หลักสูตรฐานอาชีพ(OBC) : กระบวนทัศน์ใหม่ของหลักสูตรศิลปะอาชีวศึกษา


หลังสูตรฐานอาชีพเป็นการเลือกอาชีพ แล้วเลือกเรียนรายวิชาที่จะทำให้มีสมรรถนะฝีมือ

 บทนำ

            การอาชีวศึกษาเป็นการจัดการศึกษาทางด้านอาชีพโดยตรง  ในความ หลากหลายของการอาชีวศึกษานั้น  ศิลปะก็นับเป็นหลักสูตร หนึ่งที่ถูก นำมาจัดการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง  อาจนับได้ว่างาน  ศิลปหัตถกรรมมีความเป็นมาพร้อม ๆกันนั้นจุดเริ่มของ การอาชีวศึกษา ตั้งแต่ในอดีตก็ว่าได้  หลักสูตรการเรียนการสอนถูกปรับปรุง  พัฒนามา อย่างต่อเนื่องสาขาวิชา  สาขางานทางศิลปะ  ถูกสร้างขึ้นตามความ ต้องการของผู้เรียน  และสถานประกอบการมาโดยตลอด  แต่ความเปลี่ยนแปลงทางสังคม  ทำให้ความต้องการบุคลากรทาง ศิลปะเปลี่ยนแปลงไปด้วย
           ในระยะเวลาที่ผ่านมา  มีความต้องการผู้ชำนาญการ ศิลปะ เฉพาะด้าน  ค่อนข้างชัดเจน  การผลิตบุคลากรเฉพาะทาง  ถูกกำหนดหลักสูตรเป็นสูตรสำเร็จให้ฝึกฝนเป็นสาขาวิชาชัดเจน  เช่น  ช่างเขียน  ช่างปั้น  นักออกแบบ  ช่างฝีมือหัตถกรรม  เป็นต้น ฯลฯ

           แต่ปัจจุบันความต้องการบุคลากรในสถานประกอบการ  หรือ หน่วยงาน  มีแนวโน้มที่เปลี่ยนแปลงไปเป็นความต้องการ บุคลากร ที่มีความรู้ความสามารถ ในลักษณะ 
Multi  Skill  บุคลากร ทางศิลปะ  ต้องมีความสามารถหลายด้านมากขึ้น  เพื่อทำงาน มีการ ใช้หลักการ ศิลปะผสมผสานกับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์  เพิ่มขึ้น  โดยเฉพาะในยุค โลกาภิวัตน์นั้น  เทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์เข้ามีบทบาท ในชีวิตประจำวันมากขึ้นเป็นลำดับ  แนวทางการสร้างงานศิลปะถูก นำไป ออกแบบเป็นโปรแกรมสำเร็จรูปคอมพิวเตอร์มากขึ้น  โปรแกรมเมอร์ได้จำลองหลักการ  ทฤษฎีทางศิลปะเพื่อให้ผู้ใช้สามารถ สร้างสรรค์งานศิลปะด้วยคอมพิวเตอร์เพื่อความรวดเร็วและความ ต้องการผลงานเชิงปริมาณ  งานหลายๆงาน เช่น  การตัดแต่งภาพถ่าย ออกแบบกราฟิค  การออกแบบเว็บเพจ  การตัดต่อวีดิทัศน์ หรือมัลติมีเดีย  ฯลฯ  ล้วนต้องอาศัยหลักการทางศิลปะใช้ร่วม กับ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ทั้งสิ้น  เป็นการบูรณาการระหว่าง ศิลปะและวิทยาศาตร์  (Art & Science)  กระแสเชี่ยวกรากของ  สังคมโลกที่เปลี่ยนแปลงนี้  ทำให้หลักสูตรศิลปะอาชีวศึกษา ได้เดินทางมาถึงบทที่ต้องหาข้อสรุปทบทวนตามแนวโน้มของการ เปลี่ยนแปลง

หลักสูตรฐานอาชีพ(OBC) : กระบวนทัศน์ใหม่ของหลักสูตรศิลปะอาชีวศึกษา
             อาจกล่าวได้ว่าหลักสูตรศิลปะของการอาชีวศึกษาถูกจัดใน ลักษณะ เป็นกลุ่มสาขางานอย่างชัดเจน  การเรียนการสอนเป็นไปใน ลักษณะ เรียนทั้งหมดทุกรายวิชาที่กำหนด  โดยมีโครงสร้างหลักสูตร แต่ละ สาขาวิชาถูกจัดเป็นชุด ๆ เหมือนอาหารโต๊ะจีน  ที่จัดไว้เป็นชุด ๆ ให้รับประทานตั้งแต่ออเดิร์ฟ  อาหารคาว  จนถึงของหวาน  จะชอบ ไม่ชอบก็ต้องรับประทานไปเรื่อย ๆ จนหมด  การเรียนทางศิลปะใน ลักษณะนี้มี  จุดเด่นที่สามารถสร้างบุคลากรชำนาญเฉพาะทางได้ดี แต่ข้อด้อยคือขาดความยืดหยุ่น         การจัดหลักสูตรแบบทฤษฎีอาหารโต๊ะจีน(Chinese–Food Theory) อาจยังพอมีความเหมาะสมในบางสาขาวิชา  แต่ทางเลือกใน ยุค ปัจจุบัน  น่าจะมีแนวโน้มที่สอดคล้องกับความต้องการของกำลังคน ของ สถานประกอบการในลักษณะทฤษฎีอาหารแบบบุฟเฟ่ท์ (Buffet Theory)ที่กำหนดประเภท  ชนิดอาหารเอาไว้อย่างหลากหลาย ผู้เรียนเลือกกินหรือเลือกเรียนเองตามความพอใจ  ความถนัดและ ความต้องการใช้งานในการประกอบอาชีพทางศิลปะ  เมื่อเรียนครบ ทุกโครงสร้างที่เลือกเรียนด้วยตนเองก็จบหลักสูตร เหมือนเลือก อาหารรับประทานหลากหลายจนอิ่ม  การเรียนรู้ไม่จำกัดอยู่แต่ใน ห้องเรียน หรือห้องปฏิบัติการในสถานศึกษา  ไม่จำกัดเวลาในการเรียน ตลอดหลักสูตร เข้าตอนไหนจบตอนใดก็ได้ (Open  Entry / Open  Exit)  แต่เป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Long Life Education) แต่ละ รายวิชาจบเสร็จสิ้นในตัวเอง ตรงตามสมรรถนะงาน ที่ต้องทำ ของอาชีพที่เลือก
         หลักสูตรที่จัดตามแนวความคิดทฤษฎีบุฟเฟท์นี้  ยังสอดคล้อง กับนโยบายภาครัฐ ที่มุ่งเน้นผลิตกำลังคนตามความต้องการ ของ สถานประกอบการ หรือผู้ประกอบการอิสระ  และการดำเนินธุรกิจ ขนาดย่อม  (SME)  ผู้เรียนที่เลือกเรียนศิลปะ  จะต้องกำหนดหรือเลือก อาชีพที่ต้องการเอาไว้  และ ผู้เรียนก็สามารถเลือกเรียนใน รายวิชา ที่จะช่วยให้อาชีพ ที่มุ่งหวังประสบความสำเร็จ  ทั้งนี้โดยความ ช่วยเหลือแนะนำ  และอำนวยความสะดวก(Facilities)ในด้านต่าง ๆ จากสถานศึกษาและสถานประกอบการ  เช่น การฝึกปฎิบัติิจาก สถานการณ์จริง สถานที่ดำเนินการ  แหล่งเงินทุนและ วิธีการ ดำเนินธุรกิจ SME ฯลฯ
              
หลักสูตรจะถูกออกแบบร่วมกันกับสถานประกอบการเป็น หลักสูตรฐานอาชีพ
(Occupation Base Curriculum: OBC) และจัด โครงสร้างไว้เป็นส่วน ๆ เช่น หมวดความรู้ทั่วไป  หมวดความรู้ทาง ศิลปะที่จะประกอบอาชีพ  หมวดความรู้ทางการดำเนินธุรกิจ หมวดความรู้ทางคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ  และหมวด อื่นๆ ที่สนับสนุนการประกอบอาชีพ ตามบริบทที่เกี่ยวข้อง  การจัดทำ หลักสูตรฐานอาชีพนี้ถือเป็นแนวความคิดของหลักสูตรทางเลือก(Alternative Curriculum) ที่จะทำให้การอาชีวศึกษา  สามารถพัฒนาหลักสูตร การเรียนการสอนทางด้านศิลปะได้อย่างยืดหยุ่น และสามารถจัดการ ศึกษา ต่อเนื่องจนถึงระดับปริญญาตรีทางการอาชีวศึกษา  ด้านอาชีพศิลปกรรม ซึ่งรับประกันการมีงานทำเมื่อจบการศึกษา  จากการที่ผู้เรียนเลือกอาชีพเองและเลือกรายวิชาเรียนเอง

หมายเลขบันทึก: 100853เขียนเมื่อ 5 มิถุนายน 2007 10:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มิถุนายน 2012 12:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท