุข โดยการเริ่มต้นจากตัวเราเองก่อน กล่าวคือจะต้องรักงานที่ทำหรือรักเรื่องที่เรียน     ความเหมือน :    ทั้งภาคเอกชนและภาครัฐ จะไม่แตกต่างกันในเรื่องของความรู้สึกของผู้ใต้บังคับบัญชา(ลูกน้อง) หากมีการบริหารโดยผู้บริหารที่ดี8. การเป็นคนดีของสังคม คือ การที่ไม่ทำให้ตัวเองเดือดร้อน , ไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน และ ไม่ทำให้สังคมเดือดร้อน9. การวัดความเป็นที่รักของผู้อื่น สามารถวัดได้จาก งานศพ ซึ่งหากมีคนรักมาก จะพบว่าแม้จะเสียชีวิตไปแล้ว แต่ชื่อยังคงถูกจารึกไว้ในหัวใจของคนอื่น ดังนั้นในงานศพจะมีผู้คนไปร่วมไว้อาลัยจำนวนมาก แต่ในทางกลับกัน หากในช่วงที่มีชีวิตอยู่ไม่ได้ทำตนให้เป็นที่รักของคนอื่นแล้ว ยามตายไป ก็จะไม่มีคนไปร่วมไว้อาลัยในครั้งสุดท้าย10.คติที่น่าสนใจที่ได้รับมามีหลายๆคติด้วยกัน แต่ที่ประทับใจได้แก่      ความร่ำรวยก็เป็นสิ่งดี      ความแข็งแรงก็เป็นสิ่งดีอีกอย่าง      แต่สิ่งที่ดีกว่าก็คือการเป็นที่รักของเพื่อนฝูงมากๆ      แต่ในการคบหาสมาคมกับผู้คนเพื่อให้มีเพื่อนฝูงมากๆนั้น คงต้องมีการระมัดระวังด้วยเช่นกัน ดังคติที่ว่า      ศัตรูจำนวนมากที่คบหา แฝงมาโดยรูปแห่งมิตร
เรียนท่านศ.ดร.จีระ  ท่าน อ.ยม  ท่าน อ.ประกาย  ท่าน อ.วสุ  ท่านผู้อ่าน  และเพื่อนนศ. ปริญญาโททุกท่าน    ดิฉัน น.ส.สุพิชฌาย์  หนูขาว  นักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง  คณะเทคโนโลยีการเกษตร  สาขาวิชาบริหารธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร       จากที่ได้เข้าร่วมเรียนรู้และแชร์การถ่ายทอดประสบการณ์จากท่านอ.วสุ  แสงสิงห์แก้ว  ( หรือพี่จิ๊บ  )  เมื่อวันที่5  ส.ค.  2550  ( 9.00 - 12.00 )  ปัจจุบันท่านปฏิบัติงานราชการที่กระทรวงการต่างประเทศ  มาเป็นเวลาถึง  18  ปี  ท่านได้ให้แนวทางการปรับตัวให้เข้ากับองค์กรใหม่คือ  1. ต้องมองโลกในแง่บวก  ( Positive)  2. รู้จักวัฒนธรรมองค์กร  3. ทำตัวให้เหมือนแก้วที่ว่างพร้อมที่จะถูกเติมน้ำตลอดเวลา    ธรรมชาติคนเราต้องการที่จะเจริญเติบโตก้าวหน้าในหน้าที่การงาน  และชีวิตทุกคน  เริ่มต้นจากจุดล่างสุด  ค่อย ๆ เติบโตไต่เต้า  มีความมุ่งมั่น  มีเพื่อน  มีผู้ใต้บังคับบัญชา  ต้องมีปฏิสัมพันธ์ทุกทิศ       หลักการเป็นผู้บริหารที่ดี  1. ต้องเตรียมพร้อมรับสถานการณ์ทุกรูปแบบ  2.  ไม่หยุดนิ่งที่จะเรียนรู้พัฒนาตัวเองอยู่ตลอดเวลา  3.  ต้องมี  connection ทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย  ลดขั้นตอนให้กระชับ  ฉับไว   ทั้ง  3 ข้อปฏิบัติ  จะทำให้เกิดประสิทธิภาพผลงานที่ทำ  คือ  ความสุข  ตามหลักพุทธศาสนา  ความสุขไม่มี  100  % เต็ม หากแต่จะมีคำว่าทุกข์มาก และทุกข์น้อยเท่านั้น ตามหลักทฤษฎี ท่านศ.ดร.จีระ  คือการมีทุนทางความสุข  ( Happiness  Capital )  1. สุขเกิดจากที่ทำงาน  คือการรักในงานที่ทำ  ถ้าคุณรักงานที่ทำ คุณจะไม่มีคำว่าทำงานในงานที่ทำ  เพราะทุกวันก็คือชีวิตการทำงาน    ส่วนการมองจุดสูงสุดของชีวิต  รางวัลแห่งชีวิตไม่ใช่อยู่ที่เม็ดเงิน  หากแต่ดูจากที่คนจะระลึกชื่อเราได้มีเราในใจมากน้อยแค่ไหน  เราได้ทำประโยชน์ต่อสังคมมากน้อยแค่ไหน  ดูจาก  การเกษียรอายุ  การป่วย  และการตาย หลักการดำรงชีวิต  ต้องหาตัวเองให้เจอ  อยู่กับอะไรแล้วเรารู้สึกดี  เราสามารถค้นพบตัวเองได้ตลอดเวลา  ตลอดช่วงอายุต้องอาศัย  วัย  วุฒิภาวะ  อารมณ์  ประสบการณ์  ที่จะมุ่งมั่นไปในทิศทางคร่าว ๆ   10  ปีแรกอย่าจำกัดตัวเอง  หาจุดตรงกลางให้เจอและเราจะพบตัวเองและควรยึดหลักการปฏิบัติตน  คือ 1. อย่าทำให้ตัวเองเดือดร้อน  2. อย่าทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน  3. ให้แก่สังคมตามแต่โอกาสจะอำนวย  (พอเพียง)  พอประมาณตนสิ่งเหล่านี้จะเป็นแนวทางชี้นำและสามารถนำเอามาประยุกต์ใช้ให้มุษย์สามารถดำรงตนให้อยู่ร่วมกันและก่อให้เกิดประโยชน์บ้านเมืองพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไปได้  
กราบเรียนศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ , คุณวสุ และท่านผู้อ่านทุกท่าน ดิฉันนางสาวกัญญารัตน์  ลาภเดโช นักศึกษาปริญญาโทสาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง       เมื่อวันอาทิตย์ที่ 5 สิงหาคม 2550 ที่ผ่านมา ทาง อาจารย์วสุ  แสงสิงห์แก้ว ได้ให้เกียรติมาเป็นวิทยากรให้ความรู้ ในรายวิชา การจัดการทรัพยากรมนุษย์ ในหัวข้อ ประสบการณ์ในการทำงาน (ในกระทรวงการต่างประเทศ)  สิ่งที่ได้รับจากการเรียนประเด็นแรก  ผู้บริหารต้องมีความเตรียบพร้อมเสมอ  คือต้องพร้อมที่จะแก้ไขปัญหาที่จะเกิดขึ้นเฉพาะหน้า  อีกทั้งการเตรียมพร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งให้ใหม่   การที่จะยอมรับและทำตัวเองให้มีความสุขเมื่อต้องเกิดการเปลี่ยนแปลง  เช่น  ตำแหน่งหน้าที่งาน  การย้ายที่ทำงาน  หรือแม้กระทั่งการที่เปลี่ยนหัวหน้างานของเราที่มีผลต่อเรา    ประเด็นที่สอง  การมีConnection  ทั้งในและนอกองค์กร   ภายในองค์กรมีการเชื่อมโยงระหว่างทุกคนในองค์กรไม่ว่างในตำแหน่งงานเดียวกัน  หรือในตำแหน่งที่สูงกว่าและต่ำกว่าเรา   การมีมนุษยสัมพันธ์การสร้างความสำพันธ์อันดีแก่งคนในองค์กรนั้นแล้วจะทำให้เกิดความราบรื่นในเวลาทำงานและนอกเวลางาน   ภายนอกองค์กร  ทำให้เกิกความราบรื่นในเรื่องของการติดต่อสัมพันธ์  จะช่วยให้งานที่ได้รับมอบหมายสำเร็จลุล่วงได้อย่างดีและรวดเร็วประเด็นที่สาม  การเป็นคนดี 3 ประการว่าอย่าทำให้ตนเองเดือดร้อน, อย่าทำให้คนอื่นเดือดร้อน และ มีความสุขกับสิ่งที่ตัวเองมีอยู่อย่างพอเพียง
นายอานนท์ ร่มลำดวน
เรียน ศ.ดร จีระ หงส์ลดารมณ์ , ท่านอาจารย์ยม , อาจารย์ประกาย ,อาจารย์วสุ และสวัสดีพี่ๆ Chirra academy ทุกๆท่าน ตลอดจนผู้ที่ติดตาม Blog ของพวกเรานักศึกษา ป.โท ลาดกระบังทุกๆท่าน เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมาพวกเราได้รับเกียรติจากท่านอาจารย์ วสุ แสงสิงห์แก้ว มาบรรยายแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกันโดยท่านได้เปิดมุมมองในด้านการบริหารงานโดยเน้นไปที่ในส่วนของภาครัฐเป็นหลัก โดยยกตัวอย่างในการทำงานและบริหารงานในด้านกระทรวงการต่างประเทศที่ท่านได้มีประสบการณ์เข้ามาประกอบตัวอย่างเพื่อให้พวกเราได้สามารถเห็นภาพได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้นซึ่งประเด็นหลักๆที่ผมจับใจผมและผมขออนุญาติมาร่วมแบ่งปันความรู้กับเพื่อนชาว Blog ประกอบไปด้วย 1.การบริหารความเปลี่ยนแปลง ท่านอาจารย์ได้ให้แง่คิดในการบริหารการเปลี่ยนแปลงไว้เป็นแนวทาง เนื่องจากท่านทำงานในกระทรวงต่างประเทศซึ่งมีการย้ายหน่วยงานเป็นประจำ หรือไม่ก็ต้องผลัดเปลี่ยน หมุนเวียนไปทำงานที่ต่างประเทศ ดังนั้นในเรื่องการบริหารการเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องที่ท่านต้องใช้เป็นประจำ เมื่อต้องย้ายหน่วยงานหรือสถานที่ โดยท่านมีแนวความคิดว่า การที่เราเมื่อเข้าไปอยู่ในช่วงสภาวะการ เปลี่ยนแปลงนั้นต้องปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ เราต้องทำเป็นแก้วที่น้ำอยู่เพียงครึ่งใบ พร้อมที่จะรับ สิ่งต่างๆเข้ามาเสมอ ซึ่งสอดคล้องกับแนวความคิดของท่านอาจารย์ จีระว่าคนเราต้อง เรียนรู้ตลอดชีวิต พร้อม รับสิ่งใหม่ๆตลอดเวลา ( Long Life Learning ) เพราะหากเราเป็นน้ำที่เต็มแก้วแล้วก็จะไม่สามารถรับ กับวัฒนธรรมหรือสิ่งใหม่รอบตัวได้ เราก็จะเหมือนมีกรอบหรือกำแพงกั้นตัวเองอยู่ คนที่จะเข้ามาหาเราก็จะตั้ง กำแพงใส่เราเช่นกัน ทำให้การเปลี่ยนแปลงนั้นเกิดได้ค่อนข้างยาก 2.การเป็นคนเก่ง - คนดี ( ทุนแห่งจริยธรรม ) โดยท่านได้ยกตัวอย่างในการทำงานของภาครัฐซึ่งจริงๆ แล้วสามารถนำไปใช้กับทุกหน่วยงานได้ ก็คือการเป็นคนเก่งและคนดี ยิ่งถ้าเป็นในการทำงานของภาครัฐแล้ว ยิ่งต้องยึดถือข้อนี้เป็นสำคัญเนื่องจากการเงินที่ได้มาในการทำงานของภาครัฐได้มาจากภาษีของประชาชนใน ประเทศ หากเป็นคนเก่ง แต่ไม่ใช่คนดีหรือมีคุณธรรมและจริยธรรมแล้วนั้นก็จะนำพาให้ประชาชนหรือ ประเทศชาติไปสู่ในทางที่ไม่ดีได้ หรือการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐเพิกเฉยต่อประชาชน หรือไม่ค่อยใส่ใจความ เป็นอยู่ของประชาชน เช่น ประชาชนคนไทยที่ไปอยู่ต่างประเทศทั้งที่ถูกกฎหมายและผิดกฎหมาย หาก ภาครัฐหรือสถานฑูต ไม่ได้ใส่ใจเรื่องของคุณธรรมและจริยธรรมแล้วก็ย่อมจะไม่ใส่ใจกับผู้ที่หนี หรือลับลอบ เข้าเมืองมา แต่ในความเป็นจริง สถานฑูตนั้นพยายามที่จะให้ความช่วยเหลือและดูแลทุกคนเท่าเทียมกัน เนื่องจากตระหนักว่าเป็นคนไทยเหมือนกัน และพยายามให้คนเหล่านั้นถ้าต้องการเข้ามาทำงานก็ให้เข้ามา ทำงานอย่างถูกกฎหมาย เป็นต้น 3.ทุนแห่งความสุข ท่านอาจารย์ได้ให้แนวคิดซึ่งก็ตรงกับทฤษฎีของท่านอาจารย์ จีระ ที่ว่าในการทำอะไรก็ตาม ให้ทำด้วยความสุข เปรียบเทียบกับการทำงานถ้าเราทำงานที่เรามีความสุขแล้วก็จะเหมือนกับการที่เราไม่ได้ ทำงาน ดังนั้นจึงให้หาความสุขในงานหรือสิ่งที่ทำโดยงานนั้นอาจไม่ใช่ความสุขทั้งหมดก็ได้ แต่โดยรวมแล้ว เป็นสิ่งที่เราทำแล้วพอใจ มีสุขมากกว่าทุกข์หรือสิ่งที่ไม่ชอบ นั่นก็เพียงพอแล้วเนื่องจากการที่จะหาสิ่งที่ทำ แล้วมีความสุขทั้งหมดโดยไม่มีความไม่พอใจหรือทุกข์เลยคงหาได้ค่อนข้างยาก 4.ทุนแห่งความยั่งยืน เมื่อเราสามารถทำสิ่งต่างๆได้ดังที่กล่าวมาแล้วก็จะเกิดทุนที่ตามมานั่นก็คือทุนแห่งความ ยั่งยืน ยั่งยืนหมายถึงการที่เราทำงานนั้นได้อย่างต่อเนื่องๆ เนื่องจากเราเกิดความสุขนั่นเอง โดยท่านให้เราลอง กำหนดว่าเราจะวางชีวิตตัวเองไว้ที่ตรงไหน ลองกำหนดเป้าหมายของชีวิต และลงมือทำ ทำด้วยความสุข สร้าง connection หรือเพื่อนที่ดีๆ ไว้ให้มากๆ วางตัวอยู่ในคุณธรรมและจริยธรรม ก็จะเกิดความยั่งยืนใน ชีวิต ซึ่งท่านอาจารย์ ก็ยกตัวอย่างของคุณเต๋อ เรวัติ ให้ฟังว่าท่านเป็นผู้บริหารที่เยี่ยมคนนึงและประสบ ความสำเร็จอย่างมากในการบริหารในด้านดังที่กล่าวมาทั้งหมด จะเห็นได้ว่าใครๆก็รัก และยังคิดถึงท่านเสมอ แม้ว่าท่านเองจะล่วงลับไปหลายปีแล้วก็ตาม สังเกตุได้จากการที่ไม่ว่าจะทำอะไรที่จะรำลึกถึงคุณเต๋อ หรือ ครอบครัว ทุกๆคนจะเต็มใจกันมาช่วยอย่างมาก สุดท้ายที่ท่านอาจารย์ฝากไว้ให้คิดคือการจะทำให้สุดท้ายให้ดูที่ความยั่งยืนว่าเมื่อเราจากไปคนจะคิดถึงเราในรูปแบบใด ซึ่งหากแม้ว่าเราจากไปในโลกนี้แล้วก็ตามหากในช่วงที่เรามีชีวิตเราได้สร้างทุนต่างๆไว้ดี เป็นคนดี ไม่เบียดเบียนตนเอง และผู้อื่น สร้างหรือตอบแทนแก่สังคมบ้างตามอัตภาพแล้วนั้น ชื่อของเราก็จะยั่งยืนอยุ่ในใจคน หรือประเทศชาติต่อไปตราบนานเท่านาน

เรียน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ อาจารย์วสุ แสงสิงแก้วและทีมงานทุกท่าน ผมนายพัฒนา ปลอดภัยงาม นักศึกษาปริญญาโท สาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

สิ่งที่ได้รับในการเรียนวันที่ 5 สิงหาคม 2550 นั้น

1.การที่จะเป็นที่เคารพรักและทำคุณประโยชน์ นั้นโดยหลักจะมาจากการที่เป็นที่มีทั้งพระเดชและพระคุณ การที่ได้มีตำแหน่งหน้าที่ในการงานทั้งเอกชนหรือราชการ ต่างก็ต้องมีการหมดวาระหน้าที่ ซึ่งตำแหน่งหน้าที่ต่าง ๆ นั้นก็เป็นเหมือนหัวโขนที่แต่ละคนจะมีบทบาทต่างกัน การที่พ้นจากวาระตำแหน่งหรือจากโลกใบนี้ไป ยังมีคนกล่าวถึงแต่สิ่งดี ๆ ที่เคยได้ทำมา แสดงความเคารพรักอยู่เสมอ ก็ต้องมาจากการทำความดีและเข้าใจและร่วมงานกับคนในองค์กรได้ดี สิ่งนี้ที่จะติดตัวหัวหน้างานไปตลอด ไม่ว่าจะร่วมงานอยู่หรือพ้นตำแหน่งไปแล้ว

2.การทำงานที่ชอบและถนัด ถ้าทุกคนได้ทำในสิ่งที่ชอบ ผลลัพธ์จากงานก็จะดี แต่การที่ได้ทำงานที่ไม่ชอบ บางครั้งก็ต้องทำเพราะความจำเป็นบางอย่าง ควรต้องทำงานนั้น ๆ ด้วยความสามารถที่มีให้ได้มากที่สุด เพราะผลงานที่ออกมานั้นเปรียบเหมือนเป็นกระจก ที่ส่องมองคนที่ทำ ว่าจะดีหรือไม่

ขอบคุณอาจารย์วสุ ที่ได้ให้คำสอน หลักธรรม และหลักปฏิบัติในการทำงานและการใช้ชีวิตครับ

 

  เรียน ศ.ดร จีระ หงส์ลดารมณ์ , ท่านอาจารย์ยม , อาจารย์ประกาย ,อาจารย์วสุ และทีมงาน Chirra academy ทุกๆท่าน และสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน  วันอาทิตย์ที่ผ่านมาผมได้รับเกียรติจากอาจารย์ วสุ  แสงสิงห์แก้ว ที่สละเวลามาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและให้มุมมองในด้านบริหารทรัพยากรมนุษย์ โดยเน้นไปที่ในส่วนของภาครัฐ โดยยกตัวอย่างในการทำงานและบริหารงานในกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งอาจารย์วสุได้มีประสบการณ์ตรงจากการรับราชการในกระทรวงการต่างประเทศ มีประเด็นหลักที่นำมาเสนอให้ชาว Blog ได้รับความรู้ดังนี้

1.   การที่เราจะทำงานและประสบความสำเร็จได้นั้น ก่อนอื่นเราต้องรู้จักหาความเป็นตัวของตัวเองความรักในงานที่เราได้ทำ ด้วยการให้เวลาในการทำงานและตอบคำถามให้ได้ว่าเป็นงานที่เราเต็มใจ สบายใจและรักที่จะทำแม้เกิดปัญหา หากเราพบว่างานที่เราทำนั้นเป็นงานที่เรารักเราจะสามารถจัดการกับปัญหา และทำงานด้วยความสุขแม้จะเกิดปัญหาใหญ่สักเพียงใด

2.   เราจะต้องพร้อมรับกันสถานการณ์ที่คาดไม่ถึง เช่น การย้ายที่ทำงาน การเปลี่ยนแปลงตำแหน่ง หากเราไม่มีการเตรียมตัวเตรียมใจไว้ล่วงหน้าหากเกิดปัญหา อาจจะทำให้เกิดความไม่สบายใจและไม่อยากทำงานได้

   3.ในการทำงานเราต้องมีการติดต่อสื่อสารกันทั้งในองค์กรและนอกองค์กร การสื่อสารที่ดีทำให้เราประสบความสำเร็จในงานที่ได้รับมอบหมายได้

    4.เราต้องมีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น เอาใจเขามาใส่ใจเรา มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ไม่ใช่คนที่เห็นแก่ตัว ทำสิ่งใดตามใจตนเอง ทำตนเป็นตัวอย่างที่ดีแก่คนในองค์กร สร้างผลงานให้คนรุ่นหลังได้ใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติตน และใช้ผลงานในทางสร้างสรรค์เพื่อให้สังคมดำเนินต่อไปได้อย่างมีความสุข ความเจริญต่อไป

 
เรียน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์, อ.วสุ  แสงสิงห์แก้ว สวัสดีเพื่อนๆ AFIM6 และท่านผู้อ่านทุกท่าน  ผมนายปริญญา  รักพรหม นักศึกษา ป.โท สาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง สำหรับการเรียนในวันอาทิตย์ที่ 5 ส.ค.50 ที่ผ่านมาซึ่งก็ได้รับเกียรติจาก อ.วสุ ที่ได้เสียสละเวลามาถ่ายทอดประสบการณ์การทำงานและแลกเปลี่ยนความรู้ในด้านการบริหารงานระหว่างประเทศในชั้นเรียน การเรียนในวันนี้เป็นการเรียนแบบ Two way โดยไม่ต้องใช้สไลด์ ซึ่งเป็นบรรยากาศการเรียนที่เน้นการมีส่วนร่วมของผู้เรียนเป็นอย่างดี ตามแนวทางทฤษฏี 4 L’s ของ อ.จีระ ครับ. จากการได้สนทนาและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน มีประเด็นสำคัญ อยู่ 2 เรื่องที่ผมคิดว่าเป็นข้อคิดที่ดีสำหรับการทำงานด้านการบริหาร คือ 

1.     แนวทางการทำงานให้ก้าวหน้าอย่างมีความสุข - ซึ่งเมื่อมีโอกาสได้ทำงานในตำแหน่งผู้บริหารจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีความรอบรู้ข่าวสาร ความเคลื่อนไหว ความเปลี่ยนแปลงของโลก อยู่ตลอดเวลา เพื่อให้มีความทันสมัยและเพื่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้สิ่งที่ลืมไม่ได้เลยก็คือ การเปิดใจกว้างยอมรับความเห็นที่แตกต่าง การทำตัวให้เปรียบเสมือนแก้วน้ำที่ไม่เต็มเพื่อที่สามารถรองรับข้อมูลหรือสิ่งใหม่ๆ เข้าไปอยู่เสมอ ถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญสำหรับทุกคนที่ต้องการจะพัฒนาการทำงานให้บรรลุตามเป้าหมาย

2.     การเป็นผู้บริหารที่ดี มีคุณธรรม ย่อมจะได้รับความรัก ความเคารพจากลูกน้องและเพื่อนร่วมงานเสมอทั้งในช่วงเวลาทำงานหรือเมื่อเลิกทำงานไปแล้ว ดังนั้น จึงเป็นข้อคิดที่ดีสำหรับผู้ที่กำลังจะก้าวไปสู่ตำแหน่งผู้บริหารในอนาคตว่าจะเป็นผู้บริหารแบบไหนถึงจะได้ใจลูกน้องและเพื่อนร่วมงาน

 

สุดท้ายแล้วก่อนจะจบชั่วโมงเรียน อ.วสุ ก็ได้ฝากและย้ำให้นักศึกษาได้คิดอีกครั้งสำหรับการเป็นผู้บริหารนั้นไม่ว่าจะเป็นการบริหารงานในตำแหน่งใดหรือในองค์กรไหนก็ตามควรจะมีการสร้างประโยชน์กลับคืนสู่สังคมบ้างเพื่อการพัฒนาสังคมให้น่าอยู่และมีความสุขมากยิ่งขึ้น.
กราบเรียนท่านศ.ดร จีระ หงส์ลดารมณ์  อาจารย์วสุ แสงสิงห์แก้ว อาจารย์ยม นาคสุข และ อาจารย์ประกาย ดิฉันนางสาววรนรี  พันธุสังข์  นักศึกษาปริญญาโท สาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง  เมื่อวันอาทิตย์ที่ 5 สิงหาคม 2550 ที่ผ่านมาพวกเราได้รับเกียรติจากท่านอาจารย์ วสุ แสงสิงห์แก้ว มาบรรยายให้แก่พวกเราและได้แลกเปลี่ยนความรู้ทำให้พวกเราได้มีโอกาสได้เปิดโลกทัศน์ในด้านการบริหารงานอีกด้านหนึ่งคือการบริหารงานในส่วนของภาครัฐ โดยยกตัวอย่างในการทำงานและบริหารงานในด้านกระทรวงการต่างประเทศที่ท่านได้มีประสบการณ์เข้ามาประกอบการบรรยายให้พวกเราเข้าใจได้ง่ายขึ้นจากการบรรยายมีประเด็นต่างๆที่สำคัญและน่าสนใจดังนี้ประเด็นที่ 1 การเรียนรู้ที่จะปรับตัวให้เข้ากับสังคมและวัฒนธรรมขององค์กร โดยเริ่มจากตัวเราเองก่อน ต้องไม่สร้างกำแพงขึ้นมาก่อนที่เราจะเข้าทำงานในองค์กรใดๆ ไม่ว่าจะเพิ่งเริ่มทำงานเข้ามาในองค์กรหรือต้องย้ายจากที่หนึ่งมาอีกองค์กรหรืออีกวัฒนธรรมหนึ่งก็ตาม เพราะจะทำให้เกิดความขัดแย้งกับผู้อื่นได้ง่าย ควรรู้จักที่จะมีความอ่อนน้อมถ่อมตน เพื่อให้สามารถร่วมงานกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข เปรียบดังการที่เราเป็นแก้วที่มีน้ำอยู่เต็มแก้วก็เหมือนกับเรามีกรอบมีกำแพงกั้นไม่สามารถที่จะรับอะไรใหม่ หรือรับวัฒนธรรมใหม่ๆ ได้อีกทำให้ไม่เกิดการเรียนรู้กับสิ่งใหม่ๆ เราควรทำตัวเป็นแก้วเปล่าหรือแก้วที่น้ำอยู่เพียงครึ่งใบ พร้อมที่จะรับ สิ่งต่างๆเข้ามาเสมอ ทำให้เรารู้จักที่จะเรียนรู้ตลอดชีวิต พร้อม รับสิ่งใหม่ๆตลอดเวลา ประเด็นที่ 2 การรู้จักที่จะเป็นผู้บริหารที่ดี และเป็นคนดี ซึ่งในการเป็นผู้บริหารที่ดีนั้น ต้องรู้จักเผชิญกับสิ่งที่เกิดขึ้น จะต้องอาศัย ประสบการณ์ความรู้ความสามารถมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องรับข้อมูลข่าวสารต่างๆตลอดเวลาและรู้จักสร้าง connection ด้วยส่วนการเป็นคนดีนั้น คือ 1.อย่าทำให้ตัวเราเดือดร้อน 2. อย่าทำให้คนอื่นเดือดร้อน 3. ควรทำประโยชน์ให้กับสังคมตามกำลังของเรา (ความพอเพียง) ซึ่งหากเราเป็นทั้งผู้บริหารที่ดีและเป็นคนดีก็จะทำให้เราประสบความสำเร็จได้ทั้งในชีวิตประจำวันและหน้าที่การงานและดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุขประเด็นที่ 3 เรียนรู้ถึงความแตกต่างของการบริหารงานของภาครัฐและภาคเอกชน การบริหารงานของภาคเอกชนเป็นการนำเงินทุนมาจากเจ้าของกิจการ หรือแหล่งเงินทุน มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ได้ผลกำไรสูงสุดและมีการตัดสินใจเชิงนโยบายซึ่งสามารถทำได้อย่างรวดเร็ว เหล่านี้จะเห็นว่าแตกต่างกับการบริหารงานของรัฐ คือการบริหารงานของภาครัฐมีเงินทุนมาจากภาษีของราษฎร  ผู้บริหารเป็นผู้เข้ามารับเงินเดือน และขับเคลื่อนประเทศให้ดีขึ้น ในตอนท้ายนี้อาจารย์วสุยังได้ให้แง่คิดดีๆอีกหลายอย่างซึ่งทั้งหมดล้วนเป็นประโยชน์ทั้งต่อชีวิตประจำวันและการทำงาน ในการที่จะเป็นนักบริหารที่ดีไม่ว่าจะในภาครัฐหรือเอกชนใดๆก็ตามหากเรารู้จักที่จะทำดีแล้วก็ควรรู้จักที่จะทำเพื่อสังคมด้วยซึ่งสิ่งต่างๆเหล่านี้เป็นสิ่งที่ยั่งยืนเป็นการสร้างบารมีให้แก่ตนเองไม่เพียงแต่ในยามมีชีวิตเท่านั้นยังติดไปเป็นที่ชื่มชมและพูดถึงไปตลอดแม้เราจะไม่อยู่แล้วก็ตาม 

เรียนศร.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  อาจารย์พจนารถ  ซีบังเกิด รวมถึงอาจารย์ทุกท่านและท่านผู้อ่าน  ดิฉันนางสาว อรุณี แซ่ตั้ง นักศึกษาปริญญาโท การจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง  

เมื่อวันอาทิตย์ที่ 12 สิงหาคมผ่านมา อ. พจนารถ  ซีบังเกิด ได้มาสอนเรื่อง workforce alignment in an organization ซึ่งอาจารย์ได้ให้การบ้านเป็นการวิเคราะห์เกี่ยวกับ workforce alignment ภายในองค์กรที่สนใจ ซึ่งดิฉันได้เลือก AIS เนื่องจากเป็นองค์กรที่ประสบความสำเร็จและมีส่วนแบ่งทางการตลาดที่สูงที่สุดในตลาดเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้

วิสัยทัศน์

เป็นผู้นำที่ขับเคลื่อนอย่างไม่หยุดนิ่งในการสร้างสรรค์และนำเสนอบริการทางการสื่อสารที่ผสมผสานในรูปแบบต่างๆจากเครือข่ายสื่อสารโทรคมนาคม

 

พันธกิจ·        มุ่งมั่นสรรหาบริการใหม่ๆที่มีความพิเศษและแตกต่างซึ่งสอดคล้องการใช้ประโยชน์ในการดำเนินชีวิตประจำวันของผู้ใช้บริการ ·        มีเป้าหมายที่จะรักษาความเป็นผู้นำในด้านส่วนแบ่งรายได้ และมีผลกำไรที่เติบโตอย่างต่อเนื่องทุกปี·        มุ่งมั่นในการเพิ่มคุณค่าองค์กรและบุคลากร เพื่อให้ผู้ถือหุ้น นักลงทุน ผู้ใช้บริการ ตลอดจนผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายได้มูลค่าที่สูงขึ้น

·        มุ่งมั่นในการดำเนินกิจกรรมเพื่อตอบแทนสังคมของเราอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องตลอดไป

 

 

AIS ถือว่าเรื่อง “Brand Preference และ Brand Image” เป็นจุดแข็งของ  AIS  ด้วยความพร้อมของการเป็นผู้ให้บริการที่มั่นใจในคุณภาพที่ดีกว่าคู่แข่ง ไม่ว่าจะเป็นคุณภาพเครือข่าย , คุณภาพของการให้บริการ และ คุณภาพของช่องทางการจัดจำหน่ายที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ  ดังนั้นกลยุทธ์เรื่องราคาจึงไม่ใช่กลยุทธ์หลักแต่เพียงอย่างเดียว กลยุทธ์ที่สำคัญของ AIS จะเน้นด้านการบริการเสริมต่างๆให้แก่ลูกค้า เช่น ใช้แนวกลยุทธ์ทางการตลาดแบบ CMR (Customer Managed Relationships) คือ ให้ลูกค้าเลือกผลิตภัณฑ์และบริการที่ตรงความต้องการของตัวเองมากที่สุดโดยมีรูปแบบการบริการที่หลากหลายเพื่อให้สอดคล้องกับการใช้ชีวิตประจำวันของผู้ใช้บริการให้มากที่สุด ซึ่งบริการเสริมของ AIS มีหลากหลายรูปแบบไม่ใช่เป็นเพียงระบบเครือข่ายโทรศัพท์เพียงอย่างเดียว เช่น บริการออนไลน์ที่เป็นการให้บริการผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตซึ่งจะช่วยเพิ่มความสะดวกในการใช้งาน, AIS smart solution เป็นระบบสื่อสารที่รวมเอาเทคโนโลยีต่างๆมารวมกันเพื่อการจัดการในองค์กรธุรกิจที่มีประสิทธิภาพ เป็นต้น เพื่อให้สามารถสนองความต้องการที่แตกต่างของลูกค้าแต่ละรายให้เกิดความพึงพอใจสูงสุด  นอกจากนั้น AIS ยังได้ใช้กลยุทธ์ใหม่ที่เรียกว่า “IMP” (Integrated Marketing Power) ซึ่งจะเน้นเรื่องค่าโทรที่สามารถแข่งขันกับเครือข่ายอื่นๆได้ และยังคงเน้นในเรื่องบริการเสริมต่างๆ อีกเช่นเดิม

จากที่กล่าวข้างต้นจะเห็นว่ากลยุทธ์ของ AIS จะเน้นที่การให้บริการที่หลากหลายเพี่อสร้างความพึงพอใจสูงสุดให้แก่ลูกค้าผู้ใช้บริการ ซึ่งกลยุทธ์ดังกล่าวก็ถือว่าประสบผลสำเร็จพอสมควรเนื่องจากปัจจุบัน AIS มีส่วนแบ่งทางการตลาดกว่า 60% และกลยุทธ์ดังกล่าวสามารถที่จะตอบโจทย์ของ วิสัยทัศน์และพันธ์กิจของ AIS ที่ได้ตั้งไว้ได้

 

 

นอกจากนั้น AIS ยังได้ มีโครงการเพื่อสังคมเช่น โครงการสานรัก, กองทุน AIS เพื่อผู้สูงอายุ เป็นต้น ซึ่งถือเป็นกิจกรรมหนึ่งเพื่อตอบแทนสังคมซึ่งเป็นหนึ่งในพันธกิจที่ AIS ตั้งเป้าว่าจะทำให้สำเร็จ

จากที่กล่าวมาแล้วข้างต้นว่า AIS เน้นที่การให้บริการลูกค้าดังนั้น วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมภายในองค์กรน่าจะมีการปลูกฝังในเรื่องของ Service mind ความเต็มใจในการให้บริการลูกค้าเป็นหลัก นอกจากนั้นควรที่จะเน้นในเรื่องความรู้ทางเทคโนโลยีต่างๆ เพื่อให้มีการพัฒนาทางด้านนวัตกรรมใหม่ๆ ผสมผสานไปกับระบบเครือข่ายสื่อสารโทรคมนาคมเพื่อให้ เกิด เทคโนโลยีการบริการใหม่ๆ ที่ทันสมัยและตอบสนองต่อความต้องการที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของผู้บริโภคในยุคปัจจุบันได้

 

 

 

เรียน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์, อาจารย์พจนารถ ซีบังเกิด และท่านผู้อ่านทุกท่าน ดิฉันนางสาวนันทกา บุญสุข นักศึกษาปริญญาโท ภาควิชาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง จากการที่ดิฉันได้เข้าเรียนในวันที่ 12 สิงหาคม 2550 เวลา 9.00-12.00 น. (วันแม่แห่งชาติ) ในคาบเรียนนี้มี Assignment ในหัวข้อเรื่อง : Workforce Alignment in an Organization โดยมีคำถามว่า ให้ยกตัวอย่างหน่วยงานภาครัฐ หรือหน่วยงานเอกชนที่มีชื่อเสียงในประเทศ หรือต่างประเทศ วิเคราะห์และให้ความเห็นว่า ตาม Mission, Vision, Values, Goals/Objectives , และ/หรือ Brand Statement เหล่านั้น ท่านคิดว่าบรรยากาศในการทำงาน (Work Environment) ขององค์กรนั้นควรจะเป็นเช่นไรจึงจะทำให้องค์กรนั้นไปสู่ความสำเร็จ ดิฉันจึงเลือกองค์กรที่มีชื่อเสียงภายในประเทศด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่ทุกคนรู้จักกันเป็นอย่างดี คือ เครือซีเมนต์ไทย (SCG) “ Vision : เป็นผู้นำผลิตภัณฑ์ปูนซีเมนต์ในภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้      Mission : SCG จะเป็นผู้นำตลาดในภูมิภาคที่มุ่งดำเนินธุรกิจ ควบคู่กับการเสริมสร้างความเจริญก้าวหน้า อย่างยั่งยืนให้แก่อาเซียน และชุมชนที่เข้าไปดำเนินงาน มุ่งสร้างคุณค่าให้แก่ลูกค้า พนักงาน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย ภายใต้คุณภาพการบริหารงานระดับโลก Values : ตั้งมั่นในความเป็นธรรม มุ่งมั่นในความเป็นเลิศ เชื่อมั่นในคุณค่าของตน ถือมั่นในความรับผิดชอบต่อสังคม Goals : คนของเราทุกคน ล้วนเป็นส่วนหนึ่งของ SCG ที่ต้องได้รับการดูแล พัฒนา และมีโอกาสเติบโตในหน้าที่การงาน อย่างเท่าเทียมกันStrategies : แผนที่จะทำให้ SCG ไปถึงจุดหมาย1. Merit System : Promote excellent and good person ใช้ระบบคุณธรรมมีการโปรโมทยกย่องคนเก่ง ให้เลื่อนตำแหน่งขึ้นได้ตลอดเวลา2. Fairness : Committee/everyone มีความเป็นธรรม : มีเหตุผล มีข้อมูลสนับสนุนในการเลื่อนลำดับขั้น โดยใช้เครื่องมือ Person analysis3. Best recruit and retain : Labor market and business มีกระบวนการในการสรรหาที่ดีที่สุด4. Training and Development : Fully utilized capability จาก Vision, Mission, Values, Goals ของ SCG ดิฉันมีความคิดเห็นว่า การสร้างบรรยากาศในการทำงาน (Work Environment) ของ SCG เพื่อให้ SCG เป็นผู้นำผลิตภัณฑ์ปูนซีเมนต์ในภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้น SCG จะต้องมีการพัฒนาและคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆอยู่เสมอ ดังนั้น SCG ควรส่งเสริมทุกวิถีทางให้พนักงานทำงานด้วยความปลอดภัยและถูกสุขลักษณะ จัดบรรยากาศ และภาวะแวดล้อม ในสถานที่ทำงานให้พนักงานปฏิบัติงานอย่างอบอุ่น เสมือนหนึ่งคนในครอบครัวเดียวกัน กล่าวคือ โดยปกติบริษัทโดยทั่วไปจะมีห้องทำงานของผู้จัดการแยกเป็นเอกเทศน์กับห้องทำงานของพนักงาน ดังนั้นเพื่อให้เกิดการทำงานร่วมกันอย่างสร้างสรรค์ (Brain storm)  ในบรรยากาศการทำงานที่เปิดเผยโปร่งใส ดังนั้น  SCG ควรจะจัดห้องทำงานของผู้จัดการแต่ละแผนกรวมกันกับพนักงานในแผนกของตน เพื่อจะ Share ความคิดเห็นระหว่างกันได้ง่าย และสร้างความเป็นกันเองระหว่างเจ้านายกับลูกน้อง เพื่อเสริมสร้างการทำงานเป็นทีมสามารถคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ และสร้างจิตสำนึกให้พนักงานมีวินัยในการปฏิบัติงาน เพื่อไปสู่เป้าหมายเดียวกันจึงจะทำให้องค์กรประสบความสำเร็จ ค่ะ  
นางสาว วสพร บุญสุข

เรียน ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์, อาจารย์ ยม, อาจารย์ พจนารถ และท่านผู้อ่านทุกท่าน ดิฉัน น.ส. วสพร บุญสุข นักศึกษาปริญญาโท คณะเทคโนโลยีการเกษตร สาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง  เมื่อวันอาทิตย์ที่ 12 สิงหาคม 2550 ดิฉันมีโอกาสได้เรียนกับอาจารย์ พจนารถ ซีบังเกิด สอนในรายวิชา การจัดการทรัพยากรมนุษย์  หัวข้อเรื่อง  Workforce Alignment in an Organization และได้การบ้านในคำถามที่ว่าวิเคราะห์องค์กรที่สนใจ ที่ทำให้พนักงานแต่ละคนปฏิบัติงานตาม Mission, Vision, Values, Goals/Objectives  ซึ่งดิฉันเลือก บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. (PTTEP) จากการที่ดิฉันได้ศึกษา

Vision

เราจะเติบโตทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อสนองความต้องการปิโตรเลียมของประเทศในปัจจุบันและอนาคต โดยการประสานประโยชน์ ภายในกลุ่ม ปตท. จะเป็นพลังขับเคลื่อนสำหรับการเติบโตของเรา

  Mission

เราจะผลิตน้ำมันและก๊าซธรรมชาติที่มีคุณภาพ ปลอดภัย และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ในราคาที่แข่งขันได้

 Corporate Values  - พร้อมเปลี่ยนแปลงเพื่อปรับปรุง เรียนรู้เพื่อพัฒนา ค้นหาสิ่งใหม่ ฉลาดใช้ความรู้- ทีมงานประสานประโยชน์ แบ่งปันความรู้ ช่วยเหลือเกื้อกูล- คิดเป็นระบบ คำนึงผลกระทบทุกด้าน สื่อสารตรงประเด็น เล็งเห็นเป้าหมาย- ทุ่มเทด้วยใจ สำนึกในหน้าที่ ภักดีต่อองค์กร เน้นที่คุณภาพ 

มีประสิทธิภาพ โปร่งใส ก้าวไกล มั่นคง ปตท.สผ. รณรงค์ส่งเสริมบรรษัทภิบาล"

   

    ดิฉันพบว่า ปตท.สผ. มีนโยบายการกำกับดูแลกิจการ ให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในเรื่องการกำกับดูแลกิจการที่ดีของ ปตท.สผ. ให้แก่กรรมการและบุคลากรอย่างต่อเนื่อง โดยการปฐมนิเทศกรรมการและพนักงานเข้าใหม่ และจัดให้มีการบรรยายให้แก่กรรมการและผู้บริหารระดับสูง เกี่ยวกับการกำกับดูแลกิจการที่ดี ได้พัฒนาปรับปรุงการทำงาน เพื่อความทัดเทียมหรือเหนือกว่าแนวปฏิบัติที่ดีระดับสากล และรายงานผลการดำเนินงานตามแผนงานที่ได้กำหนดไว้ เป็นประจำทุกไตรมาสแก่คณะกรรมการบรรษัทภิบาล เพื่อรับทราบผลงานและให้คำแนะนำ ปตท.สผ. ได้ตกลงให้ บริษัทไทยเรทติ้ง แอนด์อินฟอร์เมชั่นเซอร์วิส จำกัด (TRIS) เข้ามาประเมินการกำกับดูแลกิจการที่ดีของ ปตท.สผ. ตามแนวทางของ TRIS ซึ่งอิงกับหลักการของ Organization for Economic Co-operation and Development (OECD) โดยประเมินใน 4 ส่วน  ได้แก่(1) สิทธิของผู้ถือหุ้น (20%) (2) องค์ประกอบและบทบาทของคณะกรรมการและฝ่ายจัดการ (40%) (3) การเปิดเผยข้อมูล (25%)(4) วัฒนธรรมการกำกับดูแลกิจการ (15%)

ซึ่งในปี 2549 ปตท.สผ. ได้รับการประเมินจาก TRIS. ได้รับรางวัลในงาน SET Award 2006 รวม 2 รางวัล คือ Best Performance Award ของหมวดทรัพยากร ในฐานะบริษัทจดทะเบียนที่มีผลการดำเนินงานดีเด่น และรางวัล Distinction in Maintaining Excellent Corporate Governance Report ที่สามารถรายงานการปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีได้ในระดับที่ดีอย่างต่อเนื่อง

 

สำหรับระบบประเมินผลงานผู้บริหารระดับสูงนั้น โดยเปรียบเทียบกับเป้าหมายที่กำหนดไว้ และจากทักษะความสามารถในการปฏิบัติงาน ได้แก่ Business Skill, Leadership Skill และ People Skill ในปัจจุบัน บริษัทได้นำระบบ Balanced Scorecard มาใช้ในระดับองค์กร และมีการกำหนดตัวชี้วัดในระดับฝ่าย สำหรับในระดับบุคคลนั้น ผู้บังคับบัญชาและพนักงานเป็นผู้กำหนดเป้าหมายร่วมกัน นอกจากผู้บริหารและพนักงานได้รับค่าตอบแทนในรูปของตัวเงินแล้ว ยังมีการให้ Team Award และ Individual Award เป็นพิเศษแก่คณะทำงานหรือบุคคลที่มีผลงานดีเด่น ยังได้รับค่าตอบแทนในรูปของใบสำคัญแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นของบริษัทด้วย

 สุดท้ายนี้ ดิฉันสรุปได้ว่า ปตท.สผ. ได้มีการทำ Workforce Alignment  Model ประกอบด้วย Aligned Goals, Business Acumen/Skills Measured Accountabilities, Linked Rewards, Ownership Thinking ที่ทำให้พนักงานปฏิบัติงานตาม พันธกิจ วิสัยทัศน์ ค่านิยม เป้าหมายทั้งในเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ รวมทั้งแผนเชิงกลยุทธ์และตัวชี้วัดในด้านต่างๆ ที่บริษัทตั้งไว้ เพื่อให้ ปตท.สผ.ประสบความสำเร็จ โดยมีระบบการประเมินและผลตอบแทน ให้เป็นแรงจูงใจต่อพนักงาน เพื่อรวมเป็นพลังขับเคลื่อนสำหรับการเติบโตของบริษัท  

 

     เรียน อาจารย์ จีระ  อาจารย์ พจนารถ ทีมงานChira Academy และท่านผู้อ่านทุกท่าน  ผม นายวิศรุต  แสงโนรี นักศึกษาปริญญาโท คณะเทคโนโลยีการเกษตร สาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง  เมื่อวันอาทิตย์ที่ 12 สิงหาคม 2550 อาจารย์ พจนารถ  ได้ให้ความรู้ในหัวข้อเรื่อง 

Workforce Alignment in an Organization และมีหัวข้อให้วิเคราะห์องค์กรที่สนใจ ที่ทำให้พนักงานแต่ละคนปฏิบัติงานตาม Mission, Vision, Values, Goals/Objectives  ซึ่งผมได้เลือก บริษัทเสริมสุข จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทที่มีผลประกอบการดี และมีพนักงานจำนวนมาก มีรายละเอียดที่ได้ศึกษาดังนี้

วิสัยทัศน์
  
บริษัท เสริมสุข จำกัด (มหาชน) คือ บริษัทผู้ผลิตและจำหน่ายเครื่องดื่มครบวงจรรายแรก  ที่นำความสดชื่นมาสู่ผู้บริโภคชาวไทยทั่วประเทศ   และในการที่จะรักษาไว้ซึ่งความเป็นผู้นำอันแข็งแกร่งในตลาดเครื่องดื่ม 
พันธกิจ - มุ่งเน้นให้ผู้บริโภคได้รับประโยชน์สูงสุด โดยการให้บริการผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพดีที่สุด - มองหาโอกาสในการเจาะตลาดและสถานที่ในการจัดจำหน่ายใหม่ ๆ อย่างสม่ำเสมอ - พัฒนาระบบปฏิบัติการ  องค์กร  และบุคลากรทุกคนให้มีประสิทธิภาพสูงสุด - พัฒนาเครือข่ายความร่วมมือระหว่างผู้ผลิตและตัวแทนผู้จัดจำหน่ายอย่างเต็มที่  เนื่องจาก ความสำเร็จนั้น  เกิดจากระบบการจัดการที่ยอดเยี่ยม

     สิ่งที่ทำให้บริษัทประสบความสำเร็จนั้นเนื่องจากทางบริษัทได้ตระหนักถึงความสำคัญของผู้มีส่วนร่วมงานในด้านต่างๆซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

ผู้ถือหุ้น: บริษัทฯ ตระหนักถึงความรับผิดชอบในการเพิ่มผลตอบแทนจากการลงทุนให้กับผู้ถือหุ้นทุกราย โดยการดำเนินธุรกิจด้วยความรอบคอบและโปร่งใส มีเป้าหมายในการเพิ่มยอดขาย กำไรและเสริมสร้างสถานทางการเงินให้มั่นคง บริษัทฯมุ่งเน้นการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อผลประกอบการที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องมั่นคงพนักงาน : บริษัทฯเน้นความสำคัญในด้านจริยธรรมของพนักงานทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของความซื่อสัตย์สุจริตและความมีระเบียบวินัยในการปฏิบัติงาน ซึ่งจะส่งผลระยะยาวต่อการดำเนินงานตลอดจนภาพลักษณ์ของบริษัทฯและพนักงานโดยรวม บริษัทฯ ปฏิบัติต่อพนักงานทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน ให้ความเคารพต่อสิทธิส่วนบุคคลโดยไม่มีการกีดกันแบ่งแยก เพศ เชื้อชาติ หรือศาสนา จัดให้มีสถานที่ทำงานที่สะอาดปลอดภัย

ลูกค้า ผู้ขายหรือผู้ให้บริการ และคู่แข่ง : บริษัทฯ ตระหนักถึงสิทธิของลูกค้าและผู้บริโภคในอันที่จะได้รับผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ ในราคาที่เหมาะสม รวมถึงโอกาสที่จะได้ทดลองสินค้าใหม่ ๆ รวมทั้งการตอบแทนในรูปแบบของรายการส่งเสริมการขายที่บริษัทฯ จัดขึ้นอย่างต่อเนื่อง

        นอกจากนี้ทางบริษัทยังมีการตั้งมูลนิธิ ทรง บุลสุข เพื่อสร้างสรรค์สังคม โดยการให้ทุนการศึกษาแก่เยาวชนแก่บุคคลทั่วไปและพนักงานภายในบริษัท และมีโครงการรักษ์สิ่งแวดล้อม มีการจัดการด้านน้ำและมลพิษ ซึ่งสิ่งที่กล่าวมามีส่วนทำให้การบริหารงานมีคุณภาพ พนักงานในทุกระดับจึงมีเต็มใจและทำงานอย่างเต็มความสามารถ เนื่องจากผู้บริหารมีความเข้าใจและเห็นถึงความสำคัญของทรัพยากรมนุษย์ในองค์กร ตลอดจนมีความใส่ใจผู้ร่วมลงทุนโดยการให้ข้อมูลที่ถูกต้องรวดเร็ว ทางด้านลูกค้าทางบริษัทได้ผลิตสินค้าดีมีคุณภาพและมีการจัดกิจกรรมตอบแทนลูกค้า  และใส่ใจต่อสังคมโดยการให้ทุนการศึกษาและมีระบบจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม จึงทำให้บริษัทพัฒนาอย่างยั่งยืนมาตลอดระยะเวลา 50 ปี

 
 

 

กราบเรียนศ.ดร.จีระ , อ.พจนารถ ซีบังเกิด และท่านผู้อ่านทุกท่านดิฉันน.ส.นิรชร ไชยกาญจน์ นักศึกษาระดับปริญญาโท สาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง  เมื่อวันอาทิตย์ที่ 12 สิงหาคม 2550  อาจารย์พจนารถได้มาบรรยายความรู้ในวิชา การจัดการทรัพยากรมนุษย์ ในหัวข้อเรื่องWorkforce Alignment in an Organization  อาจารย์ได้กำหนดหัวข้อคำถามโดยให้นักศึกษาเลือกวิเคราะห์องค์กรหรือบริษัทที่นักศึกษาสนใจเกี่ยวกับ Mission, Vision, Values, Goals/Objectives   ขององค์กรดังกล่าวและนักศึกษามีความคิดเห็นอย่างไรเกี่ยวกับ workforce alignment ที่องค์กรได้กำหนดขึ้นเพื่อเป็นรูปแบบการดำเนินงานขององค์กรที่ได้ยกตัวอย่างมา  จากการที่ได้ศึกษาข้อมูลดิฉันขอยกตัวอย่างกลุ่มบริษัท CPF ซึ่งเป็นกลุ่มธุรกิจที่อยู่ในเครือเจริญโภคภัณฑ์  โดยมีรายละเอียดดังนี้ 
  1. CPF VISION
สร้างคน เสริมธุรกิจ มุ่งเป็นที่หนึ่งของโลก    
  1. CPF MISSION
-         เป็นบริษัทชั้นนำในธุรกิจอุตสาหกรรมและอาหารของโลก-         มุ่งสร้างภาพลักษณ์ให้ปรากฏในระดับโลก-         มุ่งมั่นสร้างประโยชน์ต่อสังคมและมวลมนุษย์ 
  1. CPF GOALS
      มุ่งสู่ความเป็นครัวของโลก    โดยมีกลยุทธ์ที่เน้นในด้านการจัดการพัฒนาทรัพยากรบุคคลที่อยู่ในองค์กร ให้มีความรู้ความสามารถ เพื่อให้มีความพร้อมในการทำงาน กลยุทธ์ที่ใช้ได้แก่-         การใช้กรอบสมรรถนะเป็นเครื่องมือขับเคลื่อน เพื่อผลสำเร็จของงาน-         ดึงดูดและรักษาบุคลากรที่มีศักยภาพสูงไว้กับองค์กร-         พัฒนาผู้นำให้มีความสามารถระดับโลก และพัฒนาบุคลากรให้มีความเป็นมืออาชีพ-         มุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัย CPF-         ให้มีกระบวนการทำงานที่สั้นและเป็นมาตรฐานเดียวกัน  ใช้ระบบ IT ให้เกิดประโยชน์สูงสุด-         มีบุคลากรด้านทรัพยากรบุคคลทัดเทียมระดับโลก เพื่อสนับสนุนธุรกิจขององค์กรทั้งนี้เพราะ CPF มีความเชื่อที่ว่า องค์กรจะสามารถเติบโตได้นั้น ก็ต้องอาศัยบุคลากรในองค์กรร่วมกันทำงานไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อบรรลุสู่เป้าหมายสูงสุดอย่างมีศักยภาพและดำเนินต่อไปอย่างยั่งยืน   นอกจากนี้การดำเนินงานของ CPF ยังกำหนดให้ใช้กลยุทธ์ทางธุรกิจโดยเน้นการผลิตสินค้าที่ใช้เทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัย ผลิตสินค้าที่มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค สะอาด ถูกสุขอนามัย และปลอดภัยแก่การบริโภค รวมถึงมีการพัฒนารูปแบบของสินค้าให้มีความสดใหม่ไม่จำเจ ทั้งการผลิตสินค้าชนิดใหม่และการพัฒนาสินค้าเดิมให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้นตลอดเวลา เพื่อให้สามารถบรรลุถึงเป้าหมายที่วางไว้   จากที่ได้วิเคราะห์ข้อมูลดังกล่าวจะเห็นได้ว่า เป็นการดำเนินกลยุทธ์ที่ดี โดย CPF ในปัจจุบันได้มีการปรับปลี่ยนมุมมองที่มีต่อบุคลากรในองค์กรจากเดิมที่คิดว่าคนเป็นค่าใช้จ่ายในการทำธุรกิจ กลายเป็นถือว่า คนเป็นสินทรัพย์ที่มีค่าที่สุดขององค์กรหรือเรียกได้ว่าเป็น ทุนมนุษย์<Human Capital> ซึ่งองค์กรจะต้องคอยให้การสนับสนุนให้คนปฏิบัติงานอย่างเต็มศักยภาพและมีความสุข นอกจากนี้ CPF ยังได้มีการมุ่งเน้นให้บุคลากรมีความคิดที่ดีในการที่จะผลิตสินค้าที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม  ซึ่งการสร้างให้เกิดแนวความคิดดังกล่าว ดิฉันคิดว่า คงจะทำให้บุคลากรในองค์กรเกิดความรู้สึกที่ดีและภาคภูมิใจที่ได้ทำ และจะพยายามที่จะทำให้เกิดสิ่งเหล่านี้มากขึ้นและดีขึ้นเรื่อยๆ และเมื่อประสบความสำเร็จในการทำงานก็จะทำให้เกิดความสุขในการทำงาน บุคลากรที่มีความสามารถก็จะคงอยู่กับ CPF ต่อไป

     เรียน อาจารย์ จีระ  อาจารย์ พจนารถ ทีมงานChira Academy และท่านผู้อ่านทุกท่าน  ผม นายวิศรุต  แสงโนรี นักศึกษาปริญญาโท คณะเทคโนโลยีการเกษตร สาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง  เมื่อวันอาทิตย์ที่ 12 สิงหาคม 2550 อาจารย์ พจนารถ  ได้ให้ความรู้ในหัวข้อเรื่อง  Workforce Alignment in an Organization และมีหัวข้อให้วิเคราะห์องค์กรที่สนใจ ที่ทำให้พนักงานแต่ละคนปฏิบัติงานตาม Mission, Vision, Values, Goals/Objectives  ซึ่งผมได้เลือก บริษัทเสริมสุข จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทที่มีผลประกอบการดี และมีพนักงานจำนวนมาก มีรายละเอียดที่ได้ศึกษาดังนี้

วิสัยทัศน์
  
บริษัท เสริมสุข จำกัด (มหาชน) คือ บริษัทผู้ผลิตและจำหน่ายเครื่องดื่มครบวงจรรายแรก  ที่นำความสดชื่นมาสู่ผู้บริโภคชาวไทยทั่วประเทศ   และในการที่จะรักษาไว้ซึ่งความเป็นผู้นำอันแข็งแกร่งในตลาดเครื่องดื่ม 

พันธกิจ - มุ่งเน้นให้ผู้บริโภคได้รับประโยชน์สูงสุด โดยการให้บริการผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพดีที่สุด - มองหาโอกาสในการเจาะตลาดและสถานที่ในการจัดจำหน่ายใหม่ ๆ อย่างสม่ำเสมอ - พัฒนาระบบปฏิบัติการ  องค์กร  และบุคลากรทุกคนให้มีประสิทธิภาพสูงสุด - พัฒนาเครือข่ายความร่วมมือระหว่างผู้ผลิตและตัวแทนผู้จัดจำหน่ายอย่างเต็มที่  เนื่องจาก ความสำเร็จนั้น  เกิดจากระบบการจัดการที่ยอดเยี่ยม

     สิ่งที่ทำให้บริษัทประสบความสำเร็จนั้นเนื่องจากทางบริษัทได้ตระหนักถึงความสำคัญของผู้มีส่วนร่วมงานในด้านต่างๆซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

ผู้ถือหุ้น: บริษัทฯ ตระหนักถึงความรับผิดชอบในการเพิ่มผลตอบแทนจากการลงทุนให้กับผู้ถือหุ้นทุกราย โดยการดำเนินธุรกิจด้วยความรอบคอบและโปร่งใส มีเป้าหมายในการเพิ่มยอดขาย กำไรและเสริมสร้างสถานทางการเงินให้มั่นคง บริษัทฯมุ่งเน้นการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อผลประกอบการที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องมั่นคง

พนักงาน : บริษัทฯเน้นความสำคัญในด้านจริยธรรมของพนักงานทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของความซื่อสัตย์สุจริตและความมีระเบียบวินัยในการปฏิบัติงาน ซึ่งจะส่งผลระยะยาวต่อการดำเนินงานตลอดจนภาพลักษณ์ของบริษัทฯและพนักงานโดยรวม บริษัทฯ ปฏิบัติต่อพนักงานทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน ให้ความเคารพต่อสิทธิส่วนบุคคลโดยไม่มีการกีดกันแบ่งแยก เพศ เชื้อชาติ หรือศาสนา จัดให้มีสถานที่ทำงานที่สะอาดปลอดภัย

ลูกค้า ผู้ขายหรือผู้ให้บริการ และคู่แข่ง : บริษัทฯ ตระหนักถึงสิทธิของลูกค้าและผู้บริโภคในอันที่จะได้รับผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ ในราคาที่เหมาะสม รวมถึงโอกาสที่จะได้ทดลองสินค้าใหม่ ๆ รวมทั้งการตอบแทนในรูปแบบของรายการส่งเสริมการขายที่บริษัทฯ จัดขึ้นอย่างต่อเนื่องทั่วทุกภาคของประเทศ

       นอกจากนี้ทางบริษัทยังมีการตั้งมูลนิธิ ทรง บุลสุข เพื่อสร้างสรรค์สังคม โดยการให้ทุนการศึกษาแก่เยาวชนแก่บุคคลทั่วไปและพนักงานภายในบริษัท และมีโครงการรักษ์สิ่งแวดล้อม มีการจัดการด้านน้ำและมลพิษ ซึ่งสิ่งที่กล่าวมามีส่วนทำให้การบริหารงานมีคุณภาพ พนักงานในทุกระดับจึงมีเต็มใจและทำงานอย่างเต็มความสามารถ เนื่องจากผู้บริหารมีความเข้าใจและเห็นถึงความสำคัญของทรัพยากรมนุษย์ในองค์กร ตลอดจนมีความใส่ใจผู้ร่วมลงทุนโดยการให้ข้อมูลที่ถูกต้องรวดเร็ว ทางด้านลูกค้าทางบริษัทได้ผลิตสินค้าดีมีคุณภาพและมีการจัดกิจกรรมตอบแทนลูกค้า  และใส่ใจต่อสังคมโดยการให้ทุนการศึกษาและมีระบบจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม จึงทำให้บริษัทพัฒนาอย่างยั่งยืนมาตลอดระยะเวลา 50 ปี

อรนุช หล่ำสกุลไพศาล

  เรียนท่านอาจารย์จีระ อ.พจนารถ ทีมงานChira Academy และผู้อ่านทุกท่าน ดิฉันนางสาวอรนุช หล่ำสกุลไพศาล ID 50066214 นักศึกษาปริญญาโท การจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง  

การเรียน HRM สามารถที่จะเรียกได้ว่าเป็นทั้งศาสตร์ และศิลป์ ไม่ใช่เพียงแต่ที่จะดูเรื่องการขาด ลา มาสาย เท่านั้น ที่ว่า HRM เป็นศาสตร์เนื่องจากเป็นการจัดการกับสิ่งที่ยุ่งๆ ให้เป็นระบบ ซึ่งจะมีทั้งการวิเคราะห์ คำนวณ และการทำวิจัย สิ่งที่ HR ต้องการคือการทำให้คนมีขวัญ กำลังใจ เรื่อง HR เกี่ยวเนื่องกันกับทุกเรื่อง อย่างการที่ลูกค้าไม่ happy ซึ่งเมื่อดูกันตามจริงแล้วดูเหมือนว่าจะไม่เกี่ยวกับเรื่องของ HR เลย แต่การที่ลูกค้าไม่ happy นั้นสืบเนื่องจากพนักงานไม่ Happy   นั้นจึงเป็นสิ่งที่ผู้ที่เป็น HR นั้นต้องเข้าไปแก้และปรับเพราะ Learn Organization หรือ Organization that Learn คือความผิดพลาดในวันนี้ ไม่น่าจะเกิดในวันพรุ่งถ้าเรามีการ Communication ที่ดี

Workforce Alignment อาจารย์แนะนำให้พวกเราเขียน Mission และ Vision เพื่อจะได้ไม่หลงทาง ในการทำงานของเราก็ควรที่จะเลือกงานที่มี vision ที่ตรงหรือใกล้เคียงกับองค์กร Shared Purpose เพื่อให้ถึงตามGoals, Roles, Practices ซึ่งการวิเคราะห์เกี่ยวกับ workforce alignment ภายในองค์กรที่สนใจ ดิฉันได้เลือก DTAC เนื่องจากมี Vision และ mission ที่ชัดเจนและน่าสนใจดังนี้  

Vision DTAC จะเป็นบริษัทสื่อสารโทรคมนาคมที่ประชาชนเจาะจงเลือกใช้บริการ ทุกเมื่อที่ต้องการสื่อสารถึงกัน อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในการดำเนินธุรกิจและในชีวิตประจำวัน

Mission DTAC จะเป็นบริษัทสื่อสารโทรคมนาคมชั้นนำระดับโลก ที่เข้าถึงความต้องการของผู้บริโภค และนำเสนอนวัตกรรมใหม่ๆ รวมถึงการบริการที่ดีที่สุด เพื่อตอบสนอง ความต้องการของลูกค้าได้อย่างฉับไว

สร้างบรรยากาศการทำงานที่เปิดโอกาสเต็มที่ให้พนักงานได้แสดงความสามารถ และเติบโต รวมถึง ให้ผลตอบแทนที่เหมาะสมกับผลการปฏิบัติงาน 

 สร้างความมั่นใจให้กับลูกค้า ผู้ถือหุ้น นักลงทุน และทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

การจัดการความสัมพันธ์ของ DTAC ไม่ได้เกิดขึ้นเพียงแค่ระหว่างคน หรือบริษัทกับลูกค้าเท่านั้น แต่ยังเป็นการสร้าง Experience Relationship ระหว่างคนกับตัวสินค้าด้วย โดยการสร้างรูปแบบสถานการณ์จำลองขึ้นมา เช่น กลยุทธ์ Event Marketing ที่ไม่ได้เป็นเพียงการจัดแสดงสินค้าเท่านั้น แต่ยังเป็นการทำให้เกิดการเชื่อมโยงระหว่างบริษัท-สินค้า-ลูกค้า ทั้งที่เป็นลูกค้าเดิมและลูกค้าเป้าหมาย DTAC เป็นบริษัทที่มีความยืดหยุ่นของโปรโมชั่นสูง ทั้งให้ตัวของลูกค้าสามารถควบคุมค่าใช้จ่าย ระยะเวลาใช้งานได้ตามสะดวก

ดีแทคยังใช้ ROI กับการตลาดที่วัดค่าด้วยภาพลักษณ์แทนการวัดค่าจากตัวเลขเหมือนกับ ROI Finance ซึ่งเป็นที่มาของการประชาสัมพันธ์ซับแบรนด์ย่อยๆ ของดีแทคในเวลาต่อมา โดยเฉพาะการเปิดตัวแบรนด์ "Happy" ธุรกิจโทรศัพท์แบบเติมเงิน ที่ใช้การประชาสัมพันธ์ที่ไม่เน้นการใช้ดารา หรือโฆษณาทางโทรทัศน์ แต่ใช้การประชาสัมพันธ์ที่เน้นถึงวิถีชีวิตประจำวันของคนในสังคม ตัวอย่างหนึ่งของการใช้สื่อเข้ามาช่วยประชาสัมพันธ์แบรนด์ Happy ตามหลัก ROI Marketing ก็คือ ติดโลโกหน้ายิ้ม ที่สื่อความหมายถึงแบรนด์ Happy ลงบนสินค้าทุกอย่างของ Happy รวมถึงติดต่อกับพันธมิตรอื่นๆ ในการติดรูปหน้ายิ้มลงบนเครื่องใช้ ทั้งแก้วน้ำ หรือแม้แต่ถุงพลาสติกสำหรับใส่ของตามตลาดนัด

ขณะที่ ROI สำหรับพนักงานทั่วไปนั้น วัดได้จากการเลือกใช้ KPI (Key Performance Indicator) หรือตัวชี้วัดผลการดำเนินงานหลัก หนึ่งในการวัดผลการทำงานของพนักงานเพื่อให้เกิดความคุ้มค่ามากที่สุดใครจะรู้ว่าปีที่ผ่านมาดีแทคตัดสินใจใช้ Single KPI กับพนักงาน ทุกระดับ โดยเปิดตัวแนวคิดของการวัดผลแบบใหม่ โดยเลือกที่จะให้ผลตอบแทนเป็นโบนัสให้กับพนักงานในอัตรา 0.5 เดือนกับพนักงานที่สามารถเพิ่มรายได้ให้กับบริษัท 1.7 เปอร์เซ็นต์ทุกเดือน และต้นปีที่ผ่านมาก็ตัดสินใจที่จะให้โบนัสกับพนักงาน 1 เดือนหากว่าพนักงานสามารถเพิ่มรายได้ให้กับบริษัท 40 เปอร์เซ็นต์ในหนึ่งไตรมาส แม้จะนำผลตอบแทนมาเป็นแรงจูงใจในการทำงาน แต่ก็ปฏิเสธ ไม่ได้ว่า การให้ผลตอบแทนเช่นนี้เอง กลายเป็น KPI ที่ได้ผลลัพธ์ในการลงทุนของบริษัทได้ดีอย่างไม่น่าเชื่อ  

นอกเหนือจากความมุ่งมั่นที่จะเป็นผู้ให้บริการระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ซึ่งมีความซื่อสัตย์ ยุติธรรมและเอาใจใส่ต่อลูกค้า DTAC ได้เน้นการทำกิจกรรมที่เป็นรูปธรรม ซึ่งจะมีส่งผลต่อการพัฒนาประเทศชาติและสังคมไทย โดยจะมุ่งเน้นการช่วยเหลือและพัฒนาสังคมในประเด็นสำคัญๆอาทิ

1.การพัฒนาคุณภาพชีวิตแก่เด็กและเยาวชน โดยDTAC ได้มีนโยบายให้การสนับสนุนและสานต่อ โครงการมูลนิธิสำนึกรักบ้านเกิด   ทั้งในการให้ทุนการศึกษา แก่เด็กและเยาวชนจากทุกจังหวัดทั่วประเทศ การจัดกิจกรรมเสริมสร้างความรู้และประสบการณ์แก่เยาวชนในโครงการ

2. การทำกิจกรรมเพื่อสังคมควบคู่กิจกรรมทางการตลาด อันเป็นแนวนโยบายและทิศทางการทำกิจกรรมเพื่อสังคมในรูปแบบใหม่ โดยฝ่ายกิจกรรมเพื่อสังคมและทีมการตลาดของ DTAC จะจัดหากิจกรรม นำสิ่งของ อุปกรณ์การเรียน เครื่องอุปโภคบริโภค อุปกรณ์กีฬาหรือคอมพิวเตอร์ ไปบริจาคให้โรงเรียน โรงพยาบาล สถานสงเคราะห์       

3. การทำกิจกรรมพิเศษ เนื่องในโอกาสเทศกาลสำคัญต่างๆ ซึ่งในปี 2550 นี้ DTAC มีนโยบายที่จะจัดกิจกรรมพิเศษเนื่องในวาระพิเศษต่างๆ เช่นเทศกาลต่างๆ วันแม่ วันพ่อ โดยเน้นกลุ่มเป้าหมายให้แก่ผู้ด้อยโอกาสในสังคม โดยเปลี่ยนจากการร่วมเฉลิมฉลองในเทศกาลต่าง ๆ มาเน้นการทำประโยชน์และช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสในสังคม ทั้งยังร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันให้เกิดการเกื้อกูลกันมากขึ้นในสังคมไทย



          เรียน อ.จีระ , อ.พจนารถ ,  ทีมงาน  Chira Academy และผู้อ่านทุกท่าน  ผม นายวรพจน์  สู่เสน  นักศึกษาปริญญาโท สาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร  คณะเทคโนโลยีการเกษตร  สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

         เนื่องจากวันที่ 12/8/07 ที่ผ่านมา ผมได้มีโอกาสเรียนกับ อ.พจนารถ ให้หัวข้อ  " Workforce  Alignment  in  an  Organization "  โดย อ. พจนารถ assign งานให้ทำ โดยให้ยกตัวอย่างองค์กร แล้ววิเคราะห์ว่า องค์กรนั้น มี Workforce Alignment หรือไม่ อย่างไร ซึ่ง ผมจะขอยกตัวอย่างบริษัทที่ผมทำอยู่ ณ ปัจจุบันนี้ คือ  " SM.Chemical Supplies Co.;Ltd "  ( จากนี้จะขอย่อชื่อว่า sm )ซึ่งเป็นบริษัท ที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับการนำเข้าสารเคมี ( biochemical and life  science  research ) จากต่างประเทศ ซึ่งบริษัทนี้ได้รับ Autorized โดยตรงจาก                        " SIGMA&ALDRICH Co.;Ltd " ซึ่งอยู่ที่ประเทศ สหรัฐอเมริกา  บ.sm  เป็นบริษัทขนาดเล็ก-กลาง มีบุคลากรประมาณ 40 คน  ยอดขายประมาณ 120 ล้านบาทต่อปี  กำหนด Vision และ  Mission ไว้ดังนี้

          Vision        " We  are  one  of  the established  distributors  who  could  meet  the special  needs  of  researchs  with  various offerings  and  ready  to  support  the development  of   high-technology  research  in Thailand "

         Mission       " We  will  bring  the  scientific community  premium-quality  products  specifically  for  life  science  and  analytical  research  with  the  strong  technical  support.  We  aim  to  provide  the  responsive  customer  service  with  the  continued  improvement  in  cutting-edgetechnology  and  support  system  to  create  the  most  value  to  our  customer. "

        กล่าวโดยสรุปว่า เราจะเป็นที่ 1 ในธุรกิจนี้ในประเทศไทย โดยนำเสนอ เทคโนโลยีใหม่ๆมีบุคลากรที่เข้มแข็งและให้ความสำคัญกับลูกค้าเป็นอันดับแรก 

        ดังนั้นในแต่ละแผนก จะมีการกำหนด หน้าที่ต่างๆไว้ดังนี้ ( คร่าวๆ )                                    

         ทีมขาย

       1. มีหน้าที่ติดต่อประสานงานให้ข้อมูลที่ลูกค้าต้องการ รวมทั้งนำเสนอ products ใหม่ๆ ตลอดเวลา 

       2. ติดต่อประสานงานกับต่างประเทศ เพื่อ support ข้อมูลที่ลูกค้าต้องการในส่วนที่ จนท.เทคนิคฝ่ายเราไม่สามารถให้คำตอบในเรื่องนั้นๆได้

       3. สร้างความสัมพันธ์อันดีกับกลุ่มลูกค้าเพื่อให้ลูกค้าพึงพอใจ

          ทีม support

       1. ให้ข้อมูลเรื่องราคากับทางลูกค้าและทำใบเสนอราคา

       2. รับเรื่อง complain ต่างๆ

           ซึ่งทั้ง 2 ทีมนี้จะมี Target  ในเรื่อง service performance ได้ ดังนี้

  • Average Leadtime / shipment   ไม่เกิน 14 วัน
  • Average Leadtime / customer's order  ไม่เกิน 23 วัน
  • Product Complaint Issue  ต้องเป็น 0
  • Service Complaint Issue  ต้องเป็น 0
  • Short-ship / Loss-item issue  ต้องเป็น 0
  • การแก้ไข invoice น้อยกว่า 2 % ต่อ เดือน
  • ค่าปรับสินค้าล่าข้า น้อยกว่า 3000 บาท ต่อ เดือน

 

        โดยสรุปแล้วจะเห็นว่า สิ่งที่ระดับปฏิบัติ ลงมือทำ ถ้าทำได้แล้วจะตอบสนองต่อนโยบายด้านบน คือ Vision และ Mission ได้  แต่การที่จะทำให้ทุกคนปฏิบัติอย่างจริงจังนั้น บริษัทได้ใช้เรื่อง  สิ่งตอบแทน  เป็นสิ่งจูงใจ ( motivation ) โดยทีมขายเอง ถ้าลูกค้าพอในและยอดขายมาก  จะได้ค่าตอบแทน เป็น commision   และทีม support  ถ้ายอดขายของบริษัทถึงตามเป้าที่กำหนด ( ยอดรวม ) ก็จะได้ ค่าตอบแทน เป็น intensive ซึ่งหมายความว่า ถ้า ทีมsupport ช่วย ทีมขาย ให้ยอดขายมากขึ้นเท่าไร ตัวเองจะได้ intensive มากขึ้นเท่านั้น  ซึ่งในการที่จะขายของได้นั้น เราซึ่งเป็น บ.ที่ทำด้าน service  ย่อมต้องได้รับความพอใจ และไว้ใจจากกลุ่มลูกค้า  ซึ่งก็ตอบสนอง Vision และ Mission ขององค์กร   ส่วนในเรื่องเทคโนโลยีใหม่ๆนั้น ทางบริษัทเอง มีการ deal กับ ต่างประเทศตลอดเวลาเพื่อหาความเหมาะสมที่จะนำ สินค้าที่เหมาะสมกับประเทศไทยใหม่ๆเข้ามานำเสนอกับทางลูกค้า เพื่อให้ลูกค้าทำการวิจัยได้ดีขึ้น (ใน paper วิจัยจากต่างประเทศนั้น method ที่ใช้จะอ้างอิงถึง สิ่งที่ใช้ในการทำวิจัยนั้นๆเสมอ ซึ่งมีการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆอยู่ตลอดเวลา )

รสสุคนธ์ น้อยจินดา

กราบเรียน ศ.ดร.จีระ หงลดารมภ์ อาจารย์พจนารถ ซีบังเกิด และท่านผู้อ่านทุกท่าน ดิฉัน นางสาวรสสคนธ์  น้อยจินดา  นักศึกษาปริญญาโท สาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร คณะเทคโนโลยีการเกษตรสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง  ในวันอาทิตย์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2550 อาจารย์สอนในหัวข้อ Workforce Alignment in an Organization แต่ดิฉันไม่ได้มาเรียนเนื่องจากทำบุญครบ 1 ปีให้แม่ เลยพลาดโอกาสดีๆ ในการได้เรียนกับอาจารย์ แต่ก็ได้รับการถ่ายทอดจากเพื่อนๆ และอ่านจากในเอกสารของอาจารย์ โดยองค์กรที่ดิฉันสนใจ คือ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เนื่องจากเป็นรัฐวิสาหกิจของชาติ ที่ดำเนินกิจการแข่งขันกับต่างประเทศ ในธุรกิจการบินโลก และเป็นรัฐวิสาหกิจที่สามารถทำกำไรต่อเนื่องเรื่อยมา จึงได้เลือกนำมาวิเคราะห์  

วิสัยทัศน์ของบริษัทฯ (Vision)เป็นสายการบินที่ลูกค้าเลือกเป็นอันดับแรก ให้บริการดีเลิศด้วยเสน่ห์ไทย

ภารกิจของบริษัทฯ (Mission)

ให้บริการขนส่งทางอากาศอย่างครบวงจร ทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ โดยใส่ใจในเรื่องความปลอดภัย ความสะดวกสบาย และ การบริการที่มีคุณภาพ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและความพึงพอใจต่อลูกค้า

มีการบริหารธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ และโปร่งใสด้วยความซื่อสัตย์สุจริตตามแนวทางปฏิบัติที่เป็นสากล และมีผลประกอบการที่น่าพอใจ เพื่อสร้างประโยชน์สูงสุดให้แก่ผู้ถือหุ้น

สร้างสิ่งแวดล้อมในการทำงานและให้ผลตอบแทนที่เหมาะสม เพื่อจูงใจให้พนักงานเรียนรู้และทำงานอย่างเต็มศักยภาพ และภูมิใจที่เป็นส่วนร่วมในความสำเร็จของบริษัทฯ

มีความรับผิดชอบต่อประเทศชาติ ในฐานะเป็นสายการบินแห่งชาติ

นโยบายของบริษัทฯ ดำเนินงานในฐานะที่เป็นสายการบินแห่งชาติ เป็นตัวแทนของประเทศไทย ในการดำรงรักษาและเพิ่มพูนสิทธิด้านการบิน ร่วมส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว แสวงหาและเพิ่มพูนรายได้ ทั้งในรูปเงินบาท และเงินตราต่างประเทศ นอกจากนั้น ยังดำเนินการส่งเสริมพัฒนาทรัพยากรบุคคลของบริษัทฯ ให้มีทักษะ และวิชาชีพที่เป็นมาตรฐานสากล รวมถึงส่งเสริมพัฒนาเทคโนโลยีทุกสาขาที่เกี่ยวข้อง ในการบินพาณิชย์ของโลก ทั้งนี้ บริษัทฯ ยังมุ่งเผยแพร่วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี และเอกลักษณ์ของประเทศไทย สู่สายตาชาวโลกอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจากการศึกษาข้อมูลของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) พบว่า ได้มีการปฏิบัติงานตามวิสัยทัศน์ของทางบริษัทที่ตั้งไว้ ดังนี้

1. เครื่องบินและเครือข่ายการบิน คือ เพิ่มจำนวนเครื่องบิน ศักยภาพของเครื่องบิน จากเริ่มต้นเป็นเครื่องบินใบพัด มาเป็นเครื่องบินไอพ่น มาเป็นเครื่องบินแบบแอร์บัส และโบอิ้ง และเลือกคุณสมบัติที่ดีขึ้นเรื่อยๆ เช่น มีความจุ จำนวนที่นั่งมากขึ้น

2. ให้บริการผู้โดยสารมากขึ้น จากเริ่มต้น 83,000 คน  3 ปี เพิ่มเป็น 100,000 คน ต่อมาเป็น 1 ล้าน และมากกว่า 10 ล้านคน ตามลำดับ และบริษัทฯ ได้ขยายกำลังการผลิต โดยการเพิ่มจุดบินเพื่อขยายเครือข่ายการบินให้ครอบคลุมมากขึ้น และการเพิ่มความถี่ของเที่ยวบิน เพื่อรองรับปริมาณผู้โดยสารที่เพิ่มขึ้น

3. มีการเพิ่มทุนจดทะเบียนอย่างต่อเนื่อง ทุนเริ่มต้น 2 ล้านบาท อีก 3 ปี เพิ่มทุนเป็น 40 ล้านบาท อีก 20 ปี เพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 1,100 ล้านบาท จากนั้น เข้าตลาดหลักทรัพย์ และจำหน่ายหุ้น ระดมทุนได้ถึง 14,000 ล้านบาท และในปี 2537 ได้จดทะเบียนเป็นบริษัทมหาชน

4. การบินไทยเริ่มดำเนินโครงการระบบจัดการลูกค้าสัมพันธ์ the Customer Relationship Management (CRM) เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการและสานความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าได้ตามคาดหมาย การบินไทยยังได้ขยายความร่วมมือด้านการบินทั้งภายในประเทศและภูมิภาค ผ่านพันธมิตรการบินทั่วโลก 

5.การบินไทยแนะนำบริการใหม่รอยัล อี เซอร์วิส นวัตกรรมที่ช่วยอำนวยความสะดวกสบายรวดเร็วแก่ผู้โดยสารอย่างครบวงจรในการเลือกเที่ยวบิน สำรองที่นั่ง ออกบัตรโดยสาร เช็คอิน และบริการอื่นๆ ด้วยตนเองผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ การบินไทยเริ่มใช้ระบบการประมูลผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์  ในการจัดซื้อจัดจ้างเพื่อลดค่าใช้จ่าย สร้าวความโปร่งใส ถูกต้องและมีธรรมาภิบาล

6. เน้นเอกลักษณ์และบริการแบบไทย เริ่มต้นใช้สัญลักษณ์ เป็นตุ๊กตารำไทย ต่อมาเปลี่ยนสัญลักษณ์ใหม่ให้เป็นสากลมากขึ้น โดยใช้สีม่วง สีชมพู และสีทอง ที่งามสง่าอันแสดงถึงความงามของธรรมชาติ และอารยธรรมไทย  การบริการบนเครื่อง มีการต้อนรับอันนุ่มนวลเปี่ยมด้วยน้ำใจ และอัธยาศัยไมตรีแบบคนไทย มีการร่วมรณรงค์ส่งเสริมปีท่องเที่ยวไทย โดยการเผยแพร่เอกลักษณ์ความเป็นไทย และวัฒนธรรมไทย ร่วมสนับสนุนปี ศิลปะและหัตถกรรมไทย ด้วยการจัดรายการบัตรโดยสารราคาพิเศษ

นอกจากนี้ ทางบริษัท ยังให้ความสำคัญกับพนักงาน  ตระหนักในคุณค่าของพนักงาน โดยยึดหลักว่าพนักงานทุกคนเป็นทรัพยากรที่สําคัญและเป็นตัวแทนของบริษัทฯ พนักงานทุกคนจึงมีส่วนร่วม และสนับสนุนความสําเร็จของบริษัทฯ และเพื่อบรรลุจุดประสงค์ดังกล่าว ทางบริษัทฯ มีการกําหนดขัอพึงปฏิบัติต่าง ๆ เพื่อเป็นหลักในการปฏิบัติงานของพนักงานทุกระดับ รวมทั้งกําหนดจริยธรรมในการดําเนินธุรกิจโดยทั่วไป และมีการจัดทำโครงการเพื่อสังคมหลายโครงการ เช่น โครงการเฉลิมพระเกียรติ “ไมล์สร้างบุญในโอกาสมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนชาวไทยร่วมสร้างมหากุศลครั้งยิ่งใหญ่ ด้วยการมอบไมล์สะสมเพื่อสนับสนุนการเดินทางแด่พระสงฆ์ 80 รูป ไปจาริกแสวงบุญ ที่ดินแดนพุทธภูมิ ประเทศอินเดีย - เนปาล และร่วมสวดมนต์ถวายพระพรแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  อีกโครงการ คือ โครงการ “หยุดเหล้า หยอดกระปุก เพื่อพ่อ”บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรณรงค์ให้พนักงานของบริษัทฯ ทำความดีถวายในหลวง ด้วยการลด ละ เลิกการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และนำเงินออมที่ได้เข้าสมทบกองทุนพ่อหลวง 80 พรรษา ของมูลนิธิชัยพัฒนา นอกจากนี้ ยังเป็นการสนับสนุนแนวพระราชดำริเรื่อง “เศรษฐกิจพอเพียง”และการดำเนินชีวิตอย่างมีหลักคุณธรรม จริยธรรม และศีลธรรม
   กราบเรียน ท่าน อ. ศ. ดร.จีระ , อ.พจนารถ และท่านผู้อ่านทุกท่านดิฉัน น.ส.สุภาภรณ์  นำรุ่งโรจน์ นักศึกษาระดับปริญญาโท สาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง  เมื่อ วันที่ 12/8/50  อาจารย์พจนารถ ได้มาบรรยายให้ความรู้ในวิชา HRM ในหัวข้อเรื่อง Workforce Alignment in an Organization  อาจารย์ได้ให้หัวข้อคำถามโดยให้เลือกวิเคราะห์องค์กรหรือบริษัทตาม Mission, Vision, Values, Goals/Objectives หรือBrand Stratement  ขององค์กรดังกล่าวว่า Work Enviroment ขององค์กรนั้นควรเป็นอย่างไรจึงทำให้ประสบความสำเร็จได้  ดิฉันขอยกตัวอย่างของ SCB BLANK หรือ siam commercial bank public Co.,ltd ซึ่งเป็น สถาบันการเงินแห่งแรกในประเทศไทยค่ะ  Vission  เราจะเป็นธนาคารที่ลูกค้า ผู้ถือหุ้น พนักงานและสังคมเลือก Mission  เรามุ่งมั่นที่จะเป็น ธนาคารที่ให้บริการครบวงจรชั้นนำของประเทศ มีความแข็งแกร่งทางการเงิน มีสมรรถภาพระดับสากลในการให้บริการลูกค้าทุกกลุ่มมีผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่สำคัญครบถ้วน
ด้วยการทำงานเป็นทีมเดียวกันของกลุ่มการเงินไทยพาณิชย์
 Value

1.    มีคุณธรรม : โปร่งใส ซื่อสัตย์ มีจริยธรรม ทั้งในฐานะบุคคลและองค์กร

 

2.    รับผิดชอบ : ยึดมั่นต่อสัญญา รับผิดชอบทุกการกระทำ

 3.    ทำงานเป็นทีม : ให้คุณค่าต่อความร่วมแรงร่วมใจ เราจะแข็งแกร่งที่สุดเมื่อร่วมมือกัน

กรรมการผู้บริหารและพนักงานทุกคนจะมุ่งมั่น (objective) ที่จะดำเนินการและยึดถือในหลักการต่อไปนี้

1.   ลูกค้า ธนาคารมุ่งให้ลูกค้าได้รับประโยชน์และความพึงพอใจอย่างเหมาะสม โดยการนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่ดีอย่างมีคุณภาพ ให้บริการด้วยความเป็นธรรม รวมทั้งดูแลรักษาข้อมูลต่างๆของลูกค้าไว้เป็นความลับ2.   ผู้ถือหุ้น ธนาคารมุ่งให้ผู้ถือหุ้นได้รับผลตอบแทนที่เหมาะสม โดยดำเนินการให้มีผลประกอบการที่ดีเลิศอย่างสม่ำเสมอพร้อมทั้ง มีระบบการควบคุมและตรวจสอบภายในรวมทั้งระบบบริหารความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพ3.   พนักงาน ธนาคารสรรหาและรักษาพนักงานที่มีความสามารถในการปฏิบัติงาน รวมทั้งมุ่งพัฒนาพนักงานอย่างต่อเนื่องและส่งเสริมพนักงานให้มีโอกาส ในความก้าวหน้าและความมั่นคงในอาชีพ4.   พันธมิตรและคู่แข่งทางการค้า  ธนาคารปฏิบัติต่อพันธมิตรและคู่แข่งทางการค้าอย่างเป็นธรรมและรักษาความลับ ภายใต้หลักเกณฑ์และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งไม่แสวงหาข้อมูลของพันธมิตรและคู่แข่ง ทางการค้าอย่างไม่สุจริตและไม่เป็นธรรม5.   เจ้าหนี้และคู่ค้า  ธนาคารยึดมั่นในความซื่อสัตย์ต่อการปฏิบัติตามเงื่อนไข ที่ให้ไว้ต่อเจ้าหนี้และคู่ค้าทุกประเภทโดยอยู่ภายใต้เงื่อนไข รวมทั้งหลักเกณฑ์และกฎหมายที่กำหนด6.   สังคม  ธนาคารยึดมั่นในการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคมและ ระมัดระวังในการพิจารณาดำเนินการใดๆ ในเรื่องที่กระทบต่อความรู้สึก ของสาธารณชน (Public Interest) นอกจากนี้ธนาคารมุ่งดำเนินการและ ให้การสนับสนุนกิจกรรมต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชนและสังคมโดยรวมอย่างสม่ำเสมอ7.    สิ่งแวดล้อม  ธนาคารมุ่งปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ดูแลด้านความปลอดภัย      และสิ่งแวดล้อมของธนาคารอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อไม่ให้มีผลกระทบใดๆ กับชุมชนใกล้เคียง และส่งเสริมพนักงานให้มีจิตสำนึกและความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม8.   ความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ธนาคารจัดให้มีการควบคุมดูแลและป้องกันเกี่ยวกับรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ หรือรายการที่เกี่ยวโยงกันหรือรายการระหว่างกันที่ไม่เหมาะสม โดยกำหนดนโยบาย ระเบียบวิธีปฏิบัติ กระบวนการในการพิจารณาและอนุมัติรายการ พร้อมทั้งเปิดเผยข้อมูลและอนุมัติรายการที่เกี่ยวโยงกันให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์หน่วยงานต่างๆ ที่กำกับดูแลธนาคาร9.   การเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ธนาคารมุ่งเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของธนาคารต่อผู้ถือหุ้น นักลงทุน และสาธารณชนทั่วไปอย่างถูกต้อง ครบถ้วน ทั่วถึง และทันกาล รวมทั้งเป็นไปตามกฎหมายและระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง 10.         การกำกับดูแลกิจการ ธนาคารยึดมั่นในการปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีที่กำหนดโดยหน่วยงาน ทางการที่ควบคุมดูแลธนาคารในฐานะธนาคารพาณิชย์และบริษัทจดทะเบียน และสร้างความเชื่อมั่นต่อผู้มีส่วนได้เสียในการมุ่งพัฒนางานกำกับดูแลกิจการ ของธนาคารให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล เพื่อประโยชน์และสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย    ในขณะเดียวกัน ความยุติธรรม ความซื่อสัตย์ และคุณธรรม  ถือเป็นหลักสำคัญในการดำเนินธุรกิจของ SCB Bank และในขณะเดียวกัน   SCB Bank มีความมุ่งมั่นที่จะให้บริการที่เป็นเลิศ ความมุ่งมั่นดังกล่าว ต้องเป็นส่วนหนึ่งของตัวตนของพนักงานทุกคน และแสดงออกอย่างชัดเจน ทั้งโดยวาจา การกระทำ และการวางตัว การแสดงออกด้วยความเคารพ ความใส่ใจ และความกระตือรือร้น จะต้องปรากฎชัดในการติดต่อกับลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นการให้บริการต่อหน้า การพูดคุยทาง โทรศัพท์ หรือการติดต่อด้วยจดหมายเป็นต้น      มีวัฒนธรรมการให้บริการที่เป็นเลิศนี้ จะเป็นวัฒนธรรมที่สืบทอดต่อเนื่องได้อย่างยั่งยืน และงอกงาม ก็ต่อเมื่อพนักงานทุกคน ปฏิบัติต่อกันเช่นนั้นด้วย ความกระตือรือร้น ความร่วมแรงร่วมใจ การทำงานร่วมกันเป็นทีม และความพร้อมตอบสนอง เป็นคุณลักษณะ ที่พนักงานพึงเรียนรู้จากกันและกัน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อลูกค้า ต่อผู้ถือหุ้น และต่อ พนักงานในที่สุด และสิ่งนี้คือ Vision ของธนาคารไทยพาณิชย์ ที่เกี่ยวโยงสัมพันธ์กันอย่างชัดเจน     ปัจจุบัน ธนาคารปรับปรุงโครงสร้างองค์กร (Change Program) เพื่อให้ระบบการทำงานเป็นไปอย่างคล่องตัวและก้าวเข้าสู่ความเป็นสากล การสร้างสรรค์และเพิ่มศักยภาพการบริการลูกค้าแต่ละกลุ่มให้มีประสิทธิภาพ และสร้างความพึงพอใจสูงสุด ด้วยฐานะการเงินที่แข็งแกร่ง ทำให้ธนาคารมีความพร้อมที่จะเป็นสถาบันการเงินชั้นนำของประเทศ และเป็น ผู้นำการสร้างสรรค์นวัตกรรม(Innovation)ใหม่ ๆ ในการให้บริการ เพื่อก้าวสู่การเป็น ธนาคารที่คุณเลือก” (Your Bank of Choice) สรุปประเด็น จากการกล่าวมาข้างต้นจะเห็นได้ว่า  SCB Bank ได้เน้นสีสันของ สีม่วงและทอง ที่ลูกค้าจะนึกถึงเสมอ, ความรวดเร็วทันใจ, การให้บริการกับทุกระดับไม่แตกต่างกันโดยบริการเท่าเทียมกันเป็น100%   โดยมียุทธศาสตร์ที่เน้นการเติบโตอย่างมีคุณภาพของทั้งกลุ่ม ในทิศทางที่ถูกต้อง ผ่านการนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่ดีเยี่ยม เพื่อสร้างความพึงพอใจสูงสุดแก่ลูกค้าเป็นหลัก ดั้งสโลแกน ลูกค้าเท่านั้น..ที่รู้  
   เรียนท่านศ.ดร.จีระ  ท่าน อ.ยม  ท่าน อ.ประกาย  ท่าน อ.วสุ  ท่านอ.พจนาถ  ท่านผู้อ่าน  และเพื่อนนศ. ปริญญาโททุกท่าน    ดิฉัน น.ส.สุพิชฌาย์  หนูขาว  นักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง  คณะเทคโนโลยีการเกษตร  สาขาวิชาบริหารธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร       จากที่ได้เข้าร่วมเรียนรู้และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับท่านอ. พจนาถ ซีบังเกิด เมื่อวันอาทิตย์ที่ 12 สิงหาคม 2550 อ.พจนารถ  ได้ให้ความรู้ในหัวข้อเรื่อง  Workforce Alignment in an Organization และมีหัวข้อให้วิเคราะห์องค์กรที่สนใจ ที่ทำให้พนักงานแต่ละคนปฏิบัติงานตาม Mission, Vision, Values, Goals/Objectives  ซึ่งบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ (ประเทศไทย)  จำกัด  เป็นกรณีศึกษาที่ดิฉันเลือกมาวิเคราะห์  ซึ่งเป็นบริษัทที่มีผลประกอบการดี มี Brand  ที่เข้มแข้ง  และเป็นที่รู้จักของคนไทยทั้งประเทศ  รายละเอียดที่ได้ศึกษาดังนี้  บริษัีท  โตโยต้า  มอเตอร์ (ประเทศไทย)  จำกัด  มีบริษัทในเครือทั้งสิ้น  จำนวน 7 บริษัท  มีกำลังการผลิตทั้งสิ้น  240,000  คันต่อปี  พนักงานกว่า  5,000  คน  เครื่อข่ายผู้แทนจำหน่าย  112  แห่ง 272  โชว์รูม จะเห็นได้ว่า TOYOTA เป็นหนึ่งในบริษัทชั้นนำของประเทศไทย  เป็นที่ยอมรับ และเชื่อมั่นของผู้ใช้รถยนต์ชาวไทยมากว่า  50  ปี  บนความมุ่งมั่นของ TOYOTA  วิสัยทัศน์      เป็นหนึ่ึงในบริษัทแกนนำเครือข่ายโตโยต้าทั่วโลกและเป็นบริษัทรถยนต์ที่ได้รับการยอมรับและยกย่องที่สุดในประเทศไทยพันธกิจ  1. มีการพัฒนาอย่าต่อเนื่องโดยการท้าทายและแลกเปลี่ยนสิ่งต่าง ๆ  2.  ยอมรับผู้คนและความต้องการของเขา  3.  ยึดหลักความพึงพอใจของลูกค้า  4.  ทุ่มเทมาตรฐานสูงสุด  5.  ปลูกฝังจิตสำนึกความรับผิดชอบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม       จะเห็นได้ว่า TOYOTA  พัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง เพื่อทันต่อยุค  Globalization  พยายามที่จะตอบสนองความต้องการสูงสุดของลูกค้า  สร้างศูนย์เทคนิคยานยนต์ขึ้นเพื่อให้บริการด้านเทคนิคในภูมิภาคเอเชีย  สร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้  (Learning  Oganization ) พัฒนาบุคลากรทางด้านการวิจัยระบบเทคโนโลยีอิเล็คทรอนิคส์และคอมพิวเตอร์ซอฟแวร์  พัฒนาคนตั้งแต่ก่อนเริ่มเข้าทำงานโดยดำเนินธุรกิจก่อตั้งโรงเรียนเอกชน  (โรงเรียนเทคโนโลยียานยนต์โตโยต้า ) ระดับช่างอุสาหกรรม  สาขาวิชาช่างยนต์ (ปวส.)  ปั้นคนเก่งก่อนที่จะนำมาร่วมงานด้วย  แม้ว่า TOYOTA  จะทำดีเพียงใดแล้วก็ตาม  แต่เขาจะพัฒนาให้  ดียิ่งขึ้น  ตลอดเวลา  ต่อเนื่อง ต่อเนื่อง และต่อเนื่อง  สำหรับ  การสร้าง  (Work  Environment )  ลูกค้า TOYOTA  พยายามทุ่มเทในการเสริมสร้างความไว้วางใจกัน  ทางด้านคุณภาพของสินค้า สร้างความพึงพอใจสูงสุด  องค์กร   TOYOTA  เน้นการทำงานเป็นทีม  ประสานงานเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงกันทุกหน่วยธุรกิจในทั้งหมด  7  บริษัท  สร้างเครือข่าย  Network เพื่อการติดต่อสื่อสารที่ง่ายและฉับไว  พนักงาน  TOYOTA  สร้างความเป็นกันเองกับบุคลากร  มีการส่งเสริมการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง  ให้ความรู้และทักษะใหม่ ๆ เสมอ  ปลูกฝังจิตสำนึกที่ดีต่อองค์กร  รวมถึงการส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรมด้วย  ผู้แทนจำหน่ายและผู้จัดหา TOYOTA  คำนึงถึงความพึงพอใจของลูกค้าเป็นสำคัญต้องให้ผู้อุปโภคมีความเชื่อมั่นในคุณภาพ  มีการประกันคุณภาพทุกกระบวนการผลิต    มีการส่งเสริมการขาย  หลายรูปแบบมากมาย  มีควมรับผิดชอบต่อการผลิต  รวมถึงผลตอบแทนทางด้านการขายและร่วมเป็นตัวแทนจำหน่ายด้วย  ตลอดระยะเวลากว่า  50  ปี  บนความมุ่งมั่นของ TOYOTA ด้วยคำสัญญาในการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง  เพื่อสร้างสรรค์นวัฒตกรรมยานยนต์ที่ดีที่สุดแทนคำขอบคุณ  TOYOTA  ได้ร่วมก่อตั้งมูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย เพื่อดำเนินกิจกรรมส่งเสริมคุณภาพชีวิตและสังคมไทย  โดยก่อตั้งกว่า  14  โครงการ  อาทิเช่น  โครงการต้นนำ้ต้นชีวิต , โครงการหนังสือมือสอง , โครงการช่วยเหลือผ่าตัดแก้ไขปากแหว่งแพดานโหว่  และอื่น ๆ อีกมากมาย  อีกทั้งสนับสนุนด้านการส่งเสริมการศึกษาสิ่งแวดล้อม  วัฒนธรรม  อย่างสม่ำเสมอด้วยเจตนารมภ์ของโตโยต้าที่ว่า  โตโยต้าภูมิใจที่ได้เติบโตร่วมกับสังคมไทย   ซึ่งที่กล่าวมาทั้งหมดข้างต้น  โตโยต้าได้เล็งเห็นความสำคัญในทุก ๆ เรื่องมาสร้างเป็นพันธสัญญาต่อ   องค์กร , พนักงาน , ลูกค้า , ตัวแทนจำหน่าย   เพราะปัจจัยทั้งหมดเหล่านี้  ส่งผลให้โตโยต้าแข็งแกร่งเติบโตขึ้นมาได้และเป็นที่ยอมรับทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศจวบจนทุกวันนี้ค่ะ 
สวัสดีอาจารย์จีระ,อาจารย์พจนารถที่เคารพ และสวัสดีท่านผู้อ่านทุกท่าน  เนื่องจากดิฉันได้มีโอกาสเข้าเรียนกับท่าน อาจารย์พจนารถเมื่อวันที่ 12  สิงหาคม 2550 ในเรื่อง Workforce Alignment in an Organization โดยให้มีการเลือกตัวอย่างองค์กรจำนวน 1 องค์กร เพื่อวิเคราะห์ ซึ่งดิฉันขอเลือก บีเจซี โลจิสติกส์ ซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่งของกลุ่มบริษัทเบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) มีประเด็นของสิ่งต่างๆที่ต้องวิเคราะห์ดังต่อไปนี้ Mission(พันธกิจ)-ให้บริการด้านโลจิสติกส์แบบครบวงจร ที่มีประสิทธิผลด้วยระดับต้นทุนที่ต่ำและตรงตามความคาดหวังของลูกค้า-การบริหารจัดการที่ดีเลิศ อันเกิดจากความเชี่ยวชาญและความมุ่งมั่นของบุคลากรมืออาชีพ และการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยเชื่อมต่อกระบวนการที่มีคุณภาพ รวมทั้งระบบความร่วมมือที่ดีจากพันธมิตรทางธุรกิจ Vision(วิสัยทัศน์)เป็นผู้นำการให้บริการด้านโลจิสติกส์ที่มีคุณภาพในประเทศไทย อันก่อให้เกิดผลตอบแทนอันควรต่อผู้ถือหุ้น Value(ค่านิยม)-ความซื่อสัตย์ ได้แก่ ความโปร่งใส ความจริงใจ และความยุติธรรมในการตกลงดำเนินธุรกิจกับลูกค้าและคู่ค้า-การทำตามคำมั่นสัญญา ส่งมอบสินค้าจำนวนที่ครบถ้วน ถูกต้อง และตรงตามเวลาทุกครั้ง , แสวงหาโอกาสที่จะพัฒนาการการให้บริการที่ดีขึ้นตลอดเวลา ทั้งต่อลูกค้า หุ้นส่วน และคู่ค้า ,มีความกระตือรือร้นและความตั้งใจเต็มที่ ในความพยายามบรรลุวัตถุประสงค์ร่วมของบริษัทฯ , พัฒนาและให้รางวัลแก่ผู้ร่วมทีมที่มีความสามารถและทำตามคำมั่นสัญญาในการบรรลุเป้าหมายร่วมของบริษัท-ความสามารถในการเป็นนักประกอบการ สืบทอดความสามารถในการเป็นนักประกอบการที่สะสมมาจากอดีตโดยการแสวงหาโอกาสทางธุรกิจและตลาดใหม่อย่างสม่ำเสมอและตลอดเวลา-สังคม ในขณะที่บริษัทฯ ผลักดันธุรกิจเพื่อการเจริญเติบโต บริษัทฯ ยังคงสำนึกถึงความรับผิดชอบที่มีต่อสังคม บ้านเมือง และทางเศรษฐกิจ วิธีการที่ทำให้องค์กรนี้ประสบความสำเร็จและบรรลุตาม Missionและ Vision ที่ตั้งไว้มุ่งรักษาความสัมพันธ์กับลูกค้าแบบระยะยาวโดยการให้บริการที่มีคุณภาพที่สุด และบริษัทฯจะติดตามสำรวจความพึงพอใจและความเข้าใจในความต้องการของลูกค้าอย่างสม่ำเสมอตามนโยบายคุณภาพ ISO 9001:2000 ของบริษัทฯ โดยใช้เป็นเครื่องชี้วัดผลการปฏิบัติงานของบริษัทฯ เนื่องจากธุรกิจนี้จะเป็นธุรกิจของการบริการ จึงต้องเน้นเรื่องความพึงพอใจของลูกค้าเป็นหลัก ดังนั้นการวัดความพึงพอใจของลูกค้าจึงถือว่าเป็นวิธีการวัดผลการปฏิบัติงานที่สอดคล้องกับ Mission,Vision และ Value ขององค์กรที่ตั้งไว้ แหล่งอ้างอิงข้อมูล : www.bjclogistics.co.th
นางสาวศศวิมล ทับเวช
กราบเรียนศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ อาจารย์พจนารถ ซีบังเกิด และท่านผู้อ่านทุกท่าน ดิฉันนางสาวศศิวิมล ทับเวช นักศึกษาปริญญาโท ภาควิชาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง       เนื่องจากว่าในวันอาทิตย์ที่ 12 ก.ค.50 ได้เรียนวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ เรื่อง workforce alignment in an organization จากเวลา 9.00-12.00 น. ซึ่งยกตัวอย่างองค์กรในเครือเจริญโภคภัณฑ์กลุ่มธุรกิจแปรรูปสุกร ในกลุ่มธุรกิจดังกล่าวมีVision, Mission และ Target ดังนี้ Vision คือเป็นผู้นำด้านธุรกิจอาหารแปรรูปจากเนื้อสุกรที่มีคุณภาพ ปลอดภัยและได้มาตรฐานสากล เพื่อสนองความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ Mission คือเพื่อบรรลุวิสัยทัศน์ข้างต้น สายธุรกิจ แปรรูปสุกรครบวงจร มีภารกิจสำคัญที่จะต้องบรรลุ   ดังต่อไปนี้(1)  ด้านการส่งเสริม เป็นผู้นำในการผลิตสุกรขุนที่มีคุณภาพและปลอดภัยต่อผู้ บริโภคในปริมาณการผลิตที่ 1,500 ตัว/วัน ภายใน 5 ปี(2)  ด้านสุกรชำแหละ เป็นผู้นำด้านชำแหละสุกรที่มีคุณภาพ  ปลอดภัยและได้มาตรฐานสากล เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดทั้งภายในและต่างประเทศ (3)  ด้านแปรรูปชิ้นส่วน เป็นผู้นำการแปรรูปชิ้นส่วนสุกรที่มีคุณภาพ ปลอดภัยและได้มาตรฐานสากล เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ(4)  ด้านอาหารสำเร็จรูป ก้าวสู่ธุรกิจเนื้อสัตว์แปรรูปปรุงสุกส่งออก โดยเป็นผู้นำทั้งด้านคุณภาพ เทคโนโลยีและปริมาณภายในปี 2009 Target เช่นทุกโรงงานได้รับระบบมาตรฐาน เช่น ISO 9001ภายในเดือน เม.ย 50 และ ISO 14001ภายในเดือน ธ.ค 50       ดังนั้นเพื่อให้ Vision นั้นบรรลุตามที่ได้กล่าวไว้ ในองค์กรจึงต้องมีเครื่องมือชี้วัด (KPI) ยกตัวอย่างเช่น ฝ่ายผลิต มี KPI คือต้องผลิตสินค้าได้ตรงตามจำนวน เวลา และคุณภาพ ตามแผนการผลิต เพราะฉะนั้นหน้าที่ของพนักงานฝ่ายผลิตในแต่ละตำแหน่งก็ล้วนมีส่วนทำให้องค์กรพัฒนาขึ้นได้ เช่น พนักงานส่วนของบรรจุสินค้า ถ้าพนักงานไม่มีความเข้าใจใน spec ของการบรรจุสินค้าก็อาจจะทำให้สินค้านั้นไปสู่ลูกค้าได้ จึงไม่สอดคล้องกับ vision ที่กล่าวไว้ คือด้านคุณภาพและความปลอดภัย เป็นต้น ด้วยสาเหตุนี้พนักงานทุกคนในองค์กรจึงจำเป็นที่ต้องเข้าใน Vision ขององค์กรของตนเองเพื่อปฏิบัติไปในแนวทางดียวกันและมีจุดมุ่งหมายที่เหมือนกัน
เรียนศร.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  อาจารย์พจนารถ  ซีบังเกิด รวมถึงอาจารย์ทุกท่านและท่านผู้อ่าน  ดิฉันนางสาวกัญญารัตน์  ลาภเดโช นักศึกษาปริญญาโท สาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง  เมื่อวันอาทิตย์ที่ 12 สิงหาคมผ่านมา ท่านอ. พจนารถ  ซีบังเกิด ได้มาสอนเรื่อง workforce alignment in an organization ซึ่งอาจารย์ได้ให้การบ้านเป็นการวิเคราะห์เกี่ยวกับ workforce alignment ภายในองค์กรที่สนใจที่ทำให้พนักงานแต่ละคนปฏิบัติงานตาม Mission, Vision, Values เพื่อบรรลุGoalsหรือObjectives  ขององค์กรที่ตั้งไว้  ซึ่งดิฉันได้เลือก บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จํากัด (มหาชน) (“ไทยเบฟ”) เนื่องจากเป็นองค์กรที่ประสบความสำเร็จ  และเป็นที่น่าสนใจใจถึงการประสบความสำเร็จที่สามารถขึ้นเป็นผู้นำเกี่ยวกับธุรกิจแอลกอฮอล์   มีรายละเอียด ดังนี้ วิสัยทัศน์

" ไทยเบฟมุ่งมั่นพัฒนาสู่การเป็นผู้นำในธุรกิจเบียร์และสุราในประเทศไทยและขยายตัวอย่างต่อเนื่องสู่ตลาดต่างประเทศ โดย มุ่งเน้น ภูมิภาคเอเชีย เป็นหลัก"
พันธกิจ

ผลิตและจำหน่ายสินค้าที่มีคุณภาพสูงสุดให้แก่ผู้บริโภค
บริษัทมุ่งมั่นที่จะผลิตและจำหน่ายสินค้าที่มีทั้งคุณภาพและคุณค่าเพื่อสร้างความพึงพอใจสูงสุดให้กับลูกค้าและผู้บริโภค มีความภูมิใจ ในการสร้างมาตรฐานสินค้าไทยให้มีคุณภาพเท่าเทียมกับสินค้าต่างประเทศและสร้างรายได้นำกลับเข้าประเทศจากการ ส่งออก
 จากการศึกษากลยุทธ์ของบริษัทไทยเบฟเวอเรจในเรื่องการตลาดจะเน้นการกระจายสินค้า และกระตุ้นให้ผู้บริโภครู้จักตราสินค้าของบริษัทให้มากขึ้น ในส่วนของตัวแทนจำหน่ายจะมีการปรับวิธี การขายโดยเข้าไปดูแลใกล้ชิดมากขึ้น รวมทั้งคำนึงถึงความต้องการของผู้บริโภคเป็นหลัก และได้ทำการวิจัยตลาดเพื่อพัฒนาสินค้าให้สอดคล้องกับความต้อง การของผู้บริโภค การวิจัยผลิตภัณฑ์โดยนำทักษะความสามารถของผู้ผลิตสุราต่างประเทศ ผสมผสานกับทักษะความสามารถของผู้ผลิตสุราไทย  ที่เข้าใจถึงความต้องการของผู้บริโภคเป็นอย่างดี เพื่อสร้างสินค้าใหม่ที่มีคุณภาพเท่าเทียมสุราชั้นนำจากต่างประเทศหรือดีกว่าเพื่อลดการนำเข้า  โดยบริษัท”ไทยเบฟ”นั้นได้คำนึงถึงการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในระยะยาว และการตอกย้ำตราสินค้า และจากการที่บริษัท”ไทยเบฟ”ได้เข้าเป็นสปอนเซอร์เสื้อ ทีมฟุตบอล เอฟเวอร์ตัน ซึ่งจำทำให้เบียร์ช้างเป็นที่รู้จักกว้างขวางไปยังต่างประเทศทั่วโลกได้มากขึ้น   อีกทั้งสร้างมูลค่าเพิ่มจากการลดของเสียและเพิ่มประสิทธิภาพบริษัทเน้นการลงทุนในเทคโนโลยีและระบบใหม่ๆ อย่างต่อเนื่องเพื่อลดของเสียและเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ทรัพย์สินให้เกิด ประโยชน์สูงสุด อีกทั้งจะลดค่าใช้จ่ายในการผลิตและ จัดจำหน่ายสินค้าให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมในเรื่องของการบริหารทรัพยากรบุคคลนั้นบริษัท”ไทยเบฟ”ได้สร้างโอกาสและความมั่นคงทางการงานให้กับบุคลากรของบริษัท  บุคลากรทุกระดับเป็นปัจจัยสำคัญแห่งความสำเร็จทางธุรกิจของบริษัท จึงให้ความสำคัญต่อการพัฒนาด้านทรัพยากรมนุษย์อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะโครงการด้านการฝึกอบรมและการพัฒนาบุคลากรเพื่อการเรียนรู้และเติบโตก้าวหน้าขึ้นสู่ระดับบริหารที่จะเป็นผู้นำและมีความรักและความผูกพันกับองค์กรอย่างลึกซึ้ง และที่สำคัญการให้ความสำคัญเรื่องคนนั้นเป็นเสมือนการกระตุ้นและการพัฒนาให้บุคคลากรในบริษัท  เพื่อที่จะขับเคลื่อนให้บริษัทดำเนินธุรกิจได้อย่างประสบความสำเร็จ  ตามเป้าหมายที่วางไว้โดยพร้อมเพรียงกันทุกฝ่ายในเรื่องของการใส่ใจในสังคมและสิ่งแวดล้อมบริษัท”ไทยเบฟ”เชื่อว่าธุรกิจที่มั่นคงนั้นต้องมาจากการเป็นพลเมือง ที่ดีของสังคมบริษัทได้ให้ความช่วยเหลือ บริจาคเงิน สิ่งของ เครื่องอุปโภคบริโภค ให้กับ ประชาชนผู้ยากไร้ และผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนจาก ภัยธรรมชาติ บริษัทได้ให้การสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมสาธารณประโยชน์ของภาครัฐ และองค์กรเอกชน ในด้านต่างๆ อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งด้านกีฬา และการ สาธารณสุข ด้านสิ่งแวดล้อมบริษัทได้ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม โดยให้โรงงานทุกโรงงาน บริหารจัดการสิ่งแวดล้อมภายใต้มาตรฐานสากล ISO 14000:2004 เพื่อให้ได้มาซึ่งมาตรฐานด้าน สิ่งแวดล้อมและมีความปลอดภัยสูงสุดในทุกๆ ธุรกิจของบริษัทซึ่งที่กล่าวมาทั้งหมดข้างต้น จากการที่บริษัท”ไทยเบฟ”เห็นถึงความสำคัญในทุก ๆ เรื่องมาสร้างเป็นพันธสัญญาต่อองค์กร , พนักงาน , ลูกค้า , ตัวแทนจำหน่าย   และผู้ถือหุ้นทุกคน  เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นในการดำเนินธุรกิจของบริษัทที่จะประสบความสำเร็จได้และความพึงพอใจที่มีให้แก่บริษัทเอง 
สวัสดี ท่านอาจารย์ จีระ, อาจารย์ พจนาถ และท่านผู้อ่านทุกท่าน  ดิฉัน นางสาว สุมิตรา พนาอภิชน นักศึกษาปริญญาโท ณ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าคุณทหารลาดกระบังระบบการปกครองในประเทศเรา มีการปกครองโดยผู้มีอำนาจเพื่อไม่กี่คน จึงทำให้ระบบการปกครองของเราจึงเป็นเช่นทุกวันนี้ บางครั้งที่เราเห็นสิ่งที่ผู้มีอำนาจทำไม่ดี แต่ก็ไม่มีใครกล้าออกมาประกาศ เนื่องจากกลัวอำนาจของผู้อิทธิพล จึงทำให้ระบบการปกครองของประเทศไทยตกอยู่ในมือของผู้มีอำนาจไม่กี่คน และในช่วงนี้รัฐบาลได้เปิดโอกาสให้ประชาชนมีสิทธิมีเสียงในการร่วมกันพิจารณาว่า เราสมควรรับร่างรัฐธรรมนูญใหม่หรือไม่ ดังนั้นเมื่อเป็นโอกาสดี ก็อยากให้พี่น้องประชาชนชาวไทยช่วยกันไปออกสิทธิออกเสียงว่าจะรับร่างรัฐธรรมนูญหรือไม่ แต่สิ่งหนึ่งที่อยากให้พี่น้องชาวไทยช่วยกันคือ การศึกษารายละเอียดต่างๆ ที่อยู่ในร่างรัฐธรรมนูญว่าเป็นเช่นไร มิใช่เชื่อจากข่าวโคมลองว่ารัฐธรรมนูญปี 50 ไม่ดี แต่อยากให้พี่น้องชาวไทยช่วยกันศึกษาด้วยตนเองจะดีกว่า เพราะในเวลานี้มีกลุ่มคนที่ไม่ประสงค์ดีมาก่อกวนระบบการปกครองของเรา ทำให้มีผลกระทบกับระบบเศรษฐกิจของไทยเป็นอย่างมาก แต่ถ้าเราสามารถทำให้ระบบการปกครองของเราเข้าสู่สภาวะปกติได้เร็ว ก็น่าจะส่งผลให้ระบบเศรษฐกิจดีขึ้น และยังทำให้ระบบการปกครองของเราดีขึ้นกว่าเดิมสุดท้ายก็ขอให้พี่น้องชาวไทยไปร่วมกันออกเสียงมากๆ นะคะ เพื่อประเทศไทยของเรา สำหรับการบ้านที่อาจารย์พจนาถ ได้ให้ไว้นั้น ดิฉันไม่สะดวกที่จะส่งทาง Blog ต้องขอโทษด้วย
เรียน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์, อาจารย์พจนารถ  ชีบังเกิด รวมถึงอาจารย์ทุกท่านและผู้อ่านทุกท่าน  ผมนายปริญญา  รักพรหม นักศึกษา ป.โท สาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2550 อาจารย์พจนารถ ชีบังเกิด ได้มาสอนในเรื่อง Workforce Alignment in an Organization และได้ให้การบ้านโดยให้เลือกตัวอย่างองค์กรที่นักศึกษาสนใจมาศึกษาและทำการวิเคราะห์เกี่ยวกับ Workforce Alignment ในองค์กร โดยผมได้เลือก บริษัท ยูไนเต็ด สแตนดาร์ด เทอร์มินัล จำกัด (มหาชน) หรือ “UST” ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของกลุ่มบริษัทน้ำตาลมิตรผล ที่ดำเนินธุรกิจด้านการให้บริการจัดการโลจิสติกส์ให้กับบริษัทน้ำตาลชั้นนำต่างๆ ด้วยมาตรฐานจัดการ ISO 9001:2000 และความเอาใจใส่จนได้รับความไว้วางใจจากลูกค้า ทำให้บริษัทสามารถครองอันดับหนึ่งในตลาดโลจิสติกส์น้ำตาลของประเทศไทย ดังนั้น แนวทางการบริหารจัดการองค์กรให้ประสบความสำเร็จของ UST คือ การยึดถือปฏิบัติตาม Vision Mission ดังนี้ Vision “UST เป็นผู้ให้บริการจัดการโลจิสติกส์ที่ทันสมัย เพื่อเพิ่มคุณค่าให้แก่ลูกค้า พนักงาน และมีความรับผิดชอบต่อสังคม Mission “UST เป็นบริษัทมหาชนที่ให้บริการด้านการขนถ่ายและเก็บสินค้า เพื่อการนำเข้า-ส่งออกที่ลูกค้าให้ความไว้วางใจและความเชื่อถือ โดย 1. รับประกันคุณภาพบริการ ความปลอดภัย และ ตรงต่อเวลา2. มีทีมงาน อุปกรณ์ และระบบสารสนเทศ ที่มีประสิทธิภาพ3. มีคลังสินค้ามาตรฐานและท่าเรือที่อยู่ในจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญของประเทศสามารถเชื่อมต่อการคมนาคมขนส่งหลายรูปแบบ (Multimodal Transportation) ด้วยธุรกิจของ UST เป็นธุรกิจทางด้านการให้บริการจัดการโลจิสติกส์ ซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการจัดการด้านเวลา ต้นทุน และความพึงพอใจของลูกค้า ซึ่งทาง UST เองก็ได้ตระหนักและให้ความสำคัญเกี่ยวกับเรื่องนี้เป็นอย่างมาก จึงได้พัฒนาองค์กรทั้งทางด้านการบริหารและการลงทุนด้านเทคโนโลยี อย่างต่อเนื่อง ดังเช่น การได้ร่วมมือกับผู้พัฒนาระบบ Logistics Management จากประเทศสิงคโปร์ ที่มีความชำนาญและมากด้วยประสบการณ์ ในการพัฒนาระบบดังกล่าว ซึ่งได้มีการนำไปใช้กับนานาประเทศเอเชีย เช่น จีน, ญี่ปุ่น, สิงคโปร์, มาเลเซีย และไต้หวัน ล้วนแล้วแต่เป็นประเทศผู้ผลิตสินค้าชั้นนำในอันดับต้นๆ UST ได้นำเทคโนโลยี ล่าสุดของการพัฒนาระบบ Logistics Management มาใช้ในธุรกิจการบริหารงานของบริษัท ฯ จนทำให้สามารถ เพิ่มศักยภาพ ในการบริการที่รวดเร็วและแม่นยำมากยิ่งขึ้น อีกทั้งระบบดังกล่าว ยังเอื้อประโยชน์ให้ลูกค้า สามารถเข้าถึงข้อมูล หรือแม้กระทั่งบริหารจัดการ Supply Chain ของลูกค้าได้เอง ตามความต้องการ และการบริหารงานภายใต้ระบบการบริหารคุณภาพ ISO 9001:2000 ที่มีนโยบายที่ว่า มุ่งมั่นพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ใส่ใจในคุณภาพและบริการ เพื่อสร้างความพึงพอใจแก่ลูกค้าและมีความรับผิดชอบโดย 1. ปลูกฝังให้พนักงานมีจิตสำนึกในเรื่องระบบและคิดอย่างเป็นกระบวนการ ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพตลอดจน มุ่งมั่นพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ได้มาซึ่งคุณภาพของงานอย่างดีที่สุด และดำเนินการปรับปรุงเพื่อให้เกิดประสิทธิผลของระบบบริหารคุณภาพ ISO 9001:2000 2. ใส่ใจในคุณภาพและบริการ เป็นความรับผิดชอบและหน้าที่ของพนักงานทุกคน ที่จะต้องรักษาไว้รวมทั้งต้องทบทวนปรับปรุงเพื่อพัฒนาให้ทันสมัยอยู่เสมอ เพื่อความพึงพอใจของลูกค้า 3. บริษัทฯ มีความรับผิดชอบต่อสังคม โดยการเอาใจใส่ในสวัสดิภาพของพนักงาน,คนงานและคุณภาพชีวิตของชุมชน 4. มีการจัดทำวัตถุประสงค์และเป้าหมายคุณภาพของบริษัทฯ เพื่อให้การดำเนิน กิจกรรมบรรลุตามนโยบายของบริษัทฯ 5. จัดให้มีการทบทวนนโยบายคุณภาพเพื่อความเหมะสมทุก ๆ 6 เดือน ดังที่กล่าวมาข้างต้นตามที่ทาง UST ได้ยึดถือปฏิบัติตาม Vision, Mission ที่ได้ตั้งปณิธารไว้รวมถึงการพัฒนาองค์กรอย่างต่อเนื่องตามระบบ ISO 9001:2000 จึงทำให้ UST ประสบความสำเร็จในการดำเนินกิจการและสามารถตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพและได้รับการยอมรับจากลูกค้ามาจนถึงปัจจุบัน.(ข้อมูลอ้างอิงจาก www.ust.co.th)    
นายอานนท์ ร่มลำดวน
  • เรียน ศ.ดร จีระ , ท่านอาจารย์ พจนารถ  ,พี่ๆ ทีมงาน  Chira Academy  และท่านผู้ติดตาม Blog ของพวกเรานักศึกษา ป.โท ลาดกระบังทุกท่าน เมื่อวันแม่ (วันอาทิตย์ที่ 12 สิงหาคม 2550  ) ที่ผ่านมา เราได้มีโอกาสในการเรียนรู้กับท่านอาจารย์พจนารถ  ในเรื่อง Workforce Alignment in an Organization โดยท่านอาจารย์ทดลองวิเคราะห์องค์กรที่สนใจว่ามีระบบการดำเนินการอย่างไรบ้าง  โดยบริษัทที่ผมอยากนำเสนอก็คือ บมจ.อาร์เอส ซึ่งมี Vision  ( วิสัยทัศน์ ) และ Mission  ( พันธกิจ ) ดังนี้
  • Vision  ( วิสัยทัศน์ )
เป็นเครือข่ายความบันเทิง (The Entertainment Network)
  • Mission  ( พันธกิจ )   
            ใช้ โมเดล 3S : Style-Speed-Synergy
  1. S  แรก คือ Style วิธีมอง และวิธีหาเงินต้องเปลี่ยนไปจากเดิม เพราะเราได้เปลี่ยนตัวเองจาก อนาล็อกไปสู่ ดิจิทัลเมื่อพบว่าพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไป หลังการเข้ามาของ MP3, MP4 และโทรศัพท์มือถือ ซึ่งทำหน้าที่มากกว่าเป็นอุปกรณ์สื่อสารทั่วไป
  2. S ที่สอง คือ Speed องค์กรต้องใหญ่ ยืดหยุ่น และไม่อุ้ยอ้าย รวมถึงต้องกระจายอำนาจการบริหารออกไปจากส่วนกลาง (Decentralization) เพื่อความคล่องตัวในการทำงาน ไม่ต้องมาผูกที่เรา(เฮียฮ้อ)คนเดียว
  3. และ S ที่สาม คือ Synergy ทุกธุรกิจต้องแข็งแรง และสามารถเสริมพลังซึ่งกันและกันได้ (สร้างธุรกิจร่วมกับพันธมิตร) ถ้าอธิบายง่ายๆ ก็คือ 1+1 ต้องมากกว่า 2
  • โดยกิจกรรมที่ดำเนินการในรูแบบของ  Workforce Alignment in an Organization  ที่สามารถยกตัวอย่างได้คร่าวๆคือ ได้แตกบริษัทลูกออกมาเป็น 8 ธุรกิจหลัก ได้แก่ ธุรกิจเพลง ธุรกิจดิจิทัล ธุรกิจโชว์บิซ ธุรกิจภาพยนตร์ ธุรกิจกีฬา ธุรกิจสื่อโทรทัศน์ ธุรกิจสื่อวิทยุ และธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์  เพื่อรองรับ Entertainment Network ให้ครอบคลุมทุกส่วน
  • ทั้งนี้ ไฮไลต์สำคัญของปีหน้าจะอยู่ที่ "ธุรกิจกีฬา" ผ่าน บริษัท อาร์เอส อินเตอร์เนชั่นแนล บรอดคราสติ้ง แอนด์ สปอร์ต แมเนจเม้นท์ (RSBS)  ที่ได้เตรียมจัดอีเวนท์กีฬาขนาดใหญ่ 5-6 งาน อาทิเช่น ฟุตบอลฟีฟ่าชิงแชมป์โลก อายุต่ำกว่า 20 ปี, World Cup u -17 และ Woman World Cup เป็นต้น หลังจากที่ได้ลิขสิทธิ์ทางด้านสื่อทุกประเภทของการแข่งขันฟุตบอลโลก 2 สมัยซ้อน ในปี 2553 และปี 2557   รวมถึง การแข่งขันฟุตบอลระดับนานาชาติ FIFA The Internation Federation Of Addociation Football ที่ได้รับสิทธิตั้งแต่ปีนี้ ไปถึงปี 2010 และยังได้รับสิทธิบริหารจัดการด้านการตลาด การจัดตั้งสถานีแม่ข่ายถ่ายทอดโทรทัศน์ และการดำเนินการจัดแสง สี แสง พิธีเปิด-ปิด ในการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ครั้งที่ 25 ประเทศลาว ในปี 2552  อาร์เอสได้จัดกิจกรรมกีฬาฟุตบอลขนาดเล็กอย่างการแข่งขันฟุตบอลระดับนานาชาติ FIFA ที่มีอยู่ 7 รายการ อาทิเช่น FIFA U-20 World Cup Canada 2007 (30 มิ.ย.-22 ก.ค.50) FIFA U-17 World Cup Korea (18 ส.ค.-9 ก.ย.50) FIFA Woman’s World Cup China 2007 (10-30 ก.ย.50) FIFA Beach Soccer World Cup 2007 (1-11 พ.ย.50)  Prelminary Draw 2010 FIFA World Cup (23 พ.ย.50) และ FIFA World Player GALA (17 ธ.ค.50) เพราะนอกจากจะบันทึกเงินจากการจัดกิจกรรมแล้ว ยังมีรายได้จากคอนเทนท์ต่างๆ ในรูปแบบใหม่อีกด้วย
  • "ธุรกิจดิจิทัล" ก็เป็นอีกตัวที่ อาร์เอสจะให้ความสำคัญมากที่สุด เพราะในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ธุรกิจการให้บริการเนื้อหาผ่านทางโทรศัพท์เคลื่อนที่มีการเติบโตอย่างก้าวกระโดด มีการคิดคอนเทนท์ใหม่ออกมาเจาะตลาดมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น VDO Clip ประตูเด็ด, SMS ชิงโชคทายผลฟุตบอล และนำเพลงลูกทุ่งจากค่าย R-Siam มาทำเป็นเสียงเรียกเข้า เสียงเพลงรอสาย เพื่อเจาะตลาดกลุ่มคนต่างจังหวัด และกลุ่มคนทำงานโรงงาน ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีเห็นได้จากยอดดาวน์โหลดที่พุ่งขึ้นอย่างน่าตกใจ ล่าสุดมีแผนทำ SMS หมอดูออนไลน์ และข้อมูลทางวิชาการ ซึ่งราคาในวันนี้ไม่ใช่ประเด็นใหญ่ ขอแค่มีสินค้าตรงใจผู้บริโภคก็เพียงพอแล้ว
  • "ธุรกิจโชว์บิซ" ถือเป็นอีกตัวที่จะทำกำไรได้ค่อนข้างมาก หลังเข้าไปรุกธุรกิจนี้อย่างจริงจังเมื่อปีก่อน โดยการตั้งหน่วยงานขึ้นมาจัดกิจกรรม และคอนเสิร์ตในประเทศ อย่างในช่วงครึ่งปีหลังเตรียมจัดคอนเสิร์ตของโปงลางสะออน ฟิล์ม แดน-บีม ปาน ธนพร และลิเดีย  ล่าสุดมีแผนจัดตั้งบริษัทย่อยร่วมกับศิลปินที่มีชื่อเสียงในเมืองไทย โดยอาร์เอสจะถือหุ้น 75% เพื่อดำเนินธุรกิจอีเวนท์ และจัดคอนเสิร์ตต่างประเทศ  และ มีการจัดตั้ง บริษัท อาร์เอส เฟรชแอร์ เพื่อขยายธุรกิจ ด้านการจัดคอนเสิร์ต และ อีเวนท์ ในรูปแบบที่หลากหลายขึ้น โดยอาร์เอส ถือหุ้นใหญ่ 74% และกลุ่มนายวินิจ เลิศรัตนชัย ถือหุ้นในสัดส่วน 26%
  • "ธุรกิจสื่อโทรทัศน์" จากนี้ไปจะไม่เน้นปริมาณเหมือนในอดีตแล้ว แต่จะเน้นคุณภาพมากกว่า อย่างสื่อโทรทัศน์จะทำเฉพาะรายการที่ทำกำไรเท่านั้น อย่างปัจจุบันมีรายการทั้งหมด 26 รายการ แบ่งเป็นรายการละคร 2 รายการประเภทวัยรุ่น 3 รายการประเภทสาระบันเทิง 7 รายการ และรายการเพลง 14 รายการ
  •  "ธุรกิจวิทยุ" ก็จะให้ความสำคัญกับ 3 คลื่นที่มีอยู่ คือ Max 88.5, Cool 93 และ Latte 106 ซึ่งทุกคลื่นเริ่มฟื้นตัวมากขึ้นแล้ว หลังจากปรับกลยุทธ์ต่างๆ เพื่อเจาะกลุ่มเป้าหมายให้แตกต่างกันอย่างชัดเจน
  • "ธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์" ใช้เวลาปรับปรุงมาตลอด 2 ปี มาถึงตอนนี้ถือเป็นที่น่าพอใจ โดยเฉพาะหนังสือพิมพ์บันเทิงรายวัน dara daily หลังมีกระแสตอบรับดีมาก เห็นจากการที่แวดวงโฆษณา ดารา นักร้อง และสื่อมวลชน เริ่มให้การยอมรับมากขึ้น คาดว่าสิ้นปีนี้จะถึงจุดคุ้มทุน เพราะเนื้อหาแตกต่างจากหนังสือพิมพ์บันเทิงเล่มอื่นๆ  ขณะที่นิตยสารสไตล์ปาปาราซซี dara daily weekend ก็เริ่มได้รับการยอมรับมากขึ้นเช่นกัน หลังจากเน้นกลยุทธ์ชัดเจน สร้างความต้องการให้กับผู้อ่าน และสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ครบถ้วน   นิตยสาร front เป็นนิตยสารสำหรับผู้หญิงระดับแนวหน้า วันนี้ยังน่าเป็นห่วง เพราะยังไม่มีกำไร ซึ่งคงพิจารณาอีกครั้งว่าจะดำเนินการปรับปรุงอย่างไร ส่วนนิตยสาร fame สามารถตอบโจทย์กลุ่มคนรุ่นใหม่ที่มีกำลังซื้อสูงได้เป็นอย่างดีและภายในครึ่งปีหลังนี้ จะเห็นธุรกิจของค่ายอาร์เอส เกิดขึ้นใหม่อีก 2 ตัว
  • วันนี้ อาร์เอสได้ปรับตัวไปมากพอสมควร แหล่งรายได้ไม่ได้พึ่งพิงเพียงเทป ซีดี และวีซีดี เหมือนในอดีตอีกต่อไป ภายหลังได้ตัดขายโรงงานทิ้งไป แล้วหันมาจ้างผลิตแทน เพื่อลดต้นทุน ปัจจุบันธุรกิจเพลงมีรายได้หลายทางไม่ว่าจะเป็น Digital Content จากการขายผลิตภัณฑ์เพลงทั้งชุดเก่า ใหม่ และรวมฮิตในรูปแบบต่างๆ จากการหาสปอนเซอร์สนับสนุนอัลบั้ม จัดกิจกรรมทางการตลาด และการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์เพลง
  • ค่ายอาร์เอส ยังปรับจุดอ่อนในอดีต ธุรกิจที่เคยกดดันผลประกอบการ วันนี้ ก็ฟื้นตัวมาหมดแล้ว ไม่ว่าจะเป็น "ธุรกิจภาพยนตร์" ที่ได้ปรับกลยุทธ์ใหม่ โดยทุกเรื่องต้องมีพันธมิตรเข้ามาเป็นผู้สนับสนุน ต้องทำให้ถึงจุดคุ้มทุนตั้งแต่หนังยังไม่เข้าฉาย   เห็นได้จากภาพยนตร์เรื่อง รักนะ 24 ชม.ที่มีสปอนเซอร์ร่วมสนับสนุนจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็น 7-eleven, เนสกาแฟ และยามาฮ่า ขณะที่ในไตรมาส 4 ภาพยนตร์เรื่องโปงลางสะอิ้งจะเข้าฉาย ล่าสุดอยู่ระหว่างเจรจากับสปอนเซอร์หลายราย
  • ดังนั้นจะเห็นได้อย่างชัดเจนในเรื่องการดำเนินการในระดับของธุรกิจหรือพันธกิจต่างๆที่เกิดขึ้นล้วนแล้วแต่ตอบสนองต่อเป้าหมายหลักขององค์กร ( Vision ) นั่นก็คือการก้าวไปเป็น เครือข่ายความบันเทิง (The Entertainment Network)  นั่นเอง  ถือเป็นการทำ Workforce Alignment in an Organization  ที่ดีอย่างมากโดยเฉพาะเรื่องสื่อความบันเทิงในโลกแห่งยุคเทคโนโลยีซึ่งในปัจจุบันคนแทบทุกคนในโลกก็ล้วนแล้วแต่บริโภคสื่อ ความบันเทิง หรือ เทคโนโลยี กันอย่างมาก  ทำให้ผมนึกถึงทฤษฎีของอาจารย์จีระที่ว่าไว้ในเรื่องของทุน ที่ท่านเน้นย้ำในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีซึ่งตอนนี้รวมทุกอย่างให้เข้าด้วยกัน ( Convergent ) ทำให้การเรียนรู้นั้นเข้าถึงกันได้อย่างรวดเร็ว โลกแบนขึ้น ดังนั้นเราก็ควรที่จะต้องก้าวให้ทันโลกแห่งเทคโนโลยีให้ได้เพื่อที่จะได้เท่าทันเพื่อที่จะสามารถแข่งขันในโลกปัจจุบันได้
      
        กราบเรียนศ.ดร.จีระ , อ.พจนารถ ซีบังเกิด และท่านผู้อ่านทุกท่าน ดิฉันน.ส.เริงหทัย สำราญ นักศึกษาระดับปริญญาโท สาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง  เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา อาจารย์พจนารถ ได้มาบรรยายให้ความรู้ในวิชา การจัดการทรัพยากรมนุษย์ ในหัวข้อเรื่อง Workforce Alignment in an Organization  ซึ่งอาจารย์ได้ให้นักศึกษา เลือกวิเคราะห์องค์กรหรือบริษัทที่นักศึกษาสนใจเกี่ยวกับ Mission, Vision, Values, Goals/Objectives   ขององค์กรดังกล่าว โดยจากการศึกษาข้อมูล ดิฉันขอยกตัวอย่าง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย : กฟผ”  วิสัยทัศน์ เป็นองค์กรชั้นนำในกิจการไฟฟ้าและธุรกิจที่เกี่ยวข้องในระดับสากล พันธกิจเพื่อสรรค์สร้างและพัฒนาคุณภาพชีวิต ด้วยการให้บริการด้านพลังงานที่มีคุณภาพเชื่อถือได้ในราคาที่เหมาะสม เป็นธรรม และรักษาความสมดุลกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ภารกิจการดำเนินการ1 ผลิต จัดหาให้ได้มา จัดส่งหรือจำหน่ายซึ่งพลังงานไฟฟ้าให้แก่    1 การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค หรือการไฟฟ้าอื่นๆ ตามกฏหมายว่าด้วยการนั้น    2 ผู้ใช้พลังงานไฟฟ้า โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ    3 ประเทศใกล้เคียง2 ดำเนินงานต่างๆ ที่เกี่ยวกับระบบไฟฟ้าและเขตเดินสายไฟฟ้า3 ดำเนินการต่างๆ เพื่อให้ได้หรือการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวกับพลังงานไฟฟฟ้าแหล่งพลังงานอันได้มาจากธรรมชาติ เช่น น้ำ คน ความร้อนธรรมชาติ แสงแดด แร่ธาตุ หรือเชื้อเพลิง เป็นต้นว่า น้ำมัน ถ่านหิน หรือก๊าช รวมทั้งพลังงานปรมาณูเพื่อการผลิตพลังงานไฟฟ้า และงานที่ส่งเสริมกิจการของ กฟฝ4 ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับพลังงานไฟฟ้าและธุรกิจอื่นที่เกี่ยวกับหรือต่อเนื่องกับ กฟฝ5 ผลิตและขายลิกไนต์ หรือวัตถุเคมีจากลิกไนต์ หรือโดยอาศัยลิกไนต์ กรอบแนวความคิดจะมุ่งมั่นสร้างสรรคความเข้าใจ ความร่วมมือ กับประชาชนทุกกลุ่ม บนพื้นฐานของการมีส่วน ร่วมด้วยความเข้าใจซึ่งกันและกัน เพื่อใหกฟผ. เป็นองค์กรที่สามารถผสานความคิดเห็นความต้องการของชุมชนประชาชน กับแนวทางการดําเนินงานขององค์กรไดอย่างสอดคล้อง ลงตัวและกลมกลืนยึดถือเรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นสําคัญ กลยุทธกลยุทธ์ที่ 1 สร้างจิตสำนึกให้ทุกคนในองค์กรตระหนักว่า กฟผ. เป็นหน่วยหนึ่งของสังคม ความสำเร็จใด ๆ ของ กฟผ. ขึ้นอยู่กับการมีส่วนร่วมขอประชาชน การดำเนินภารกิจในทุกขั้นตอนต้องคำนึงถึงสิทธิ ความรู้สึกของ ประชาชน และสิ่งแวดล้อมเสมอโดยมีแผนงานรองรับคือแผนงานสร้างจิตสำนึกคนกฟผ.

กลยุทธ์ที่ 2 ดำเนินภารกิจขององค์กรด้วยมาตรฐานสิ่งแวดล้อมที่กำหนดไว้ โดยมีแผนงานรองรับคือแผนงานด้านมาตรฐานสิ่งแวดล้อม

กลยุทธ์ที่ 3 ทุกหน่วยงานใน กฟผ. จัดกิจกรรมเพื่อสังคมอย่างสม่ำเสมอในเชิงรุกและต่อเนื่องโดยมีแผนงานรองรับคือแผนงานกิจกรรมเพื่อสังคมเชิงรุก

กลยุทธ์ที่ 4 สนับสนุนให้ผู้แทนจากภาคประชาชนเข้ามีส่วนร่วมกับการดำเนินงานทุกโครงการก่อสร้างของ กฟผ. ในรูปของคณะทำงาน หรือคณะกรรมการ โดยมีแผนงานรองรับคือแผนงานสนับสนุนให้มีผู้แทนภาคประชาชน

กลยุทธ์ที่ 5 เสริมสร้าง ผลักดันให้ชุมชน ประชาชนในพื้นที่รอบหน่วยงาน กฟผ. มีส่วนร่วมเป็นเจ้าของ โดยมีแผนงานรองรับคือ แผนงานเสริมสร้างให้ประชาชนมีส่วนร่วมเป็นเข้าของ

กลยุทธ์ที่ 6 ตอบแทน คืนกลับผลประโยชน์ในรูปแบบต่าง ๆ ให้กับสังคม ชุมชนในพื้นที่รอบหน่วยงาน กฟผ. ทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยมีแผนงานรองรับคือ แผนงานตอบแทนคืนกลับสู่สังคม

กลยุทธ์ที่ 7 ทุกหน่วยงานใน กฟผ. ต้องสร้างความสัมพันธ์อันดีกับสื่อมวลชน หน่วยงานภาครัฐและเอกชนในพื้นที่อย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง โดยมีแผนงานรองรับคือแผนงานสร้างสัมพันธ์อันดี

กลยุทธ์ที่ 8 ร่วมกิจกรรมเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนความรู้และข้อคิดเห็นกับองค์กรเอกชนโดยมีแผนงานรองรับคือแผนงานเชื่อมโยงกับองค์กรเอกชน

กลยุทธ์ที่ 9 จัดสรรงบประมาณให้เพียงพอและเหมาะสมกับทุกกิจกรรมในแต่ละกลยุทธ์ โดยมีแผนงานรองรับคือ แผนงานจัดสรรงบประมาณ
 ซึ่งจะเห็นได้จากโครงการต่างๆ ของทาง กฟผ ซึ่งยึดหลักการมีส่วนร่วมและเป็นส่วนหนึ่งของสังคม และเป็นผู้นำในการรักษาสิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังตอกย้ำภาพลักษณ์ของ กฟผ. ด้วยสโลแกน ไม่ว่าอะไรจะหยุด แต่ไฟฟ้าไม่มีวันหยุดเสริมสร้างภาพลักษณ์ในการเป็นผู้นำด้านผลิตไฟฟ้าที่มีคุณภาพ และมีประสบการณ์อันยาวนาน ในฐานะมืออาชีพอย่างแท้จริง ซึ่งอยู่เบื้องหลังความมั่นคงด้านเศรษฐกิจ และอุตสาหกรรมให้กับประเทศไทยตลอดมากว่า 38 ปี กฟผ. มีเป้าหมายที่จะสื่อสารไปยังประชาชนผู้ใช้ไฟฟ้าทั่วประเทศถึงภารกิจของ กฟผ. ตลอด 24 ชั่วโมงในแต่ละวัน เพื่อการบริการไฟฟ้าที่ดีภายใต้ทีมงานมืออาชีพที่มีความรับผิดชอบสูง อีกทั้งยังถือเป็นคำมั่นสัญญาว่า กฟผ. จะเดินหน้าผลิตไฟฟ้า รวมถึงสรรหาแหล่งทรัพยากรอื่นๆ ที่นำมาใช้ในการผลิตพลังงานที่มีต้นทุนต่ำ เพื่อดำรงไว้ซึ่งความสุขของประชาชนคนไทย และเพื่อความมั่นคงของประเทศ
กราบเรียนศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมย์ อ.พจนารถ ซีบังเกิด และทุกท่านที่ติดตาม blog นี้อยู่ ดิฉันนางสาววรนรี พันธุสังข์ นักศึกษาปริญญาโท สาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง        เมื่อวันอาทิตย์ที่  12 สิงหาคม 50 ดิฉันและเพื่อนๆได้เข้ารับฟังการบรรยายในหัวข้อ Workforce Alignment in an Organization และประสบการณ์ทำงานจากท่านอาจารย์พจนารถ ซึ่งถึงแม้จะเป็นวันหยุดของคนส่วนใหญ่แต่สำหรับดิฉันถือเป็นการใช้เวลาที่ก่อให้เกิดประโยชน์ทางปัญหาอย่างคุ้มค่าทั้งต่อการทำงานและการดำเนินชีวิตนำไปใช้ได้จริงเกี่ยวกับว่าเราจะทำอย่างไรให้คนทุกคนในองค์กรไปด้วยกันพร้อมๆกันโดยก่อนที่จะไปด้วยกันต้องช่วยกัน มีการคิดร่วมกันเพื่อให้องค์กรขับเคลื่อนไปในทิศทางเดียวกัน ตลอดจนทำให้ดิฉันเข้าใจถึงกลไกที่จะทำให้ไปสู่เป้าหมายนี้ตั้งแต่ Vision ,Mission , Values , Goals , Objectives และ Brand มากยิ่งขึ้น และจากการบรรยายครั้งนี้ในท้ายสุดท่านอาจารย์พจนารถได้ฝากให้พวกเรา กลับไปลองศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับกลไกดังกล่าวนี้ของบริษัทที่สนใจที่จะก่อให้เกิดลักษณะ Workforce Alignment ในองค์กรนั้นๆ ได้อย่างไรและอาศัยกลยุทธ์อย่างไรที่ทำให้ตอบโจทย์และสอดคล้องต่อ Vision ,Mission , Values , Goals , Objectives ที่กำหนดไว้นั้นๆ ซึ่งดิฉันสนใจและได้ศึกษาเกี่ยวกับบริษัท ยูนีลีเวอร์ ไทย โฮลดิ้งส์ จำกัด โดยเป็นบริษัทในเครือยูนิลีเวอร์

Ø พันธกิจใหม่ของ ยูนิลีเวอร์ (Mission)

"พลังแห่งชีวิต" พันธกิจของยูนิลีเวอร์ คือ การเติมพลังให้แก่ชีวิต เราตอบสนองความต้องการทางด้านโภชนาการ สุขอนามัย และการดูแลเอาใจใส่ชีวิตส่วนตัวด้วยผลิตภัณฑ์ที่ช่วยให้ผู้คนรู้สึกดี มีลักษณะชวนมอง และแต่งเติมให้มีความสุขมากยิ่งขึ้นทุกวัน

Ø ค่านิยมของยูนิลีเวอร์ในประเทศไทย ( Values )

ในการบรรลุเป้าหมายของการเป็นองค์กรที่มีวัฒนธรรมการทำงานเป็นทีมที่ได้มาตรฐานสูงสุดนั้น เราได้นำแนวคิด Path to Growth มาใช้ โดยยึดมั่นในคุณค่าต่างๆ เหล่านี้ มาเป็นกลยุทธ์องค์กร

มุ่งมั่นที่จะได้ชัยชนะ

  • เรามุ่งมั่นสู่ความเป็นเลิศ 
  • เรามุ่งครองความเป็นผู้นำในตลาดด้วยการให้บริการที่เหนือความคาดหมายของลูกค้าและผู้บริโภค
  • เรามุ่งสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และบริการที่มีคุณภาพสูงสุดในทุกภาระหน้าที่ที่รับผิดชอบ         

มีจิตสำนึกของความเป็นเจ้าของธุรกิจ 

  • เรามีความคิดริเริ่มและความกระตือรือร้นที่จะก้าวไปข้างหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง
  • เราจะนำเสนอแนวทางใหม่จากแนวคิดริเริ่มที่ไม่เคยมีมาก่อนเพื่อความสำเร็จของธุรกิจ
  • เรารอบคอบและกล้าเสี่ยงอย่างมีหลักเกณฑ์          

ให้เกียรติและไว้วางใจซึ่งกันและกัน

  • เราวางตนให้เป็นที่น่าเชื่อถือ มีความซื่อสัตย์จริงใจ และเปิดเผย
  • เราใส่ใจต่อพนักงานและเพื่อนร่วมงานทุกคน
  • เราให้เกียรติกันและกัน รวมทั้งให้เกียรติผู้บริโภค ลูกค้า ซัพพลายเออร์ และชุมชนที่ยูนิลีเวอร์เข้าไปประกอบกิจการ         

การมอบอำนาจและความรับผิดชอบ

  • เราพร้อมที่จะรับผิดชอบต่อภาระหน้าที่และการปฏิบัติงานเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กร
  • เรามีอิสระในการปฏิบัติงานที่อยู่ในความรับผิดชอบ
  • การอุทิศตนและผลงานความสำเร็จจะได้รับการยกย่องและตอบแทนอย่างเหมาะสมและโปร่งใส         

เติมเต็มให้กับชีวิต

  • ความสำเร็จและความสุขในชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัว
  • เรารู้จักจัดลำดับความสำคัญของงานเพื่อประหยัดเวลาการทำงานของตนเองและผู้อื่น
  • สนุกกับการทำงาน          

พัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง

  • เรามีความรับผิดชอบที่จะไขว่คว้าหาความรู้และพัฒนาตนเองอยู่เสมอ 
  • เราหมั่นเรียนรู้จากประสบการณ์ทำงาน สอนงาน และแบ่งปันความรู้นั้นให้แก่ผู้อื่น 
  • เราริเริ่มแนวคิดใหม่ๆ และมุ่งพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการที่ล้ำหน้าอย่างต่อเนื่อง
Ø  วัตถุประสงค์ & หลักการ ( Objectives )วัตถุประสงค์ของบริษัทยูนิลีเวอร์ระบุว่า ความสำเร็จจะเกิดขึ้นได้ เราต้องมี  "มาตรฐานสูงสุดของพฤติกรรมองค์กร เพื่อทุกๆ คนที่เราทำงานด้วย เพื่อชุมชนที่เราตั้งอยู่ และเพื่อสิ่งแวดล้อมที่เรามีผลกระทบ"หลักการทำงาน ประกอบไปด้วย-การทำงานด้วยความซื่อสัตย์ และให้ความเคารพต่อสาธารณชน องค์กร และสิ่งแวดล้อม

-ผลกระทบในเชิงบวก โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะสร้างผลกระทบในเชิงบวกในหลายๆ ด้านผ่านผลิตภัณฑ์ การปฏิบัติการและความสัมพันธ์ทางการค้าของเรา ผ่านการบริจาคเงิน และวิธีอื่นๆ อีกมากมาย ที่เราให้กับสังคม

-ความรับผิดชอบอย่างต่อเนื่อง มุ่งมั่นที่จะปรับปรุงวิธีการที่เราจัดการกับผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง และกำลังดำเนินการเพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายระยะยาวของเราในการพัฒนาธุรกิจที่ยั่งยืน

-การกำหนดแรงบันดาลใจ ถูกกำหนดโดยวัตถุประสงค์ของบริษัทได้กำหนดแรงบันดาลใจในการทำธุรกิจของเรา โดยอยู่ภายใต้จรรยาบรรณทางธุรกิจซึ่งกล่าวถึงมาตรฐานในการดำเนินงานที่ทุกคนใน ยูนิลีเวอร์จะต้องปฏิบัติตามในทุกๆ ที่ที่ยูนิลีเวอร์ตั้งอยู่ นอกจากนี้ จรรยาบรรณดังกล่าวยังสนับสนุนหลักบรรษัทภิบาลและความรับผิดชอบต่อสังคมของยูนิลีเวอร์อีกด้วย

-การทำงานร่วมกันกับผู้อื่น ต้องการทำธุรกิจกับคู่ค้าซึ่งมีค่านิยมเดียวกันกับเรา และทำงานในมาตรฐานเดียวกันกับที่เราทำ โดยมีจรรยาบรรณทางธุรกิจที่คล้ายคลึงกัน และสอดคล้องกับของเราที่ครอบคลุมถึงความซื่อสัตย์ทางธุรกิจ และ ความรับผิดชอบที่เกี่ยวข้องกับพนักงาน ผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อม

ในส่วนบุคคลากรของยูนิลีเวอร์ในหลายๆ มุมมอง เรามักคิดถึงยูนิลีเวอร์ในฐานะ "ชุมชน" มากกว่าองค์กร ชุมชนของเราสร้างและดำเนินไปโดยพนักงานที่ปฏิบัติงานอย่างสร้างสรรค์ภายในกรอบของค่านิยมและเป้าหมายทางธุรกิจที่มีร่วมกัน ดังนั้นยูนิลีเวอร์จะถือว่าบุคคลากรคือหัวใจของธุรกิจ เพราะคนเป็นพื้นฐานสำคัญของการทำธุรกิจ พนักงานจึงเป็นหัวใจสำคัญของทุกสิ่งที่ยูนิลีเวอร์ทำ การเติมเต็มทางด้านอาชีพ ความสมดุลย์ระหว่างชีวิตส่วนตัวและหน้าที่การงาน ความสามารถในการทุ่มเทอย่างเท่าเทียมกันในฐานะส่วนหนึ่งของพนักงานที่มีความหลากหลาย ทั้งหมดนี้คือประเด็นที่จะให้ความสำคัญเป็นลำดับแรกๆ องค์กรเติบโตขึ้นในฐานะบริษัทด้วยการสร้างความเติบโตให้กับพนักงาน นี่คือเบื้องหลังของความพยายามในการเติมเต็มให้กับคนขององค์กรและทำให้พวกเขาทุ่มเทกับการทำงาน และยังเป็นเหตุผลว่าทำไมเค้าจึงให้ความสนใจกับพนักงานของเค้าทั่วโลก รวมทั้งจัดสำรวจความคิดเห็นของพนักงานอย่างสม่ำเสมอเพื่อนำมาปรับปรุงทิศทางของธุรกิจของเค้าในอนาคตØ  กลยุทธ์ที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าในช่วงห้าปีที่ผ่านมา ได้สร้างธุรกิจของโดยการเน้นที่ตัวผลิตภัณฑ์ ปรับปรุงวิธีการทำงานและปรับปรุงข้อมูลผู้บริโภคของเค้าให้สะท้อนความต้องการและรสนิยมที่เพิ่มขึ้นของผู้บริโภค ในขณะนี้เรากำลังดำเนินขั้นต่อไปในการสร้างวิธีการทำงานที่ง่ายขึ้นโดยการปรับตัวให้สอดคล้องกับพันธกิจที่ชัดเจนและเรียบง่ายทำกำหนดไว้ยูนิลีเวอร์ตระหนักว่าโลกที่ดำเนินกิจการอยู่นั้นกำลังเปลี่ยนแปลง ผู้บริโภคเริ่มใช้ฐานะการเป็นพลเมืองมามีส่วนมากขึ้นในการตัดสินใจซื้อสินค้า และมีข้อเรียกร้องต่อบริษัทต่างๆ ที่อยู่เบื้องหลังผลิตภัณฑ์มากยิ่งขึ้น ผู้บริโภคต้องการบริษัทและผลิตภัณฑ์ที่พวกเขาไว้วางใจได้ยูนิลีเวอร์ดำเนินการโดยยึดถือความคาดหวังใหม่ๆ เหล่านี้ มรดกของยูนิลีเวอร์ คือ การเป็นบรรษัทภิบาลที่ดี คุณภาพของผลิตภัณฑ์ที่ดี และประสบการณ์อันยาวนานในการดำเนินงานร่วมกับชุมชนทำให้มีพื้นฐานที่แข็งแกร่ง มุ่งที่จะสร้างธุรกิจบนพื้นฐานนี้โดยดำเนินการขั้นตอนต่อไปในเรื่องความโปร่งใสและความรับผิดชอบต่อสังคม จึงยืนอยู่อย่างชัดเจนในฐานะที่เป็นยูนิลีเวอร์ อยู่เบื้องหลังผลิตภัณฑ์ของยูนิลีเวอร์และทุกสิ่งทุกอย่างที่ทำ ทุกๆ ที่ที่ยูนิลีเวอร์ตั้งอยู่ทุกๆ วัน คน 150 ล้านคนในประเทศมากกว่า 150 ประเทศเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ของยูนิลีเวอร์ ในปัจจุบัน ผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่ของเค้าให้ประโยชน์ คือ ช่วยให้ผู้คนรู้สึกดี มีลักษณะชวนมอง และแต่งเติมชีวิตให้มีความสุขมากยิ่งขึ้นทุกวัน เช่น คนอร์ ช่วยให้คุณแม่บ้านทำอาหารได้ง่ายและอร่อยได้ดังใจ ซันซิล คลีนิค เคลียร์ และ โดฟ ช่วยให้คุณรู้สึกมีความสุขมากยิ่งขึ้นเพราะผมของคุณมีสุขภาพดี และสวยเป็นเงางาม แอ็กซ์ และ เรโซน่า ช่วยเสริมสร้างความมั่นใจในแต่ละวัน ใกล้ชิด ช่วยให้ฟันสะอาด ลมหายใจหอมสดชื่นจนใครๆ ก็อยากอยู่ใกล้ ซันไลต์ช่วยให้คุณล้างจานชามได้สะอาด รวดเร็ว และมีเวลาสำหรับเรื่องอื่นๆ ในชีวิต บรีส ส่งเสริมให้เด็กๆ เล่นเลอะเทอะได้เพื่อสร้างประสบการณ์ชีวิตได้มากขึ้น และซักได้สะอาดหมดจดจนคุณแม่ไม่ต้องกังวล ในอนาคต ผลิตภัณฑ์ของเราจะยิ่งเพิ่มการเติมพลังให้แก่ชีวิตมากขึ้นอีก พันธกิจของเราจะเน้นที่ผลิตภัณฑ์ซึ่งความสอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคที่เกิดจากประเด็นใหญ่ๆ ทั่วโลกในทุกวันนี้ นั่นคือ ประชาชนมีอายุยืนยาวมากขึ้นการใช้ชีวิตแบบคนเมือง รวมทั้ง อาหารและวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปยูนิลีเวอร์สามารถมองเห็นความต้องการของผู้บริโภคที่เพิ่มมากขึ้นในสิ่งต่อไปนี้
  • วิถีชีวิตที่มีสุขภาพดี
  • ชีวิตมีความหลากหลาย มีคุณภาพ มีรสนิยม และมีความสุขมากขึ้น 
  • เวลาซึ่งเป็นสินค้าที่มีค่ามากขึ้น
  • การช่วยผู้คนให้รู้สึกดี มีลักษณะชวนมอง และแต่งเติมชีวิตให้มีความสุขมากยิ่งขึ้นทุกวันจะทำให้สามารถตอบสนองความต้องการเหล่านี้และขยายธุรกิจไปพร้อมๆ กัน    
ยูนิลีเวอร์อยู่ในสถานะที่มีเอกลักษณะของตนเองที่เข้าใจความสัมพันธ์ ระหว่างโภชนาการ สุขอนามัย และการดูแลเอาใจใส่ชีวิตส่วนบุคคล เพราะมีความสามารถด้านวิทยาศาสตร์ที่แข็งแกร่ง และ ทีมวิจัยผู้บริโภคที่เข้าถึงผู้บริโภคในแต่ละท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี เมื่อผนวกสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เข้าด้วยกัน จึงสามารถช่วยส่งเสริมคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และช่วยเติมพลังให้แก่ชีวิต ความสำเร็จในระยะยาวของธุรกิจของยูนิลีเวอร์นั้นในส่วนลึกๆ แล้วมีความเกี่ยวข้องกับการเติมพลังให้แก่สิ่งแวดล้อม และชุมชนที่ยูนิลีเวอรืดำเนินธุรกิจอยู่ สิ่งแวดล้อมได้ทำให้เค้ามีวัตถุดิบและส่วนประกอบที่เค้าต้องการเพื่อใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์ของเค้า ชุมชนที่มีสุขภาพแข็งแรง และเจริญรุ่งเรืองจะทำให้ยูนิลีเวอร์มีผู้บริโภคที่มีสุขภาพแข็งแรงและมีฐานผู้บริโภคที่กว้างขึ้นเรื่อยๆ ทั้งหมดนี้เป็นการดำเนินกลยุทธ์ที่สอดคล้องต่อพันธกิจและนำไปสู่การประสบความสำเร็จของธุรกิจของยูนิลีเวอร์ในปัจจุบัน  
เรียน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ อาจารย์พจนารถ ซีบังเกิด และทีมงานทุกท่าน กระผมนายพัฒนา ปลอดภัยงาม นักศึกษาปริญญาโทสาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังขอยกยกตัวอย่างของเครือเบทาโกร ซึ่งมีวิสัยทัศน์และพันธกิจในการทำธุรกิจ ดังนี้
 
วิสัยทัศน์

เครือเบทาโกร มุ่งผลิตและพัฒนาอาหารที่มีคุณภาพสูง และปลอดภัยจากฐานอุตสาหกรรมการเกษตรที่ทันสมัย เพื่อสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีของประชากรโลก
Food Safety  เป็นบริษัทที่ผลิตอาหารที่เน้นความปลอดภัยและสุขลักษณะ โดยปราศจากสารเคมี เน้นคุณภาพตั้งแต่การคัดเลือกสุกรหรือไก่ที่ได้มาตรฐานเพื่อนำมาแปรรูป

พันธกิจ


เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ดังกล่าว เครือเบทาโกรมุ่งมั่นที่จะ
  • พัฒนาศักยภาพของพนักงานทุกระดับ
  • ปรับปรุงกระบวนการทำงานทุกขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง โดยการบริหารทรัพยากรอย่างมี ประสิทธิภาพ เพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าและผู้บริโภค
  • ดำเนินการวิจัยและพัฒนา เพื่อให้ได้สินค้าและบริการที่เป็นเลิศ ภายใต้สัญลักษณ์ของเครือเบทาโกร
  • มีเครือข่ายการตลาดและการผลิตในแหล่งที่สำคัญของโลก
  • สร้างประโยชน์ร่วมกันในระยะยาวต่อลูกค้า คู่ค้า พนักงาน ผู้ร่วมทุน และ ผู้ถือหุ้น

เรียนศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ อาจารย์พจนารถ  ซีบังเกิด รวมถึงอาจารย์ทุกท่านและท่านผู้อ่าน  ดิฉันนางสาว อรุณี แซ่ตั้ง นักศึกษาปริญญาโท การจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง  

เมื่อวันอาทิตย์ที่ 19 สิงหาคมผ่านมา อาจารย์พจนารถ ได้มาสอนในหัวข้อ Performance management และอาจารย์ได้ให้การบ้านเป็นคำถามที่เกี่ยวกับการเรียนในหัวข้อนี้คือ จะเกิดอะไรขึ้นถ้าองค์กรไม่มี Performance management System”

เป้าหมายที่สำคัญของการใช้ Performance management System คือการทำให้ทุกคนในองค์กรมีแนวทางและเป้าหมายในการทำงานเป็นไปในแนวทางเดียวกัน เนื่องจากมีการวางเป้าหมายอย่างชัดเจนเพื่อให้ทุกคนในองค์กรเข้าใจร่วมกัน  รวมถึงมีระบบการติดตาม ชี้แนะแนวทางการทำงานระหว่างปฏิบัติงาน และประเมินผลงานอย่างมีระบบซึ่งจะช่วยให้การทำงานเป็นไปในแนวทางที่ถูกต้องและไม่หลงทาง  ซึ่งหากไม่มีการใช้ Performance management System อาจทำให้การทำงานขององค์กรเป็นไปอย่างไร้ทิศทางเนื่องจากคนในองค์กรไม่เข้าใจเป้าหมายขององค์กรและอาจทำให้เกิดความล่าช้าในการบรรลุเป้าหมายเนื่องจากขาดการติดตามผลระหว่างการปฏิบัติงานได้

นอกจากนั้น การประเมินผลงานในระบบ Performance management System จะช่วยให้เกิดแรงจูงใจในการทำงานที่ดี เนื่องจากมีการวัดและประเมินผลอย่างเป็นรูปธรรมวัดผลงานได้ชัดเจน ซึ่งเมื่อมีการประเมินผลงานที่ชัดเจนการให้ผลตอบแทนแก่พนักงานที่ทำงานตามผลงานก็จะเกิดความเป็นธรรมมากขึ้น ดังนั้นจึงเป็นแรงจูงใจที่ดีให้พนักงานรู้สึกต้องที่จะทำงานให้ดีที่สุดตามหน้าที่ของตัวเอง เพื่อความเจริญก้าวหน้าและค่าตอบแทนที่ดีนั่นเอง
เรียน ศ.ดร จีระ หงส์ลดารมภ์, อาจารย์พจนารถ ซีบังเกิด และท่านผู้อ่านทุกท่าน ดิฉันนางสาวนันทกา บุญสุข นักศึกษาปริญญาโท ภาควิชาบริหารธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง จากการที่ดิฉันเรียนในวันที่ 19 สิงหาคม 2550 เวลา 9.00 12.00 น. เรื่อง Performance Management ซึ่งเป็นการจัดการงานที่มุ่งให้บริษัทนำไปสู่ผลงานที่ดีขึ้น ตรงเป้าหมายเดียวกัน เปรียบได้กับการเดินทางบนถนนที่มีป้ายบอกตามข้างทาง เพื่อไปสู่จุดหมาย ซึ่งถ้าองค์กรไม่มีระบบ Performance Management นี้ ก็เหมือนกับการเดินทางบนถนนที่ทุกคนไม่รู้ทิศทาง ไม่มีป้ายบอกหรือเตือนว่า ทางข้างหน้าจะขรุขระหรือคดเคี้ยวแค่ไหน ทำให้เราเดินทางลำบาก ไม่ถึงจุดหมาย หรือถึงจุดหมายล่าช้ากว่าที่ควรจะเป็น  ผลของการไม่มีระบบ Performance Management
  1. การไม่มีเป้าหมาย (Set Goal) และการวางแผนงาน ทำให้พนักงานทุกคนไม่รู้ทิศทางขององค์กรว่า ทำงานเพื่ออะไร ทำให้พนักงานไม่มีแรงจูงใจในการพัฒนาศักยภาพและความสามารถในการทำงานของตนเองให้ดีขึ้น
  2. การไม่มีการ Coaching และ Feedback การที่พนักงานไม่ทราบว่างานที่ตนเองทำสอดคล้องกับเป้าหมายองค์กรหรือไม่  เหมือนกับการหลงทาง ทำให้เสียเวลาในการทำงาน
  3. การไม่มีการ Review และ Evaluation ทำให้ผู้บริหารไม่ทราบว่าการทำงานของพนักงานติดขัดตรงไหน และผลของการทำงานเป็นอย่างไร จึงไม่สามารถแก้ไขและปรับปรุงการทำงานได้
  4. การไม่มี Corrective และ Adaptive action เมื่อไม่มีแนวทางในการแก้ไขปัญหา ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นก็จะเกิดขึ้นซ้ำอีกเรื่อยๆ เสียงบประมาณและเสียเวลา
 ดังนั้น การไม่มีระบบ Performance Management จะทำให้องค์กรเสียเปรียบคู่แข่ง สุดท้ายทำให้องค์กรไม่ประสบความสำเร็จ
   กราบเรียน ท่าน อ. ศ. ดร.จีระ , อ.พจนารถ และท่านผู้อ่านทุกท่านดิฉัน น.ส.สุภาภรณ์  นำรุ่งโรจน์ นักศึกษาระดับปริญญาโท สาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง  เมื่อ วันที่ 19/8/50  อาจารย์พจนารถ ได้มาบรรยายครั้งที่ 2 และให้ความรู้ในวิชา HRM ในหัวข้อเรื่อง   Performance Management และ อ.พจนารถให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นว่าถ้าองค์กรไม่มีระบPerformance Management System จะเกิดอะไรขึ้นกับองค์กรนั้น

  ก่อนอื่นต้องบอกก่อนว่าระบบ Performance Management System มีความสำคัญกับองค์กรเป็นอย่างมากซึ่งเป็นสิ่งทำให้องค์กรขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้อย่างถูกต้อง รวดเร็วและเหมาะสม โดยต้องนำ Digital Capital มาใช้เพื่อช่วยในการเชื่อมโยง และประมวลผล ทำให้ PM รวดเร็วยิ่งขึ้น เช่น ระบบ SAP เป็นต้น ถ้าขาด การใช้ IT  อาจส่งผลกระทบทำให้องค์กรอาจไปไม่ถึง goal หรือเป้าหมายเดียวกันได้ หรือถ้าไปได้ก็จะช้าลงซึ่งจะส่งผลกระทบถึงการตอบสนองความต้องการของลูกค้าลดลงและสู่กับคู่แข่งอื่นไม่ได้  ในที่สุดจะส่งผลให้องค์กรนั้นอยู่หรือเติบโตต่อไปไม่ได้

 ทำให้พนักงานขาดการทำงานเป็นteam work ต่างคนต่างมีความคิดเป็นของตนเองไม่มี การวางแผนของแต่ละแผนกและส่งผลรวมถึงองค์กร  ทำให้ทำงานไม่ตรงเป้าหมาย ที่องค์กรและลูกค้าต้องการ ทำให้พนักงานทำงานล้าช้า ไม่มีแรงกระตุ้นซึ่งจะต้องมีสิ่งดังนี้ เช่น การปรับเงินขึ้นทุกๆปี,การให้bonus,การเลื่อนตำแหน่งงาน,การให้เงิน intensive ในการเพิ่มยอดขายได้ เป็นต้น และถ้าไม่มีระบบ PM จะส่งผลกระทบทำให้จะไม่เกิด PM Process เกิดขึ้นได้ ซึ่งกระทบถึงการขาดความเชื่อมั่นของพนักงานและขาดความสามารถในกระบวนการผลิตและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆเกิดขึ้น   จะไม่เกิดการ  review ของงานและเอกสารซึ่งจะส่งผลกระทบทำให้ไม่สามารถปฏิบัติงานได้ตาม goal ขององค์กรได้ในการทำงานซึ่งการใช้ PM เพื่อให้รู้ถึง Goal , หน้าที่ ,ความรับผิดชอบ  ,Value  และเพื่อให้พนักงานมีนโยบายและจุดมุ่งหมายเดียวกันหรือไปตาม plan ที่วางไว้แนวดียวกัน       หากขาดPM การบริหารงานในองค์กรจะไม่มีการวางแผนที่จะนำกลยุทธ์นั้นไปปฏิบัติและผู้บริหารจะไม่สามารถติดตามผลและประเมินผลว่าองค์กรสามารถดำเนินงานได้ตามกลยุทธ์ได้หรือไม่และประเมินศักยภาพขององค์กรไม่ได้เลย ซึ่งยังส่งผลกระทบไปถึงไม่ไปสู่ vision ที่ตั้งไว้ขององค์กรอีกด้วย

สรุปจะเห็นได้ว่า Performance Management System มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งมีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันเป็นวงจรอย่างต่อเนื่องจนเป็น network และเกี่ยวข้องกับพนักงานทุกระดับชั้นตั้งแต่ระดับล่างหรือผู้ปฏิบัติงานจนถึงผู้บริหารระดับสูงที่มีหน้าที่กำหนดนโยบายและวางแผนให้กับองค์กรเป็นต้น ซึ่งถ้าไม่มี Performance Management System จะทำให้องค์กรไม่สามารถเจริญเติบโต ประสบความสำเร็จและก้าวหน้าที่จะยืนหยัดในยุคโลกาภิวัตน์ในปัจจุบันได้อีกต่อไป

 
กราบเรียนศ.ดร.จีระ , อ.พจนารถ และท่านผู้อ่านทุกท่านดิฉันนางสาวนิรชร ไชยกาญจน์ นักศึกษาระดับปริญญาโท สาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง  จากการได้เข้าฟังการบรรยายของอ.พจนารถ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 19 สิงหาคม 2550 ในวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ ในหัวข้อเรื่อง Performance Management  อาจารย์ได้ให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นจากคำถามที่ว่า ถ้าองค์กรใดไม่มีระบบ Performance Management System<PMS>จะเป็นอย่างไร  ดิฉันมีความคิดเห็นในเรื่องดังกล่าวดังนี้ 

           PMS เป็นระบบการจัดการโครงสร้างและการบริหารทรัพยากรบุคคลภายในองค์กร การทำงานของระบบนี้จะเป็นการกำหนดโครงสร้างขององค์กร มีการกำหนดตำแหน่งและหน้าที่ในการทำงานของผู้บริหารและพนักงานภายในองค์กร ให้มีความชัดเจนในด้านหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบและบทบาทการแสดงออกที่ถูกต้องเหมาะสมกับสถานภาพของตนเอง  มีการกำหนดรูปแบบการทำงานในองค์กรให้มีความสอดคล้องกันทั้งองค์กร และเป็นไปในทิศทางเดียวกันเพื่อให้เกิดการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถที่จะดำเนินงานให้บรรลุไปสู่จุดมุ่งหมายหรือเป้าหมายที่องค์กรได้กำหนดขึ้น  โดยในระบบ PMS นี้ยังได้มีการกำหนดถึงวิธีการและขั้นตอนการบริหารงานทางด้านทรัพยากรบุคคล ทั้งในด้านการบริหารงานให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งด้านคุณภาพและปริมาณ  และการทำงานอย่างมีความสุข พอใจกับการที่ได้ทำงานให้กับองค์กร   

        จากรายละเอียดที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นได้ว่า  องค์กรใดก็ตามที่สามารถทำได้ดังนี้ ย่อมที่จะมีโอกาสประสบความสำเร็จในการทำงานได้มากกว่าและเร็วกว่าองค์กรที่ไม่ได้ทำตามระบบนี้ เนื่องจากการทำงานตามระบบ PMS จะมีความเป็นระเบียบและผู้บริหารสามารถที่จะควบคุมและดูแลการทำงานให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในแผนการทำงานขององค์กรได้ง่าย เมื่อเกิดความผิดพลาดในการทำงาน ก็สามารถที่จะดำเนินการหาสาเหตุที่ทำให้เกิด และคิดหาแนวทางแก้ไขได้อย่างรวดเร็วทันเหตุการณ์ ซึ่งจะทำให้เกิดความเสียหายทั้งที่คิดเป็นมูลค่าได้และไม่ได้น้อยกว่าองค์กรที่ไม่ได้ปฏิบัติตามระบบ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า องค์กรที่ไม่มี PMS จะไม่ประสบความสำเร็จในการดำเนินงาน เพียงแต่อาจจะต้องใช้ระยะเวลามากกว่า , การบริหารงานของผู้บริหารมักจะยุ่งยาก ทำให้การตัดสินใจในเรื่องต่างๆทำได้ช้า หรือหากมีความรวดเร็วก็มักเป็นการตัดสินใจที่รวบรัด โดยไม่มีข้อมูลประกอบการตัดสินใจอย่างถูกต้องครบถ้วน  ซึ่งอาจทำให้เกิดความเสียหายได้มาก  นอกเสียจากว่า ผู้บริหารและพนักงานขององค์กรจะมีประสบการณ์การทำงานมาก จนสามารถที่จะแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี ซึ่งเป็นไปได้ยาก และย่อมจะเป็นการทำงานที่หนักกว่าการใช้ PMS อย่างแน่นอน
สวัสดีอาจารย์จีระ,อาจารย์พจนารถที่เคารพ และสวัสดีท่านผู้อ่านทุกท่าน  เนื่องจากดิฉันได้มีโอกาสเข้าเรียนกับท่าน อาจารย์พจนารถเมื่อวันที่ 19  สิงหาคม 2550 ในเรื่อง Performance Management มีรายละเอียดของส่วนสำคัญดังนี้ Performance Management(PM) คือ การบริหารจัดการต่างๆที่จะนำพาไปสู่ความสำเร็จ/จุดมุ่งหมายขององค์กรภายใต้กรอบของแผน,เป้าหมายและมาตรฐานที่ได้กำหนดขึ้นร่วมกัน Performance Management Cycle ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ดังนี้ขั้นตอนที่ 1 Performance Planning / Goal setting คือการตั้งเป้าหมาย ซึ่งการตั้งเป้าหมายที่ดีจะต้องตั้งร่วมกันระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งได้แก่ หัวหน้าและลูกน้อง โดยจะมีสิ่งที่จะต้องพิจารณาเพื่อให้การตั้งเป้าหมายมีประสิทธิผล ดังนี้1.กำหนดสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจนและเฉพาะเจาะจง 2.จะต้องมีวิธีการที่จะสามารถวัดผลได้ชัดเจนแสดงเป็นตัวเลข เช่น เปอร์เซ็นต์,บาท ฯ เพื่อที่จะได้ใช้ในการประเมินผลหรือเปรียบเทียบได้ 3.จะต้องมีความเป็นไปได้ในการที่จะทำให้สำเร็จ4.จะต้องสอดคล้องกับความเป็นจริง คือ สิ่งที่ตั้งขึ้นมาจะต้องเกี่ยวข้องกับบุคคลที่จะวัดผลโดยตรงเพื่อที่เขาเหล่านั้นจะได้ควบคุมการปฏิบัติงานได้ด้วยตนเอง5.จะต้องกำหนดระยะเวลาที่ชัดเจนขั้นตอนที่ 2 Continuous Coaching and Feedback คือ การชี้แนะ แนะนำ และติดตามผลการปฏิบัติเป็นระยะอย่างต่อเนื่องเพื่อที่จะได้สามารถทำการปรับปรุงทันทีเมื่อพบข้อบกพร่อง โดยการ Feedback จะมีทั้ง positive และ negative ซึ่งควรมุ่งเฉพาะบุคคล ไม่ควรกล่าวโดยรวมขั้นตอนที่ 3 Performance Review and Evaluation คือ การทบทวนตรวจสอบสิ่งที่ได้ปฏิบัติไปและนำผลที่ได้จากการปฏิบัตินั้นมาประเมินผล ซึ่งในการประเมินผลงานของลูกน้องนั้นทางหัวหน้างานจะต้องนัดล่วงหน้า และควรจัดทำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้งขั้นตอนที่ 4 Corrective and Adaptive Action คือ การหาวิธีการแก้ไขและปรับปรุงให้ดีขึ้น จะเห็นได้ว่า Performance Management นั้นมีความสำคัญต่อองค์กร หรือบริษัท หรือธุรกิจเป็นอย่างยิ่งเนื่องจากเป็นแนวทางสำหรับการบริหารจัดการต่างๆที่จะนำพาองค์กรนั้นๆไปสู่ความสำเร็จได้ ดังนั้น หากองค์กร หรือบริษัท หรือธุรกิจใดที่ขาด Performance Management แล้วจะทำให้องค์กรหรือบริษัท หรือธุรกิจนั้นๆ1. ขาดจุดมุ่งหมาย หรือเป้าหมาย เป็นผลทำให้การดำเนินธุรกิจไม่ประสบความสำเร็จทำให้เกิดความล้มเหลวจนอาจต้องยกเลิกกิจการไป 2. ขาดการติดตามผลการดำเนินงานต่างๆ ซึ่งทำให้องค์กรไม่ทราบว่าสิ่งที่เกิดขึ้นหรือผลลัพธ์ที่ได้จากการดำเนินงานอยู่ในเกณฑ์ดีหรือไม่ จะต้องปรับปรุงเพิ่มเติมเพื่อให้องค์กรพัฒนาหรืออยู่รอดได้ และหากทราบในระยะสุดท้าย อาจทำให้ไม่สามารถแก้ไขใดๆได้ทันจนในที่สุดแล้วองค์กรนั้นๆต้องปิดตัวเองลงไปเช่นกันเมื่อองค์กรเหล่านั้นต้องยกเลิกหรือปิดกิจการลงไปนั้นจะก่อให้เกิดปัญหาการว่างงานขึ้นอันเป็นต้นเหตุของปัญหาอื่นๆ ที่จะเกิดตามมาทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เช่น ปัญหาอาชญากรรม ปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ ฯ ปัญหาการด้อยการศึกษาเนื่องจากประชาชนขาดทุนทรัพย์ที่จะส่งให้บุตรหลานได้เล่าเรียนฯ ซึ่งหากมีหลายองค์กรที่ล้มเหลวจนต้องปิดกิจการนี้เกิดขึ้นหลายแห่งแล้วจะทำให้ภาพรวมของเศรษฐกิจในประเทศตกต่ำอย่างมากและกลายเป็นประเทศด้อยพัฒนาในที่สุด 
อรนุช หล่ำสกุลไพศาล

      เรียนศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ อาจารย์พจนารถ  ซีบังเกิด รวมถึงอาจารย์ทุกท่านและท่านผู้อ่าน Blog นี้ ดิฉัน นางสาวอรนุช หล่ำสกุลไพศาล นักศึกษาปริญญาโท การจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เมื่อวันอาทิตย์ที่ 19 สิงหาคมผ่านมา ได้มีโอกาสเรียนกับ อ.พจนารถ เป็นครั้งที่ 2 และอาจารย์ได้สอนเรื่อง Performance management 

จะเกิดอะไรขึ้นถ้าองค์กรไม่มี Performance management

Performance คือผลการปฏิบัติงาน และ Performance Management ก็คือการพัฒนาผลการปฏิบัติงาน หรือกล่าวอีกในหนึ่งได้ว่าระบบการบริหารจัดการเพื่อให้ผลการปฏิบัติงานขององค์กรและพนักงานเป็นไปในทิศทางเดียวกัน จากเดิมที่อาจารย์ได้สอนเมื่ออาทิตย์ก่อนว่า บริษัทแทบทุกแห่งจะมีการเขียน Vision Mission Goals” แต่ในการเขียน Vision Mission ควรมีไม่เกิน 7 ข้อ และต้องเป็นการตั้งเป้าหมายที่ดี SMART คือ เฉพาะเจาะจง (Specific) สามารถวัดได้ (Measurable) สามารถทำให้สำเร็จได้ (Attainable) สอดคล้องกับความเป็นจริง(Relevant) กำหนดระยะเวลา (Time bound)

หากภายในองค์กรยังมีการประเมินผู้ปฏิบัติงานแบบในอดีต ที่บริหารแบบทิศทางเดียวจากผู้บังคับบัญชา อาศัยการบริหารที่ให้ความสำคัญกับแบบฟอร์มต่างๆในการดำเนินงานหรือมุ่งประเมินผลงานเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการตำหนิ ติเตียนผู้ที่ไม่สามารถปฏิบัติผลงานได้ตามเป้า สิ่งเหล่านี้ถือเป็นสิ่งที่บั่นทอนขวัญ กำลังใจของคนที่ทำงานให้ถดถอย เกิดการทำงานไม่ประสานกัน ทะเลาะเบาะแว้งกันเองในองค์กร ขาด Motivation ในการทำงาน องค์กรก็จะอยู่กับที่ แต่ถ้าหากเป็นการกระทำเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหากับบุคลากรที่ไม่สามารถปฏิบัติผลงานได้ตามเป้าหมายแล้วนำมาปรับกระบวนการทำงานให้ได้ผลงานในอนาคตที่เราได้ตั้งไว้ โดยเน้นการสื่อสารแบบสองทางระหว่างผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชา เป็นการบริหารโดยเน้นเรื่องผลการใช้บทสนทนาทำความเข้าใจเรื่องผลการปฏิบัติงาน ติดตามแผนการขององค์กร

การวัด Competency เพื่อที่จะได้รู้ว่าต้องพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างไรเพื่อให้พนักงานของเราสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ตามที่เราได้ตั้งไว้ และเพื่อที่จะได้ปรับกลยุทธให้เหมาะสมกับความสามารถของคนในองค์กรของเรา หากเราไม่ปรับ ไม่ประเมินผลให้เหมาะสมกับความสามารถแล้วยังกำหนดรางวัล หรือโทษไว้กับเงื่อนไขความสำเร็จ และไม่สำเร็จของการทำงานเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายนั้นๆผล อาจทำให้พนักงานเกิดความท้อ ยุติความพยายามในการทำงานเพื่อให้ได้ตามเป้าหมายที่วางไว้เนื่องจากทราบดีว่าทำอย่างไรก็ไม่ถึงเป้าแน่นอน หรืออาจพยามยามทำทุกวิธีเพื่อให้บรรลุเป้าหมายโดยไม่คำนึงถึงผลเสียที่ตามมา (ก็ไม่ได้รางวัลแล้ว) จึงยิ่งส่งผลให้เกิดความเสียหายกับองค์กรมากยิ่งขึ้น

ดังนั้นในแต่ละขั้นของ PM สามารถสรุปเป็นขั้นๆดังนี้ ขั้นแรกต้องมีการระบุมีการวางแผน และเตรียมแผนที่รองรับกลยุทธ ระบุเป้าหมายที่สำคัญคือควรมีกระบวนการต่อรองระหว่างฝ่ายบริหารสูงสุดขององค์กรและฝ่ายปฏิบัติ ให้ได้จุดที่เห็นชอบร่วมกัน แล้วจึงกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบตั้งแต่ระดับบนลงมา ตั้งความคาดหวังของผลการปฏิบัติงาน กำหนดเป้าหมายและระยะเวลาเริ่มต้น ขั้นที่สอง มีการตรวจสอบผลการปฏิบัติงานตามวัตถุประสงค์โดยประเมินตามที่ได้ตกลงกันไว้ตั้งแต่ต้นแล้วให้ Feedback และ Coaching ทบทวนเพื่อตรวจสอบว่าพนักงานขาด competencies อะไร และต้องเข้า Course อะไรเพิ่มเติม ขั้นที่สาม ตรวจสอบประเมินผลการปฏิบัติงาน โดยบางองค์กรอาจกำหนดให้มีการทำแบบประเมินหรือการพูดคุยแล้วทำเป็น report ออกมา เชื่อมโยงผลงานกับค่าตอบแทนถือว่าเป็นหัวใจเพราะหากมีการจัดการผลการปฏิบัติงาน ก็จะเกิดความล้มเหลว เพราะทำแล้วไม่ได้ผลงาน โดยจะเชื่อมกับขั้นที่ 1 คือต้องแจ้งก่อนว่าทำแล้วจะได้อะไร และองค์กรต้องการประเมินอะไร โดยการประเมินผลมักจะดูว่าบรรลุเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้ร่วมกันตามขั้นที่ 1 ไหม
  

เรียนศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ อาจารย์พจนารถ  ซีบังเกิด ทีมงานChira Academyและท่านผู้อ่านทุกท่าน  ผมนายวิศรุต แสงโนรี นักศึกษาปริญญาโท สาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง  

วันอาทิตย์ที่ 19 สิงหาคมผ่านมา อาจารย์พจนารถ ได้ให้ความรู้ในหัวข้อ Performance management และอาจารย์ได้ฝากการบ้านโดยให้ตอบคำถามที่ว่า  จะเกิดอะไรขึ้นถ้าองค์กรไม่มี Performance management System”

 

     หากไม่มีเป้าหมายและการวางแผนงาน พนักงานในองค์กรก็จะไม่มีแนวทางการทำงานและไม่มีทิศทางในการวางแผนระดับปฏิบัติงาน เนื่องจากไม่มีเป้าหมายว่าทำเพื่ออะไร ทำให้การทำงานเป็นไปอย่างไร้จุดหมาย ไม่มีแรงจูงใจในการทำงาน องค์กรไม่พัฒนา และไม่มีประสิทธิภาพในการแข่งขัน  ไม่มีการ Coaching และ Feedback ทำให้พนักงานไม่ได้รับการฝึกฝนพัฒนาคุณภาพในการทำงานโดยผู้ชำนาญการ และไม่ได้รับผลตอบรับจากผู้ได้รับผลจากการปฏิบัติงาน ทำให้ไม่มีการพัฒนาและดึงศักยภาพที่แท้จริงของพนักงานออกมาใช้ไม่มีการรายงานผล การปฏิบัติงานและประเมินผลทำให้ไม่สามารถทราบถึงประสิทธิภาพในองค์กรและการทำงานในส่วนต่างๆว่ามีความเป็นมาตรฐานหรือไม่ และสุดท้ายทำให้ไม่มีแนวทางในการแก้ไขปัญหา จึงก่อให้เกิดปัญหาที่ไม่สามารถแก้ไขได้ในองค์กรอย่างมากมาย

 

       การมีระบบ Performance management System จะก่อให้เกิดการทำงานที่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากมีการกำหนดเป้าหมายและวางแผนการทำงาน มีการวัดและประเมินผลที่สามารถวัดผลจากการปฏิบัติงาน ได้อย่างถูกต้องและเป็นธรรม ทำให้การให้ผลตอบแทนแก่พนักงานเกิดความเป็นธรรมมากขึ้น   เกิดแรงจูงใจแก่พนักงาน  ทำให้ตั้งใจและเต็มใจทำงานตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย เพื่อความเจริญก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่การงานและความเติบโตอย่างยั่งยืนขององค์กร  

 

 
นางสาว วสพร บุญสุข
เรียนอาจารย์ จีระ หงส์ลดารมภ์ อาจารย์ยม อาจารย์พจนารถ และท่านผู้อ่านทุกท่าน ดิฉันนางสาว วสพร บุญสุข นักศึกษาปริญญาโท คณะเทคโนโลยีการเกษตร สาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เมื่อวันอาทิตย์ที่ 19 สิงหาคม 2550 เป็นครั้งที่สอง ที่ดิฉันได้เรียนกับอาจารย์พจนารถ ซีบังเกิด สอนในรายวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ หัวข้อเรื่อง Performance Management   ได้การบ้านในคำถามที่ว่า ถ้าองค์กรไม่มี Performance Management  จะเกิดอะไรขึ้น ?

 

ดิฉันคิดว่า เมื่อองค์กรมี วิสัยทัศน์ พันธกิจ ค่านิยม กลยุทธ์ต่างๆแล้ว จะต้องมี Performance Management  เพื่อให้ทุกคนในองค์กรทำงานเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ แต่ถ้าองค์กรไม่มี Performance Management  จะทำให้พนักงานในองค์กรทำงานไม่มีเป้าหมาย ไม่เป็นไปตามที่หัวหน้าคาดหวัง และทำให้องค์กรไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากไม่ได้บอกรายละเอียดให้ชัดเจน ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพของพนักงาน เนื่องจากพนักงานเกิดความเครียด ,พนักงานบางคนขยันทำงาน แต่ค่าตอบแทนไม่แตกต่างกับคนที่ทำงานไปวันๆ อาจเกิดปัญหาความขัดแย้งในองค์กร เนื่องจากไม่มีการประเมิน วัดผล ให้ชัดเจน ในเรื่องระดับคะแนน ค่าตอบแทน และรางวัล เพราะหัวหน้าไม่ได้แนะนำพนักงานในการทำงาน ไม่สร้างแรงจูงใจในการทำงาน เมื่อทุกคนในองค์กรทำงานอย่างไร้ทิศทาง ผลงานที่ทำก็ไม่มีประสิทธิภาพ ส่งผลให้องค์กรไม่ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ อาจทำให้องค์กรต้องปิดบริษัท ส่งผลต่อครอบครัว สังคม เศรษฐกิจ ของประเทศ

 สรุปได้ว่า ถ้าองค์กรไม่มี Performance Management จะเกิดปัญหาที่สามารถเชื่อมโยงกัน ตั้งแต่ปัญหาที่เกิดในองค์กร จนกระทั่งส่งผลกระทบต่อสังคมได้ ดังนั้น องค์กรจะต้องมี Performance Management เพื่อที่จะเป็นแนวทางให้องค์กรประสบความสำเร็จ และไม่ก่อปัญหาต่อสังคม 
รสสุคนธ์ น้อยจินดา

      กราบเรียน ศ.ดร.จีระ หงลดารมภ์ อาจารย์พจนารถ ซีบังเกิด และท่านผู้อ่านทุกท่าน ดิฉัน นางสาวรสสคนธ์  น้อยจินดา  นักศึกษาปริญญาโท สาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร คณะเทคโนโลยีการเกษตรสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง  จากที่ได้เรียนในวันอาทิตย์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2550 เวลา 9.00-12.00 น. เรื่อง Performance Management System จากคำถามของอาจารย์ จะเกิดอะไรขึ้นถ้าองค์กรไม่มี Performance Management System ”  

      Performance Management System  คือ ระบบการบริหารการปฏิบัติงานโดยที่บริษัทมีการกำหนดเป้าหมายที่ดี, กรอบการปฏิบัติงานให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน และมุ่งไปสู่ผลลัพธ์เดียวกัน  โดยมีการให้ข้อมูลย้อนกลับและการแนะนำระหว่างการปฏิบัติงาน การติดตามผลการดำเนินงานแล้วแนะนำ และการประเมินผลให้เป็นไปตามแผนอย่างมีระบบ  จะเกิดอะไรขึ้นถ้าองค์กรไม่มี Performance Management System  อาจส่งผลให้

1. ขาดประสิทธิภาพในการทำงาน เนื่องจาก Performance Management System เป็นเหมือนเครื่องมือประเมินคุณภาพการทำงานของพนักงาน ถ้าส่วนไหนมีการทำ Performance Management System  งานในส่วนนั้นก็จะได้รับความสนใจ เอาใจใส่ มากกว่าส่วนอื่น

2. เกิดความล่าช้าและอาจหลงทางได้ Performance Management System  เป็นเสมือนจุดหมายปลายทางในการเดินทาง เมื่อเรามีจุดหมาย (Goal-setting) แล้ว เราก็ต้องวางแผน (Performance Planning) เหมือนการทำป้ายบอกทาง เมื่อมาทางนี้แล้วมีป้ายแนะนำ (Coaching and Feedback) ให้เราไปทางไหนต่อเพื่อความถูกต้อง และไม่เสียเวลากับการเดินทางผิดเส้นทาง และเมื่อถึงจุดหมายก็มีทบทวนผลการดำเนินงานและการประเมิน (Performance Review and  Evaluation) ว่าเราทำได้ตามแผนหรือไม่ และถ้าเราทำได้ก็ย่อมได้รับรางวัลที่ดี (Reward) จากผู้ร่วมทางหรือจากเจ้าของจุดหมายในการเดิน 

      ดังนั้น Performance Management System  จึงเป็นระบบที่มีความสำคัญกับทุกองค์กร เพื่อที่องค์กรจะสามารถประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็วทันกับการแข่งขันกับคู่แข่งในยุคปัจจุบัน
เรียน ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ อาจารย์พจนารถ  ซีบังเกิด รวมถึงอาจารย์ทุกท่านและท่านผู้อ่านทุกท่าน   ดิฉันนางสาว สุมิตรา พนาอภิชน นักศึกษาปริญญาโท การจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง   เมื่อวันอาทิตย์ที่ 19 สิงหาคมผ่านมา ได้มีโอกาสเรียนกันท่านอาจารย์พจนารถ เป็นครั้งที่ 2 ในหัวข้อ Performance management และอาจารย์ได้โจทย์ที่เกี่ยวกับการเรียนในหัวข้อนี้คือ จะเกิดอะไรขึ้นถ้าองค์กรไม่มี Performance management System”                 ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับคำว่า Performance management System คือ ระบบการจัดการที่จะช่วยให้องค์กรมุ่งไปสู่ผลงานที่ดีขึ้น และทำให้พนักงานทุกคนรู้แนวทางและเป้าหมายในการทำงาน เพื่อให้ไปในทิศทางเดียวกัน นอกจากนั้นยังมีระบบติดตามผลเป็นระยะๆ  การให้คำแนะนำพนักงานในระหว่างการทำงาน เพื่อให้พนักงานไม่เกิดความสับสน และรวมถึงการประเมินผลงานตอนปลายปีว่าพนักงานทำผลงานเป็นเช่นไร เช่น ถ้าพนักงานทำผลงานอยู่ที่ Score 500 จะขึ้นเงินให้ 10% ของเงินเดือน ก็จะทำให้พนักงานมีความกระตือรือร้นที่จะทำงานให้ได้ผลงานที่ดี เพื่อที่ปลายปีจะไ้ด้ปรับเงินเดือนสูงๆ ถ้าในองค์กรมีพนักงานเช่นนี้จำนวนมากก็จะทำให้องค์กรมีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา และผลที่ตามมาก็คือ องค์กรสามารถที่จะแข่งขันกับคู่แข่งทางการตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพในทางกลับกันถ้าองค์กรใดไม่มีระบบ Performance management System มาช่วยในการจัดการภายในองค์กรแล้ว ก็จะทำให้พนักงานในองค์กรทำงานแบบไม่มีทิศทาง เพราะไม่ทราบว่าจะทำอย่างไรเพื่อให้องค์กรประสบความสำเร็จและทำให้พนักงานไม่มีการพัฒนาศักยภาพของตนเอง เพราะคิดว่าที่ทำอยู่ดีอยู่แล้วแต่ทั้งที่ความจริงสิ่งที่ทำอยู่ไม่ได้ช่วยให้องค์กรประสบความสำเร็จตามที่ตั้งเป้าไว้ นอกจา่กนั้นยังทำให้องค์กรต้องใช้ทรัพยากรเป็นจำนวนมากซึ่งเกินความต้องการขององค์กร และเมื่อตอนสิ้นปีได้มีการสรุปผลกำไรประจำปี ก็จะทำำให้องค์กรเกิดการขาดทุนเพราะพนักงาน ทำงานไม่ได้ตามเป้าที่องค์กรตั้งไว้และทางองค์กรก็ไม่สามารถที่จะเข้าไปปรับปรุงสิ่งที่ผิดพลาดได้ ส่งผลให้องค์กรต้องเกิดสภาวะการขาดทุน จนต้องทำการปิดกิจการเพราะไม่สามารถที่จะแข่งขันกับคู่แข่งทางการตลาดได้และผลที่ตามมาคือมีพนักงานจำนวนมากต้องเป็นบุคคลว่างงาน ซึ่งจะส่งผลต่อสังคม และระบบเศรษฐกิจอีกด้วย
เรียนท่านศ.ดร.จีระ   ท่านอ.พจนาถ  ท่านอ.ผู้สอนทุกท่าน  ท่านผู้อ่าน  และเพื่อนนศ. ปริญญาโททุกท่าน    ดิฉัน น.ส.สุพิชฌาย์  หนูขาว  นักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง  คณะเทคโนโลยีการเกษตร  สาขาวิชาบริหารธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร       จากที่ได้เข้าร่วมเรียนรู้ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับ      ท่าน อ.พจนาถ  ซีบังเกิด เมื่อวันอาทิตย์ที่ 19 สิงหาคม 2550  เวลา  9.00 น.  -  12.00 น.  อ.พจนารถ  ได้ให้ความรู้ในหัวข้อเรื่อง  ได้ให้ความรู้ในหัวข้อ Performance management และอาจารย์ได้ฝากให้ตอบคำถามที่ว่า  “จะเกิดอะไรขึ้นถ้าองค์กรไม่มี “ Performance management System”“ Performance management System”  ทำให้องค์กรดำเนินงานอย่างเป็นระบบ  เป็นเข็มทิศชี้นำพนักงานให้ดำเนินงานไปในทิศทางเดียวกันเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายตามที่องค์กรได้ตั้งไว้  ถ้าองค์กรไม่มี Performance management System”  ทำให้องค์กรนั้น 1 .ไม่มีเป้าหมาย ( Goal ) ในการดำเนินงานอย่างชัดเจน  พนักงานเกิดความสับสน  ทำงานไม่สอดคล้องกัน  ทำให้งานล่าช้า  ไม่เกิดความร่วมมือในองค์กร  ผลงานที่ออกมาก็จะเกิดความผิดพลาด  ไม่ถูกต้องเสียเวลาได้  2.  ไม่มีผู้ฝึกฝน  (Coaching )  ไม่มีผู้ถ่ายทอดทักษะความรู้เบื้องต้นและความรู้เฉพาะทางแก่พนักงานแล้ว  การทำงานก็จะช้าและไม่สะดวก  เกิดปัญหากับการปฏิบัติงานตามมาด้วย  ส่วนผลตอบรับที่ได้ ( Feedback )  ของผู้รับการฝึกฝนจะไม่มีคุณภาพ  ทำให้เขาไม่พัฒนา  ไม่มีทักษะในการทำงาน  ด้อยประสบการณ์  3.  ไม่มีการทบทวนถึงปัญหาที่เกิดหรือทบทวนขั้นตอนการทำงานรวมทั้งไม่มีการติดตามประเมินผล  ถ้าองค์กรปฏิบัติงานไปวัน ๆ โดยไม่ทบทวนนำเอาเป้าหมายที่องค์กรที่ตั้งไว้มาทบทวนหรือมาประเมินผล  เช่นประเมินผลการทำงานของพนักงาน  ประเมินทักษะความรู้  เวลามีข้อติดขัดในการทำงาน  หรือเกิดปัญหาเมื่อเวลาผ่านไปทางผู้บริหารก็ไม่สามารถทราบสาเหตุของปัญหารวมถึงหาแนวทางแก้ไขไม่ได้ด้วย  4.  ถ้าองค์กรไม่มีการลงมือแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นและปรับปรุงความผิดพลาดให้กลับมาดีขึ้นหรือคล่องตัว   ผล คือ อาจก่อให้เกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมาเกิดการสะสมของปัญหา มีความผิดพลาดซ้ำ ๆ ตามมาเรื่อย โดยไม่สามารถหาสาเหตุที่เกิดและแนวทางแก้ไขได้  5.  ถ้าไม่มี “ Performance management System” ไม่มีการขับเคลื่อนให้พัฒนาศักยภาพขององค์กรได้  ทำให้องค์กรเสียเปรียบทางคู่แข่ง  พ่ายแพ้ในการแข่งขันทางด้านธุรกิจการผลิต  ไม่ประสบความสำเร็จ  ดังนั้น “ Performance management System”  จึงมีความสำคัญต่อองค์กรเป็นอย่างมาก  แนวทางการใช้  PMS เพื่อที่จะได้ทราบถึง Goal  ขององค์กรที่ตั้งไว้  การวางแผนการดำเนินงาน Plan รวมถึงหน้าที่ความรับผิดชอบต่อหน่วยงานต่าง ๆ ในองค์กร  พนักงานต้องทำงานเป็นทีม  มีการทำงานอย่างเป็นระบบเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงกัน  ทั้งผู้บริหารทุก ๆ ระดับตลอดจนพนักงานระดับล่างด้วย  ซึ่งการมี  PMS ทำให้การทำงานเกิดความคล่องตัว  ผลงานออกมามีประสิทธภาพ  ฉับไว  แม่นยำ  มีข้อผิดพลาดน้อย  ทันเวลาส่งมอบ  ได้ผลกำไร  องค์กรสามารถดำเนินอยู่ได้อย่างมั่นคง  และที่สำคัญบรรลุ เป้าหมายตาม Vision และ  Mission  ที่ตั้งไว้ด้วย

     เรียน อ.จีระ , อ.พจนารถ ,  ทีมงาน  Chira Academy และผู้อ่านทุกท่าน  ผม นายวรพจน์  สู่เสน  นักศึกษาปริญญาโท สาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร  คณะเทคโนโลยีการเกษตร  สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

     เนื่องจากวันที่ 19/8/07 ที่ผ่านมา ผมได้มีโอกาสเรียนกับ อ.พจนารถ ให้หัวข้อ  " Performance  Management  "   อ. พจนารถ assign งานให้ทำโดยให้บอกว่า  " ถ้าไม่มี Performance Management จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง "

     ก่อนอื่นต้องบอกว่า Performance Management จะใช้กับระดับปฏิบัติการ ( Individuals ) เพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อตอบสนองต่อ Strategies ที่องค์กรนั้นๆได้วางเอาไว้  และตัว Strategies เองก็ต้องตอบสนองต่อ Objective , Goals , Mission , Vision ขึ้นไปเป็นทอดๆ  ดังนั้นถ้าจะมองว่า การไม่มี Performance Mangement จะเกิดอะไรขึ้นบ้างอาจมองได้ 2 รูปแบบคือ 1. Micro    2. Macro

    1. Micro ( มองเฉพาะในองค์กร ) การที่ไม่มี Performance Mangement จะทำให้องค์กรนั้นๆไม่มีประสิทธิภาพในการทำงาน ระดับปฏิบัติการจะไม่สามารถทำงานตอบสนองนโยบายขององค์กรได้ ซึ่งแน่นอนว่าในระยะยาวองค์กรนั้นจะไม่สามารถดำรงอยู่ได้ ต้องปิดตัวลงไป ปัญหาที่เกิดจากการปิดตัวขององค์กรนี้ก็สร้างความเดือนร้อนกับบุคลากรในองค์กรนั้นๆเอง เช่น คนงานตกงาน ( ลูกเมีย ก็ลำบากไปด้วย ) และธุรกิจต่างๆที่เกี่ยวข้องก็อาจล้มกันเป็นทอดๆได้ เช่น Supplier ที่ทำการส่งวัตถุดิบป้อนให้ ถ้าการจัดการการเปลี่ยนแปลง ( Change Management ) ของ Supplier ไม่ดี ไม่มีการเตรียมการรับมือไว้ก่อน ก็อาจล้มได้

     2. Micro ( มองปัญหาที่เกิดจากการล้มขององค์กรในภาพรวม )  จากปัญหาที่เกิดจาก Micro นั้น จะเห็นว่า จากการที่ธุรกิจล้มกันเป็นทอดๆนั้น ทำให้เกิดปัญหาในระดับประเทศมากมาย เช่น  ปัญหาคนว่างงาน ( ซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหาอาชญากรรมตามมา ) , ธุรกิจที่ล้มกันเป็นทอดๆ ทำให้ปริมาณเงินในระบบผันผวน ( ซึ่งมีผลต่อการคาดการณ์ทางธุรกิจและการลงทุน ) , เกิดภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจตามมาซึ่งทำให้รัฐไม่สามารถเก็บภาษีได้ตามเป้ามีผลกับการทำงบประมาณแผ่นดินซึ่งเกี่ยวข้องกับการลงทุนอาจต้องมีการตัดค่าใช้จ่ายด้านการลงทุนต่างๆ ซึ่งเป็นต้นทุนค่าเสียโอกาสที่แพงมากและมีผลกระทบต่อประชาชนคนไทยทุกคน

     ท้ายนี้ ขอสรุปว่า Performance Mangement มีความสำคัญมากในการที่จะทำให้องค์กรนั้นๆประสบความสำเร็จตามที่ตั้ง เป้าไว้  ซึ่งแต่ละองค์กรควรให้ความสนใจกับการทำ Performance Management ให้มากๆ

เรียน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ อาจารย์พจนารถ ซีบังเกิด และทีมงานทุกท่าน

กระผมนาย พัฒนา ปลอดภัยงาม นักศึกษาปริญญาโท

สาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร

คณะเทคโนโลยีการเกษตร

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

 ถ้าองค์กรไม่มีระบบ Performance System จะเกิดอะไรขึ้น

ภายในองค์กร

ถ้าจะมองในภาพรวมขององค์กรนั้น ๆ จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าจะไม่เกิดความเปลี่ยนแปลงหรือเกิดสิ่งใหม่ขึ้น คือการขยายธุรกิจ การพัฒนาธุรกิจจะไม่เกิดขึ้น เพราะบุคลากรขาดความกระตือรือร้นในการทำงาน บรรยากาศในการทำงานเป็นไปด้วยความเรียบง่าย ไม่มีสิ่งกระตุ้นหรือแรงจูงใจในการทำงาน ไม่เกิดการแข่งขันในการทำงาน ไม่มีสิ่งกำหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์ในการทำงานอย่างชัดเจน อาจทำให้เกิดความไม่เป็นธรรมในส่วนของผู้ที่ตั้งใจทำงานและมีผลงาน บุคลากรที่มีความรู้ความสามารถเกิดความเบื่อหน่ายและต้องออกจากองค์กรไป แต่ถ้าเป็นคนที่ทำงานเรื่อย ๆ หรือไม่มีผลงาน ก็จะไม่เห็นความเปลี่ยนแปลงก็จะทำงานตามแบบเดิม ๆ ผู้บริหารจะขาดความศรัทธาจากลูกน้องเพราะไม่มีเกณฑ์ในการประเมินผลงานที่แน่นอน

ภายนอกองค์กร

เมื่อบุคลากรในองค์กรใดขาดเป้าหมายและแรงจูงใจในการทำงาน จะทำให้องค์กรนั้น ๆ เติบโตได้ช้ากว่าองค์กรที่มีบุคลากรที่ความความตั้งใจทำงานเพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ขององค์กรอาจทำให้เสียเปรียบทางการค้า ล้าหลังกว่าคู่แข่ง มีผลประกอบการน้อยกว่า ส่วนแบ่งทางการตลาดน้อยกว่า หรือเสียฐานลูกค้าไปให้คู่แข่ง สรุปว่าการที่มีระบบPerformance System จะส่งผลในการทำงานของบุคลากรในองค์กรมีเป้าหมาย และเกิดความส่วนร่วม เพื่อพัฒนาตนเองเพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามเกณฑ์ในการประเมิน ชี้วัด โดยต้องอาศัยการฝึกอบรม การควบคุม การพัฒนา โดยจากผู้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมงาน สถาบันต่าง ๆ รวมทั้งตัวบุคลากรเอง

เรียน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์, อาจารย์พจนารถ  ชีบังเกิด รวมถึงอาจารย์ทุกท่านและผู้อ่านทุกท่าน

ผมนายปริญญา  รักพรหม นักศึกษา ป.โท สาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

จากการเรียนเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2550 ที่ผ่านมา ในเรื่อง Performance Management (PM) ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับการจัดการการดำเนินการขององค์กรเพื่อมุ่งไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมาย การจัดทำ PM ในองค์กรนั้นก็เปรียบ

เสมือนเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งซึ่งนับว่ามีความสำคัญเชิงการบริหาร ที่ช่วยในการพัฒนาและปรับปรุงองค์กรให้มีการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่เจริญเติบโตก้าวหน้าและบรรลุผลตามเป้าหมายขององค์กร แต่หากองค์กรไม่มีการจัดทำ PM นั้นจะมีผลกระทบตามกระบวนการของ Performance Management Cycle คือ

- หากไม่มีการวางแผนและเป้าหมาย (Planning/Goal-Setting) จะส่งผลทำให้องค์กรดำเนินงานอย่างไร้ทิศทาง ไร้เป้าหมายที่ชัดเจน พนักงานไม่ทราบเป้าหมายและนโยบายขององค์กรทำให้เกิดความรู้สึกว่าทำงานเพื่อให้เสร็จในแต่ละวัน เหมือนขาดแรงกระตุ้น แรงจูงใจ ให้อยากทำงาน และ อยากพัฒนาปรับปรุงศักยภาพการทำงานให้ดีขึ้น จึงส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานในภาพรวมขององค์กรด้วย

- หากไม่มีการ Coaching & Feedback อย่างต่อเนื่อง จะส่งผลทำให้พนักงานขาดการพัฒนาทักษะการทำงานและรวมถึงไม่ทราบสถานะของตัวเองว่าควรจะต้องเรียนรู้และปรับปรุงการทำงานในด้านใดเพิ่มขึ้นเพื่อให้การปฏิบัติงานได้ตรงตามเป้าหมายของหน่วยงานและองค์กร

- หากไม่มีการทบทวนและประเมินผล (Review & Evaluation) จะมีผลทำให้ผู้บริหารเองไม่ทราบว่าการทำงานของพนักงานของแต่ละหน่วยงานเป็นไปตามเป้าหมายขององค์กรหรือไม่ และจะไม่เห็นข้อเปรียบเทียบหรือแนวโน้มความก้าวหน้าในการปฏิบัติงานของพนักงาน

- หากไม่มีการแก้ไขและปรับปรุง (Corrective & Adaptive action) ปัญหาที่เกิดขึ้นก็จะไม่ได้รับการแก้ไขและก็จะเกิดขึ้นอยู่เป็นประจำซ้ำซากจะส่งผลเสียต่อระบบงาน ระบบการผลิต จนถึงการดำเนินธุรกิจขององค์กร

ดังนั้น PM จึงมีความสำคัญมากหากไม่มีการนำระบบนี้มาใช้นอกจากดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ยังจะมีผลกระทบทำให้องค์กรขาดประสิทธิภาพในการพัฒนาศักยภาพที่มีอยู่ทั้งภายในและภายนอกองค์กรเอง ซึ่งทำให้เกิดความเสียเปรียบในการแข่งขันทางธุรกิจ.
เรียน ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารม, อาจารย์พจนารถ  ซีบังเกิด , ทีมงาน Chira Academy และสวัสดีท่านผู้อ่านทุกท่าน   ดิฉันนางสาวเริงหทัย สำราญ นักศึกษาปริญญาโท คณะเทคโนโลยีเกษตร สาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง       Performance Management System เป็นระบบการทบทวนและประเมินผลการปฏิบัติงานในทิศทางเดียวกันอย่างเป็นระบบ สอดคล้องกับ Mission/Vision/ Objective Strategies/Goals/  เพื่อนำผลที่ได้ไปใช้ในการปรับเงินเดือน และ/หรือ โบนัส และ/หรือ การปรับตำแหน่งงาน และ/หรือ การให้ผลประโยชน์อื่นๆแบบมี/ไม่มีเงื่อนไขแก่พนักงาน และ/หรือ การวางแผนพัฒนาพนักงานต่อไป       เมื่อเป้าหมายของ PMS คือการทำให้พนักงานมี  Performed ดังนั้นหากองค์กรของเรา ไม่มี Performance Management System คุณลองนึกภาพดูซิว่าจะเกิดอะไรขึ้น???
       1. คุณจะทำงานโดยที่ไม่รู้ทิศทางหรือเป้าหมาย (Mission/Vision/ Objective Strategies/Goals) ก็เหมือนคุณกำลังหลงทาง ธุรกิจและองค์กรก็จะไม่มีทิศทางที่ชัดเจน แต่ละหน่วยงานจะดำเนินคนละทิศทาง ส่งผลต่อธุรกิจ เกิดความล่าช้า ไม่ทันคู่แข่ง
       2. ถ้าเป้าหมายกับสิ่งที่คุณกำลังจะทำ มันไม่มี Alignment กับองค์กรของคุณ ฝ่ายของคุณ ถึงคุณจะตั้งใจทำอย่างไรก็ตาม แต่องค์กรก็ยังไม่ต้องการในเวลานี้
       3. ถ้าไม่มีการประเมินผล ให้สามารถมองเห็นประสิทธิภาพการดำเนินการ  ซึ่งอาจรวมถึงความสามารถ ณ ปัจจุบันของคุณ (Competency Assessment) แล้วคุณจะรู้ได้อย่างไรว่าจะต้องมีการพัฒนาอะไรเพิ่มเติมเพื่อให้สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

     
 4. ในระหว่างการดำเนินการตามเป้าหมาย หรือ KPIs หากไม่มีการ Monitor Performance ก็จะทำให้เกิดการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพไม่ต่อเนื่อง  เนื่องจากการทำงานของคน ไม่เหมือนการทำงานของเครื่องจักร ดังนั้นจึงต้องมีการ Monitor Performance เพื่อเป็นการกำกับการทำงานอีกครั้ง
      
5. และหากไม่มี ระบบในการให้คำปรึกษาแนะนำ (Performance Coaching) เมื่อเกิดมีปัญหาในงาน ต้องการคำปรึกษา แนะนำ ก็จะทำให้เกิดความผิดพลาด หรือเสียเวลาไปกับการแก้ไขปัญหาอย่างไร้ทิศทาง แล้วงานจะประสบความสำเร็จได้อย่างไร       6. ผู้บริหารหรือ Top Management จะไม่ทราบสถานการณ์ การดำเนินการขององค์กรหรือธุรกิจ ทำให้ไม่รู้เลยว่าการดำเนินธุรกิจของตน ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้หรือไม่ และจะตัดสินใจอย่างไร เนื่องจากไม่มีผลการประเมิน ผล (Performance Review and Evaluation) ซึ่งได้มาจากการคำนวณผลสำเร็จของการปฏิบัติงาน เพื่อให้สามารถทบทวน และดำเนินการป้องกันและแก้ไขได้อย่างทันท่วงที ก่อนการประเมินผลจริงตาม KPI
     7. เมื่อพนักงานมีความตั้งใจในการทำงานให้ประสบความสำเร็จ แต่ไม่มีการประเมินผลงาน ค่าตอบแทน หรือReward  ที่ได้จะถูกคำนวณอย่างไม่เป็นธรรม ทำให้เกิดความขัดแย้งภายในองค์กร ยิ่งนานวันก็จะทำให้พลังในการขับเคลื่อน (Motivate) ไปสู่ความสำเร็จขององค์กรลดลง        ดังนั้นจะเห็นได้ว่า PMS เป็นการนำเครื่องมือทางการบริหารจัดการมาใช้ในการบริหารผลงานอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง โดยผลงานนั้นต้องเป็นรูปธรรมหรือสามารถนับได้ และแสดงให้เห็นว่าผลการปฏิบัติงานของพนักงานในฐานะทุนมนุษย์ ( human capital )ในองค์กรคือปัจจัยสำคัญที่ทำให้องค์การประสบความสำเร็จ
เรียนศร.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  อาจารย์พจนารถ  ซีบังเกิด รวมถึงอาจารย์และผู้อ่านทุกท่าน  ดิฉันนางสาวกัญญารัตน์  ลาภเดโช นักศึกษาปริญญาโท สาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง  จากการที่ได้เรียนในวันที่ 19 สิงหาคม 2550   เรื่องของ Performance Management  กับท่านอาจารย์พจนารถ   ซึ่งท่านอาจารย์ได้ให้โจทย์ว่า “ถ้าหากองค์กรไม่มี Performance management System  จะเกิดอะไรขึ้น1.  พนักงานทุกคนไม่รู้ทิศทางหรือแนวทางเพื่อปฏิบัติที่เกี่ยวกับองค์กรว่า ทำงานเพื่ออะไร  และเมื่อคนในไม่รู้แนวทางปฏิบัติแล้ว  การที่พนักงานในองค์กรจะดำเนินงานเพื่อบรรลุเป้าหมายขององค์กร  และองค์กรจะประสบความสำเร็จนั้นคงเป็นไปได้ยาก2.  พนักงานไม่ทราบว่างานที่ตนเองทำสอดคล้องกับเป้าหมายองค์กรที่วางไว้หรือไม่อย่างไร  จากการที่ไม่มีการ Coaching และ Feedback  เพื่อเป็นการประเมินผลงานว่าเป็นไปตามที่ตั้งเป้าหมายหรือไม่  และเพื่อนำไปปรับปรุงให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันต่อไป3.  การที่ผู้บริหารไม่ได้รู้และปรับปรุงเกี่ยวกับข้อผิดพลาด  ซึ่งอาจเกิดจากความไม่สอดคล้องของนโยบายกับการปฏิบัติจริงดังนั้นการแก้ไขและปรับปรุง (Corrective & Adaptive action) ปัญหาที่เกิดขึ้น  เมื่อปัญหาไม่ได้รับการแก้ไขและเกิดขึ้นอยู่เป็นประจำซ้ำซากจะส่งผลเสียต่องาน ตลอดจนการดำเนินการธุรกิจ4.  พนักงานไม่มีแรงจูงใจในการทำงาน  อันเกิดจากการที่เมื่อมีการประเมินผลการปฏิบัติงานออกมา  เมื่อพนักงานได้ปฏิบัติงานบรรลุตามเป้าหมายี่วางไว้แล้วควรมีการผลตอบแทนหรือรางวัล  เพื่อเป็นแรงจูงใจและขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน  อีกทั้งเพื่อเป็นการพัฒนาศักยภาพและความสามารถในการทำงานของพนักงานให้ดีขึ้น ดังนั้นจะเห็นได้ว่า  Performance management System มีเพื่อการทำให้ทุกคนในองค์กรมีแนวทางและเป้าหมายในการทำงานเป็นไปในแนวทางเดียวกัน จากการที่มีการวางเป้าหมายไว้อย่างชัดเจนแล้วเพื่อให้ทุกคนในองค์กรเข้าใจร่วมกัน  อีกทั้งยังรวมถึงการมีระบบการติดตาม  การชี้แนะแนวทางการทำงานระหว่างปฏิบัติงาน และประเมินผลงานอย่างมีระบบซึ่งจะช่วยให้การทำงานเป็นไปในแนวทางที่ถูกต้องมากยิ่งขึ้น  โยจุดมุ่งหมายเดียวกันคือความสำเร็จขององค์กร
กราบเรียนศ.ดร. จีระ ,อ. พจนารถ และท่านผู้อ่านทุกท่าน ดิฉันนางสาวศศิวิมล ทับเวช นักศึกษาปริญาโท สาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร สถาบันเทคโนโลยีเจ้าคุณทหารลาดกระบัง        เนื่องจากวันอาทิตย์ที่ 19 สิงหาคม 50 ดิฉันได้เรียนวิชา Human resource management ในหัวข้อเรื่อง performance management ทำให้ดิฉันได้รู้ว่าถ้าองค์กรไม่มี performance management system จะส่งผลให้1.    ไม่สามารถแยกหน้าที่ หรือความรับผิดชอบให้เหมาะสมกับพนักงานได้2.    ไม่มีแรงกระตุ้นให้พนักงานในองค์กรได้พัฒนาตัวเอง3.    ไม่มีเป้าหมาย หรือตัวชี้วัด ในการทำงาน4.    ทำให้พนักงานไม่สามารถแสดงศักยภาพได้เต็มที่5.    การทำงานกันเป็นทีมจะเป็นไปได้ยาก6.    องค์กรนั้นจะมีวัฒนธรรมขององค์กรที่ล้าสมัย7.    ในการทำงานขององค์กรจะไม่มีจุดมุ่งหมาย8.    การทำงานไม่มีการประเมินผลงานทำให้พนักงานไม่มีการพัฒนาความสามารถ และทักษะ    สุดท้ายนี้ดิฉันขอขอบพระคุณอาจารย์ทุกท่านที่ได้ให้ความรู้และประสบการณ์ ดิฉันจะนำสิ่งที่ได้ไปพัฒนาองค์กร และสังคมต่อไป
นายอานนท์ ร่มลำดวน
เรียน ศ.ดร จีระ , อาจารย์  พจนารถ พี่ๆทีมงาน Chira Academy และผู้ติดตาม blog ของพวกเรานักศึกษา ป.โท ลาดกระบังทุกๆท่าน  เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา พวกเราได้ศึกษาเรื่อง Performance Management  เราช่วงท้ายของการเรียนอาจารย์ พจนารถได้ให้พวกเราลองหาคำตอบและแสดงความคิดเห็นว่า หากองค์กรไม่มี Performance Management System  แล้วจะเกิดผลอย่างไรบ้าง  ในมุมมองของผมในเรื่องของ Performance Management ถือว่าเป็นการจัดการที่จำเป็นอย่างหนึ่งที่ต้องทำเนื่องจากการเป็นตัวที่ใกล้ชิดและมีผลทางด้านจิตใจกับตัวพนักงานมากที่สุด ( พนักงานในที่นี้หมายถึงคนทุกระดับที่อยู่ในองค์กร ) เช่นเรื่องหน้าที่งานที่จะต้องผิดชอบ,การวัดผล ,ผลตอบแทนที่จะได้รับ  เพื่อเป็นแนวทางในการทำงานและนำไปสู่เป้าหมายสูงที่องค์กรต้องการ  กล่าวคือ  ในเรื่องของการทำ Performance Management  นั้นจะเป็นจุดเริ่มต้นของความสำเร็จทั้งหมดขององค์กรนั่นเอง  ซึ่งหากองค์กรใดไม่มีการทำ Performance Management   ก็ยากที่จะประสบผลสำเร็จในการดำเนินธุรกิจ หรือประสบความสำเร็จได้แต่ช้า  เนื่องจากทุกคนในองค์กรนั้นเดินตามทางเพื่อมุ่งสู่  Mission / Vision  กันได้อย่างเชื่องช้า หรือเดินกันอย่างไม่ถูกวิธี ตลอดจน ไม่มีแรงจูงใจในการทำงาน ดังนั้นในการที่จะทำให้ทุกคนในองค์กรเดินตามทางที่วางไว้อย่างมีประสิทธิภาพจึงจำเป็นต้องมีวิธีการของ Performance Management  Process เข้ามาช่วยเช่นการ  Coaching and Feedback  , การ Review and Evaluate , การทำ Corrective and Adaptive Action เพื่อปรับปรุงในการดำเนินการได้มีอย่างประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น              ซึ่งไม่ว่าเรื่องใดก็สามารถที่จะนำไปประยุกต์ใช้ได้ เช่น เปรียบเทียบกับการรบ   สมมุติว่าเราต้องการตีเมืองๆหนึ่ง( Vision ) ให้ได้ ซึ่งกองทัพที่เรามีอยู่ประกอบไปด้วย ( Mission ) กองทัพรถถัง ,กองทัพทหารราบ , และกองทัพอากาศ  ในการที่จะเข้าไปตีเมืองจำเป็นต้องมีการวางแผนเชิงกลยุทธ์ ( Strategy Plan ) ของแต่ละ กองทัพ ( Mission )  ว่าต้องทำอย่างไรบ้างแต่ละ กองทัพ ( Mission )  มีเป้าหมาย ( Goal / Objective ) อย่างไร เพื่อที่จะทำให้สำเร็จ ในขณะเดียวกันภายในแต่ละกองทัพเองก็ต้องมีการจัดการวางบทบาทหน้าที่ของแต่ละคนเช่นใครคอยบรรจุกระสุนปืน หรือใครเป็นคนสั่งการยิง เป็นต้น ซึ่งในการกำหนดบทบาทและหน้าที่นั้นอาจกำหนดรางวัล หรือวิธีการทำงาน และการสอน ติดตามงานกัน เช่น การยิงนั้นถูกเป้าหมายหรือไม่อย่างไร ซึ่งอาจต้องมีการปรับแก้ไขกันเพื่อที่จะทำให้กองทัพนั้นสามารถทำ ภารกิจได้บรรลุตามแผนที่วางไว้ ( Performance Management  Process)  โดยการทำทั้งหมดก็เพื่อจุดประสงค์เดียวนั้นคือการยึดเมืองให้ได้ แต่ที่ต้องมีการวางแผนและการดำเนินการที่ซับซ้อนลงมาตามขั้นลำดับจนถึงการทำ  Performance Management   ก็เพื่อการที่จะสร้างความมั่นใจว่าทุกอย่างจะดำเนินไปอย่างถูกต้องและเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุดโดยสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ            ดังนั้นการทำ Performance Management  เป็นจุดเริ่มที่ดีที่สามารถจะรู้ได้ว่าองค์กรจะเป็นเช่นไร ซึ่งหากไม่มีการทำเรื่อง Performance Management   ในองค์กรแล้วนั้นก็เหมือนกับคนตาบอดหรือคนที่กำลังหลงทิศว่าไม่รู้จะเดินไปทางไหนเดินเพื่อให้ถึงจุดหมาย  ซึ่งทำให้เสียเวลา เสียโอกาส และสูญเสียทุกอย่างในที่สุด
กราบเรียนศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมย์ อ.พจนารถ ซีบังเกิด และทุกท่านที่ติดตาม blog นี้อยู่ ดิฉันนางสาววรนรี พันธุสังข์ นักศึกษาปริญญาโท สาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง        เมื่อวันอาทิตย์ที่  19 สิงหาคม 50 ดิฉันและเพื่อนๆได้เข้ารับฟังการบรรยายในหัวข้อเรื่องของ Performance Management  กับท่านอาจารย์พจนารถ   ซึ่งเป็นหัวข้อที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงานภายใต้องค์กรแก่พวกเราอย่างมากและในท้ายชั่วโมงท่านอาจารย์ได้ให้คำถามสำหรับเป็นการบ้านว่า ถ้าหากองค์กรไม่มี Performance management System  จะเกิดอะไรขึ้นPerformance Management System  เป็น ระบบการบริหารจัดการเกี่ยวกับการปฏิบัติงานในองค์กรเพื่อนำในสู่การประสบความสำเร็จเป็นไปตามเป้าหมายขององค์กรจากการที่บริษัทมีการกำหนดเป้าหมาย การวางแผนวางกรอบการปฏิบัติงานให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทิศทางเดียวกัน และมุ่งไปสู่ผลลัพธ์ ดังนั้นหากองค์กรไม่มี Performance Management System  อาจส่งผลให้ 1.  ขาดการกำหนดกรอบเป้าหมายและทิศทางที่ดีในการขับเคลื่อนองค์กร ( Performance Planing / Goal-Setting ) เนื่องจากองค์กรที่ดีต้องมีการกำหนดเป้าหมายและวางแผนการดำเนินงานเพื่อไปให้ถึงเป้าหมายที่กำหนดโดยคนในองค์กรมีข้อสรุปร่วมกันเป็นทิศทางเดียวกันซึ่งก็เหมือนกับการมีจุดหมายปลายทางในการเดินทางโดยมีป้ายบอกทิศทางตลอดการเดินทางให้ไปถึงจุดหมายปลายทางนั้น เมื่อองค์กรไม่ได้กำหนดเป้าหมายไม่มีการวางแผนงานก็เหมือนกับไม่มีป้ายบอกทิศทางจะทำให้ต่างคนต่างดำเนินงานอาจมีความเข้าใจไม่ตรงกันไม่รู้ว่าใครต้องทำอะไรอย่างไรอาจเกิดความขัดแย้งกันระหว่างคนในองค์กรเดียวกัน ทำงานอย่างไร้ทิศทางขาดเสถียรภาพในจากการทำงานที่ไม่สอดคล้องกัน2.  ขาดการชี้แนะ ( Coaching ) และฝึกฝนพัฒนา ( Trainin & Development ) คนในองค์กรตลอดจนผลลัพธ์ความเข้าใจ  ( Feedback ) ที่ได้กลับมาว่าพนักงานมีความเข้าใจและพัฒนาศักยภาพมากขึ้นหรือไม่ที่จะทำให้งานมีประสิทธิภาพที่ดีมากขึ้นซึ่งการฝึกฝนและพัฒนาคนในองค์กรนี้จะเป็นเครื่องมือหรือแรงเสริมที่ช่วยขับเคลื่อนองค์กรได้เป็นอย่างดี3.  อาจเกิดความผิดพลาดหรือความล่าช้าเสียเวลาในการดำเนินงานของคนในองค์กรหรือดำเนินงานผิดทาง อันเนื่องมาจากไม่มีการทบทวน ( Review )  ถึงบทบาทและแนวทางการดำเนินงานว่าสิ่งที่ปฏิบัติอยู่นั้นระหว่างการดำเนินงานด้วยวิธีการดำเนินการที่ใช้อยู่มีติดขัดเรื่องใดหรือไม่อย่างไรสมควรดำเนินการด้วยวิธีนี้ต่อไปหรือไม่ ต้องมีการทบทวนเพื่อปรับปรุงใหม่หรือไม่ตลอดจนขาดการประเมินให้ผู้บริหารทราบจะไม่เกิดการปรับปรุงแก้ไขการทำงานปัญหาจะถูกปล่อยปละละเลยและสะสมไว้4.               ขาดการแก้ไขและปรับปรุง (Corrective & Adaptive action) ปัญหาที่เกิดขึ้นก็จะไม่ได้รับการแก้ไขและก็จะเกิดขึ้นอยู่เป็นประจำสะสมไว้จะส่งผลเสียต่อระบบงาน ระบบการผลิต เสียเวลาและงบประมาณจนถึงการดำเนินธุรกิจขององค์กร 
กราบเรียน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์, อาจารย์ พจนารถ ซีบังเกิด และท่านผู้อ่านทุกท่าน ดิฉันนางสาวนันทกา บุญสุข นักศึกษาปริญญาโท ภาควิชาบริหารธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง จากการที่ดิฉันเรียนในวันที่ 26 สิงหาคม 2550 เวลา 9.00 12.00 น. ได้รับความรู้ในเรื่องของ Employees Engagement For Sustainable Growth ซึ่งการ Engagement ทำให้พนักงานมีความรู้สึก Stay (อยากทำงานกับองค์กร) Say (เชื่อมั่นในองค์กร, พูดถึงองค์กรในด้านดี) และ Strive (กล้าที่จะออกรับแทน) โดยอาจารย์มีกิจกรรมให้พวกเราช่วยกันแสดงความคิดเห็นและช่วยกันจัดเรียงเป็นหมวดหมู่ ว่า องค์กรมีการ Engagement เพื่อให้เกิดอะไร ก็ได้คำตอบว่า 1.       เพื่อให้พนักงานเกิดความสุขในการทำงาน 2.       เพื่อให้พนักงานกล้าแสดงความคิดเห็น3.       เพื่อให้พนักงานมี Positive Thinking 4.       เพื่อให้องค์กรเจริญเติบโต5.       เพื่อให้พนักงานเกิดความสามัคคี6.       เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงาน7.       เพื่อให้ได้รับผลตอบแทน (กำไร)8.       เพื่อให้เกิด Alignment9.       เพื่อให้พนักงานเจริญเติบโต เป็นต้นนอกจากนี้อาจารย์ให้พวกเราแบ่งกลุ่มเป็น 7 กลุ่มและจับฉลาก 7 Factors ที่จะทำให้เกิด Engagement ดิฉันได้ Factor ที่เกี่ยวกับ Culture and Purpose ดิฉันได้อธิบายว่า วัฒนธรรมและวัตถุประสงค์ขององค์กรมีเพื่อกำหนดทิศทางที่ชัดเจน เป็นการคิด (Think) เพื่อสร้างมูลค่า คิดเพื่อให้พนักงานรู้สึก (Feel) เชื่อมั่นและศรัทธาในองค์กร ผลที่ตามมา (Act) ก็คือพนักงานมีความสามัคคีกัน, ไม่ขัดแย้งกัน à งานที่ทำก็จะมีประสิทธิภาพ à องค์กรได้รับผลตอบแทน (กำไร) à พนักงานได้รับผลตอบแทน (สวัสดิการ) à พนักงานมีความสุขในการทำงาน à เกิด Engagement เนื่องจากคาบเรียนนี้เป็นการเรียนครั้งสุดท้ายกับอาจารย์พจนารถ ดิฉันขอขอบพระคุณอาจารย์เป็นอย่างสูงที่สละเวลามาสอนดิฉัน ดิฉันจะนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในชีวิตการทำงานของดิฉันอย่างเต็มความสามารถ ด้วยความเคารพอย่างสูง

เรียนศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ อาจารย์พจนารถ  ซีบังเกิด รวมถึงอาจารย์และท่านผู้อ่านทุกท่าน  ดิฉันนางสาว อรุณี แซ่ตั้ง นักศึกษาปริญญาโท การจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

เมื่อวันอาทิตย์ที่ 26 สิงหาคมผ่านมา อาจารย์พจนารถ ได้มาสอนในหัวข้อ Employees Engagement ซึ่งถือเป็นหัวข้อสุดท้ายที่อาจารย์พจนารถได้มาสอน ซึ่งบรรยากาศการเรียนการสอนในวันนั้นเป็นไปอย่างสนุกสนานเนื่องจากเป็นการเรียนการสอนแบบแลกเปลี่ยนความรู้และข้อคิดเห็นภายในห้องเรียน ซึ่งทำให้รู้สึกผ่อนคลายไม่เครียด และมีความสนุกไปกับการเรียน

ในการเรียนเรื่อง Employees Engagement ทำให้ได้ข้อคิดและมุมมองในการทำงานของดิฉันกว้างมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นในฐานะที่เป็นหัวหน้าหรือลูกน้อง การที่จะทำให้พนักงานทุกคนในองค์กรมีความรักในองค์กร อยากที่จะอยู่และพัฒนาองค์กรให้เจริญก้าวหน้านั้น จะต้องมีการทำ Employees Engagement ซึ่งต้องทำในหลายๆด้าน เช่น เรื่องเกี่ยวกับวัฒนธรรมในองค์กร ความสัมพันธ์ในองค์กร ค่าตอบแทน เป็นต้น ซึ่งเป็นเรื่องที่หัวหน้าทุกคนต้องให้ความสำคัญ ไม่เฉพาะ HR Manager เท่านั้น Line manager ทุกๆคนต้องเป็นคนทำขึ้นมาด้วยเนื่องจากเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยากแต่ก็สามารถที่จะทำได้ หากมีความตั้งใจทำจริง การทำ Employees Engagement จะทำให้พนักงานทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เนื่องจากเต็มใจที่จะทำเพื่อองค์กร จะส่งผลให้องค์กรมีความเจริญก้าวหน้าและพัฒนาอย่างยั่งยืน

ดิฉันขอขอบคุณ อาจารย์พจนารถ  ซีบังเกิด เป็นอย่างสูงที่ได้มาให้ความรู้แก่ดิฉันและเพื่อนนักศึกษาทุกคน ซึ่งจะนำความรู้ที่ได้นั้นไปใช้ในการทำงานต่อไป
สวัสดีอาจารย์จีระ,อาจารย์พจนารถที่เคารพ และสวัสดีท่านผู้อ่านทุกท่าน  เนื่องจากดิฉันได้มีโอกาสเข้าเรียนกับท่าน อาจารย์พจนารถเมื่อวันที่ 26  สิงหาคม 2550 ในเรื่อง Employee Engagement For Sustainable Growth มีรายละเอียดของส่วนสำคัญดังนี้ Employee Engagement คือ ขบวนการขององค์กรที่ทำให้พนักงานมีความรู้สึกอยากอยู่กับองค์กร , กล่าวถึงองค์กรในด้านดีและสามารถทำทุกสิ่งเพื่อองค์กรอย่างเต็มใจ (Stay , Say , Strive)Employee Engagement Model ประกอบด้วยห่วง3ห่วงที่ซ้อนกันซึ่งแต่ละห่วงได้แก่ ห่วงที่1คือ Think เป็นการคิดเพื่อตรวจสอบว่าทิศทางขององค์กรเป็นไปในทางใด ตรงกับที่เราได้กำหนดไว้หรือไม่ ห่วงที่2คือ Feel เป็นการสร้างความรู้สึกของเราว่าอยากอยู่กับองค์กรนั้นๆหรือไม่ห่วงที่3คือ Act เป็นการดำเนินการทำกิจกรรมต่างๆเพื่อองค์กรTypes of Performers ประกอบด้วยพนักงาน 4 ประเภทประเภท1 คือ Rising star ได้แก่ พนักงานที่มี potential และ performance สูง ต้องดูแลให้ดีเพื่อให้อยู่กับองค์กรประเภท2 คือ Work Horse ได้แก่ พนักงานที่มี performance สูงแต่มี potential ต่ำ ให้ดูแลไว้และพยายามผลักดันให้ potential สู่งขึ้นประเภท3 คือ Deadwood ได้แก่ พนักงานที่ potential และ performance ต่ำ ให้ลองพยายามพัฒนาทั้ง2ด้านประเภท4 คือ Problem Child ได้แก่ พนักงานที่มี potential สูง แต่ performance ต่ำ หัวหน้างานจะต้องค้นหาสาเหตุให้พบเพื่อแก้ไขปรับปรุงซึ่งโดยมากมักจะเกี่ยวข้องกับ attitude ซึ่งยังไม่ตรงกับองค์กร (ต้องปรับให้ตรง) หรือ อาจเกิดจากความไม่เข้าใจ/ขาดทักษะในการปฏิบัติงานนั้นๆ(ส่งไปอบรม)The seven factors of Engagement ได้แก่1.Culture and Purpose 2.Leadership3.Releationships4.Quality of Life5.Job tasks6.Opportunity7.Total compensationโดยสรุปแล้วการ engage พนักงานในองค์กรจะต้องได้รับความร่วมมือจากหัวหน้างานแต่ละระดับของแต่ละแผนกประกอบกัน เนื่องจากลำพังเพียง HR ของฝ่ายบุคคลขององค์กรคงจะไม่สามารถ engage พนักงานทั้งหมดได้ ดังนั้นหัวหน้างานต่างๆจะต้องทำหน้าที่เป็น HR ด้วย ( Every line manager is a HR manager)
อรนุช หล่ำสกุลไพศาล

           เรียนศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ อาจารย์พจนารถ  ซีบังเกิด รวมถึงอาจารย์ทุกท่านและท่านผู้อ่าน Blog นี้ ดิฉัน นางสาวอรนุช หล่ำสกุลไพศาล นักศึกษาปริญญาโท การจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เมื่อวันอาทิตย์ที่ 26 สิงหาคมผ่านมา ได้มีโอกาสเรียนกับ อ.พจนารถ อีกครั้งวันนี้อาจารย์ได้สอนเรื่อง Employee Engagement for Sustainable Growth

 

           เรื่อง Employee Retaintion นั้นจะเป็นการเก็บรักษาพนักงานไว้ให้อยู่กับองค์กร แต่ถ้า Employee Engagement เป็นกระบวนการสร้างให้พนักงานขององค์กรเชื่อถือ โดยพนักงานทุกคนสามารถทำงานให้กับองค์กร อย่างไม่ลังเล

           เมื่อพนักงานมี Engagement สิ่งที่เป็นได้ชัดอย่างแรกคือพนักงานทุกคนจะมีความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะอยู่ทำงานให้กับองค์กร หรือ Stay, สองคือ เชื่อมั่นและศรัทธาในองค์กร พูดถึงองค์กรให้ผู้อื่นฟังอย่างภาคภูมิใจเพราะ Member get member พนักงานจะเป็น sale กระจายชื่อเสียงของพนักงานได้ดีที่สุด หรือ Say, สุดท้ายเมื่อพนักงานยินดีที่จะเป็นตัวแทน ทำงานให้กับองค์กรอย่างเต็มใจ หรือที่เรียก Strive

 

           ปัจจัยทั้ง 7 ของ Engagement ที่มีเรื่อง Culture and Purpose, Leadership, Relationships, Quality of Life, Job Tasks, Opportunity และ Total Compensation นอกจากนี้ Engagement จะมี 3 Model คือ Think จากการมี Vision, mission และมี culture และ Purpose เดียวกันองค์กรจะเคลื่อนที่ไปในทิศทางเดียวกันเพื่อสร้าง Value ไปสู่ Goalที่ทุกคนเชื่อมั่น และศรัทธา เกิดความสามัคคี ไม่ขัดแย้ง หรือ Feel ที่ทำให้เราทุกคนรู้สึกกว่าเราเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร Act ที่ได้จากความเชื่อ ความรู้สึก Stay-Say-Strive คืองานที่ออกมามีประสิทธิภาพ เกิดข้อผิดพลาดน้อย องค์กรก็จะก้าวหน้า มีผลกำไรจากการประกอบการเพิ่มขึ้น ซึ่งก็จะส่งผลทำให้เราได้รับ Bonus ที่เพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน พนักงานก็จะรู้สึก Happy มีกำลังใจในการทำงาน  
นางสาว วสพร บุญสุข

เรียนอาจารย์ จีระ หงส์ลดารมภ์ อาจารย์ยม อาจารย์ พจนารถ และท่านผู้อ่านทุกท่าน ดิฉัน นางสาว วสพร บุญสุข นักศึกษาปริญญาโท คณะเทคโนโลยีการเกษตร สาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร  สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

 

 เมื่อวันอาทิตย์ที่ 26 สิงหาคม 2550 ได้เรียนกับอาจารย์ พจนารถ และเป็นครั้งสุดท้ายที่ได้เรียนกับอาจารย์พจนารถ ในรายวิชา การจัดการทรัพยากรมนุษย์ ในหัวข้อ Employees Engagement For Sustainable Growth ซึ่งทำให้ดิฉันได้ความรู้เรื่อง Employees Engagement มากขึ้น เนื่องจากอาจารย์พจนารถ ได้มีกิจกรรมให้ทุกคนลองคิด แล้วเขียนว่า Engagement คืออะไร ตามความคิดของแต่ละคน และจัดกลุ่มแต่ละความคิดเห็นเป็นกลุ่มเดียวกัน แล้วอาจารย์พจนารถได้สรุปคำตอบว่า Engagement คือ เป็นกระบวนการที่ทำให้พนักงานอยากอยู่กับองค์กร (Stay) และพูดถึงองค์กรในทางที่ดี (Say) แล้วทำให้พนักงานทำงานอย่างเต็มที่ (Strive) ก่อนที่จะทำให้องค์กรเกิด Employees Engagement องค์กรต้องมี The Seven Factors of Engagement ประกอบด้วยปัจจัยดังนี้ 1. Culture and Purpose  2. Leadership 3.Relationship 4.Quality of Life 5. Job Tasks 6. Opportunity 7. Total Compensation  จะทำให้เกิด Employees Engagement ในองค์กร และปัจจัยทั้งหมดนี้สำคัญต่อองค์กรอย่างมาก

 

 สรุปได้ว่าองค์กรจะเกิด Employees Engagement จะต้องมี The Seven Factors of Engagement และหัวหน้าต้องรู้ว่าพนักงานแต่ละคนเป็นแบบไหน ควรจะพัฒนาพนักงานแต่ละคนอย่างไร เพื่อที่จะได้มอบหมายงานให้เหมาะสม ทำให้ได้ผลงานอย่างมีประสิทธิภาพ  สามารถนำพาองค์กรและพนักงานประสบความสำเร็จ มีความเจริญก้าวหน้าอย่างยั่งยืน

สุดท้ายนี้ขอขอบพระคุณอาจารย์พจนารถ ที่ได้มาให้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับทรัพยากรมนุษย์ ทำให้ดิฉันมีความรู้เกี่ยวกับทรัพยากรมนุษย์มากขึ้น ได้มีกิจกรรมให้ดิฉันทำรู้สึกสนุกสนาน ได้ลองฝึกคิด และสามารถนำความรู้มาแก้ปัญหา ประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำได้ 
รสสุคนธ์ น้อยจินดา

      กราบเรียน ศ.ดร.จีระ หงลดารมภ์ อาจารย์พจนารถ ซีบังเกิด และท่านผู้อ่านทุกท่าน ดิฉัน นางสาวรสสคนธ์  น้อยจินดา  นักศึกษาปริญญาโท สาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร คณะเทคโนโลยีการเกษตรสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง  จากที่ได้เรียนในวันอาทิตย์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2550 เวลา 9.00-12.00 น. เรื่อง “ Employee Engagement For Sustainable Growth ”

      Employee Engagement คือ Process และกระบวนการขององค์กรที่ทำให้พนักงานมีความรู้สึกอยากอยู่กับองค์กร (Stay) และพูดถึงองค์กรในด้านดี (Say) และตั้งใจทำงานให้องค์กรอย่างไม่ลังเล (Strive) ดิฉันจับประเด็นที่สำคัญได้ 3 ประเด็น ดังนี้

      ประเด็นแรก อาจารย์ให้นักศึกษาช่วยกันตอบว่าถ้าองค์กรมีจัดการเรื่อง Employee Engagement จะทำให้องค์กรนั้นเป็นอย่างไร คือ จะทำให้มีความสุข, สามัคคี, กล้าแสดงความคิดเห็น, มี Alignment, เกิดประสิทธิภาพในการทำงาน, มีผลตอบแทน, และมีการเจริญเติบโตของพนักงานและองค์กร 

       ประเด็นที่ 2 Performers มี 4 ประเภท คือ Rising Star คือ  คนที่มีความสามารถและทำงานดี ซึ่งแต่ละองค์กรสามารถมี star ได้ในทุกตำแหน่งงาน เช่น พนักงานรักษาความปลอดภัย จำทะเบียนรถยนต์ของผู้มาติดต่องานบ่อยๆ ได้ และให้การต้อนรับ ทักทาย Work Horse คือคนที่มีความสามารถน้อย  แต่ทำงานดี  2 ประเภทนี้องค์กรต้องเก็บรักษาไว้ โดยทำให้เขามีความสุข ให้โบนัส  Problem Child คือ คนที่มีความสามารถสูง แต่ทำงานได้ไม่ดี ควรดูว่าเป็นที่ Aptitude หรือไม่ และถ้ามีปัญหาเรื่องทักษะควรเพิ่มการ training Deadwood คือ มีความสามารถต่ำ และทำงานไม่ดีด้วย องค์กรควรลองพัฒนาแต่มีระยะเวลาจำกัดคือ อาจเป็น 3-6 เดือน

      ประเด็นที่ 3 Engagement มีปัจจัยที่สำคัญ 7 ปัจจัย คือ Culture and Purpose, Leadership, Relationships, Quality of Life, Job tasks, Opportunity และ Total Compensation

      ดังนั้น องค์กร จะมี Employees Engagement ที่ดีได้นั้น ต้องได้รับความร่วมมือจากพนักงานทุกส่วน ไม่ใช่แค่ แผนก HR อย่างเดียว แต่หัวหน้างานทุกคนจะต้องเป็นผู้จัดการฝ่ายของพนักงานของตนเองด้วย และขอขอบพระคุณอาจารย์พจนารถมากๆ ค่ะ ที่สละเวลามาเพิ่มความรู้ทางด้าน HR ให้พวกเรา ได้นำไปประยุกต์ใช้ในการทำงานจริง
เรียนท่านศ.ดร.จีระ   ท่านอ.พจนาถ  ท่านอ.ผู้สอนทุกท่าน  ท่านผู้อ่าน  และเพื่อนนศ. ปริญญาโททุกท่าน  ดิฉัน น.ส.สุพิชฌาย์  หนูขาว  นักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง  คณะเทคโนโลยีการเกษตร  สาขาวิชาบริหารธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร       จากที่ได้เข้าร่วมเรียนรู้ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับ ท่าน อ.พจนาถ  ซีบังเกิด เมื่อวันอาทิตย์ที่ 26 สิงหาคม 2550  เวลา  9.00 น.  -  12.00 น.  อ.พจนารถ  ได้ให้ความรู้ในหัวข้อเรื่อง Engagement  For  Sustainable  Growth  โดยมีสาระสำคัญดังนี้ตามนิยามได้ให้ความหมายว่า  กระบวนการขององค์กรที่ทำให้พนักงานมีความรู้สึกอยากอยู่กับองค์กร  (Stay)  พูดถึงองค์กรในด้านดี  เกิดความภาคภูมใจที่ทำงานในองค์กรนี้  (Say)  และตั้งใจทำงานทำทุกอย่างเพื่อองค์กร  (Strive)  การ Engagement  พนักงานต้องอาศัย  The Seven Factors Of Engagement  1. Culture And Purpose  คือวัฒนธรรมองค์กร และวัตถุประสงค์กำหนดทิศทางเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม  2. Leaderships มีการเชื่อถือ  ทำงานอย่างโปร่งใสเชื่อมต่อ Mission, Vission ได้  3. Relationships ความสัมพันธ์ภายใน และภายนอกองค์กรทำให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงาน  4. Quality of life คุณภาพชีวิตที่ดีในการดำรงชีวิต และคุณภาพชีวิตในการทำงาน  5. Job Tasks  ตำแหน่งหน้าที่การงาน  เกิดความภาคภูมิใจ  นอกจากจะพัฒนาตนเองแล้วเขาก็จะพัฒนาองค์กรด้วย  6. Oppertunity การเจริญเติบโต การพัฒนา  การก้าวหน้าโดยเรียนรู้จากทุกสิ่งรอบองค์กร  7. Total Compensation  ทำองค์กรที่เขาอยู่มีความเป็นธรรมในการให้ผลตอบแทน  เงินเดือน สวัสดิการ และโบนัส  ถ้าองค์กรปัจจัยทั้ง 7 ข้อนี้จะส่งผลให้พนักงานเต็มใจที่จะทำงานต่อองค์กรและรักองค์กร การสร้างปัจจัยดังกล่าวต้องเป็นหน้าที่ของหัวหน้างานทุกฝ่ายรวมถึง Line Manager ไม่ใช่เฉพาะฝ่าย HR หัวหน้าทุกฝ่ายต้องทราบว่าลูกน้องของตนเป็นแบบไหน  มีลักษณะการเรียนรู้และการทำงานเป็นอย่างไร  (Type of performers)   มี 4 แบบ คือ1. Rising Star  2. Work Horse  3. Dead Wood  4. Problem Child  ซึ่งลักษณะแต่ละแบบมีความแตกต่างกัน  ดังนั้นเราต้องเรียนรู้  และพัฒนาพนักงานแต่ละคนให้เขาสามารถที่จะทำงานได้เหมาะสม มีประสิทธิภาพในการทำงานสูงสุด  มีการ Motivate พนักงานให้รักองค์กร  กำหนดทิศทางขององค์กร ให้เขามุ่งไปยัง Goal, Mission, Vision (Think) พนักงานเกิดความสามัคคี กล้าแสดงออก ไม่ขัดแย้งกัน (Act) การทำงานมีประสิทธิภาพ เกิดความผิดพลาดน้อย  องค์กรได้ผลกำไร  พนักงานได้ค่าจ้าง ค่าตอบแทน และโบนัสอย่างเป็นธรรม ( เกิดความรักองค์กร / ทำงานอย่างมีความสุข ) (Feel) ส่งผลดีให้กับองค์กร  เกิดความเจริญก้าวหน้าและยั่งยืนต่อไปด้วย   การที่จะทำให้เกิด  Engagement For Sustainable Growth  ต้องอาศัยความร่วมมือ ร่วมใจของทุกคนในองค์กร มีการปฏิบัติอย่างจริงจัง และต่อเนื่อง  เพื่อศักยภาพขององค์กรให้ขับเคลื่อนตัวเองทันยุคโลกาภิวัฒน์ ที่มีการพัฒนาอย่างไม่หยุดนิ่งด้วย    

      เรียน อ.จีระ , อ.พจนารถ ,  ทีมงาน  Chira Academy และผู้อ่านทุกท่าน  ผม นายวรพจน์  สู่เสน  นักศึกษาปริญญาโท สาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร  คณะเทคโนโลยีการเกษตร  สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

      เมื่อวันที่ 26/8/50  ที่ผ่านมา  อ.พจนารถ ได้เข้าสอนเป็น class สุดท้าย สำหรับพวกเรา ซึ่งหัวข้อที่เรียนในวันนี้ คือ " Employees Engagement "  ผมพอจะจับประเด็นสำคัญๆ ได้ดังนี้

     Employees Engagement   คือ  ขบวนการขององค์กรที่ทำให้พนักงานอยากอยู่กับองค์กร  พูดถึงองค์กรในทางที่ดี  และเต็มใจทำงานให้องค์กร ( stay , say , strive )  แน่นอนว่าถ้าพนักงานในองค์กรทุกคนเป็นอย่างนี้แล้ว องค์กรนั้นๆย่อมพัฒนาไปในแนวทางที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืน  พนักงานทุกคนทำงาน อย่างเต็มความสามารถ และปรารถนาดีต่อองค์กร  แต่การที่จะให้ให้ Engagement เกิดขึ้นได้นั้นไม่ใช่เรื่องง่าย  ต้องเริ่มจากแนวคิดของ CEO องค์กรนั้นๆด้วยว่าเห็นความสำคัญในเรื่องนี้หรือไม่  ( ในความเป็นจริงแล้ว ถ้าสังเกตุการสถิติการ turn over ของพนักงาน ก็น่าจะคิดได้นะครับ Ex. CP โดยปัจจัยที่ทำให้เกิด Engagement มี 7 เรื่องดังนี้

  1. Culture and Purpose ( วัฒนธรรมองค์กร กับเป้าหมายส่วนบุคคลเข้ากันได้หรือไม่ )
  2. Leadership ( ความเชื่อใจ , มั่นใจ , นับถือ    ในตัวผู้นำหรือหัวหน้า )
  3. Relationships ( ความสัมพันธ์อันดีระหว่างพนักงานกับองค์กร )
  4. Quality of Life ( คุณภาพชีวิตที่ดีในการทำงาน )
  5. Job Tasks ( งานที่ทำอยู่เหมาะสมรึเปล่า , มีความสุขกับงานที่ทำหรือไม่ )
  6. Opportunity  ( โอกาสในการเจริญเติบโต )
  7. Total Compensation ( ผลตอบแทน )

     ถ้ามีทุกสิ่งทุกอย่างแล้ว Engagement จะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน

     สุดท้ายนี้ผมขอบอกว่า Employees Engagement เป็นเรื่องที่มีความสำคัญอย่างมากต่อองค์กร เปรียบเสมือนการซื้อใจพนักงานทุกคนไว้ได้  จึงอยากให้ผู้บริหารทั้งหลาย ได้เรียนรู้ในเรื่องนี้ไว้ด้วย ไม่ใช่คิดแต่ กำไรที่เป็นตัวเลข เฉพาะหน้า ปีต่อปี เท่านั้น ควรคิดถึงภาพลักษณ์ขององค์กร และความสุขของพนักงานด้วย เพราะจะทำให้องค์กรนั้น ประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืน    ขอขอบคุณ อ.พจนารถที่มาให้ความรู้กับพวกเรานะครับ  ความรู้ที่ได้จาก อาจารย์ ผมจะนำไปคิด และประยุกต์ใช้ต่อไปครับ

                                          ( Bye'  bye ....CP )

  • กราบเรียนศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมย์ อ.พจนารถ ซีบังเกิด และทุกท่านที่ติดตาม blog นี้อยู่ ดิฉันนางสาววรนรี พันธุสังข์ นักศึกษาปริญญาโท สาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
  • เมื่อวันอาทิตย์ที่  26 สิงหาคม 2550 ดิฉันและเพื่อนๆได้เข้ารับฟังการบรรยายกับท่านอาจารย์พจนารถอีกครั้ง ซึ่งครั้งนี้จะเป็นชั่วโมงสุดท้ายแล้วของพวกเราที่จะได้มีโอกาสเรียนกับท่าน ในหัวข้อเรื่องของ Employees Engagement For Sustainable Growth
วันนี้ก่อนที่จะเข้าบรรยากาศการบรรยายท่านอ.พจนารถ ได้เริ่มการเรียนของพวกเราด้วยการให้ทุกคนทำกิจกรรมและ Brain Storming ร่วมกันคิดตามความเข้าใจว่า “Engagement” คืออะไร และหลังจากที่ทุกคนเสนอกันขึ้นมาแล้วให้จัดกรุ๊ปในสิ่งที่เสนอมาให้กระชับเป็นหมวดหมู่ที่ความหมายเดียวกันซึ่งเป็นกลยุทธที่ท่านอ.ให้เราได้ฝึกคิดตามความเข้าใจด้วยตัวเราเองก่อนแล้วหลังจากนั้นให้พวกเราค่อยๆทำความเข้าใจจากการเข้าสู่การบรรยาย ซึ่งจากสิ่งที่ได้รับจากการบรรยายสรุปเป็นดังนี้เราสามารถเข้าใจความหมายของคำว่า “ Engagement” อย่างง่ายๆ ได้จาก 3 คำ1 Stay : มีความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะอยู่ทำงานกับองค์กร2 Say   : เชื่อมั่นและศรัทธาในองค์กร พูดถึงองค์กรให้ผู้อื่นฟังอย่างภาคภูมิใจ3 Strive : ยินดี และเต็มใจที่จะเป็นตัวแทนและทำทุกอย่างเพื่อองค์กร        ซึ่งสามารถอธิบายได้ด้วย Engagement Model ประกอบไปด้วยวงกลม 3 วงของ-      Cognitive commitment ( Think ) คือการที่ทุกคนในองค์กรมีความคิดเห็นพ้องกับทิศทางการดำเนินงานและค่านิยมขององค์กรเป็นไปในทิศทางเดียวกันเพื่อที่จะพร้อมสนับสนุนและก้าวเดินไปพร้อมกับองค์กร-      Affective ( Feel ) คือการที่ทุกคนในองค์กรมีความรู้สึกของการร่วมเป็นส่วนหนึ่งเป็นเจ้าขององค์กรด้วย มีความรัก ความผูกพันและภาคภูมิใจในองค์กร-      Behavioral ( Act ) คือการที่ทุกคนในองค์กรมีความสมัครใจ ตั้งใจที่จะกระทำในสิ่งต่างๆเพื่อองค์กรที่สอดคล้องต่อความต้องการขององค์กรหลังจากที่ทุกคนในองค์กรมีความเข้าใจและเห็นพ้องต่อการดำเนินการขององค์กรและมีความรู้สึกต่างๆที่ดีต่อองค์กรแล้วซึ่งจากทั้ง 3 สิ่งใน Model นี้จะมีเพียงอย่างหนึ่งอย่างใดหรือมีเพียง 2 อย่างไม่ได้ เมื่อใดที่องค์กรอยู่ในจุดที่มีทั้ง 3 สิ่งมาซ้อนทับกันจึงจะสามารถเกิดเป็น  Engagement ได้        การที่คนในองค์กรจะมีทั้ง 3 สิ่งใน Model ได้นั้นต้องกลับมามองที่ลักษณะของแต่ละคน การทำงานของแต่ละคนในองค์กรอีกว่าเป็นอย่างไรสามารถที่จะเกิด 3 สิ่งตาม Model เพื่อนำพาองค์กรไปสู่ Engagement ได้หรือไม่ เราสามารถแบ่ง Types of Performers ตามปัจจัยที่ชี้บ่ง 2 อย่างประกอบกันคือ Potential และ Work Performance ได้เป็น 4 ชนิดคือ
  1. Deadwood คือกลุ่มที่ทั้ง Potential และ Work Performers ต่ำ คนกลุ่มนี้จำเป็นอย่างยิ่งที่องค์กรที่ดีควรจะหาสาเหตุแห่งปัจจัยทั้ง 2 ต่ำและให้โอกาสให้การช่วยเหลือเพื่อให้เกิดการปรับปรุงแก้ไขก่อนเพื่อให้อยู่ในสถานะที่ดีขึ้นหากดีขึ้นก็จะเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยองค์กรในระดับสมควร
  2. Work Horse คือกลุ่มที่มี Work Performance สูงแต่ยังขาด Potential ที่มากพอ
  3. Problem Child คือกลุ่มที่มี Potential สูงมากแต่ Work Performance ต่ำซึ่งจัดว่าเป็นกลุ่มที่มีปัญหาหรืออาจมีการต่อต้านต่องค์กรทั้งที่มีศักยภาพที่ดี องค์กรต้องกลับมาพิจารณาถึงเหตุและหากสามารถปรับแก้ปัญหาที่เกิดกับคนกลุ่มนี้ได้คนกลุ่มนี้เนื่องจากมีทุนที่ดีอยู่แล้วจะสามารถกลายมาเป็นกำลังที่สำคัญให้แก่องค์กรได้อย่างดีไม่ว่าจะจุดหมายใดที่องค์กรต้องการก็ตาม
  4. Rising Star คือกลุ่มที่มีทุนทุกอย่างในเกณฑ์ที่ดีพร้อมทั้ง Potential และ Work Performance ที่สูงซึ่งถือเป็นบุคคลากรกลุ่มที่มีค่าและควรรักษาไว้อย่างยิ่งขององค์กร
  • หากเราสามารถเข้าใจคนในองค์กรของเรา สามารถตีโจทย์และแก้ไขหรือให้การสนับสนุนที่ถูกที่ควรแล้วการที่เราจะก้าวไปสู่การทำ Engagement ให้เกิดขึ้นในองค์กรก็จะไม่ใช่สิ่งที่ยากเกินไปที่จะทำ
 ส่วนประกอบหรือปัจจัยที่สำคัญของ  Engagement  ประกอบไปด้วย
  1. Culture and Purpose ซึ่งประกอบไปด้วย Sense of purpose และ  Organizational value
  2. Leadership  ซึ่งประกอบไปด้วย Credibility และ Trust
  3. Relationship ซึ่งประกอบไปด้วย Coworkers ,Manager และ   Customer  
  4. Quality of life  ซึ่งประกอบไปด้วย  Physical environment และ   Work/life circumstance
  5. Job Task ซึ่งประกอบไปด้วย Impact ,Challenge/interest และ   Status/pride
  6. Opportunity ซึ่งประกอบไปด้วย Growth , Development และ   Advancement
  7. Total  Compensation ซึ่งประกอบไปด้วย  Fair Meaningful และ Competitive
จากสิ่งที่อาจารย์ได้ถ่ายทอดให้พวกเราทั้งหมดนั้นดิฉันจะนำความรู้ท่านอาจารย์ได้ถ่ายทอดมาทำงาน ตั้งแต่การตั้งเป้าหมายในการทำงานและให้ทุกคนทำงานไปในทางเดียวกันเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานมากที่สุด ตลอดจนให้พนักงานทุกคนรักในงานที่จะทำ มีความสุขความพอใจ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไปค่ะ 
  • เรียน ศ.ดร.จีระ  ท่านอาจารย์พจนารถ  พี่ๆทีมงาน Chira Academy และท่านผู้อ่านที่ติดตาม Blog ของพวกเราชาวนักศึกษา ป.โท ลาดกระบังทุกๆท่าน  เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมาเป็นชั่วโมงสุดท้ายที่พวกเราได้มีโอกาสในการเรียนรู้กับทางอาจารย์พจนารถ  ซึ่งในวันนั้นทางอาจารย์ได้สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ด้วยการให้นักศึกษาทุกคนออกความคิดเห็นในเรื่องของปัจจัยที่จะทำให้เกิด Engagement ในตัวพนักงานโดยให้เขียนปัจจัยลงในกระดาษและให้พวกเราจัดแบ่งออกเป็น กลุ่มต่างๆ โดยอาจารย์มาเฉลี่ยในตอนท้ายเพื่อที่จะให้เราได้ลองฝึกคิดและจะสามารถเข้าใจได้ดีกว่าการเข้ามาฟังแต่เพียงฝ่ายเดียว
  • นอกจากนี้ในท้ายชั่วโมงได้ลองให้แสดงความคิดเห็นในเรื่องของ 7 ปัจจัยที่ทำให้เกิด Engagement โดยแบ่งพวกเราออกเป็น 7 กลุ่มได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันอย่างสนุกสนาน  ซึ่งในช่วงเวลาที่ศึกษากับอาจารย์ตลอดเวลา 3 สัปดาห์นั้นผม สรุปใจความในเรื่องท่านอาจารย์ได้แนะนำได้ดังนี้  ในเรื่องของการบริหารงานทรัพยากรมนุษย์ที่เกี่ยวข้องกับสายงาน ( หรืออาจนำมาใช้ในชีวิตประจำวันก็ได้ ) คือเราต้องตั้งเป้าหมายให้ได้เสียก่อน  ( Vision )ว่าเราต้องการเป็นอะไร อย่างไร โดยอาจจะคำนึงถึงสิ่งที่เรามีอยู่ ( Mission ) เราค่อยพัฒนาไปสู่สิ่งที่เราต้องการได้  เมื่อเรามีเป้าหมายที่ชัดและถ้าคนเรามีฝัน ( Vision ) ก็จะมีแรงขับเคลื่อน ( Drive )พยายามทำทุกอย่างโดยยึดเอาเป้าหมายเป็นหลักและดำเนินตามแนวทางที่วางไว้ให้อย่างเป็นระบบไม่ออกนอกลู่นอกทางนัก นั่นก็เปรียบเทียบได้กับการทำ  Alignment  ทั้งในเรื่องของงานหรือชีวิต โดยควรต้องมีการวัดผลหรือตรวจสอบว่าเราเดินได้ถูกต้องถูกทางหรือไม่อย่างไร ( Performance Management system ) เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น  โดยสิ่งสุดท้ายที่เราต้องการก็คือความสุขความพึงพอใจในทุกๆเรื่องไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ เพื่อน ,การยอมรับ ,เงิน ,งาน และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น  
  • โดยในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเรื่องของ  7 ปัจจัยที่ทำให้เกิด Engagement  กลุ่มของผมประกอบด้วย คุณ อรุณี แซ่ตั้ง และนาย วรพจน์  สู่เสน ได้เรื่อง  Leadership ซึ่งภายในนั้นประกอบไปด้วยเรื่อง Trust และ Credibility พวกเราได้วิเคราะห์ถึงปัจจัยอื่นๆที่มีผลต่อ Leadership นั่นก็คือ เรื่องของ Vision ,Motivation ,Coaching Transparency และ Capability  เป็นต้น ที่มีผลกับเรื่อง  Leadership  กล่าวย่อคือการเป็น Leadership  จะเป็นตัวกลางระหว่าง Vision และ Employee จำเป็นต้องอาศัยทักษะดังกล่าวข้างต้นมาใช้อย่างมาก เพื่อให้ลูกน้องเกิด 3S  ( Stay , Say and Strive )  หรือเกิด Engagement  ขึ้นภายในองค์กร
  •   สุดท้ายขอกราบขอพระคุณท่าอาจารย์พจนารถที่มาให้ความรู้พวกเราในเรื่องของการบริหารงานทรัพยากรมนุษย์ทำให้พวกเราเกิดความรู้ความเข้าใจมากยิ่งขึ้นและผมจะนำความรู้ที่ได้จากท่านอาจารย์มาประยุกต์ใช้ในการทำงานโดยเฉพาะเรื่องของการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กรที่ท่านอาจารย์ได้ให้คำแนะนำผมเพิ่มเติม ขอบคุณครับ
 
กราบเรียนศ.ดร.จีระ , อ.พจนารถ และท่านผู้อ่านทุกท่านดิฉันน.ส.นิรชร ไชยกาญจน์ นักศึกษาระดับปริญญาโท สาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังเมื่อวันอาทิตย์ที่ 26 สิงหาคม 2550 ที่ผ่านมาอ.พจนารถได้มาบรรยายในวิชา การจัดการทรัพยากรมนุษย์ ในหัวข้อเรื่อง Employees Engagement For Sustainable Growth  จากการที่ได้ศึกษาจากเอกสารประกอบการเรียนที่อ.ได้นำมาให้ และจากการที่ได้พูดคุยกับเพื่อนๆที่ได้เข้าฟังการบรรยาย ดิฉันขอสรุปเนื้อหาดังนี้ Employees Engagement คือ ระบบวิธีการที่องค์กรนำมาใช้ในการบริหารเพื่อที่จะทำให้พนักงานในองค์กรมีความคิดที่ดีสอดคล้องกันกับองค์กร(Think) , มีความรู้สึกที่ดีกับองค์กร (Feel) และสุดท้ายคือ ทำในสิ่งที่ดีที่องค์กรต้องการอยากให้พนักงานทำ (Act) หรือเรียกว่า ทำให้พนักงานในองค์กรมีสิ่งที่เรียกว่า 3S คือ           STAY    มีความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะทำงานอยู่กับองค์กร                 SAY      เชื่อมั่นและศรัทธา พูดถึงองค์กรอย่างภูมิใจ             STRIVE ยินดีและเต็มใจทำทุกอย่างเพื่อองค์กรซึ่งการที่จะทำให้เกิดสิ่งต่างๆที่กล่าวมานั้น ผู้บริหารที่อยู่ในองค์กรนั้น ก่อนที่จะนำกลยุทธ์หรือวิธีการใดๆก็ตามมาใช้กับพนักงานที่ตนเอง ดูแลอยู่ จะต้องศึกษาและทำความเข้าใจในคุณสมบัติที่พนักงานมีอยู่เสียก่อน เพราะพนักงานแต่ละคนนั้นมีศักยภาพ( Potential ) และความสามารถในการทำงาน (Work Performance) ไม่เท่ากัน รวมถึงการมีแนวความคิดที่ไม่เหมือนกันด้วย ดังนั้นจึงทำให้มีการตอบรับในการสื่อสารจากองค์กรที่แตกต่างกัน ผู้บริหารหรือหัวหน้างานในแต่ละฝ่าย จึงต้องรู้จักและทำความเข้าใจในตัวพนักงานของตนเองให้มาก และรู้จักที่จะเลือกวิธีการที่จะนำมาใช้กับพนักงานเหล่านั้นให้ถูกต้อง จึงจะทำให้เกิดผลลัพธ์จากการดำเนินการที่ดี  ซึ่งในที่นี้ อ.พจนารถได้สรุปไว้ให้ มีอยู่ด้วยกัน 7 หัวข้อคือ        1. Culture and Purpose         2. Leadership         3. Relationships4. Quality of Life5. Job tasks6. Opportunity7. Total compensationนอกจากนี้เรายังสามารถที่จะวัดผลจาการบริหารว่า มีผลสำเร็จเพียงใด โดยการให้พนักงานทำแบบสอบถามดังในตัวอย่างที่ อ.พจนารถได้นำมาให้ศึกษา และนำมาประมวลผลเพื่อที่จะนำการทดสอบไปใช้ในการพัฒนาการบริหารต่อไป  ถ้าองค์กรใดสามารถที่จะทำให้พนักงานในองค์กรมี 3S เกิดขึ้นได้ก็จะทำให้องค์กรมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน องค์กรก็จะก้าวหน้าไปได้อย่างรวดเร็วและยั่งยืนสุดท้ายนี้ดิฉันต้องการาบขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยค่ะ ที่ไม่ได้เข้าฟังการบรรยายของอ.พจนารถ เนื่องจากติดภารกิจส่วนตัว ทำให้พลาดโอกาสที่จะได้ฟังการบรรยายสรุปเนื้อหาในชั่วโมงเรียนสุดท้ายของอ.พจนารถ และพลาดโอกาสที่จะได้ร่วมกิจกรรมที่อาจารย์จัดให้ด้วยค่ะ  
นางสาวศศิวิมล ทับเวช
กราบเรียนศ.ดร. จีระ ,อ.พจนารถ และท่านผู้อ่านทุกท่าน ดิฉันนางสาวศศิวิมล ทับเวช นักศึกษาปริญญาโท สาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมหาร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง       เนื่องจากวันอาทิตย์ที่ 26 สิงหาคม 50 ดิฉันได้เรียนวิชา human resource management ในหัวข้อ employee engagement for sustainable growth ซึ่งสรุปได้ดังนี้        1. engagement คือ มีความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะอยู่ทำงานกับองค์กร เชื่อมั่นและศรัทธาในองค์กร พูดถึงองค์กรให้ผู้อื่นฟังอย่างภาคภูมิใจ ยินดี และเต็มใจที่จะเป็นตัวแทนและทำทุกอย่างเพื่อองค์กร       2. 7 ปัจจัยของการ engagement คือ culture and purpose , leadership , relationships, quality of life, job tasks, opportunity และ total compensation ยกตัวอย่าง เช่น เมื่อพนักงานในองค์กรมี quality of life ที่ดี ซึ่ง quality of life นั่นรวมถึงด้านส่วนตัว (ครอบครัว, สุขภาพกายและใจ, อารมณ์, ความคิด) และด้านการทำงานหรือสังคม (บรรยากาศ, เพื่อนร่วมงาน, ทีมงาน, ความพึงพอใจในหน้าที่, สภาพแวดล้อม) จะส่งผลให้เกิดแรงจูงใจในการทำงานให้ประสบความสำเร็จสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้อย่างมีความสุข ถ้าทุกคนในองค์กรมีคุณภาพชีวิตที่ดีส่งผลให้บรรยากาศในการทำงานที่ดี คุณภาพงานที่ได้ก็จะมีคุณภาพ มีความขัดแย้งน้อยลง การทำงานแบบ team work ผลลัพธ์ที่ได้ คือ พนักงานและองค์กรจะเติบโตไปด้วยกัน เนื่องจากพนักงานเป็นรากฐานขององค์กร เมื่อรากฐานแข็งแรงก็จะนำไปสู่เป้าหมายที่ยั่งยืนได้       สุดท้ายนี้ดิฉันขอขอบพระคุณอาจารย์ทุกท่านที่ได้ให้ความรู้และประสบการณ์ ดิฉันจะนำสิ่งที่ได้ไปพัฒนาองค์กร และสังคมต่อไป

เรียน อาจารย์จีระ  อาจารย์พจนารถ  ทีมงาน Chira Academy และท่านผู้อ่านที่ติดตาม Blog ของพวกเราชาวนักศึกษา ป.โท ลาดกระบังทุกท่าน เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมาผมได้มีโอกาสได้เรียนกับอาจารย์พจนารถ อีกครั้งหนึ่งซึ่งในครั้งนี้ได้เรียนในหัวข้อเรื่องของปัจจัยที่จะทำให้เกิด Engagement ในตัวพนักงานในองค์กร  ช่วงแรกอาจารย์พจนารถได้ให้นักศึกษาทุกคนได้แสดงความคิดเห็นโดยการให้เขียนว่าเมื่อองค์กรมี Engagement  จะทำให้เกิดอะไรขึ้นในองค์กรบ้างและให้จัดกลุ่มของความคิดเห็น ส่วนเนื้อหาที่ได้เรียนมีใจความสำคัญดังนี้

     1. engagement คือ มีความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะอยู่ทำงานกับองค์กร เชื่อมั่นและศรัทธาในองค์กร พูดถึงองค์กรให้อย่างภาคภูมิใจ  และเต็มใจที่จะออกรับแทนและทำเพื่อองค์กรอย่างเต็มความสามารถ       2.      ปัจจัยของการเกิด engagement คือ -         Culture and Purpose วัฒนธรรมองค์กรและเป้าหมายมีความเข้ากันได้-          Leadership  ความเชื่อใจและศรัทธาในผู้นำในองค์กร-         Relationships  ความสัมพันธ์ของระหว่างคนในองค์กรและคนกับองค์กร-         Quality of life  คุณภาพชีวิต ในการทำงานและชีวิตประจำวัน-         Job Tasks   ความเหมาะสมของคนกับงานและความสุขในการทำงาน-         Opportunity โอกาสก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่การงาน-          Total Compensation ผลตอบแทนที่เหมาะสม

    เมื่อพนักงานในองค์กรสิ่งแวดล้อมต่างๆการทำงานหรือสังคม ที่ดีจะส่งผลให้เกิดแรงจูงใจในการทำงานให้ประสบความสำเร็จสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้อย่างมีความสุข ถ้าทุกคนในองค์กรมีคุณภาพชีวิตที่ดีส่งผลให้บรรยากาศในการทำงานที่ดี คุณภาพงานที่ได้ก็จะมีคุณภาพ มีความขัดแย้งน้อยลง มีการทำงานแบบ team work

       ช่วงท้ายชั่วโมงอาจารย์พจนารถได้ให้แบ่งกลุ่มกลุ่มละสาม คน เพื่อแสดงความคิดเห็นเรื่อง 7 ปัจจัยที่ทำให้เกิด Engagement  ซึ่งผมได้กลุ่มที่ต้องแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ Total Compensation เกี่ยวกับการให้ผลตอบแทนที่เหมาะสมจะก่อให้เกิดความจงรักภักดีต่อองค์กรโดยหลักในการให้ผลตอบแทนประกอบด้วย   Fair  คือ ต้องมีความยุติธรรม ตรวจสอบได้ให้โดยความชอบธรรมดูจากผลงานไม่ใช้เส้นสาย ไม่ให้เพราะเป็นพรรคพวก          Meaningful  ต้องมีความหมายมีคุณค่าคู่ควรแก่การที่พนักงานคนหนึ่งได้อุทิศตนเพื่อองค์กรโดยอาจมีการให้โบนัสตอบแทนความมานะอุตสาหะ และ Competitive  คือการแข่งขันได้ กับองค์กรอื่นๆที่อยู่ในธุรกิจลักษณะเดียวกัน การให้ผลตอบแทนต่างๆต้องมีการดูจากตลาดโดยทั่วไปไม่ใช่ให้ตามใจชอบเพราะอาจทำให้สูญเสียพนักงานที่มีคุณภาพไป      ขอขอบคุณอาจารย์พจนารถที่นำความรู้ที่น่าสนใจมาถ่ายทอดให้ผมได้รับฟัง ผมจะนำความรู้ที่ได้นำไปพัฒนาต่อยอดให้เกิดการพัฒนาในหน่วยงานและสังคมรอบข้างต่อไป
 

กราบเรียนศ.ดร. จีระ ,อ.พจนารถ และท่านผู้อ่านทุกท่าน ดิฉันนางสาวเริงหทัย สำราญ นักศึกษาปริญญาโท สาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมหาร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ดิฉันได้มีโอกาสเรียนวิชา human resource management กับอ.พจนารถ ในหัวข้อ “employee engagement for sustainable growth” ซึ่งทางอาจารย์ได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบในการเรียน โดยให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น และแลกเปลี่ยนความคิดกัน ซึ่งถือว่าเป็นการเรียนที่สนุกและเข้าใจง่ายมากยิ่งขึ้น โดยประเด็นที่อาจารย์ได้ให้ความรู้ คือ Employee Engagement ซึ่งเป็นความผูกพันของพนักงานที่มีต่อองค์กร ซึ่งทำให้พนักงานปรารถที่จะ อยู่(Stay), เชื่อมั่น กล่าวถึงองค์กรอย่างภาคภูมิใจ(Say), และยินดีทำทุกอย่างเพื่อองค์กร(Strive) ซึ่งสิ่งเหล่านี้ มีความสําคัญและเป็นพลังอันยิ่งใหญ่ในการขับเคลื่อนองค์กรสู่ความสําเร็จ โดยการสร้างความรับรู้ถึงความยุติธรรม ความมั่นคง ความเข้าใจต่อองค์กร การให้พนักงานมีส่วนร่วม สร้างความไว้วางใจ มีการสื่อสารที่ดี และบูรณาการกลไกกับหน้าที่ของการบริหารและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งการดำเนินการให้ประสบความสำเร็จ ต้องอาศัย 7 ปัจจัย(The Seven Factors of Engagement) คือ

1 Culture and Purpose

 2 Leadership

 3 Relationship

4 Quality of life

5 Job Task

6 Opportunity

7 Total Compensation

ถ้าผู้คนในองค์กรเกิด Engagement ก็จะทำให้พนักงานรู้สึกมีความผูกพันกับองค์กร พร้อมที่จะทุ่มเทพลังกาย พลังใจ ให้กับการทำงานที่รับผิดชอบอย่างเต็มที่ พวกเขาจะรู้สึกตื่นเต้น รู้สึกถึงความท้าทายกับงานที่ทำในแต่ละวัน และพร้อมที่จะหาวิธีการใหม่ๆ ในการทำงานให้บรรลุเป้าหมายอยู่เสมอ สร้างจุดแข็งทางด้านธุรกิจและความก้าวหน้าขององค์กรและตัวพนักงานเอง

สุดท้ายนี้ ต้องขอกราบขอบพระคุณ อาจารย์พจนารถที่ได้มาให้ความรู้ ในเรื่องการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งได้ทั้งความรู้ แนวความคิด และกลยุทธ์ต่างๆ พร้อมทั้ง Case study ที่ง่ายต่อการเข้าใจและการมองภาพรวม ซึ่งดิฉันจะนำไปประยุกต์ใช้กับองค์กรและการพัฒนาตนเองต่อไปคะ

     กราบเรียน ท่าน อ. ศ. ดร.จีระ , อ.พจนารถ และท่านผู้อ่านทุกท่านค่ะดิฉัน น.ส.สุภาภรณ์  นำรุ่งโรจน์ นักศึกษาระดับปริญญาโท สาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง  เมื่อ วันที่ 26/8/50  อาจารย์พจนารถ ได้มาบรรยายครั้งที่ 3 และเป็นครั้งสุดท้ายแล้ว ได้ให้ความรู้ในวิชา HRM ในหัวข้อเรื่อง   Employees Engagement For Sustainable Growth”ซึ่งจากการเรียนในครั้งนี้มีความแตกต่างกว่าทุกครั้งที่ผ่านมา คือต้นชั่วโมง อาจารย์ได้ให้นักศึกษาเขียนความหมายของ Employees Engagement ลงบนกระดาษที่อาจารย์ให้มาและแบ่งแยกประเภทที่แต่ละคนคิดว่าคืออะไร  ว่าโดยองค์กรมีการ Engagement เพื่อให้เกิดอะไรขึ้น ซึ่งทำให้บรรยากาศในการเรียนสนุกขึ้นได้มีกิจกรรมรวมกลุ่มคำ และแสดงความคิดเห็นกัน

    

      Employees Engagement  คือ กระบวนการและขั้นตอนขององค์กรที่ทำให้พนักงานอยากอยู่กับองค์กรต่อไปนานๆ โดยพูดถึงองค์กรในเชิงบวกและมีความตั้งใจทำงานให้องค์กรได้อย่างทันทีและมีประสิทธิภาพก็เพื่อนำไปสู่ความสำเร็จและการเจริญเติบโตขององค์กรอย่างมั่นคง ซึ่งต้องประกอบไปด้วย ดังนี้ Stay : ความต้องการให้พนักงานอยู่ทำงานให้กับองค์กรนานที่สุด, Say: มีความเชื่อมั่นและศรัทธากับองค์กร , Strive: มีความเต็มใจและต้องการที่จะเป็นตัวแทนและทำทุกอย่างเพื่อองค์กร

    

      การจะเกิด รูปแบบ Engagement  ขึ้นมาได้นั้น ต้องมี 3 ห่วงและส่วนที่ซ้อนกันหรือรวมกันก็ คือ Engagement นั้นเอง โดย เริ่มจาก  1.) เกิดความคิด (Think) ก่อนว่าองค์กรมีความคิดไปแนวเดียวกันอย่างชัดเจน2.) เกิดความรู้สึก (Feel) รักองค์กร ที่นี่เปรียบเหมือนบ้านของเขา   3.)  การแสดงออก(Act) ทำให้พนักงานมีความกล้าแสดงความคิดเห็นมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะทำให้เกิดลัษณะของ Performers 4 ลักษณะ คือ Rising Star:มีผลงานดีและเก่งด้วย คู่แข็งชอบติดต่อ, Work House : ทำงานได้ดีควรเก็บไว้และดูแลให้พนักงานมีความสุข, Deadwood : ทำงานได้ไม่ดีและไม่มีความสามารถถึง, Problem Child : มนุษย์เจ้าปัญหา ถ้ามีการพัฒนาต่อไปจะมีโอกาสเป็น  rising star ได้

       

      จะมีขั้นตอนอย่างไรในการทำให้พนักงานในองค์กรมีความสุขได้ โดยผลลัพธ์ที่ต้องการ คือ ทำให้ธุรกิจเติบโตและอยู่ได้ โดยเริ่มจากการทำกลยุทธ์ เพื่อให้มุ่งไปสิ่งที่เราต้องการ, เพื่อให้ได้คุณสมบัติของพนักงานที่ต้องการ, พนักงานเกิด strategy ดูดีขึ้นและศักยภาพสูงขึ้น, การฝึกฝนของ การจัดการทาง Talent โดยต้องเริ่มในองค์กรจาก staff ก่อน แล้วพาไปอบรม เพื่อให้เกิดperformและทำการให้รางวัลแก่พนักงานคนนั้น, ทำให้พนักงานพึงพอใจและลูกค้าพึงพอใจในที่สุด

      

    สรุป จะเห็นได้ว่าการที่จะเกิด Engagement ได้นั่นจะต้องประกอบไปด้วย 7 ปัจจัยหลักๆ เพื่อให้องค์กรไปสู่ Alignment เดียวกัน Vision และ Mission เดียวกันได้   หน้าที่นี้นอกจาก HR Manager และ Manager แต่ละหน่วยงานแล้วนั่น หัวหน้างานก็สามารถทำได้เช่นกัน  ดิฉันขอขอบพระคุณอาจารย์พจนารถเป็นอย่างยิ่งค่ะ ที่ได้เสียสละเวลามาให้ความรู้กับพวกเราซึ่งทำให้เข้าใจเกี่ยวกับองค์กรและ HR ว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างไรและต้องทำอย่างไรบ้าง ที่จะทำให้องค์กรเติบโตอยู่ได้และพนักงานก็เช่นกัน

เรียนศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ อาจารย์พจนารถ ซีบังเกิด และทีมงานทุกท่าน

กระผมนาย พัฒนา ปลอดภัยงาม นักศึกษาปริญญาโท สาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร คณะเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

จากการที่ได้ศึกษาเรื่องEmployee Engagement ซึ่งเป็นความผูกพันของพนักงานที่มีต่อองค์กร ซึ่งทำให้พนักงานปรารถที่จะ อยู่(Stay), เชื่อมั่น กล่าวถึงองค์กรอย่างภาคภูมิใจ(Say), และยินดีทำทุกอย่างเพื่อองค์กร(Strive) ซึ่งสิ่งเหล่านี้ มีความสําคัญและเป็นพลังอันยิ่งใหญ่ในการขับเคลื่อนองค์กรสู่ความสําเร็จ โดยการสร้างความรับรู้ถึงความยุติธรรม ความมั่นคง ความเข้าใจต่อองค์กร การให้พนักงานมีส่วนร่วม สร้างความไว้วางใจ มีการสื่อสารที่ดี และขับเคลื่อนกลไกการบริหารและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่ง ต้องอาศัย 7 ปัจจัย(The Seven Factors of Engagement) คือ

1 Culture and Purpose

 2 Leadership

 3 Relationship

4 Quality of life

5 Job Task

6 Opportunity

7 Total Compensation

ถ้าผู้คนในองค์กรเกิด Engagement ก็จะทำให้พนักงานรู้สึกมีความผูกพันกับองค์กร พร้อมที่จะทุ่มเทพลังกาย พลังใจ ให้กับการทำงานที่รับผิดชอบอย่างเต็มที่ พวกเขาจะรู้สึกตื่นเต้น รู้สึกถึงความท้าทายกับงานที่ทำในแต่ละวัน และพร้อมที่จะหาวิธีการใหม่ๆ ในการทำงานให้บรรลุเป้าหมายขององค์กร สร้างจุดเด่นและความเป็นผู้นำทางธุรกิจ เพื่อความก้าวหน้าขององค์กรและตัวพนักงานเอง

เรียนศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ อาจารย์พจนารถ ซีบังเกิด และทีมงานทุกท่าน

กระผมนาย พัฒนา ปลอดภัยงาม นักศึกษาปริญญาโท สาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร คณะเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

จากการที่ได้ศึกษาเรื่องEmployee Engagement ซึ่งเป็นความผูกพันของพนักงานที่มีต่อองค์กร ซึ่งทำให้พนักงานที่จะ อยู่กับองค์กร(Stay)

เชื่อมั่น กล่าวถึงองค์กรอย่างภาคภูมิใจ(Say)

และยินดีทำทุกอย่างเพื่อองค์กร(Strive)

ถ้าผู้คนในองค์กรเกิด Engagement ก็จะทำให้พนักงานรู้สึกมีความผูกพันกับองค์กร พร้อมที่จะทุ่มเทพลังกาย พลังใจ ให้กับการทำงานที่รับผิดชอบอย่างเต็มที่ พวกเขาจะรู้สึกตื่นเต้น รู้สึกถึงความท้าทายกับงานที่ทำในแต่ละวัน และพร้อมที่จะหาวิธีการใหม่ๆ ในการทำงานให้บรรลุเป้าหมายขององค์กร สร้างจุดเด่นและความเป็นผู้นำทางธุรกิจ เพื่อความก้าวหน้าขององค์กร

 ซึ่งสิ่งเหล่านี้ มีความสําคัญและเป็นพลังอันยิ่งใหญ่ในการขับเคลื่อนองค์กรสู่ความสําเร็จ โดยการสร้างความรับรู้ถึงความยุติธรรม ความมั่นคง ความเข้าใจต่อองค์กร การให้พนักงานมีส่วนร่วม สร้างความไว้วางใจ มีการสื่อสารที่ดี และขับเคลื่อนกลไกการบริหารและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่ง ต้องอาศัย 7 ปัจจัย(The Seven Factors of Engagement) คือ

1 Culture and Purpose

 2 Leadership

 3 Relationship

4 Quality of life

5 Job Task

6 Opportunity

7 Total Compensation

เรียน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์, อาจารย์พจนารถ  ชีบังเกิด รวมถึงอาจารย์ทุกท่านและผู้อ่านทุกท่าน  

ผมนายปริญญา  รักพรหม นักศึกษา ป.โท สาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

จากการเรียนเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2550 ที่ผ่านมา ในเรื่อง Employee Engagement for Sustainable Growth ก่อนอื่นก็ขอเรียนอาจารย์ว่าบรรยากาศการเรียนในวันนั้นเป็นการเรียนที่ค่อนข้างสนุกมาก ความรู้สึกแบบเป็นกันเองของผู้สอนและผู้เรียนทำให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนมากขึ้น ในส่วนของเนื้อหาที่เรียนซึ่งเป็นเรื่องของ Employee Engagement for Sustainable Growth ในความหมายของเรื่องนี้เป็นการเน้นถึงความสัมพันธ์ ความผูกพันของพนักงานกับองค์กร การที่พนักงานที่มีความตั้งใจ ทุ่มเทพลังกาย พลังใจ ให้กับการทำงานที่รับผิดชอบอย่างเต็มที่ พนักงานจะรู้สึกตื่นเต้น รู้สึกถึงความท้าทายกับงานที่ทำ พนักงานจะเกิดความต้องการพัฒนาตัวเองเพื่อดึงเอาความสามารถ เพื่อหา พรแสวงพร้อมกับนำเอาพรสวรรค์ในตัวเองมาใช้ในการทำงานที่รับผิดชอบอย่างเต็มที่ พร้อมทั้งใฝ่เรียนรู้ หาวิธีการใหม่ๆ ในการทำงานให้บรรลุผลตามเป้าหมายตามบทบาทหน้าที่ที่ได้รับจากหน่วยงานและสอดคล้องตาม นโยบาย เป้าหมาย ขององค์กร

ซึ่งการจะดำเนินการให้เกิด Employee Engagement ขึ้นในองค์นั้น ผู้บริหารในองค์กรเองจำเป็นที่จะต้องคำนึงถึงปัจจัยที่จะส่งเสริมให้เกิด Engagement คือ

1. Culture and Purpose – องค์กรจะต้องพยายามชี้แจงอย่างชัดเจนในเรื่องของวัฒนธรรมขององค์กร ระเบียบปฏิบัติ รวมถึงธรรมเนียมปฏิบัติในองค์กร ให้พนักงานนั้นเข้าใจและยอมรับให้ได้เพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันภายในองค์กร

2.   Leadership – องค์กรจะต้องสร้างภาวะผู้นำให้เกิดขึ้นในทุกๆ ระดับ เพื่อทำให้พนักงานเกิดความเชื่อมั่นในผู้นำ รวมทั้งเกิดความมั่นใจในสถานะขององค์กรด้วย

3.   Relationships – องค์กรจะต้องสร้างให้เกิดสัมพันธภาพที่ดีในองค์กรขึ้นซึ่งจะมีผลทำให้เกิดความร่วมมือที่ดีในการทำงาน มีบรรยากาศการทำงานที่ส่งเสริมให้อยากทำงาน พนักงานเกิดความรักความสามัคคีกัน เป็นต้น

4.   Quality of Life – องค์กรจะต้องส่งเสริมให้พนักงานมีคุณภาพชีวิตที่ดีทั้งในเรื่องงานและเรื่องส่วนตัวของพนักงาน เพื่อช่วยให้พนักงานเกิดแรงจูงใจ หรือ มีกำลังใจที่ดี พร้อมที่จะสร้างสรรค์งานที่มีประสิทธิภาพให้องค์กร

5.   Job Tasks องค์กรจะต้องดำเนินการ มอบหมายงาน จัดแบ่งบทบาทหน้าที่การทำงานให้เหมาะสมกับความสามารถของพนักงาน “Put the right man in the right job” เพื่อสร้างให้พนักงานเข้าใจในงาน เกิดความรักและความภูมิใจในงานของตัวเอง ซึ่งก็จะส่งผลให้เกิดผลการปฏิบัติงานที่ดีขึ้นได้

6.   Opportunity องค์กรจะต้องเปิดโอกาสให้พนักงานได้แสดงความรู้ความสามารถอย่างเต็มที่ รวมทั้งจะต้องส่งเสริมและพัฒนาพนักงานให้มีความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ให้มากขึ้น ประกอบกับการเปิดโอกาสในการแสดงความคิดเห็นในด้านต่างๆ ต่อองค์กร เพื่อองค์จะได้รับรู้และทราบถึงแนวคิดและความต้องการของพนักงาน ซึ่งข้อมูลเหล่านี้สามารถที่จะนำมาใช้ในการพัฒนาองค์กรให้เติบโตได้

7.   Total Compensation – สุดท้ายองค์กรจำเป็นที่จะต้องตอบแทนพนักงานอย่างเหมาะสม ทั้งในเรื่องรายได้และสวัสดิการ เพราะว่าเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนต่อความรู้สึกและเป็นสิ่งที่จะทำให้พนักงานเกิดแรงจูงใจให้อยากทำงานและจะช่วยให้พนักงานมีความคิดแบบ Positive Thinking ต่อองค์กรด้วย

หากองค์กรสามารถที่จะหลอมรวมปัจจัยเหล่านี้ พร้อมทั้งมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมให้เกิด Employee Engagement อย่างจริงจังก็จะส่งผลให้เกิดความรัก ความผูกพันของคนในองค์กรได้อย่างยั่งยืน 
กราบเรียน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์, อาจารย์ พจนารถ ซีบังเกิด และท่านผู้อ่านทุกท่าน ดิฉันนางสาวกัญญารัตน์  ลาภเดโช นักศึกษาปริญญาโท สาขาวิชาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง จากการที่ดิฉันเรียนในวันที่ 26 สิงหาคม 2550 กับท่านอาจารย์ พจนารถ ซีบังเกิด   สิ่งที่ได้รับ  คือความรู้ในเรื่องของ Employees Engagement For Sustainable Growth  

             หัวใจของ Employee Engagement เป็นขบวนการขององค์กรที่ทำเพื่อหวังให้พนักงานมีความรู้สึกอยากอยู่กับองค์กร , กล่าวถึงองค์กรในด้านดีและสามารถทำทุกสิ่งเพื่อองค์กรอย่างเต็มใจ (Stay , Say , Strive)  ซึ่งที่ได้จากการเรียนครั้งนี้ทำให้ได้รู้ว่า  เราควรที่มีกลยุทธ์ใดๆบ้างเพื่อที่จะทำให้เกิด Employee Engagement   โดยท่านอาจารย์ได้กล่าวถึงองค์ประกอบร่วมต่า

  • Culture and Purpose    การชี้แจงอย่างชัดเจนในเรื่องของวัฒนธรรมขององค์กร ระเบียบปฏิบัติ รวมถึงธรรมเนียมปฏิบัติในองค์กร ให้พนักงานนั้นเข้าใจและยอมรับให้ได้เพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันภายในองค์กร
  • Leadership  การสร้างภาวะผู้นำให้เกิดขึ้นในทุกๆ ระดับ เพื่อทำให้พนักงานเกิดความเชื่อมั่นในผู้นำ   อีกทั้งเป็นการส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาตัวพนักงานเองให้เกิดสภาวะผู้นำ  ในการพัฒนาในเรื่องของตำแหน่งหน้าที่ต่อไป
  • Relationships   การสร้างให้เกิดสัมพันธภาพที่ดีในองค์กรขึ้น  มีผลทำให้เกิดความร่วมมือที่ดีในการทำงาน  มีบรรยากาศการทำงานที่ดีส่งเสริมให้พนักงานอยากทำงาน พนักงานเกิดความรักความสามัคคีกันต่อกันในองค์กร
  •  Quality of Life  การส่งเสริมให้พนักงานมีคุณภาพชีวิตที่ดีทั้งในเรื่องงานและเรื่องส่วนตัวของพนักงาน เพื่อช่วยให้พนักงานเกิดแรงจูงใจ หรือ มีกำลังใจที่ดี พร้อมที่จะทำงานให้มีประสิทธิภาพเพื่อองค์กร
  • Job Tasks   การมอบหมายงาน จัดแบ่งบทบาทหน้าที่การทำงานให้เหมาะสมกับความสามารถของพนักงาน “Put the right man in the right job” เพื่อสร้างให้พนักงานเข้าใจในงาน  รวมไปถึงการทำให้พนักงานเกิดความรักและความภูมิใจในงานของตัวเอง จะส่งผลให้เกิดการพัฒนาต่อไป
  • Opportunity   การเปิดโอกาสให้พนักงานได้แสดงความรู้ความสามารถอย่างเต็มที่   อีกทั้งการส่งเสริมและพัฒนาพนักงานให้มีความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ให้มากขึ้น   รวมไปถึงการเปิดโอกาสในการแสดงความคิดเห็นในด้านต่างๆ ที่มีต่อองค์กร เพื่อองค์จะได้รับรู้และทราบถึงแนวคิดและความต้องการของพนักงาน ซึ่งข้อมูลเหล่านี้สามารถที่จะนำมาใช้ในการพัฒนาองค์กรเพื่อให้เกิดความพึงพอใจของทั้งพนักงานและผู้บริหาร
  • Total Compensation   องค์กรจำเป็นที่จะต้องตอบแทนพนักงานอย่างเหมาะสม ทั้งในเรื่องรายได้และสวัสดิการ  เป็นสิ่งที่จะทำให้พนักงานเกิดแรงจูงใจให้อยากทำงานและจะช่วยให้พนักงานมีความคิดแบบ Positive Thinking ต่อองค์กร
 องค์ประกอบร่วมเหล่านี้เป็นกุญแจไขเพื่อไปสู่กลยุทธ์ที่เปรียบเสการเอาใจใส่พนักงานในองค์กร  เพื่อให้เกิด Employee Engagement  โดยเป้าหมายสูงสุดเพื่อไปสู่ความสำเร็จขององค์กร โดยที่พนักงานนั้นมีส่วนร่วมในความสำเร็จและได้รับผลตอบแทนอันควรจากการพัฒนาตัวเอง และองค์กร  โดยองค์กรประสบความสำเร็จผลตอบแทนที่ได้คือกำไร   แต่ในตัวพนักงานอาจได้ในเรื่องของการขึ้นเงินเดือน  โบนัส  การให้รางวัล  หรือแม้กระทั้งการยกย่องชมเชย
Dr.Chira and Chira Academy Team.  I’m Nuntaga Boonsuk from King Mongkut’s Institute of Technology Ladkrabang, Agibusiness and Food industry Management. Due to Our course on Sunday 2nd September 2007, We learnt about Knowledge Management and ASV theory (A = Acquired, Create Habit by acquires knowledge all of your life), (S = Share, Share information and Knowledge about difference science) and (V = Value, Create value by solve problem, create opportunity and networking). After that Dr.Chira recommended us to read Business Week (August 20 & 27 2007) about “The future of work”. Dr.Chira asked that “How we apply the future of work for Thai people ?” In my opinion, I think that Thai people have Imagination and Creativity but they are limited of Opportunity to show their abilities. So the future of work for Thai people should be 2 important points: 1.      Unlimited time The culture of Thai company work in Office time. ( 8.00 a.m. – 17.00 p.m.) This culture make employees are limited time for work. In the future of work, Employees should be free to work whatever they want, so long as the work get done.  2.      Unlimited WorkplaceEmployees should be free to work wherever they want. For example, they can work at home, Coffee shop etc.  If company realize 2 important points, Employees aren’t controlled. They are happy and make more new innovations, new ideas or new projects  for company. The company have new product and get more benefits.
           Dear Prof. Dr. Chira , Chiraacademy and my friends My name is Worapoch Susen. I’m study to King Mongkut’s Institute Technology Lardkrabang major subject Agribusiness of Food Industry Management.          In Journal “ Which way to the future ”  by Michael Mandel in  The future of work magazine. He said “ Globalization technology are drastically changing how we do our jobs.” Because of employers are higher levels of education , so it has competitive pressure. If I am a manager who work at giant companies in Thailand I should have clear and big task growth objective in the future because work can be broken if you have small task when it changes. Thus you should Change Management for flexible organization and adapt with any situation that. 1.    Develop Department of Human Resource by improve selecting employee. Don’t select employee neither high skill nor high EQ and look backgrounds to collaborate efficiently and effectively , after that you should keep talent employee with in companies. 2. Improved telecommuting to new techniques that               help workers by take Work Force Alignment that said “ Anyone has the same goal by the  advances in communication could enable new form of workplace organization manager is commuting between CEO and Employers for the goal companies.” 
Dear Prof. Dr. Chira, My name is Arunee Saetang from King Mongkut’s Institute Technology Lardkrabang major of Agribusiness of Food Industry Management.     The future of work        The future world is the world of Globalization, who is Asian, can work at Europe. Thus the work is more pressure by high competitive. Required employee must be more efficiency.                       3 things that Thai’s employee must have for work in the future are high education, creativity and happiness.        High education : in the future education level of employee should be at least bachelor’s degree  if not  we cannot compete with others. Important thing is foreign language for contact with foreign people. Creativity : Finally, all of the world technology and quality will be equally but one thing that will make different is “creativity” and creativity will be a distinctive point. Happiness : Happiness is the most  important thing that future’s employee must have. Competition will make more pressure to employee thus they must have happiness in their work. No body can do a good job with unhappiness.

Dear Prof. Dr. Hongladarom and Chiraacademy Team. My name is MissNirachornChaiyakarn . I am from King Mongkut’s Institute of Technology Ladkrabang, Agibusiness and Food industry Management. On last Sunday, September 2 , 2007 , in our Human Resort Management class, we learnt about ‘Knowledge Management’ and “ASV theory” . In the coffee time,  Prof.Dr. Hongladarom recommended us   a very interesting magazine , The Business Week, issue August 20&27,2007 in the column “The Future of Work”  and asked  that “How we apply The Future of Work for Thai people?” . After I have already read about these , in my opinion, we are in the new business world which run by globalization and technologies. That’s mean now and in the future our jobs will change to the way with have many kind of knowledge. So that, if Thai people want to compete, we have to change the way we learnt and work to make us from “a student” or “a worker” to “a professional ” in what are we doing. We must not learn only in the book or in the class. We need to hard learn and hard work from the real situation and apply it to make for our benefit. In fact, we must not learn only in the day but we must to learn and work in every times, every minutes in  hold life because knowledges and technologies are change and rebuild all the time not except when we are rest. However, I believes in Thai people's abilities that what we want to do, we can do it well.

สวัสดี ดร.จีระ และท่านผู้อ่านทุกท่าน ดิฉัน นางสาว สุมิตรา พนาอภิชน นักศึกษาปริญญาโท สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าคุณทหารลาดกระบัง เมื่อวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2550  ได้มีโอกาสเรียนวิชา HR กับดร.จีระอีกครั้ง โดยดร.จีระ ได้ให้นิตยสารมา 1 เล่ม ชื่อเรื่อง “The future work” มาอ่าน โดยให้นักศึกษาอ่านบทความในนิตยสารมา 1 บทความ เรื่องที่ดิฉันเลือก คือ “Creating Brand You” พอจะสรุปใจความสำคัญได้ดังนี้ Tam Peters ได้เขียนบทความเรื่อง “ The brand called you” โดยที่จุดสำคัญของ brand จะต้องเป็นที่สะดุดตา โดยต้องมีคำเพียง 15 คำ หรือน้อยกว่านั้น คุณต้องยอมรับกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็น พนักงาน หรือผู้จัดการที่ไม่ดี ถ้าเธอเป็น CEO ของ Me Inc ต้องมีการทำ โครงการใหม่ๆอยู่เสมอ และต้องพยายามพักดันให้ brand ขับเคลื่อนไปข้างหน้า คุณต้องสามารถเป็น coach ให้กับเพื่อนร่วมทีมได้ยามเมื่อมีปัญหาและให้ความสนับสนุนให้ทีมทำงานให้สำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ เธอจะเป็น brand ที่ดี แต่สิ่งแรกที่ต้องคิดชื่อของbrand จะเข้าไปอยู่ใน Google อย่างไร brandของคุณต้องไม่ไปหลายทาง โดยส่วนใหญ่ในหนังสือของปีที่ผ่านมาได้มีการลงเกี่ยวกับ brand ประมาณ 120 ทาง ในการ promote brand           การทำงานในศตวรรษที่ 21 นั้น Donald Trump คิดว่าประชาชนส่วนใหญ่ไม่สนใจที่ brand แต่สนใจที่ผู้จัดการ หรืออะไรบางอย่างที่ดีกว่า พวกเขาไม่มี brand เป็นของตัวเองและถ้าพวกเขาคิดที่จะทำอะไรก็จะทำเลยทันที โดยที่ดูจากพฤติกรรมต่างๆ เช่น การศึกษาคู่แข่งขัน, TV rating ที่ไม่เท่าเทียมกันของ Donald         Seth Godin เชื่อใน age of Google, Myspace, youTube and bloogging อีกอย่างคือ brand, ส่วนแบ่งทางการตลาด, นโยบายของ brand, เพื่อนร่วมงานและหัวหน้าของคุณ และถ้าคุณมีการควบคุม brand ที่ดี, มีการขายที่ดีและมีผู้จัดการและตัวแทนขายที่ดี การสร้าง brand ของคุณก็จะประสบความสำเร็จ
สวัสดี ดร.จีระ และท่านผู้อ่านทุกท่าน ดิฉัน นางสาว สุมิตรา พนาอภิชน นักศึกษาปริญญาโท สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าคุณทหารลาดกระบัง เมื่อวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2550  ได้มีโอกาสเรียนวิชา HR กับดร.จีระอีกครั้ง โดยดร.จีระ ได้ให้นิตยสารมา 1 เล่ม ชื่อเรื่อง “The future work” มาอ่าน โดยให้นักศึกษาอ่านบทความในนิตยสารมา 1 บทความ เรื่องที่ดิฉันเลือก คือ “Creating Brand You” พอจะสรุปใจความสำคัญได้ดังนี้ Tam Peters ได้เขียนบทความเรื่อง “ The brand called you” โดยที่จุดสำคัญของ brand จะต้องเป็นที่สะดุดตา โดยต้องมีคำเพียง 15 คำ หรือน้อยกว่านั้น คุณต้องยอมรับกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็น พนักงาน หรือผู้จัดการที่ไม่ดี ถ้าเธอเป็น CEO ของ Me Inc ต้องมีการทำ โครงการใหม่ๆอยู่เสมอ และต้องพยายามพักดันให้ brand ขับเคลื่อนไปข้างหน้า คุณต้องสามารถเป็น coach ให้กับเพื่อนร่วมทีมได้ยามเมื่อมีปัญหาและให้ความสนับสนุนให้ทีมทำงานให้สำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ เธอจะเป็น brand ที่ดี แต่สิ่งแรกที่ต้องคิดชื่อของbrand จะเข้าไปอยู่ใน Google อย่างไร brandของคุณต้องไม่ไปหลายทาง โดยส่วนใหญ่ในหนังสือของปีที่ผ่านมาได้มีการลงเกี่ยวกับ brand ประมาณ 120 ทาง ในการ promote brand           การทำงานในศตวรรษที่ 21 นั้น Donald Trump คิดว่าประชาชนส่วนใหญ่ไม่สนใจที่ brand แต่สนใจที่ผู้จัดการ หรืออะไรบางอย่างที่ดีกว่า พวกเขาไม่มี brand เป็นของตัวเองและถ้าพวกเขาคิดที่จะทำอะไรก็จะทำเลยทันที โดยที่ดูจากพฤติกรรมต่างๆ เช่น การศึกษาคู่แข่งขัน, TV rating ที่ไม่เท่าเทียมกันของ Donald         Seth Godin เชื่อใน age of Google, Myspace, youTube and bloogging อีกอย่างคือ brand, ส่วนแบ่งทางการตลาด, นโยบายของ brand, เพื่อนร่วมงานและหัวหน้าของคุณ และถ้าคุณมีการควบคุม brand ที่ดี, มีการขายที่ดีและมีผู้จัดการและตัวแทนขายที่ดี การสร้าง brand ของคุณก็จะประสบความสำเร็จ
      Dear Prof. Dr. Chira and Chiraacademy My name is Rossukon Noyjinda. I’m study to King Mongkut’s Institute Technology Lardkrabang, Agribusiness of Food Industry Management. Dr.Chira recommended us to read Business Week about “ The future of work ” I’m select topic “ Which way to the future? ” by Michael Mandel Nowaday, Globalization  and  technology  together  are  creating changes  in  how  we  do  our  jobs  and  the  offices. Employee to satisfy planning of work Managers or workers  work for competition pressures and competition time,  need  to  move  toward  the  more  optimistic  vision. Employee must to leaning everyday, training for development and creativity. Employee are high levels of education Now, company want employee have  a  bachelor’ s  degree  or  better and foreign language for contact with foreign people. Workplace is uncertain but to give importance workplace in company must to environment to support of work. Currently, Employee can select everywhere  workplace to happy such as at home, Internet, coffee shop. They are  creativity  and  innovation. Everything for benefit of company to goal. 

Dear Prof. Dr. Chira and All Reader. My name is Miss Wasaporn Boonsuk  student Master’s degree from King Mongkut’s Institute Technology Lardkrabang major of Agribusiness of Food Industry Management. On Sunday 2 September 2007. I have homework in Business Week about “The future of work”. On this question “How we apply the future of work for Thai people?”  

         In my opinion, I thing the future of work for Thai people, Globalization and Technology are creating the potential for start changes in the world. Which the managers and workers will be pressures by competitive. So the employee should be improved levels of education and manager should be improved  “workplace”  for workers in an organization. Because the workplace is important point of employee made job to collaborate efficiently and effectively. The managers must have communication and information to workers need to move toward the vision. The workplace should be get have exchange idea between managers and workers. In the future, I thing  work of Thai people could to get competitive foreign. Finally they are work to successful and profit in life. 
อโณทัย วัฒนสุวรรณ
Dear Dr.Chira and Chiraacademy team. My name is Anothai Wattanasuwan. I am study at King Mongkut’s Institute Technology Lardkrabang. On last Sunday,I had chance to learn about the Knowledge Management (KM) from Dr.Chira. I think it is very important for everyone. The simple theory that everyone must remember is “ASV”.  The first letter, “A” is Acquired,the meaning is finding the knowledge along our life and consider what the real or important things that we receive. The second letter, “S” is Share,the meaning is telling someone else about knowledge and information. We can discuss and find out the best way we must do.  The last letter, “V” is Value added,the meaning is making the high benefits from our knowledge that we receive. On the same day,we received the magazine name “Businessweek”. The topic of this magazine is “The Future of Work”. It contain the interesting subjects inside. I choose one topic,The Shape of Perks to Come. The highlight of it is the workplace of the future will be the new model. There are five items below;1. Whatever women want:It redesign career paths,jobs and workplaces for women who start having children (sculpting jobs to fit lives).

2. There is no place like work:

         It bring the home into workplace. 3.Throw out the time sheets:The unlimited time off for work.4. The nanny corporation is watching:The new kind of companies,they will be interested in whether we are…called “Paternalism”.5. Benefits customized for us:The companies realize they can get a better return on investment by tailoring perks to how we perform and the stage of life we are in. If we still be employees or employers, we must learn about the best way or best thing we will do in the future because most of companies seem to change to the new model(like above). However,we do not scare about it because I think we have more enough time to change yourself proceedingly.

           Dear Prof. Dr. Chira , Chiraacademy team and everybody who reading this Blog. My name is  Ms. Oranut Lamsakulpaisan. I am studying at King Mongkut’s Institute Technology, Lardkrabang. Majored in Agribusiness of Food Industry Management.         

 

            The topic in the business week is The future of work. Michael Mandel said the topic “Which way to the future”. He says that Globalization and technology are drastically changing how we do our jobs and that’s both a promise and problem. Therefore, The way to manage a global virtual team to the pros and cons of branding yourself, to the seemingly farfetched use brain chips to enhance your capabilities. I think that Good managers should be focusing in particular on how to get an organization full of people from different cultures and backgrounds to collaborate efficiently and effectively.

 

             And finally, The future of work among globalization period we noticed that we can follow this systematical movement by holding Dr. Chira’s point of view, 4’L, which mentioned as follow. Learning Methodology by sharing the idea in workplace and workshop. Learning Environment by focusing on Coaching, Facilitator and Mentoring. Learning Opportunity and Learning Communities.      

     Dear Prof. Dr. Chira, Chiraacademy team and everybody is reading this Blog. On last Sunday, September 2, 2007.In the morning coffee, Prof. Dr. Chira recommended us a very interesting article in The future of work magazine. And he asked that“How we apply The Future of Work for Thai people?”  In my opinion, nowadays employee must have for 2H1C  

Thus

-  High education: We must not learn only in the book, we can learn everyday everywhere and every time.

-  Creativity:  When We have good learning system, we can think an innovation to bring about development  work system.

- Happiness: Is the most important for employee in the event of can make an employee to give Happiness  that organization  to be completed of the human resource management.

        And I to obtain learning the new theory of Prof. Dr. Jira is “ASV” A first written character is “A” Acquire, meaning is finding the knowledge Every time and everywhere of life and consider what the real or important things that we receive. The second “S” Share, telling people about knowledge opinion and information, Beside that a good listening is an important to make see with success.And the last character is “V” is Value Added, meaning is making the high benefits off Knowledge to learning thorough life.

    At present not anything important more than learning. So as everybody have to see to inculcate a habit to your life since a day. And to share social of learning to follow theory 4’Ls of Prof. Dr. Chira for social things development is kind sustainability. 
  •   Dear  Prof.Dr. Chira , Chira  Academy Team and All reader Regarding  about last Sunday ( Sep,02,2007 ) that we were learnt about Knowledge Management in term of ASV  Theory  ( A = Acquired ,S = Share and V = Value )
  • ahead of time before learnt  in a  morning coffee Dr. Chira suggest us to reading in Business Week ( August 20 & 27  2007 ) it have very interest content  “ The Future of Work ”  we  made  a  4’L  in our class by asked and share  about this topic.
  • After that Dr.Chira suggest us to choose one topic in this Magazine and need we will share idea about  “How we apply the future of work for Thai people ?”  
  • In my opinion for the future of work with Thai people we will need 3 things  to do are  Education ,Education and Education ??
  • I know some people are confuse about that but I want you to realize that  education is very importance and will make effect with a future of work in Thai people because that show about logic thinking ,creativity and quality of lift of Thai people
  • So that we will improve curriculum can to  competitive in the real work ( Globalization ) such as to encourage creativity ,technology  and at the same time with ethical  or we  can learn every where every time ( over cross about time’s limited )by made a 4 ‘L like Dr.Chira  theory  and than we have a good  efficiently and effectively of Gen Y.
  • They will have a creativity and technology  to support in their organization and country to be a faster than competitor because in globalization world is competition by who ‘s faster or have a new technology and creativity is a winner at the same time we will try made personal brand ( in a work place ) or own brand in a market  for awareness about what did we do or our characteristic that will be support to success in the future.  
                

Dear  :  Professor  Doctor  Jira   Hongradarom and all reader,

 

         I am Miss Supaporn Numrungroj. I am studying MBA major agribusiness and food industry management at  KMITL. When 2/9/07 , I learned HRM with Prof. Dr. Chira gave me read the article from Business Week Book(issue:20-27/8/07). “The Future of Work” Which  Prof. Dr. Chira gave me read and explain my opinion about this is article and I learned about Knowledge management(KM)& Acquired,Shared and Value Added or to be called is “ASV Theory” Summary issue is

 

1. Future of Work , In my opinion. It must have planning that what is target og work? And you must be successful.but future of work, of Prof. Dr.Chira will be focus on 2R’s theory (Reality& Relevance)knowledge will be modern,fresh which can be real use and every time.

 

2. Acquired,Share and Value Added or Called “ASV Theory” Here is the meaning.

  Acquired(A) is  to find knowledge from many source and think about it truly. Such as training,listening news, opening website ,knowing excellent Humans and etc.You will discover knowledge all life.

 Share(S) is focus on 4’ L theory by Prof. Dr. Chira , Which everybody share and you have good management too.

 Value Added(V) is useful knowledge add value of knowledge, look at knowledge& create, If you lake knowledge some factor, We must have networking.

 

3. From the last “ASV Theory” in class on 2/9/07 .My group had brain storming that ASV theory add 3 story is (1.) Leader (L) is good leader,sacrifice and the most important of leader is morality,honesty or the less selfish. (2.) Team (T)Work is working team and unity. (3.) Timing (T) is use propler time and use time is result.

   In Conclude, You should learnig all life . Such as You graduated master degree that is first start of learned.Moreover,You must start to find the new knowledge,concretely and do it your “Good Habit” in find Social of Knowledge. 

Dear  :  Professor  Doctor  Chira   Hongradarom and all reader,

 

         I am Miss Supaporn Numrungroj. I am studying MBA major agribusiness and food industry management at  KMITL. When 2/9/07 , I learned HRM with Prof. Dr. Chira gave me read the article from Business Week Book(issue:20-27/8/07). “The Future of Work” Which  Prof. Dr. Chira gave me read and explain my opinion about this is article and I learned about Knowledge management(KM)& Acquired,Shared and Value Added or to be called is “ASV Theory” Summary issue is

  1. Future of Work , In my opinion. It must have planning that what is target of  work ? And you must be successful.but future of work, of Prof. Dr.Chira will be focus on 2R’s theory (Reality& Relevance)knowledge will be modern,fresh which can be real use and every time.  

2. Acquired,Share and Value Added or Called “ASV Theory” Here is the meaning.

  Acquired(A) is  to find knowledge from many source and think about it truly. Such as training,listening news, opening website ,knowing excellent Humans and etc.You will discover knowledge all life.

 Share(S) is focus on 4’ L theory by Prof. Dr. Chira , Which everybody share and you have good management too.

 Value Added(V) is useful knowledge add value of knowledge, look at knowledge& create, If you lake knowledge some factor, We must have networking.

3. From the last “ASV Theory” in class on 2/9/07 .My group had brain storming that ASV theory add 3 story is (1.) Leader (L) is good leader,sacrifice and the most important of leader is morality,honesty or the less selfish. (2.) Team (T)Work is working team and unity. (3.) Timing (T) is use propler time and use time is result.

   In Conclude, You should learnig all life . Such as You graduated master degree that is first start of learned.Moreover,You must start to find the new knowledge,concretely and do it your “Good Habit” in find Social of Knowledge. 
นางสาวศศิวิมล ทับเวช
Dear:  Professor Doctor Chira and all reader         My name is Sasiwimol tubwech. I study at King Mongkut’s Institute Technology Lardkrabang. On last Sunday, I read business week magazine about The future of work. In my opinion, it can use Thailand. In the future, People are enthusiasm, innovative, creative, information, and learning because we compete with foreign and globalization. So we must develop ourselves.         Employers are hiring workers with higher and higher levels of education so competition increases.        An article in newspaper, ASV: A = acquire, S = share, V = value added A = acquire is learning and finding knowledge.S = share is connection between ministry of science and university for change knowledge.V = value added is using knowledge increasing and development in product or service.
  • Dear Prof. Dr. Chira and Chiraacademy Team. My name is Miss  Voranaree  Puntusang  . I am from King Mongkut’s Institute of Technology Ladkrabang, Agibusiness and Food industry Management. On last Sunday, September 2 , 2007, we learnt about ‘Knowledge Management’ and “ASV theory” . In  a coffee time,  Prof.Dr. Chira  recommended us  in  a very interesting  issue in a Business Week magazine (  August 20&27,2007 )
  • That  issue about  “The Future of Work”  Prof.Dr. Chira   asked  that about “How we apply The Future of Work for Thai people?” . After that I have already   read  about these , I think about globalization , technology and creativity are very importance  and Thai people will set the way to that objective for we will can comparative in global ‘s economic
  • We will start from mental process and learning improve old  Thai ‘s personality  for make more learning and thinking ,Learn is not only from  school or university but we can learn from every where ,every time  following   by 4’L  from Dr.Chira theory   and other thing  is the ethicalThat we will keep in mine when we will do anything.
  • Finally I think if we have logical process thinking ,creativity , technology and at the same time with ethic that we can success in future of work .    
                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                       
กราบเรียนท่านปลัดกระทรวงวัฒนธรรม นายวีระ โรจน์พจนรัตน์,  ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และท่านผู้อ่านทุกท่าน ดิฉันนางสาวนันทกา บุญสุข นักศึกษาปริญญาโท ภาควิชาบริหารธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง จากการเรียนในวันที่ 9 กันยายน 2550 เวลา 9.00 12.00 น. พวกเราได้รับเกียรติจากท่านปลัดกระทรวงวัฒนธรรม มาบรรยายในเรื่อง Food Science กับวัฒนธรรมไทย  ซึ่งท่านปลัดกล่าวถึง หัวข้อใหญ่ๆ 3 เรื่อง คือ วัฒนธรรมอาหารของโลก, วัฒนธรรมอาหารของไทย และ โอกาสทางธุรกิจ  ท่านปลัดได้กล่าวว่า ในอดีตมนุษย์จะต้องใช้เงินลงทุนเพื่อให้เกิดวัฒนธรรม เช่น ลงทุนสร้างโบราณสถานโบราณวัตถุและสิ่งปลูกสร้างต่างๆ แต่ในปัจจุบันโลกได้เปลี่ยนแปลงไป เพราะ วัฒนธรรมสามารถ Make Money ได้  โดยประเทศที่มีวัฒนธรรมจะสามารถสร้างความมั่งคั่งร่ำรวยได้ แต่ต้องบวกกับการบริหารและการจัดการที่ดีและผู้บริหารจะต้องมีการตัดสินใจที่ดี โดยใช้ความรู้และประสบการณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัฒนธรรมการกิน ในการกินอาหารเพื่อยังชีพจะไม่จัดเป็นวัฒนธรรมการกิน แต่การกินอาหารเพื่อความอร่อย กินแล้วมีความสุข จัดเป็นวัฒนธรรมการกิน ซึ่งในฐานะที่เราเรียนจบมาทางด้าน Food Science จะต้องมีความรู้เกี่ยวกับเอกลักษณ์ของอาหารไทย คือ จุดเด่นในเรื่องรสชาติที่ใช้เครื่องเทศในการประกอบอาหาร ทำให้อาหารไทยได้จัดอันดับความนิยมเป็นอันดับที่ 4 ของโลก รองจากอาหารอิตาลี, อาหารจีน และ อาหารฝรั่งเศสตามลำดับ โดยอาหารไทยที่ขึ้นชื่อเป็นอันดับ 1 คือ ผัดไทย แต่ในปัจจุบันธุรกิจอาหารไทยยังประสบปัญหาต่างๆ เช่น การขาดแคลนพ่อครัวแม่ครัวที่สามารถสื่อสารกับชาวตะวันตกได้ทั้งๆที่มีฝีมือการทำอาหารที่ดี, ขาดการประชาสัมพันธ์อาหารไทย หรือแม้แต่ขาดวัตถุดิบในการปรุงอาหารในกรณีที่เปิดร้านอาหารในต่างประเทศ  ดังนั้นควรจะมีการตั้งสมาคม หรือ หน่วยงานดูแล ไม่ว่าจะเป็นการจัดหาวัตถุดิบเพื่อสนับสนุนธุรกิจอาหารไทยในต่างประเทศ และอื่นๆ เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมอาหารไทยให้เป็นที่นิยมของชาวต่างชาติ โดยหลักในการทำธุรกิจร้านอาหารมีหลักการ คือ ถ้าอยากสบายให้ขายคนรวย ถ้าอยากจะรวยให้ขายคนจน โดยก่อนทำร้านอาหารจะต้องมีการศึกษาหาข้อมูลอย่างรอบคอบ ศึกษาตลาดคู่แข่ง เรียกได้ว่าในการทำธุรกิจเกี่ยวกับอาหารจะต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์มาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสม เพื่อในอนาคต ครัวไทยจะก้าวสู่ครัวโลกอย่างเต็มภาคภูมิ
นางสาว วสพร บุญสุข

 เรียน ท่านปลัด วีระ โรจน์พจนรัตน์ ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม , ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ และท่านผู้อ่านทุกท่าน ดิฉันนางสาว วสพร บุญสุข  นักศึกษาปริญญาโท คณะเทคโนโลยีการเกษตร สาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วันอาทิตย์ที่ 9 กันยายน 2550 ได้มีโอกาสได้เรียนกับอาจารย์ วีระ โรจน์พจนรัตน์ ซึ่งอาจารย์เป็นปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ในรายวิชา การจัดการทรัพยากรมนุษย์ ในหัวข้อเรื่อง  Food Science กับ บทบาทวัฒนธรรมไทย ดิฉันได้รับความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับวัฒนธรรมของอาหาร  3  ประเด็น ดังนี้

 

ประเด็นที่หนึ่ง วัฒนธรรมอาหารโลก คือ เริ่มจากมนุษย์บริโภคอาหาร เพื่อระงับความหิวและการดำรงชีวิตแล้ว การบริโภคอาหารด้วยความสุข ในคุณภาพของอาหารที่ปรุงแต่งรสให้เกิดความสุข นั้น เป็นจุดที่เรียกว่า วัฒนธรรมการกิน  แต่ละประเทศมีวัฒนธรรมการกินที่เลียนแบบกันมาเพื่อให้เข้ากับประเทศของตัวเอง เพื่อที่จะนำมาประยุกต์เป็นวัฒนธรรมการกินของประเทศนั้นๆ

 

ประเด็นที่สอง วัฒนธรรมอาหารไทย คือ แต่ละภาคของไทย วัฒนธรรมการกินจะแตกต่างกันไป เช่น เครื่องปรุงหลัก วิธีทำ และรสชาติ แต่ที่เป็นเอกลักษณ์ของวัฒนธรรมการกินของไทยที่เหมือนกัน คือ ผักสมุนไพรที่มีสรรพคุณแก้รักษาโรคต่างๆ ที่ทุกภาคนำมาปรุงอาหาร จึงเป็นจุดเด่นของวัฒนธรรมอาหารไทย

 

ประเด็นที่สาม โอกาสทางธุรกิจของอาหาร คือ เนื่องจากมนุษย์ในโลกต้องบริโภคอาหาร 3 มื้อ หรือมากกว่านั้นใน 1 วัน จึงทำให้ได้เกิดโอกาสธุรกิจของอาหารเพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นอาหารไทย ญี่ปุ่น จีน เกาหลี อิตาลี และฝรั่งเศส  เป็นต้น และได้มีโอกาสได้รับความรู้โดยตรงจากประสบการณ์ของ คุณ ชัยพล สุขเอี่ยม (คุณเอ) ซึ่งได้ทำธุรกิจเกี่ยวกับอาหารญี่ปุ่น ได้แนะนำว่าการทำธุรกิจ จะต้องหากลุ่มเป้าหมายให้ได้ชัดเจน และต้องหาจุดเด่นของร้านให้ได้ และเรื่องของกุ๊ก เป็นเรื่องที่สำคัญมาก นับว่าเป็นปัญหาโลกแตก ต้องมีการบริหารจัดการให้ดี ไม่ต่างกับพนักงานในองค์กรที่เก่ง และมีความสามารถ เมื่อพนักงานหรือกุ๊กไม่มีความสุขกับองค์กรหรือร้านที่อยู่แล้ว อาจจะทำให้เกิดปัญหากับองค์กรหรือร้านไม่ประสบความสำเร็จ ผู้บริหารต้องมีความรู้ทั้งศาสตร์และศิลป์ในการบริหารจัดการจึงจะประสบความสำเร็จในธุรกิจ

 สรุปได้ว่า Food Science กับ บทบาทวัฒนธรรมไทย มีความสำคัญมาก เนื่องจาก Food Science จะช่วยให้พัฒนาประเทศไทย ในอนาคตมีโอกาสทางธุรกิจที่จะเป็นครัวไทยสู่ครัวโลก เพราะวัฒนธรรมอาหารไทยมีเอกลักษณ์และรสชาติ ที่ชาวต่างชาติยอมรับและชื่นชอบ สามารถเพิ่มมูลค่าให้กับอาหารไทย สามารถ make money ให้กับประเทศได้ โดยคนไทยเป็นเจ้าของไม่ใช่คนชาติอื่นเป็นเจ้าของอาหารไทย และนำครัวไทยสู่ครัวโลกได้อย่างยั่งยืน
      กราบเรียน ท่านปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ท่านวีระ โรจน์พจนรัตน์, อ. ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ และท่านผู้อ่านทุกท่านค่ะ   

      ดิฉันนางสาวสุภาภรณ์  นำรุ่งโรจน์  นักศึกษาปริญญาโท คณะเทคโนโลยีการเกษตร สาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เมื่อวันที่ 9/9/07 ได้มีโอกาสได้เรียนวิชา HRM กับอาจารย์ วีระ ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ในหัวข้อเรื่อง “ Food Science กับ บทบาทวัฒนธรรมไทย  ดิฉันขอกล่าวถึงประเด็นต่างๆ  ดังนี้

 

1.  ประวัติความเป็นมาของวัฒธรรมการบริโภคอาหารของชาวตะวันตก เช่น คำพูดของเจฟ สมิธ พ่อครัวเอกชาวอเมริกันได้กล่าวไว้ว่า ผู้ที่คิดค้นอาหารใหม่ ถ้าไม่รู้จักอาหารจานเก่าที่บรรพบุรุษเคยทำกินกันมาก่อนก็จะไม่ได้อาหารจานใหม่ที่ดี”,วัฒนธรรมการบริโภคอาหารของชาวฝรั่งเศสกับที่มาของครัวซองค์ว่ามีลักษณะนี้มาจากประวัติความเป็นมาเรื่อง เสี้ยวพระจันทร์ของอิสลาม,แฮมเบอร์เกอร์มีต้นกำเนิดมาจากประเทศเยอรมัน เป็นต้น

 

2. ประวัติความเป็นมาของวัฒนธรรมอาหารไทย ว่าเกิดขึ้นมาตั้งแต่สมัยใด เช่น สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ตอนต้น มีการรับประทานอาหารคาว-หวาน โดยมาจากหลักฐานกาพย์เห่ชมเครื่องคาว,หวานและผลไม้ จากพระราชนิพนธ์โดยรัชกาลที่2 ทำให้ทราบว่าอาหาร,ขนมและผลไม้นั้นมีที่มาและนิยมรับประทานกันตั้งแต่สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์มาแล้ว

 

3. วัฒนธรรมการบริโภคอาหารแต่ละภูมิภาค มีทั้งความเหมือนและความแตกต่างกัน  ซึ่งในส่วนที่แตกต่างกันจะทำให้เกิดวัฒนธรรมการกินที่แตกต่างกัน โดยอาหารที่มีในแต่ละภาคนั้นจะทำให้เกิดความหลากหลาย  จนทำให้เกิดลักษณะเด่นชัดของอาหารไทย คือ ความน่าสนใจและความแปลกใหม่เกิดขึ้น เช่น ภาคใต้ นิยมอาหารรสเผ็ดและเค็มจัด  (แกงไตปลา) , ข้าวยำโดยนำน้ำบูดูมาคลุกกับข้าวทำให้มีรสเค็มนำและมีผักสดหลายชนิด โดยเฉพาะผักเหนาะ ที่รับประทานร่วมกับอาหารเพื่อเพิ่มความอร่อยและช่วยลดความเผ็ดร้อนของอาหาร ทำให้ผักเหนาะกลายเป็นเอกลักษณ์ของอาหารพื้นบ้านของชาวใต้ เป็นต้น

 

4. ยุทธศาสตร์ของครัวไทยสู่ครัวโลก ว่าประเทศไทยมีการส่งออกของอาหารเป็นอันดับ 6 ของโลก แต่ยังขาดเรื่องการประชาสัมพันธ์ ซึ่งจะต้องได้รับการสนับสนุนให้ร้านอาหารไทยเป็นศูนย์กลางในการกระจายข้อมูลไปทั่วโลก เช่น การวางแผนประชาสัมพันธ์อาหารไทยไปที่คนไม่รู้จักในประเทศแอฟริกา เป็นต้น

  สรุป วัฒนธรรมการบริโภคอาหารของแต่ละภาคของไทยนั้น มีการนำเอาศิลปวัฒนธรรมมาใช้ได้อย่างกลมกลืนและเหมาะสม ในเรื่องของรสชาติ,วิธีการปรุง,การตกแต่งหรือสรรพคุณต่างๆของอาหาร โดยเฉพาะในปัจจุบันFood Science มีความสำคัญเพิ่มขึ้นในเรื่องของ value added ควบคู่กับพัฒนาคุณภาพอาหารและทำรายได้ให้กับประเทศในแต่ละปีเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก จึงทำให้ ครัวไทย กลายเป็นเอกลักษณ์ที่มีคุณค่าของสังคมไทยจนไปมีชื่อเสียงไปทั่วโลก
รสสุคนธ์ น้อยจินดา

      กราบเรียนคุณวีระ โรจน์พจนรัตน์ ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ศ.ดร.จีระ หงลดารมภ์ และท่านผู้อ่านทุกท่าน ดิฉัน นางสาวรสสุคนธ์  น้อยจินดา  นักศึกษาปริญญาโท สาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร คณะเทคโนโลยีการเกษตรสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง  จากที่ได้เรียนในวันอาทิตย์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2550 เวลา 9.00 – 13.00 น. เรื่อง Food Science กับบทบาทวัฒนธรรมไทย รู้สึกเป็นเกียรติอย่างมากที่ได้เรียนกับท่านปลัดกระทรวงวัฒนธรรม เนื้อหาที่เรียนที่ดิฉันจับประเด็นได้หลักๆ 4 ประเด็น ดังนี้

      ประเด็นแรก วัฒนธรรมการบริโภคอาหารของชาวโลก  การบริโภคอาหารเพื่อระงับความหิวเป็นการบริโภคเพื่อความอยู่รอด แต่การบริโภคของมนุษย์ยังเพื่อความอร่อยลิ้น อร่อยรสชาติด้วย จึงถือเป็นวัฒนธรรมการกิน วัฒนธรรมการบริโภคอาหารของชาวต่างชาติ ล้วนมีความเป็นมาของอาหาร และแตกต่างกันไปตามประวัติศาสตร์ของประเทศนั้น แต่ก็ยังมีอาหารบางส่วนที่เป็นตัวสัมพันธ์กันอยู่ และแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมทางด้านอาหารกัน

      ประเด็นที่สอง วัฒนธรรมการบริโภคอาหารของไทย อาหารของไทยจะมีความสวยงาม และประณีต เป็นเอกลักษณ์  แต่ก็มีอาหารบางชนิดที่ได้อิทธิพลมาจากชาวต่างชาติ ซึ่งวัฒนธรรมการบริโภคอาหารของไทยจะมีความแตกต่างกันไปตามภาค คือแต่ละภาคจะมีอาหารที่เป็นวัฒนธรรมของตนเอง แต่ก็มีความคล้ายคลึงกันในเรื่องเพื่อสุขภาพ และได้รับคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วน

      ประเด็นที่สาม โอกาสทางธุรกิจอาหาร ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 4 ของอาหารของประเทศที่ได้รับความนิยมสูงสุด มีเมนูหลายอย่างที่เป็นที่นิยมของชาวต่างชาติ อีกทั้งรัฐยังให้การสนับสนุนยุทธศาสตร์ครัวไทยสู่ครัวโลก การประกอบธุรกิจอาหารไทยในต่างประเทศจึงเป็นที่น่าสนใจ และมีแนวโน้มว่าจะได้รับความนิยมจากผู้บริโภคทั่วโลกแน่นนอน

      ประเด็นที่สี่ ตัวอย่างธุรกิจอาหาร เป็นร้านอาหารญี่ปุ่น อยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมไฮเทค ซึ่งผู้ประกอบการมาเล่าถึงธุรกิจของตน โดยร้านมีจุดเด่นคือ อาหารเน้นรสชาติดั้งเดิมของชาวญี่ปุ่น จึงแตกต่างจากร้านอาหารญี่ปุ่นร้านอื่นๆ ที่มีอยู่ ณ เวลานี้ อีกทั้งมีการจัดโปรโมชั่น และมีกลยุทธ์ที่น่าสนใจ เช่น มีบริการหนังสือการ์ตูนญี่ปุ่น อีกทั้งธุรกิจยังเลือกใช้วัตถุดิบภายในประเทศช่วยลดต้นทุนการผลิตอีกด้วย

      จากประเด็นที่สรุปได้ทั้งสี่ สามารถเข้าใจความเชื่อมโยงกันระหว่าง Food science กับวัฒนธรรมการบริโภคมากยิ่งขึ้น อีกทั้งได้ศึกษาจากผู้มีประสบการณ์ตรงในการทำธุรกิจทางด้านอาหาร ได้รับความรู้ที่มีประโยชน์มากมายที่จะสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ ขอขอบพระคุณท่านวีระเป็นอย่างสูงค่ะ                
เรียนท่านวีระ  โรจน์พจนรัตน์ ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม และศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์  รวมถึงท่านผู้อ่านทุกท่าน  ดิฉันนางสาว อรุณี แซ่ตั้ง นักศึกษาปริญญาโท การจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เมื่อวันอาทิตย์ที่ 9 กันยายนที่ผ่านมา ท่านวีระ โรจน์พจนรัตน์ได้ให้เกียรติ มาบรรยายความรู้เกี่ยวกับเรื่องเรื่อง Food science  กับ บทบาทวัฒนธรรมไทย ซึ่งช่วยเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ให้แก่นักศึกษาทุกคนเป็นอย่างมาก  โดยที่ท่านวีระ ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับอาหารทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งอาหารของภาคต่างๆของประเทศนั้น ได้สะท้อนถึงวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของแต่ละท้องถิ่น แสดงถึงภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ได้มีการใช้ส่วนประกอบตามธรรมชาติที่มีในท้องถิ่นนั้นๆ มาประยุกต์ใช้ในการทำอาหาร ซึ่งทำให้เกิดความหลากหลายของอาหารขึ้น เช่นเดียวกันกับต่างประเทศ ซึ่งย่อมต้องมีเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ   การเรียนรู้ที่มาที่ไปและเอกลักษณ์ที่มีความแตกต่างกันไปของอาหารในแต่ละท้องถิ่นจะช่วยให้รู้ซึ้งถึงวัฒนธรรมของท้องถิ่นนั้นๆได้เป็นอย่างดี  ธุรกิจเกี่ยวกับอาหารยังเป็นธุรกิจที่โตไว และยังสามารถขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง  เนี่องจากอาหารเป็นสิ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ ซึ่งผู้ที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับธุรกิจอาหารจำเป็นที่จะต้องมีกลยุทธ์ต่างๆเพื่อดึงดูดลูกค้าและมีการจัดการที่ดี จึงจะสามารถทำธุรกิจเพื่อให้ประสบผลสำเร็จได้     สุดท้ายนี้ขอขอบพระคุณ ท่านวีระ โรจน์พจนรัตน์ปลัดกระทรวงวัฒนธรรมเป็นอย่างสูงที่ท่านได้เสียสละเวลาวันอาทิตย์อันมีค่า มาให้ความรู้ใหม่ๆแก่นักศึกษาทุกคน

      เรียน ท่านปลัด วีระ  โรจน์พจนรัตน์  ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม , คุณชัยพล  , อ.จีระ ,  ทีมงาน  Chira Academy และผู้อ่านทุกท่าน  ผม นายวรพจน์  สู่เสน  นักศึกษาปริญญาโท สาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร  คณะเทคโนโลยีการเกษตร  สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

     เมื่อวันที่ 9/9/50 ที่ผ่านมา ผมได้มีโอกาสเรียน วิชา Human Resource กับ คุณ วีระ  โรจน์พจนรัตน์  ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ในหัวข้อ  Food science กับ บทบาทวัฒนธรรมไทย ซึ่งประเด็นต่างๆที่ผมได้รับถ่ายทอดมาพอจะจับประเด็นได้ดังนี้

     1. วัฒนธรรมการกิน เกิดขึ้นตั้งแต่เมื่อไรไม่อาจทราบได้ แต่วัฒนธรรมการกิน คือ การที่กินอาหารโดยไม่ใช่แค่ยังชีพอย่างเดียว แต่ต้องเป็นการเสพรสชาติในอาหารนั้นด้วย   วัฒนธรรมการกินของแต่ละประเทศมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวของแต่ละประเทศอยู่ แต่โดยมากแล้ว ย่อมมีความหมายในตัวมันเองอยู่

     2. วัฒนธรรมการกินของประเทศไทย   ประเทศไทยมีวัฒนธรรมการกินของแต่ละภูมิภาคต่างกันค่อนข้างมาก ทั้งในเรื่องของรสชาติ  สีสัน  เครื่องเทศ วัตถุประสงค์ในการทำ  แต่จากความแตกต่างนี้เอง ทำให้เกิดความหลากหลายขึ้น  ทำให้ไม่ซ้ำซาก น่าเบื่อ และเกิดสิ่งใหม่ๆได้ตลอดเวลา

     3. วัฒนธรรมสามารถสร้างมูลค่าทางธุรกิจได้  อันนี้ยกตัวอย่างให้คนเห็นง่ายๆ เช่น ประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งทุกวันนี้ วัฒนธรรมเป็นอุตสาหกรรมส่งออกไปทั่วภูมิภาคเอเชีย โดยจะแฝงมาในรูปแบบต่างๆ เช่น อาหาร , ภาพยนต์ , ละคร , แฟชั่น , เพลง  ซึ่งสิ่งต่างๆเหล่านี้ เห็นได้อย่างชัดเจนว่าเป็นการลงทุนจากภาคเอกชน โดยได้รับการส่งเสริมอย่างเต็มที่จากภาครัฐ  ตรงนี้ประเทศไทยเองกำลังดำเนินการพัฒนาอยู่ให้ภาคเอกชนทำวัฒนธรรมเป็นธุรกิจ โดยมี ภาครัฐให้คำปรึกษาและสนับสนุน ( ในส่วนนี้ผมขอแสดงความเห็นว่า ควรจะมีการกำหนดขอบเขตของสิ่งที่จะนำเสนอให้ดี ทั้งให้ไม่น่าเบื่อ และไม่ล้ำเส้นเกินไป  ซึ่งคงต้องใช้การพิจารณาอย่างดีจากกระทรวงวัฒนธรรมและจรรยาบรร จากภาคเอกชน )

     ขอกล่าวโดยสรุปว่า วัฒนธรรมสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับธุรกิจประเภทต่างๆได้  และสิ่งที่โดดเด่นที่สุดของไทย ใน International คือ อาหาร ซึ่ง อาหารไทยติดอันดับต้นๆ ของอาหารยอดนิยมในโลก ซึ่งสมควรจะได้รับการพัฒนาในส่วนนี้ต่อไป  และเรื่องของความแตกต่างที่ก่อให้เกิดความหลากหลาย ผมไม่อยากให้ความรู้สึกนี้จบลงแค่เรื่องอาหารเท่านั้น  อยากให้รู้สึกถึงเรื่อง การเมือง วัฒนธรรม ศาสนา เชื้อชาติ ด้วย  มองให้สิ่งเหล่านี้ เป็นความแตกต่างที่ก่อให้เกิดสีสันบนโลกใบนี้ ยอมรับและปรับตัวเข้ากับมันให้ได้ อย่ากีดกัน อย่าเหยียดหยัน อย่าถือว่าใครดีกว่าใคร โลกใบนี้จะสงบสุขครับ

     ท้ายนี้ขอขอบคุณ ท่านปลัดกระทรวงวัฒนธรรม คุณ วีระ  โรจน์พจนรัตน์   มากครับ ที่มาแนะนำสอนสิ่งดีๆ เรื่องวัฒนธรรมกับพวกเรา AFIM  พวกผมจะนำข้อคิดต่างๆที่ได้ในวันนี้ไปประยุกต์ใช้ต่อไปครับ

เรียน ท่านปลัด วีระ โรจน์พจนรัตน์ ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม , ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ และท่านผู้อ่านทุกท่าน ดิฉันนางสาว อโณทัย วัฒนสุวรรณ  นักศึกษาปริญญาโท คณะเทคโนโลยีการเกษตร สาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ได้มีโอกาสได้เรียนกับอาจารย์ วีระ โรจน์พจนรัตน์ซึ่งอาจารย์เป็นปลัดกระทรวงวัฒนธรรมในวันอาทิตย์ที่ 9 กันยายน 2550  ในหัวข้อเรื่อง  Food Science กับ บทบาทวัฒนธรรมไทย โดยเนื้อหาสาระที่ได้รับพอจะสรุปเป็นประเด็นหลักๆได้ดังนี้1.วัฒนธรรมอาหารโลก2.วัฒนธรรมอาหารไทย3.โอกาสทางธุรกิจของอาหาร วัฒนธรรมอาหารโลก การบริโภคอาหารของมนุษย์เกิดขึ้นพร้อมกับการเกิดของมนุษย์ คือ เป็นการบริโภคเพื่อยังชีพให้มีชีวิตอยู่ ซึ่งยังไม่ถือว่าเป็นวัฒนธรรมการบริโภค    แต่เมื่อมนุษย์มีการบริโภคอาหารเพื่อให้เกิดความสุข อร่อยลิ้น เป็นสิ่งที่เพิ่มเติมจากแค่เพื่อการยังชีพ จึงจะเรียกว่าเป็น วัฒนธรรมการบริโภค ซึ่งวัฒนธรรมการบริโภคของมนุษย์ในแต่ละประเทศจะมีประวัติความเป็นมาที่แตกต่างกัน  เช่น อาร์คีสตราตุส ชาวกรีก ได้กล่าวไว้ว่า จำนวนผู้ร่วมโต๊ะอาหารที่เหมาะสมไม่ควรเกิน 5 คน  ส่วนชาวโรมัน ได้กล่าวว่า พ่อครัวโรมันนั้นเป็นชาย ผู้หญิงห้ามย่างกรายเข้าไปในครัวเป็นต้น และได้มีการพัฒนาปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัยสืบทอดต่อเนื่องกันมาจนถึงปัจจุบัน   วัฒนธรรมอาหารไทยวัฒนธรรมการกินของไทย เริ่มตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลาย บางส่วนของอาหารไทยได้รับอิทธิพลมาจากต่างประเทศ  ซึ่งไทยเราได้แบ่งวัฒนธรรมการบริโภคอาหารแยกตามสถานที่ หรือ ภาค ดังนี้ภาคใต้ เน้นอาหารรสจัด และ ผักเหนาะ (ผักที่บริโภคร่วมกับอาหารเพื่อเพิ่มความอร่อย และ ลดความเผ็ดของอาหารลง ภาคเหนือ  เน้นอาหารต้ม แกง ปิ้ง ย่าง และไขมันค่อนข้างต่ำ  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เน้นอาหารสจัดมาก ทั้งรสเค็ม เผ็ด เปรี้ยว  รวมทั้งมีการบริโภคสัตว์ที่หาได้ในท้องถิ่น ได้แก่ กบ เขียด กิ้งก่า แมลงต่างๆ และเนื้อควายภาคกลาง เน้นข้าวเจ้าและอาหารที่มีรสชาติเค็ม เผ็ดและหวานเล็กน้อย ในส่วนของไทยกำลังประสบปัญหาการกินที่เกินขนาด ซึ่งเป็นผลทำให้เกิดโรคอ้วนและมะเร็งบางประเภท สาเหตุก็เนื่องมาจากการกินอาหารที่ไม่มีความสมดุลของสารอาหารที่มีอยู่ในอาหาร  ปัจจุบันจึงมีการหันมาเน้นอาหารเพื่อสุขภาพกันมากขึ้น อาหารที่ดีจะต้องประกอบด้วยสารอาหารที่ครบถ้วนซึ่งประกอบไปด้วย โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน เส้นใยอาหาร วิตามินและเกลือแร่ โอกาสทางธุรกิจของอาหารเมื่อวิถีชีวิตของคนไทยเปลี่ยนแปลงไปเนื่องจากกระแสของสังคมประเทศตะวันตกที่ได้หลั่งไหลเข้ามาส่งให้เกิดค่านิยมและการบริโภคอาหารที่เปลี่ยนแปลงไปด้วยโดยเฉพาะอาหารจานด่วนที่ให้บริการส่งถึงบ้าน ประกอบกับการดำรงชีวิตที่ต้องเร่งรีบมากขึ้นของคนไทยทำให้บางครอบครัวไม่มีเวลาประกอบอาหารรับประทานเอง ส่งผลให้คนไทยมีแนวโน้มที่จะพึ่งพาอาหารสำเร็จรูปพร้อมบริโภคมากขึ้น หรือ การบริโภคอาหารนอกบ้านมากยิ่งขึ้น สิ่งเหล่านี้ล้วนสามารถก่อให้เกิดโอกาสทางธุรกิจในด้านอาหารทั้งสิ้นสำหรับผู้ที่มีความสนใจที่จะดำเนินธุรกิจด้านอาหาร ซึ่งในปัจจุบันมีผู้ประกอบการจำนวนไม่น้อยที่ประสบความสำเร็จได้ และในวันนี้ คุณชัยพล สุขเอี่ยม ได้มาเล่าถึงประสบการณ์ที่ได้เริ่มก่อตั้งธุรกิจร้านอาหารญี่ปุ่นขึ้นมาและประสบความสำเร็จ โดยการเน้นคุณภาพของอาหารเป็นหลัก สรุปวัฒนธรรมการบริโภคของไทยมีเกี่ยวข้องกับ Food Science เป็นอย่างยิ่ง เนื่องจาก Food Scienceสามารถช่วยพัฒนาอาหารได้และในอนาคตอาจนำพาครัวไทยก้าวไปสู่ครัวโลกได้ ก็เป็นผลทำให้ประเทศชาติพัฒนาด้วยเช่นกัน  ปัจจุบันอาหารไทยได้รับความนิยมเป็นอันดับที่ 4 ของโลก ทั้งนี้เนื่องจากอาหารไทยมีเอกลักษณ์และรสชาติที่ชาวต่างชาติยอมรับและชื่นชอบ ดังนั้นแนวโน้มของการเปิดธุรกิจอาหารไทยในต่างประเทศจะมีมากขึ้น
สวัสดี ดร. จีระ,ท่านปลัด วีระ และท่านผู้อ่านทุกท่าน        ดิฉัน นางสาว สุมิตรา พนาอภิชน นักศึกษาปริญญาโท สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2550 ดิฉันได้มีโอกาสเรียนวิชา HR กับท่านปลัด วีระ (ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม) ในหัวข้อเรื่อง “ Food science กับบทบาทวัฒนธรรมไทย มีใจความสำคัญดังนี้        วัฒนธรรมการบริโภคอาหารแต่ละประเทศมีความแตกต่างกันไป ตามลักษณะของประวัติศาสตร์หรือสภาพภูมิประเทศ แต่ความแตกต่างกันก็มักจะมีความเหมือนหรือ ความคล้ายคลึงปนกันอยู่ เช่น วัฒนธรรมการบริโภคของฝรั่งเศส คนฝรั่งเศสมีความพิถีพิถันในการกินอาหาร จึงเป็นต้นตำรับในการเลือกเหล้าองุ่นที่จะใช้ดื่มกับอาหาร อาหารเนื้อจะต้องดื่มกับเหล้าองุ่นสีแดง และอาหารพวกปลาจะต้องดื่มกับเหล้าองุ่นขาว  ส่วนอาหารฝรั่งเศสส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลมาจากอาหารโรมันและกรีก หรือประเทศใกล้เคียง อย่างเช่น ครัวซองต์ ที่เป็นขนมปังลือชื่อของฝรั่งเศสมีต้นกำเนิดมาจากออสเตรีย โดยเจ้าชายออยเกนเข้าตีทับตรุกีที่ล้อมกรุงเวียนนาแตกพ่ายไป ชาวเมืองเวียนนาฉลองทับด้วยขนมปังรูปพระจันทร์ครึ่งเสี่ยว (เป็นสัญลักษณ์ของศาสนาอิสลามที่ชาวตรุกีนับถือ) ต่อมาเมื่อจักรพรรดินโปเลียนแห่งฝรั่งเศสเข้ากรุงเวียนนาได้เสวยแล้วติดใจ จึงให้เอามาทำที่ฝรั่งเศส แม้แต่อาหารเวียดนามและอาหารไทย ยังมีความคล้ายคลึงกันหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นน้ำปลา น้ำพริกศรีราชา รวมทั้งเครื่องเทศต่างๆ ทั้งนี้เพราะอาหารเวียดนามส่วนหนึ่งได้รับอิทธิพลมาจากอาหารไทย ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการปฏิสัมพันธ์กันระหว่างกลุ่ม ระหว่างชาติจนนำไปสู่การแลกเปลี่ยนหรือยืมกันระหว่างวัฒนธรรม ไม่เว้นแม้แต่วัฒนธรรมด้านอาหาร        ปัจจุบันอาหารไทยได้ไปสู่ต่างประเทศประมาณ 59 ประเทศ โดยที่ทวีปที่มีจำนวนร้านอาหารไทยอยู่มากที่สุดคือ อเมริกา และอาหารที่ได้รับความนิยมสูงสุดคือ ผัดไท เนื่องด้วยเป็นอาหารไทยเป็นอาหารที่มีความพิถีพิถันในการทำตั้งแต่การคัดสรรแต่วัตถุดิบที่ดี มาทำการปรุงแต่งด้วยรสชาตที่กลมกล่อมและมีการตกแต่งด้วยผักและผลไม้ที่แกะสลักจนเป็นเอกลักษณ์ของไทย ซึ่งเป็นที่ถูกอกถูกใจของคนต่างชาติ แต่ธุรกิจของอาหารไทยในต่างประเทศยังไม่ดีเท่าที่ควรเนื่องมาจากการขาดแคลน พ่อครัว แม่ครัว ที่มีฝีมือและความรู้ในการทำอาหารไทยอย่างแท้จริง และปัญหาขาดการรวมตัวกันของร้านอาหารในแต่ละเมือง ซึ่งมีการแข่งขันกันเองทำให้ไม่สามารถเอาชนะคู่แข่งอย่าง จีนหรือญี่ปุ่นได้ ดังนั้น ควรมีการสนับสนุนให้จัดตั้งสมาคมร้านอาหารไทยในรัฐต่างๆ เพื่อประสานความร่วมมือและสร้างความเข้มแข็ง ตลอดจนการแก้ไขปัญหาต่างๆ ร่วมกัน        สุดท้ายนี้ต้องขอขอบคุณ พี่เอ้และทีมงานที่ช่วยในการประสานงานต่างๆ จนทำให้ดิฉันได้มีโอกาสเรียนกับท่านปลัด วีระ

       กราบเรียนท่านปลัดกระทรวงวัฒนธรรม นายวีระ โรจน์พจนรัตน์,  ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ทีมงาน chira academyและท่านผู้อ่านทุกท่าน ผมนายวิศรุต แสงโนรี นักศึกษาปริญญาโท ภาควิชาบริหารธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง  จากการเรียนในวันที่ 9 กันยายน 2550 เวลา 9.00 – 12.00 น. ได้รับโอกาสที่ดีจากท่านวีระ โรจน์พจนรัตน์ ที่สละเวลามาให้ความรู้เรื่อง “Food Science กับวัฒนธรรมไทย” ซึ่งทำให้ผมได้รับความรู้เพิ่มเติมขึ้นอีกมากมาย  สามารถจับใจความสำคัญได้ สี่ประการ ดังนี้

     1.วัฒนธรรมอาหารโลก    เมื่อมนุษย์มีการบริโภคอาหารเพื่อให้เกิดความสุข อร่อยลิ้น จึงจะเรียกว่าเป็น วัฒนธรรมการบริโภค ซึ่งวัฒนธรรมการบริโภคของมนุษย์ในแต่ละประเทศจะมีความแตกต่างกันตามท้องถิ่น เช่น ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  มีการอาหารที่มีลักษณะใกล้เคียงกันโดยใช้วัตถุดิบที่หาได้ตามท้องถิ่น เช่น การทำกะปิ มีการทำทั่วไปตามพื้นที่ที่ติดทะเลและแถบใกล้เคียง      2.วัฒนธรรมอาหารไทย  วัฒนธรรมการกินของไทย เริ่มตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลาย บางส่วนของอาหารไทยได้รับอิทธิพลมาจากประเทศในแถบเอเชียที่มีการติดต่อค้าขายกันหรือจากการทำสงครามมีการกวาดต้อนผู้คน ทำให้ได้รับวัฒนธรรมการกินจากต่างประเทศเข้ามา ซึ่งบางส่วนได้ผสมผสานกับของพื้นเมืองจนแยกไม่ออกว่าสิ่งใดเป็นของเราแต่เดิมหรือไม่ เช่น การทำขนมทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง ที่ชาวโปรตุเกสนำมาเผยแพร่  ซึ่งไทยเราได้แบ่งวัฒนธรรมการบริโภคอาหารแยกตามภาคต่างๆ ในประเทศ เช่น ภาคใต้ จะเน้นรสจัด อาหารหลายอย่างจะเผ็ดและมีการใส่ขมิ้น และกินพร้อมผักสด  ภาคเหนือ อาหารจะรสอ่อนกว่า เน้นทางรสเค็มมีการกินข้าวเหนียวกับน้ำพริกนานาชนิด เป็นต้น   3. นโยบายของทางภาครัฐ ทางกระทรวงวัฒนธรรมเห็นความสำคัญของอาหารไทยที่สามารถบ่งบอกถึงความเป็นชาติของไทยได้เป็นอย่างดี จึงมีการส่งเสริม ให้ผู้ประกอบการคนไทยได้มีโอกาสในการเปิดร้านอาหารในต่างประเทศ และมีการจัดให้มีการส่งเสริมความเป็นไทยในร้านนั้นๆ เช่น มีการแสดงจากประเทศไทยไปเผยแพร่  มีการนำสินค้าจากประเทศไทยไปแสดง เพื่อประกาศความเป็นไทยให้ทั่วโลกได้รับรู้ว่าไม่ได้มีเพียงอาหารเท่านั้น การที่เป็นประเทศที่มีประวัติศาสตร์ที่ยาวนาน มีวัฒนธรรมต่างๆอีกมากมายที่ดีงามแฝงอยู่อีกมาก

  4. โอกาสทางธุรกิจ ในการดำเนินธุรกิจบางครั้งเราไม่จำเป็นต้องนำเอาความเป็นตัวเองไปเสนออย่างเดียวเราอาจ จะนำความเป็นเอกลักษณ์ที่ดีของชาติอื่นๆ มาเป็นจุดขายของธุรกิจได้ เราต้องดูจากความเหมาะสม ปัจจัยในทางธุรกิจอย่างอื่นด้วยในการประกอบการตัดสินใจในการดำเนินธุรกิจ แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือต้องมีการศึกษามาเป็นอย่างดี นำความรู้ที่มีมาวางแผนการบริหารงานทั้งคนทั้งงาน ให้ธุรกิจดำเนินไปได้อย่างราบรื่นและประกอบกับความอดทนมานะพยายาม พัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อตอบสนองตลาดและการพัฒนาตามโลกที่เคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลา

       สุดท้ายนี้ขอขอบคุณ ท่านปลัดกระทรวงวัฒนธรรม คุณ วีระ  โรจน์พจนรัตน์   ที่นำเรื่องที่น่าสนใจมาบรรยายให้ฟังท่านเป็นนักเล่าเรื่องที่ดีมากครับ และท่านยังนำนโยบายใหม่ของกระทรวงมาเผยแพร่ให้ทราบและนำวิทยากรพิเศษมาบรรยายลงรายละเอียดเรื่องการทำธุรกิจร้านอาหาร มีประโยชน์มากครับขอบคุณครับ
 
อรนุช หล่ำสกุลไพศาล

        กราบเรียนท่านปลัดกระทรวงวัฒนธรรมท่านวีระ โรจน์พจนรัตน์, ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และท่านผู้อ่านทุกท่าน ดิฉันนางสาวอรนุช หล่ำสกุลไพศาล นักศึกษาปริญญาโท ภาควิชาบริหารธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง การเรียนการสอนในวันที่ 9 กันยายน ที่ผ่านมา ท่านวีระได้ให้เกียรติมาบรรยายในเรื่อง Food Science กับวัฒนธรรมไทย ไว้ 3 เรื่อง คือ วัฒนธรรมอาหารของโลก, วัฒนธรรมอาหารของไทย และ อาหารจะเป็นธุรกิจได้อย่างไร

เรื่องแรก วัฒนธรรมอาหารโลก จากคำถามที่ว่าอาหารที่ดีเป็นอย่างไร อาหารที่ดีคือเมื่อกินแล้วต้องอร่อยลิ้น กินแล้วต้องมีความสุข ในวัฒนธรรมการบริโภคอาหารของ เจฟ สมิธ ที่กล่าวว่า ผู้ที่จะคิดค้นอาหารจานใหม่ ถ้าไม่รู้จักอาหารจานเก่าที่บรรพบุรุษเคยทำกินกันมาก่อนก็จะไม่ได้อาหารจานใหม่ที่ดี หรือที่เราเห็นได้ชัดคือวัฒนธรรมอาหารของชาวตะวันออกอย่างจีน ที่ถือว่าอาหารถือเป็นยาบำรุง และรักษาโรค

เรื่องที่สอง วัฒนธรรมอาหารของไทย ในแต่ละภาคหรือแต่ละท้องถิ่นก็ยังมีความแตกต่างกัน ถึงอย่างไรก็ตามคุณค่าและภูมิปัญญาของอาหารไทยที่มีทั้งสมุนไพร ผักต่างๆที่ล้วนแล้วแต่มีคุณค่าในการป้องกันและรักษาโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ อย่างที่เรารู้กันดีว่าอาหารไทยบางชนิดก็ได้รับ อิทธิพลมาจากต่างประเทศจึงทำให้อย่างไทยของเรามีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น

เรื่องสุดท้าย อาหารจะเป็นธุรกิจได้อย่างไรนั้น เนื่องจากวิถีชีวิตของคนในยุคปัจจุบันที่มีเวลาเป็นปัจจัยที่จำกัด ผู้คนต้องใช้ชีวิตอย่างเร่งรีบแข่งกับเวลาอะไรที่อำนวยความสะดวกรวดเร็วให้จึงเป็นตัวเลือกแรก ๆ  ด้วยเหตุนี้เองธุรกิจร้านอาหารจึงได้เกิดขึ้น เพื่อเป็นการตอบสนองการใช้ชีวิตของผู้คนในวิถีโลกปัจจุบัน แต่การเปิดร้านอาหารไทยตามที่ต่างๆไม่ว่าจะเป็นในประเทศ หรือต่างประเทศนั้น  สิ่งที่เราต้องคำนึงถึงคือเรื่องของคุณภาพ รสชาดของอาหารที่ต้องเป็นมาตรฐานเดียวกันไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็ตาม

จากทฤษฏี 5 K’s Innovation Capital ทุนทางนวัตกรรม Knowledge Capital ทุนทางความรู้ Cultural Capital ทุนทางวัฒนธรรม Emotional Capital ทุนทางอารมณ์ Creativity Capital ทุนทางความคิดสร้างสรรค์ ทั้งอาหารและวัฒนธรรมถือว่าเป็นสิ่งที่คู่กันอย่างเรื่อง 5 K’s ของอาจารย์จีระ เพราะเราต้องมีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง อีกทั้งเรื่องวัตถุดิบในแต่ละสถานที่นั้นมีไม่เหมือนกันจึงต้องมีการประยุกต์ แล้วปรับปรุงให้เข้ากับแต่ละพื้นที่ ปรับสูตรให้เหมาะสมกับแต่ละประเทศ โดยรัฐจะต้องเข้าไปช่วยส่งเสริมธุรกิจของคนไทย ที่ไปเปิดยังที่ต่างๆ ควรที่จะเข้มงวด ทั้งวัตถุดิบและเครื่องปรุง เพื่อที่จะให้ได้มาตรฐานรสชาติใกล้เคียงกัน เรื่องทั้งหลายเหล่านี้ไม่ควรละเลยไป ทั้งนี้ก็เพื่อคุณค่าและคุณภาพของอาหารที่จะได้ก้าวไปสู่ระดับโลกอย่างแท้จริง 
เรียนท่านวีระ  โรจน์พจนรัตน์ ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม และศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ รวมถึงท่านผู้อ่านทุกท่าน ดิฉันนางสาวกัญญารัตน์  ลาภเดโช  นักศึกษาปริญญาโท สาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เมื่อวันอาทิตย์ที่ 9 กันยายนที่ผ่านมา ท่านวีระ  โรจน์พจนรัตน์ได้ให้เกียรติ  มาบรรยายความรู้เกี่ยวกับเรื่องเรื่อง Food science กับ บทบาทวัฒนธรรมไทย   จากการบรรยายของท่านช่วยเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ให้แก่นักศึกษาทุกคนเป็นอย่างมาก  ท่านปลัดกล่าวถึง หัวข้อใหญ่ๆ 3 เรื่อง คือ·        วัฒนธรรมการบริโภคอาหารของชาวโลก    การบริโภคอาหารเพื่อระงับความหิวเป็นการบริโภคเพื่อความอยู่รอด แต่การบริโภคของมนุษย์ยังเพื่อความอร่อยลิ้น อร่อยรสชาติด้วย จึงถือเป็นวัฒนธรรมการกิน วัฒนธรรมการบริโภคอาหารของชาวต่างชาติ ล้วนมีความเป็นมาของอาหาร และแตกต่างกันไปตามประวัติศาสตร์ของประเทศนั้น แต่ก็ยังมีอาหารบางส่วนที่เป็นตัวสัมพันธ์กันอยู่ และแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมทางด้านอาหารกัน·        วัฒนธรรมการบริโภคอาหารของไทยอาหารของไทยจะมีความสวยงาม และประณีต เป็นเอกลักษณ์ แต่ก็มีอาหารบางชนิดที่ได้อิทธิพลมาจากชาวต่างชาติ ซึ่งวัฒนธรรมการบริโภคอาหารของไทยจะมีความแตกต่างกันไปตามภาค คือแต่ละภาคจะมีอาหารที่เป็นวัฒนธรรมของตนเอง แต่ก็มีความคล้ายคลึงกันในเรื่องเพื่อสุขภาพ และได้รับคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วน·        โอกาสทางธุรกิจอาหารประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 4 ของอาหารของประเทศที่ได้รับความนิยมสูงสุด มีเมนูหลายอย่างที่เป็นที่นิยมของชาวต่างชาติ เช่น  ต้มยำกุ้ง  ผัดไทย แกงเขียวหวาน เป็นต้น อีกทั้งภาครัฐยังให้การสนับสนุนยุทธศาสตร์ครัวไทยสู่ครัวโลก  การประกอบธุรกิจอาหารไทยในต่างประเทศจึงเป็นที่น่าสนใจ และมีแนวโน้มว่าจะได้รับความนิยมจากผู้บริโภคทั่วโลกเพิ่มขึ้น             อาหารทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งอาหารของภาคต่างๆของประเทศนั้น ได้สะท้อนถึงวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของแต่ละท้องถิ่น แสดงถึงภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ได้มีการใช้ส่วนประกอบตามธรรมชาติที่มีในท้องถิ่นนั้นๆอาหารทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งอาหารของภาคต่างๆของประเทศนั้น ได้สะท้อนถึงวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของแต่ละท้องถิ่น แสดงถึงภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ได้มีการใช้ส่วนประกอบตามธรรมชาติที่มีในท้องถิ่นนั้นๆ  ธุรกิจอาหารจึงเป็นธุรกิจทีน่าสนใจของคนส่วนใหญ่เป็นอย่างยิ่ง  แต่การที่เราจะเข้าไปทำธุรกิจด้านอาหารในต่างชาติสิ่งที่น่าใส่ใจก็คือ  วัฒนธรรมการกินของแต่ละประเทศ  ซึ่งเป็นกลยุทธ์เพื่อดึงดูดลูกค้าและมีการจัดการที่ดี จึงจะสามารถทำธุรกิจเพื่อให้ประสบผลสำเร็จได้ที่ธุรกิจอาหารพึงควรจะมี        สุดท้ายนี้ต้องขอพระคุณ ท่านปลัดกระทรวงวัฒนธรรม คุณ วีระ โรจน์พจนรัตน์   ที่นำเรื่องที่น่าสนใจมาบรรยายให้ฟังเพื่อเป็นการเพิ่มทุนทางปัญญาให้กับพวกเรา  และท่านยังนำนโยบายใหม่ของกระทรวงวัฒนธรรมมาเผยแพร่ให้ทราบและนำวิทยากรพิเศษมาบรรยายลงรายละเอียดเรื่องการทำธุรกิจร้านอาหารมซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง    และต้องขอบพระคุณท่านอาจารย์จีระ  และทีมงานทุกท่านที่ช่วยในการประสานงานต่างๆ จนทำให้ดิฉันได้มีโอกาสเรียนกับท่านปลัด วีระ
กราบเรียนท่านปลัดกระทรวงวัฒนธรรมท่านวีระ โรจน์พจนรัตน์ ท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และท่านผู้อ่าน ดิฉัน น.ส.สุพิชฌาย์  หนูขาว นักศึกษาปริญญาโท ภาควิชาบริหารธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง การเรียนการสอนในวันที่ 9 กันยายน 2550 ที่ผ่านมา ท่านวีระได้ให้เกียรติมาบรรยายในเรื่อง " Food Science กับวัฒนธรรมไทย "ประวัติความเป็นมาของวัฒนธรรมอาหารซึ่งเกิดขึ้นเมื่อไรนั้นมิอาจจะคาดได้  แต่ก่อนนั้นการกินอาหารนั้นจะเน้นแค่การบริโภคเพื่ออิ่มและยังชีพเท่านั้น ซึ่งไม่ใช่วัฒนธรรม แต่ต่อมาได้มีการเสพอาหารเพื่อความสุขมากขึ้น  มีการจัดตกแต่งเพิ่มรสชาดและสีสรร  ของอาหาร ซึ่งเป็นตัวกำหนดวัฒนธรรมในตัวอาหารได้  ซึ่งแต่ละประเทศจะมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวไม่เหมือนกันบางประเทศอาจจะเลียนแบบมาหรือประยุกต์วัฒนธรรมของประเทศอื่นมาเป็นวัฒนธรรมของตนเองก็ได้  1.วัฒนธรรมอาหารไทย  อาหารไทยเป็นที่รู้จักกันดีและเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว คือ ต้องใช้พืชผักสมุนไพรมาเป็นองค์ประกอบในการปรุง ซึ่งมองในด้านคุณค่าทางอาหารและสามารถป้องกันรักษาโรคได้ด้วย  อาหารไทยเกิดขึ้นมาและเป็นที่รู้จักแพร่หลายเป็นวัฒนธรรมเมื่อสมัยกรุงศรีอยุธยามาแล้ว  โดยวัฒนธรรมด้านอาหารนั้น ได้สืบทอดมาจากคนต่างเชื้อชาติ  และเผ่าพันธุ์ที่ได้อาศัยอยู่ด้วยกันในอาณาเขตเดียวกันนั่นเอง  และส่งผลให้ถูกสืบทอดมายังยุครัตนโกสินทร์จนถึงปัจจุบัน  2.  วัฒนธรรมการบริโภคอาหารแต่ละภูมิภาค  จะเห็นได้ว่าแต่ละภาคที่อาศํยอยู่บนผืนแผ่นดินเดียวกันยังมีวัฒนธรรมอาหารที่แตกต่างกันที่ถูกสืบทอดกันมาเป็นมรดกทางปัญญาด้วย  ความโดดเด่นทางด้านอาหารนั้น  ทางภาคเหนือจะรับการสืบทอดวัฒนธรรมมาจากพม่า เงี้ยว  จีนฮ่อ  นิยมกินอาหารรสเผ็ด  เค็ม  เปรี้ยว ไม่นิยมหวาน  ส่วนทางภาคใต้จะนิยมอาหารรสเผ็ดร้อน  เช่นแกงเหลือง แกงไตปลา  และใช้ผักสมุนไพรเป็นเครื่องเคียงด้วย  ทางด้านภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  นิยมอาหารรสเค็ม  เผ็ด  เปรี้ยว  มักประกอบอาหารแบบปิ้ง ย่าง คั่ว  ไม่นิยมปรุงด้วยน้ำมัน  มีนำ้ขลุกขลิกซึ่งทานกับข้าวเหนียวได้   3.  ภูมิปัญญาอาหารไทยต่อสุขภาพ  การประกอบอาหารไทยต้องใช้ศาสตร์และศิลป์ในการปรุง  อาหารไทยมีคุณณค่าทางโภชนาการครบทั้ง 5  หมู่  และส่วนมากจะมีสมุนไพรเป็นส่วนประกอบทั้งสิ้น  พืช ผัก  เครื่องเทศเหล่านี้ล้วนมีสรรพคุณทางยาที่ใช้รักษาโรคหรือส่งเสริมสุขภาพไปในตัวด้วย   4. โอกาศทางธุรกิจกับวัฒนธรรมอาหาร  การสร้างมูลค่าเพิ่มในวัฒนธรรมอาหาร  ปัจจุบันอาหารไทยก้าวไกลไปถึงต่างประเทศด้วยการนำของคนไทยหรือผู้ต่างชาติที่นิยมอาหารไทยก็ดี  จึงทำให้เกิดธุรกิจร้านอาหารไทยในต่างประเทศมากขึ้น อีกทั้งทางสถาบันอาหารไทยยังได้มีการจัดฝึกอบรมพัฒนามาตราฐานของกุ๊กทำอาหารไทยใ้ห้มีคุณภาพดีมากยิ่งขึ้นและยังคงความเป็นไทยแท้ ๆ ด้วย  สรุป วัฒนธรรมอาหารเป็นเอกลักษณ์ที่บ่งบอกถึงความอุดมสมบูรณ์ของอาหารการกินและการมีทรัพยากรอาหารของคนในยุคก่อน  แม้ว่าปัจจุบันวัฒนธรรมของอาหารในแต่ละประเทศจะเปิดกว้างรับเอาวัฒนธรรมอาหารชาติอื่น ๆ เข้ามาแต่เราต้องคงความเป็นเอกลักษณ์เพื่อที่จะให้ลูกหลานได้รู้จักกับวัฒนธรรมอาหารไทยบ้าง ไม่ใช่รู้จักแต่อาหาร fast food และไม่ใช่เห็นอาหารไทยแค่ในรูปภาพด้วยท้ายนี้ขอขอบพระคุณท่านปลัดกระทรวงวัฒนธรรมท่านวีระ  โรจน์พจนรัตน์  ที่ได้มาให้ความรู้ที่เป็นประโยชน์ และทันสมัยดิฉันจะนำเอาข้อคิดต่าง ๆที่ได้ ไปประยุกต์ใช้กับการทำงานต่อไปค่ะ         

เรียน คุณวีระ โรจน์พจนรัตน์ ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม, ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และท่านผู้อ่านทุกท่าน

กระผมนายปริญญา  รักพรหม นักศึกษาปริญญาโท คณะเทคโนโลยีการเกษตร สาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้มีโอกาสได้เรียนกับคุณวีระ โรจน์พจนรัตน์ ซึ่งปัจจุบันท่านก็ดำรงตำแหน่งเป็นปลัดกระทรวงวัฒนธรรม และในวันอาทิตย์ที่ 9 กันยายน 2550 ที่ผ่านมา ท่านก็ได้ให้เกียรติมาเป็นอาจารย์พิเศษ สอนในหัวข้อเรื่อง Food Science กับ บทบาทวัฒนธรรมไทย โดยเนื้อหาสาระที่เรียนในวันนั้นก็จะเริ่มตั้งแต่การศึกษาทำความเข้าใจกับวัฒนธรรมการบริโภคอาหารของชนชาติต่างๆ ตามภูมิภาคทั่วโลก, วัฒนธรรมการบริโภคอาหารของชาวไทย ทั้ง 4 ภาค และ แนวทางการสร้างธุรกิจร้านอาหารให้เกิดเป็น

ดังเช่นที่ท่านปลัดได้บอกว่า การกินอาหาร เพียงแค่เพื่ออิ่ม นั้นยังไม่ถือว่าวัฒนธรรมการบริโภคอาหาร แต่ถ้าหากการกินอาหารเพื่อลิ้มรสถึงความอร่อย กินอาหารเพื่อความอิ่มเอมในคุณภาพอาหารที่ปรุงขึ้น นั้นจึงจะเรียกได้ว่าเป็น เป็นวัฒนธรรมการกินการได้เรียนรู้ที่มาที่ไปของวัฒนธรรมการบริโภคอาหารของชนชาติต่างๆ รวมถึงชาวไทยเราด้วยนั้นก็เพื่อช่วยให้เราได้เกิดความเข้าใจในวัฒนธรรมที่แตกต่างกันซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อเราเป็นอย่างมากไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการดำรงชีวิตและการดำเนินธุรกิจ เพราะว่าปัจจุบันวัฒนธรรมการบริโภคอาหารของแต่ละชนชาติไม่ได้ถูกจำกัดด้วยขอบเขตตามแผนที่โลก แต่การที่เกิดกระแสโลกาภิวัฒิน์ (Globalization) ขึ้นทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมของประเทศต่างๆ ทั่วโลกอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นทางด้านภาษา ดนตรี การแต่งกาย และการบริโภคอาหาร ก็รวมอยู่ในนั้นด้วยเช่นกัน ดังเช่น อาหารไทยของเรา ซึ่งถือว่าเป็นอาหารที่ได้รับความนิยมอยู่ในลำดับต้นๆ ของโลก ด้วยที่เป็นอาหารที่มีรสชาติที่อร่อย มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวโดดเด่นทั้งรสชาติและรูปลักษณ์ตามภูมิภาคต่างๆ ซึ่งนั่นก็สะท้อนถึงภูมิปัญญาของบรรพบุรุษที่ได้สร้างและสืบทอดมาถึงพวกเราทุกวันนี้

ด้วยปัจจุบันวิถีชีวิตของคนไทยเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพการณ์ทางเศรษฐกิจ การเปลี่ยนแปลงทางสังคม จึงเกิดขึ้นการบริโภคอาหารที่ไม่ต้องใช้เวลาในการปรุงแต่งมากและการให้ความสำคัญกับสุขภาพมากขึ้นจึงเป็นสิ่งที่คนในสังคมโดยเฉพาะในสังคมเมืองกำลังให้ความนิยม การได้รับความนิยมของธุรกิจร้านอาหารญี่ปุ่น อาหารเกาหลี ก็เนื่องด้วยเป็นวัฒนธรรมอาหารที่เน้นด้านสุขภาพและคุณภาพของอาหาร ประกอบกับการได้รับการส่งเสริมจากรัฐบาลของประเทศในการเผยแพร่วัฒนธรรม ดังนั้น จากที่ในสังคมปัจจุบันการดำเนินชีวิตเปลี่ยนแปลงไปเป็นเน้นความทันสมัย เร่งรีบ และใช้ชีวิตสะดวกสบาย ทำให้มีการนิยมบริโภคอาหารนอกบ้านมากขึ้น การได้รับความนิยมของร้านอาหารญี่ปุ่นและเกาหลีในประเทศไทยจึงไม่ใช่เรื่องที่แปลก เราในฐานะที่เป็นเจ้าของวัฒนธรรมอาหารไทยซึ่งเป็นอาหารที่มีความเป็นอาหารสุขภาพโดยตัวเองอยู่แล้วและได้รับความนิยมของชาวต่างชาติอยู่แล้ว จึงมีโอกาสที่จะสามารถสร้างและพัฒนาเป็นธุรกิจร้านอาหารขนาดใหญ่ทั้งในและนอกประเทศได้

 

โอกาสทางธุรกิจของอาหารไทย การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมการบริโภคอาหาร โดยเฉพาะอาหารจานด่วนที่ให้บริการส่งถึงบ้านประกอบกับการดำรงชีวิตที่รีบเร่งมากขึ้นของคนไทยทำให้ไม่มีเวลาประกอบอาหารรับประทานเอง คนไทยจึงมีแนวโน้มที่จะบริโภคอาหารสำเร็จรูปมากขึ้นหรือเลือกที่บริโภคอาหารนอกบ้านมากขึ้น ดังนั้น สิ่งเหล่านี้จึงเป็นโอกาสที่สำคัญทางธุรกิจสำหรับผู้ที่สนใจจะประกอบธุรกิจร้านอาหาร โดยเฉพาะความนิยมอาหารสุขภาพซึ่งยังมีโอกาสที่จะเติบโตอีกนาน

 

สรุป การศึกษาวัฒนธรรมทางด้านอาหารของประเทศต่างๆ ทำให้เราได้ทราบสาเหตุและเข้าใจถึงวัฒนธรรมหรือความต้องการบริโภคอาหารของแต่ละชนชาติได้ ปัจจุบัน Food Science มีบทบาทสำคัญต่อวัฒนธรรมการบริโภคของไทย เนื่องจากสามารถช่วยพัฒนาอาหารทั้งสูตรและคุณภาพได้ ดังนั้น Food Science จึงมีบทบาทไม่น้อยต่อการนำอาหารไทยก้าวไปสู่ครัวโลกได้ แนวโน้มของธุรกิจร้านอาหารไทยในต่างประเทศก็น่าจะเพิ่มมากขึ้นด้วย   
นางสาวศศวิมล ทับเวช
กราบเรียนศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ คุณวีระ โรจน์พจนรัตน์ และท่านผู้อ่านทุกท่าน ดิฉันนางสาวศศิวิมล ทับเวช นักศึกษาปริญญาโท สาขาวิชาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง         เนื่องจากในวันอาทิตย์ที่ 9 กันยายน 2550 ดิฉันได้ฟังการบรรยายของ คุณวีระ โรจน์พจนรัตน์ ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม หัวการบรรยายเรื่อง Food Science กับบทบาทวัฒนธรรมไทย สรุปได้ว่า ในแต่ละชนชาติก็จะมีวัฒนธรรมที่แตกต่างกันไม่ว่าจะเป็นการกิน หรือการดำเนินชีวิต จึงมีผลทำให้มีวัฒนธรรมเกิดขึ้นในโลกอย่างมากมาย         วัฒนธรรมทางด้านอาหารของไทยนั้นมีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นคือ ด้านโภชนาการ เพราะอาหารแต่ละมื้อนั้นจะประกอบไปด้วยอาหารหลัก 5 หมู่ ไม่ว่าจะเป็นผัก ผลไม้ เนื้อ ข้าว ก็สามารถหาได้รับประทานได้ง่าย ด้านรสชาติ อาหารไทยจะมีรสชาติ และกลิ่นของเครื่องเทศ รสเผ็ด แต่มีรสชาติที่กลมกล่อม ด้านประณีตในการทำอาหาร ด้วยเหตุผลดังกล่าวจึงทำให้ประเทศไทยสามารถเป็นครัวของโลกได้ Food Science จึงเกิดขึ้นกับธุรกิจด้านอาหาร ซึ่งจากข้อมูลการสำรวจของกรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ พบว่าจำนวนร้านอาหารไทยที่มีอยู่ในต่างประเทศที่สำรวจ 195 ทั่วโลก มีร้านอาหารไทย 30.3% แสดงให้เห็นว่าโอกาสในการขยายธุรกิจร้านอาหารไทยไปทั่วโลกยังมีโอกาสสูงมาก        การทำธุรกิจอาหารไม่ว่าจะเป็นอาหารของชนชาติใดก็ตาม เราจะต้องเข้าใจในวัฒนธรรมของชนชาตินั้นเสียก่อน เพราะวัฒนธรรมในแต่ละชนชาติย่อมมีความแตกต่างกัน หรือมีความเป็นเอกลักษณ์ที่แตกต่างกัน        สุดท้ายนี้ดิฉันขอขอบพระคุณอาจารย์ทั้ง 2 ท่านที่ได้บรรยายในครั้งนี้ ซึ่งดิฉันจะนำความรู้ที่ได้มาประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาสังคมให้ดีขึ้นไป
เรียน ท่านปลัด วีระ โรจน์พจนรัตน์ ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม  ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และทีมงานทุกท่าน กระผมนายพัฒนา ปลอดภัยงาม นักศึกษาปริญญาโท             สาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร  คณะเทคโนโลยีการเกษตร      สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง  เรื่อง  Food Science กับ บทบาทวัฒนธรรมไทย โดยเนื้อหาสาระที่ได้รับพอจะสรุปเป็นประเด็นหลักๆได้ดังนี้1.วัฒนธรรมอาหารโลก 2.วัฒนธรรมอาหารไทย 3.โอกาสทางธุรกิจของอาหาร วัฒนธรรมอาหารโลก  การบริโภคอาหารของมนุษย์เกิดขึ้นพร้อมกับการเกิดของมนุษย์ คือ โดยเริ่มแรกเป็นการบริโภคเพื่อยังชีพให้มีชีวิตอยู่   ต่อมามีการบริโภคอาหารเพื่อให้เกิดความอร่อยจึงเน้นบริโภคอาหารที่ชอบและสอดคล้องการดำรงชีวิต มากกว่าการยังชีพ เรียกว่าเป็นวัฒนธรรมการบริโภค ซึ่งวัฒนธรรมการบริโภคของมนุษย์ในแต่ละประเทศจะมีประวัติที่แตกต่างกัน     วัฒนธรรมอาหารไทย  วัฒนธรรมการกินของคนไทยนั้น เริ่มตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลาย บางส่วนของอาหารไทยได้รับอิทธิพลมาจากต่างประเทศ ซึ่งได้มีชาวต่างชาติได้เข้ามาอาศัยในเมืองไทยมาก ได้แบ่งวัฒนธรรมการบริโภคอาหารแยกตามภาค ดังนี้ภาคใต้ เน้นอาหารรสจัด การใส่ขมิ้น และกินพร้อมผักสดประเภทแกงต่าง ๆ เช่น แกงเหลือง แกงไตปลาภาคเหนือ  เน้นอาหารต้ม แกง ปิ้ง ย่าง ข้าวเหนียว น้ำพริก เช่นไส้อั่ว แกงฮังเล น้ำพริกหนุ่ม ไก่ย่าง  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เน้นอาหารสจัด ข้าวเหนียว และการบริโภคสัตว์ที่หาได้ในท้องถิ่น เช่น ลาบ ก้อย ส้มตำ เขียด ภาคกลาง นิยมข้าวเจ้า อาหารพื้นบ้าน โอกาสทางธุรกิจของอาหาร เมื่อการใช้ชีวิตประจำวันของคนไทยเปลี่ยนแปลงไปเนื่องจากกระแสของสังคมประเทศตะวันตกที่ได้หลั่งไหลเข้ามาส่งให้เกิดค่านิยมและการบริโภคอาหารที่เปลี่ยนแปลงไปด้วยโดยเฉพาะอาหารจานด่วนที่ให้บริการส่งถึงบ้าน ประกอบกับการดำรงชีวิตที่ต้องเร่งรีบมากขึ้นของคนไทยทำให้บางครอบครัวไม่มีเวลาประกอบอาหารรับประทานเอง ส่งผลให้คนไทยมีแนวโน้มที่จะพึ่งพาอาหารสำเร็จรูปหรืออาหารพร้อมบริโภคมากขึ้น  ซึ่งทำให้เปิดโอกาสทางธุรกิจในด้านอาหารเพิ่มขึ้น ดังนั้น วัฒนธรรมการบริโภคของไทยมีเกี่ยวข้องกับ Food Science เป็นอย่างยิ่ง เนื่องจาก Food Scienceสามารถช่วยพัฒนาอาหารไทยได้ เพื่อเพิ่มมูลค้าในสินค้าเดิม และแปรรูป  ปัจจุบันอาหารไทยได้รับความนิยมเป็นอันดับที่ 4 ของโลก เนื่องจากอาหารไทยมีเอกลักษณ์และรสชาติที่ชาวต่างชาติยอมรับและชื่นชอบ ดังนั้นแนวโน้มของการเปิดธุรกิจอาหารไทยในต่างประเทศจะมีมากขึ้น พร้อมทั้งการสร้างตราสินค้า(Brand) เพื่อทำให้นานาชาติได้ทราบว่าเป็นสินค้าจากประเทศไทย 
นายอานนท์ ร่มลำดวน
  • เรียน  ศ.ดร.จีระ , ท่านปลักกระทรวงวัฒนธรรม        นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ พี่ๆ ทีมงาน chira academyและท่านผู้ติดตาม Bolg ของพวกเรานักศึกษา ป.โทลาดกระบังทุกๆท่าน เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมาผมรู้สึกเสียดายโอกาสเป็นอย่างมากที่ไม่สามารถเข้าไปได้รับคำแนะนำและเรียนรู้จากท่านปลัดเนื่องจากติดภาระกิจงานด่วน  แต่จากการที่ผมได้เรียนรู้จากท่านอาจารย์จีระ ในเรื่องของการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้  ผมได้กลายเป็นผู้อ่าน Blog ของเพื่อนๆและสอบถามจากเพื่อนๆ  ก็ทำให้ผมเกิดการเรียนรู้และทราบข้อมูลแม้อาจจะไม่ครบเต็มร้อยเหมือนกับที่เข้าเรียนแต่ประเด็นที่ผมพอจับประเด็นได้มีดังนี้   
  • ท่านปลัดได้เข้ามาให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง  “Food Science กับวัฒนธรรมไทย”  ซึ่งเกี่ยวข้องกับ  วัฒนธรรมอาหาร , วัฒนธรรมอาหารไทยแต่ละภาค  , นโยบายของทางภาครัฐ  และ โอกาสทางธุรกิจ ซึ่งจากมุมมองของผมคิดว่าอาหารนั้นก็เป็นเหมือนกับฑูตทางวัฒนธรรมอย่างหนึ่งที่มีการแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน ,บ่งบอกถึงขนบธรรมเนียม ,วิถีชีวิตความเป็นอยู่ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างประเทศต่อกัน  จะเห็นได้ว่าอาหารในส่วนใหญ่ที่ได้รับความนิยมนั้นมักจาก จีน ,ไทย ,ญี่ปุ่น เวียตนาม อินเดีย เป็นต้น เนื่องจากคนส่วนใหญ่มองว่าเป็นอาหารเพื่อสุขภาพ  ซึ่งแน้มโน้มในอนาคตภูมิภาคเอเซียจะเป็นแหล่งที่สำคัญในด้านอาหารและวัฒนธรรมการกิน ดังนั้นหากเราสามารถที่จะเชื่อมต่อกันหรือการรวมกลุ่มเพื่อสร้างเป็น แหล่งครัวโลก หรือ World Health ‘s Food  Center  มีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม, วัตถุดิบ และเทคโนโลยีระหว่างกลุ่มสมาชิก โดยระหว่างการรวมกลุ่มนั้นนักวิทยาศาตร์ทางอาหารต่างๆ  รวมถึงพ่อครัว ควรที่จะพัฒนาอาหารเพื่อสร้าง Value added และทำให้รสชาติของอาหารมีความสม่ำเสมออย่างต่อเนื่อง  เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค มีการเปิดตลาดในด้านอาหารสำเร็จรูปแบบ FTA หรือการเปิดโอกาสให้กลุ่มประเทศสมาชิกสามารถเข้ามาประกอบกิจการร้านอาหารได้อย่างสะดวกขึ้น   ก็จะทำให้เกิดการขยายตัวของตลาดมากขึ้นสร้างความแข็งแกร่งให้กับวัฒนธรรมของประเทศและภูมิภาค 
  •  สุดท้ายนี้ขอขอบคุณ ท่านปลัดกระทรวงวัฒนธรรม คุณ วีระ  โรจน์พจนรัตน์   ที่ได้นำประสบการณ์ของท่านมาบรรยายให้ฟังเพื่อนๆทุกคนได้ฟัง ถ้าหากครั้งหน้ามีโอกาสที่จะได้รับคำแนะหรือได้รับการถ่ายทอดความรู้จากท่านปลัดอีกครั้งรับรองว่าคราวหน้าผมไม่ยอมพลาดแน่นอนครับขอบคุณครับ 
กราบเรียนศ.ดร.จีระ , ท่านปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ท่านวีระ โรจน์พจนรัตน์และท่านผู้อ่านทุกท่าน ดิฉันนางสาวนิรชร ไชยกาญจน์ นักศึกษาระดับปริญญาโท สาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า  เจ้าคุณทหารลาดกระบัง จากการที่ได้เข้าฟังการบรรยายในหัวข้อเรื่อง Food Science กับบทบาทวัฒนธรรมไทย เนื้อหาที่ท่านวีระ ได้กล่าวถึงที่มา และบทบาทที่สำคัญในเรื่องการบริโภคอาหาร ของแต่ละชนชาติว่า แต่ก่อนนั้นมีความสำคัญเป็นเพียงแค่เพื่อการดำรงชีวิตให้อยู่รอด แต่ต่อมาได้มีการเปลี่ยนแปลงไป มีการคิดค้นรูปแบบในการบริโภคอาหาร ให้มีความปรัณีต และมีพิธีรีตรองมากขึ้น ทำให้ต่อมามีการนำรูปแบบและพิธีการในการบริโภคมาใช้ประในเรื่องอื่นๆมากขึ้น โดยเฉพาะการนำมาใช้เป็นช่องทางในการเจรจาเชื่อมความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกลุ่มบุคคลต่างๆ และเป็นทั้งการแลกเปลี่ยนให้มีความหลากหลายในการดำรงชีวิตมากชึ้น เมื่อเป็นดังนี้แล้วทำให้มีการพัฒนาให้มีการนำองค์ประกอบต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคมาใช้ในเรื่องของธุรกิจ ได้แก่ วัตถุดิบที่ใช้ในการประกอบอาหาร, อุปกรณ์ต่างๆ, วิธีการที่ใช้ในการประกอบอาหาร (ทำให้เกิดโรงเรียนที่มีการสอนวิชาการทำอาหาร) ไปจนถึง การแปรรูปหรือการผลิตอาหารประเภทต่างๆ มาส่งขายให้กับลูกค้าหรือผู้บริโภคที่อยู่ในที่ต่างๆทั่วโลก ทำให้เกิดธุรกิจทางด้านอาหารแปรรูปในทั่วโลก ในส่วนของประเทศไทยนั้น อาหารไทยเป็นหนึ่งในอาหารที่มีคุณลักษณะของอาหาร และมีเอกลักษณ์เฉพาะเป็นของตนเอง อาหารไทยท้องถิ่นของแต่ละภาคก็มีความเป็นเอกลักษณ์และสะท้อนให้เห็นถึงชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทยในแต่ละภาค ที่แตกต่างกันไปตามสภาพภูมิอากาศและภูมิประเทศของแต่ละท้องถิ่น ความเป็นเอกลักษณ์นี้ถ้าเรารู้จักที่จะนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ โดยการผลิตสินค้าที่มีตราสินค้าที่บ่งบอกถึงความเป็นเอกลักษณ์ มีความเฉพาะในการบริโภค สามารถตอบสนองผู้บริโภคได้ทั้งความสุขจากการได้บริโภคอาหารที่มีความอร่อย, มีคุณค่าทางโภชนาการ และมีความสวยงามในด้านการจัดแต่ง ก็จะทำให้เราสามารถที่จะมีหนทางที่จะเข้าไปแข่งขันกับธุรกิจอาหารที่มีทั่วทุกมุมโลกได้ โดยไม่น้อยหน้าใคร
กราบเรียน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และท่านผู้อ่านทุกท่าน ดิฉันนางสาวนันทกา บุญสุข นักศึกษาปริญญาโท ภาควิชาบริหารธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง จากคาบเรียนในวันที่ 16 กันยายน 2550 เวลา 9.00 12.00 น. ดิฉันไม่สามารถเข้าเรียนได้ เพราะ ดิฉันรู้สึกไม่ค่อยสบาย เนื่องจากตอนนี้สภาพอากาศแปรปรวน ฝนตกทุกวัน จึงขออภัยอาจารย์ มา ณ ที่นี้ด้วยนะคะ แต่จากการสอบถามจากเพื่อนๆ ในวันนี้มีการเรียนการสอนเรื่อง "ภาวะผู้นำในยุคที่โลกเปลี่ยน" อาจารย์ให้โจทย์มาว่า ผู้นำกับผู้บริหาร ต่างกันอย่างไร? ในความคิดของดิฉัน ความแตกต่างประเด็นแรก คือ บทลงโทษ (Penalty) ผู้นำมีบทบาทแนะนำ (Suggest, Advice, Recommend) ว่าควรทำ (Should be) อะไรหรือควรเชื่ออะไร แต่ไม่ได้เป็นการบังคับให้เชื่อฟังหรือทำตาม ขึ้นอยู่กับความสมัครใจและไม่มีบทลงโทษเมื่อไม่เชื่อหรือไม่ปฏิบัติตาม แต่หน้าที่ของผู้บริหาร คือ จัดการ (Manage) ให้ปฏิบัติตามนโยบายและกฎระเบียบของบริษัทที่วางไว้ หากฝ่าฝืนอาจมีบทลงโทษตามกรณี ประเด็นที่สอง คือ ตำแหน่ง (Position) ผู้นำไม่จำเป็นต้องมีตำแหน่งแยกแยะสูง-ต่ำ เป็นลำดับขั้น ยกตัวอย่างเช่น ผู้นำทางการเมือง กับผู้นำทางศาสนา ไม่สามารถบอกได้ว่าฐานะใครสูง-ต่ำ กว่ากัน คนงานรายวัน 1 คน ก็สามารถเป็นผู้นำได้ ถ้าเค้ามีศักยภาพที่จะสร้างความศรัทธาให้เกิดขึ้นในตัวได้ แตกต่างจาก ผู้บริหารจำเป็นต้องมีตำแหน่ง เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดี (Image), โดยผู้บริหารจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการบริหารจัดการขององค์กรในทุกๆด้าน   ทั้งทางด้านการบริหารคน การเงิน การตลาด ไม่ได้รู้เพียงด้านใดด้านหนึ่งเพื่อให้การบริหารจัดการในองค์กรไปในทิศทางเดียวกัน ประเด็นสุดท้าย คือ คุณค่า (Value) คุณค่าในสิ่งที่ผู้นำทำจะเป็นผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นต่อส่วนรวมโดยเกิดขึ้นกับทั้งทีมอย่างเสมอภาคกัน แต่สิ่งผู้บริหารทำนั้นผลประโยชน์หลักๆจะอยู่ที่ผู้บริหารมากกว่าประโยชน์ส่วนรวมเนื่องจากคาบเรียนนี้เป็นการเรียนการสอนคาบสุดท้าย ดิฉันจึงขอขอบพระคุณอาจารย์จีระเป็นอย่างสูงที่สละเวลาและให้เกียรติมาสอนพวกเรา พวกเราจะเก็บเกี่ยวความรู้และประสบการณ์เรียนที่ได้ในวิชานี้ ไปใช้ในชีวิตประจำวันค่ะ ด้วยความเคารพอย่างสูง นางสาวนันทกา บุญสุข

เรียนศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ และท่านผู้อ่านทุกท่าน  ดิฉันนางสาว อรุณี แซ่ตั้ง นักศึกษาปริญญาโท การจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

เมื่อวันอาทิตย์ที่ 16 กันยายนที่ผ่านมา ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ ได้บรรยายในหัวข้อ ภาวะผู้นำในยุคที่โลกเปลี่ยน และได้ให้การบ้าน คือ ให้แสดงความคิดเห็นว่าความแตกต่างของผู้นำและผู้บริหารมีอะไรบ้าง ซึ่งในความคิดของดิฉัน คือ

1.   เป้าหมายในการดำเนินงาน : ผู้บริหารจะมีเป้าหมายสูงสุดในการทำงานคือ กำไร ผลตอบแทนสูงสุดที่หน่วยงานหรือองค์กรจะได้รับจากการบริหารงานที่ทำให้ได้ประสิทธิภาพในการทำงานสูงที่สุด ส่วนผู้นำจะมีเป้าหมายสูงสุดในการดำเนินงานคือ ความสำเร็จต่อเนื่องและยั่งยืน

2.   การบริหารจัดการคน : เนื่องจากผู้บริหารมีเป้าหมายสูงสุดคือกำไรขององค์กรดังนั้นการบริหารจัดการคนในองค์กรของผู้บริหารจะเน้นไปที่การพยายามดึงเอาประสิทธิภาพในการทำงานของคนในองค์กรออกมาให้ได้มากที่สุด  หาวิธีการที่จะทำให้คนในองค์กรทำงานอย่างเต็มประสิทธิภาพ  แตกต่างจากผู้นำ ที่มีเป้าหมายคือการพัฒนาองค์กรให้เจริญเติบโตอย่างยั่งยืน ดังนั้น ทุกคนในองค์กรจะต้องมีการพัฒนาและเจริญเติบโตไปพร้อมๆกัน  ดังนั้นผู้นำจะเน้นการพัฒนาคน และสร้างความผูกพันระหว่างคนกับองค์กร เพื่อให้เกิดความรักในองค์กร ซึ่งจะทำให้คนอยู่กับองค์กรอย่างมีความสุข ซึ่งทั้งคนและองค์กรก็จะพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

3.   วิสัยทัศน์ : วิสัยทัศน์ในการทำงานของผู้บริหารและผู้นำมีความแตกต่างกัน โดยที่ผู้บริหารจะมีวิสัยทัศน์ที่กว้างเฉพาะในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจหรือกิจกรรมต่างๆที่เกี่ยวข้องกับองค์กร ที่มีความจำเป็นในการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงาน เพื่อนำพาองค์กรหรือบริษัทไปในทางที่จะทำให้เกิดประโยชน์สูงสุด  แต่ผู้นำจะมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลกว่าผู้บริหาร กล่าวคือ ผู้นำจะต้องมีวิสัยทัศน์ที่กว้างขวางและกว้างไกลในทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเกี่ยวข้องกับองค์กรหรือไม่และต้องประมวลผล เพื่อหาความเชื่อมโยงในเรื่องต่างๆ เพื่อเป็นเข็มทิศที่จะนำพาคนและองค์กรให้เดินในทางที่ถูกต้อง และมั่นคงอย่างยั่งยืนต่อไป
สวัสดี อาจารย์จีระ และท่านผู้อ่านทุกท่าน         ดิฉัน นางสาว สุมิตรา พนาอภิชน นักศึกษาปริญญาโท สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เมื่อวันที่ 16 กันยายน 50  ได้มีโอกาสเรียนวิชา HR กับท่านอาจารย์ จีระ ในหัวข้อเรื่อง ภาวะผู้นำในยุคที่โลกเปลี่ยนและอาจารย์ให้นักศึกษา เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างผู้นำและผู้บริหารเป็นอย่างไร ? (ยกตัวอย่าง 3 ข้อ)         ผู้นำ คือ ผู้ที่ทำให้คนอื่นเก่ง และนำองค์กรไปสู่ความสำเร็จ หรือหลีกเลี่ยงความล้มเหลว  การเป็นผู้นำนั้นสามารถเป็นได้ทุกคน  ไม่ว่าจะเป็นคนในระดับใด ผู้ที่จะเป็นผู้นำนั้นไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นเจ้าของกิจการ โดยบางคนอาจจะมีความเป็นผู้นำด้านวิชาการ  ผู้นำด้านกีฬา ผู้นำด้านการเมือง การมีภาวะผู้นำนั้นสามารถที่จะพัฒนากันได้        ตารางการเปรียบเทียบระหว่าง ผู้นำและผู้บริหารแตกต่างกัน คือ 
ผู้นำ ผู้บริหาร
1. ยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น 1. ตัดสินใจเพียงผู้เดียว
2. เกิดขึ้นได้ทุกโอกาส 2. ต้องได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าของกิจการ
3. มีบุคลิกภาพที่อบอุ่น 3. มีบุคลิกภาพที่น่าเกร่งขาม
รสสุคนธ์ น้อยจินดา

      กราบเรียน ศ.ดร.จีระ หงลดารมภ์  และท่านผู้อ่านทุกท่าน ดิฉัน นางสาวรสสุคนธ์  น้อยจินดา  นักศึกษาปริญญาโท สาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร คณะเทคโนโลยีการเกษตรสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง  จากที่ได้เรียนในวันอาทิตย์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2550 เวลา 9.00 – 12.30 น. เรื่อง ภาวะผู้นำในยุคที่โลกเปลี่ยน ซึ่งเป็นการเรียนครั้งสุดท้ายก่อนสอบ อาจารย์ให้ต่อยอดความคิดของอาจารย์ในเรื่องผู้นำและผู้จัดการต่างกันอย่างไร โดยอาจารย์ให้อ่านเพิ่มเติมจาก The 8th HABIT  โดย Stephen R. Covey

 
ผู้นำ ผู้บริหาร
1. ด้วยการเลือกของตัวเอง2. มีได้ทุกระดับ3. การปลูกฝัง อบรม สั่งสมการเรียนรู้4. อยากเดินตาม 1. ด้วยตำแหน่งหน้าที่2. ต้องอยู่ระดับสูง3. การศึกษาวิชาการ 4. ต้องเดินตาม
 

      คือ จากข้อ 1 ผู้นำ มาจากการเลือกของตัวเอง เมื่อเราค้นพบศักยภาพของตนเอง และนำศักยภาพนั้นมาใช้ อีกทั้งเรายังช่วยเป็นแรงผลักดันให้คนอื่นๆ ได้พบศักยภาพของตนเองอีกด้วย ถือเป็นผู้นำที่ดี ส่วนผู้บริหาร คือ มีตำแหน่งหน้าที่ที่ชัดเจน และต้องปฏิบัติงานตามตำแหน่งหน้าที่ เป็นผู้ประสานงานให้มุ่งไปสู่เป้าหมายเดียวกัน  

      ข้อ 2 ผู้นำสามารถมีได้ทุกระดับ คือทุกระดับของหน่วยงาน ไม่ว่าจะเป็นระดับพนักงาน ระดับหัวหน้าฝ่าย แต่บุคคลที่จะเป็นผู้บริหารนั้นจะต้องอยู่ในระดับสูง ถ้าเปรียบเป็นพีระมิดผู้บริหารก็อยู่ที่ยอดพีระมิด ส่วนผู้นำมีได้ทุกระดับ  

      ข้อ 3 การเป็นผู้นำ เหมือนกับต้องได้รับการปลูกฝัง อบรมมาตั้งแต่เป็นเด็ก ทั้งจากครอบครัวและจากโรงเรียน มีการสั่งสมเรียนรู้การเป็นผู้นำ ผู้บริหารนั้นจะต้องมีการเรียนรู้วิชาการบริหารอย่างจริงจังและมีความเข้าใจ ผู้บริหารจึงจะประสบความสำเร็จได้ ข้อ 4  ผู้นำ คือ คนที่ผู้อื่นอยากเดินตาม มีความน่านับถือ และเป็นที่ไว้วางใจของคนอื่น แต่ผู้บริหาร คือคนที่คนอื่นต้องเดินตาม อาจเดินตามด้วยความเต็มใจหรือเดินตามเพราะจำเป็นแต่ไม่ได้เต็มใจ  

       จะเห็นได้ว่า ปัจจุบันมีการพูดถึงเรื่องผู้นำมากขึ้น เนื่องจากผู้บริหารในองค์กรจะมีให้เห็นมากมาย แต่ภาวะผู้นำจะหาพบได้น้อยมากในแต่ละองค์กร ผู้นำที่มีคุณธรรม จริยธรรม ที่จะช่วยเพิ่มคุณค่า (Value) ให้กับองค์กร ซึ่งถ้าผู้บริหารไม่มีความเป็นผู้นำด้วยนั้น การบริหารทรัพยากรมนุษย์และธุรกิจให้ประสบความสำเร็จย่อมเป็นเรื่องยาก และขอขอบคุณท่านอาจารย์จีระเป็นอย่างสูงที่สละเวลามาให้ความรู้ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ต่างๆ ในการเรียนวิชานี้ อีกทั้งเลี้ยงอาหารพวกเราในวันสุดท้ายของการเรียน ขอบพระคุณเป็นอย่างสูงค่ะ

                            

กราบเรียนอาจารย์ จีระ หงส์ลดารมภ์ , อาจารย์ ยม และท่านผู้อ่านทุกท่าน ดิฉัน นางสาว วสพร บุญสุข นักศึกษาปริญญาโท คณะเทคโนโลยีการเกษตร สาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

 

เมื่อวันอาทิตย์ที่ 16 กันยายน 2550 ได้เรียนกับอาจารย์จีระ เป็นอาทิตย์สุดท้ายในการเรียนในรายวิชา การจัดการทรัพยากรมนุษย์ ในหัวข้อ ภาวะผู้นำในยุคที่โลกเปลี่ยน ได้คำถามว่า คุณลักษณะและบทบาทของ ผู้นำ (Leader) กับผู้บริหาร (Manager) แตกต่างกันอย่างไร ดิฉันมีความคิดเห็นเพิ่มเติม  3 ประเด็นดังนี้

  
ผู้นำ (Leader) ผู้บริหาร (Manager)
เน้นที่คน เน้นที่ระบบ
Trust ควบคุม
ระยะยาว ระยะสั้น
What, Why When, How
มองอนาคต ขอบฟ้า/ภาพลักษณ์ กำไร/ขาดทุน ทุก 3 เดือน
เน้นนวัตกรรม จัดการให้สำเร็จ มีประสิทธิภาพ
Change Static
มองคนภายในองค์กร มองคนภายนอกองค์กร
คุณสมบัติและความสามารถ ตำแหน่งหน้าที่ในการทำงาน
สร้างแรงจูงใจ สร้างความกดดัน
                   

ประเด็นที่หนึ่ง    

       

        ผู้นำ : มองคนภายในองค์กร คือ ผู้นำจะให้ความสำคัญของคนภายในองค์กร เน้นการพัฒนาให้คนในองค์กรมีความสามารถในการทำงานไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อที่จะทำให้งานสำเร็จตามเป้าหมาย       ผู้บริหาร  : มองคนภายนอกองค์กร คือ ผู้บริหารจะให้ความสำคัญของคนภายนอกองค์กร ตอบสนองความต้องการของคนภายนอกองค์กร เพื่อที่จะทำให้องค์กรประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย  

ประเด็นที่สอง         

                            ผู้นำ : คุณสมบัติและความสามารถ คือ ผู้นำเป็นคุณสมบัติและความสามารถเฉพาะคน จะสร้างและพัฒนาคนให้ทำงาน เพื่อจะทำให้งานประสบความสำเร็จ       ผู้บริหาร  :   ตำแหน่งหน้าที่ในการทำงาน   คือ เป็นตำแหน่งหน้าที่ในการทำงานที่จะบริหารจัดการคนในองค์กรทำงานให้ประสบความสำเร็จ 

ประเด็นที่สาม   

 ผู้นำ : สร้างแรงจูงใจ คือ จะสร้างแรงจูงใจให้คนในองค์กรทำงานได้อย่างเต็มความสามารถ และดึงศักยภาพของแต่ละคนออกมา ทำให้งานประสบความสำเร็จ และคนในองค์กรเกิดความภาคภูมิใจ มีความสุขในการทำงานผู้บริหาร  :  สร้างความกดดัน   คือ จะสร้างความกดดันให้กับคนในองค์กรทำงาน เพื่อที่จะให้งานความประสบความสำเร็จ ทำให้คนในองค์กรเกิดความเครียด และไม่มีความสุขในการทำงาน

      

        สุดท้ายนี้ดิฉันได้รับความรู้เกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรมนุษย์ ในเรื่องภาวะผู้นำในยุคที่โลกเปลี่ยน การที่จะเป็นผู้นำได้จะต้องมีการเรียนรู้ กล้าที่จะเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา  ขอขอบพระคุณอาจารย์จีระ เป็นอย่างสูง ที่ได้มาสอนให้ดิฉัน รู้จักการเรียนรู้แบบใหม่ สังคมการเรียนรู้ จากความจริง และดิฉันสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ไปสู่อนาคตที่ยั่งยืน

 นางสาววสพร บุญสุข                                                                                                                                                              
นางสาว วสพร บุญสุข
          

กราบเรียนอาจารย์ จีระ หงส์ลดารมภ์ , อาจารย์ ยม และท่านผู้อ่านทุกท่าน ดิฉัน นางสาว วสพร บุญสุข นักศึกษาปริญญาโท คณะเทคโนโลยีการเกษตร สาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง 

 เมื่อวันอาทิตย์ที่ 16 กันยายน 2550 ได้เรียนกับอาจารย์จีระ เป็นอาทิตย์สุดท้ายในการเรียนในรายวิชา การจัดการทรัพยากรมนุษย์ ในหัวข้อ ภาวะผู้นำในยุคที่โลกเปลี่ยน ได้คำถามว่า คุณลักษณะและบทบาทของ ผู้นำ (Leader) กับผู้บริหาร (Manager) แตกต่างกันอย่างไร ดิฉันมีความคิดเห็นเพิ่มเติม  3 ประเด็นดังนี้ ประเด็นที่หนึ่ง    

        ผู้นำ : มองคนภายในองค์กร คือ ผู้นำจะให้ความสำคัญของคนภายในองค์กร เน้นการพัฒนาให้คนในองค์กรมีความสามารถในการทำงานไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อที่จะทำให้งานสำเร็จตามเป้าหมาย     

       ผู้บริหาร  : มองคนภายนอกองค์กร คือ ผู้บริหารจะให้ความสำคัญของคนภายนอกองค์กร ตอบสนองความต้องการของคนภายนอกองค์กร เพื่อที่จะทำให้องค์กรประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย

ประเด็นที่สอง                            

        ผู้นำ : คุณสมบัติและความสามารถ คือ ผู้นำเป็นคุณสมบัติและความสามารถเฉพาะคน จะสร้างและพัฒนาคนให้ทำงาน เพื่อจะทำให้งานประสบความสำเร็จ

       ผู้บริหาร  :   ตำแหน่งหน้าที่ในการทำงาน   คือ เป็นตำแหน่งหน้าที่ในการทำงานที่จะบริหารจัดการคนในองค์กรทำงานให้ประสบความสำเร็จ

ประเด็นที่สาม   

ผู้นำ : สร้างแรงจูงใจ คือ จะสร้างแรงจูงใจให้คนในองค์กรทำงานได้อย่างเต็มความสามารถ และดึงศักยภาพของแต่ละคนออกมา ทำให้งานประสบความสำเร็จ และคนในองค์กรเกิดความภาคภูมิใจ มีความสุขในการทำงาน

ผู้บริหาร  :  สร้างความกดดัน   คือ จะสร้างความกดดันให้กับคนในองค์กรทำงาน เพื่อที่จะให้งานความประสบความสำเร็จ ทำให้คนในองค์กรเกิดความเครียด และไม่มีความสุขในการทำงาน           

ผู้นำ (Leader)

ผู้บริหาร (Manager)
เน้นที่คน เน้นที่ระบบ
Trust ควบคุม
ระยะยาว ระยะสั้น
What, Why When, How
มองอนาคต ขอบฟ้า/ภาพลักษณ์ กำไร/ขาดทุน ทุก 3 เดือน
เน้นนวัตกรรม จัดการให้สำเร็จ มีประสิทธิภาพ
Change Static
มองคนภายในองค์กร มองคนภายนอกองค์กร
คุณสมบัติและความสามารถ ตำแหน่งหน้าที่ในการทำงาน
สร้างแรงจูงใจ

สร้างความกดดัน          

   

       สุดท้ายนี้ดิฉันได้รับความรู้เกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรมนุษย์ ในเรื่องภาวะผู้นำในยุคที่โลกเปลี่ยน การที่จะเป็นผู้นำได้จะต้องมีการเรียนรู้ กล้าที่จะเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา  ขอขอบพระคุณอาจารย์จีระ เป็นอย่างสูง ที่ได้มาสอนให้ดิฉัน รู้จักการเรียนรู้แบบใหม่ สังคมการเรียนรู้ จากความจริง และดิฉันสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ไปสู่อนาคตที่ยั่งยืน…..นางสาววสพร บุญสุข  

                                   
          
                                                    

      กราบเรียน ท่าน อ. ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์,ทีม chiraacademy และท่านผู้อ่านทุกท่านค่ะ   

       ดิฉันนางสาวสุภาภรณ์  นำรุ่งโรจน์  นักศึกษาปริญญาโท คณะเทคโนโลยีการเกษตร สาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เมื่อวันที่ 16/9/07 ได้มีโอกาสได้เรียนวิชา HRM กับท่านอาจารย์จีระ ในหัวข้อเรื่อง ภาวะผู้นำในยุคที่โลกเปลี่ยน และได้เรียนกับอาจารย์ในวิชาHRM เป็นครั้งสุดท้ายแล้ว และอาจารย์ได้ให้นัศึกษาแสดงความคิดเห็นของ Leader และ manager ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร  ตามความคิดเห็นของดิฉันสามารถแยกได้เป็นประเด็น ดังนี้  
Leader  Manager
 - ผลประโยชน์ คือ ส่วนรวม   - ผลประโยชน์ คือ องค์กร
 - ใกล้ชิดหรือมีความเป็นกันเอง   - ห่างไกล หรือ เป็นทางการ
 - out put คือ ความภูมิใจ   - out put คือ ความสำเร็จ
 1.     - ผู้นำ (Leader) จะมองผลประโยชน์ คือส่วนรวม เป็นหลัก โดยไม่นึกถึงประโยชน์ส่วนตัว หรือมีความเสียสละเป็นอย่างมาก        -  ผู้บริหาร (Manager) จะมองผลประโยชน์ คือ องค์กร เป็นหลัก และทำตามหน้าที่ของตนเองให้ลุล่วงไป2.    - ผู้นำ (Leader) มีความใกล้ชิดสนิทสนม สร้างความเป็นกันเองกับสังคมรอบๆตัวได้ดี สามารถพบปะได้ตลอดเวลา- ผู้บริหาร (Manager) มีความห่างไกลกับลูกน้อง การติดต่อจะต้องเป็นขั้นเป็นตอนหรือพบปะกันเฉพาะตอนประชุมเท่านั้น 3.    - ผู้นำ (Leader) มองผลลัพธ์ที่ได้คือ ความภูมิใจในเรื่องของสิ่งที่ได้ทำขึ้นมาซึ่งอาจเป็นรูปธรรมหรือนามธรรม เช่น ความดี- ผู้บริหาร (Manager) มองผลลัพธ์ที่ได้คือ ความสำเร็จต่อองค์กรที่ได้เป็นกำไร และทำให้องค์กรเติบโตต่อไปได้ สรุปประเด็น ผู้นำสามารถเป็นได้ทุกคนและทุกตำแหน่ง ไม่ขึ้นกับการศึกษาแต่การที่จะเป็นผู้นำที่ดีหรือมีความโดดเด่นที่ชัดเจนของภาวะผู้นำนั้นหายากในปัจจุบัน โดยเฉพาะผู้นำด้าน food Science ตามที่อ. จีระได้กล่าวไว้ว่า ต้องมีคุณสมบัติดังนี้ เป็นผู้นำเชิงความคิด คือไม่ลอกเลียนแบบความคิดผู้อื่น,รู้ยุทธศาสตร์ของคู่แข่ง(รู้เขา-รู้เรา) , มีความรู้และรู้จริง เป็นต้น      สุดท้ายนี้ ดิฉันขอกราบขอบคุณท่าน ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ ที่ได้สละเวลาเพื่อมาถ่ายทอดความรู้และสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้กับนักศึกษาที่ลาดกระบังแห่งนี้  ซึ่งดิฉันจะนำความรู้และคำสั่งสอนของอาจารย์ไปใช้ประโยชน์ในการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้และนำทฤษฎีของอาจารย์ เช่น  4’L,8K’S, 3 วงกลม หรือ ASV ยึดเป็นเป้าหมายไปใช้ประโยชน์ในชีวิตของตนเอง ที่ต่อเนื่องและต่อยอดต่อไปค่ะ    

      เรียน อ.จีระ ,  ทีมงาน  Chira Academy และผู้อ่านทุกท่าน  ผม นายวรพจน์  สู่เสน  นักศึกษาปริญญาโท สาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร  คณะเทคโนโลยีการเกษตร  สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

     เมื่อวันที่ 16/9/50 ที่ผ่านมา ผมได้มีโอกาสเรียนกับอ.จีระ อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งวันนี้ถ้าตามปกติแล้วจะเป็น class สุดท้ายที่ อ.จีระจะมาสอนพวกผม ซึ่งหัวข้อที่เรียนกันวันนี้คือเรื่อง " ภาวะผู้นำในยุคที่โลกเปลี่ยน "  ความหมายของผู้นำ คือ ผู้ที่ทำให้คนอื่นเก่งและนำองค์กร (ทั้ง macro&micro ) ไปสู่ความสำเร็จ หรือหลีกเลี่ยงความล้มเหลว  อ.จีระได้สอนให้เห็นถึงความแตกต่างของผูนำ กับผู้จัดการว่าแตกต่างกันอย่างไรไว้ 7 ประการ ซึ่งพอทำให้ผมเห็นภาพได้ และอ.จีระได้ให้พวกผมต่อยอดความเข้าใจนี้ ลงใน blog เพื่อให้คนอื่นได้รับทราบด้วย ซึ่งผม พิจารณาแล้ว ได้สิ่งที่เพิ่มเติมดังนี้

     ผู้นำ                                        ผู้จัดการ

1.เน้นที่คน                               1.เน้นระบบ 

2.Trust                                     2.ควบคุม

3.ระยะยาว                                3.ระยะสั้น

4.What , Why                          4.When , How

5.มองอนาคต/ภาพลักษณ์       5.กำไร/ขาดทุน

6.เน้นนวัตกรรม                        6.จัดการให้สำเร็จ

7. Change                               7.Static

8.เสียสละ                                 8.ทำเพื่อผลประโยชน์

9.กล้าเสี่ยงกล้าตัดสินใจ          9.เน้นความปลอดภัย

10.วางแผน/ป้องกัน               10.แก้ปัญหาเฉพาะหน้า

     ข้อ 8. ผู้นำที่ดีต้องมีความเสียสละ ปรารถนาที่จะเห็นลูกน้องได้ดี ไม่ใช่ทำไปตามหน้าที่โดยมีเพียงผลประโยชน์เป็นตัวกำหนดเท่านั้น

     ข้อ 9. ผู้นำต้องมีความกล้าหาญ กล้าตัดสินใจ ไม่ใช่ทำไปเรื่อยๆตามปกติประจำวันไม่กล้าทำอะไรใหม่ๆ แต่การตัดสินใจที่ผู้นำทำนั้นย่อมต้องยืนอยู่บนหลักของเหตุผลและความถุกต้อง

     ข้อ 10. ผู้นำที่ดี จะมี vision ที่ดี มองการไกล วางแผนไว้ล่วงหน้า ป้องกันสิ่งต่างๆที่คิดว่าจะเป็นปัญหาไว้ และคิดหนทางแก้ไขไว้ก่อนที่ปัญหาจะเกิด ไม่ใช่ พอมีปัญหาก็เคลียร์กันเป็นเรื่องๆไปวันๆ

     ผู้นำเองก็มีผู้นำอยู่หลายประเภท เช่น ผู้นำทางการเมือง , ผู้นำทางธุรกิจ , ผู้นำทางทหาร เป็นต้น  ซึ่งผู้นำแต่ละประเภทนั้น ย่อมต้องการความสามารถที่โดดเด่น แตกต่างกันไป แต่อย่างไรก็ตามสิ่งหนึ่งที่ผมขอให้ผู้นำทุกประเภทมีเหมือนกัน คือ ศีลธรรม จริยธรรม เพียงแค่ ปรารถนาดีต่อผู้อื่น ละอายและเกรงกลัวต่อบาป เพียงเท่านี้ความวุ่นวายต่างๆคงไม่เกิดขึ้นทั้งในบ้านเมืองของเรา และโลกใบนี้

     ผมขออัญเชิญกระแสพระราชดำรัส ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช มากล่าว ซึ่งผมเห็นว่าเหมาะกับหัวข้อนี้มากคือ  " บ้านเมืองเรานั้น มีทั้งคนดีและคนไม่ดี การทำให้บ้านเมืองปกติสุขนั้น หาใช่การทำให้ทุกคนเป็นคนดี หากอยู่ที่การส่งเสริมคนดี ให้คนดีได้ปกครองบ้านเมือง และควบคุมคนไม่ดี ไม่ให้มีอำนาจไม่ให้ก่อความเดือนร้อนวุ่นวายได้ " ถ้าผมกล่าวผิดประการใดขออภัยด้วยนะครับ

     ท้ายสุดนี้ สิ่งที่อ.จีระได้ทิ้งให้กับพวกผมไว้ คือ "เบ็ดตกปลา" ซึ่งพวกผมจะใช้ได้ตลอดชีวิต นั้นคือการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดเวลา ผมขอขอบคุณ อ.จีระ และทีมงาน Chira Academy ทุกคน ที่เสียสละเวลาอันมีค่ามาสอนพวกผมจนจบ couse นี้ พวกผมจะนำ แนวความคิดในการเรียนรู้ที่ อ.จีระได้ถ่ายทอดไว้ มาพัฒนาตนเองและเพื่อเป็นการพัฒนาประเทศชาติต่อไป                    

                                                               ขอบคุณครับ

                                                                    วรพจน์ 

นายอานนท์ ร่มลำดวน
  • เรียน ศ.ดร.จีระหงส์  หงส์ลดารมณ์  พี่ๆทีมงาน Chira Academy และผู้ที่ติดตามอ่าน Blog ของพวกเรานักศึกษาป.โท ลาดกระบังทุกท่านสำหรับเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา(16 กันยายน 2550)เป็นวันปิดคอร์สสำหรับการเรียนในห้องเรียนในวิชา การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในปีนี้ซึ่งสาเหตุที่ผมกล่าวว่าเป็นการปิดคอร์สเฉพาะการเรียนในห้องเนื่องจากตลอดเวลาที่ผ่านในการเรียนทั้งคอร์สนั้น  ท่านอาจารย์จีระได้เปิดมุมมองใหม่ในการเรียนรู้  สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ให้กับพวกเรา เราพยามยามให้พวกเราพัฒนาอย่างต่อเนื่องที่ไม่จำกัดสถานที่และเวลา
  •  ในการเรียนวันนั้นท่านอาจารย์ให้กล่าวถึงเรื่อง  ภาวะผู้นำในยุคที่โลกเปลี่ยนและกล่าวถึงบุคคลิกที่ผู้นำควรมี  จากนั้นอาจารย์ให้ต่อยอดความคิดของอาจารย์ในเรื่องผู้นำและผู้จัดการต่างกันอย่างไร โดยอาจารย์ให้ศึกษาเพิ่มเติมจากหนังสือเรื่อง   The 8th HABIT  โดย Stephen R. Covey   กล่าวโดยสรุปว่า
  • 1.Be proactive ต้องเป็นฝ่ายเริ่มต้นทำก่อน         (อุปนิสัยของการเลือกตอบสนองความรับผิดชอบ)
  • 2.Begin with the end in mindเริ่มต้นด้วยจุดมุ่งหมายในใจ (อุปนิสัยของวิสัยทัศน์ มองภาพสุดท้ายที่จะเกิดก่อน)
  • 3. Put first things first ทำตามลำดับความสำคัญ                (อุปนิสัยของความซื่อสัตย์และวินัยในการปฏิบัติ)
  • 4. Think win / win คิดแบบชนะ / ชนะ                (อุปนิสัยของผลประโยชน์ร่วมกัน)
  • 5. Seek first to understand, then to be understood เข้าใจผู้อื่นก่อนจะให้ผู้อื่นเข้าใจเรา (อุปนิสัยของความเข้าใจซึ่งกันและกัน)
  • 6. Synergy ประสานพลัง  (อุปนิสัยของการร่วมมืออย่างสร้างสรรค์)
  • 7. PDCA ลับเลื่อยให้คม (อุปนิสัยของการเติมพลังชีวิต)
  • * 8. Find your voice หาเสียงของคุณให้เจอ แล้วก็ช่วยให้ผู้อื่นพบเสียงของเขา  (อุปนิสัยของการพัฒนาตนเอง และผู้อื่น)
  • โดยเฉพาะข้อสุดท้ายเราควรหาให้เจอก่อนที่จะเริ่มทำสิ่งอื่นเพื่อที่จะ"เปลี่ยนกรอบความคิด" (Paradigms Shift)   ในมุมมองของผมสิ่งที่แตกต่างกันคือ
ผู้นำ (Leader) ผู้บริหาร (Manager)
Empower Centralize
EQ IQ
Confident Ego
 
  • กล่าวคือ
  • 1.ผู้นำจะมีการกระจายอำนาจ (  Empower ) ได้ดีกว่าผู้บริหารทั่วไปซึ่งมักจะยึดถือตนเองเป็นศูนย์กลางในการกระทำทุกอย่าง ( Centralize ) ซึ่งการมอบอำนาจนั้น ถ้ามีเป็นเพียงในแบบฟอร์ม แต่ไม่ได้เป็นการ มอบอำนาจอย่างแท้จริงและการจะเดินหน้าแบบ Alignment สอดคล้องกันก็ไม่เกิดขึ้นจริงก็จะทำให้เกิดMisalignment ขึ้นได้
  • 2.EQ  ( Emotional Quotient ) คือ ระดับความฉลาดด้านอารมณ์ ซึ่งหมายถึงเรื่องบุคลิกภาพและการควบคุมตนเองเป็นส่วนใหญ่ และ  IQ  ( Intelligence Quotient ) หรือระดับสติปัญญาด้านความรู้ความสามารถ  ซึ่งในการเป็นผู้นำในยุคปัจจุบันไม่ใช่แต่มีความสามารถทางด้านตรรกะเพียงอย่างเดียวควรมีความสามารถในด้านการควบคุมตนเองให้ดีด้วยและสิ่งที่กำลังให้ความสำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ MQ ย่อมาจาก Moral Quotient หมายถึงระดับความคิดด้านศีลธรรมหรือระดับของศีลธรรมในใจคนนั่นเองซึ่งควรที่จะมีในทุกระดับ  ซึ่งในการเป็นผู้นำในฝัน ( Ideal  Leader ) นั้นควรต้องมี ทั้ง IQ/EQ/MQ ที่พร้อมครบ
  • 3.ความเชื่อมั่นในตนเอง ( Confident )  กับการยึดมั่นในตนเอง ( Ego ) นั้นต่างกันผู้นำที่ดีต้องมี   ความมั่นใจในตัวเองแต่ไม่ควรมี Ego ซึ่งมักจะพบเห็นได้ในผู้บริหารทั่วไปโดยเฉพาะผู้บริหารรุ่นใหม่ๆที่มักมี Ego ในตนเองจนเกินไปไม่ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ซึ่งในการเป็นผู้นำที่ดี นั้นต้องมีความเชื่อมั่นในตนเองและต้องสามารถยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่นอีกด้วย
  •  ซึ่งหลังจากการเรียนในวันนั้นทางอาจารย์จีระได้กรุณาเป็นเจ้ามือเลี้ยงพวกเราทุกคนในมื้อเที่ยงทำให้เราทุกคนได้รับประทานอาหารร่วมกันอย่างเอร็ดอร่อย  แต่การร่มมือกันของเรายังคงไม่หยุดเพียงแค่นี้ยังมีงานที่เราต้องดำเนินร่วมกันอีกคือร้านผักที่วังน้ำเขียว  เพื่อสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรและเป็นการฝึกฝีมือในการบริหารงานของพวกเรา       ขอขอบพระคุณอาจารย์จีระมากครับที่ได้มาถ่ายทอดความรู้และสิ่งต่างๆมากมายให้กับพวกเรา  และขอขอบคุณพี่ๆทีมงาน Chira Academy ( พี่นะ กับ พี่เอ้ )  ที่มาคอยช่วยเหลือประสานงานทุกอย่างได้เป็นไปอย่างเรียบร้อย 
  •  สุดท้ายถ้ามีใครถามว่าเรียนคอร์สนี้แล้วได้อะไร  ผมคงตอบได้เพียงว่าได้เบ็ดตกปลา เบ็ดตกปลาที่จะทำให้เราก้าวไปเป็นบุคคลากรทางด้านทรัพยากรที่มีคุณภาพในวันข้างหน้าและมอบเบ็ดตกปลาให้กับคนรุ่นถัดไป
   
เรียน ท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และท่านผู้อ่านทุกท่าน ดิฉันนางสาว อโณทัย วัฒนสุวรรณ  นักศึกษาปริญญาโท คณะเทคโนโลยีการเกษตร สาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ได้มีโอกาสได้เรียนรู้เรื่อง ภาวะผู้นำในยุคที่โลกเปลี่ยนแปลงในวันอาทิตย์ที่ 16 กันยายน 2550  ซึ่งท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ได้เป็นผู้ที่ให้ความรู้และความเข้าใจ โดยจะขอสรุปดังนี้ ผู้นำ หรือ Leadership มีอยู่หลายชนิดพอจะแบ่งเป็น 4 ประเภท ได้ดังนี้1.Trust / Authority คือผู้นำที่เป็นที่ยอมรับและไว้วางใจของผู้อื่น 2.Charisma คือ ผู้นำที่มีบุคลิกภาพที่เป็นที่ยอมรับและนับถือ3.Situational คือ ผู้นำที่ขึ้นกับสถานการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น(ในทุกสถานการณ์จำมีผู้นำเกิดขึ้นเสมอ)4.Quiet Leader คือ ผู้นำในเชิงความคิด ซึ่งผู้นำ แตกต่างจากผู้บริหาร ด้วยสาเหตุหลายประการ ซึ่งบางท่านอาจมองว่า ผู้นำก็คือผู้บริหาร หรือ ผู้บริหารก็คือผู้นำ ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ผู้นำอาจจะไม่ใช่ผู้บริหาร หรือ ผู้บริหารอาจจะไม่มีความสามารถในการเป็นผู้นำก็ย่อมได้  ความแตกต่างของผู้นำและผู้บริหาร มีดังนี้
ผู้นำ ผู้บริหาร
เน้นที่ คน เน้น ระบบ
Trust ควบคุม
ระยะยาว ระยะสั้น
What Why When How
มองอนาคต ขอบฟ้า / ภาพลักษณ์ กำไร / ขาดทุน ทุก 3 เดือน
เน้นนวัตกรรม จัดการให้สำเร็จ มีประสิทธิภาพ
Change Static
ใช้จิตวิทยา ใช้ทฤษฎี
คิดและสนใจในเรื่องเล็ก คิดและสนใจแต่เรื่องใหญ่
เน้น พฤติกรรม เน้น นิติกรรม
 ในส่วนที่เพิ่มเติม 3 รายการ(อักษรสีแดง) ที่แสดงความแตกต่างระหว่างผู้นำและผู้บริหาร ได้ดังนี้รายการที่ 1 :ผู้นำ-ใช้จิตวิทยา หมายถึง การที่ผู้นำจะทำอะไรก็ตามโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกี่ยวข้องกับ คน จะต้องมีวิธีการที่เหมาะสมต่อเหตุการณ์นั้นๆเพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายรวดเร็วและง่ายขึ้น ผู้บริหาร-ใช้ทฤษฎี หมายถึง การที่ผู้บริหารจะสั่งการหรือต้องการให้ผู้ใต้บังคับบัญชาดำเนินการเรื่องใดเรื่องหนึ่งมักจะยกนำเอาทฤษฎีหรือหลักการมาใช้โดยไม่มีการพิจารณาถึงความเหมาะสมต่อสถานการณ์ต่างๆ ซึ่งในบางครั้งทฤษฎีหรือหลักการเหล่านั้นไม่สามารถนำไปปฏิบัติจริงได้ ณ สถานการณ์นั้นๆ รายการที่ 2 :ผู้นำ-คิดและสนใจในเรื่องเล็ก หมายถึง ผู้นำโดยมากจะมองเรื่องเล็กๆที่เกี่ยวข้องหรือจะมีผลต่อเรื่องใหญ่ที่กำลังจะดำเนินการ เพราะหากไม่เคลียร์หรือจัดการกับเรื่องเล็กให้ลงตัวก่อนแล้วอาจทำให้มีโอกาสเกิดความผิดพลาดในระหว่างการดำเนินการเรื่องใหญ่ได้ ซึ่งอาจทำให้แก้ไขไม่ทัน จนทำให้เกิดความเสียหายขึ้นได้ผู้บริหาร-คิดและสนใจแต่เรื่องใหญ่ หมายถึง ผู้บริหารมักจะสั่งการและติดตามผลงานเฉพาะเรื่องใหญ่ ซึ่งในเวลาที่มีปัญหาเกิดขึ้น จะทำให้ผู้บริหารเหล่านั้นไม่สามารถทราบถึงต้นเหตุของปัญหาต่างๆ และไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้(แก้ไม่ถูกจุด) ซึ่งในบางครั้งอาจเป็นเรื่องเล็กน้อย คล้ายเส้นผมบังภูเขาได้ รายการที่ 3 :ผู้นำ-เน้น พฤติกรรม หมายถึง ผู้นำโดยมากแล้วจะสนใจในการดำเนินการหรือความเป็นมาเป็นไปที่เกิดขึ้นมากกว่า จึงสามารถคาดเดาหรือทำนายเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นได้ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด ผู้บริหาร-เน้น นิติกรรม หมายถึง ผู้บริหารโดยมากจะยึดหลักการที่มีการร่างไว้ เช่น กฎหมาย ข้อกำหนดต่างๆ ซึ่งหากไม่สามารถประยุกต์ให้เหมาะสมแล้วย่อมเหมือนสายป่านที่ตึงเกินไปจนอาจขาดได้  ทั้งนี้เนื่องจากนิยามของผู้นำ คือ ผู้ที่ทำให้ผู้อื่นมีความสามารถมากขึ้นและนำองค์กรไปสูความสำเร็จหรือหลีกเลี่ยงความล้มเหลวได้  ผู้นำในที่นี้อาจเป็นใครก็ได้ซึ่งมีคุณสมบัติในการเป็นผู้นำดังที่กล่าวมาในข้างต้น ดังนั้นหากผู้บริหารท่านใดที่มีความสามารถในการเป็นผู้นำที่ดีด้วยแล้วนั้นย่อมจะทำให้องค์กรไปสู่ความสำเร็จอย่างแน่นอน  

ตัวอย่างของผู้นำที่ดีทีสุดที่นึกถึง  ได้แก่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ภูมิพลอดุลยเดช(รัชกาลที่9) ซึ่งหลายๆท่านคงจะยอมรับในพระปรีชาสามารถในทุกๆด้านซึ่งไม่มีผู้ใดที่จะปฏิเสธได้

 ส่วนผู้นำทางด้าน food science ทีดีนั้น ควรมีลักษณะที่เพิ่มจากผู้นำด้านอื่นๆคือ ควรจะต้องมีความรู้ในด้านอาหารและวิทยาศาสตร์เพิ่มเติมด้วยเพราะอาหารมีอายุสั้นและเน่าเสียได้ง่าย(สามารถทำให้เกิดความไม่ปลอดภัยได้) หากไม่อยู่ในสภาวะที่เหมาะสม และหากมีการจัดการที่มากเกินไป เช่นการให้ความร้อนสูงมาก ย่อมจะเป็นผลทำให้คุณค่าทางโภชนาการที่ดีสูญสลายไปอย่างน่าเสียดายเช่นกัน ดังนั้นในผู้นำด้าน food science จึงต้องลักษณะ การทำงานที่ว่องไว รวดเร็ว ประกอบด้วย  สุดท้ายสุดนี้ ต้องขอขอบคุณ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ , อาจารย์ท่านอื่นๆ ทุกท่านและ ทีมงาน ที่ได้เสียสละเวลาอันมีค่าเข้ามาให้ความรู้กับพวกเราด้วยดีตลอดเวลา

รียน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และทีมงานทุกท่าน

กระผม นาย พัฒนา ปลอดภัยงาม นักศึกษาปริญญาโท สาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

เรื่องของความแตกต่างระหว่างผู้นำกับผู้บริหาร

ตามที่อาจารย์ได้ให้ความนั้นเป็นประโยชน์ต่อการทำงานเป็นอย่างยิ่ง และได้ให้เสนอความแตกต่างของผู้นำกับผู้บริหารนั้น มีดังนี้

   ผู้บริหาร                           ผู้นำ

- หน้าที่                            - สถานการณ์

- ผลประโยชน์                - อุดมการณ์

- ทำงานตามระบบ         - มีความคิดสร้างสรรค์   

ผู้บริหาร

นั้นเป็นผู้ที่มีหน้าที่ต้องรับผิดชอบตามหน้าที่การที่ได้รับมอบหมาย และได้รับผลประโยชน์จากการทำงานนั้น ๆ โดยจะได้รับค่าตอบเป็นเงินเดือนหรือผลกำไร และงานต่างๆที่ทำนั้นต้องเป็นไปตามระบบที่ทำมาไม่สามารถเปลี่ยนแปลงหรือเปลี่ยนแปลงได้ไม่มาก

ผู้นำ

นั้นอาจเกิดขึ้นจากสถานการณ์หรือสภาพที่ต้องมีคนเป็นคนริเริ่ม โดยความสมัครใจ โดยในงานที่ทำนั้นต้องมีอุดมการณ์ที่แน่วแน่และตั้งใจจริงที่จะทำงานนั้น ให้สำเร็จ และเป็นผู้นำหลังการปฏิบัติการนั้น เช่น หาตลาดใหม่และผูกขาดการเป็นผู้นำทางเศรษฐกิจในตลาดนั้นๆ มีความคิดที่แปลกใหม่ก้าวนำคนอื่น ๆ โดยใช้ความคิดสร้างสรรค์ เพื่อเน้นความแตกต่าง

ท้ายนี้ ขอขอบพระคุณท่านศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และทีมงานทุกท่านที่มาให้ความรู้ในช่วงภาคการศึกษาที่ผ่านมา สร้างความคิดในมุมมองใหม่ ขอบคุณมากครับ

นางสาวนิรชร ไชยการณ์
กราบเรียนศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ ทีมงาน chira academy และท่านผู้อ่านทุกท่าน ดิฉันนางสาวนิรชร ไชยการณ์  นักศึกษาปริญญาโท สาขาวิชาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง         จากการที่ดิฉันได้เรียนในวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ เรื่องภาวะผู้นำในยุคที่เปลี่ยนแปลง จึงได้แนวคิดดังนี้        ข้อแตกต่างผู้นำและผู้บริหาร
ผู้นำ ผู้บริหาร
1. ให้โอกาสคนแสดงความสามารถตามความคิด2. ยอมรับความผิดพลาดของตนเองโดยการเรียนรู้จากผู้อื่น ทั้งจากผู้บังคับบัญชา เพื่อน และใต้บังคับบัญชา และปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น3. รู้จักที่ยอมรับความผิดพลาดของผู้อื่น & ช่วยแก้ไขปัญหา พร้อมทั้งที่ช่วยกำหนดแนวทางพัฒนาการทำงานเพื่อลดความผิดพลาดที่จะเกิดขึ้นได้อีกในอนาคต4. เน้นพัฒนาตนเองให้ได้ดีที่สุด ก่อนจะพัฒนาผู้อื่น 1. เน้นปฏิบัติตามคำสั่ง 2. ไม่ยอมรับความผิดพลาดของตนเอง   3. ตำหนิติเตียน หรืออาจใช้บทลงโทษ ซึ่งเป็นการบั่นทอนกำลังใจผู้ร่วมงาน และอาจทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลงด้วย 4. เน้นพัฒนาผู้อื่นและสิ่งรอบตัวมากกว่าที่พัฒนาตนเองให้มีความรู้ความสามารถมากพอที่จะพัฒนาผู้อื่นได้
         เนื่องจากการเรียนในครั้งนี้ดิฉันได้เรียนเป็นครั้งสุดท้าย ซึ่งดิฉันขอขอบพระคุณอาจารย์เป็นอย่างสูงที่ได้ให้ความรู้และประสบการณ์ให้แก่ดิฉัน และดิฉันจะนำความรู้ที่ได้มานี้พัฒนาตนเองและสังคมต่อไป
กราบเรียน อาจารย์จีระ หงส์ลดารมภ์ และท่านผู้อ่านทุกท่าน         ดิฉัน นางสาว เริงหทัย สำราญ นักศึกษาปริญญาโท สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เมื่อวันอาทิตย์ที่ 16 กันยายน 50  ได้มีโอกาสเรียนวิชา การจัดการทรัพยากรมนุษย์ ในหัวข้อเรื่อง ภาวะผู้นำในยุคที่โลกเปลี่ยนแปลงโดยในครั้งนี้ท่านอาจารย์ จีระ ได้ให้โอกาสในการบรรยายด้วยตัวเอง ซึ่งได้รับความรู้และทราบถึงความแตกต่างระหว่างผู้นำและผู้บริหาร โดยในท้ายชั่วโมง อาจารย์ได้ฝากประเด็นให้นักศึกษา เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างผู้นำและผู้บริหารเพิ่มเติม โดยให้ยกตัวอย่าง 3 ประเด็น ซึ่งในมุมมองของดิฉันมีสิ่งที่แตกต่าง ดังนี้         
ผู้นำ (Leader) ผู้บริหาร (Manager)
เน้นที่คน เน้นที่ระบบ
Trust ควบคุม
ระยะยาว ระยะสั้น
What, Why When, How
มองอนาคต ขอบฟ้า/ภาพลักษณ์ กำไร/ขาดทุน ทุก 3 เดือน
เน้นนวัตกรรม จัดการให้สำเร็จ มีประสิทธิภาพ
Change Static
Ask Tells
Opens Suggestions Knows the answers
Followers Subordinates
ข้อ 1 การแสดงออกที่เป็นทางการของ ผู้จัดการ ซึ่งจะถนัดแต่การสั่งหรือชี้ให้ทำตาม (Tells) ในขณะที่ ผู้นำ จะแสดงออกในเชิงของการขอร้อง การสอบถาม (Asks) แทนการสั่ง ทั้งๆ ที่ในตำแหน่งหน้าที่ของการเป็นผู้นำ หรือผู้จัดการ สามารถที่จะสั่งได้ข้อ 2 ผู้จัดการ นั้น เขาจะมีคำตอบอยู่ในใจแล้วในทุกเรื่อง (Knows the answers) จึงไม่จำเป็นที่ลูกน้องจะต้องแจ้งข้อมูล แต่สำหรับ ผู้นำ นั้นจะเปิดโอกาสให้ผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบในงานต่างๆ ให้ข้อเสนอแนะได้ (Opens suggestions) เพื่อการพัฒนาทั้งงานและผู้ตามข้อ 3 ผู้จัดการ จะมีแต่ผู้ใต้บังคับบัญชา หรือมีลูกน้อง (Subordinates) แห่แหนซึ่งเป็นความพอใจหรือภูมิใจของผู้จัดการ แต่สำหรับ ผู้นำ นั้นจะมีผู้ตาม (Followers) เป็นผู้ตามที่เป็นคู่คิดให้คำปรึกษาหารือกันได้ ไม่ใช่ตามเป็นฝูง มีสมอง แต่คิดเองไม่เป็น คอยแต่ทำตามคำสั่ง        สุดท้ายนี้ ต้องขอขอบพระคุณ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ , อาจารย์ทุกท่าน และ ทีมงาน ที่ได้เสียสละเวลา มาให้ความรู้ รวมทั้งถ่ายทอดประสบการณ์ต่างๆ ให้กับพวกเรา พร้อมทั้งให้อุปกรณ์ ที่มีค่า นั่นคือ เบ็ดตกปลา เพื่อให้เราสามารถสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ และเรียนรู้ตลอดชีวิต อย่างมีประสิทธิภาพ ต่อไป ขอขอบพระคุณคะ
นางสาวศศิวิมล ทับเวช
กราบเรียนศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ ทีมงานchira academy และท่านผู้อ่านทุกท่าน ดิฉันนางสาวศศิวิมล ทับเวช นักศึกษาปริญญาโท สาขาวิชาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

       

เนื่องจากในวันอาทิตย์ที่ 16 กันยายน 2550 ดิฉันได้เรียนวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ เรื่องภาวะผู้นำในยุคที่โลกเปลี่ยนแปลง และได้แลกเปลี่ยนความรู้ แสดงความคิดเห็นในด้านสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้          ตารางแสดงความแตกต่างผู้นำและผู้บริหาร
ผู้นำ ผู้บริหาร
1.    คุณธรรม2.    เป้าหมายที่ชัดเจน3.    วิสัยทัศน์ที่กว้าง4.    ลงมือปฏิบัติก่อนผู้อื่น 1. เน้น output & productivity เป็นหลัก2. เป้าหมายไม่แน่นอนขึ้นอยู่ผลตอบแทน3. วิสัยทัศน์ไม่ครอบคลุมกับเป้าหมาย4. รอเวลาเมื่อมาถึง
 

       

จากตารางแสดงให้เห็นว่า การที่จะเป็นผู้นำจะมีความยั่งยืนกว่าเป็นผู้จัดการ เพราะการที่จะทำสิ่งใดนั้นไม่ใช่เป็นแค่การตัดสินใจชั่วคราว เราจะต้องมองไปถึงอนาคต และนำข้อมูลที่ผ่านมาวิเคราะห์ จึงจะได้การตัดสินใจที่ถูกต้องและเหมาะสม

       

ดังนั้นในการพัฒนาตนเองและองค์กร ผู้นำจึงเป็นบุคคลสำคัญที่จะทำให้เกิดแรงขับเคลื่อนของกิจกรรมทุกกิจกรรมในองค์กรนั้นๆ ซึ่งถ้าองค์กรใดมีผู้นำที่มีความสามารถก็จะทำให้องค์นั้นน่าอยู่และพร้อมที่จะเติบโตได้ตลอดเวลา ในทางกลับกันถ้าองค์กรไม่มีผู้นำก็จะทำให้องค์กรนั้นหยุดชะงัก และไม่สามารถเติบโตได้

      

  ในปัจจุบันบุคคลที่เป็นผู้นำในประเทศไทยนั้นหายากมาก ซึ่งก็จะมีแต่บุคคลรุ่นเก่าๆ ซึ่งบุคคลรุ่นใหม่ยังไม่ค่อยเจอเท่าไหร่นัก ดังนั้นถึงเวลาแล้วที่จะเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม เพื่อพัฒนาประเทศให้ดียิ่งขึ้น

           

 สุดท้ายนี้ดิฉันขอขอบพระคุณอาจารย์เป็นอย่างสูง ที่ได้ให้ทั้งความรู้และประสบการณ์ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นประโยชน์ที่ทำให้ดิฉันได้นำไปใช้พัฒนาตัวเองและสังคมให้ดีขึ้น 

   เรียน ศ.ดร.จีระหงส์  หงส์ลดารมณ์  ทีมงาน Chira Academy และผู้ที่ติดตามอ่าน Blog ของพวกเรานักศึกษาป.โท ลาดกระบังทุกท่านสำหรับวันอาทิตย์ที่ 16 กันยายน 2550 เป็นวันปิดคอร์สการเรียนในวิชา การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ อาจารย์จีระได้สร้างความคิดใหม่ให้กับผมท่านได้กระตุ้นให้เกิดความอยากเรียนรู้  ทำให้เกิดการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ให้กับพวกเรา และหลังจากที่เราได้มีเบ็ดตกปลาที่จะใช้ในการตกปลา ก็คือความรู้จากทะเลที่กว้างใหญ่แล้วเรายังต้องปลูกฝังให้ผู้อื่นในสังคมของเราได้เกิดความอยากเรียนรู้ ใฝ่หาความรู้เพื่อพัฒนาตัวเองและพัฒนาชุมชนและพัฒนาประเทศชาติต่อไป

    ในชั่วโมงเรียนอาจารย์จีระได้กล่าวถึงเรื่อง  “ภาวะผู้นำในยุคที่โลกเปลี่ยน และสิ่งที่สมควรมีในตัวผู้นำในทุกระดับ และยังได้ให้คิดว่าจาก 7 ข้อที่อาจารย์ได้ยกตัวอย่างสมควรจะเพิ่มรายละเอียดส่วนใดเพิ่มเติมลงไปโดยให้ศึกษาจากหนังสือเรื่อง   The 8th HABIT  โดยมี Stephen R. Covey  เป็นผู้เขียน สิ่งที่ผมคิดเพิ่มเติมหลังจากการหาข้อมูลมีดังนี้

ผู้นำ (Leadership)

ผู้บริหาร (Manager)
1. ทุกคนเป็นศูนย์กระจายความสามารถ 1. ตัวเองเป็นศูนย์กลาง
2. เข้าใจ-เข้าถึง 2. เรื่องงานเท่านั้น
3. กล้าคิดกล้าทำเพื่อสิ่งที่ดีกว่า 3. เชื่องช้าไม่กล้าทำหากไม่ใช่สิ่งที่เคยทำ

 

ซึ่งสามารถอธิบายได้ดังนี้1.    ผู้บริหารมักจะใช้ความมีอำนาจสั่งการยึดถือว่าตนเองได้รับมอบหมายงาน จึงมักใช้ความคิดตนเองในการตัดสินใจ แต่ผู้นำย่อมเห็นความสามารถของทุกคนในทีมงาน ทุกคนสามารถทำได้หากมีโอกาสและการได้รับคำแนะนำที่ดีถูกทิศถูกทางเพราะจะทำให้งานมีความคล่องตัวรวดเร็ว2.    ผู้บริหารมักจะใช้เวลาแต่ในเวลางานในการพูดคุยสั่งงานควบคุมเวลาการส่งงาน จึงไม่เข้าใจในปัญหาเรื่องส่วนตัวความคับข้องใจของลูกน้อง การทำงานจึงเป็นไปแบบความเกรงกลัว ไม่ได้คุยปัญหาที่ทำให้มาตรฐานการทำงานไม่ดี ส่วนผู้นำจะใช้เวลาในการเข้าถึงจิตใจของลูกน้อง สอบถามปัญหาพูดคุยทำความรู้จัก ให้เกิดบรรยากาศที่สบายในการทำงาน เข้าใจซึ่งกันและกันทำให้ปัญหาและอุปสรรคต่างๆ สามารถแก้ได้ถูกจุด3.    มองหาโอกาสจากข้อมูลที่มี และคว้าอย่างรวดเร็ว เพื่อความพัฒนาขององค์กร นี่คือผู้นำอีกทั้งยังต้องปฏิบัติตัวเป็นแบบอย่างที่ดีแก่คนรุ่นหลัง  ส่วนผู้บริหารมักจะรีรอการก้าวไปหาโอกาสใหม่ๆเพราะไม่ตรงกับสิ่งที่เคยทำ ระบบเดิม เลยใช้เวลาในการคิดตัดสินใจช้ามักทำให้เสียโอกาส   สุดท้ายนี้ขอขอบคุณที่อาจารย์จีระ อาจารย์ทุกๆท่านและทีมงาน chira academy ที่ได้ให้ความรู้ สิ่งที่เรามองข้าม แต่สำคัญในการทำให้ตัวเราพัฒนา ให้ความรู้เพิ่ม ตามทันโลกที่หมุนเร็วอย่างเช่นปัจจุบัน อาจารย์จีระยังสอนให้รู้จักให้สร้างการพัฒนาทางความคิดแก่ผู้คนอื่นในประเทศไทยให้มองเห็นความสำคัญของการหาความรู้และนำความรู้ที่มีมาใช้ให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน ผมจะนำความรู้ที่ได้จากอาจารย์ทุกท่านมาใช้ในการพัฒนาตัวเอง และผู้คนรอบข้างในสังคมครับ

เรียน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์, อาจารย์ทุกท่านและผู้ติดตามอ่าน Blog นี้ทุกท่าน ครับ

ผมนายปริญญา  รักพรหม นักศึกษา ป.โท สาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

 

จากการเรียนเมื่อวันอาทิตย์ที่ 16 กันยายน 2550 ที่ผ่านมา ในเรื่อง ภาวะผู้นำในยุคที่โลกเปลี่ยนซึ่งครั้งนี้ก็เป็นครั้งสุดท้ายที่อาจารย์ได้มาถ่ายทอดวิชาให้ความรู้เองก็เป็นเรื่องที่น่าสนใจและเป็นเรื่องที่ปัจจุบันเป็นสิ่งที่หลายๆ หน่วยงาน หลายๆ องค์กรกำลังค้นหาและบ่มเพาะกันอยู่ สำหรับประเด็นที่อาจารย์ให้ เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างผู้นำและผู้บริหารเพิ่มเติม โดยให้ยกตัวอย่าง 3 ประเด็น ในมุมมองของผมคิดว่าน่าจะมีเพิ่มเติม คือ         
ผู้นำ ผู้บริหาร
เน้นที่คน เน้นที่ระบบ
Trust ควบคุม
ระยะยาว ระยะสั้น
What, Why When, How
มองอนาคต ขอบฟ้า/ภาพลักษณ์ กำไร/ขาดทุน ทุก 3 เดือน
เน้นนวัตกรรม จัดการให้สำเร็จ มีประสิทธิภาพ
Change Static
เป็นโดยคุณสมบัติเฉพาะตัว เป็นโดยตำแหน่งหน้าที่
มองภาพกว้าง เห็นในสิ่งที่คนอื่นมองไม่เห็น จำกัดอยู่เฉพาะหน้าที่ที่ต้องทำ
เป็นผู้ชี้นำ เป็นผู้ออกคำสั่ง
 

จากที่เพิ่มเติมเข้าไป 3 ข้อ อธิบายได้ว่า

ข้อ1 นั้นบ่งบอกได้ว่า ผู้นำนั้นเกิดจากความสามารถ คุณลักษณะเด่นเฉพาะตัว ที่มีอยู่ในสายเลือด ขณะที่ ผู้บริหาร เป็นเพียงบทบาทหน้าที่ที่ได้รับจากองค์กร

 

ข้อ2 ผู้นำจะมีมุมมองที่กว้างกว่ามักจะเห็นในสิ่งที่คนอื่นมองข้ามและไม่คาดคิดว่าจะเป็นเรื่องที่สำคัญต่อองค์กร ขณะที่ผู้บริหารจะมีมุมมองที่แคบลงมากกว่าคือจะถูกจำกัดด้วยหน้าที่ที่ได้รับจากองค์กร เช่น จะต้องทำกำไรเพิ่มขึ้นทุกๆ เดือน ลดต้นทุนการผลิตให้ได้ 10% จากเดิม ของปีที่ผ่านมา เป็นต้น

ข้อ3 ผู้นำมักจะเป็นผู้ชี้นำแนวทางหรือวิถีทางที่ดีที่สุดให้กับองค์กรซึ่งจะต่างกับผู้บริหารที่เน้นไปที่การออกคำสั่งว่าจะต้อง จะต้อง จะต้อง...ทำให้ได้ตามที่วางแผนไว้

ดังนั้น ทั้ง 3 ข้อ ที่ผมเพิ่มเติมเข้ามาคิดว่าน่าจะช่วยชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างของผู้นำและผู้บริหารได้ ถึงแม้ในบางครั้งคนส่วนใหญ่อาจจะมองว่าทั้งสองอย่างมีจะความคล้ายคลึงแต่ถ้าพิจารณาดีๆ ก็จะเห็นถึงความแตกต่างที่แอบแฝงอยู่

ท้ายนี้ ผมก็ต้องขอขอบพระคุณ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์, อาจารย์ทุกท่าน และ พี่ๆ ทีมงาน ที่ได้เสียสละเวลามาให้ความรู้และถ่ายทอดประสบการณ์ต่างๆ ให้กับพวกเรา ถึงแม้จะเป็นครั้งสุดท้ายที่ได้เรียนกับอาจารย์แต่ก็จะยังติดตามผลงานและ Blog ของ chiraacademy ต่อไปครับ
กราบเรียน อาจารย์จีระ หงส์ลดารมภ์ และท่านผู้อ่านทุกท่าน ดิฉัน นางสาวกัญญารัตน์  ลาภเดโช นักศึกษาปริญญาโท สาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เมื่อวันอาทิตย์ที่ 16 กันยายน 2550  ดิฉันได้มีโอกาสเรียนกับท่านอาจารย์จีระ ในหัวข้อเรื่องภาวะผู้นำในยุคที่โลกเปลี่ยนแปลงโดยในครั้งนี้ท่านอาจารย์ได้ฝากประเด็นให้นักศึกษา เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างผู้นำและผู้บริหารเพิ่มเติม โดยให้ยกตัวอย่าง 3 ประเด็น ซึ่งในมุมมองของดิฉันมีสิ่งที่แตกต่าง ดังนี้              ผู้นำ                                                              ผู้บริหารความสำเร็จที่ทำเป็นเรื่องส่วนรวม               ความสำเร็จที่ทำเป็นความสามารถส่วนตัวมีความยืดหยุ่น                                       ต้องเป็นไปตามหลักการรู้จักสร้างอำนาจภายในองค์กร                             ใช้อำนาจไม่เหมาะต่อสถานการณ์และใช้ในทางที่ควร 
  • ผู้นำเมื่อทำสิ่งใดสำเร็จแล้วนั้นจะมองความสำเร็จที่ได้ไม่ใช่แค่ตัวเองและมองไปถึงคนอื่นๆในองค์กรที่ร่วมกันทำให้ประสบความสำเร็จ
  • ผู้นำมีความยืดหยุ่นด้านการตัดสินใจหรือการแก้ไขปัญหา ไม่ยึดหลักการที่ตายตัว  มีกลยุทธ์ในการเจรจาต่อรอง  หรือแม้การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งภายในองค์กร
  • ผู้นำรู้จักใช้และสร้างอำนาจภายในองค์กร
  สุดท้ายนี้ต้องขอขอบพระคุณ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ,อาจารย์ทุกท่านและ ทีมงาน ที่ได้เสียสละเวลา มาให้ความรู้ รวมทั้งถ่ายทอดประสบการณ์ต่างๆ ให้กับพวกเรา พร้อมทั้งให้อุปกรณ์ที่มีค่าคือ เบ็ดตกปลา เพื่อให้เราสามารถสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ และเรียนรู้ตลอดชีวิต อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
เรียนท่านศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์  ท่านอาจารย์ผู้ช่วยสอนทุกท่านท่านผู้อ่าน  และนศ.ปริญญาโทสาขาบริหารธุรกิจและอุตสาหกรรมเกษตรทุกท่าน ดิฉันน.ส.สุพิชฌาย์  หนูขาว  นักศึกษา สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าลาดกระบัง  คณะเทคโนโลยีการเกษตร  สาขาบริหารธุรกิจและอุตสาหกรรมการเกษตรจากเมื่อวันที่  16  ก.ย.  2550  ได้ศึกษาและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันกับท่านอาจารย์ จีระ ในหัวข้อเรื่องภาวะผู้นำในยุคที่โลกเปลี่ยนและอาจารย์ให้นักศึกษา  เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างผู้นำและผู้บริหารเป็นอย่างไร ?ความแตกต่างระหว่างผู้นำกับผู้บริหารมีดังนี้  
ผู้นำ (Leader) ผู้บริหาร (Manager)
เน้นที่คน เน้นที่ระบบ
Trust ควบคุม
ระยะยาว ระยะสั้น
What, Why When, How
มองอนาคต ขอบฟ้า/ภาพลักษณ์ กำไร/ขาดทุน ทุก 3 เดือน
เน้นนวัตกรรม จัดการให้สำเร็จ มีประสิทธิภาพ

ผู้นำ  ( leader )  ในปัจจุบันมีการพูดถึงกันอยู่มากมาย  เช่น ผู้นำประเทศ  ผู้นำทางการเมือง  ผุ้นำทางทหาร เป็นต้น  แต่ละตำแหน่งหน้าที่ล้วนแล้วแต่จะต้องมีคุณสมบัติทั่ว ๆไป คือ  ผู้นำจะต้องมีบุคลิกที่น่าเชื่อถือเป็นที่ไว้วางใจ  มีความสมเหตุสมผล เป็นกันเอง เน้นนำในเชิงความคิด  ริเริ่มพัฒนาคนเป็นหลัก  มีทักษะในการถ่ายทอดความรู้  การปลูกผังและการสร้างการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นกับลูกน้องของตนได้  มีความเสียสละต่อการทำงาน  ร่วมทำงานเป็นทีม  แชร์ความรู้และข้อคิดเห็นของทุกฝ่าย  มีการวางแผนการทำงาน  และสร้างความยืดหยุ่นต่อระบบงาน  มองอนาคตของเพื่อนร่วมงานทุกระดับ  และมองอนาคตขององค์กรด้วย  รู้จักเรียนรู้จากสิ่งที่เกิดขึ้นรอบตัว  อาศัยเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการทำงาน  ผู้นำจะต้องมีความกล้าหาญ  และมีความกล้าตัดสินใจที่จะทำอะไรใหม่ ๆ กล้าเผชิญปัญหาและหาแนวทางแก้ไข  และสุดท้ายเมื่อประสบความสำเร็จแล้วก็จะคิดว่าเขาและลูกน้องร่วมกันทำให้เกิดผลงานนั้น ๆ ขึ้นมา  ( win – win )ผู้บริหาร  ( manager )  ผุ้บริหารหรือผู้จัดการ คือ จัดการทุกอย่างตามระบบที่วางไว้  ให้ความสำคัญกับระบบการทำงานมากกว่า  ควบคุมขั้นตอนการทำงานทุก step ไม่มีความยืดหยุ่นต่อเหตุการณ์ทำงาน  ทำตามหน้าที่ของตัวเองและจัดการบริหารงานโดยไม่ต้องคำนึงถึงความคิดเห็นของผู้อื่น  มี Ego สูง  การทำงานจะเน้นเป้าหมายเป็นหลัก  นึกถึงผลประโยชน์ส่วนตน (องค์กร) เพื่อที่จะให้องค์กรก้าวหน้าทัดเทียมคู่แข่งได้ หรือดีกว่าคู่แข่ง  มุ่งแสวงหาแต่ผลกำไรเป็นที่ตั้ง  พัฒนาผลงานมากกว่าจิตใจ มองอนาคตของตนเองที่จะก้าวหน้าเหนือผู้อื่น  ตัดสินใจโดยใช้ทฤษฎีมาเป็นตัวกำหนดแนวความคิด  ไม่เป็นกันเองกับลูกน้องเข้าหายาก มีพิธีรีตองในการเข้าพบ และสุดท้ายเมื่อองค์กรประสบความสำเร็จเขาจะคิว่าเขาคือผู้ที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จนั้น ๆ   จะเห็นได้ว่าคุณลักษณะของผู้นำและผู้บริหารนั้นมีความแตกต่างกันในทางปฏิบัติตน  ซึ่งผู้บริหารนั้นจะต้องมีความเป็นผู้นำด้วยเพื่อที่จะนำทีมบริหารงานขององค์กรให้สำเร็จ  เกิดผลกำไร และได้ผลตอบแทนทั้งสองฝ่ายได้โดยที่ไม่ต้องออกแรงมากด้วย  สุดท้ายนี้ขอขอบพระคุณท่านศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  ท่านอาจารย์ผู้ช่วยสอนทุกท่าน  เป็นอย่างสูง  ที่ได้สละเวลาอันมีค่ามาสร้างการเรียนรู้และได้ให้เบ็ดตกปลาแก่ดิฉันและเพื่อน ๆ ได้มอง HR ในภาพรวมกว้างขึ้นให้มีการพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง  แสวงหาสิ่งใหม่ ไม่หยุดนิ่ง  และที่สำคัญให้เรานึกถึงสังคมส่วนรวมบ้าง  และขอขอบคุณทีมงาน chira academy ผู้ช่วยอาจารย์ ( คุณนะ ,คุณเอ้, คุณเอ )  เป็นอย่างมากที่อำนวยความสะดวกในการเรียนในคอร์สนี้ด้วยดีตลอดมา ดิฉันจะนำเอาประสบการณ์ในการเรียนรู้และทฤษฎีที่ได้ในครั้งนี้ไปประยุกต์ใช้ในการทำงานและชีวิตประจำวันต่อไปด้วยค่ะ ขอบคุณค่ะ
อรนุช หล่ำสกุลไพศาล

กราบเรียนอาจารย์ จีระ หงส์ลดารมภ์ , ท่านอาจารย์ทุกๆท่าน และผู้อ่านทุกท่าน ดิฉันอรนุช หล่ำสกุลไพศาล นักศึกษาปริญญาโท คณะเทคโนโลยีการเกษตร สาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง        

เมื่อวันอาทิตย์ที่ 16 กันยายน 2550 เป็นอาทิตย์สุดท้ายในการเรียนในรายวิชา การจัดการทรัพยากรมนุษย์ ในหัวข้อ ภาวะผู้นำในยุคที่โลกเปลี่ยน กับ อาจารย์จีระ จากคำถามว่าคุณลักษณะและ บทบาทของ ผู้บริหาร (Manager) กับ ผู้นำ (Leader) แตกต่างกันอย่างไร

 

ผู้บริหาร  มองคนภายนอกองค์กร ตอบสนองความต้องการของคนภายนอกองค์กร เพื่อที่จะทำให้องค์กรประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย สิ่งที่ต้องยอมรับคือ ผู้บริหารเป็นผู้ที่มีสิทธิอำนาจอย่างเป็นทางการ การจัดการก็จะเน้นในการควบคุมสิ่งของ และผู้คน โดยมีลำดับการบังคับบัญชา มีระเบียบขั้นตอน ปฏิบัติงานซับซ้อนยุ่งยาก มีการ Motivation สร้างจากภายนอกอาศัยเทคนิคการประเมินผลแบบดั้งเดิม อาศัยรายงานการเงินในระยะสั้นเป็นหลักใช้การสื่อสารจากระดับบนลงระดับล่าง งบประมาณก็จะลงมาจากระดับสูงลงสู่ระดับล่าง ถือว่าคนเป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุน

ส่วน ผู้นำ เน้นการพัฒนาให้คนในองค์กรมีความสามารถในการทำงานไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อที่จะทำให้องค์กรบรรลุสำเร็จตามเป้าหมาย ในเรื่องนี้สิ่งผู้นำต้องทำมีอยู่ด้วยกัน 4 เรื่อง คือ

  • หนึ่ง กำหนดทิศทางขององค์กร (วิสัยทัศน์ ลูกค้า อนาคต)
  • สอง แสดงบุคลิกส่วนตัว (นิสัย ความซื่อสัตย์สุจริต ความไว้วางใจ การคิดเชิงวิเคราะห์)
  • สาม ระดมการผูกพันการมีส่วนร่วมของแต่ละคน (ดึงผู้อื่นเข้าร่วม แบ่งปันอำนาจ)
  • สี่ ทำให้องค์กรมีขีดความสามารถ (สร้างทีม บริหารจัดการเปลี่ยนแปลง)   
 

ในตามความคิด ทุกคนในองค์กรสามารถที่จะเป็นผู้นำได้ แต่คนที่จะเป็นผู้นำที่ดีนั้นต้องมีเรื่อง Ethical Capital หรือทุนใน 8K’s และ ทฤษฏี 3 วงกลมของ อ.จีระ เป็นแกนกลางในการเดินตาม วิสัยทัศน์ (กำหนดทิศทางตาม Context) จึงเดินเข้าไปสู่ วินัย (ปรับแนวทางให้สอดคล้อง) โดยพิจารณาจาก Skills และ Competencies แล้วจึงปลดปล่อยศักยภาพ พร้อมทั้งสร้างMotivation

 

สุดท้าย ได้สังเกตตัวเองเหมือนกันว่าเมื่อเรียนวิชา HRM กับ อ.แล้ว รู้สึกมีไฟในตัวขึ้นมา ตัวเองดีขึ้นมากๆ จากแรกที่สามารถกล่าวได้ว่าไม่มีอะไรเลย มาเรียนแบบ มึนมึน ก็ว่าได้ จึงขอกราบขอบพระคุณ อ.จีระ, อ.ทุกท่าน รวมถึงพี่เอ้ พี่นะ ที่ทำให้รู้สึกมีความสุขทุกครั้งที่ได้มาเรียน
กราบเรียนท่านศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมย์และท่านวีระ โรจน์พจนรัตน์ ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ดิฉันนางสาววรนรี พันธุสังข์ รหัสนักศึกษา 50066207 นักศึกษาปริญญาโท สาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เมื่อวันอาทิตย์ที่ 9 กันยายน 2550 ดิฉันและเพื่อนๆ ได้เข้าร่วมเรียนโดยมีท่านปลัดกระทรวงวัฒนธรรรม ท่านวีระ โรจน์พจนรัตน์ ให้เกียรติมาบรรยายพิเศษ ในหัวข้อ Food Science กับบทบาทวัฒนธรรมไทย ซึ่งเป็นอีกหัวข้อหนึ่งที่น่าสนใจและเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับพวกเราส่วนใหญ่ได้อย่างดีในฐานะ Food Scientist  ท่านได้เริ่มเปิดประเด็นได้อย่างน่าสนใจมากที่เดียวอยู่ 2 ประเด็นด้วยกัน คือ อย่างแรกว่าทำไมการมีวัฒนธรรมแล้วต้องรู้จักที่จะมีการบริหารจัดการ เพราะว่าวัฒนธรรมเป็นสิ่งที่เป็นเอกลักษณ์และมีอยู่มากมายทั่วโลกอย่างหลากหลายการที่เราจะทำอย่างไรให้วัฒนธรรมซึ่งเป็นสิ่งที่ดีงามและมีคุณค่าคงอยู่ได้ทั้งที่โลกมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาไม่ให้ถูกกลืนหายไปพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงต่างๆของโลกปัจจุบันเราต้องรู้จักที่จะรักษา ไม่ละทิ้งละเลยไปรวมทั้งเมื่อเรารู้ว่าการมีเอกลักษณ์เป็นสิ่งที่มีคุณค่า และมีประโยชน์นี้ หากรู้จักที่จะมีการบริหารจัดการที่ดีด้วยแล้วจะทำให้เกิดประโยชน์จากการนำสิ่งเหล่านี้มาใช้และสามารถสร้างความมั่งคั่ง ร่ำรวยจากเอกลักษณ์ดังกล่าว และความเจริญก้าวหน้าต่อไปได้อย่างยั่งยืน  อย่างที่สอง คือ วัฒนธรรมการกินของมนุษย์เกิดขึ้นได้ตั้งแต่เมื่อไหร่ การเกิดขึ้นของวัฒรธรรมการกินเกิดขึ้นเมื่อมนุษย์เริ่มรู้จักที่จะมีการเลือกที่จะรับประทาน เลือกตามความต้องการเพื่อให้เกิดความอร่อยลิ้น อร่อยใจ ไม่ใช่เพื่อการยังชีพเท่านั้น เพราะการกินเพียงเพื่อดำรงชีวิตยังไม่จัดว่าเป็นวัฒนธรรมการกินของมนุษย์จากเพียง 2 ประเด็นแรกนี้ก็ทำให้ดิฉันและเพื่อนๆรู้สึกว่าน่าสนใจมาก นอกจากนี้ท่านปลัดยังได้เล่าประวัติและวัฒนธรรมการกินของประเทศต่างๆ ให้เราได้ทราบได้อย่างน่าสนใจซึ่งล้วนแต่ทำให้เราต้องกลับมามองว่าจากการที่แต่ละประเทศแต่ละวัฒนธรรมที่มีความแตกต่างกันมีความเป็นเอกลักษณ์และวิถีการดำเนินชีวิตเป็นของตัวเองนี่เองก่อให้เกิดความหลากหลายได้  ซึ่งทั้งหมดนี้จะเห็นได้ว่าวัฒนธรรมและอาหารไม่ใช่เพียงแค่การกินมีอะไรหลายอย่างที่หลากหลายเป็นศาสตร์และศิลป์ที่น่าสนใจอย่างยิ่งโดยเฉพาะประเทศไทยเราเป็นประเทศเกษตรกรรมและมีอาหารและวัฒนธรรมอยู่อย่างมากมายและมีความหลากหลายไปตามวัฒนธรรมของแต่ละภูมิภาคต่างๆทั่วประเทศยิ่งสร้างความน่าสนใจและมีคุณค่า ดังนั้นจากด้วยโอกาสแห่งความหลากหลายของวัฒนธรรมการบริโภคอาหารของประเทศไทยเรานี้ประกอบกับในปัจจุบันอาหารของไทยเรายังเป็นที่สนใจอย่างมากและติดอันดับความนิยมของโลก ท่านจึงให้แง่คิดและชี้แนะแนวทางให้พวกเราในฐานะที่ Food Science จะนำความรู้ต่างๆที่เกี่ยวข้องระหว่างเทคโนโลยีและอาหารให้มองว่า อาหารจะเป็นธุรกิจได้อย่างไร และเราจะมีส่วนช่วยพัฒนาธุรกิจอาหารไทยได้อย่างไร จากความได้เปรียบในความหลากหลายและมีคุณค่าในเชิงสุขภาพของอาหารไทยให้เป็นที่ต้องการและตอบสนองได้ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งธุรกิจอาหารนี้อาจทำรายได้ให้แก่ประเทศของเราได้อย่างมากมาย ตลอดจนความต้องการในการส่งเสริมและสนับสนุนช่องทางจากภาครัฐบาลร่วมด้วยจากหลายๆปัญหาที่เรายังประสบอยู่เช่นการขาดแคลนพ่อครัวแม่ครัว การขาดการรวมตัวและร่วมมือกันระหว่างร้านและภาคเอกชนแทนการแข่งขันกันเองเพื่อให้ brand ความเป็นอาหารไทยแทรกซึมและเกาะติดกลุ่มตลาดโลกได้อย่างทั่วถึงและยาวนานอย่างจริงจัง

 

กราบเรียนท่านศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์  ทีมงาน Chira Academy และท่านผู้อ่านและติดตาม blog ทุกท่าน  ดิฉันนางสาววรนรี พันธุสังข์ รหัสนักศึกษา 50066207 นักศึกษาปริญญาโท สาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เมื่อวันอาทิตย์ที่ 16 กันยายน 2550 ที่ผ่านมานี้ดิฉันและเพื่อนๆ เข้าเรียนวิชา HRM กับท่านศ.ดร.จีระ ซึ่งวันนี้จะเป็นการเรียนครั้งสุดท้ายเป็นการปิดคอร์สกับวิชานี้ก่อนที่พวกเราจะสอบ Final กัน และวันนี้ท่านศ.ดร.จีระได้สอนในหัวข้อที่สำคัญและน่าสนใจ คือ ภาวะผู้นำในยุคที่โลกเปลี่ยน  ท่านได้กล่าวถึงความเป็นผู้นำว่าผู้นำคืออะไร  ผู้นำมีหลายประเภท  บทบาทและความสำคัญของการเป็นผู้นำ ซึ่งปัจจุบันมีความสำคัญและเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างมากในองค์กรยุคใหม่กับการเปลี่ยนแปลงไปของโลกในปัจจุบัน อีกทั้งนอกจากจะเป็นผู้นำมีภาวะความเป็นผู้นำแล้วปัจจุบันจะต้องมีความสามารถในการบริหารประกอบไปด้วยจึงจะประสบความสำเร็จและยั่งยืน ทำให้เราได้เข้าใจ คิดอย่างเป็นระบบและมองภาพประกอบกับจากประสบการณ์การทำงานจริงได้อย่างเห็นภาพชัดเจนมากขึ้น นอกจากนี้แล้วยังได้อธิบายถึงความแตกต่างระหว่างผู้นำและผู้จัดการว่าแตกต่างกันอย่างไร และให้พวกเราต่อยอดจากที่ท่านยกตัวอย่างมาให้เพิ่มเติม 3 ข้อซึ่งดิฉันคิดว่าความแตกต่างของผู้นำและผู้จัดการ
ข้อ ผู้นำ ผู้จัดการ
1 เน้นที่คน เน้นที่ระบบ
2 Trust Control
3 ระยะยาว ระยะสั้น
4 What ,Why When , How
5 มองอนาคต ขอบฟ้า/ภาพลักษณ์ กำไร ขาดทุนทุก 3 เดือน
6 เน้นนวัตกรรม จัดการให้สำเร็จ มีประสิทธิภาพ
7 change static
8 ริเริ่มและเป็นแบบอย่าง ให้นโยบาย
9 ค้นหาและมีข้อมูล รายงาน
10 รับและออกคำลั่ง คำสั่ง
 จากสิ่งที่มีความคิดเห็นเพิ่มเติมข้อ 8 : -        ริเริ่มและเป็นแบบอย่าง = ผู้นำมักจะเป็นผู้ที่ต้องคิดและริเริ่มสิ่งต่างๆอยู่ตลอดเวลาเพื่อให้งานดำเนินไปอย่างราบรื่นและลดปัญหาให้เร็วและมากที่สุดตลอดจนต้องเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อเป็นแบบอย่างและชี้นำให้ทุกคนเข้าใจเข้าร่วมและปฺฏิบัติตามได้โดยไม่มีข้อสงสัย-        ให้นโยบาย = ผู้บริหารไม่ใช่ผู้ที่จะต้องมาปฏิบัติและทำให้เกิดการยอมรับแต่เป็นเพียงผู้ให้นโยบายและทุกคนต้องปฏิบัติตามข้อ 9 :-        ค้นหาและมีข้อมูล = ผู้นำเป็นผู้ที่ต้องมีการค้นหาค้นคว้าเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่หลากหลายชัดเจนและถูกต้องแม่นยำ ให้เป็นเหตุเป็นผลและง่ายต่อการตัดสินใจตลอดจนเกิดความเชื่อถือเชื่อมั่น-        รายงาน = ผู้บริหารจะเป็นผู้ที่สนใจและพิจารณา ตัดสินใจและมีข้อสรุปจากการรายงานเป็นสำคัญ จะไม่ใช่ผู้ที่ค้นคว้ารวบรวมข้อมูลเองและมักไม่สนใจต่อรายละเอียดที่มีของข้อมูลเชิงลึกในทุกเรื่องมากนัก แต่จะมีย้อนกลับมาสนใจข้อมูลและรายละเอียดเชิงลึกบ้างเฉพาะเรื่องที่มีความเสี่ยงและสำคัญมากๆเท่านั้นข้อ 10 :-        รับและออกคำสั่ง = ผู้นำเป็นผู้ที่อยู่ในทุกระดับบางครั้งก็มีการแสดงความคิดริ่เริ่มและออกคำสั่งการเพื่อให้ทุกคนหรือผู้ที่อยู่ภายใต้บังคับบัญชาปฏิบัติตามแต่ในขณะเดียวกันบางกครั้งก็ต้องกลายเป็นผู้ที่ถูกออกคำสั่งจากระดับที่สูงกว่า(ถ้ามี)หรือต้องหยุดเพื่อที่จะรับฟังต่อผู้ปฏิบัติงานร่วมด้วยโดยตรงเพื่อทบทวนและปรับปรุงหรือแก้ไข-        คำสั่ง = ผู้บริหาร เป็นผู้ที่ออกคำลั่งและสั่งการให้ดำเนินการเพื่อให้เกิดความสอดคล้องต่อนโยบายที่กำหนดจากทั้งหมดที่กล่าวมานั้นในความเป็นจริงแล้วและเพื่อให้สอดคล้องและก้าวทันต่อโลกที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดในปัจจุบันนั้นจึงคิดว่า ถ้าเราสามารถมีได้ทั้ง 2 สิ่ง คือ ทั้งความเป็นผู้นำและเป็นนักบริหารที่ดีได้จะสร้างประโยชน์และความสำเร็จก้าวหน้าทั้งต่อตัวของเราเองและองค์กรได้อย่างดีทีเดียวมากกว่าการที่มีเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งจากหัวข้อนี้ที่ท่านศ.ดร.จีระได้ทิ้งท้ายกับหลักสูตรให้แก่พวกเราซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมากทั้งชีวิตจริงและหน้าที่การงานแล้ว ไม่เพียงแต่การเรียนรู้หรือคำสอนที่ท่านได้ให้ไว้แก่พวกเราในห้องเรียนเท่านั้น อย่างที่ท่านบอกและให้ข้อคิดแก่พวกเราเสมอว่า การเรียนรู้ต้องมีการต่อยอด เรียนรู้อย่างต่อเนื่องและเราสามารถสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ได้ตลอดเวลาและทุกสถานที่ และสั่งสมอยู่ตลอด อย่างแนวคำสอน เรื่องเบ็ดตกปลาที่ท่านสอน ประโยชน์ต่างๆที่พวกเราได้รับจากท่านจะเป็นแนวทางที่มีคุณค่าและยั่งยืนอย่างแท้จริง        และสุดท้ายนี้จากที่ดิฉันและเพื่อนๆได้มีโอกาสเรียนวิชา HRM ในหลักสูตรนี้ ต้องขอขอบพระคุณท่านศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ท่านอาจารย์พิเศษทุกท่าน พี่เอ้ พี่นะ และทีมงานทั้งหมด ที่สละเวลามาสอน และชี้แนะในสิ่งต่างๆที่ล้วนเป็นประโยชน์และนำไปใช้ได้จริง ทำให้มีความเข้าใจ เห็นภาพ หลักในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ได้ง่ายและดีขึ้น ตลอดจนสามารถตอบเข้าใจและตอบโจทย์ข้อสงสัยจากการทำงานและชีวิตจริงก่อนที่จะเข้าเรียนและทำให้มองอย่างเป็นระบบเป็นเหตุเป็นผลได้อย่างดียิ่งมากขึ้น

         กราบเรียนท่านศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมย์และท่านวีระ โรจน์พจนรัตน์ ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ดิฉันนางสาววรนรี พันธุสังข์ รหัสนักศึกษา 50066207 นักศึกษาปริญญาโท สาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เมื่อวันอาทิตย์ที่ 9 กันยายน 2550 ดิฉันและเพื่อนๆ ได้เข้าร่วมเรียนโดยมีท่านปลัดกระทรวงวัฒนธรรรม ท่านวีระ โรจน์พจนรัตน์ ให้เกียรติมาบรรยายพิเศษ ในหัวข้อ Food Science กับบทบาทวัฒนธรรมไทย ซึ่งเป็นอีกหัวข้อหนึ่งที่น่าสนใจและเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับพวกเราส่วนใหญ่ได้อย่างดีในฐานะ Food Scientist  ท่านได้เริ่มเปิดประเด็นได้อย่างน่าสนใจมากที่เดียวอยู่ 2 ประเด็นด้วยกัน

    1.  คือ อย่างแรกว่าทำไมการมีวัฒนธรรมแล้วต้องรู้จักที่จะมีการบริหารจัดการ เพราะว่าวัฒนธรรมเป็นสิ่งที่เป็นเอกลักษณ์และมีอยู่มากมายทั่วโลกอย่างหลากหลายการที่เราจะทำอย่างไรให้วัฒนธรรมซึ่งเป็นสิ่งที่ดีงามและมีคุณค่าคงอยู่ได้ทั้งที่โลกมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาไม่ให้ถูกกลืนหายไปพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงต่างๆของโลกปัจจุบันเราต้องรู้จักที่จะรักษา ไม่ละทิ้งละเลยไปรวมทั้งเมื่อเรารู้ว่าการมีเอกลักษณ์เป็นสิ่งที่มีคุณค่า และมีประโยชน์นี้ หากรู้จักที่จะมีการบริหารจัดการที่ดีด้วยแล้วจะทำให้เกิดประโยชน์จากการนำสิ่งเหล่านี้มาใช้และสามารถสร้างความมั่งคั่ง ร่ำรวยจากเอกลักษณ์ดังกล่าว และความเจริญก้าวหน้าต่อไปได้อย่างยั่งยืน  อย่างที่สอง คือ วัฒนธรรมการกินของมนุษย์เกิดขึ้นได้ตั้งแต่เมื่อไหร่ การเกิดขึ้นของวัฒรธรรมการกินเกิดขึ้นเมื่อมนุษย์เริ่มรู้จักที่จะมีการเลือกที่จะรับประทาน เลือกตามความต้องการเพื่อให้เกิดความอร่อยลิ้น อร่อยใจ ไม่ใช่เพื่อการยังชีพเท่านั้น เพราะการกินเพียงเพื่อดำรงชีวิตยังไม่จัดว่าเป็นวัฒนธรรมการกินของมนุษย์จากเพียง 2 ประเด็นแรกนี้ก็ทำให้ดิฉันและเพื่อนๆรู้สึกว่าน่าสนใจมาก นอกจากนี้ท่านปลัดยังได้เล่าประวัติและ

    2.วัฒนธรรมการกินของประเทศต่างๆ ให้เราได้ทราบได้อย่างน่าสนใจซึ่งล้วนแต่ทำให้เราต้องกลับมามองว่าจากการที่แต่ละประเทศแต่ละวัฒนธรรมที่มีความแตกต่างกันมีความเป็นเอกลักษณ์และวิถีการดำเนินชีวิตเป็นของตัวเองนี่เองก่อให้เกิดความหลากหลายได้  ซึ่งทั้งหมดนี้จะเห็นได้ว่าวัฒนธรรมและอาหารไม่ใช่เพียงแค่การกินมีอะไรหลายอย่างที่หลากหลายเป็นศาสตร์และศิลป์ที่น่าสนใจอย่างยิ่งโดยเฉพาะประเทศไทยเราเป็นประเทศเกษตรกรรมและมีอาหารและวัฒนธรรมอยู่อย่างมากมายและมีความหลากหลายไปตามวัฒนธรรมของแต่ละภูมิภาคต่างๆทั่วประเทศยิ่งสร้างความน่าสนใจและมีคุณค่า ดังนั้นจากด้วยโอกาสแห่งความหลากหลายของวัฒนธรรมการบริโภคอาหารของประเทศไทยเรานี้ประกอบกับในปัจจุบันอาหารของไทยเรายังเป็นที่สนใจอย่างมากและติดอันดับความนิยมของโลก ท่านจึงให้แง่คิดและชี้แนะแนวทางให้พวกเราในฐานะที่ Food Science จะนำความรู้ต่างๆที่เกี่ยวข้องระหว่างเทคโนโลยีและอาหารให้มองว่า อาหารจะเป็นธุรกิจได้อย่างไร และเราจะมีส่วนช่วยพัฒนาธุรกิจอาหารไทยได้อย่างไร จากความได้เปรียบในความหลากหลายและมีคุณค่า

   3.ในเชิงสุขภาพของอาหารไทยให้เป็นที่ต้องการและตอบสนองได้ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งธุรกิจอาหารนี้อาจทำรายได้ให้แก่ประเทศของเราได้อย่างมากมาย ตลอดจนความต้องการในการส่งเสริมและสนับสนุนช่องทางจากภาครัฐบาลร่วมด้วยจากหลายๆปัญหาที่เรายังประสบอยู่เช่นการขาดแคลนพ่อครัวแม่ครัว การขาดการรวมตัวและร่วมมือกันระหว่างร้านและภาคเอกชนแทนการแข่งขันกันเองเพื่อให้ brand ความเป็นอาหารไทยแทรกซึมและเกาะติดกลุ่มตลาดโลกได้อย่างทั่วถึงและยาวนานอย่างจริงจัง

เรียนอาจารย์ที่เคารพ ดิฉันเป็นนักศึกษาที่กำลังเรียนเรื่องการบริหารทรัพยากรมนุษย์ เมื่อเห็นข้อมูล ข้อสรุปที่พี่ ๆ นักศึกษาปริญญาโทแล้วมีความสนใจอยากดูรายละเอียดการ present ขอรบกวนดูรายละเอียดได้ไหมคะ

มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

ขอเชิญเข้าร่วมสัมมนา“ปัจจัยท้าทายประเทศไทยปี 2553 อยู่รอดหรือยั่งยืน?”

วันที่ 8 ธันวาคม 2552

ณ มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด แคมปัสพระรามเก้า 

มีรายละเอียดในลิ้งค์นี้

http://gotoknow.org/blog/chiraacademy/317427

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท